===== "ถ่ายเด็ก..เรื่องเด็กๆ.." : 10 เคล็ดลับสไตล์คุณแม่มือโปร ===== เชื่อว่าหลายๆ คนลงทุนซื้อกล้องแพงๆ หรือมาเริ่มจับ DSLR เอาเมื่อตอนมีลูกนี่แหละ ก็ลูกเรามันน่าร้าากก.. แถมโตวันโตคืน จะเก็บช่วงเวลาดีๆ ด้วยกล้องป๊อกแป๊กถูกๆ ได้ไง แต่บางครั้งหรือบ่อยครั้ง การถ่ายรูปคุณลูกแสนซนก็เป็นเรื่องน่าปวดหัวมิใช่น้อย... ลองมาดูกันดีกว่าว่าคุณแม่มือโปร เวลาว่างๆ ถ่ายรูปลูกๆ ของตัวเอง เธอมีเคล็ดลับ อะไรบ้าง.. บางทีอาจจะไม่เกี่ยวกับกล้องแพงหรือถูกก็ได้ เพราะภาพที่น่าจดจำ ส่วนใหญ่ มักจะมาจากมุมมองเป็นสำคัญอยู่แล้ว... ________________________________________________________________ จากบทความ "Piece of Cake: Best Practices for Photographing Your Children" โดย Elizabeth Halford ใครไม่อยากอ่านสำนวนกวนโอ๊ยถูกบ้างผิดบ้างของผม ไปตามอ่านจากต้นฉบับได้เลย ( tutsplus.com - เวปนี้ดีนะ มีเทคนิค ไอเดียเยอะแยะ สำหรับคนชอบถ่ายภาพ กราฟฟิคดีไซน์ PS ฯลฯ เอาไปห้าดาวเลย ) อ่านต่อ : Link ________________________________________________________________ 1. ร้องไห้บ้างก็ได้นะ ![]() "น้ำตา" เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็กๆ แล้วคุณจะหยุดถ่ายรูปตอนเค้าร้องไห้ทำไมล่ะ ถ้าไม่ได้หกล้มหัวร้างข้างแตก ถ่ายรูปตอนเค้าแสดงอารมณ์อื่นๆ บ้าง ก็เป็นบันทึก ความทรงจำได้อย่างดี... อย่างภาพตัวอย่าง อลิซาเบธ (ผู้เขียน) เล่าว่า เธอถ่ายรูปนี้หลังจากที่เด็กๆ สนุกมา ทั้งวัน และหน้าเบ้ๆ ที่เห็น มันโผล่มาแค่เสี้ยววินาที แถมมีน้องน้อยวิ่งร่าเริงเป็นฉากหลัง โมเม้นต์เล็กๆ ที่แตกต่าง สร้างภาพประทับใจให้เราย้อนความทรงจำกลับไปในวันนั้น ได้อย่างดีเลยล่ะ 2. ถ่ายบางส่วน ![]() บางครั้งภาพ มือหรือเท้า ก็บอกเรื่องราวได้เยอะแยะกว่าภาพเต็มตัวซะอีก ช่างภาพสาวแนะนำว่า เธอชอบถ่ายมือหรือเท้าเวลาเด็กๆ ทำกิจกรรมอะไร ที่น่าสนใจ เช่น ปั้นดินน้ำมัน ขุดหาหนอน ตกแต่งคุกกี้ ฯลฯ ลองสแนปภาพ พวกนี้ แล้วเอามารวมๆ ในอัลบั้มที่มีหน้าเด็กๆ ยิ้มร่าเริงสดใส ก็ช่วยเสริม อารมณ์และเรื่องราวให้อัลบั้มครอบครัวของคุณได้อีกเยอะเลย... 3. เด็กๆ ตัวเล็กนะ ![]() เด็กๆ ตัวเล็กนะ ฉะนั้นเวลาถ่ายพวกเค้า อย่าลืมก้มหรือย่อตัวให้อยู่ในระดับ สายตาของลูกๆ เหมือนคุณกำลังเข้าไปอยู่ในโลกของพวกเค้า.. อย่างภาพตัวอย่าง.. คุณแม่ทิ้งระยะห่างให้ลูกได้ "เป็นตัวเอง" ได้เต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องโพสต์ท่าหน้ากล้อง แล้วคุณจะได้รูป "ลูกตัวจริง" ของคุณ คุณแม่ให้ทริคเล็กๆ ว่า องค์ประกอบภาพพวกถ้วยนมเลอะๆ ตามพื้น หรือ ผ้าห่มสีสดใสบริเวณฉากหน้า ก็ช่วยเสริมเรื่องราวให้ภาพดูไม่ธรรมดาได้นะ 4. เล่นตามโจทย์ ![]() เวลาคุณเรียกลูกๆ มาถ่ายรูป มักจะได้ท่าโพสต์กับรอยยิ้มแบบเดิมๆ ใช่มั้ย ? ลองให้โจทย์ให้เค้าทำอะไรซักอย่างสิ อย่างเช่น ให้โยนลูกบอลเล่น ทำท่าเป็นเจ้าหญิง หรือแปลงร่างแบบ Ben 10 แล้วลูกคุณจะดูมีชีวิตชีวา ขึ้นทันที.. ทำให้การถ่ายรูปเป็นเรื่องสนุก แล้วคุณจะได้ภาพสนุกๆ เอง 5. ถ่ายไม่ยั้ง ![]() พกเมมให้เต็มกระเป๋า แล้วถ่ายเยอะๆ เข้าไว้ เพราะหลายๆ ครั้ง ภาพประทับใจ มักได้มาโดยคุณไม่รู้ตัว..อย่างภาพตัวอย่าง คนถ่ายเองยังจำไม่ได้เลยว่าถ่ายไว้ มาค้นเจอในคอมพิวเตอร์เนี่ยแหละ 6. อยู่ห่างๆ ![]() ถ้าลูกคุณโตพอดูแลตัวเองได้แล้ว คุณแม่ของเราแนะนำให้เราแอบไปถ่ายไกลๆ ให้เค้าได้เล่นเต็มที่ ได้ทำอะไรตามใจตัวเองบ้าง แล้วภาพประทับใจที่มีเรื่องราว ข้างหลังภาพ..มันก็มาเอง 7. เปลี่ยนมุมมองซักหน่อย ![]() ถ้าถ่ายแต่มุมมองเดิมๆ คุณก็มักจะได้แต่รูปเดิมๆ ลองยกกล้องถ่ายมุมสูงบ้างต่ำบ้าง เอียงบ้าง ตะแคงบ้าง แล้วคุณจะได้มุมใหม่ๆ ที่ไม่น่าเบื่อ... 8. สามเหลี่ยมเบสิค ![]() ถ้าอยากถ่ายรูปให้ดีขึ้น ต้องลองทำความเข้าใจพื้นฐานของการถ่ายภาพเอาไว้ ง่ายๆ มันอยู่ในสามเหลี่ยมนี่หมดละ ซึ่งหลักการทำงานของกล้องทุกตัวบนโลก ก็คือการบันทึกภาพจากแสงที่ผ่านเข้ามาในกล้อง โดยควบคุมปริมาณรับแสง ด้วย 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1. รูรับแสง (Aperture) หรือค่า f ที่ยิ่งเปิดกว้างมากเท่าไหร่ (f น้อย) ภาพจะชัดตื้น มากขึ้นเท่านั้น ระยะที่คุณโฟกัสจึงชัดมากที่สุด ระยะอื่นๆ ที่อยู่ด้านหน้าด้านหลัง ก็จะเบลอขึ้นเบลอขึ้นตามระยะห่างจากจุดโฟกัส แต่ถ้าเปิดรูรับแสงแคบขึ้น (f มาก) ภาพก็จะชัดลึกขึ้นลึกขึ้นจนไม่เหลือระยะเบลอเลย 2. ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) ความเร็วยิ่งเยอะ วัตถุเคลื่อนไหวยิ่งหยุดนิ่ง อย่างภาพกลางคืนที่เห็นไฟวิ่งเป็นสาย คนถ่ายมักจะใช้ซัก 4-5 วินาทีขึ้น แต่ถ้าไปถ่ายรถแข่ง อาจต้องดันความเร็วไปถึง 1/1000 วินาทีทีเดียว 3. ISO การปรับค่าความไวแสงในตัวกล้อง ยิ่งแสงน้อยอย่างในร่มหรือตอนกลางคืน คุณยิ่งต้องใช้ค่า ISO มากขึ้น ปัญหาคือค่า ISO ยิ่งมากภาพมักจะลดความคมชัดลง หรือที่เรียกว่า "นอยซ์" (Noise) กล้องยิ่งแพงหรือยิ่งใหม่ มักจะพัฒนาให้ไฟล์ภาพ ใน ISO สูงๆ มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อช่วยให้คุณถ่ายในที่แสงน้อยได้ง่ายขึ้นสวยขึ้น นั่นเอง (เฮ้อ...ขออนุญาตพักปาดเหงื่อจิบน้ำจับเลี้ยงซัก 2 แก้ว...) ___________________________________________________________ เอาง่ายๆ เลยละกัน ลองนึกภาพกล้องเป็นสัตว์ประหลาดซักตัวที่ชอบกินแสง หนึ่งก้อนเป็นอาหาร กิน 1 ก้อน = ภาพ 1 ภาพ สัตว์ตัวนี้มีปริมาตรกระเพาะ ที่คงที่ เมื่อมันอ้าปากกว้าง (เปิดรูรับแสงกว้าง) งับแค่คำเดียว (ความเร็ว- ชัตเตอร์สูง) กินแว๊บเดียวมันก็อิ่มแล้ว ใช่มั้ย ? ในทางตรงข้าม ถ้ามันทำปากจู๋ๆ ดูดแสงเข้าท้อง (รูรับแสงแคบ) มันก็ต้อง ใช้เวลากินนานขึ้นกว่าจะอิ่ม ใช่มะ...(ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ) แล้วถ้าอาหารขาดแคลน แบบถ่ายภาพตอนมืดๆ ล่ะ...สัตว์ประหลาดของเรา ก็สามารถปรับกระเพาะให้เล็กลงได้ (ISO ค่าความไวแสงสูงขึ้น) เพื่อให้กินแสง ก้อนเล็กลงแต่ก็อิ่มได้ใช่มะ...แต่ถึงมันจะอิ่ม ปริมาณสารอาหารที่ได้ก็ยังไม่ครบ มันเลยออกอาการหน้าตากระดำกระด่างเพราะน้อยซ์มาเยือนนั่นเอง อิอิ เห็นมั้ยครับ..เจ้าสามสิ่งที่ว่าต้องมันต้องทำงานสัมพันธ์กันเสมอเพื่อบันทึกภาพ เอาไว้...แล้วรู้แล้วมันมีประโยชน์อะไรล่ะ ??? อย่างน้อยก็จะได้เลิกบ่นซะทีว่ากล้องตัวละ 2-3 หมื่นมันห่วย เวลาที่คุณ กลับบ้านตอนค่ำๆ แล้วพยายามถ่ายรูปลูกสุดแสนน่ารัก ที่วิ่งซนไปมาโดย ไม่ใช้แฟลช เพราะตอนนั้นกล้องมันทั้งบีบกระเพาะ ทั้งอ้าปากกว้างสุดๆ แต่คุณลูกวิ่งเร็วซะจนมันไล่งับไม่ทัน ภาพมันก็เบลอสิครับท่าน..อิอิ 9. Sunny 16 ![]() อ๊าาากกก...ทฤษฎีอีกแล้ว...ในบทความ..คุณแม่เธอไม่ได้อธิบายกฎ Sunny 16 ว่าคืออะไร ฉะนั้นใครอยากรู้ก็ไปเสิร์ชหาเอาเอง..อิอิ ข้อนี้คุณแม่โปรบอกแค่ว่า ในวันแดดดีๆ เธอมักปรับกล้องไปที่โหมด AV แล้วปรับค่ารูรับแสงไปที่ f/16 เพื่อให้กล้องเก็บดีเทลรายละเอียดความชัดลึก ได้อย่างเต็มที่ แล้วภาพลูกๆ จะออกมาสวยคมสดใสไปเลยล่ะ ส่วนตัวผมเองคิดว่าไม่จำเป็นต้องซีเรียสกับ f/16 ให้มันมากนัก แค่จับลูกทา ครีมกันแดดแล้วออกมาถ่ายรูปเล่นตอนเช้าๆ หรือบ่ายๆ กล้องตัวไหนมันก็ ถ่ายได้สบายหมดแหละคุณ 10. Auto โลด ![]() ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังไม่เก๋าพอจะถ่ายโหมด M หรือโหมดอื่นที่ต้องตั้งค่าเองเยอะๆ คุณแม่มือโปรแนะนำให้ใช้ SCN โหมด Sport เวลาลูกกำลังซนกันเต็มเหนี่ยว ไม่ ก็ใช้โหมด Portrait เวลาลูกพร้อมเก๊กหล่อเก๊กสวยกันเต็มที่ ซึ่งโหมด Sport จะเน้นความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เพื่อจับภาพลูกคุณให้หยุดนิ่ง ส่วน Portrait เน้นเปิดรูระบแสงกว้างๆ ใช้ถ่ายใกล้ๆ ซักช่วงหน้าถึงไหล่ เพื่อ เบลอฉากหลังให้ได้มากที่สุด _____________________________________________________ สุดท้ายและท้ายสุด...คุณแม่มือโปรให้ข้อคิดว่า เวลาถ่ายรูปเด็กๆ ให้คิดแบบเด็กๆ เด็กเค้าชอบเล่นชอบสนุก ซื่อๆ ใสๆ ไม่เสแสร้ง ฉะนั้นอย่าไปหลอกล่อให้เค้าทำ อะไรที่ขัดกับธรรมชาติของเค้าเลย มันไม่เวิร์คหรอก และที่สำคัญลองคิดลอง ทดลองถ่ายนอกกรอบดูบ้าง แล้วคุณจะได้ภาพความทรงจำสวยๆ ให้เก็บไว้อีกเยอะ ก็มันอีกหลายปีนี่นา กว่าพวกเค้าจะโตจนจากอกพวกเราไปจริงๆ ขอพลังจงสถิตย์อยู่กับพ่อแม่นักถ่ายทุกคน..อิอิ ![]() ขอบพระคุณมากๆค่ะได้ อ่านแล้วนำไปใช้ในการถ่ายรูปจอมซนแล้วได้ผลจริงๆค่ะ
โดย: หมีพูอ้วนพี IP: 118.172.169.196 วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:11:55:22 น.
ดีมากเลยคับ มีกล้องแพงใช้แต่ออโต้ 9hv'/7d/o.sh,kd
โดย: Longta IP: 125.25.248.246 วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:12:06:33 น.
คุณแม่หมีพูฯ เสือปืนไวมาก โพสต์ลงบล็อกไปแป๊บๆ เอาไปทดลองถ่ายละ
คุณ Longta - ใช้ออโต้แต่ถ้าได้ภาพถูกใจเรา ก็ไม่ผิดหรอกครับ โดย: หน้าม้ารับจ้าง
![]() สวัสดีตอนค่ำๆครับ .....
เป็นบทความที่ดีครับ เดี๋ยวจำไปใช้ถ่ายภาพลูกๆ บ้าง ..... ![]() โดย: NET-MANIA
![]() เข้ามาอ่านครับ พลาดไปหลายข้อเหมือนกันนะเนี่ย .... ^_____^
เีดี๋ยวจะเอาไปปรับปรุงตัวเองครับ ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลดีๆ โดย: นายตัวเล็กจัง IP: 202.28.45.1 วันที่: 27 เมษายน 2554 เวลา:22:42:54 น.
อืม จิงนะคะ ไม่ค่อยมีใครถ่ายภาพลูกๆตอนร้องไห้เลย
โดย: สัญญาลมปาก
![]() คุณ NET-MANIA - ลูกๆ น่ารักมากเลยครับ
นายตัวเล็กจัง - เป็นแค่เคล็ดลับของคนแต่งเขา ไม่ต้องตามทุกข้อ ก็ได้ครับ อ่านเป็นไอเดีย แล้วเอาที่เหมาะกับเราไปลองถ่ายดูครับ คุณสัญญาลมปาก - ผมก็ไม่เคยถ่ายเหมือนกัน น่าลองนะ โดย: หน้าม้ารับจ้าง
![]() บล็อกฯเป็นประโยชน์สำหรับคนเห่อลูกมากเลยค่ะ
โดย: เเอม (bad weather) IP: 58.178.127.203 วันที่: 17 สิงหาคม 2554 เวลา:11:26:28 น.
|
หน้าม้ารับจ้าง
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ชอบเที่ยว ชอบถ่ายรูป ชอบดูหนังฟังเพลง... แต่ไม่ชอบโชว์หน้าตา... บล็อกนี้เลยมีแต่เรื่องที่ผมชอบ เอารูปตอนไปเที่ยวมาโชว์... เอาภาพเอาบทความเรื่องถ่ายภาพมาให้ชม... เอาหนังเอาเพลงที่เราประทับใจมาแบ่งกันฟัง... ชอบเหมือนๆ กัน มาแชร์กัน คิดต่าง ก็ว่ากันไป ไม่เครียดอยู่แล้ว อิอิ _____________________________ Group Blog All Blog
Link
|
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |