Group Blog
 
 
สิงหาคม 2548
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
10 สิงหาคม 2548
 
All Blogs
 
พระราชประวัติของน.ม.ส.

นำพระราชประวัติของน.ม.ส.มาลงไว้เพื่อผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาไว้ครับ
ที่มาของข้อมูลคือ //www.rta.mi.th/chukiat/story/his_nms.htm ครับ

พระราชประวัติ นมส.

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสกรมหมื่นราวีวังบวรฯ บวรวิไชยชาญ ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นพระราชอนุชาธิราชแห่งสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ประสูติกาลในพระบวรราชวัง ณ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๔๑๙ พระนามเดิมพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (ทรงเป็นต้นสกุลรัชนี) จอมมารดาคือคุณจอมมารดาเลี่ยมเล็ก อันมีสกุลสืบตรงมาจากขุนนางผู้ใหญ่ครั้นกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีโดยสกุล “ชูโต” ของฝ่ายบิดาและ สโรบลฝ่ายมารดา

เมื่อเยาว์วัยเรียนหนังสือกับมารดาที่ตำหนัก เมื่อชันษา ๕ ขวบ ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง เช่นหนังสือสามก๊ก อิเหนา ฯลฯ มีเรื่องเล่าว่าขณะยังเยาว์ วันหนึ่งฉวยคัมภีร์ใบลานไปทรงอ่านกับเจ้าพี่ที่พระแกล มีผู้พบเห็นและได้พาข่าวลือไปถวายกรมพระราชวังบวรฯ ว่า ช่างน่าเอ็นดูพระองค์เจ้ารัชนีกับเจ้าพี่เสียจริง ๆ อ่านหนังสือกันออกจ้อไป กรมพระราชวังบวรฯ ไม่ทรงเชื่อ พูดเกินความจริง เด็กอายุเพียงแค่นั้นจะอ่านหนังสือขอมออก หนังสือภาษาไทยก็ไม่แทบกระดิกหู แต่ก็ทรงสนพระทัย วันหนึ่งทรงรับสั่งให้ทั้งสองพระองค์เข้าเฝ้า ทดลองส่งคัมภีร์ใบลานให้ผูกหนึ่งแล้วทรงให้อ่าน เจ้าพี่ทรงอ่านแล้วรับสั่งให้เจ้าน้องอ่าน เจ้าน้องก็อ่าน ทรงทอดพระเนตรใกล้ว่าทรงอ่านถูกต้องตรงตามหรือไม่ ทรงอุทานออกมาว่า “อ่านออกจริงๆ แหละ” อันเป็นเครื่องแสดงถึงพระปรีชาของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เป็นอย่างมาก

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ พระองค์เจ้ารัชนี ฯ ได้เสด็จเข้าโรงเรียนประจำที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ของพระบรมราชวัง สำเร็จชั้นประโยค ๑ ได้เมื่ออายุ ๑๓ ปี และสอบไล่ประโยค ๒ ได้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ ทรงได้ที่ ๑ ในพวกที่สอบสำเร็จในปีนั้นและได้ทรงพระราชทานรางวัล ในระหว่างเรียนทรงผนวชเณร โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สา) ปุสสะเทวะ เป็นพระอุปัชฌาย์ ประทับจำพรรษาอยู่ที่วัดราชประดิษฐ์จนทรงลาผนวช เรียนภาษาอังกฤษกับมิสเตอร์กรีน ซึ่งเป็นบัณฑิตจากออกซ์ฟอร์ด ต่อมาย้ายโรงเรียนไปเรียนที่อื่น จบโรงเรียนสุดท้าย ออกรับราชการเป็นข้าราชการในกระทรวงธรรมการ ในตำแหน่งนายเวรกระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ไปที่โรงเรียนสวนกุหลาบในหน้าที่ “ข้าหลวง”

ในขณะที่รับราชการอยู่ในกระทรวงธรรมการ ๒ ปี พระองค์เจ้ารัชนีทรงฝักใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมโดยการศึกษาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมอยู่โดยมิขาด โดยการคบหากับชาวต่างประเทศจนทรงคุ้นเคยกับขนบธรรมเนียมและตรัสภาษาอังกฤษได้คล่อง

พ.ศ. ๒๔๓๙ ทรงย้ายมารับราชการที่กระทรวงพระคลังในตำแหน่งผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้ดำรงตำแน่งเป็นล่ามที่กระทรวงพระคลัง
พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จประพาสทวีปยุโรป และพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตให้เสด็จอยู่เล่าเรียนในอังกฤษ ในกระทรงศึกษาธิการอยู่ในอังกฤษพระองค์ทรงได้เปรียบนักเรียนในขณะนั้นหลายคน ที่ทรงทราบเรื่องประเพณีภาษาอังกฤษมาก

เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยเคมบริจด์ได้แล้วทรงมุ่งมั่นหาความรู้ใส่พระองค์และโปรดการกีฬาอย่างเต็มที่ การศึกษาของพระองค์ก็สำเร็จกลับมาประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒

พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงเป็นปลัดกรมและผู้แทนกรมธนบัตร ทรงมีส่วนในการตราพระราชบัญญัติเงินตราในสมัยนั้น โดยการจัดพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้
พ.ศ. ๒๔๔๗ ทรงเป็นอธิบดีกรมกระษาปณ์สิทธิการ
พ.ศ. ๒๔๕๐ ทรงเป็นอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี
พ.ศ. ๒๔๕๔ ทรงเป็นองคมนตรี
พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้รับการสถาปนาพระยศเป็นเจ้านายต่างกรม
พ.ศ. ๒๔๕๙ ทรงเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิตพยากรณ์
พ.ศ. ๒๔๖๔ ทรงเป็นรองเสนาบดีกรมพาณิชย์

ในหน้าที่ราชการของราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญอีกหลายตำแหน่ง ทรงเป็นผู้เริ่มนำวิธีแบบใหม่มาใช้กับระบบราชการให้ก้าวหน้าและเป็นรากฐานของการบริหารประเทศมาจนทุกวันนี้

ด้านการศึกษาและวรรณคดี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ทรงเป็นอุปนายกกรรมการหอสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิปลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น “ราชบัณฑิตยสภา” พระองค์ทรงรับตำแหน่งเป็นอุปนายกแผนกวรรณคดี พระราชนิพนธ์ต่าง ๆ ที่ทรงไว้ที่ต่าง ๆ คือ

พ.ศ. ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ ๖ ทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอสาธิราช ทรงออกหนังสือพิมพ์รายเดือนชื่อทวีปัญญาขึ้น จึงชักชวนให้ผู้อื่นเขียนเรื่องมาลงด้วย เหตุนี้จดหมายจางวางหร่ำ จึงมีขึ้นในทวีปัญญา ต่อมาได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเป็นเล่ม

พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงจัดพิมพ์สืบราชสมบัติขึ้นเป็นเล่ม
พ.ศ. ๒๔๕๙ ทรงจัดพิมพ์ พระนลคำฉันท์ขึ้น แต่พิมพ์จำนวนไม่มากนัก เพื่อจะต้องการเก็บรักษาเป็นต้นฉบับต่อไป ในปีเดียวกันนี้ได้จัดพิมพ์ตลาดเงินตรา ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีคนส่วนมากไม่ทราบที่มาว่าหนังสือเล่นนี้ใครเป็นผู้แต่ง
พ.ศ. ๒๔๖๑ ทรงแต่งนิทาลเวตาลเพื่อพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมพัฒกรรัชนีซึ่งหนังสือเล่มนี้แพร่หลาย
พ.ศ. ๒๔๖๕ ทรงจัดพิมพ์ กนกนครขึ้น หนังสือเล่มนี้แต่งเป็นกลอน ๖ ทั้งเล่ม
พ.ศ. ๒๔๖๙ จัดพิมพ์หนังสือปารักกา เล่ม ๑ ขึ้นสำหรับแจกงานพระราช เพลิงศพคุณจอม มารดาซึ่งพระองค์ เป็นรัชนี แจ่มจรัส ตรัสในชุมนุมชน
พ.ศ. ๒๔๗๒ จัดพิมพ์หนังสือปาฐกฐถา เล่ม ๒
พ.ศ. ๒๔๗๓ จัดพิมพ์หนังสือประมวญนิทาน นมส. รวม ๒ เล่ม รวบรวมจากหนังสือ ลักวิทยาและทวีปัญญา
พ.ศ. ๒๔๗๔ ทรงแต่งเห่สือ ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพิธีทรงเปิดสะพานพุทธ วันที่ ๖ มิ.ย. ๒๔๗๕
พ.ศ. ๒๔๗๕ ทรงแต่งฉันท์คฤดี ส่งเลยสมโภชน พระมาท ๑ สวดฉัตร
พ.ศ. ๒๔๗๖ ทรงแต่งและพิมพ์ ความนึกในฤดูหนาว
พ.ศ. ๒๔๗๓ “ กลอนและนักกลอน
พ.ศ. ๒๔๗๔ “ คำทำนาย
พ.ศ. ๒๔๗๗ “ เครื่องฝึกหัดเยเตลแมนในออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์
พ.ศ. ๒๔๘๐ “ เสภา สภา
พ.ศ. ๒๔๘๑ “ ปฤษาณาเหรันศิก

นอกจากหนังสือดังกล่าวนี้ ยังมีพระนิพนธ์อีกเป็นจำนวนมากที่พระองค์ทรงเขียนประทานแก่หนังสือต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถจะรวบรวมและจดจำชื่อได้ และหนังสือเหล่านี้ได้สูญไปพร้อมกับโรงพิมพ์ประมวลเมื่อเกิดเพลิงไหม้

นับว่าพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นปราชญ์ในด้านวรรณคดีไทยโดยแท้ จะเห็นได้จากผลงานของพระองค์เท่าที่ปรากฏอยู่

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ ก.ค. ๒๔๘๘ ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริพระชนมายุ ๖๘ ปี ๖ เดือน ๑๓ วัน


Create Date : 10 สิงหาคม 2548
Last Update : 12 กันยายน 2548 13:37:15 น. 0 comments
Counter : 1237 Pageviews.

พญาเหยี่ยว
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add พญาเหยี่ยว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.