นายตึก
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สนใจการค้าขายบน eBay มาตั้งแต่ปี 2003 แต่ยังไม่ได้เริ่มจริงจัง เพราะติดขัดเรื่องวิธีการรับเงินจากลูกค้าในสมัยที่ PayPal ยังไม่ให้ประเทศไทยใช้บริการ จนเมื่อ PayPal ให้บริการกับประเทศไทย ข้อจำกัด เรื่องการรับเงินก็หมดไป มั่นใจกับอาชีพนี้มากเพราะสามารถเลือกได้ว่าจะอยู่ที่ไหน จะใช้ชีวิตอย่างไร งานสุดท้ายก่อนออกมา ขายของบน eBay เต็มตัวเป็นผู้จัดการอู่ต่อเรือ เงินเดือนก็หลายตังค์อยู่ แต่ไม่ชอบ ออกมานั่งขายของบน eBay ดีกั่ว นึกจะทำอะไรก็ทำได้เที่ยวไหนก็เที่ยวได้ไม่ต้องบอกใคร พอกินบ้างไม่พอกินบ้างก็ช่างมัน ได้ใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองใฝ่ฝันมานาน ค้าขายมาจนคิดว่า เทคนิคหลาย ๆ อย่างที่ใช้บน eBay น่าจะมีใครรวบรวมบ้างแต่ว่า ก็ไม่เห็นมีใครทำเป็นเรื่องเป็นราว สุดท้าย หลังจากเข้าไปช่วยตอบปัญหาใน http://www.megabaht.com ซึ่งเป็น เวปรวม คนไทยที่ค้าขายบน eBay บ่อย ก็คิดได้ว่าสงสัยจะเป็นเรานี่เองที่สมควรเขียน เทคนิคการขายของบน eBay ขึ้น มาเพราะแต่ละ เทคนิค นั้นเป็นเทคนิคส่วนตัวทั้งสิ้น ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง สนุก สนุกบ้าง อย่างไรเสียก็ขอให้ลองปรับเปลี่ยนใช้กันดู อย่างไร ก็ comment กันมาได้ไม่ว่ากันอยู่แล้วหัวอกเดียวกันทั้งนั้น เพราะชีวิตแค่หาความสุขไปวันวัน และขอให้ได้มันส์กับชีวิตก็พอแล้ว
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add นายตึก's blog to your web]
Links
 

 

เทคนิกการการเปิด PayPal โดย K-web shopping card และป้องกัน LA แบบ ง่าย ๆ ไม่ให้เกิดกับ PayPal ของเรา

การขายของบน eBay นั้น สิ่งที่จำเป็นต้องมีควบคู่กับ acc eBay ก็คือ บัญชีรับเงิน PayPal เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศไม่ต้องเดินทางไปยังธนาคารเพื่อขอโอนเงินค่าสินค้าให้กับเรา ปัจจุบัน eBay ออกกฏใหม่ คือ ต้องให้ผู้ขายสินค้าทุกคน ในประเทศไทย จะต้องทำการผูก PayPalเข้ากับ acc eBay เพื่อทำการตรวจสอบ แต่จะใช้ PayPal รับเงินด้วยหรือไม่ก็ได้ ซึ่งก็หมายความว่าทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยถ้าต้องการทำการค้าขายกับ eBay แล้ว ต้องมี บัญชีPayPal กันทุกคนแต่จะใช้รับเงินจากลูกค้าหรือไม่ก็ได้

ขั้นตอนการการสมัคร PayPal ในปัจจุบันค่อนข้างง่ายสำหรับมือใหม่ ไม่ว่าจะมีบัตรเครดิตหรือไม่ก็ตาม ในกรณีที่ไม่มีบัตรเครดิต ปัจจุบันหลาย ๆ ธนาคารให้บริการสามารถใช้บัตรเดบิต ใช้จ่ายออนไลน์ได้ แต่บัตรเดบิตบางใบไม่สามารถใช้สมัคร PayPal ได้ ในกรณีที่จะกล่าวถึงนี้สามารถใช้สมัคร PayPal ได้ 100 เปอร์เซนต์ นั่นก็คือบัตร e-web card ของธนาคารกสิกรไทย


ขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่ง K-web shopping card ของธนาคารกสิกรไทย
1. ขอเปิด email address ใหม่ 1 acc ถ้าจะให้ดีแนะนำเป็น gmail เพราะตัว gmail มีฟีเจอร์ที่รองรับ PayPal และ eBay พอสมควร ทั้งยังกลั่นกรองพวกเมล์ปลอมจาก eBay และ PayPal ในระดับที่ใช้ได้ทีเดียว
2. ขอเปิดบัญชีที่ธนาคารกสิกรไทย พร้อมขอใช้บริการ K-CyberBanking พร้อมในคราวเดียวกัน ในกรณีนี้ให้เตรียม email address แยกเฉพาะไว้ 1 account ก็คือ email ที่เปิดในข้อที่ 1
3. หลังจากขอเปิด K-CyberBanking ประมาณ 24 ชั่วโมง จะมี email แจ้ง อนุมัติการให้บริการ k-cyber banking พร้อมทั้งแจ้ง password เข้ามาใน email ของเรา
4. เข้าไปที่ //www.kasikornbank.com เลือกหัวข้อ บริการออนไลน์ เลือกหัวข้อย่อย K-CyberBanking login โดยใช้ หมายเลขบัญชีที่เปิดใหม่เป็น user name และ password ที่ได้มาจาก email ที่ทางธนาคารส่งให้ เข้าไปปรับแต่งค่ารายละเอียดตามต้องการ
5. เข้าไปที่หัวข้อบริการอื่นๆ เลือกหัวข้อย่อยK-web shopping card สมัครใช้บริการบัตรK-web shopping card เข้าไปกรอกข้อมูลรายละเอียดให้ครบถ้วน หลังจากนั้น 24 ชม. ทางธนาคารจะส่ง email อนุมัติการใช้บัตรK-web shopping card ให้เรา
6. login เข้า เวปไซต์ธนาคาร เข้าไปดูเลขบัตรK-web shopping card โดยการเลือกหัวข้อ การบริหารบัญชี หัวข้อย่อย ดูยอดเงินในบัญชี จะมีหมายเลขบัตรK-web shopping card อยู่ในช่องพร้อมหมายเลขบัญชีให้เลือกหมายเลขบัตรเวปการ์ด ก็คือหมายเลข 16 หลัก โดยจะมีรายละเอียดเลขที่บัตรเวปการ์ด 16 หลัก เดือนปีที่หมดอายุ หมายเลข cvv คือหมายเลข 3 หลัก ซึ่งเอาไว้ใช้กำกับรักษาความปลอดภัย เท่ากับตอนนี้เราได้บัตรเวปการ์ดที่จะใช้สมัคร eBay และ PayPal ในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนในการสมัครบัญชี PayPal
1. เข้าไปที่ เวปไซต์ //www.paypal.com เลือกหัวข้อ Sign Up
2. หัวข้อ Select the country or region where you live : เลือก Thailand
ถ้าต้องการ สมัครแบบไหนก็กดเลือก Start Now แบบนั้น ใน PayPal มี acc ให้เลือก 3 แบบ คือ A.Personal (สำหรับผู้ต้องการซื้อสินค้า) B.Premier(สำหรับผู้ต้องการขายสินค้า)C. Business(สำหรับผู้ต้องการขายสินค้าแต่เป็นองค์กรขนาดกลางขึ้นไป)
3. กรอกรายละเอียด ให้ครบทั้งชื่อ นามสกุลที่อยู่ email address ฯลฯ พร้อมทั้ง เลขกำกับ หลังจากนั้นเลือก I agree. Create My Account กรอกข้อมูลบัตรเครดิต
4. login เข้า email address ที่สมัครไว้กับ PayPal จะมี email ส่งจาก PayPal หัวข้อ email คือ Activate your PayPal account เข้าไปคลิก Click here to Activate your accout เพื่อทำการ link ระหว่าง email กับ PayPal หลังจากนั้นจะมี หน้าให้ใส่ password ของ PayPal ให้กรอก password ตามที่กรอกไว้กับ PayPal เท่านี้ก็จะได้ acc PayPal ไว้ใช้ชั่วคราว
5.การ verify acc PayPal ให้เข้าสู่หน้า profile เลือกหัวข้อ credit card กรอกรายละเอียดที่ได้จาก บัตรเวปการ์ด ให้ใส่หมายเลข บัตร ใส่วันหมดอายุ และรหัส 3 ตัวของเครดิตการ์ดของเรา หลังจากนั้นทาง PayPal จะทำการตรวจสอบความเป็นตัวตนของเจ้าของบัตรโดย การจะทำการหักเงินจาก บัตรเครดิตในที่นี้ก็คือบัตรเวปการ์ด ให้ click ที่ get number หลังจากนั้นประมาณ 3-5 วันจะมี email แจ้งจาก ธนาคารกสิกรไทยถึงการเรียกเก็บเงินจำนวน 1.95 USD. ว่าเราจะยอมจ่ายหรือไม่เราก็แค่เข้าไปดูใน email ฉบับดังกล่าว ในนั้นจะมีหัวข้อ เรียกเก็บเงินจาก PayPal ให้ดูตรง xxxxPayPal expulse ตัว xxxx คือตัวเลขสำคัญให้นำตัวเลขดังกล่าวมาใส่ในช่อง Complete Expanded Use Enrollment เมื่อเรากรอกเลข 4 ตัวเรียบร้อยแล้ว ระบบจะขึ้นเป็น verified นั่นก็คือเราสามารถรับเงินจ่ายเงินได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว
ุ6. ขั้นตอนสุดท้ายคือ เพิ่มบัญชีธนาคารเข้าไปเพื่อ ถอนเงินออกจาก บัญชี PayPal โดย login เข้า PayPal แล้วเข้าไปที่ profile เลือกหัวข้อ add bank แล้วก็เพิ่มธนาคารที่เราต้องการถอนเงินออกเข้าไปสามารถเลือกได้เกือบทุกธนาคารที่มีในประเทศไทย

เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการสมัคร PayPal เราสามารถรับเงิน จ่ายเงิน และถอนเงินออกจากบัญชี PayPal ได้ทุกอย่าง เงินที่เข้าบัญชีใน PayPal ไม่ได้เข้ามาบัญชีธนาคารเราอัตโนมัติ ต้องทำการถอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของเราในเมืองไทย เงินในบัญชี PayPal ของเราถึงจะเข้าสู่เมืองไทย ซึ่งก็ใช้เวลาประมาณ 7 วัน

ปัจจุบันมี เวปไซต์ที่ทำการแลกเงินจากบัญชี PayPal ของเราโดยให้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกันกับ PayPal แต่ไม่ต้องรอเวลา 7 วัน คือ ถ้าถอนเงินไม่เกิน 16.00 น.ก็จะมีเงินโอนเงินเข้าบัญชีเรา่ไม่เกิน 19.00 น.ของวันเดียวกัน ในกรณีที่แลกเงินหลังจากเวลา 16.00 น.จะได้รับเงินภายใน 19.00 น.ของวันถัดไป มีข้อดีกว่าถอนตรงจาก PayPal หลาย ๆ ประการคือ
1.แลกระหว่าง 10 USD. ถึง 50 USD.เสียค่าธรรมเนียม 50 บาท ในขณะที่ PayPal ถอนเงินระหว่าง 10 USD. ถึง 150 USD.(5000 บาท) เสียค่าธรรมเนียม 50 บาท ผู้ที่ถอนระหว่าง 51-150 USD.ก็ถอนผ่านเวปไซต์นี้ก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
2.ไม่ต้องเสี่ยงกับการโดน LA เพราะเป็นการจ่ายเงินค่าสินค้า ไม่เหมือนการถอนเงินจาก PayPal ซึ่งถือเป็นการถอนเงินบางครั้งถ้าต้องถอนเงินมาก ๆ PayPal จะทำการ LA เพื่อตรวจสอบและป้องกันการฟอกเงิน
3.แลกเงินในอัตราเดียวกับ PayPal อัตราแลกเงินเปลี่ยนทุกวัน
4.ไม่ต้องรอ 7 วัน ในจำนวนเงินเดียวกัน เมื่อแลกเงินวันไหนก็จะได้เงินโอนเข้าธนาคารวันนั้นเลย ถ้าแลกเงินไม่เกิน 16.00 น. ก็จะได้เงินไม่เกิน 19.00 น. ถ้าแลกเงินเกิน 16.00 น.ก็จะได้เงินไม่เกิน 19.00 น.ของวัดถัดไป
5. มี SMS แจ้งเมื่อทำการโอนเงินเข้าบัญชีเรา ไม่ต้องโทรฯถามธนาคารหรือกดดูยอดจาก ATM เหมือนกับถอนเงินจากบัญชี PayPal
เวปไซต์ดังกล่าว ออกมารองรับความต้องการของผู้ใช้งาน PayPal อย่างสมบูรณ์แบบ โดยขั้นแรกทดลองดำเนินการแลกเงินน้อย ๆ ดูก่อนเมื่อมั่นใจในระบบแล้วค่อย ๆ เขยิบจำนวนเงินขึ้นตามความต้องการของเรา เช่น ทดลองแลกทีละ 51 USD. ดูก่อนเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม และดูระบบของเวปไซต์นี้ก่อน เวปไซต์ดังกล่าวคือ //WWW.PAYPAL2BAHT.COM
ทดลองใช้ดูก่อน แล้วมีปัญหาอะไรลอง comment กันมาเพื่อที่จะแจ้ง webmaster เพื่อปรับปรุงต่อไป

ท่านใดมีปัญหาเกี่ยวกับ eBay หรือ PayPal ก็ลอง comment กันเข้ามาตอบได้ก็จะตอบตอบไม่ได้ก็จะพยายามหาข้อมูลมาให้ ส่วนเรื่องการป้องกันการ LA นั้้นขอพยายามเขียนออกมาให้ครอบคลุมมากที่สุด แต่สุดท้ายก็อยู่ที่การใช้บัญชี PayPal อย่างระมัดระวังเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่ป้องกันไม่ให้เกิด LA นั่นเอง





 

Create Date : 18 ตุลาคม 2550    
Last Update : 25 ตุลาคม 2550 11:43:06 น.
Counter : 2860 Pageviews.  

เทคนิคไร้สาระกะ อีเบย์ 8 เตรียมพร้อมปิดบัญชี Paypal เสมอ

เทคนิคไร้สาระกะ อีเบย์ 8 เตรียมพร้อมปิดบัญชี Paypal เสมอ
การค้าขาย บน eBay นับเป็นอาชีพที่สุจริต ทำรายได้ได้ดี ถ้าตั้งใจและทุ่มเท การทำงานถ้าวางระบบการทำงานตั้งแต่แรก แล้วนับเป็นงานที่ถือได้ว่าสบายอีกอาชีพหนึ่ง หรือถ้าทำเป็นอาชีพเสริมก็ถือว่าเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้พอสมควร อุปสรรค นานัปการทั้งหลายทั้งปวงนั้น พอจะฝ่าฟันกันไปได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษาอังกฤษ, การเขียน description, การตกแต่งภาพถ่าย, โปรแกรมเสริมต่าง ๆ แต่สิ่งที่ถือเป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่ ที่หาทางแก้ไขอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ได้นั่นคือการไม่มีเหตุผลของ eBay
ถ้าคุณเป็นคนขายสินค้าบน eBay แล้ว สิ่งหนึ่งที่จำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวไว้เสมอคือ การปิดแผง แล้วย้ายหนี เหตุผลเพราะ eBay รับฟังทุกคำกล่าวหาของผู้ซื้อ คือเพราะ eBay ถือว่าผู้ซื้อเป็นใหญ่ ไม่ว่าคุณจะขายของแท้ ซื้อต่อมาจากเจ้าของที่แท้จริง มีใบรับประกันหรืออะไรก็แล้วแต่ ถ้า eBay ได้รับการร้องเรียนจากลูกค้าเมื่อไหร่ สิ่งที่ eBay จะทำคือ แขวนคุณไว้ก่อน ซึ่งก็คือ คุณไม่สามารถจะขายสินค้า ได้ชั่วคราว ถ้าคุณมีเหตุผลหรือหลักฐานไม่ดีพอ คุณก็ไม่สามารถที่จะขายของต่อบน eBay ได้ สำหรับเรื่อง Paypal นั้น ถ้าคุณมีเงินอยู่ใน Paypal ก็ต้องเตรียมหลักฐานเอกสารให้พร้อมเสมอ มิเช่นนั้น คุณก็ไม่สามารถถอนเงินออกจาก Paypal หรืออาจจะต้องรอ 90 วัน หรือ 180 วันถึงจะถอนเงินออกจาก Paypalได้เช่นกัน
ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทาง eBay ไม่เคยคิดแก้ไข ซึ่งเมื่อดูแล้วจะเห็นความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับผู้ขายเป็นส่วนใหญ่ บทความที่กล่าวถึงนี้เพียงแต่จะชี้จุดบกพร่องของ eBay และให้ท่านที่จะก้าวเข้ามาหรือท่านที่ค้าขายกับ eBay อยู่แล้วนั้นระวังตัวไว้อย่าตกลงสู่ความเสียเปรียบกับทั้งทาง ลูกค้า และ กลโกงของผู้ที่เข้ามาในคราบของลูกค้า
การค้าขายบน eBay ถ้าขายสินค้าที่ราคาไม่แพงเท่าไหร่ ยังพอทำใจกันได้ แต่ถ้าขายของราคา 400 USD ขึ้นไปแล้ว นับว่าเริ่มก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงพอสมควร การส่งสินค้าที่ราคาสูง ๆ ตั้งแต่ราคา 100 USD ขึ้นไปสมควรส่งแบบ รับประกันทุกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นทุกกรณี ถ้าเป็นไปได้ให้ส่งของทาง บริษัท DHL, UPS และ Fedex ดีกว่าบริษัทฯของไทยเพราะได้รับความเชื่อถือมากกว่า และสามารถ ตรวจสอบการเดินทางได้ตลอดเวลา การรับเงินจากลูกค้าทาง Paypal ถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ถ้าส่งสินค้าให้ลูกค้า ก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงตั้งแต่ก้าวแรก จนถึงสินค้าจะถึงมือลูกค้าแล้วก็ตามลูกค้าสามารถถอนเงินคืนได้ตลอดเวลา จนกว่าลูกค้าจะพอใจเต็มที่และให้ feedbackแล้วนั่นแหละความเสี่ยงถึงจะหมดไป แนวทางป้องกันปัญหาตั้งแต่แรก คือ พยายามถ่าย คลิป วีดีโอ ไว้ตั้งแต่เริ่ม ห่อสินค้า จนถึงส่งเข้าสู่ทางไปรษณีย์ หรือ บริษัทจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศ




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2549    
Last Update : 22 ตุลาคม 2550 7:55:11 น.
Counter : 522 Pageviews.  

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.