สมาคมครูหนุ่มหล่อแห่งประเทศไทย
Group Blog
 
All Blogs
 

อริสโตเติล

นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ อริสโตเติล, เพลโต (อาจารย์ของอริสโตเติล) และโสกราติส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราติส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราติสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่น ๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ

อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก




 

Create Date : 25 เมษายน 2553    
Last Update : 25 เมษายน 2553 10:47:39 น.
Counter : 1788 Pageviews.  

เต็งข้อสอบ การศึกษา 100 ข้อ ปี 52

เต็งข้อสอบ การศึกษา 100 ข้อ ปี 52


ข้อ 1) ข้อใดเป็นความหมายของการศึกษา ตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ?
1. กระบวนการฝึกอบรมจริยธรรมและการเสริมสร้างสติปัญญา
2. การเล่าเรียน การฝึกอบรม
3. กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
4. กระบวนการทั้งมวลที่มุ่งให้บุคคลเกิดการพัฒนาความสามารถ ทัศนคติ และจินตนาการ

ข้อ 2) Education is life เป็นแนวคิดของนักการศึกษาผู้ใด?
1. รุสโซ
2. ดิวอี้
3. อริสโตเติ้ล
4. ชุ้ลซ์

ข้อ 3) การศึกษาคือการลงทุน เป็นแนวคิดของนักการศึกษาผู้ใด?
1. รุสโซ
2. ดิวอี้
3. อริสโตเติ้ล
4. ชุ้ลซ์

ข้อ 4) ข้อใด ไม่เป็นความหมายของการศึกษา ของ จอนห์ ดิวอี?
1. การฝึกอบรมจริยธรรม
2. ความเจริญงอกงาม
3. กระบวนการทางสังคม
4. การสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต

ข้อ 5) การศึกษา คือ ความเจริญงอกงามของขันธ์ 5 เป็นแนวคิดของนักการศึกษาผุ้ใด?
1. สาโรช บัวศรี
2. พระพุทธเจ้า
3. พระราชมุนี
4. วิจิตร ศรีสอ้าน

ข้อ 6) หลักการจัดการศึกษาได้บัญญัติใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตราใด?
1. มาตรา 6
2. มาตรา 7
3. มาตรา 8
4. มาตรา 9

ข้อ 7) ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาได้บัญญัติไว้ใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตราใด?
1. มาตรา 6
2. มาตรา 7
3. มาตรา 8
4. มาตรา 9

ข้อ 8) รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวนเท่าใด?
1. ไม่น้อยกว่า 9 ปี
2. 9 ปี
3. ไม่น้อยกว่า 12 ปี
4. ไม่น้อยกว่า 15 ปี

ข้อ 9) เป็นหลักการจัดการศึกษา ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ยกเว้นข้อใด?
1. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
2. กระจายอำนาจสู่เขตพื่นที่การศึกษาและสถานศึกษา
3. เป็นการศึกษาตลอดชีวิต
4. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ข้อ 10) การจัดการศึกษา มีกี่รูปแบบ?
1. 2 รูปแบบ
2. 3 รูปแบบ
3. 4 รูปแบบ
4. 5 รูปแบบ

ข้อ 11) ข้อใดไม่ใช่รูปแบบของการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542?
1. การศึกษาตามอัธยาศัย
2. การศึกษาตลอดชีวิต
3. การศึกษาในระบบ
4. การศึกษานอกระบบ

ข้อ 12) การจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการ และระยะเวลา ในการจัดการศึกษาคือรูปแบบใด?
1. การศึกษาตามอัธยาศัย
2. การศึกษาตลอดชีวิต
3. การศึกษาในระบบ
4. การศึกษานอกระบบ

ข้อ 13) หลักการจัดการศึกษา ที่เน้น ผู้เรียนสำคัญที่สุด ใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 อยู่ในมาตราใด?
1. มาตรา 21
2. มาตรา 22
3. มาตรา 23
4. มาตรา 24

ข้อ 14) การศึกษาในระบบ มีกี่ระดับ?
1. 2 ระดับ
2. 3 ระดับ
3. 4 ระดับ
4. 5 ระดับ

ข้อ 15) ข้อใดกล่าวถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ได้ถูกต้อง?
1. มี 2 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
2. 3 ระดับ คือ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
3. 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย
4. 4 ระดับ คือ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย

ข้อ 16) ข้อใด ไม่ใช่ระดับการศึกษาในระบบ?
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. การศึกษาอุดมศึกษา
3. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
4. เป็นระดับการศึกษาในระบบทุกข้อที่กล่าวมา

ข้อ 17) การศึกษาที่กำหนดจุดหมาย วิธีการศึกษาหลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการศึกษาสำเร็จที่แน่นอน เป็นการจัดการศึกษาตามข้อใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกนอกระบบ
3. การศึกษาตลอดชีวิต
4. การศึกษาตามอัธยาศัย

ข้อ 18) การศึกษาที่ผู้เรียนเรียนด้วยตัวเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาสโดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคมสภาพสิ่งแวดล้อม สื่อ หรือ แหล่งเรียนรู้อื่นๆเป็นการจัดการศึกษาแบบใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกนอกระบบ
3. การศึกษาตลอดชีวิต
4. การศึกษาตามอัธยาศัย

ข้อ 19) การศึกษาที่มีเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม เป็นการจัดการศึกษาแบบใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกนอกระบบ
3. การศึกษาตลอดชีวิต
4. การศึกษาตามอัธยาศัย

ข้อ 20) Infomal Education เป็นการจัดการศึกษารูปแบบใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกษานอกระบบ
3. การศึกษาตามอัธยาศัย
4. การศึกษาตลอดชีวิต

ข้อ 21) non-formal Education เป็นการจัดการศึกษารูปแบบใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกษานอกระบบ
3. การศึกษาตามอัธยาศัย
4. การศึกษาตลอดชีวิต

ข้อ 22) Formal Education เป็นการจัดการศึกษารูปแบบใด?
1. การศึกษาในระบบ
2. การศึกษานอกระบบ
3. การศึกษาตามอัธยาศัย
4. การศึกษาตลอดชีวิต

ข้อ 23) กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยัง เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามข้อใด?
1. ด้านวิชาการ
2. ด้านงบประมาณ
3. ด้านการบริหารงานบุคคล
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 24) การศึกษาสำหรับคนพิการต้องดำเนินการจัดการศึกษาอย่างไร?
1. จัดตั้งแต่แรกเกิด
2. จัดตั้งแต่พบความพิการ
3. จัดให้มีสิทธิ์เท่ากับคนปกติ
4. ถูกทั้งข้อ ก และ ข

ข้อ 25) บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่จดการศึกษา มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ ยกเว้น ข้อใด?
1. อุดหนุนจากรัฐ
2. มีใบประกอบวิชาชีพครู
3. ได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ในการอบรมเลี้ยงดู
4. ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา

ข้อ 26) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 มีความสอดคล้องกับปรัชญาสาขาใดมากที่สุด?
1. Reconstructionnism
2. Perenialism
3. Essentialism
4. Progressivism

ข้อ 27) หลักสูตรประสบการณ์ หรือ แบบกิจกรรมได้รับอิทธิพลจากปรัชญาในข้อใด?
1. Reconstructionnism
2. Existentialism
3. Essentialism
4. Progressivism

ข้อ 28) ปรัชญาในข้อใด เน้นความสำคัญของแต่ละบุคคลและการดำรงชีวิตในปัจจุบัน?
1. Reconstructionnism
2. Existentialism
3. Essentialism
4. Progressivism

ข้อ 29) คำว่า Education มีวิวัฒนาการมาจากคำใด?
1. Economy
2. Technology
3. Anthropology
4. Pedagogy

ข้อ 30) วิชาการศึกษาเป็นสาขาหนึ่งของศาสตร์ประเภทใด?
1. วิทยาศาสตร์
2. มนุษย์ศาสตร์
3. สังคมศาสตร์
4. ศิลปศาสตร์

ข้อ 31) การศึกษาคือความเจริญงอกงาม เป็นแนวคิดของนักการศึกษาใด?
1. รุสโซ
2. จอห์น ดิวอี้
3. เปสตาลอสซี่
4. จอห์นลอค

ข้อ 32) ผู้ที่ริเริ่มนำแนวคิดพุทธปรัชญามาใช้ในการศึกษาของไทย คือผู้ใด?
1. วิจิตร ศรีสอ้าน
2. อภิญโญ สาธร
3. พุทธทาสภิกขุ
4. สาโรช บัวศรี

ข้อ 33) ผู้ให้กำเนิดการศึกษาอนุบาล คือใคร?
1. รุสโซ
2. ดอลตัน
3. โฟรเบล
4. โรเบร์ต กาเย่

ข้อ 34) ปรัชญาของการแนะแนว ข้อใดกล่าวผิด?
1. คนย่อมมีศักยภาพเหมือนกัน
2. คนย่อมมีความเปลี่ยนแปลง
3. ทุกคนย่อมมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
4. คนย่อมมีปัญหาไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง

ข้อ 35) เด็กเกิดมาเปรียบเสมือนผ้าขาว เป็นแนวคิดของใคร?
1. กาเย่
2. วัตสันต์
3. รุสโซ
4. แมคาธี

ข้อ 36) วิชาใด ๆก็ตามสามารถทีจะสอนให้เด็กในช่วงทุกพัฒนาการ เป็นแนวคิดของใคร?
1. สกินเนอร์
2. บลูม
3. บรูเนอร์
4. ธอร์นใดค์

ข้อ 37) หลักการสอนของ แฮร์บาร์ต มีจำนวนกี่ขั้น?
1. 3 ขั้น
2. 4 ขั้น
3. 5 ขั้น
4. 6 ขั้น

ข้อ 38) การจัดการศึกษาต้องยึดหลักตามข้อใด?
1. ผู้เรียนทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้
2. ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
3. ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 39) การจัดการศึกษาตัองเน้นความสำคัญด้านใด?
1. ด้านความรู้
2. ด้านคุณธรรม
3. ด้านกระบวนการเรียนรู้
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 40) ข้อใดกล่าวผิด?
1. การจัดการศึกษาต้องเน้นความรู้และทักษะ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
2. การจัดการศึกษาต้องเน้นความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
3. การจัดการศึกษาต้องเน้นความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษาโดยเน้นการใช้ภาษาต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง
4. ไม่มีข้อใดกล่าวผิด

ข้อ 41) ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ กระบวนการจัดการเรียนรู้?
1. การจัดกิจกรรให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
2. การจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานความรู้ด้านต่าง ๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
3. การจัดการเรียนรู้พยายามให้เกิดขึ้นภายในห้องเรียนหรือสถานศึกษาให้มากที่สุด
4. สนับสนุนให้ผู้สอนใช้วิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

ข้อ 42) "ปัจจุบัน" มติคณะรัฐมนตรีให้อุดหนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานกี่ปี?
1. 9 ปี
2. 12 ปี
3. 14 ปี
4. 15 ปี

ข้อ 43) ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี มีอัตราค่าหนังสือกี่บาทต่อคน สำหรับนักเรียนก่อนประถมศึกษา?
1. 600 บาท/คน
2. 100 บาท/คน
3. 200 บาท/คน
4. 800 บาท/คน

ข้อ 44) ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ค่าอุปกรณ์การเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษามีอัตราเท่าใด?
1. 100 บาท / ภาคเรียน
2. 190 บาท / ภาคเรียน
3. 180 บาท / ภาคเรียน
4. 195 บาท / ภาคเรียน

ข้อ 45) ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี เครื่องแบบนักเรียน ประกอบด้วย เสื้อ/กางเกง/กระโปรง คนละ กี่ชุด/ปี?
1. 1 ชุด/ปี
2. 3 ชุด/ปี
3. 2 ชุด/ปี
4. 4 ชุด/ปี

ข้อ 46) ข้อใด"ไม่ใช่" กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี
1. กิจกรรมวิชาการ
2. กิจกรรมคุณธรรม/ลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด
3. ทัศนศึกษา
4. กิจการช่วยเหลือและบริการ

ข้อ 47) หลักการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวในมาตราใด?
1. มาตรา 22
2. มาตรา 23
3. มาตรา 24
4. มาตรา 25

ข้อ 48) หลักการประเมินผล ให้สถานศึกษาประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากข้อใด?
1. พัฒนาการของผู้เรียน
2. ความประพฤติ
3. การทดสอบควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 49) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดหลักสูตรแกนกลาง ไว้ในมาตราใด?
1. มาตรา 24
2. มาตรา 25
3. มาตรา 26
4. มาตรา 27

ข้อ 50) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ศาสตราจารย์วิลเลียม ซี แบกเลย์

ข้อ 51) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perenialism) คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ศาสตราจารย์วิลเลียม ซี แบกเลย์

ข้อ 52) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progressivesm) คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ศาสตราจารย์วิลเลียม ซี แบกเลย์

ข้อ 53) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษาBuddhism คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ศาสตราจารย์วิลเลียม ซี แบกเลย์

ข้อ 54) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษาบูรณาการนิยม หรือปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. ธีโอเดอร์ บราเมล
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ซอเรนคีร์ เคกอร์ด

ข้อ 55) ผู้ริเริ่มแนวคิด ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) คือผู้ใด?
1. เปสตาลอสซี
2. ธีโอเดอร์ บราเมล
3. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
4. ซอเรนคีร์ เคกอร์ด

ข้อ 56) กระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรพุทธศาสนา คือข้อใด?
1. ไตรสิกขา
2. อธิศิลสิกขา
3. สมาธิสิกขา
4. โยนิโสมนสิกา

ข้อ 57) สอนให้ผู้เรียนรู้จักคิดและแก้ปัญหา คือ ผู้ใด?
1. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
2. จอห์น ดิวอี้
3. ดร.สาโรช บัวศรี
4. โฟรเบล

ข้อ 58) วิธีการสอนที่ใช้การอภิปรายถกเถียง โดยใช้เหตุผลประกอบ เป็นแนวคิดผู้ใด?
1. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์
2. จอห์น ดิวอี้
3. ดร.สาโรช บัวศรี
4. โฟรเบล

ข้อ 59) บุคคลในข้อใดเป็ผู้ให้ความหมายของคำว่า หลักสูตร หมายถึง วิธีเตรียมเยาวชนให้มีส่วนร่วมในฐานะที่เป็นสมาชิกที่สามารถสร้างผลผลิตให้แก่สังคมของเรา?
1. กู๊ด
2. ทาบา
3. วิชัย วงษ์ใหญ่
4. ธำรง บัวศรี

ข้อ 60) ข้อใดคือความหมายของหลักสูตร ที่กรมวิชาการกำหนดไว้?
1. หลักสูตรคือวิชาที่สอนซึ่งจะบ่งบอกความหมาย ขอบข่ายเนื้อหา แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2. หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดการเรียนการสดอนของครู
3. หลักสูตรคือ กลุ่มวิชา หรือ ประสบการณ์ที่กำหนดไว้
4. หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ข้อ 61) ข้อใด เป็นความหมายอง การพัฒนาหลักสูตร ได้ถูกต้องที่สุด?
1. การปรับปรุงหลักสูตรให้ดีขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่
3. การยกเลิกหลักสูตรเก่าแล้วทำหลักสูตรใหม่
4. การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดดีขึ้น

ข้อ 62) ปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรข้อใดใช้ในการควบคุมทิศทางในการจัดการศึกษา?
1. พื้นฐานด้านจิตวิทยา
2. พื้นฐานด้านสังคม
3. พื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษา
4. พื้นฐานด้านเศรษฐกิจ การเมือง

ข้อ 63) ขั้นตอนแรกของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ ทาบา กำหนดคือข้อใด?
1. วินิจฉัยความต้องการ
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย
3. คัดเนื้อหาสาระ
4. จัดเนื้อหาสาระ

ข้อ 64) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ใช้แนวคิดจากปรัชญาการศึกษาแบบใด?
1. นิรันตรนิยม
2. ปฏิรูปนิยม
3. อัตถิภาวนิยม
4. พิพัฒนาการ

ข้อ 65) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ประกาศใช้เมื่อใด?
1. 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2544
2. 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2544
3. 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2544
4. 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2544

ข้อ 66) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ใช้พร้อมกันทุกชั้นเรียนทั่วประเทศเมื่อใด?
1. ปีการศึกษา 2544
2. ปีการศึกษา 2546
3. ปีการศึกษา 2548
4. ปีการศึกษา 2550

ข้อ 67) ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544
1. มีโครงสร้างยืดหยุ่น
2. มีมาตณฐานการเรียนรุ้เป็นช่วงชั้น
3. กำหนดจุดหมายในภาพรวม 12 ปี
4. สถานศึกษากำหนดหลักสูตรแกนกลาง

ข้อ 68) หลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 มีทั้งหมดกี่ข้อ?
1. 3 ข้อ
2. 4 ข้อ
3. 5 ข้อ
4. 6 ข้อ

ข้อ 69) จุดหมายตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 มีทั้งหมดกี่ข้อ?
1. 9 ข้อ
2. 10 ข้อ
3. 11 ข้อ
4. 12 ข้อ

ข้อ 70) ข้อใดไม่ใช่โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544?
1. หลักการ
2. ระดับช่วงชั้น
3. สาระการเรียนรู้
4. มาตรฐานการเรียนรู้

ข้อ 71) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้กี่ช่วงชั้น?
1. 2 ช่วงชั้น
2. 3 ช่วงชั้น
3. 4 ช่วงชั้น
4. 5 ช่วงชั้น

ข้อ 72) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้ช่วงชั้นละกี่ปี?
1. 2 ปี
2. 3 ปี
3. 4 ปี
4. 5 ปี

ข้อ 73) สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีทั้งหมดกี่กลุ่ม?
1. 5 กลุ่ม
2. 8 กลุ่ม
3. 10 กลุ่ม
4. 12 กลุ่ม

ข้อ 74) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้หลักการในข้อใดในการกำหนดช่วงชั้น?
1. ระดับสติปัญญาของผู้เรียน
2. ระดับความสนใจของผู้เรียน
3. ระดับการพัฒนาของผู้เรียน
4. ระดับความสามารถของผู้เรียน

ข้อ 75) มาตรฐานการเรียนรู้คืออะไร?
1. ข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้
2. ข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะกระบวนการ
3. ข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 76) มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดไว้เพื่อจุดมุ่งหมายในข้อใด?
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะกระบวนการ
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 77) การศึกษาในระบบมีกี่ระดับ?
1. 2 ระดับ คือ ขั้นพื้นฐาน อุดมศึกษา
2. 3 ระดับ คือ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
3. 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย
4. 4 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อุดมศึกษา

ข้อ 78) ชั้น ป.4 อยู่ในช่วงชั้นใด?
1. ช่วงชั้นที่ 1
2. ช่วงชั้นที่ 2
3. ช่วงชั้นที่ 3
4. ช่วงชั้นที่ 4

ข้อ 79) มาตรฐานการเรียนรู้มีกี่ลักษณะ?
1. 2 ลักษณะ คือ มาตรฐานการเรียนรู้ภาคบังคับ/ขั้นพื้นฐาน
2. 2 ลักษณะ คือ มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น/ขั้นพื้นฐาน
3. 3 ลักษณะ คือ มาตรฐานการเรียนรู้ภาคบังคับ/ช่วงชั้น/พื้นฐาน
4. 3 ลักษณะ คือ มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น/ภาคบังคับ/ขั้นพื้นฐาน

ข้อ 80) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้ได้กับการจัดการศึกษารูปแบบใด?
1. ในระบบ
2. นอกระบบ
3. ตามอัธยาศัย
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 81) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 มีกี่ลัษณะ?
1. 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน
2. 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี
3. 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี
4. 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมอื่น ๆ

ข้อ 82) เด็กประถมศึกษา มีระยะสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจำนวนเท่าใด?
1. 10 นาที
2. 15 นาที
3. 10-15 นาที
4. 15-20 นาที

ข้อ 83) หนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย มีชื่อว่าอะไร?
1. จินดามณี
2. ประถม ก กา
3. ปฐมมาลา
4. ประถมจินดา

ข้อ 84) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เวลาเรียนช่วงชั้นที่ 1กำหนดไว้ประมาณปีละกี่ชั่วโมง?
1. 800-1000 ชั่วโมง
2. 1000-1200 ชั่วโมง
3. 1200-1500 ชั่วโมง
4. ไม่น้อยกว่า 1200 ชั่วโมง

ข้อ 85) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เวลาเรียนช่วงชั้นที่ 2 กำหนดไว้ประมาณปีละกี่ชั่วโมง?
1. 800-1000 ชั่วโมง
2. 1000-1200 ชั่วโมง
3. 1200-1500 ชั่วโมง
4. ไม่น้อยกว่า 1200 ชั่วโมง

ข้อ 86) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เวลาเรียนช่วงชั้นที่ 3 กำหนดไว้ประมาณปีละกี่ชั่วโมง?
1. 800-1000 ชั่วโมง
2. 1000-1200 ชั่วโมง
3. 1200-1500 ชั่วโมง
4. ไม่น้อยกว่า 1200 ชั่วโมง

ข้อ 87) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เวลาเรียนช่วงชั้นที่ 4 กำหนดไว้ประมาณปีละกี่ชั่วโมง?
1. 800-1000 ชั่วโมง
2. 1000-1200 ชั่วโมง
3. 1200-1500 ชั่วโมง
4. ไม่น้อยกว่า 1200 ชั่วโมง

ข้อ 88) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน2544 ชั้นม.1-ม.3 มีเวลาเรียนเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง?
1. 3-5 ชั่วโมง
2. 4-5 ชั่วโมง
3. 4-6 ชั่วโมง
4. 5-6 ชั่วโมง

ข้อ 89) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชั้นป.4-6 มีเวลาเรียนเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง?
1. 3-5 ชั่วโมง
2. 4-5 ชั่วโมง
3. 4-6 ชั่วโมง
4. 5-6 ชั่วโมง

ข้อ 90) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชั้นป.1-3 มีเวลาเรียนเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง?
1. 3-5 ชั่วโมง
2. 4-5 ชั่วโมง
3. 4-6 ชั่วโมง
4. 5-6 ชั่วโมง

ข้อ 91) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 ชั้น ม. 4-6 มีเวลาเรียนเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง?
1. 4-5 ชั่วโมง
2. 4-6 ชั่วโมง
3. 5-6 ชั่วโมง
4. ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

ข้อ 92) กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพตนเองคือข้อใด?
1. กิจกรรมแนะแนว
2. กิจกรรมนักเรียน
3. กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 93) ข้อใดไม่ใช่สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544?
1. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. ศิลปะ
3. สุขศึกษาและพลศึกษา
4. ภาษาอังกฤษ

ข้อ 94) สาระการเรียนรู้ในข้อใดใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานความคิดและเป็นกลยุทธในการแก้ปัญหาและวิกฤติของชาติ?
1. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. คณิตศาสตร์
3. ภาษาไทย
4. ภาษาอังกฤษ

ข้อ 95) กลุ่มภาษาต่างประเทศกำหนดให้เรียนภาษาในข้อใดทุดช่วงชั้น?
1. ภาษาจีน
2. ภาษาญี่ปุ่น
3. ภาษาฝรั่งเศส
4. ภาษาอังกฤษ

ข้อ 96) มาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นองค์กรในข้อใดสามารถพัฒนาได้เพิ่มเติม?
1. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. สถานศึกษา
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ข้อ 97) ช่วงชั้นใดผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด ความสนใจ และความต้องการ?
1. ช่วงชั้นที่ 2
2. ช่วงชั้นที่ 3
3. ช่วงชั้นที่ 4
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 98) ช่วงชั้นใดจัดหลักสูตรเป็นหน่วยกิต?
1. ช่วงชั้นที่ 2
2. ช่วงชั้นที่ 3
3. ช่วงชั้นที่ 4
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ 99) การจัดหลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสำรวจความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเองคือช่วงชั้นใด?
1. ช่วงชั้นที่ 1
2. ช่วงชั้นที่ 2
3. ช่วงชั้นที่ 3
4. ช่วงชั้นที่ 4

ข้อ 100) การจัดหลักสูตรมุ่งเน้นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้านอยู่ในช่วงชั้นใด?
1. ช่วงชั้นที่ 1
2. ช่วงชั้นที่ 2
3. ช่วงชั้นที่ 3
4. ช่วงชั้นที่ 4






แนวข้อสอบครูผู้ช่วย
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ บทความมีประโยชน์มากๆ

//oopps.bloggang.com




 

Create Date : 25 เมษายน 2553    
Last Update : 25 เมษายน 2553 10:43:43 น.
Counter : 4525 Pageviews.  

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา มีอยู่หลายทัศนะ ดังต่อไปนี้

องค์กรร่วมสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ประเทศอังกฤษ (Council for Educational Technology for the United Kingdom - CET) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการพัฒนาการนำไปใช้และการประเมินระบบ วิธีการดำเนินงาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำให้การเรียนรู้ของคนเราให้ดีขึ้น"

ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น โดยครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ วิธีการ

ดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ

ศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning , UK) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และเงื่อนไขของการเรียนรู้ มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้าหากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดำเนินการโดยการทดลองเพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น"

คณะกรรมาธิการสาขาเทคโนโลยีการสอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on Instructional Technology . USA) ได้อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือการนำแนวความคิดที่เป็นระบบไปใช้ในการออกแบบ ดำเนินการ และประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการในรูปของวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์เรา อีกทั้งนำเอาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่น ๆ มาผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่สูงยิ่งขึ้น"

Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุตามแผนการ

ครรซิต มาลัยวงษ์ กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา ก็คงจะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม อาจเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมองว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน แต่มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน"

ชัยยงค์ (2523) อธิบายถึง เทคโนโลยีทางการศึกษาไว้อย่างละเอียดว่า "เทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลิตกรรมของวิศวกรรม (อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้านบริหารด้านวิชาการ และด้านบริการ" หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วัสดุ (Material) หมายถึงผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผังสิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอร์ค ดินสอ ฟิล์ม กระดาษ ส่วนอุปกรณ์ (Equipment) หมายถึงผลิตกรรมทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือค่าง ๆ เช่น โต๊ะกระดานดำ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ และวิธีการ (Technique) หมายถึงระบบ กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น

จากความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามที่กล่าวมานั้น ต่างเน้นให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า บทบาทและหน้าที่หลักของเทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การพัฒนาประสิทธิ์ผลของกระบวนการของการเรียนรู้


ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วยการแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของชาวกรีก และโรมันโบราณ ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย การสอนศิลปวิจักษ์ ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และแกะสลักช่วยสอนแล้ว คนสำคัญ ๆ ของกรีกและโรมันสมัยนั้น ต่างเห็นความสำคัญของทัศนวัสดุในการสอน ว่าทัศนวัสดุช่วยการปาฐกถาได้มาก

เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos comenius ค.ศ. 1592 - 1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจังจนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา ท่านผู้นี้เป็นพระในนิกายโปรแตสแตนท์ ในตำแหน่งสังฆราชแห่งโมราเวีย เยอรมัน ท่านมีแนวคิดในเรื่องวิธีการสอนใหม่ โดยได้ย้ำความสำคัญของสิ่งของ ของจริง ในการสอน และได้รวบรวมหลักการสอนจากประสบการณ์ที่ทำการสอนมาถึง 40 ปี คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือโลกในรูปภาพ ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1685 เป็นหนังสือที่ใช้มากและมีอิทธิพลมาก ใช้รูปภาพเป็นหัวใจของเรื่องมีรูปภาพประกอบการเรียนถึง 150 รูป บทเรียนบทหนึ่ง จะมีรูปภาพประกอบรูปหนึ่ง เรื่องต่าง ๆ ที่มีในหนังสือ เช่น พระเจ้า สวรรค์ อากาศโลก ต้นไม้ เป็นต้น

ธอร์นไดค์ นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา เขาได้เริ่มสร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสัตว์ ในชณะที่เขายังเป็นนักศึกษาอยู่ ต่อมาได้ร่วมเป็นอาจารย์สอน ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1898 และได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1912 เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรม จึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

บี เอฟ สกินเนอร์ เป็นผู้ใช้แนวคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติ ของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้นๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอน ได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

แนวคิดทางการศึกษาของบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ พัฒนาไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ ที่ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาเจริญก้าวหน้า เช่น การผลิตกระดาษ การพิมพ์ การถ่ายภาพ การฉายภาพ การบันทึกเสียง วิทยุ-โทรทัศน์ การบันทึกภาพ จนถึงยุคคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน



เทคโนโลยีก่อประโยชน์แก่ระบบการศึกษามากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาสามารถเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดภาระทางด้านการบริหารของครูและยังทำหน้าที่แทนครูในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือข่าวสารประจำวันต่าง ๆ

เทคโนโลยีเน้นการศึกษาไปสู่ความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมนั้นเป็นการขยายขอบเขตของการเรียนรู้ออกไปได้อย่างกว้าง

เทคโนโลยีทำให้การสอนมีพลังยิ่งขึ้น ระบบการสื่อสารในปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเรา ดังนั้นสื่อการสอนในยุคใหม่นี้จึงสามารถจำลองสถานการณ์จริง ช่วยร่นระยะทางและเหตุการณ์ที่อยู่คนซีกโลกมาสู่นักเรียนได้

เทคโนโลยีทำให้การเรียนเป็นไปอย่างฉับพลันยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการสอนเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างที่อยู่ภาย นอกโรงเรียนและโลกที่อยู่ภายในโรงเรียน
เทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดความเสมอภาคของการศึกษามากขึ้น
ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ทุกหนแห่ง เทคโนโลยีพร้อมที่จะหยิบยื่นความรู้ให้แก่ทุกคนเสมอ


Technology in education (หรือ Tools technology)
Technology in education หมายถึงวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาสาระทางการศึกษาหรือการฝึกอบรม ได้แก่ โทรทัศน์ ห้องปฏิบัติการภาษา เครื่องฉายประเภทต่าง ๆ ( หรือที่เรียกว่า สื่อการสอน)

Technology of education (หรือ System technology)
Technology of education หมายถึง เป็นการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สาขาวิชานี้ได้กล่าวถึงการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งบรรดาวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวมีจุดประสงค์หลายประการด้วยกัน เช่น


เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพของการเรียน และผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้

ลดเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ให้น้อยลง

เพิ่มประสิทธิภาพของผู้สอนให้มีความสามารถต่อการสอนผู้เรียนที่มีปริมาณมากขึ้นโดยที่ไม่ทำให้ การ เรียนรู้ด้อยคุณภาพลง

ลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง โดยไม่กระทบกระเทือนคุณภาพของการเรียน


เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งหมายถึง การ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวถึงกันส่วนใหญ่ จึงเป็นเรื่องของ เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน

ในการเรียนการสอน หรือการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เทคนิคและวิธีการมากมาย ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการใดที่เราจะยอมรับกันได้ว่า ดีที่สุดสำหรับการเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการแต่ละอย่างก็มีความเหมาะสมตามสภาพการณ์และเนื้อหาวิชาที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปว่า การเรียนการสอนที่มีวัสดุอุปกรณ์ตลอดจน เครื่องมือ วิธีการ ช่วยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ มากกว่าการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนฟังแต่เพียงคำพูด แต่เพียงอย่างเดียว

แนวโน้มของการศึกษาในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อย่างกว้างขวาง แทนการฟังแต่เพียงคำบอกเล่าของครู ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากจำนวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของสาขาวิทยาการต่าง ๆ ทำให้สิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้มากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางให้ผู้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่าเดิม

การเรียนการสอนที่ปฏิบัติได้จริง ส่วนใหญ่ เราไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรง ให้กับผู้เรียนได้ทุกเนื้อหาเนื่องจากอาจมีข้อจำกัดบางประการณ์ เช่น


ต้องลงทุนมาก

ต้องใช้เวลานานมาก อาจเป็นหลายวัน หลายปีหรือปลายร้อยปี

มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก

ความรู้บางอย่างไม่อาจสัมผัสได้โดยตรง

ดังนั้น นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงแล้ว เรายังมีความจำเป็นต้องจัดประสบการณ์อย่างอื่นให้ผู้เรียนได้รับ แทนประสบการณ์ตรงด้วย เช่น การใช้รูปภาพ หนังสือ แผนภูมิ วิทยุโทรทัศน์ วิธีการอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผลผลิตทางการศึกษามีคุณภาพสูงสุด

การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่มีการใช้สื่อการเรียนการสอน ครูมักเน้นหนักที่การใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งไม่อาจรับรองหรือเชื่อถือได้ว่าจะบรรลุจุดประสงค์ทั้งนี้เพราะการใช้วัสดุอุปกรณ์กับครู ซึ่งมีชีวิต จิตใจ มีอารมณ์ มีสภาพแวดล้อม ไม่คงที่ จำเป็นจะต้องปรับกระบวนการในการใช้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วิธีการกระบวนการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ จะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งก็คือการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษานั่นเอง




การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นผลมาจากองค์ประกอบ 3 ประการ


ปัญหาหรือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวโน้มของปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

เอกลักษณ์ ค่านิยม และเจตคติในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้ม

ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีขึ้นในอนาคต


มิลเลอร์ (Willam C. Miller , 1981 อ้างจาก ครรซิต มาลัยวงษ์ 2540 : 39) สรุปว่าการศึกษาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปดังนี้


จัดเป็นการศึกษาในระบบน้อยลง

ค่าใช้จ่ายจะต้องถูกลง

สอนเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มากขึ้น

สอนเป็นระบบรายบุคคลมากขึ้น

สอนในเรื่องที่เห็นจริงเห็นจังมากขึ้น

สอนเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ธรรมมากขึ้น

บทเรียนสนุกสนานมากขึ้น

เป็นการเรียนตลอกชีวิต






 

Create Date : 25 เมษายน 2553    
Last Update : 25 เมษายน 2553 10:40:42 น.
Counter : 822 Pageviews.  

ข้อสอบจิตวิทยา สอบครูผู้ช่วย

ข้อสอบจิตวิทยา สอบครูผู้ช่วย
1. ข้อใดตรงกับความหมายของ วิชาจิตวิทยา ( Psychology ) มากที่สุดในปัจจุบัน
ก จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องจิต
ข จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องจิตและ วิญญาณของมนุษย์และสัตว์
ค จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องความคิดของมนุษย์และกระบวนการทางจิต
ง จิตวิทยา หมายถึง การศึกษาเรื่อง กระบวนการทางจิตและพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงวิทยาศาสตร์
2. ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้ตรงกับความสำคัญของ วิชาจิตวิทยา
ก จิตวิทยาทำให้ติ้วเราสามารถเข้าใจคนอื่นๆได้ชัด เจน
ข จิตวิทยาทำให้ตัวเราเข้าใจตัวเราได้ทั้งจุดดีจุด ด้อยแล้วพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ
ค จิตวิทยาช่วยแก้ไขปัญหาของมนุษย์รวมทั้งทำให้ เราเข้าใจตัวเราเองและเข้าใจผู้อื่น
ง จิตวิทยาทำให้เรามองคนอื่นมีปัญหาและเรา พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเขาแก้ปัญหา
3. ศาสตร์ใดต่อไปนี้สามารถประเมิน ตัดสิน และพยากรณ์พฤติกรรมได้ตามหลักการของวิทยาศาสตร์
ก หลักและวิธีการทดลอง
ข หลักการฟิสิกส์
ค จิตวิทยา
ง ถูกทู้ข้อ
4. บุคคลกลุ่มใดต่อไปนี้เชื่อว่าสูยนต์กลางของความรู้สึกอยู่ที่หัวใจ
ก Aristotle Plato
ข Rene Descartes
ค John Loke
ง Wilhelm Max Wundt
5. บุคคลใดต่อไปนี้เป็น บิดาของจิตวิทยา
ก Aristotle Plato
ข Sigmund Freud
ค John Loke
ง Wilhelm Max Wundt
6. ข้อใดคือแนวคิดของกลุ่ม โครงสร้างของจิต ( Structuralism )
ก จิต มีระดับในการทำงานแตกต่างกันตามสิ่งเร้า
ข จิต มีหน้าที่และมีขั้นการวิวัฒนาการทำให้เกิดกระบวนการคิด
ค จิตธาตุ ประกอบด้วย การรับสัมผัส ความรู้สึก และจิตนาการ
ง จิตธาตุ มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ ความคิด อารมณ์ การหาเหตุผล
7. ข้อใดคือวิธีการพิจารณาจิต หรือ การตรวจสอบทางจิตของกลุ่มโครงสร้างทางจิต
ก การสังเกต
ข การทดลอง
ค การพินิจใน
ง ทำการบำบัด
8. กลุ่มใดที่มีความเชื่อที่ว่า ประสบการณ์ ( Experience ) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิบัติตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และสัญชาตญาณ ( Instinct ) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเราปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม
ก กลุ่มโครงสร้างทางจิต( Structuralism )
ข กลุ่มหน้าที่ของจิต ( Functionalism )
ค กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism )
ง กลุ่มจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalysis )
9. นักจิตวิทยากลุ่มใดที่สนใจเรื่อง จิตไร้สำนึก ( Unconsciousness )
ก กลุ่มโครงสร้างทางจิต( Structuralism )
ข กลุ่มหน้าที่ของจิต ( Functionalism )
ค กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism )
ง กลุ่มจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalysis )
10. นักจิตวิทยาคนใดต่อไปนี้ที่เขียนหนังสือ Principles of Psychology และถือว่าเป็นหนังสือจิตวิทยาเล่มแรกของโลก
ก John Dewey
ข John B. Watson
ค William James
ง Sigmund Freud
11. พฤติกรรมทุกอย่างของมนุษย์ต้องมีสาเหตุ ท่านคิดว่าข้อความนี้เป็นแนวคิดของกลุ่มใดต่อไปนี้
ก กลุ่มโครงสร้างทางจิต( Structuralism )
ข กลุ่มหน้าที่ของจิต ( Functionalism )
ค กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism )
ง กลุ่มจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalysis )
12. ท่านคิดว่ากลุ่มทางจิตวิทยากลุ่มใดที่เน้นเรื่องผู้เรียนต้องได้ประสบการณ์มากที่สุด
ก กลุ่มโครงสร้างทางจิต( Structuralism ) ข กลุ่มหน้าที่ของจิต ( Functionalism )
ค กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism ) ง กลุ่มจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalysis )
13. ข้อใดกล่าวถูกต้องในเรื่องพฤติกรรม
ก พฤติกรรมที่เกิดขึ้นมี สองลักษณะ
ข พฤติกรรมภายในได้แก่ การคิด การเกร็งกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
ค พฤติกรรมภายนอกได้แก่ การนั่ง ยืน เดิน ท่าทางต่างๆของบุคคลที่สังเกตได้
ง ถูกทุกข้อ
14. จิต ระดับใดที่บุคคลรู้ตัว ตามแนวคิดของSigmund Freud
ก Consciousness
ข Unconsciousness
ค Subconsciousness
ง Mind of mental
15. การที่บุคคลฝัน เดินละเมอ หรือการจินตนาการต่างๆเป็นผลจากการทำงานของ จิตระดับใด
ก Consciousness
ข Unconsciousness
ค Subconsciousness
ง Mind of mental
16. การที่บางครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัวในบางขณะ แล้วเราก็เกิดสุขใจถึงกับ ฮัมเพลง ยิ้มคนเดียวอย่างไม่รู้ตัวเมื่อนึกถึงภาพในอดีตที่แช่มชื่น เป็นผลมาจาก การทำงานของจิตระดับใดต่อไปนี้
ก Consciousness ข Unconsciousness
ค Subconsciousness ง Mind of mental
17. โครงสร้างบุคลิกภาพตามแนวความคิดของกลุ่มจิตวิเคราะห์ ได้แก่ข้อใดต่อไปนี้
ก id ego superego
ข Consciousness Unconsciousness Subconsciousness
ค As a Whole
ง stimulus oganism respons learning

18. ข้อใดต่อไปนี้คือหลักการใหญ่ของ กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล (Gestalt Psychology )
ก id ego superego
ข Consciousness Unconsciousness Subconsciousness
ค As a Whole
ง stimulus oganism respons learning
19. แนวคิดของ กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล ( Gestalt Psychology ) ตรงกับข้อใด
ก ส่วนรวมมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อย
ข การรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้
ค ความสามารถในการแก้ปัญหาของคนเราขึ้นอยู่กับ Insight
ง ถูกทุกข้อ
20. ท่านคิดว่า เมื่ออินทรีย์ถูกเร้า จะเกิดปฏิกิริยาใดในพฤติกรรมมนุษย์
ก ตอบสนอง
ข การเรียนรู้
ค การรับรู้
ง การปรับตัว
21. ข้อใดคือแนวคิดของ กลุ่มมนุษยนิยม ( Hummanistic Psychology )
ก มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีงาม
ข จิตมนุษย์มีโครงสร้าง
ค จิตมนุษย์แบ่งเป็นส่วนๆ
ง มองภาพรวมมากกว่าส่วนย่อย
22. ข้อใดไม่ใช่แนวคิดของ กลุ่มมนุษยนิยม ( Hummanistic Psychology )
ก มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีงาม
ข มนุษย์มีความสามรถในการตัดสินใจด้วยตนเอง
ค มนุษย์จิตมนุษย์แบ่งเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนก็ทำหน้าที่ของตน
ง มองภาพรวมของมนุษย์มีค่ามากกว่าส่วนเล็กๆประกอบกัน
23. ข้อใดใช่แนวคิดของ กลุ่มมนุษยนิยม ( Hummanistic Psychology )
ก มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีงาม
ข มนุษย์มีความสามรถในการตัดสินใจด้วยตนเองและกลุ่ม
ค มนุษย์จิตมนุษย์แบ่งเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนก็ทำหน้าที่ของตน
ง มองภาพรวมของมนุษย์มีค่าน้อยว่าส่วนเล็กๆประกอบกัน
24. ข้อใดคือ นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิทยาแนวมนุษยนิยม ( Hummanistic Psychology )
ก Carl Roger / Abraham Maslow
ข Max Werthimer / Kurt Koffa / Wolfgang Kohler
ค Sigmund Freud / Alfred Adler / Carl G Jung
ง John B Watson / Ivan P Pavlov / Skinner
25. ข้อใดคือ นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิทยาเกสตอล ( Gestalt Psychology )
ก Carl Roger / Abraham Maslow
ข Max Werthimer / Kurt Koffa / Wolfgang Kohler
ค Sigmund Freud / Alfred Adler / Carl G Jung
ง John B Watson / Ivan P Pavlov / Skinner
26. ข้อใดคือ นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism )
ก Carl Roger / Abraham Maslow
ข Max Werthimer / Kurt Koffa / Wolfgang Kohler
ค Sigmund Freud / Alfred Adler / Carl G Jung
ง John B Watson / Ivan P Pavlov / Skinner
27. ข้อใดกล่าวถูกต้องในเรื่อง พฤติกรรม
ก พฤติกรรมต้องมีสาเหตุ
ข พฤติกรรมของอินทรีย์เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาสนองที่ถูกวางเงื่อนไข ต่อสิ่งเร้า
ค พฤติกรรมมนุษย์มี สองอย่างคือพฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอก
ง ถูกทุกข้อ
28. ท่านคิดว่าวิธีการศึกษาจิตวิทยาใช้วิธีการใดเหมาะที่สุด
ก วิธีการสังเกต ( Observation Method )
ข วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific Method )
ค วิธีการทดลอง ( Experimental Method )
ง ถูกทุกข้อ
29. ข้อใดเป็นการใช้หลักการสังเกตผิดวิธี
ก มีการเตรียมการสังเกตล่วงหน้า
ข สังเกตเฉพาะพฤติกรรมบุคคลที่ตนไม่ชอบ
ค กำหนดช่วงเวลาการสังเกต
ง มีแบบบันทึกการสังเกตและจดพฤติกรรมทุกครั้งที่เริ่มสังเกต
30. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในขั้นตอนใดที่นักจิตวิทยาตั้งข้อทำนายเหตุหรือผลของปัญหานั้นๆ
ก การตั้งปัญหา ( Problem ) ข การตั้งสมมติฐาน ( Hypothesis )
ค การรวบรวมข้อมูล ( Collecting of data )ง การวิเคราะห์


กราบขอขอบพระคุณ ที่มา //socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=8903




 

Create Date : 23 เมษายน 2553    
Last Update : 23 เมษายน 2553 19:53:27 น.
Counter : 5730 Pageviews.  

แนวคิดทฤษฎีของกลุ่มต่างๆ ทางจิตวิทยา

แนวคิดทฤษฎีของกลุ่มต่างๆ ทางจิตวิทยา

 


 

 























































ที่

 



กลุ่มจิตวิทยา

 



ผู้นำกลุ่ม

 



แนวคิด/ทฤษฎี

 



วิธีการศึกษา

 



1

 



กลุ่มโครงสร้างของจิต

 



วิลเฮล์ม วุนด์

 



โครงสร้างทางจิตแบ่งเป็น 
1. การสัมผัส  
2. การรูสึก 
3. การจินตนาการ

 



การตรวจสอบ ตนเองหรือการพินิจภายใน

 



2

 



กลุ่มหน้าที่ของจิต

 



วิลเลี่ยม เจมส์

 


จอห์น ดิวอี้

 



หน้าที่ของจิตควบคุม กระบวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อปรับตัวให้ เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม

 



การสังเกต    พฤติกรรม

 



3

 



กลุ่มพฤติกรรมนิยม

 



จอห์น บี วัตสัน

 



    พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุและ 
1. การวางเงื่อนไขเป็น สาเหตุให้เกิดพฤติกรรม
2. พฤติกรรมของคนเกิดจากการเรียนรู้มากกว่าสัญชาติญาณ3. พฤติกรรมการเรียนรู้ของสัตว์นำไปอธิบาย    พฤติกรรมของมนุษย์ได้

 



การสังเกตอย่างมีแบบแผนการทดลอง

 



4

 



กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล

 



แมกซ์ เวอไทเมอร์เคอร์ท เลอวิน  

 


วอฟแกง โคเลอร์   เคอร์ท คอฟกา

 



การเรียนรู้เน้นส่วนรวม    ทั้งหมดมากกว่าส่วนย่อยรวมกัน
1. การรับรู้ 
2. การหยั่งเห็น

 



การทดลอง

 



5

 


 

 


 

 



กลุ่มจิตวิเคราะห์

 


 

 


 

 


 

 



ซิกมันด์ ฟรอยด์

 


 

 


 

 



 



เน้นความสำคัญของจิตไร้สำนึก ซึ่งเป็นผลจากการ   อบรมเลี้ยงดูในช่วงต้นของชีวิตหรือห้าขวบแรกของชีวิตเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในเวลาต่อมา

 



การระบาย ความในใจ อย่างเสรี

 


 

 


 

 



6

 



กลุ่มมนุษยนิยม

 



โรเจอร์มารโลว์

 



เน้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์

 



เคารพตนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

 







Free TextEditor




 

Create Date : 23 เมษายน 2553    
Last Update : 23 เมษายน 2553 19:50:33 น.
Counter : 12497 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  

hangclub
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 29 คน [?]




Friends' blogs
[Add hangclub's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.