Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
26 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
ซอกแซกไปเรื่อย(๓) เส้นทางรถไฟใต้ดินปักกิ่ง


พอนั่งรถไปจนสุดอู่ที่อันติ้งเหมิน(安定门)แล้ว เราก็ต้องรีบลงจากรถทันทีเพราะหากขืนมัวนั่งอ้อยสร้อยอ้อยอิ่งอยู่่ลุุ่ะก็ แม่กระเป๋ารถเมล์คงจะด่าขโมงโฉงเฉงให้เป็นแน่

จากนั้นเราก็เดินต่อไปยังสถานีรถไฟใต้ดินอันติ้งเหมิน(สถานีหนึ่งของรถไฟใต้ดินสาย ๒)ที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากอู่รถเมล์มากนัก แค่ลงจากรถเดินเพียงสิบเก้าก็ถึงแล้ว

จ่ายค่าตั๋วโดยสารไปด้วยราคาเพียง ๒ หยวนเท่านั้น จากราคาเดิม ๓ หยวน วันนี้(๗ ต.ค. ๒๕๕๐)ก็เป็นวันแรกที่ทางการจีนลดราคาค่าโดยสารรถไฟใต้ดินลงมา นัยว่าเพื่อจูงใจให้ประชาชนชาวจีนหันมาใช้บริการรถไฟใต้ดินให้มากขึ้น เพื่อลดความหนาแน่นของการใช้รถยนต์บนท้องถนนที่ ณ ปัจจุบันนี้ค่อนข้างจะติดสาหัสสากรรจ์



เรานั่งไปลงที่สถานียงเหอกง(雍和宫 วัดลามะ)ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟใต้ดินสาย ๕ ที่อยู่ใกล้กับสถานีอันติ้งเหมิน(安定门)มากที่สุด เพียงแค่หนึ่งสถานีเท่านั้น

โอ๊ะโอ ช่าง เวรี่ อัพเซท เสียนี่กระไร ยังไม่เปิดให้ใช้บริการ

เลยเอาหูไปแอบฟังชาวจีนที่กำลังสอบถามพนักงานถึงเวลาที่จะเปิดให้ใช้บริการ ก็จับใจความได้ว่า จะเปิดให้ใช้บริการตอนบ่ายสอง



อุตส่าห์รีบมา..แล้วจะทำไงดีล่ะเนี่ยยย....

เผื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราจะไปต่อกันที่โรงละครแห่งชาติจีนก่อนแล้วค่อยกลับมาใช้บริการรถไฟใต้ดินสาย ๕ กันใหม่อีกครั้ง

ซอกแซกไปเรื่อย(๔) โรงละครแห่งชาติจีน




ขอเกริ่นเอาไว้ก่อน



คำว่า ตี้เถี่ย(地铁) ในภาษาจีนกลางจะหมายถึง รถไฟใต้ดิน

จากรูปจะเห็นได้ว่า ณ ตอนนี้ ที่ปักกิ่งมีรถไฟใต้ดิน ด้วยกันทั้งหมด ๕ สาย

สายสีแดง หรือสายหนึ่งกับสายปาทง เป็นสายที่ทอดตัวไปตามแนวของถนนฉางอัน(长安街)

สายสีน้ำเงิน หรือสายสอง เป็นสายที่่ทอดตัวไปตามแนวของถนนวงแหวนที่สอง

สายสีเหลือง หรือสายสิบสาม บางทีคนจีนเค้าก็เรียกสายนี้ว่า สายเฉิงเถี่ย(城铁)

สายสีม่วง หรือสายห้า ซึ่งเป็นสายล่าสุดที่เริ่มเปิดให้ประชาชนชาวจีนเข้าใช้บริการในวันนี้(๗ ตุลาคม ๒๕๕๐)เป็นวันแรก

และในปีหน้านี้(ปี ๒๐๐๙) ก็จะเปิดให้บริการรถไฟใต้ดินสายสี่(สายสีส้ม..มั๊ง)


รถไฟใต้ดินสาย ๑ มีจำนวนสถานีด้วยกันทั้งหมด ๒๓ สถานี

เริ่มจากทางทิศตะวันตกที่สถานี

ผิงกว่อหยวน(苹果园)
กู่เฉิง(古城)
ปาเจี่ยว(八角)
ปาเป่าซาน(八宝山)
อี้ว์เฉวียนลู่(玉泉路)
อู่เคอซง(五棵松)
ว่านโซ่วลู่(万寿路)
กงจู่เฝิน(公主坟) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๑๐(ในอนาคต)
จวินซื่อปั๋วอู้ก่วน(่ีื军事博物馆) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๙(ในอนาคต)
มู่ซีตี้(木樨地)
หนานหลี่ซื่อลู่(南礼士路)
ฟู่ซิงเหมิน(复兴门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๒
ซีตัน(西单)
เทียนอันเหมินซี(天安门西)
เทียนอันเหมินตง(天安门东)
หวังฝูจิ่ง(王府井)
ตงตัน(东单) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๕
เจี้ยนกว๋อเหมิน(建国门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๒
หย่งอันหลี่(永安里)
กว๋อเม่า(国贸) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๑๐(ในอนาคต)
ต้าว่างลู่(大望路)
ซื่อหุ้ย(四惠) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสายปาทง, สาย ๑๔(ในอนาคต)
ซื่อหุ้ยตง(四惠东) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสายปาทง


รถไฟใต้ดินสายปาทง มีจำนวนสถานีด้วยกันทั้งหมด ๑๓ สถานี

เริ่มจากสถานี

ซื่อหุ้ย(四惠) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๑, สาย ๑๔(ในอนาคต)
ซื่อหุ้ยตง(四惠东) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๑
เกาเป้ยเตี้ยน(高碑店)
กว่างปัวเสวียเยวี่ยน(广播学院)
ซวงเฉียว(双桥)
ก่วนจวง(管庄)
ปาหลี่เฉียว(八里桥)
ทงโจวเป่ยเยวี่ยน(通洲北苑)
กว่อหยวน(果园)
จิ่วเคอซู่(九棵树)
หลี่หยวน(梨园)
หลินเหอหลี่(临河里)
ถู่เฉียว(土桥)



รถไฟใต้ดินสาย ๒ เส้นทางมีลักษณะเป็นวงแหวน มีจำนวนสถานีด้วยกันทั้งหมด ๑๘ สถานี

เริ่มต้นที่สถานี

ซีจื๋อเหมิน(西直门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๔(ในอนาคต), สาย ๑๓
เชอกงจวง(车公庄) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๖(ในอนาคต)
ฟู่เฉิงเหมิน(阜成门)
ฟู่ซิงเหมิน(复兴门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๑
ฉางชุนเจีย(长椿街)
ซวนอู่เหมิน(宣武门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๔(ในอนาคต)
เหอผิงเหมิน(和平门)
เฉียนเหมิน(前门)
ฉงเหวินเหมิน(崇文门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๕
เป่ยจิงจ้าน(北京站)
เจี้ยนกว๋อเหมิน(建国门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๑
เฉาหยางเหมิน(朝阳门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๖(ในอนาคต)
ตงซื่อสือเถียว(东四十条)
ตงจื๋อเหมิน(东直门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดสินสาย ๑๓, สายสนามบิน
ยงเหอกง(雍和宫) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๕
อันติ้งเหมิน(安定门)
กู่โหลวต้าเจีย(鼓楼大街)
จีสุ่ยถาน(积水潭)

รถไฟใต้ดินสาย ๒ นั้น ส่วนบนทอดตัวไปตามแนวของถนนวงแหวนที่สอง มีเส้นทางเดินรถสองแบบ รอบนอกเส้นทางจากสถานี ซีจื๋อเหมิน-ฟู่ซิงเหมิน-ตงจื๋อเหมิน-ซีจื๋อเหมิน รอบในเส้นทางจากสถานี จีสุ่ยถาน-ตงจื๋อเหมิน-ฟู่ซิงเหมิน-จีสุ่ยถาน




รถไฟใต้ดินสาย ๑๓ ทอดตัวโค้งเป็นวงแหวนขึ้นไปทางตอนเหนือของเมืองปักกิ่ง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๐๐๒ เส้นทางจากซีจื๋อเหมิน <--> ฮั่วอิง และขยายเส้นทางจาก ฮั่วอิง <--> ตงจื๋อเหมิน เมื่อเดือนมกราคม ๒๐๐๓ มีจำนวนสถานีด้วยกันทั้งหมด ๑๖ สถานี

เริ่มต้นที่สถานี

ซีจื๋อเหมิน(西直门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๒, สาย ๔(ในอนาคต)
ต้าจงซื่อ(大钟寺)
จือชุนลู่(知春路) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๑๐(ในอนาคต)
อู่เต้าโข่ว(五道口)
ซ่างตี้(上地)
ซีเอ้อฉี(西二旗)
หลงเจ๋อ(龙泽)
หุยหลงกวน(回龙观)
ฮั่วอิง(霍营) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๘(ในอนาคต)
ลี่สุ่ยเฉียว(立水桥) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๕
เป่ยเยวี่ยน(北苑)
ว่างจิงซี(望京西)
เสาเหย้าจีว์(芍药居) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๑๐(ในอนาคต)
กวงซีเหมิน(光熙门)
หลิ่วฟาง(柳芳)
ตงจื๋อเหมิน(东直门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๒, สายสนามบิน



รถไฟใต้ดินสาย ๕ เริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี ๒๐๐๒ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ของวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ มีจำนวนสถานีด้วยกันทั้งหมด ๒๓ สถานี

เริ่มต้นที่สถานี

เทียนทงเยวี่ยนเป่ย(天通苑北)
เทียนทงเยวิ่ยน(天通苑)
เทียนทงเยวี่ยนหนาน(天通苑南)
ลี่สุ่ยเฉียว(立水桥) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๑๓
ลี่สุ่ยเฉียวหนาน(立水桥南)
เป่ยเอวี้ยนลู่เป่ย(北苑路北)
ต้าถุนลู่ตง(大屯路东)
หุ้ยซินซีเจียเป่ยโค่ว(惠新西街北口)
หุ้ยซินซีเจียหนานโค่ว(惠新西街南口) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๑๐(ในอนาคต)
เหอผิงซีเฉียว(和平西桥)
เหอผิงหลี่เป่ยเจีย(和平里北街)
ยงเหอกง(雍和宫) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๒
เป่ยซินเฉียว(北新桥)
จางจื้อจงลู่(张自忠路)
ตงซื่อ(东四) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๖(ในอนาคต)
เติงซื่อโค่ว(灯市口)
ตงตัน(东单) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๑
ฉงเหวินเหมิน(崇文门) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๒
ฉือชี่โข่ว(磁器口) สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินสาย ๗(ในอนาคต)
เทียนถานตงเหมิน(天坛东门)
ผูหวงหยู(蒲黄榆)
หลิวเจียเหยา(刘家窑)
ซ่งเจียจวง(宋家庄)


รถไฟใต้ดินสายห้านี้วางทอดตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ มี ๗ สถานีแรกตั้งอยู่เหนือระดับพื้นดิน (天通苑北 <--> 大屯路东) สถานีที่เหลือตั้งอยู่ใต้พื้นดิน


Create Date : 26 สิงหาคม 2550
Last Update : 4 เมษายน 2551 12:10:48 น. 0 comments
Counter : 8931 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

WangAnJun
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add WangAnJun's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.