------------ ข้างหลังภาพ : เช กูวาร่า ----------


ก่อนจะมาเป็นภาพฮอตฮิตประจำท้ายรถสิบล้อเมืองไทย ภาพอมตะ
ที่คนคุ้นตามากที่สุดในโลกภาพนี้ กำเนิดขึ้นด้วยความบังเอิญแท้ๆ
____________________________________________

เช้าวันที่ 5 มีนาคม 1960 อัลแบร์โต กอร์ดา (Alberto Korda)
ช่างภาพ นสพ.เรโวลูซิโอ ของคิวบา ได้ติดตามขบวนของนายก
หนุ่มนักปฏิวัติ ฟิเดล คาสโตร ไปในพิธีไว้อาลัยเหตุการณ์
La Coubre (เรือบรรทุกสินค้าระเบิดจนเป็นเหตุให้คนงานท่าเรือ
เสียชีวิตนับร้อย)

ขณะที่นายพลคาสโตรกำลังกล่าวคำไว้อาลัยบนเวที ท่ามกลาง
ฝูงชนนับพัน ในกลุ่มคนวันนั้นมีนักปรัชญาชื่อดัง ฌองพอล ฌาร์ค
เจ้าลัทธิอัตถิภาวะนิยม(Existentialism)และ ซีโมน เดอโบวัว
แฟนคลับหนุ่มสาวของเชร่วมขบวนอยู่ด้วย...

________________________________________________

ม้วนฟิลม์บันทึกเหตุการณ์ในวันนั้น



เวลา 11.20 น. ขณะที่กอร์ดากำลังง่วนกับการบันทึกภาพนายกคาสโตร
และเก็บเหตุการณ์ทั่วๆ ไป เช กูวาร่า (หรือ เช เกบารา ตามสำเนียงสแปนิช)
ได้ปรากฏตัวขึ้นอย่างเงียบๆ เชในขณะนั้นเพิ่งขยับฐานะจากนักปฏิวัติมือขวา
ของคาสโตรเป็น รมว.อุตสาหกรรมในรัฐบาลใหม่ของคิวบา

ย้อนไปเพียง 1 วันก่อนหน้า เชได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์สลดครั้งนี้ด้วย และเค้า
ก็เป็นคนแรกๆ ที่วิ่งฝ่าทะเลเพลิงเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ จนตัวเองได้รับ
บาดเจ็บตามไปด้วย....ความรู้สึก ณ ขณะนั้น ในพิธีไว้อาลัย...
เชอาจรู้สึกเจ็บปวดหรือโกรธเกรี้ยว สับสนหรือโศกเศร้ากับความสูญเสีย...
....ไม่มีใครรู้ว่าเชคิดอะไรอยู่......



ห่างไปเพียงไม่ถึง 10 เมตร จมูกนักข่าวของกอร์ดาไวพอจะจับความรู้สึกนั้นได้
เค้าประทับอาวุธ ไลก้า M2 ติดเลนส์ 90 มม. บันทึกการมาถึงของเชได้เพียง
2 ชอต เป็นภาพแนวนอนและแนวตั้ง ก่อนที่เชจะลับหายไปในฝูงชน
ภาพประวัติศาสตร์หรือบางคนเรียกว่า "พอร์เทรดแห่งศตวรรษที่ 20"
ประทับอยู่บนฟิล์มขาวดำโกดัก Plus-X pan ในเฟรมที่ 40

"ผมยังจำได้ติดตาราวกับมันเพิ่งเกิดขึ้น ภาพของเชที่ผมเห็นผ่านวิวไฟน์เดอร์
มันเปี่ยมด้วยพลัง จนผมสั่นสะท้านไปทั้งตัว.."

เพียงเสี้ยววินาทีของแสงและเงา จังหวะและเวลา แววตาและความรู้สึก มันได้
ถูกบันทึกไว้ตลอดกาล ซึ่งแม้กอร์ดาจะมีโอกาสถ่ายภาพเชอีกหลายๆ ครั้ง
หลังจากนั้น แต่เค้ายอมรับว่า ไม่มีภาพไหนที่ทรงพลังติดตาตรึงใจได้เท่ากับ
ภาพนี้





______________________________________________________

แม้ว่านสพ.จะไม่ได้เลือกภาพเชลงในข่าววันนั้น แต่กอร์ดาคนถ่ายยังเก็บ
ฟิล์มต้นฉบับไว้อย่างดี พร้อมเลือกภาพแนวนอนมาครอปส่วนต้นปาล์มและ
หน้าคนออกจนเหลือแบคกราวด์โล่งๆ เค้าใส่กรอบแขวนภาพนี้ไว้บนฝาบ้าน
บางครั้ง ก็อัดภาพส่งให้เพื่อนๆ เป็นของขวัญบ้างเป็นครั้งคราว....



________________________________________________

7 ปีให้หลัง เชเข้าร่วมขบวนการใต้ดินในอาเจนตินาและออกเคลื่อนไหวไป
ทั่วอเมริกาใต้ จนถูกจับตัวและประหารชีวิตในโบลิเวีย ภาพของเชจึงได้
เผยแพร่สู่สาธารณชนเป็นครั้งแรก บนปกหนังสืออัตชีวประวัติและบันทึกส่วนตัว
ของเช ก่อนจะถูกทำซ้ำเป็นไฟลามทุ่งไปทั่วโลก ตั้งแต่ ภาพพิมพ์เงาดำบน
พื้นแดงที่แพร่หลายมากที่สุด ฝีมือศิลปินชาวไอริส จิม ฟิซแพทริค (Jim
Fitzpatrick) ภาพ Pop Art หลากสีสันโดยศิลปินอเมริกัน Pop Art
แอนดี้ วอร์ฮอล เรื่อยไปจนถึง ธงนำขบวนหนุ่มสาวนักเคลื่อนไหวในยุค 60's
แล้วแปรสภาพเป็นนานาผลิตภัณฑ์ อาทิ เสื้อยืด สติกเกอร์ โปสเตอร์ เข็มกลัด
นาฬิกา กระทั่งรองเท้าก็ไม่เว้น









แม้จะถูกก็อปอย่างมโหฬารนับพันล้านก็อปปี้ อัลแบร์โต กอร์ดา เจ้าของ
ต้นฉบับไม่เคยได้รับค่าลิขสิทธิ์แม้แต่สตางค์แดงเดียว เพราะรัฐบาลคิวบา
ไม่ค่อยแยแสกับเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์เท่าใดนัก

มีเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้นในปี ค.ศ. 2000 ที่กอร์ดาฟ้องร้องโฆษณาเหล้า
ยี่ห้อสเมอร์นอฟ (Smirnoff) จนได้ค่าตอบแทนเป็นเงินถึง $50,000

"ผมไม่เคยเรียกร้องอะไรจากคนที่เคารพศรัทธา และใช้ภาพเชเพื่อต่อต้าน
ความอยุติธรรมในสังคม แต่การนำเชมาโฆษณาสินค้าอบายมุขแบบนี้..
เป็นการทำลายภาพลักษณ์ของเช ซึ่งผมรับไม่ได้..."

แล้วเงินทั้งหมดก็ถูกบริจาคเข้าองค์กรสาธาณสุขในคิวบา "ถ้าเชยังมีชีวิตอยู่
เค้าคงทำไม่ต่างจากผม" กอร์ดากล่าวถึงวีรบุรุษของเค้า




______________________________________________________

ณ วันนี้ ภาพของเช กูวาร่า ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อ
ความเท่าเทียมกันในสังคม ได้ถูกกระแสวัฒนธรรมป็อปกลืนกินบิดเบือนจน
แทบไม่เหลือเค้าลางเดิมๆ....จากสัญลักษณ์ของขบถมากด้วยอุดมการณ์
..กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเท่ ความ Cool ที่เด็กรุ่นหลังแทบไม่รู้จัก
เลยว่าคนบนเสื้อยืดของพวกเค้าคือใครกันแน่...

เชตายไปแล้ว...แต่จิตวิญญาณแห่งการเสียสละ การต่อสู้เพื่อความยุติธรรม
อย่างแท้จริงในสังคม มันตายไปแล้วจริงหรือ...???




.....คำตอบอยู่ที่ตัวคุณเอง.....





_______________________________________________________

อัลแบร์โต กอร์ดา (1928-2001)
_______________________________________________________





เข้ามาสู่วงการถ่ายภาพด้วยความหลงใหลในรูปลักษณ์ของสาวงาม
อัลแบร์โต กอร์ดา ชอบถ่ายภาพสาวสวยและใฝ่ฝันอยากเป็นช่างภาพแฟชั่น
มาตั้งแต่เด็ก แต่สังคมคิวบาสมัยนั้นยังไม่เปิดกว้างพอ เค้าจึงเริ่มต้นอาชีพ
ด้วยการถ่ายงานโฆษณาอยู่หลายปี จนประสบความสำเร็จร่ำรวย และได้เป็น
ช่างภาพแฟชั่นคนแรกของคิวบาตามฝัน โดยมีผลงานลงในนิตยสาร "Havana
Weekly" ภรรยาคนที่ 2 ของเค้าคือท้อปโมเดลของคิวบาในขณะนั้น

จุดเปลี่ยนของกอร์ดา เริ่มขึ้นเมื่อเค้าได้บันทึกภาพความแร้นแค้นของสังคม
ผ่านเด็กหญิงตัวน้อยที่อุ้มท่อนไม้เก่าๆ แทนที่จะเป็นตุ๊กตานุ่มนิ่มน่ารัก...
แบบที่เด็กในเมืองมีกัน...



นับแต่นั้น เค้าละทิ้งชีวิตฟู่ฟ่าในสังคมแสงสีแห่งฮาวานา ผันตัวไปเป็นช่างภาพ
หนังสือพิมพ์ และร่วมขับเคลื่อนขบวนการปฏิวัติผ่านภาพถ่าย นอกจากภาพเช
อันโด่งดัง ภาพหนุ่มบนเสาไฟ ท่ามกลางคลื่นมหาชนในวันฉลองชัยชนะของ
คณะปฏิวัติฟิเดล คาสโตร ก็น่าประทับใจไม่แพ้กัน



หากมีตากล้องหนุ่มไปขอคำแนะนำจากตากล้องแก่ๆ คนนี้ เค้าคงพูดเหมือน
ทุกครั้งว่า "ลืมกล้อง ลืมเลนส์ ลืมอุปกรณ์ทั้งหลายแหล่ที่คุณมีซะ กล้อง
ป๊อกแป๊กตัวละร้อยสองร้อย ก็ถ่ายภาพดีๆ ได้แล้ว.."

กอร์ดาเชื่อเสมอว่าจิตวิญญาณของภาพถ่าย มาจากความมุ่งมั่นลุ่มหลงของ
ตากล้องเอง ไม่ใช่มาจากกล้องหรืออุปกรณ์ใดๆ..
(แหงล่ะ..ก็ลุงใช้ไลก้านิ อิอิ)



______________________________________________________

เรียบเรียงข้อมูล จาก : Behind the Photo : Link

______________________________________________________


ปล. : บทความชิ้นนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อเผยแพร่แนวคิด
ความเชื่อ รสนิยม ระบอบการปกครอง หรืออุดมการณ์ทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น





Create Date : 07 เมษายน 2554
Last Update : 9 กรกฎาคม 2555 15:07:51 น.
Counter : 10528 Pageviews.

16 comments
  
น่าสนใจดีมากครับ ขออนุญาตลิงค์ให้คนมาชมนะครับ
โดย: rinchai IP: 58.11.35.185 วันที่: 7 เมษายน 2554 เวลา:17:18:46 น.
  
ยินดีครับ
โดย: หน้าม้ารับจ้าง วันที่: 7 เมษายน 2554 เวลา:17:36:28 น.
  
นี่แหล่ะ..วีรบุรุษของผม
โดย: น้าบาง IP: 182.52.106.44 วันที่: 7 เมษายน 2554 เวลา:19:59:11 น.
  
ขอบคุณ..ครับ...เป็น วีรบุรุษ ที่ ชอบ คน หนึ่ง ล่ะ...

รหัสความปลอดภัย 7900....submit
โดย: มอแกน 2010 IP: 183.89.73.208 วันที่: 7 เมษายน 2554 เวลา:21:14:40 น.
  
น้าบาง ก็เป็นฮีโร่ของใครอีกหลายๆ คนเช่นกันครับ

คุณมอแกน - ขอบคุณเช่นกันครับ

โดย: หน้าม้ารับจ้าง วันที่: 8 เมษายน 2554 เวลา:10:10:38 น.
  
อ่านแล้วชอบมากๆค่ะ
เคยดูเรื่อง motorcycle diaries เลยพอรู้เรื่องราวของเชบ้างนิดหน่อยค่ะ
ได้มาอ่านทั้งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์และฝีมือช่างกล้องระดับตำนานแบบนี้
ชอบมากๆ

ขอบคุณนะคะที่เอามาแบ่งปัน ^_^
โดย: AdrenalineRush วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:7:44:05 น.
  
Motorcycle Diaries ประวัติชีวิตเช ก่อนจะมาเป็นเช
ไว้จะหามาดูครับ น่าสนใจมาก



โดย: หน้าม้ารับจ้าง วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:11:42:46 น.
  
เยี่ยมไปเลย อย่างนี้นี่เอง

ขออนุญาติแชร์ นะครับ
โดย: ขออนุญาติแชร์ นะครับ IP: 118.172.192.235 วันที่: 2 สิงหาคม 2554 เวลา:0:54:25 น.
  
ผมขออนุญาติแชร์ลิ้งค์ให้เพื่อนที่ชอบถ่ายภาพเข้ามาดูนะครับ ^^
โดย: Perzeusxiii IP: 124.122.231.59 วันที่: 3 สิงหาคม 2554 เวลา:22:59:59 น.
  
ขอนำ link บทความดีๆนี้ไปแชร์นะครับ
โดย: rattaphol IP: 118.172.36.19 วันที่: 4 สิงหาคม 2554 เวลา:10:04:41 น.
  
แชร์ได้เต็มที่เลยครับ..ขอบคุณครับ
โดย: หน้าม้ารับจ้าง วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:12:54:59 น.
  
ชอบบทความ ขอแชร์นะครับ
โดย: สังคม IP: 58.64.126.235 วันที่: 29 พฤษภาคม 2555 เวลา:15:55:42 น.
  
เชกูวารา เป็นวีรบุรุษของคนยากไร้ทุกมุมโลกครับ ทุกคนยากไร้มีเชกูวาราเป็นกำลังใจในการต่อสู้ชีวิตที่แร้นแค้น ถูกกดขี่ข่มเหงจากอำนาจเผด็จการ
โดย: เสือโต้ง บางนกแขวก IP: 124.121.167.105 วันที่: 9 กรกฎาคม 2555 เวลา:12:49:16 น.
  
เชเป็นเหมือนดวงใจของผม
โดย: aof2493 IP: 223.205.143.212 วันที่: 13 กรกฎาคม 2555 เวลา:16:12:12 น.
  
วิระบุรุษในตำนานเลยชายคนนี้
โดย: kontorn IP: 49.230.61.4 วันที่: 31 มกราคม 2558 เวลา:16:44:56 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หน้าม้ารับจ้าง
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



ชอบเที่ยว
ชอบถ่ายรูป
ชอบดูหนังฟังเพลง...
แต่ไม่ชอบโชว์หน้าตา...

บล็อกนี้เลยมีแต่เรื่องที่ผมชอบ
เอารูปตอนไปเที่ยวมาโชว์...
เอาภาพเอาบทความเรื่องถ่ายภาพมาให้ชม...
เอาหนังเอาเพลงที่เราประทับใจมาแบ่งกันฟัง...

ชอบเหมือนๆ กัน มาแชร์กัน
คิดต่าง ก็ว่ากันไป ไม่เครียดอยู่แล้ว อิอิ

_____________________________

เมษายน 2554

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30