แสตมป์ไทยและตราประทับ กระดาษชิ้นน้อย มีเรื่องราวมากมาย บันทึกเล่าเรื่องผ่านกาลเวลา
 
 

ไปรษณีย์ไทยหมดมุข เอากล้วยไม้ชาติอื่นมาเป็นแบบแสตมป์

วารสารตราไปรษณียากร ไทย ปีที่ 38 ฉบับที่ 11 เดือนมิถุนายน 2551 คอลัมน์เบื้องหลังแสตมป์ไทย โดยแว่นขยาย เรื่อง หมายเหตุแสตมป์ไทย หน้า 25 ได้ลงเรื่องราวของตราไปรษณียากรชุดใหม่ ซึ่งจะมีกำหนด ออกจำหน่ายในวันศุกร์ ที่ 13 มิถุนายน 2551 ในชื่อชุด อเมซิ่งไทยแลนด์ (กล้วยไม้)



โดยมีทั้งกล้วยไม้พันธ์แท้ (กล้วยไม้ป่า) และกล้วยไม้ลูกผสม ปะปนกัน โดยไม่มีการแยกประเภท ในจุลสารข่าวแสตมป์ไทยฉบับที่ 2/2551 หน้า 17 พูดถึงว่ากล้วยไม้ป่ามีประเทศไทย เป็นศูนย์กลาง และกล้วยไม้ไทยมีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ที่น่าเจ็บใจ คือมีอยู่ดวงหนึ่งซึ่ง เป็นแบบที่ 5 กล้วยไม้สกุลหวาย ( Dendrobium sutikunoi) ซี่งเป็นกล้วยไม้ป่าของประเทศอินโดนีเซีย



มันน่าอับอายอยู่เหมือนกันที่ไปตู่เอาของเขา มันน่าภูมิใจตรงไหน ทั้งที่กล้วยไม้ป่าพันธุ์แท้ของไทยนั้น ที่มีการสำรวจพบนั้นมีเกือบ 1,200 ชนิด และกล้วยไม้ เกือบ 1,200 ชนิดนั้น กว่าครึ่งเป็นไม้เฉพาะถิ่น ที่มีถิ่นกำเนิดเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งมันก็น่าจะมากเกินพอที่จะคัดเลือกนำภาพมาพิมพ์เป็นแสตมป์ อย่างที่เรียกว่าหากพิมพ์ทุกชนิด 5 ปีก็ยังพิมพ์ไม่ครบเลย นี่ยังไม่นับกล้วยไม้ลูกผสมที่บรรดานักเล่นกล้วยไม้ ผสมขึ้นสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย อีกนับไม่ถ้วน

ไม่ใช่วาระในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศอินโดนีเซียที่เราพิมพ์ภาพของเขา เขาภาพพิมพ์ของเรา นี่มันชื่อชุดอเมซิ่งไทยแลนด์ (กล้วยไม้) น่าจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความสวยงามของกล้วยไม้ไทย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวเมืองไทยมากกว่า

ไปรษณีย์ไทยปัจจุบัน ดำเนินงานในรูปแบบบริษัท ซึ่งมุ่งเน้นแต่ผลกำไร โดยไม่ค่อยคิดคำนึงถึง เอกลักษณ์และสิ่งที่เป็นของไทยๆ สิ่งดี ของดีในเมืองไทย มีอยู่มากมายที่เหมาะสม และสมควรจะนำออกอวดสู่สายตาชาวโลก ในรูปแสตมป์ที่มันทำหน้าที่เผยแพร่ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ภูเขา ทะเล ต้นไม้ วัด วัง ฯลฯ ซึ่งมันน่าจะภูมิใจมากกว่า การไปเอากล้วยไม้จากอินโดนีเซียมาเป็นแบบจำหน่าย มันน่าละอาย แสดงถึงความไม่รู้ ไม่รอบคอบ ไม่ใส่ใจของผู้เกี่ยวข้องของงานชิ้นนี้

ฤา 125 ปี ของไปรษณีย์ไทย ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานให้ปวงชนชาวไทย จะถึงเวลาที่ไปรษณีย์ไทย ต้องไปเอาสิ่งของของประเทศอิ่น มาพิมพ์บนแสตมป์ที่มีคำว่าประเทศไทย Thailand เหมือนดั่งอดีต ประเทศโลกที่สาม ทั้งหลาย ที่ประเทศของตนเองไม่มีทรัพยากรและไม่มี จุดขาย ต้องนำเอาภาพ หรือสิ่งขึ้นชื่อของประเทศอื่นมาจัดพิมพ์เป็นแสตมป์ เป็นสินค้าออก ดั่งเช่นเกาหลีเหนือ ฮังการีและเหล่าประเทศอดีตคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย

ประเทศไทยยังไม่ขาดแคลน สิ่งที่สะท้อนถึงความเป็นไทย ธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม แต่ที่ขาดแคลนก็คือบุคคลากร ที่มีความสามารถ นำแง่มุม ที่แสดงความเป็นไทย มานำเสนอมากกว่า




 

Create Date : 10 มิถุนายน 2551   
Last Update : 10 มิถุนายน 2551 13:07:58 น.   
Counter : 1512 Pageviews.  


แสตมป์พิมพ์ทับแก้ราคา 2.-บาท

ในอดีตนับตั้งแต่ประเทศไทยได้เริ่มกิจการไปรษณีย์อย่างเป็นทางการเมื่อ 4 สิงหาคม 2426 ประเทศไทย ได้จัดพิมพ์แสตมป์ขึ้นมาเพื่อใช้ในกิจการไปรษณีย์จำนวนมากบางครั้งแสตมป์ที่พิมพ์มาใช้งานบางราคาหมดไปจากคลังของใหม่ที่สั่งพิมพ์ยังส่งมาไม่ทัน ระหว่างที่รอก็จะนำแสตมป์ที่มีอยู่ในคลังมาพิมพ์ทับแก้ราคา และส่วนใหญ่จะเป็นการนำดวงราคาสูงมาแก้ราคา เพื่อป้องกันการทุจริต ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแสตมป์พิมพ์ทับแก้ราคามากที่สุดในโลก เป็นสิ่งสะสมที่มีรายละเอียดให้นักสะสมได้ศึกษาค้นคว้า อย่างสนุกสนาน ชุดพิมพ์ทับแก้ราคาที่มีชื่อเสียงที่สำคัญๆก็มี ชุดพระตะบอง แก้ฤชากร 2 โม่ง 1 นาฬิกา สิบใหญ่ ซึ่งแต่ล่ะชุดปัจจุบันมีราคาสูงนับตัวเลขบางชุดถึง 6 หลักก็มีและที่สำคัญเมื่อแสตมป์ตัวแก้มีราคาสูงเป็นที่ต้องการและหายาก ก็จะล่อใจให้มีผู้ทุจริต ทำตัวแก้ปลอมขึ้นมา โดยแสตมป์เป็นของจริง แต่ตัวแก้นั้นพิมพ์แก้ปลอม ฉะนั้นจะต้องศึกษาดูรายละเอียดให้ถ่องแท้ ก่อนที่จะจ่ายสตางค์ออกไป


ในรัชกาลปัจจุบันการแก้ราคาครั้งแรก ได้แก้ราคากับชุดแรกคือชุดสยาม โดยใช้ดวง20 สตางค์ พิมพ์ทับแก้ราคาเป็น 5 และ 10 สตางค์




ซึ่งยังมีราคาไม่สูง นักสะสมทั่วไปสามารถหามาเป็นเจ้าของได้อย่างไม่ลำบากนัก และมีการแก้ราคาอีกหลายครั้ง

ที่เป็นที่ฮือฮากล่าวขานกันก็เห็นจะเป็นการแก้ราคา เมื่อ 15 กันยายน 2549 เป็นการแก้ราคาจากราคาต่ำเป็นราคา 2.-บาท มีการแก้ราคา 4 แบบด้วยกันคือ

1.แสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์ ชุด 5 ดวง 20 สตางค์ สีฟ้าเข้ม จำนวนพิมพ์แก้ 28,500 ดวง



2.แสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์ ชุด6 ดวง 20 สตางค์ สีน้ำเงิน จำนวนพิมพ์แก้ 4,391,500 ดวง



3.แสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์ชุด 7 ดวง 75 สตางค์ สีม่วง จำนวนพิมพ์แก้ 2,098,400 ดวง



4.แสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์ชุด 7 ดวง 1.50 บาท สีส้ม จำนวนพิมพ์แก้ 547,300 ดวง



ตัวแก้ชุดนี้ แบบที่ 1 มี Plate เดียว ซึ่งดูจากข้อมูลน่าจะเป็นแบบที่มีจำนวนน้อยที่สุด ซึ่งหากจัดสรรให้ปณ.ต่างๆทั่วประเทศนำไปจำหน่ายใช้งาน ก็คงได้เพียงปณ.ล่ะไม่น่าจะเกิน 20 ดวง




แบบที่ 2 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะเป็นการนำแสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์ ชุด 6 พิมพ์ที่บริษัท โทมัสเดอลารู ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นการพิมพ์ครั้งแรกของแสตมป์ดวงนี้ มีวันแรกจำหน่ายวันที่ 1 มิถุนายน 2516 ไปพิมพ์แก้ทับแต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่า แสตมป์แบบที่ 2 นี้ ส่วนใหญ่ที่นำไปพิมพ์ทับแก้ราคานั้น เป็นการนำแสตมป์พระบรมฉายาลักษณ์ ชุด 6 ชนิดพิมพ์เพิ่มเติมจากบริษัท แฮริสัน แอนด์สัน ซึ่งมีวันแรกจำหน่ายวันที่ 1 กันยายน 2523 ไปพิมพ์แก้ทับแทน โดยมีพิมพ์ทับแก้ราคาจาก บริษัท โทมัสหลงมาบ้าง แต่ไม่มียอดจำนวนที่พิสูจน์ได้แน่ชัดว่าหลุดเข้ามาพิมพ์ทับแก้ราคาจำนวนทั้งหมดกี่แผ่น แม้แต่ข้อมูลจากกองตราไปรษณียากรเอง โดยชุดที่พิมพ์จาก แฮริสันนั้นมีอยู่ 4 Plate คือ A B C และ D ส่วนพิมพ์จากโทมัส นั้น เท่าที่พบ มีเพียง Plate B และ D


















แบบที่ 3 มี Plate 1B Plate เดียว



แบบที่ 4 มี Plate 1 A และ 1B



ตัวแก้ชุดนี้ ดวงที่มีน้อยที่สุด น่าจะเป็นดวง ร๙ ชุด 5 ซึ่งมีเพียง 285 แผ่น แต่ปรากฎว่า เกิดมี ตัวแก้ชุด ๖ พิมพ์ Thomas หลงเข้ามา
ซึ่ง ถึงณ.ขณะนี้ ยังไม่มีหลักฐานใดสามารถระบุ หรือบ่งชื้ได้ว่า จำนวนของดวงที่แก้บนชุด ๖ พิมพ์ Thomas มีจำนวนเท่าใดแน่ เพราะการนำแสตมป์ไปแก้ราคานั้น เพียงแต่นับจำนวนแผ่นที่ส่งไปแก้เท่านั้น ไม่มีการตรวจสอบแยกแยะว่า ที่ส่งไปแก้ เป็นของโรงพิมพ์ใด จำนวนแต่ละโรงพิมพ์มีเท่าใด
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพบว่ามีตัวแก้ชุด ๖ พิมพ์ Thomas นั้นเกิดขึ้นหลังจาก
แสตมป์ตัวแก้ชุดนี้จำหน่ายไปแล้วกว่า 3 เดือน และไม่ทราบว่าจำนวนของตัวแก้ Thomas นั้น กระจายไปอยู่ที่ใดบ้าง ทำให้เป็นที่ต้องการและแสวงหาของร้านค้าและนักสะสม ระยะหลังจะมีทยอยออกมาแต่เป็นจำนวนไม่มาก ชนิดดวงเดี่ยวบ้าง
บล๊อกสี่ บล๊อกหก บ้าง จะหาที่ออกมาแบบเต็มแผ่นนั้น ยังไม่เคยพบเลย
นอกจากมีหลุดเข้าไปประมูล อยู่สองครั้ง สำหรับราคาประมูลนั้นตกถึงดวงละ
เกือบ 700 บาท ขณะที่ ราคา เมื่อต้นพฤษภาคม 2550 ดวงละ 350 ยังหาซื้อได้
แต่ราคานี้มีขายก็ไม่เกิน 10 ดวง

และสำหรับแสตมป์ดวงนี้ที่ใช้ส่งจริง ติดอยู่บนซองจดหมาย นั้นก็มีน้อยไปตามจำนวนด้วย




 

Create Date : 22 มกราคม 2551   
Last Update : 9 เมษายน 2551 15:50:17 น.   
Counter : 1655 Pageviews.  


ที่ระลึกการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่

การประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2548ทำซองที่ระลึกขึ้นโดยใช้แสตมป์ธงไตรรงค์ ซึ่งเป็นแสตมป์ที่เป็นชุดใช้ประจำวัน
พร้อมลายมือชื่อของรองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิพัฒน์ ลองเทียบดูลายมือชื่อของท่านบนธนบัตรที่เราใช้
กันอยู่ทุกวันนี้ซิครับ




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2549   
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2549 12:40:31 น.   
Counter : 1042 Pageviews.  


วันที่ดาวเทียมไทยคมเปลี่ยนเจ้าของ

ที่จริงก็ไม่น่าภูมิใจเท่าไรหรอกครับ แต่ก็เป็นเพียงบันทึกเล็กๆ หน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ของไทยว่าครั้งหนึ่ง ไทยเคยมีดาวเทียมมาก่อนและเป็นดาวเทียมดวงแรกของไทยที่ได้ชื่อพระราชทานว่า "ไทยคม" ได้เปลี่ยนเจ้าของเป็นของสิงคโปร์ไปแล้วเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2549   
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2549 12:23:40 น.   
Counter : 762 Pageviews.  


วันเปิดที่ทำการวันสุดท้ายของปณ.ราชวิถี

วันที่ 31 มกราคม 2549 ปณ.ราชวิถีเปิดดำเนินการให้บริการประชาชนเป็นวันสุดท้าย ก็เลยจัดทำซองที่ระลึกขึ้น
ประทับตราประจำวัน พร้อมกับลายมือชื่อหัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์ราชวิถีคนสุดท้าย




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2549   
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2549 11:22:18 น.   
Counter : 1309 Pageviews.  


1  2  

soidao
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add soidao's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com