นมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
นมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนอรุณอมรินทร์
แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พิกัด : https://goo.gl/maps/ESEa1mpn1quqB99K7 



วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร
อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1



ประวัติวัดระฆัง เดิมเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่
(หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างพระราชวัง
ใกล้วัดบางว้าใหญ่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์



และขึ้นยกเป็นพระอารามหลวง และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชในสมัย
รัตนโกสินทร์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก
ซึ่งอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชขึ้นที่วัดนี้



ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ใน
พระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (สา)
พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช



และเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด
ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก



พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 4
ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก 3 องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท
พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก จนปรากฏว่าครั้งหนึ่งเมื่อ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม



ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดว่า ไปวัดไหนไม่เหมือนมา วัดระฆังพอเข้าประตู
โบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที ด้วยเหตุนี้จึงทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์
นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ
และพระประธานองค์นี้ก็ได้นามว่า พระประธานยิ้มรับฟ้า ตั้งแต่นั้นมา



พระอุโบสถ เป็นทรงแบบรัชกาลที่ 1 หลังคาลด 3 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์
และคันทวยสลักเสลาอย่างสวยงาม บริเวณมุขด้านหน้าและหลังทำปีกนกคลุมมุขอยู่
ในระยะไขราหน้าจั่ว ตอนใต้จั่วหรือหน้าบัน ที่จำหลักลายพระนารายณ์ทรงครุฑ
ประดับลายกนกปิดทองอย่างประณีต เจาะเป็นช่องหน้าต่าง 2 ช่อง



แทนแผงแรคอสองเหนือประตูหน้าต่างรอบพระอุโบสถติดกระจังปูนปั้นปิดทองทำ
เป็นรูปซุ้มบนบานประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำปิดทองมีรูประฆังเป็นเครื่องหมาย
ด้านในเขียนภาพทวารบาลยืนแท่นระบายสีงดงาม



บริเวณฝาผนังภายในพระอุโบสถโดยรอบเขียนภาพจิตรกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าฝีมือ
งดงามมาก โดยผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์
ก่อนเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์



ด้านหลังพระประธานเขียนภาพพระมาลัยขณะขึ้นไปนมัสการพระมหาจุฬามณี
บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เบื้องล่างเขียนภาพสัตว์นรกในอาการต่างๆ ภาพฝาผนังส่วนที่เหลือ
เบื้องบนเขียนเป็นเทพชุมนุม ตอนล่างเขียนภาพทศชาติ



ซึ่งเขียนได้อย่างมีชีวิตชีวาอ่อนช้อยและแสงสีเหมาะสมกับเรื่องราว ภาพเหล่านี้เขียนโดย
พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อราว พ.ศ. 2465
ครั้งมีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถในรัชกาลนั้น



หอระฆัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง
ให้สืบถามเรื่องระฆังของวัดบางหว้าใหญ่ซึ่งเป็นระฆังที่มีเสียงไพเราะยิ่งนัก
ที่ขุดได้ในวัดนั้นว่าขุดได้ ณ ที่ใด



ทรงขอระฆังเสียงดีลูกนั้นไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงสร้างหอระฆังจตุรมุขพร้อมทั้ง
ระฆังอีก 5 ลูก พระราชทานไว้แทน เพราะเหตุแห่งการขุดระฆังได้ จึงได้ชื่อตาม
ที่ประชาชนเรียกว่า วัดระฆัง ตั้งแต่นั้นมา



หอพระไตรปิฎก ป็นรูปเรือน 3 หลังแฝด หอด้านใต้ลักษณะเป็นหอนอน หอ
กลางเป็นห้องโถง หอด้านเหนือเข้าใจว่าเป็นห้องรับแขก ของเดิมเป็นหลังคามุงจาก
ได้เปลี่ยนเป็นมุงกระเบื้อง ชายคาเป็นรูปเทพพนมเรียงรายเป็นระยะๆ



เปลี่ยนฝาสำหรวดไม้ขัดแตะเสียบกระแชงเป็นขัดด้วยหน้ากระดานไม้สักระหว่างลูกสกล
ใช้แผ่นกระดานไม้สักเลียบฝาภายในแล้วเขียนรูปภาพต่าง ๆ บานประตูด้านใต้เขียนลายรดน้ำ



บานประตูหอกลางด้านตะวันออกแกะเป็นลายกนกวายุภักษ์ ประกอบด้วยกนกเครือเถา
บานซุ้มประตูนอกชานแกะเป็นมังกรลายกนกดอกไม้ภายนอกติดคันทวยสวยงาม



ภายในมีตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่เขียนลายรดน้ำ 2 ตู้ ประดิษฐานไว้ในหอด้านเหนือ 1 ตู้
หอด้านใต้ 1 ตู้ หอพระไตรปิฎกนี้ตั้งอยู่ภายในเขตพุทธาวาส ทิศใต้ของพระอุโบสถ



หอพระไตรปิฎก (คณะ 2) อยู่หน้าตำหนักแดง ในคณะ 2 เป็นเรือนไม้ฝาปะกน
ปิดทอง ทาสีเขียวสด ประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำสวยงามมาก



พระวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ป็นพระวิหารทรงเดียวกับ พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (สี)
ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน มีเครื่องหมายสำคัญที่หน้าบันทั้งสองข้าง เป็นรูปพัดยศจารึกอักษรไว้ว่า
“พระวิหารสมเด็จ 2503” เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระราชาคณะของวัดนี้ 3 องค์



สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “สมเด็จโต” หรือ “หลวงพ่อโต”
พระเถระผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และทรงคุณทางวิปัสสนาธุระ



สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัด เสรีวงศ์) เป็นพระเถระที่มีพระเกียรติคุณปรากฏอีกองค์หนึ่ง
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงได้รับการถวายเจ้านายโดยเฉพาะ เป็นเหตุให้พระเครื่อง
ที่ทรงทำร่วมกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้เป็นอาจารย์ ได้รับขนานนามว่า
“สมเด็จปิลันทน์” และมีชื่อเสียงควบคู่กันมา



สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) ผู้มีชื่อเสียงในทางเทศนาวิธี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชี่ยวชาญการเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค
ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หรือมีอายุได้ 14 ปี เท่านั้น และสำเร็จเป็นเปรียญ 8 ประโยค



ในเวลาต่อมา เมื่อครั้งเป็นที่พระพิมลธรรม ท่านได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏเป็นพิเศษ
กว่าสมเด็จพระราชาคณะองค์อื่น ๆ และเมื่อมรณภาพ ในรัชกาลที่ 6 ก็ได้รับการ
พระราชทานเพลิงที่พระเมรุสนามหลวงเป็นเกียรติด้วย



ขอขอบคุณขอมูล :https://th.wikipedia.org/wiki/วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร 



ใครที่ยังไม่ได้เข้าไปอ่านบล๊อก ร้านอาหารอินเดียที่กำลังดังอยู่ในตอนนี้
ร้านมาตา การ์เด้น จังหวัดนนทบุรี
 
สามารถกดที่นี่ได้เลยครับ



ฝากกด like Facebook นายแว่นขยันเที่ยว : 
https://www.facebook.com/นายแว่นขยันเที่ยว-110467381183341



ฝากกดติดตาม YouTube กูรูเอมมี่ แชลแนล : 
https://www.youtube.com/channel/UCRYXqGydbgKYciPr2Kilw3g
ขอขอบคุณ อาจารย์เอมมี่ เทพนิมิตต์ โหราเวทย์ศรีธนญชัย



ขอบคุณที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ผม
"นายแว่นขยันเที่ยว"



ขอบคุณเพลง : หลวงปู่โต
ศิลปิน : หนิง ปัทมา
Vote : ท่องเที่ยวไทย

​​​​​​​



Create Date : 05 กันยายน 2565
Last Update : 5 กันยายน 2565 0:34:29 น.
Counter : 962 Pageviews.

5 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณปัญญา Dh, คุณnewyorknurse, คุณtanjira, คุณปรศุราม, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณหอมกร, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณเริงฤดีนะ, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณRain_sk, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณhaiku, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills, คุณกะว่าก๋า, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร

  


ช่วงนี้ฝนตก รักษาสุขภาพนะคะ
โดย: tanjira วันที่: 5 กันยายน 2565 เวลา:7:03:38 น.
  
พระประธานจะเอาเครื่องราชย์ไปทำอะไรเนอะ

โดย: หอมกร วันที่: 5 กันยายน 2565 เวลา:8:31:30 น.
  

ได้มากราบปีละ 1 หน ค่ะ
ช่วงมาไหว้พระ 9 วัดปีใหม่
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 5 กันยายน 2565 เวลา:9:06:51 น.
  
เพลงเพราะมากครับ
โดย: กระดิ่งลมเอะโดะ สีแดงยามค่ำคืน วันที่: 5 กันยายน 2565 เวลา:22:02:11 น.
  
มาเที่ยว ไหว้พระสมเด็จโตด้วยครับ
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 5 กันยายน 2565 เวลา:23:10:09 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นายแว่นขยันเที่ยว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]



All Blog