ทำปุ๋ยชีวภาพด้วยใส้เดือนแดง

อาชีพรับจ้างเก็บใส้เดือนที่แคนาดา

เมื่อประมาณเดือนเม.ย. ผมเข้าไปในเว็บไซต์ของกรมแรงงาน ไปเจอพี่ผู้ชายคนหนึ่งอยู่บ้านอยู่อุดรธานี ชื่อพี่ บรรจง
พี่บรรจงแกไปโพสต์ข้อความ อธิบายขอความเห็นใจจากเจ้าหน้าที่ในกระทรวงต่างประเทศ เนื่องจากแกขอวีซ่าเดินทางไปทำงานที่แคนาดาแต่ทางเจ้าหน้าที่ที่อนุญาติไม่อนุญาติ
พี่บรรจงแกเดินทางไปทำงานที่แคนาดามา ปี ๑ แล้วไปในตำแหน่งแรงงาน ภาคเกษตรทั่วไป แต่งานหมดก่อนสัญญา เอเยนซี่เสนองานใหม่ให้แก่คือ รับจ้างเก็บใส้เดือน พี่บรรจงตอบรับและทำงานจนใกล้หมดสัญญาการทำงาน
พอหมดสัญญานายจ้างที่แคนาดา พอใจผลงานการทำงานของแก สาเหตุที่แกสร้างความ ประทับใจให้นายจ้างของแก เพราะว่า ตอนที่แกใกล้จะหมดสัญญา
เอเยนซี่คนไทย มาแนะนำให้แกไปทำงานที่อื่น ให้ออกจากที่ทำงานเดิม แต่พี่บรรจงแกไม่ไปเพราะว่าแกต้องการรักษาสัญญา ทำให้นายจ้างเห็นความซื่อตรงของแก
ชวนมาทำงานต่อและออกใบอนุญาติทำงานให้(work permit) แต่ให้พี่บรรจงมาเดินเรื่องทางประเทศไทยเอง อันเนื่องจาก ทางกรมแรงงานไม่มีข้อมูลการแรงงานที่ไปทำงานที่แคนาดา และตอนสัมภาษณ์ พี่บรรจงแกก็ไปบอกว่า ไปทำหน้าที่ เก็บใส้เดือน ทำให้ความน่าเชื่อถือการขอวีซ่าไปทำงานดูไม่น่าเชื่อถือ แม้ว่าแกจะมีหลักฐานที่กรมแรงงานกำหนดไว้ทั้งหมด ทำให้แกต้องใช้ความพยายามอธิบายกับเจ้าหน้าที่พอสมควร จนอนุญาติออกวีซ่าให้แกพร้อมพรรคพวก รวม ๙ คนไปทำงานรับจ้างเก็บใส้เดือนที่แคนาดา
พี่บรรจงเล่าให้ฟังว่า อาชีพรับจ้างเก็บใส้เดือน จะทำงานกลางคืน เริ่มตั้งแต่ 19.00 น.ขี้นไปจนสว่าง นายจ้างคิดค่าจ้างเป็นชั่วโมงให้ประมาณ 8 เหรียญดอลลาร์แคนาดาต่อชั่วโมง 1เหรียญดอลลาร์แคนาดา ก็ประมาณ ๓๒ บาทใครอดนอนเก่งก็ทำได้มาก ปีหนึ่งจะทำงานได้ ๘เดือน อีก๔ เดือนที่เป็นฤดูหนาว ประมาณเดือน ธันวาคม ถึง เดือน เมษายน หิมะตกไม่มีใส้เดือนให้เก็บ และช่วงนี้เองที่พี่บรรจงจะกลับมาพักผ่อนที่ประเทศไทย ใครที่อยากคุยกับพี่บรรจง คุยได้ที่ เอ็มเอสเอ็น หรือเมล์ ของพี่เขาที่ bunchongp@hotmail.com




 

Create Date : 19 สิงหาคม 2550    
Last Update : 16 สิงหาคม 2551 23:05:08 น.
Counter : 10293 Pageviews.  

การขุนไส้เดือน,ภาชนะบรรจุ,ศัตรูของใส้เดือน

การขุนไส้เดือน

ก่อนนําออกขาย ควรคัดไส้เดือนขนาดใหญ่ออกมาขุนใหมีขนาดใหญ่สม่ําเสมอ ใช้วัสดุรองพื้นบ่อสูง 12-15เซนติเมตร รดน้ำให้เปียกปล่อยไส้เดือนลงไปให้อาหารเต็มพื้นที่ ในกรณีที่กินอาหารได้มากใหอาหารวันละสองครั้ง น้ำหนักและขนาดจะเพิ่มเป็นสองเท่าภายในเวลา 7 - 10 วัน

ภาชนะบรรจุ

ภาชนะบรรจุไสเดือนเพื่อส่งขาย ควรใช้กล่องพลาสติก เพื่อรักษาความชื้น เจาะรูระบายอากาศ เก็บรักษาในที่มีอุณหภูมิต่ำและป้องกันแสงแดด

ศัตรูของไส้เดือน

ไส้เดือนมีศัตรูเข้าทําอันตรายหลากหลายชนิด ควรทําการป้องกัน เช่น มด กิ้งกือ ตะเข็บ ไรแดง หอย หนู งู และตัวอ่อนของแมลงปีกแข็ง เป็นต้น




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2550    
Last Update : 16 สิงหาคม 2551 23:05:29 น.
Counter : 737 Pageviews.  

วิธีการแยกใส้เดือน

  • เมื่อปริมาณไส้เดือนในบ่อเลี้ยงเพิ่มขึ้นทั้งตัวเต็มวัยและตัวอ่อนจะเกิดการแย่งอาหาร ออกซิเจนนอกจากนี้ขี้ไส้เดือนที่ขับถ่ายออกมาจะเป็นอันตรายต่อตัวอื่นๆ เมื่อมีจํานวนต่อพื้นที่สูงอาจจํากัดการวางไข่การขยายพันธุ์ลดลง ควรควบคุมปริมาณไส้เดือนต่อพื้นที่ให้เหมาะสม
  • ควรแยกไส้เดือนที่สมบูรณ์ขนาดใหญ่ออกอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 เดือน เพื่อลดจํานวนไส้เดือนต่อพื้นที่ใหสามารถเคลื่อนย้ายไดสะดวก และลดการแย่งอาหาร ออกซิเจน โดยทั่วไปจะแยกออกจากบ่อทุก 60วัน
วิธีการแยก
  • ใช้ภาชนะ เช่น ลังไมหรือลังพลาสติกรองพื้นด้วยพลาสติก ใส่ปุ๋ยหมักหรือมอสที่มีความชื้นสูง หนา 5 เซนติเมตร ใช้พลั้วตักไส้เดือนในบ่อลึก 10-12เซนติเมตร ใส่ลงไปในลังแยกไส้เดือนในที่มีแสงสว่าง เพื่อให้ใส้เดือนหนีแสงลงไปอยู่ด้านล่างลัง จากนั้นค่อยๆแยกวัสดุรองรังออกเหลือแต่ใส้เดือนอยู่ด้านล่างลัง
  • เนื่องจากไส้เดือนต้องการออกซิเจน อาจแบ่งพื้นที่วัสดุรองพื้นจากบ่อเก่ายกกองให้สูงขึ้นและเติมวัสดุทําปุ๋ยหมักใหม ให้นำเฉพาะวัสดุรองพื้นใหม่ไส้เดือนจะย้ายไปกินอาหารใหม่และมีออกซิเจนสูง
  • ใช้ตระแกรงร่อนปุ๋ยอินทรีย์ออกมาและนําไส้เดือนไปใส่บ่อใหม
  • ในประเทศคอสตาริกาเลี้ยงในตะกร้าพลาสติก เมื่อมีอินทรีย์วัตถุเต็มตะกร้า จะใช้ตะกร้าใหม่ใส่วัสดุรองพื้นวางทับด้านบนไส้เดือนต้องการออกซิเจนและอาหารจะขึ้นมาอยู่ในวัสดุใหม่ใช้เวลาประมาณ 2 เดือนเพื่อให้ไข่ฟักออกมาเป็นตัวและเคลื่อนย้ายตะกร้าเก่าออก นําไปใช้เป็นปุ๋ยหมัก




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2550    
Last Update : 16 สิงหาคม 2551 23:04:46 น.
Counter : 709 Pageviews.  

การเลี้ยงใส้เดือน ตอนที่ ๔

อาหารเลี้ยงไส้เดือน

  • ไส้เดือนกินอาหาร 60-100 % ของน้ําหนักตัวต่อวัน Red wigglers กินอาหารเท่ากับน้ำหนักตัวต่อวัน การปล่อยไส้เดือนน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ต้องการอาหารวันละ 1 กิโลกรัม จะต้องใหอาหาร 1-2 ครั้งต่ออาทิตย
  • ไส้เดือนต้องการอาหารที่ C/N ratio ต่ำเช่น พืชตระกูลถั่ว อาหาร เช่น มูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก เปลือกไม้ กระดาษ หรือ เศษพืชสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อใหเสื่อมสะลายเร็ว วัสดุอินทรีย์ที่ย่อยสะลายได้สามารถนํามาใช้เลี้ยงไส้เดือนได้ มูลโคนม ม้า และกระต่าย เป็นอาหารที่ดีที่สุด สําหรับไส้เดือน
  • การให้อาหารที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ ควรเพิ่มอาหารที่มีไนโตรเจนหรือโปรตีนสูง เช่น เมล็ดธัญพืช กากถั่วเหลือง ใบพืชตระกูลถั่วเป็นต้น อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรทสูงควรหมักก่อนระยะหนึ่ง โดยใส่ปุ๋ยมูลไกเพื่อเร่งการย่อยสะลาย และ ลดอุณหภูมิในกองจุลินทรีย์ที่ย่อยสะลายเส้นใยพืชจะเปลี่ยนรูปไนโตรเจนเป็นโปรตีนและสารประกอบอื่นๆ ซึ่งเป็นแหล่งไนโตรเจนของไส้เดือน
  • การให้อาหารเช่นเศษพืชสด ควรสับให้ละเอียดและผสมมูลโคนม มูลม้า หรือ ขี้เลื่อยเก่า ปริมาณ 20-30 % เศษเหลือจากการทําอาหาร เช่น เปลือกมันฝรั่งแครอท สลัด เซเลอรี่ กะหล่ําปลี เปลือกกล้วย เปลือกผลไม้ สามารถใช้เป็นอาหารไสเดือนไดควรหลีกเลี่ยงใหเศษอาหารที่มีส่วนผสมของเนื้อ นม ไข่ น้ำมันพืช เกลือ พริก หรือน้ำส้มสายชู
  • เปลือกไข่บดหรือ calcium carbonate จําเป็นสําหรับการรักษาความเป็นกรด-ด่างของวัสดุรองบ่อ และเป็นแหล่งวิตามินของใส้เดือน ในกรณีที่ไส้เดือนชะงักการเจริญหรือไข่น้อยลง ควรเพิ่มอาหารจําพวกโปรตีน ส่วนผสมของอาหารไส้เดือนควรมีโปรตีน 15 %
  • การให้อาหารที่มีปริมาณเส้นใยสูง เช่น ขี้เลื่อย ฟางข้าว ผักตบชะวา ผักกาด ควรผสมด้วยวัสดุที่มีไนโตรเจนสูง เช่น พืชตระกูลถั่ว มูลสัตวเศษปลา เป็นต้น เพื่อปรับ C/N ratio 30:1 หรือ 40 : 1 การผสมวัสดุหลายชนิดจะใหปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูงประกอบด้วยธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ในปริมาณที่สูง




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2550    
Last Update : 16 สิงหาคม 2551 23:06:45 น.
Counter : 973 Pageviews.  

การเลี้ยงใส้เดือน ตอนที่ ๓

วัสดุรองพื้น

  • วัสดุรองพื้นที่ดี ต้องสามารถรักษาความชื้นได้ ร่วนซุย ไม่ควรมีส่วนผสมที่มีโปรตีนหรือวัสดุอินทรีย์ที่ใหไนโตรเจนสูง เนื่องจากเมื่อย่อยสะลายจะเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียและทําให้วัสดุรองพื้นเปลี่ยนสภาพเป็นด่างจัด ซึ่งไม่เหมาะสําหรับการเจริญของไส้เดือน นอกจากนี้ในสภาพด่างจัดแอมโมเนียจะอยูในรูปของแก๊สเป็นอันตรายต่อไส้เดือน
  • แนะนำรองด้วยวัสดุอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ที่มีส่วนผสมของฟางข้าว เศษพืช มูลสัตวเช่น มูลโค มูลม้า มูลกระต่าย ไม่ควรใชพืชหรือมูลสัตว์สด มูลสัตว์ปีกรองพื้นบ่อเนื่องจากในระยะเริ่มแรกของการย่อยสะลายวัสดุอินทรีย์ที่มีเส้นใยสูง ทําให้เกิดความร้อนในกองวัสดุหรือมีอุณหภูมิสูงถึง 67 o ซ หรือสูงกว่าอาจทําให้ไส้เดือนตายไดในกรณีที่มีความเข้มข้นของเกลือในมูลสัตว์ปีกสูงทําใหอัตราการเจริญและจํานวนไข่ลดลง
  • รักษาอุณหภูมิในกองให้อยู่ระหว่าง 50-55 o ซ เป็นเวลา 7-10 วัน หลังจากนั้นควบคุมให้อยู่ระหว่าง 20-27 o ซ อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป จะมีอิทธิพลต่อการเจริญและการทํางานของไส้เดือนและจุลินทรีย์ในดิน โดยอุณหภูมิสูงจะจํากัดการทํางานอุณหภูมิต่ำจะพักตัว pH ของวัสดุรองพื้นอยู่ระหว่าง 6.5-7.0 และรักษาความชื้นในกอง 40-45 %
  • ใส่รองพื้นบ่อเกลี่ยให้เรียบสม่ําเสมอสูง 15-20เซนติเมตร รักษาความชื้นให้พอเพียง ตรวจสอบอุณหภูมิวัสดุรองพื้น เมื่อมีอุณหภูมิต่ํากว่า 27 o ซ เป็นเวลา 5-6 วัน ปล่อยไสเดือนที่เตรียมไว้เป็นพ่อแม่พันธ์ คลุมด้วยกระสอบเปียก ใบกล้วยหรือใบปาล์ม เพื่อควบคุมความชื้น เปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุก 6 เดือน ติดตั้งระบบน้ำหยด หรือพ่นฝอย ด้านบนบ่อ เพื่อความสะดวกในการใหน้ำ ป้องกันศัตรูของไส้เดือน เช่น ไร มด หนู นก และ กบ เป็นต้น
  • คำแนะนำของ ดร.ณัฐ ตัณโช ใช้มูลโค กระบือ แพะแกะ 3 ส่วน ผสมดินเหนียวทุบละค่อนข้างละเอียด ตากแดด 8 ส่วนรดน้ำให้ชื้นพอจับตัวกันเป็นก้อน ตรวจสอบโดยการกำในมือแล้วบีบมีน้ำซึมไหลออกจากง่ามนิ้วมือก็ถือว่าใช้ได้ หมักไว้ประมาณ 21 วัน หรือ จนความร้อนลดลง ก็สามารถใช้เป็นวัสดุรองพื้นได้แล้ว




 

Create Date : 10 สิงหาคม 2550    
Last Update : 16 สิงหาคม 2551 23:07:10 น.
Counter : 672 Pageviews.  

1  2  3  

WITPIT723
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add WITPIT723's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.