Insight : Food service job - Counter
ต่อพาร์ทสองนะคะ
พาร์ทนี้เราจะเจาะลึกงานหน้าเคาน์เตอร์กัน
เมื่อเค้าให้เราทำงานเคาน์เตอร์แล้ว เราทำอะไรบ้าง

หลัก ๆ คือ รับออเดอร์ และเตรียมอาหารให้ตามนั้น
โดยอาหารบางประเภทเราเตรียมให้ได้เลย เช่น ตักซุป ทำฟิชแอนด์ชิป ทำชิคเก้นเทนเดอร์
งานบางอย่างที่ต้องตะโกนสั่งเข้าไปในครัว แล้วอย่าลืมทวงด้วย
แล้วก็.. ต้องเตรียมใจแย่งชิงอาหารกับบรรดาเพื่อนร่วมงานด้วยนะ ฮ่า ๆ
แต่ พวกเราเก่งนะคะ ถ้าจำไม่ผิด พวกเราเสิร์ฟอาหารคน 360 คนได้ภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง ทำลายสถิติกันไปเลย

รับออเดอร์ เอาจริง ๆ งาน ณ จุดท่องเที่ยวหลักของสหรัฐอเมริกา การเก่งภาษาอังกฤษไม่จำเป็นนัก
เพราะ ต่างกับร้านอาหารจุดอื่น เนื่องจาก เป็นจุดท่องเที่ยวหลัก ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก
ดังนั้น guest ของเรามาจากทั่วโลก และส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันค่ะ
(Let alone สำเนียงไทยอย่างเรา ฮ่าๆๆๆ)

ภาษาที่เจอมีภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาอังกฤษสำเนียงอังกฤษจ๋า เยอรมัน (มั้ง) แล้วก็มีจีน ญี่ปุ่นบ้างเหมือนกัน
แขกบางคนก็ตลกดี เค้าพูดแต่ภาษาเค้า แล้วเราก็ตอบ ๆ อังกฤษไป เค้าก็ตอบมาเป็นภาษาเค้า ประกอบภาษาใบ้ ฮ่าๆๆๆ

งานนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการเข้าใจ ผ่านการสบตาค่ะ
ตอนนี้อาจจะอ่านดูแล้วงง ๆ
แต่ขอยืนยันว่า รอบนี้ กลับมาเมืองไทยได้มาอีกหนึ่งภาษา ภาษาสายตาค่ะ
ตอนพูด จ้องตาแขกนะคะ แล้วคุณจะเข้าใจเค้าเอง
ใช้สมาธิสูงเหมือนกัน เล่นเอาเหนื่อยเลย

ไป ๆ มา ๆ ก็สนุกดีเหมือนกัน
มีช่วงหนึ่ง แขกพูดด้วยสำเนียงอังกฤษ แล้วเราก็ตอบด้วยสำเนียงอังกฤษได้เลย
ยังนึกอยู่ในใจ ต๊าย! ชั้นมานิวยอร์คได้สำเนียงอังกฤษเหรอเนี่ย?
(เช่น Can I have two tea, please
อเมริกัน “แคน ไอ แฮฟ ทู ที, พลี้ส?
อังกฤษ แคน ไอ แฮ่ฟ ทู ที่ ผลีส? (เสียงจัตวา)

นอกจากนี้ ยังต้องเข้าใจแบ๊คกราวด์เค้า
ชาวอังกฤษ ชอบเรียกเฟรนช์ฟรายว่า ชิป
ในขณะที่เราเรียกมันฝรั่งแบบแท่งว่าเฟรนช์ฟราย
แล้วแบบสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ว่า ชิป
ก็ต้องเมคชัวร์ คอนเฟิร์มกันไปว่าเอาอันไหนแน่

บางคน (คิดว่าฝรั่งเศสนะ) จะออกเสียง ฟราย ว่า ฟรี หรือ ฟรีส์
อยู่ ๆ ไปจะเก็ตอะไรหลายอย่างเองค่ะ

แล้วก็จะได้เรื่องวัฒนธรรมเหมือนกัน
ทำ ๆ ไปจะเข้าใจ ว่ากลุ่มอินเดียส่วนใหญ่จะกินมังสวิรัติ ต้องแนะนำอาหารมังสวิรัติให้เค้า เป็นต้น

ต้องจ้องตา ให้เข้าใจเค้า แล้วเราก็จะทำงานได้ดี
(มีเทคนิคจะเม้าธ์อยู่นะ แต่.. นี่เราจะเล่าเรื่องงานหมดมั้ยเนี่ย นี่แค่เคาน์เตอร์นะ บล็อกหน้าจะต่อเรื่องงานอื่นอีก ฮ่าๆ)

อาหารบางประเภท เราต้องประกอบเอง (ซึ่งง่ายมาก มีแค่สองเมนู ปลากับไก่, ตักซุป)
บางประเภท ตะโกนชื่อย่อไปในครัว แล้วทวง ๆ เอามาเสิร์ฟ
กดน้ำ กดไอติมเหลว
แย่งชิงอาหารกับเพื่อนร่วมงานทุกคน แล้วเอามาเสิร์ฟให้เร็วที่สุด
อ่อ.. จัดจานด้วย
แล้วยังต้องเรียนรู้อีก ว่ามีป้าบางคน ที่เราห้ามไปขโมยถาดจากเคาน์เตอร์ป้าแกเด็ดขาด โอเค

ข้ามเรื่องดีเทลงานละกัน ไปเรียนรู้เอง เอาแต่เทคนิคดีกว่า
1. เทคนิคเกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม และการจ้องตา อย่างที่บอกไปข้างต้นนะคะ

2. เทคนิคการจำชื่อเมนู ชื่อย่อสำหรับตะโกนสั่งในครัว และส่วนประกอบ
อย่างที่เคยคุยไว้ในบล็อกก่อน ๆ นะคะ ว่าแพรวเรียนรู้เร็วมาก
ภายในครึ่งวันแรก สามารถตักอาหารได้ถูกต้องเด๊ะ ๆ
ในวันที่สอง จำชื่อย่อรายการอาหารทุกอย่างได้ตั้งแต่เช้า
แล้วสามารถจัดการเคาน์เตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิคไม่มีอะไรมากนะคะ
เค้าจะแจกเอกสารชุดนึง ที่มีชื่ออาหาร ส่วนประกอบ ฯลฯ อยู่แล้ว
กลับบ้านไปวันแรก เปิดอ่านดูว่ามีอะไรบ้าง
แล้วจัดหมวดหมู่อาหารในหัวคร่าว ๆ
ลองอ่านชื่อแล้วทายดูว่าชื่อย่อน่าจะเป็นอะไร (ส่วนใหญ่ก็ถูกอยู่แล้ว)
ชื่อไหนพิเศษหน่อยให้ไฮไลท์ไว้

แล้ว go over ส่วนประกอบอาหารคร่าว ๆ ว่าไอ้นี่มันต่างกับอันอื่นยังไง

ถ้าประเภทนี้ มีรายการอะไรย่อย ๆ บ้าง
ถ้ามังสวิรัติ แนะนำอะไรได้บ้าง ฯลฯ

แล้วตอนเช้า ทบทวนอีกครั้งระหว่างเดินทาง
ไปถึง ไปยืนดูเมนูแล้วจะเก็ต

มีคำถามก็ถามไป

เช่น เราเกิดสงสัยว่า เมนูอะไร ตอนเสิร์ฟ ต้องเสิร์ฟพร้อมโคลสลอว์บ้าง
ซึ่งปรากฏว่ามีสามเมนู ที่เราท่องตั้งแต่วันนั้นแล้วไม่พลาดเลย

ถ้าขั้นเทพสุด ก็ต้องท่องส่วนประกอบให้ได้ เพราะแขกจะถามบ่อย ๆ ว่าอันนี้ใส่อะไรบ้าง
(แน่ล่ะ ถ้าเราเป็นแขก แล้วเมนูแปลก ๆ เราก็จะถามเช่นกัน)
ซึ่ง เรายังไม่เทพขั้นนั้น แหะๆ
จำแค่ส่วนประกอบหลัก ๆ ไปบอกเค้า
ช่วงแรกแย่หน่อย ก็ถามพนักงานเก่า
หลัง ๆ เริ่มฉลาดขึ้น วิ่งไปตรงส่วนประกอบอาหาร เค้าจะมีกระดาษแปะอยู่แล้วว่าเมนูไหนใส่อะไรบ้าง ก็แค่นั้นแหละ

อ๋อ แล้วก็ อยู่ตั้งนานแยกไม่ออกว่าพานินี่แต่ละอันมันต่างกันยังไง ตอนไปรับอาหารมาเสิร์ฟจะกังวลมากว่าถูกมั้ย
หลัง ๆ ถามเพื่อนที่เป็นคนอบปานินี่ เลยรู้ว่าให้แอบเปิดดูแล้วสังเกตที่อะไร

(ปานินี่ พวกเราแอบตั้งชื่อเล่นให้ว่า พาณิณี ชื่อไทยไปเลยเชียว
เป็นแซนด์วิชอบร้อนค่ะ อันใหญ่มาก มันพรีเมดมาแล้ว
คนได้ทำปานินี่ จะเป็นคนหยิบจากตู้เย็นมาอบในเตาอบฉีดสเปรย์น้ำมัน พอถึงเวลา ก็จะยกออกมาตัด แล้วเอาไปวางไว้ในตู้ร้อน
แต่มันไม่แค่นั้นน่ะสิ ถ้าเคาน์เตอร์ตะโกนสั่งมา ต้องหยิบใส่จาน ใส่ชิป (มันฝรั่งแบบเลย์) ปักธง แล้วยกมาเสิร์ฟด้วย กรี๊ดดดดดด ยากอ้ะ)

3. มาฝึกสมอง พัฒนาระบบความจำระยะสั้นกันนะ
โอ้ย ท้าทายม้าก เคยเจอมั้ยคะ แขกมาด้วยกัน สั่งที่เดียวเจ็ดคนทั้งน้ำทั้งอาหาร
บางทีเรารับแค่สามแล้วจะวิ่งไปทำให้เค้าก็ไม่ยอม ให้ฟังให้หมดก่อนด้วย กรี๊ด

ถ้ารายการไม่เยอะ หันหลังมาแล้วท่องสั้น ๆ เป็นทำนองเพลงไปเลยค่ะ เวิร์คจริงนะ
แต่ถ้าเยอะก็บ่ยั่น ฮุๆ ตะโกนสั่งอาหารหลังครัว แล้วเราก็ประกอบอาหารที่เราทำได้ไปด้วย ท่องไป ๆ จำได้ไม่หมดก็ไม่ต้องกลัว
เพราะเรามีสองมืออยู่แล้ว พอเราเอาสองเมนูมาวางปุ๊บ ก็ทำเป็นพูดชื่ออาหารที่เอามาเสิร์ฟ แล้วทำเป็นทวนว่าเหลือรายการอะไรบ้าง รอบนี้แหละต้องจำที่เหลือให้ดี (ถามครั้งที่สองนี่ยังเนียนอยู่ค่ะ ครั้งที่สามก็พอไหวนะ)


เอ่อ... ไม่แน่ใจว่าเพราะง่วง หรือเพราะอะไร แต่นึกเทคนิคอื่น ๆ ไม่ออกแล้วอ้ะ
ปิดท้ายด้วย “ความลับ” ที่จะไม่ลับอีกต่อไปของเราละกันนะคะ

ที่นั่นมีกฏระเบียบในการเสิร์ฟพอสมควร (ซึ่ง บางกฎ เราก็ไม่เห็นด้วย)
เราเคยถามแมแนเจอร์ในวันแรก ๆ เกี๋ยวกับปัญหาที่เจอ
ก็พอรู้วิธีดีลบ้าง (แต่บางวิธีเราไม่เห็นด้วย)
เคสอื่น เค้าบอกว่า ถ้าเกิดขึ้น ให้มาถามเค้า หรือแมแนเจอร์คนอื่นดู

เราก็.. ตามระเบียบบ้าง ดื้อบ้าง แต่ถ้าแมแนเจอร์ไม่อยู่ จะเอาใจแขกสุดฤทธิ์ ฮ่าๆๆๆ
เช่น ลูกค้าขออะไรเพิ่มเติม เราจัดให้ คือ บอกตามตรง ของพวกนี้มันเล็กน้อยมาก เหลือโยนทิ้งก็ตั้งเยอะ ถ้าเค้าขอโคลสลอว์เพิ่ม อะไรเพิ่ม เราให้ทันที (แอบให้ก็เถอะ)

ห้ามเอาน้ำเย็นใส่แก้วกระดาษ อันนี้โอเค ไม่ทำ (แต่บางคนก็แอบทำให้อ่ะนะ)

ลูกค้าขอแก้วกระดาษเพิ่ม เช่น มากันแม่ลูก เค้าอยากขอแก้วมาแบ่งน่ะ อันนี้ แอบทำ
ก็ไม่ยากนะ ก็ซ้อนแก้วเข้าไป แล้วบอกเค้าว่า ชั้นไม่แน่ใจว่าแมแนเจอร์อนุญาตให้ทำอย่างนี้นะ
เค้าก็จะยิ้มมมมมแล้วขยิบตาให้ บริการได้ถูกใจมากค้า

นอกนั้นก็เป็นการรักษาผลประโยชน์เค้า เช่น ทีนี่แปลกมากอ่ะ แขกมาขอน้ำร้อน เราไม่ให้ฟรีนะ เราขาย
ดังนั้น ก็จะทำให้เค้ารู้สึกดีขึ้นง่าย ๆ ด้วยการแถมถุงชาไปด้วย
บอกว่า ยังไงเค้าก็ต้องจ่ายค่าน้ำร้อนเท่าค่าน้ำชาอยู่แล้วอ้ะ
ดังนั้น เก็บไว้กินมื้อหลังก็ได้

บางที ก็ต้องใช้คอมม่อนเซนส์ เช่น เค้าสั่งเบอร์เกอร์กับฟราย
เราก็ต้องแจงนิดนึงว่า เบอร์เกอร์ที่คุณสั่ง มันมากับฟรายอยู่แล้วนะ
นี่ ช่วยแขกประหยัดตังค์


อืม ไม่แน่ใจว่าง่วงหรือว่าอะไร แต่ตอนนี้นึกเทคนิคอื่นไม่ออกจริง ๆ
สงสัยงานฟู้ดตรงไหนถามมานะคะ

บล็อกหน้าจะเล่าเรื่องงานในฟู้ดอื่น ๆ นอกจากเคาน์เตอร์ให้ฟังนะคะ
กู๊ดไนท์ค่ะ

Add เพิ่มครั้งที่ 1 นะคะ

เรื่องการเทคแคร์ลูกค้า
อาจจะเป็นเพราะว่า เราไปเวิร์ค เลยไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองอยู่ข้างเดียวกับบริษัทมั้งคะ เลยหาเรื่องเอาใจลูกค้าออกบ่อยไป
กิริยาเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้ลูกค้าดีใจ เหมือนเราใส่ใจเค้า จนเค้าแอบขยิบตาวิ้งค์ ๆ ให้ก็หลายรอบ ;)
(ค่ะ เกย์ด้วยค่ะ พริซซิลล่าขวัญใจลูกค้า 5555+)

นอกจากแอบซ้อนแก้วให้ ซ้อนกระดาษรองจานให้ (คือ มันไม่มีแพคเกจกลับบ้าน แล้วอาหารเราก็เยอะจริง ๆ เราก็แอบซ้อนถุงไปด้านหลัง บอก จ่ายตังค์แล้วยูไปแอบแบ่งกันเองนะ อิ๊ๆ รู้กันสองคน (แต่บางทีก็กลัวอยู่ว่า เป็น Internal Audit มาตรวจงานชั้นป่าวเนี้ย?)

อีกเรื่องคือ gesture เล็ก ๆ น้อย ๆ
อย่างการกดน้ำ ที่นั่นก็จะเป็นหัวน้ำอัดลมกด ๆ เอาแบบที่เห็นตามร้านฟาสต์ฟู้ดนี่ล่ะค่ะ แต่ว่า ฟองเยอะมาก แล้วยิ่งที่นั่นมีนโยบายใส่น้ำแข็งน้อย เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น
ดังนั้น ถึงแม้จะเลือกโปรแกรมว่าเอาน้ำน้อยแล้ว มันก็จะไม่เต็มแก้ว
พนักงานส่วนใหญ่จะเลือกน้ำเยอะกดทิ้งไว้ แล้วไปเตรียมอาหารส่วนอื่น
แต่... ด้วยความกระแดะส่วนตัว "อี๋" อีกแล้วอ่ะ
คิดดูสิ ถ้าคุณไปกินฟาสต์ฟู้ด แล้วพนักงานเอาแก้วน้ำเปื้อน ๆ เหนียว ๆ มาให้ "อ๊๋"!!!!!
บางคนก็ดีหน่อย กดน้ำเกิน แต่เอียงแก้วให้น้ำออก
แต่เราว่ามันเสียเวลาอ่ะ
ดังนั้น สิ่งที่ทำคือ ระหว่างอยู่แถว ๆ เคาน์เตอร์ หรือก่อนวิ่งไปสั่งอาหาร จะตั้งโปรแกรมน้ำขนาดเล็กทิ้งไว้
แล้วพอกลับมาอีกที ระหว่างรออาหารที่สั่ง หรือเหลือแค่น้ำเป็นรายการสุดท้ายแล้วก็ตาม ค่อยกดน้ำเพิ่มทีละนิด ฟองมันจะฟอดขึ้น เราก็ทำเหมือนที่เคยอ่านในเน็ตอ่ะค่ะ เวลาไปกดเสลอปี้กัน คือเคาะ ๆ แก้ว รอฟองยุบ ฟองมันก็จะยุบเร็วขึ้นนิดหน่อย แล้วกดน้ำเพิ่ม สลับกับเคาะแก้วไปเรื่อย ๆ

คือ มันเป็นอะไรที่เราอยากให้พนักงานทำให้เราอยู่แล้วอ่ะ
แต่ผลที่ได้คือ ลูกค้าจะดีใจว่าเรารักษาผลประโยชน์ให้เค้า อยากให้เค้าได้เยอะ ๆ เค้าก็จะแฮปปี้ที่จะรอ ยิ้มแต้เชียว แต่ถ้าเป็นเด็กมาทัศนศึกษาก็ยิ่งตื่นเต้น จะอะเมซิ่งมากว่าเฮ้ย พนักงานให้เยอะจังงงงง (แพง และไม่รีฟิลล์ให้นะจ๊ะ) แต่ก็มีบ้างเหมือนกัน ที่ลูกค้ายิ้มให้แล้วบอก พอ ๆ ไม่เอาเพิ่มแล้ว ฮ่าๆ

อ๋อ พูดถึงเรื่องนี้ อีกเทคนิคนึงคือ ควรจำราคาสินค้าบางตัวไว้ด้วย เราไม่จำเป็นต้องรู้ก็จริงเพราะเราไม่ใช่แคชเชียร์ แต่ลูกค้าจะถามเอากับเรา เช่น น้ำแบบไหนราคาเท่าไหร่ (เคาน์เตอร์) แต่บางตัว เช่น ที่แช่ในตู้ ก็ต้องถามแคชเชียร์ให้
อยู่ ๆ ไปเราก็จะจำได้เอง เพราะลูกค้าถามราคาน้ำบ่อยมาก ๆ

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องจำตั้งแต่วันแรกที่เอากระดาษกลับไปท่องคือ อาหารแบบไหน อยู่ตรงไหน เพราะบางอย่าง ลูกค้าหยิบจากตู้ได้เลย ไม่ต้องรอสั่งค่ะ



รูปนี้ถ่ายกับตู้แช่น้ำเย็น ตรงข้ามเคาน์เตอร์ค่ะ
(อ่อ นึกได้อีกปัญหา ลูกค้าจะชี้เอาน้ำขวดในตู้เย็นด้านหลังเรา แต่เราจะขายจากตู้แช่ด้านหน้า ลูกค้าก็สงสัยว่าต่างกันยังไง แรก ๆ ก็ขี้เกียจเถียง หยิบให้ แต่เรามีทางออกที่ดีกว่าค่ะ คือ ให้บอกลูกค้าว่านี่เป็นสต็อคของเราน่ะ ให้เค้าหยิบเอาจากด้านนอก แค่นี้ก็จบ
แต่กรณีที่เค้างง ๆ ก็สมมติเรื่องต่อไปเลยก็ได้ เช่น จากสต็อคจะไปตู้แช่ต้องทำเรื่อง ต้องเช็ค ต้องนู่นนี่ บลาๆๆ ฮ่าๆ)



Create Date : 29 สิงหาคม 2554
Last Update : 30 สิงหาคม 2554 10:37:54 น.
Counter : 458 Pageviews.

1 comments
  
ละเอียดสุดๆค่ะ ขอบคุณมากๆที่มาแชร์+ทริกเล็กๆน้อยๆค่ะพี่พริซ
โดย: lara IP: 58.8.221.61 วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:10:17:32 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Praew Priscilla
Location :
ลำปาง  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



Hey!

Thanks for dropping by my blog! I'm Praew Priscilla.
Just the sweetest travelista mermaid living her happy life and keeping positive vibes.

Follow me at Instagram "PraewPriscilla"
Contact me at praewpriscilla@gmail.com
New Comments