วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 
พิกัด : https://goo.gl/maps/3tvXZWwDzgtumnhy7 



พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านตะวันตกในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1900
ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย



พร้อมกับพระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระเหลือ พระพุทธชินราชได้รับ
การยอมรับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งและยังเป็นพระพุทธรูป
ที่นิยมจำลองกันมากที่สุดในประเทศไทย



นอกจากนี้ยังเป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนชาวไทยศรัทธา
และนิยมเดินทางมากราบไหว้มากที่สุดองค์หนึ่งด้วย




ประวัติ
พระพุทธชินราช ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด คงมีแต่พงศาวดารเหนือ
ซึ่งเป็นเอกสารที่เล่าถึงตำนานเมืองเหนือเรื่องต่าง ๆ สมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกเรียบเรียง
ขึ้นใหม่โดยพระวิเชียรปรีชา (น้อย) ในปี พ.ศ. 2350



ที่อ้างถึงกษัตริย์เชียงแสนพระนามพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเป็นผู้สร้าง พร้อมกับ
การสร้างเมืองพิษณุโลกและพระพุทธรูปอีก 2 องค์คือพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา



พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชนิพนธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ประวัติการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
ในชื่อ "ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา"



ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ โดยใช้พงศาวดารเหนือในการอ้างอิงจึงทำให้มีเนื้อหาหลักคล้าย
คลึงกัน แต่เพิ่มเติมการสร้างพระเหลือเข้าไป และมีการระบุศักราชในการสร้างพระพุทธรูป
ทั้ง 3 องค์



ไว้ดังนี้ พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาหล่อในปี พ.ศ. 1498
และพระพุทธชินราชหล่อขึ้นในปี พ.ศ. 1500 (หย่อนอยู่ 7 วัน)



พ.ศ. 2423 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงแต่งตำนานการสร้างพระพุทธชินราชขึ้นอีกสำนวนหนึ่ง



ชื่อ "พงษาวดารเหนือ : เป็นลิลิตเรื่องนิทานพระร่วง แลนิทานพระเจ้าธรรมไตรปิฎก
นิทานพระชินศรี พระชินราช พระศาสดา" ซึงมีเนื้อเรื่องเช่นเดียวกับพงศาวดารเหนือ
และพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เพิ่มความสัมพันธ์
ระหว่างพระบรมราชจักรีวงศ์กับพระพุทธชินราชเข้าไปด้วย



สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้มีพระดำริเกี่ยวกับประวัติ
การสร้างพระพุทธชินราชจากหลักฐานทางพุทธศิลป์นำมาเปรียบเทียบกับ
พงศาวดารเหนือว่าพระพุทธชินราช ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย เนื่องจากพุทธศิลป์อย่าง
พระพุทธรูปสุโขทัยระคนกับพุทธศิลป์เชียงแสนแต่มีพัฒนาการไปกว่าพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิม



และช่างผู้สร้างพระพุทธชินราชกับพระพุทธชินสีห์นั้นเป็นช่างเดียวกัน
หากแต่พระศรีศาสดาเป็นช่างอื่นจากลักษณะประติมากรรมของพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ที่ปรากฏ
แต่จะสร้างพร้อมกันทั้ง 3 องค์หรือไม่นั้นไม่ทราบแน่ชัด และเมื่อพิจารณาช่วงเวลาการสร้าง
แล้วทรงคาดว่าพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์น่าจะสร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ในปี พ.ศ. 1900



มิใช่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โดยประทานเหตุผลว่า "พระเจ้าแผ่นดินซึ่งปรากฏพระเกียรติ
ในเรื่องพระไตรปิฎกนั้นมีแต่พระองค์เดียวคือพระมหาธรรมราชาลิไทย...พระมหาธรรมราชา
นี้เองที่พงศาวดารเหนือเรียกว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก"



นอกจากนี้ยังมีการสันนิษฐานเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธชินราชว่าน่าจะ
ถูกสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยพิชญา สุ่มจินดา ซึ่งได้กำหนดอายุเวลาของ
พระพุทธชินราชขึ้นใหม่จากพุทธลักษณะขององค์พระพุทธรูปจากรูปแบบของเรือนแก้ว



โดยเทียบเคียงกับลวดลายบนซุ้มเรือนแก้วที่วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช
อายุเวลาของลวดลายดังกล่าวอาจกำหนดได้ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย
และจากสถาปัตยกรรมของพระวิหาร ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(พ.ศ. 2199-2232)



อย่างไรก็ตามความเห็นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ณ ขณะนี้คือความเห็นใน
แนวทางเดียวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่เชื่อว่า
พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ถูกสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1900 ในรัชสมัยของ
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)



หมายเหตุ: ซุ้มเรือนแก้ว รูปหล่ออาฬวกยักษ์และท้าวเวสสุวัณเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้น
คนละยุคกับองค์พระโดยเชื่อว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาโดยสังเกตจากลักษณะลวดลาย



และลักษณะทางสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังมีการบูรณะพระพุทธชินราชโดยการเพิ่ม
อุณาโลมบริเวณพระนลาฏในสมัยหลัง (คาดว่าน่าจะทำขึ้นในสมัยอยุธยา
เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานการบูรณะเพิ่มเติม)



การลงรักปิดทอง
เดิมพระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำริดมิได้มีการลงรักปิดทองตั้งแต่แรกสร้าง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2146 สมเด็จพระเอกาทศรถได้เสด็จแปรพระราชฐานมายังเมือง
พิษณุโลกและพระราชดำเนินมานมัสการ พร้อมทั้งโปรดให้มีการนำเครื่องราชูปโภคมาตี
แผ่เป็นทองคำเปลวสำหรับปิดทองพระพุทธชินราช



ครั้งนั้นจึงถือเป็นการลงรักปิดทองครั้งแรก ต่อมายังมีการลงรักปิดทองอีก 2 ครั้งใน
พ.ศ. 2444 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการถวายสังวาลย์
เพชรเป็นพุทธบูชาพร้อมกับการหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง)



เพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร และ พ.ศ. 2547 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร



ข้อมูลอ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธชินราช 



ฝากกด like Facebook นายแว่นขยันเที่ยว : 
https://www.facebook.com/นายแว่นขยันเที่ยว-110467381183341



ฝากกดติดตาม YouTube กูรูเอมมี่ แชลแนล : 
https://www.youtube.com/channel/UCRYXqGydbgKYciPr2Kilw3g
ขอขอบคุณ อาจาร์เอมมี่ เทพนิมิตต์ โหราเวทย์ศรีธนญชัย



ขอบคุณที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ผม
"นายแว่นขยันเที่ยว"



ขอบคุณเพลง : คนขี้เหงา
ศิลปิน : Fridaynight to Sunday
Vote : ท่องเที่ยวไทย



Create Date : 07 มีนาคม 2565
Last Update : 17 มีนาคม 2565 14:29:25 น.
Counter : 1444 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณปรศุราม, คุณเริงฤดีนะ, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณSleepless Sea, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณกิ่งฟ้า, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณสองแผ่นดิน, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณSweet_pills, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณKavanich96

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นายแว่นขยันเที่ยว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]



All Blog