Image Hosted by ImageShack.us สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จ. นครสวรรค์
Group Blog
 
All blogs
 
การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ

การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ กับการประยุกต์ไปใช้
เพื่อการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
โดย นายสำราญ สิริภคมงคล
นักวิชาการสาธารณสุข 8 ว.

วิวัฒนาการของศาสตร์ของการประเมินผล มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง Stuffebean (2001) วิเคราะห์การประเมินตั้งแต่อดีตมาจนถึงปี พ.ศ. 2544 ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ การประเมินเทียม (Pseudo evaluation ) การประเมินที่อิงวิธีการ หรือ การใช้คำถาม(Question and /or Methods Oriented ) การศึกษากึ่งประเมิน(Quasi – Evaluation Studies ) การประเมินที่อิงการพัฒนาและความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Improvement or Accountability – Oriented) และการประเมิน ที่เป็นการสนับสนุนที่เป็นการสนับสนุนวาระเชิงสังคม(Social –Agenda / Advocacy Approach)
นงลักษณ์ วิรัชชัย( 2545) กล่าวถึง แนวคิดการแบ่งประเภทการประเมินเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ การประเมินเชิงปริมาณ และ การประเมินเชิงคุณภาพ แบ่งวิธีการประเมินออกเป็น วิธีการประเมินเชิงปริมาณ ได้แก่ การประเมินอิงวัตถุประสงค์ (Objective – Based Evaluation ) การประเมินความแตกต่าง (Discrepancy Evaluation ) การประเมินความต้องการความจำเป็น(Needs Assessment) การประเมินวิเคราะห์ประสิทธิผล – ต้นทุน (Cost- Effectiveness Analysis) การวิเคราะห์ผลประโยชน์ต้นทุน(Cost – Benefit Analysis) การประเมินฝึกอบรมและพัฒนา(Training and Development Evaluation ) การประเมินอิสระจากเป้าหมาย(Goal – Pre Evaluation) การประเมินเน้นการตัดสินใจ ( Decision - Oriented Evaluation ) และการประเมินการขับเคลื่อนด้วยทฤษฎี (Theory –Desire Evaluation ) รวมทั้งหมด 8 ประเภท ส่วนการประเมินผลเชิงคุณภาพมี 6 ประเภท ได้แก่ การประเมินแบบตอบสนอง(Responsive Evaluation ) การประเมินยุคที่สี่ (Fourth Generation )
การประเมินกึ่งกฎหมาย (Quasi – Legal Model of Evaluation ) การประเมินอิงความเชี่ยวชาญ (Stakeholder – Based Evaluation ) และ การประเมินอิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ (Empowerment Evaluation ) เป็นแนววัดการประเมินที่พัฒนามาจากการประเมินอิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นแนวคิดการประเมินที่มุ่งการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยเน้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้การประเมิน ประเมินตนเอง สะท้อนผลแก่ตนเอง จนในที่สุดสามารถตัดสินใจ หรือ กำหนดตนเองได้
ต้นกำเนิดของแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ เกิดขึ้นหลังจาก David Fetterman (1993) เขียนหนังสือเรื่อง Speaking the Language of Power :Communication , Collaboration and Advocacy แล้วนำเสนอในที่ประชุม American Evaluation Association :AEA) ในปีค.ศ. 1993 โดยพัฒนามาจากประสบการณ์ประเมิน โครงการของเขา หลายโครงการ รวมทั้งประสบการณ์การดำเนินงานโครงการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศยากจน โดยอาศัยพื้นฐานทางทฤษฎี ด้านจิตวิทยาชุมชน(Community Psychology ) การวิจัยปฏิบัติการ(Action Research ) การพัฒนาและการประเมินตนเอง รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านมานุษยวิทยา (Action Anthropology) ซึ่งเป็นกระบวนการที่บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการหาแนวทางการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการวิจัย แล้วสะท้อนผลของการแก้ไขปัญหาให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อปรับปรุงแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป (Fetterman, 1996; สุวิมล ว่องวานิช, 2543)



Create Date : 11 มิถุนายน 2551
Last Update : 11 มิถุนายน 2551 11:49:49 น. 1 comments
Counter : 1137 Pageviews.

 
Empowerment are the challanged topic to be intensively review.


โดย: Pass away boy IP: 222.123.171.225 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:2:40:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

MaNanYa
Location :
นครสวรรค์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




อย่าทำร้ายคนที่รักคุณ...เพราะคุณไม่มีทางนึกออกเลยว่า...คุณได้สูญเสียอะไรไปบ้าง...
Friends' blogs
[Add MaNanYa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.