Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
28 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
ค่า SWR คืออะไร

ความสำคัญของ SWR
SWR ย่อมาจากคำว่า Standing wave ratio เป็นผลรวมของ Travclling กับ Reflected wave โดยไม่คิดค่าเวลา โดยค่าของ SWR สัมพันธ์กับค่า VSWR ดังนี้

SWR แบ่งออกเป็น 2 กรณี
1.Voltage standing wave ratio (VSWR)
2.Current standing wave ratio (ISWR)

โดยปกติแล้วเราจะวัด ค่า VSWR และ ISWR ที่จุดเดียวกัน จึงนิยมใช้ค่า VSWR ในการวิเคราะห์ และ VSWR = ISWR = SWR

โดยในที่นี้ ตามที่ทราบกันดีว่า out put ที่จุดต่อสายอากาศของเครื่องรับส่ง และ เครื่องมือสื่อสารทั่วไปนิยมทำให้มีค่าอิมพิแดนซ์ 50 โอห์ม ดังนั้น หากต้องการถ่ายถอดกำลังส่งสูงสุดออกไป เราจะต้องใช้ สายนำสัญญาณ และสายอากาศที่มีค่าอิมพิแดนซ์ เท่ากับ 50 โอมห์ด้วย
ค่า SWR เท่าใดจึงถือว่าปกติ

นักวิทยุสมัครเล่นบางท่าน ไปกังวลกับค่า SWR มากไปทำให้พยายามปรับแต่งค่า SWR ให้ใกล้เคียง 1 มากที่สุด อันที่จริง ค่า SWR ที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย จาก 1:1 - 1:1.5 ก็ไม่ได้ทำให้ การติดต่อสื่อสารลดประสิทธิภาพลงไปมากนัก แต่หากมองในแง่ของพลังที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ นั้นก็น่าคิด อยู่ ดังนั้น ตามการวิเคราะห์เบื้องต้นแล้ว การทำให้การสูญเสียอันเนื่องมาจากค่า SWR ต่ำกว่า 1 dB ก็เพียงพอ เพราะการที่ การสูญเสียหรือเพิ่มขึ้น มากกว่าหรือน้อยกว่า 1dB เราแทบแยกไม่ออกเลยว่ามีการเปลี่ยนแปลง
ดังนั้นจึงเปรียบเทียบได้กับ ค่า SWR 1:2 ก็ทำงานได้ ไม่ต่างกันมากนักกับ 1:1 เพราะการสุญเสียที่เพิ่มขึ้นมีค่า ไม่เกินไปกว่า 0.5 dB แม้ว่า ที่สายนำสัญญาณ RG-8A/U จะยาวถึง 90 เมตร ก็ตาม ก็ไม่สามารถแยกความแตกต่างออกได้
ผลกระทบจากการเกิดค่า SWR

ความจริงแล้วนักวิทยุสมัครเล่นยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่มากเกี่ยวกับค่า SWR เช่น เข้าใจว่า ค่า SWR สูงการรับส่ง จะไม่ดี และ ค่า SWR ต่ำๆการรับส่งจะดี จริงๆแล้วความเชื่อดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ถูก เพียงแต่ว่า การรับส่งดีหรือไม่ เป็นเพียงผลตามมาของค่า SWR เท่านั้น ไม่ใช่ผลโดยตรงนักโดยที่การแปลความหมายของ ค่า SWR ที่นำมาใช้ในการวิเคราห์ระบบต่างๆในการถ่ายทอดกำลังนั้น ค่า SWR จะบอกถึง การส่งถ่ายกำลังสูงสุดหรือไม่ภายในระบบ เช่น ค่า SWR 1:1 ก็หมายถึง ต้นทาง และ ปลายทางมีการ ถ่ายเทพลังงาน ได้ โดยที่ไม่มีการลดทอนของกำลังเลย แต่ในทางปฏิบัติ ค่า SWR 1:1 จะไม่เกิดขึ้น เพราะการต่อหรือสายนำสัญญาณ จะต้องมีการลดทอนอยู่แล้ว
ดังนั้นผลโดยตรงที่ทำให้การรับส่งดี ก็คือ รูปแบบการแพร่กระจายคลื่นและอัตราขยายสายอากาศ โดยมี อัตตราการลดทอนหรือการสูญเสีย การส่งสัญญาณ ก็คือ ค่า SWR เป็นปัจจัยรองนั่นเอง
การใช้งาน

การใช้ SWR Meter โดยต่ออนุกรมกับสายนำสัญญาณระหว่างเครื่องส่งกับสายอากาศ เริ่มแรกให้ปรับกำลังส่งของเครื่องส่งให้ออกมากที่สุดและปรับ Calibrate โดยปรับความไวของ SWR Meter ให้อ่านเต็มสเกลแล้วสเกลแล้วบิดสวิทช์อ่านค่า VSWR ได้เลย
ที่มา //www.kangsadarn.com/k_c7.htm






Create Date : 28 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 29 กรกฎาคม 2554 9:24:17 น. 3 comments
Counter : 1859 Pageviews.

 
อ่านยากจัง Text กับ Background สีคล้ายกัน


โดย: ssak IP: 110.169.226.221 วันที่: 11 มีนาคม 2554 เวลา:9:45:00 น.  

 
แก้ไขให้แล้วนะครับ หวังว่าคงอ่านสะดวกขึ้นครับ


โดย: aeywin วันที่: 28 กรกฎาคม 2554 เวลา:8:27:46 น.  

 
ขอบคุณค่ะ :)


โดย: ... IP: 171.6.228.98 วันที่: 31 สิงหาคม 2557 เวลา:0:14:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

aeywin
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add aeywin's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.