ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

เรียนรู้เรื่องมัณฑนากร




มัณฑนากร หรือนักออกแบบตกแต่งภายใน เป็นวิชาชีพที่ทำงานเกี่ยวข้องกับ การออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ประสบการณ์ และรสนิยม ในการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ วัสดุตกแต่ง ที่มีคุณภาพ และเหมาะสมตรงกับความต้องการของลูกค้า เพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยสูงสุดของผู้ใช้งาน จากลักษณะงานดังที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า ลักษณะงานของมัณฑนากรจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับงานของสถาปนิก ทำให้ในบางครั้งสถาปนิกก็อาจสามารถจัดเตรียมพื้นที่หรือออกแบบตกแต่งภายใน เบื้องต้นได้เช่นกัน แต่แน่นอนว่า ประสบการณ์ ความชำนาญ และรสนิยม ก็คงทำได้ไม่ดีเท่ากับมัณฑนากรซึ่งศึกษาเฉพาะทางมากกว่า


ในเรื่องของกระบวนการในการทำงานของมัณฑนากร สำหรับอาคารที่มีขนาดใหญ่หรือมีพื้นที่ใช้สอยซึ่งมีข้อจำกัดสูง มัณฑนากรมักจะเริ่มต้นเข้าไปทำงานร่วมกับทั้งสถาปนิกและวิศวกรตั้งแต่ขั้น ตอนของการทำแบบร่างของอาคาร เพราะจำเป็นต้องมีการเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ การทำเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน การเตรียมพื้นที่สำหรับงานระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล และระบบปรับอากาศ แต่บ่อยครั้งที่ มัณฑนากรอาจไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการออกแบบตั้งแต่ต้น ก็จะทำให้การทำงานของมัณฑนากรเกิดข้อจำกัดและมีความลำบากเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสถาปนิกหรือวิศวกรอาจไม่ได้เตรียมพื้นที่สำหรับการทำงานหรือการติด ตั้งเอาไว้นั่นเอง


ถ้าคุณมีความประสงค์จะว่าจ้างมัณฑนากรมาทำการออกแบบตกแต่งภายใน คุณควรจะต้องทำอย่างไร
  1. หากอยู่ ในขั้นตอนเริ่มต้นการออกแบบอาคาร ควรแจ้งให้สถาปนิกทราบว่าเราต้องการตกแต่งภายในด้วย เพื่อให้สถาปนิกเตรียมพร้อม และเตรียมพื้นที่ไว้ให้มัณฑนากรทำงานตั้งแต่ต้น ในกรณีที่อาคารสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเป็นการแจ้งเพื่อให้สถาปนิกรับทราบไว้ เผื่อในกรณีที่มีอุปสรรคในการดำเนินงานตกแต่งภายในที่เกี่ยวกับงาน สถาปัตยกรรมหรืองานโครงสร้าง จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
  2. เมื่อ คุณรู้ความต้องการของตัวเองแล้วว่าคุณอยากได้ห้องสไตล์ใด คุณควรศึกษาสไตล์ความถนัดของมัณฑนากรแต่ละคนก่อน โดยสามารถดูได้จากผลงานที่ผ่านมา ว่ามีสไตล์ที่ตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ เพราะเมื่อความต้องการของเราตรงกับสไตล์ความถนัดของมัณฑนากรก็จะทำให้สามารถ พูดคุยกันได้ง่าย มัณฑนากรสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
  3. สอบถามความ ต้องการของทุกคนภายในบ้าน อาจให้สมาชิกทุกคนภายในบ้านเขียนหรือจดบันทึกความต้องการของตนเอง เพื่อนำไปบอกเล่า และอธิบายรายละเอียดความต้องการของทุกคนให้มัณฑนากรเข้าใจให้ได้มากที่สุด
  4. กำหนด ข้อตกลงระยะเวลาในการทำงาน เพื่อเป็นการวางกรอบระยะเวลาในการทำงาน กำหนดงบประมาณ เพื่อป้องกันไม่ให้งบบานปลาย และตกลง ต่อรองราคาค่าจ้างให้ชัดเจนก่อนเริ่มทำงาน ไม่ควรเริ่มงานก่อน เพราะอาจทำให้เกิดการโต้เถียงหรือความขัดแย้งได้ในภายหลัง ซึ่งโดยปกติแล้วค่าจ้างของมัณฑนากรจะอยู่ที่ราคาประมาณ 10% ของราคางบประมาณการตกแต่ง
  5. เมื่อตกลงทำงานและดำเนินการแล้ว ควรให้สิทธิ์ในการตัดสินใจกับมัณฑนากร ไม่ควรแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงแบบโดยพละการ ควรแจ้งให้มัณฑนากรเป็นผู้ตัดสินใจ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจทำให้การทำงานไม่ราบรื่นหรือมีผลกระทบ อื่นๆ ตามมาอีกมากโดยคาดไม่ถึง
  6. การเลือกช่างฝีมือมาทำงานควรปรึกษา หรือให้สิทธิ์มัณฑนากรเป็นผู้มีส่วนร่วมในการคัดเลือก เพื่อให้ได้ช่างฝีมือที่มีความถนัด ตรงกับงานที่ได้ออกแบบไว้
  7. เมื่อ เกิดปัญหาระหว่างการดำเนินการ ให้ปรึกษามัณฑนากร เพื่อช่วยตัดสินใจและทำความเข้าใจกับช่างผู้ดำเนินงาน เพื่อให้งานออกมาตรงตามความต้องการมากที่สุด



    ในช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานของช่างฝีมือ อาจทำให้เกิดเสียงรบกวน และเกิดความไม่สะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นก่อนการออกแบบตกแต่งภายใน อย่าลืมปรึกษาขั้นตอนและวิธีดำเนินงานของช่างกับมัณฑนากรล่วงหน้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการลงมือทำงานด้วยนะครับ



    ที่มา นิตยสารบ้านและสวน
    //www.baanlaesuan.com/










Create Date : 25 ตุลาคม 2554
Last Update : 25 ตุลาคม 2554 8:25:47 น. 0 comments
Counter : 2312 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sitcomthai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 53 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add sitcomthai's blog to your web]