เส้นทางชีวิตการเป็นแอร์รุ่นเก๋า

  ครั้งที่แล้วเขียนเกี่ยวกับการรับมือกับผู้โดยสารตัวแสบบนเครื่องบิน ซึ่งเป็นตอนที่เป็นหัวหน้าพนักงานต้อนรับมามากกว่า 10 ปีแล้ว ทำให้วิทยายุทธแก่กล้า ไร้เทียมทาน เพราะต้องฝึกรับมือกับผู้คนบนเกาะแห่งนี้ตลลอดเวลายาวนานที่ใช้ชีวิตอยู่ที่นี แม้แต่การแย่ง taxi จะมาทำเหนียมอาย รักษามารยาทอยู่รับรองไม่ได้ขึ้น การต่อปากต่อคำกับคนขับแท็กซี่ คราวนี้ขอย้อนรอยไปถึงสมัยเอ๊าะๆให้เพื่อนๆจินตนาการได้ถึงตอนที่เป็นวัยละอ่อน จากบ้านจากเมืองไปใช้ชีวิตทำงาน ไม่ใช่ชีวิตการเรียนหนังสือ คิดดูแล้วกันว่าสำหรับเด็กไทยที่เพิ่งจบ ไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศมาก่อน มันทั้งน่าตื่นเต้น และระทึกขวัญสักเพียงใด จะต้องเจอะเจอกับอะไรบ้าง จะมีใครมาช่วยในเวลาคับขันหรือไม่ จะสื่อสารกับผู้คนอย่างไร แม้จะมั่นใจในพื้นฐานการใช้ภาษาที่ดีเยี่ยมจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆในเมืองไทยก็ตามที แต่ก็ใช้มันแค่ในการทำข้อสอบด้านการอ่าน เขียน ทดสอบด้านไวยากรณ์เพื่อให้ติดอันดับที่หนึ่งในประเทศไทย แต่ครั้งนี้คือชีวิตจริงที่ต้องใช้พุด จะฟังฝรั่งรู้เรื่องไหม และพอเราพูดแล้ว เขาจะเข้าใจไหม เพื่อนๆต้องจินตนาการไปเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้วนะคะ ที่สมัยนั้นเรายังไม่เห็นฝรั่งเดินกันยั้วเยี้ยในเมืองไทยเหมือนสมัยนี้ จะจับฝรั่งสักคนมานั่งคุยด้วยเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร ที่เเจอบ่อยก็ในมหาวิทยาลัยซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับศาสตราจารย์ที่เขาไม่มานั่งเสียเวลาเจ๊าแจ๊ะในเรื่องไร้สาระหรอก แค่ผ่านการสอบสัมภาษณ์ทีถึง 2 รอบก็ระทึกขวัญพอสมควรแล้ว คิดว่าถ้าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันคงพอนึกออก สมัยนั้นไม่ค่อยมีอาชีพหลากหลายให้เลือกมากนักหรอก แต่ทำไม๊ทำไมอาชีพแอร์โฮสเตสถึงได้มีมนต์ขลังเหลือเกิน เป็นอาชีพยอดนิยมที่ไม่เคยหลุด Top 10 เลยจนถึงปัจจุบัน แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แค่อาชีพที่เด็กสาวใฝ่ฝันเท่านั้น ยังเปิดกว้างสำหรับเด็กหนุ่มไฟแรงหรือแม้กระทั่งเด็กหนุ่มเด็กสาวที่ไม่อยากคงสถานภาพทางเพศดั้งเดิม สายการบินทั้งหลายก็ไม่เคยปิดกั้น ให้โอกาสเต็มที่ให้แสดงศักยภาพในการให้บริการตราบใดที่มีคุณสมบัติตามที่สายการบินแต่ละสายการบินต้องการ สมัยโบราณมักจะฟังดูเหมือนเป็นอาชีพที่แทบจะเอื้อมไม่ถึง ถ้าไม่จบจากสถานศึกษาอันดับหนึ่งของประเทศ หรือไม่มีคุณสมบัติทางภาษาดีเลิศ หรือสวยระดับประกวดนางงาม แต่มาถึงสมับปัจจุบัน ดูเหมือนคุณสมบัติพวกนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญในการตัดสินใจคัดเลือกพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินแม้แต่น้อย มีก็ดี ไม่มีก็ไม่เป็นไร เกริ่นมาพอสมควรแล้ว สำหรับตอนนี้ขอพอแค่นี้ก่อน แล้วจะมาต่อเรื่องราวว่าเข้าไปใช้ชีวิตการทำงานเป็นแอร์ได้อย่างไร แล้วคุยกันใหม่นะคะ




 

Create Date : 25 เมษายน 2557   
Last Update : 25 เมษายน 2557 9:35:16 น.   
Counter : 1114 Pageviews.  


รับมือกับผู้โดยสารรู้มากอย่างไร

  ไม่ได้เข้า blog ตัวเองมานานมาก เพราะมัวแต่ไปวุ่นวายกับ facebook และการสอนสนทนาภาษาอังกฤษระดับสูงแก่วิศวกรไทยตามโรงงานในต้่างจังหวัดใกล้ๆชายแดนอยู่นานพอสมควร ตอนที่อยู่โรงงานก็สนุกดี เพราะเราไม่เคยคลุกคลีกับคนงานในโรงงานมาก่อน ไม่ว่าในระดับไหน ต้องปรับตัวพอสมควร โดยเฉพาะด้านความคิด มีหลายคนที่ไม่เคยแม้แต่จะออกนอกอำเภอที่ตัวเองอยู่ ยังมีอยู่อีกเหรอนี่ แต่วันนี้นึกอยากเล่าเรื่องเก่าๆสมัยเป็นแอร์กี่อยู่สายการบินต่างชาติ ประจำอยู่ต่างประเทศในฐานะหัวหน้าพนักงานต้อนรับ อยู่นานจนกลายเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ได้เป็นผู้อยู่อาศัย ถ้าเปรียบกับเมกาก็เหมือนกับมีกรีนการ์ดนั่นแหละ ที่กลับมาเขียนเพราะเหนื่อยกับการตะลอนไปใช้ชีวิตนอกบ้านสอนที่โน่นที่นี่ ขับรถตะลอนๆไปทั่ว ประกอบกับน้องหมาที่บ้านหลายตัวก็ชราภาพแล้ว เริ่มมีโรคหมาแก่เข้ามารุมเร้า เช่นโรคไต โรคตับ ขาไม่มีแรง ทำให้ต้องให้น้ำเกลือเอง เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในด้านนี้ที่ต้องเสียให้กับสัตวแพทย์ ถ้ามีคนสนใจจะเปิดกรุ๊ปย่อยเกี่ยวกับสุนัขโรคไตว่าควรซื้อยาที่ไหนราคาถุก แบบมี อ.ย. คราวนี้ขอนินทาผู้โดยสารตัวแสบก่อน ความจริงมีแสบๆเยอะหลายเรื่อง โดยเฉพาะเวลาบิน flightยาวๆ แต่คราวนี้เป็น flight สั้นๆ ชั่วโมงบินประมาณ 1.30 - 1.45 ชั่วโทง แต่เต็มประจำ สายการบินที่ทำอยู่ มีที่สั้นกว่านี้อีก ประเภทที่ถ้าใครบริหารจัดการเก็บถาดอาหารได้หมดนับว่าเป็นสุดยอดนักบริหารจัดการอย่างแท้จริง

      flight ที่กล่าวถึงนี้ ครั้งนั้นใช้เครื่งบินรุ่นที่เรียกกันว่า tristar ที่เดี๋ยวนี้สายการบินที่มีชื่อเสียงไม่ใช้กันแล้ว เพราะล้าสมัย อ้อ ขอบอกก่อนว่าเรื่องที่จะเล่านี้เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้วที่วิวัฒนาการด้านการบินย่อมสู้ในปัจจุบันไม่ได้ แต่ทัศนคติของผู้โดยสารและลูกเรือไม่เปลี่ยนแปลงไปมากมายนักหรอก flight นี้มักจะเต็มตลอด แต่วันที่ทำนั้น เวลาเครื่องออกเป็นตอนกลางคืนแล้ว ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่ ในเคบินผู้โดยสารแบ่งเป็นแค่ 2 class ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สายการบินต่างๆเริ่มตัดทอน first class ออกไป เพราะคนไม่นิยม นอกจากจะเป็น long haul flight เท่านั้น ในวันนั้นจึงมีเพียง business class และ economy class ชั้นประหยัดมักเต็มอยู่เสมอ ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวและผู้ใช้แรงงานที่ไปทำงานเป็นแม่บ้านที่เกาะๆหนึ่งในเอเซีย ครั้งนี้ก็เช่นกัน economy class เต็มเอี๊ยด เหมือนรถไฟ shinkanzen อย่างไรอย่างนั้นเลย ส่วน business class ที่จุผู้โดยสารได้ประมาณ 40 ที่นั่ง นั้นไม่เต็ม มีที่ว่างอยู่ประมาณ 10 กว่าที่  flight นี้ มักจะมีที่เราเรียกกันว่า ground engineer ติดตาม flight ไปเสมอ เพื่อสังเกตุการทำงานของนักบินในห้องคนขับ เพราะ ground engineer คิอ แผนกที่นักบินต้องสื่อสารให้เข้าใจกันเวลาเครื่องบินมีปัญหา ทำไม flight นี้ต้องมี ground engineer เพราะว่ามันเป็นเที่ยวบินที่ไม่พักค้างคืนที่จุดหมายปลายทาง ไปถึงก็แค่รอทำความสะอาดเครื่อง ขนอาหารขากลับขึ้นมา ไม่ต้องเสียค่าโรงแรม กลับมาถึงเกาะที่เป็นสำนักงานใหญ่เกือบเที่ยงคืน ดังนั้นเวลาเครื่องขึ้นและลง ground engineer มักจะเข้าไปอยู่ในห้องนักบิน จะออกมาก็ต่อเมื่อถึงเวลาเสิร์ฟอาหาร แต่บางคนก็ไม่ทาน ทำให้มีอาหารเหลือ

     ในคืนนั้นเครื่องจอด outer bay หมายความว่าไม่ได้ใช้ airbridge หรือที่คนไทยเรียกกันว่างวงช้าง แต่ให้ผู้โดยสารขึ้นรถบัสมาแล้วเดินขึ้นเครื่อง สำหรับเครื่อง tristar เราจะเปิดประตู 1 และประตู 2 ด้านซ้ายมือเพื่อต้อนรับผู้โดยสารขึ้นเครื่อง เป็นของธรรมดาที่ผู้ที่เป็นหัวหน้าพนักงานต้อนรับจะต้องยืนต้อนรับผู้โดยสารที่ปากประตู1 ส่วนประตูที่ 2 เป็นที่ประจำของคนที่เรียกกันว่าเป็น senior purser ผู้โดยสารส่วนใหญ่เมื่อขึ้นเครื่องบินก็มักจะตื่นเต้นและดีใจที่จะได้เดินทางแบบราบรื่น ถึงที่หมายอย่างปลอดภัยและรวดเร็วอย่างใจนึก เพราะการนั่งในเครื่องบินไม่ใช่เรื่องสนุกนัก ยิ่งถ้าเต็มๆแล้วละก็อึดอัดน่าดู ผู้โดยสารก็มักจะยิ้มแย้มตอบรับคำต้อนรับของพนักงานต้อนรับตามมารยาทอันดีและแสดงบัตรที่นั่งให้ดูเพื่่อที่พนักงานระดับ junior จะนำไปยังที่นั่งและช่วยเรื่องสัมภาระ มีบ้างบางคนที่อารมณ์บ่จอยแต่ก็มักจะมีมารยาททักทายตอบ ขณะที่เรากำลังต้อนรับผู้โดยสารตามหน้าที่นั้น ก็มีชายหนุ่มคอเคเชียน หน้าตาบอกบุญไม่รับขึ้นมา ไม่ยิ้ม ไม่ทักทายตอบและไม่แสดงบัตรที่นั่งให้ดู ทำนองว่าฉันเดินทางบ่อย ฉันรู้ว่านั่งที่ไหน ไม่ใช่เรื่องประหลาด แต่การไม่แสดงบัตรให้เด็ก junior ดูนั้นค่อนข้างผิดแปลก ไม่แสดงให้หัวหน้าดูไม่แปลก เพราะหัวหน้ามักอายุมากแล้ว ไม่น่าดึงดูดใจ ผู้โดยสารไม่ค่อยอยากคุยด้วยถ้าไม่มีปัญหาให้ช่วยเหลือ แต่ไม่ให้เด้กสาวๆดูนี่แปลก เราก็มองตาม เห็นเขานั่งในชั้น business class ก็โอเค แต่ก็รูสึกตะหงิดๆในใจ เพราะคนแบบนี้ถ้าไม่อารมณ์เสียมากๆจากเรื่องธุรกิจ หรือทะเลาะกับกิ๊ก ก็ต้องมีอะไรแอบแฝง ซึ่งไม่รู้ว่าคืออะไรและก็ไม่ใช่ธุระของเรา

   มาตรฐานของสายการบินเรานั้นเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยในการเดินทางมาก ต้องมีการนับจำนวนผู้โดยสารให้ตรงกันระหว่างพนักงานภาคพื้นดินและพนักงานในเครื่อง โดยใช้เคร่องนับที่เราเรียกกันว่า counter นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เราเรียกกันว่า seating chart สำหรับ first class  และ business class อีกด้วย นั่นคือ พนักงานที่ทำงานในชั้น business class ก็ต้องนับจำนวนผู้โดยสารว่าตรงกับจำนวนที่พนักงานภาคพื้นดินส่งขึ้นมาให้หรือไม่ ในครั้งนี้ก็ตรง ( ถ้าทุกคนจำได้ เที่ยวบินนี้มี ground engineer ขึ้นมาด้วย และมีชื่ออยู่ใน seating chart ของ business class ด้วย) แต่ในตอนที่นับจำนวนผู้โดยสารนั้น ตัว ground engineer ได้เข้าไปอยู่ในห้องนักบินแล้วและจะนั่งอยู่ในนั้นตอนที่เครื่องออกด้วย) เมื่อเครื่องขึ้นไต่ถึงระดับที่นักบินดับ flashไฟปลดสายรัดเข็มขัดที่นั่ง อันเป็นสัญญาณให้พนักงานต้อนรับทุกคนทราบว่าปลอดภัยที่จะลุกขึ้นทำงานได้แล้ว พนักงานทุกคนก็รีบเพราะ flight สั้นมาก flight สั้นๆแบบนี้เราจะอุ่นอาหารก่อนเครื่องออก เมื่อเราลุกขึ้นทำงานได้ อาหารที่อุ่นไว้ก้เกือบได้เวลาเสิร์ฟพอดี  หน้าที่ของหัวหน้าพนักงานต้อนรับคือลุกไปเดินดูทั่วเครื่องว่าทุกอย่างเป็นไปอย่างเรียบร้อยตามที่ควรจะเป็นหรือเดินทักทายผู้โดยสาร โดยเฉพาะผู้โดยสารที่เป็นลูกค้าประจำ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนว่าจะทำสิ่งใดก่อนหลัง สำหรับเรา flight สั้นๆแบบนี้ มักจะลุกเดินดูให้ทั่วเครื่องว่าพนักงานทุกคนทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามที่ควรจะเป็น ในขณะเดียวกันก็สำรวจผู้โดยสารไปด้วยในตัว ตอนที่เดินผ่าน business class จะไป economy class นั้น  (คงเพราะบินมานานจนหลับตาเดินได้) รู้สึกว่าใน business class ทะแม่งๆ จึงถามพนักงานว่านับจำนวนผู้โดยสารถูกต้องแน่นะ ซึ่งพนักงานก็ตอบว่าถูกต้อง แต่เรารู้สึกผิดปกติ จึงไปหยิบ seating chart มาเดินดูตามที่นั่งทีละคน ปรากฏว่าผู้โดยสารคนที่หน้าบอกบุญไม่รับนั้นนั่งที่ของ ground engineer อยู่ โดยมีหญิงสาวชาวเกาะที่ควรนั่งใน economy class มานั่งด้วย เราจึงถึงบางอ้อว่าที่ทำหน้าบอกบุญไม่รับและไม่แสดงบัตรที่นั่งให้ดูก็เพื่อเป็นการกลบเกลื่อนไม่ให้พนักงานรู้ว่าที่นั่งที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน ความที่เรามาอยู่ที่เกาะแห่งนี้นานแล้วทำไให้เข้าใจลักษณะความคิดของคนต่างชาติที่มาอาศัยทำมาหากินที่เกาะนี้ได้ดีว่า มักจะติดนิสัยชาวเกาะในการไม่ยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนและถ้าสามารถทำได้ก็มักจะเรียกร้องให้ได้มากกว่าที่ควรจะได้อีกด้วย และเรามั่นใจว่านี่คงไม่ใช่ครั้งแรกที่คนคนนี้ทำตัวแบบนี้ คงทำบ่อยจนเป็นนิสัยเสีย ดังนั้นจะต้องมีการดัดนิสัยไม่ให้ทำอะไรปิดบังหลบๆซ่อนๆอีกต่อไป เพราะความซื่อสัตย์นั้นเป็นคุณสมบัติที่อารยบุคคลควรมี เราจึงเดินเข้าไปในห้องนักบินและบอก ground engineer ว่าถ้าจะออกไปทานอาหารก็ออกไปได้ทุกเมื่อ แต่ไม่ต้องกลับไปที่นังของตัวเอง เลือกนั่งที่ไหนก้ได้ที่ว่างๆ หลังจากนั้นก็มีการเสิร์ฟอาหารทันที แต่ก่อนที่จะเสิร์ฟอาหาร เราบอกพนักงานให้เชิญผู้หญิงชาวเกาะคนนั้นให้กลับไปยังที่นั่งในชั้น economy class มีอิดออดนิดหน่อยแต่ก็ยอมไปโดยดี คงกลัวแผนแตก พนักงานก็เสิร์อาหารไปตามที่นั่ง เราก้็ปล่อยให้ผู้โดยสารคนนั้นเอร็ดอร่อยไปกับอาหารบนเครื่องบินจนเกือบหมดแล้ว เราก็เข้าไปคุยด้วย ซึ่งในตอนนี้เขาก็ยอมคุยด้วยดี คงเพราะนึกว่าสำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว เหลือเวลาบินอีกแค่ครึ่งชั่วโมงเท่านั้น เราขอโทษที่ขัดจังหวะเวลาอาหาร ขอดูบัตรที่นั่ง เขาก็ทำเป็นหา แล้วก็หาไม่เจอ เราก็บอกว่าไม่เป็นไร ถ้างั้นก็ขอหน้าตั๋วแล้วกัน (สมัยนั้นยังไม่มีการใช้ e- ticket ยังเป็นอะไรที่เราเรียกกันว่า ticket jacket อยู่) เขาก็หยิบมาให้ดู ซึ่งปรากฏว่าเป็นตั๋วสำหรับ economy class เขาก็ถามว่ามีปัญหาอะไรหรือเปล่า เราบอกไม่มีอะไรมากหรอก แต่นี่เป็นตั๋วสำหรับ economy เขาบอกว่า " จริงเหรอ ปกติเลขาจะซื้อตั๋ว business ให้ ถ้างั้นเขากลับไปที่ economy ก็ได้" เราบอกว่าถ้าเป็นเวลาปกติธรรมดาก็คงได้ แต่ครั้งนี้คงลำบาก เพราะการที่เขามานั่งที่ตรงนี้ และเสิร์ฟอาหารให้แล้ว ทำให้ทางเราขาดอาหารที่จะเสิร์ฟผู้โดยสารอีกคนใน business class ไป ( อันนี้เรา bluff เขา) เขาจึงถามเราว่าถ้างั้นจะให้ทำอย่างไร ก็เข้าล็อคเลย เราเลยบอกว่าคงต้องจ่ายค่าส่วนต่างตั๋วด้วยเครดิตการ์ด เขาถามว่าเท่าไหร่ เราบอกว่าเราไม่ทราบ แค่เซ็นสลิป แล้วทางแผนกบัญชีของสายการบินจะส่งไปเรียกเก็บที่สำนักงานของเขาเอง ดังนั้นเราขอเครดิตการ์ด พาสปอร์ต และบัตรประจำตัวของชาวเกาะด้วย (ซึ่งบัตรประจำตัวชาวเกาะนั้นไม่จำเป็น เพียงแต่เราต้องการเห็นเพื่อยืนยันว่าลางสังหรณ์ของเราถูกต้องเท่านั้นเอง) ซึ่งเขาก็มีทุกอย่างที่เราร้องขอเป็นการยืนยันว่าลางสังหรณ์ของเราแม่นยำเหลือเชื่อ และมันจะเป็นบทเรียนให้เขาจำไปตลอดชีวิตว่าอย่าทำอีก เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง จะต้องเปิดประตูสองก่อนประตู 1 เมื่อนักบินบอกให้เตรียมประตูให้พร้อมเปิดจากข้างนอกเพื่อให้ผู้โดยสารออกไปนั้น เราก็บอกให้พนักงานใน business class เฝ้าประตู 1 ไว้ให้พร้อมเปิด ส่วนเราจะไปยืนขอบคุณผู้โดยสารและกล่าวอำลาที่ประตู 2 เพราะที่นั่งของชายคนนั้นอยู่ใกล้ประตู 2 มากกว่า เมื่อเขาเดินออกจากเครื่ง เราก็กล่าว farewell ว่า " It has been a pleasure having you on board and we are looking forward to seeing you very soon in the near future" นั่นก็น่าจะทำให้เขามีบทเรียนที่ควรจดจำได้แล้ว หรือเพื่อนชาว bloggangว่าไงคะ




 

Create Date : 24 เมษายน 2557   
Last Update : 24 เมษายน 2557 17:11:02 น.   
Counter : 653 Pageviews.  


everyday language

Buon Giorno = สวัสดีตอนเช้า
อ่านว่า บู-โอน จอ - ระ -โน

ต้องกระดกลิ้นตรงตัว รเรือ มากๆจึงจะเรียกได้ว่าเป็นอิตาเลียนขนานแท้ ซึ่งภาษาอิตาเลียนนั้นนับว่าการออกเสียงไม่ยากเท่าฝรั่งเศส แถมหน่มๆอิตาเลียนยังหล่อกว่าอีกด้วย แต่ส่วนใหญ่จะตัวไม่สูงมาก รูปร่างสันทัด




 

Create Date : 14 เมษายน 2550   
Last Update : 14 เมษายน 2550 14:22:25 น.   
Counter : 340 Pageviews.  



hsbchs
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




นักท่องเที่ยวเนื่องจากเคยมีอาชีพแอร์(รุ่นลายคราม)
[Add hsbchs's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com