กาแฟหอมกรุ่น รุ่งอรุ่นยามเช้า
Group Blog
 
All blogs
 
The life of buddha ดูแล้วรู้สึกดีคะ

The life of buddha เป็นหนังที่ออกมาจากโรงแล้วรู้สึกดีคะ ดูแล้วรู้สึกว่าการทำความดีนั้นไม่ยาก ประทับใจอยู่ประโยคหนึ่งคะ "ความดีคนดีทำง่ายคนชั่วทำยาก แต่ความชั่วคนดีทำยากคนชั่วทำง่าย" สำหรับภาพก็อาจจะสู้ฝรั่งไม่ได้ แต่เนื้อเรื่องดีคะ ลืนไหล โดยเฉพาะการพากท์ คนที่ภาพเป็นพระพุทธเจ้าเหมาะมากคะ ไม่รู้ว่าใครพากท์ ถ้าใครรู้บอกกันบ้างนะ มาดูประวัติของตอนต่างๆดีกว่าคะ



อัญเชิญจุติ
เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี ณ ดินแดนทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย เป็นที่ตั้งของแคว้นสักกะ เมืองหลว งของแคว้นนี้มีชื่อว่า กรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งปกครองโดยพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ศากยะพระนามว่า “พระเจ้าสุทโธทนะ” พระองค์ทรงมีพระมเหสีพระนามว่าพระนางสิริมหามายา ครั้งเมื่อพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีทั้ง ๓๐ ประการ บริบูรณ์ ในชาติที่เป็นพระเวสสันดร ครั้งสิ้นพระชนม์แล้วก็ได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรมีชื่อว่า สันดุสิตเทวราช สถิตอยู่ใน สวรรค์ ชั้นดุสิต (ดุสิตเทวโลก) เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องจุติ ท้าวมหาพรหมและเทพยดาทั้งหลายจึงอาราธนาอัญเชิญ จุติบนโลกมนุษย์ เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมโพธิสัตว์หรือในขณะนั้นทรงเป็นสันดุสิตเทวราช จึงได้ ทรงพิจารณาเลือกมาปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายา

ประสูติ
เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงมีพระครรภ์ล่วงเข้าเดือนที่ ๑๐ ใกล้จะถึงเวลาประสูติ มีพระทัยปรารภจะเสด็จ กรุงเทวทหะเพื่อไปประสูติพระครรภ์ที่พระราชวังของพระราชบิดาตามธรรมเนียม จึงกราบทูลขอพระบรมราชานุญาต จากพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อพระนางได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว พระนางจึงทรงออกเดินทางในตอนเช้า วันวิสาขปุณณมี (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ คือ วันวิสาขบูชา) พอถึงเวลาใกล้เที่ยงวันก็เสด็จถึงสวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ ระหว่างพระนครทั้งสอง พระนางปรารถนาจะเสด็จประพาสชมสวน ครั้นพอพระนางเสด็จยังต้นสาละ ทรงจับกิ่งสาละ พอพระหัตถ์ถึงกิ่งสาละก็บังเกิดลมกัมมชวาตประชวรพระครรภ์ ข้าราชบริพารทั้งหลายก็ช่วยกันผูกม่านแวดวงภายใต้ ต้นสาละ พระนางทรงประทับยืนหันพระปฤษฎางค์อิงกับต้นสาละ พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละผันพระพักตร์ไปทาง ทิศบูรพา ประสูติพระราชโอรส โดยปราศจากความเจ็บปวดใดๆ พระราชกุมารภายหลังประสูติได้พระราชดำเนินไป ๗ ก้าว โดยมีดอกบัวผุดจากพื้นดินมารองรับพระบาททุกก้าว

อภิเษกสมรส
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยมีพระชนมายุได้ ๑๖ ชันษา พระราชบิดาทรงสร้างปราสาทขึ้น ๓ หลังสำหรับ ให้เจ้าชายประทับในฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว จากนั้นพระองค์ก็ทรงสู่ขอ เจ้าหญิงพิมพาหรือยโสธรา พระราชธิดา ในพระเจ้าสุปปพุทธะกับพระนางอมิตาแห่งกรุงเทวทหะมาอภิเษกกับเจ้าชายสิทธัตถะ ในพระราชพิธีอภิเษกสมรสของ พระนางยโสธรา ได้มีการทดลองพละกำลังและสติปัญญาระหว่างเจ้าชายทั้งหลาย ในการประลองครั้งนี้เจ้าชาย สิทธัตถะได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เป็นผู้ที่มีความสามารถเหนือเจ้าชายอื่นๆ ไม่มีผู้ใดเทียบได้ในการใช้กระบี่บนหลังม้า พระองค์ทรงมีความสามารถใน “ลักษาเวทะ” คือสามารถยิงถูกเป้าหมายอย่างแม่นยำโดยใช้ “สิงห์ธนู” ซึ่งไม่ต้อง โก่งธนูให้เชือกตึง และพระนางยโสธราทรงคล้องพวงมาลัยที่พระศอของเจ้าชายสิทธัตถะผู้ได้รับชัยชนะด้วยความ ภูมิพระทัย พิธีอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นหลังจากผ่านข้อแม้ต่างๆ อย่างสมพระเกียรติ และเจ้าชายสิทธัตถะทรงอยู่กับ พระนางยโสธราอย่างมีความสุข จนกระทั่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุ ๒๙ ชันษา พระนางยโสธราก็ทรง พระครรภ์

เสด็จหนีบรรพชา
การที่เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ทำให้ทรง ตระหนักว่าทุกคนจะต้องแก่ชราและมีโรคภัยไข้เจ็บมาทำลายความสวยความงาม บั่นทอนพละกำลังและร่างกายทุกคน จะต้องตายในวันใดวันหนึ่งไม่มีผู้ใดสามารถหลีกเลี่ยงได้ อันเป็นความทุกข์กังวลอย่างใหญ่หลวงของมนุษย์เมื่อความ จริงประจักษ์แก่พระองค์ พระองค์ทรงรู้สึกตัดขาดจากความเพลิดเพลินในทางโลกอย่างสิ้นเชิง ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ ที่จะเสด็จออกบวชเพื่อหาหนทางพ้นจากความทุกข์ ทำอย่างไรถึงจะบรรลุอมตธรรม จากวันนั้นเป็นต้นไป พระองค์ ทรงยึดในความคิดนั้นเพียงอย่างเดียว และในคืนวันหนึ่ง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเสด็จออกจากพระราชวัง โดย พระองค์เสด็จเยี่ยมพระนางยโสธรากับพระราชโอรสซึ่งกำลังบรรทมหลับอยู่ แม้จะทรงอาลัยแต่ก็หักพระทัยทิ้ง พระนางยโสธราและพระราชโอรสที่เพิ่งประสูติใหม่ชื่อ ราหุล ไว้เบื้องหลัง เสด็จออกมาทรงม้ากัณฐกะ หนีออกจาก พระนครพร้อมกับนายฉันนะ

บำเพ็ญทุกรกิริยา
ส่วนเจ้าชายสิทธัตถะนั้นเพื่อค้นหนทางแห่งความดับทุกข์ พระองค์จึงเสด็จไปยังแคว้นมคธเพื่อไปขอเป็นศิษย์ ในสำนักอาฬารดาบส เมื่อศึกษาจนจบสิ้นความรู้แต่ทรงเห็นว่ายังไม่ใช่ทางที่จะทำให้พระองค์พ้นทุกข์ จึงลาอาจารย์ไป ศึกษาต่อในสำนักอุทกดาบส แต่วิชาของสำนักนี้ก็ไม่สามารถทำให้พระองค์พ้นจากทุกข์ได้เช่นกัน จึงลาอาจารย์แล้วเสด็จ ต่อไปจนถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พระองค์ดำริว่า ความรู้ที่เกิดจากตำราวิชาต่างๆ ไม่อาจทำให้พ้นจากทุกข์ได้ พระองค์จึงตัดสินพระทัยประทับที่อุรุเวลาเสนานิคมเพื่อบำเพ็ญเพียรให้ตรัสรู้ธรรมด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็น การทรมานพระวรกายให้ได้รับความลำบาก โดยมีพราหมณ์ ๕ คน คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ รวมเรียกว่า ปัญจวัคคีย์ มาคอยปรนนิบัติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงทรมานพระองค์ด้วยวีต่างๆ เมื่อไม่ได้ผล ก็ทรงเปลี่ยนวีใหม่ จนในที่สุดทรงอดพระกระยาหารจนพระวรกายซูบผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ได้รับความทุกข์ ทรมานแสนสาหัส รวมเวลาที่ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยานานถึง ๖ ปี ก็มิได้บรรลุผล

ผจญมาร
เจ้าชายสิทธัตถะทรงปูหญ้าคาแล้วอธิษฐานเป็นรัตนบัลลังค์ประทับนั่งหันพระพักตร์สู่ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) พระปฤษฎางค์ (หลัง) สู่ลำต้นศรีมหาโพธิ์ ขัดสมาธิตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติตั้งมั่นแล้วทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้ายังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณจะไม่ลุกนี้เป็นอันขาด แม้เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกก็ตาม จากนั้น ก็ทรงกำหนดจิตเจริญสมาธิภาวนา พระยาวัสสวดีมารซึ่งคอยติดตามเจ้าชายสิทธัตถะอยู่เกรงว่า ถ้าพระองค์ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจะพ้นจากอำนาจของตน จึงขี่ช้างชื่อ ศิริเมขล์นำเหล่าเสนามารเข้าไปแสดงฤทธิ์ต่างๆ ขัดขวาง แต่พระองค์ก็ยังประทับนิ่งไม่ทรงหวั่นไหว พระยามารโกรธมากให้เสนามารรุมเข้าไปฆ่าเจ้าชายสิทธัตถะ แต่ พระองค์ทรงนึกถึงพระบารมี ๓๐ ประการที่ทรงบำเพ็ญสั่งสมมาทุกชาติ และพระองค์จะสู้กับมารด้วยบารมีเหล่านี้ จึง ขอให้นางวสุนธราแม่พระธรณีเป็นพยานในการบำเพ็ญบารมี นางจึงบันดาลรูปเป็นนารีผุดขึ้นมาจากพื้นดิน และบิดมวย ผมให้น้ำหลั่งออกมาเท่ากับบารมีทีพระองค์ทรงบำเพ็ญเพียรสั่งสมออกมา น้ำที่หลั่งออกมามีปริมาณมากมายเหลือคณา นับท่วมท้นไปทั่วบริเวณ กระแสน้ำได้พัดพาพวกเสนามารไปจนหมดสิ้น แม้กระทั่งช้างศิริเมขล์ก็มิอาจยืนอยู่ได้ จนกระทั่ง พยามารพ่ายแพ้ ยกหัตถ์นมัสการกล่าวสรรเสริญแล้วลากลับไปยังที่อยู่ของตน พระองค์ทรงมีชัยเหนือเหล่า มารอย่างแท้จริง

ตรัสรู้
เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญเพียรเจริญสมาธิภาวนาต่อไปจนถึงยามสามซึ่งเป็นเวลาใกล้รุ่ง ก็ตรัสรู้อริยสัจ ๔ (ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ ชันษา

ปฐมเทศนา
ภายหลังตรัสรู้แล้ว พระองค์ประทับเสวย วิมุตติสุข (ความสุขที่เกิดจากความหลุดพ้นจากกิเลส) อยู่ใต้ร่มศรี มหาโพธิ์และบริเวณใกล้เคียงเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๑-๔ พระพุทธองค์เสวยวิมุตติและทบทวนสิ่งที่ได้ตรัสรู้ ในสัปดาห์ที่ ๕ ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับใต้ต้นไทร นางตัณหา นางราคา และนางอรดี ซึ่งเป็นธิดา ของพระยาวัสสวดีมารอาสาพระบิดามาทำลายตบะของพระพุทธองค์ ด้วยการรำฟ้อนยั่วยวนต่างๆ นานา แต่พระองค์ มิได้สนพระทัย นางทั้งสามจึงกลับไปด้วยความผิดหวัง หลังจากที่เสวยวิมตติสุขครบ ๗ สัปดาห์ พระองค์ ทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรม เนื่องจากธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้น ยากแก่การที่มนุษย์ที่มีกิเลสจะเข้าใจได้ ท้าวมหาพรหมจึงเสด็จลงมาเตือนพระสติ และทูลอารธนาให้ตรัสเทศนาโปรดสัตว์โลกทั้งปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม จากนั้นพระองค์ก็เสด็จไปยังแคว้นพาราณสี เพื่อไปโปรดปัญจวัคคีย์ พระองค์ แสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรกคือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตรใน วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ ขณะที่พระองค์ทรงเทศนา หนทางที่จะบรรลุธรรมนั้น ท่านโกณฑัญญะก็ได้ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) สำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปแรก และได้ นามใหม่ว่าอัญญาโกณฑัญญะ และในวันนั้นท่านโกณฑัญญะก็ทูลขออุปสมบท เป็นภิกษุที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตด้วย พระวาจาซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุ ดังนั้นท่านอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นพระสงฆ์รูปแรกของโลก และในวันนี้เองเป็น วันที่ศาสนาครบองค์พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็เทศนาต่ออีกจน ปัญจวัคคีย์อีก ๔ ท่านได้บรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นสาวกกลุ่มแรกของพระพุทธศาสนา

ประกาศพระศาสนา
ในทุกแห่งหนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จโปรด พระองค์ทรงเทศนาพระธรรมคำสอน ให้แก่ผู้คนมากมาย และผู้คนเหล่านั้นยอมรับนับถือในคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บ้างก็สำเร็จอรหันต์บวชเป็นภิกษุ บ้างก็บรรลุ โสดาบันเห็นธรรม วันหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดพราหมณ์ที่ชื่อ อุรุเวลกัสสปะ พระองค์ประทับใน สถานที่บูชาไฟ ซึ่งมีพญานาค (งูพิษ) ของพราหมณ์กัสสปะอาศัยอยู่มีชื่อว่า “อัคนิศาลา” ครั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่นั้นพระยานาคเลื้อยออกมาและปรี่เข้าหาพระองค์อย่างรวดเร็วหมายจะทำร้าย แต่พยานาคไม่สามารถ ทำร้ายพระองค์ได้ พระองค์จึงทรงทรมานพระยานาคจนกระทั่งสงบลง และเข้าไปนอนอยู่ในบาตรของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าครั้งหนึ่งได้เกิดไฟไหม้ใหญ่ในเมืองคยา ไฟได้ลุกลามไปทั่วจนกระทั่งถึงภูเขา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส กับสาวกของพระองค์ว่า“ทั่วโลกกำลังถูกเผาไหม้ด้วยไฟ ไฟนั้นคือ ความอิจฉาริษยาและความเศร้าโศกเสียใจ บุคคลผู้มี ปัญญาเท่านั้นที่เริ่มต้นแสวงสัจธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นด้วยตนเอง เพื่อดับไฟที่เผาผลาญให้ใจรุ่มร้อนอย่างนี้

พุทธปรินิพพาน
จากนั้นพระองค์ก็เสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนายังที่ต่างๆ ครั้นถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๖ ซึ่งในวันรุ่งขึ้น เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำหนดจะปรินิพพาน พระองค์ก็เสด็จกลับไปยังปาวานคร ทรงประทับที่ปาวาลเจดีย์ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ทรงเสด็จไปที่เมืองกุสินาราพร้อมกับพระอานนท์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสให้ พระอานนท์เถระไปตักน้ำ ณ ที่นั้นมีแม่น้ำเล็กๆ หมู่เกวียน ๕๐๐ เล่ม เพิ่งจะผ่านไปใหม่ๆ แต่น้ำในแม่น้ำนั้นยังใส สะอาดอยู่ พระอานนท์จึงใช้บาตรตักน้ำไปถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจาที่เสวยน้ำแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปที่สาละวโนทยาน(ป่าสาละ) ของมัลลกษัตริย์แห่งกรุงกุสินารา รับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดอาสนะใต้ต้นสาละ คู่แล้วประทับบรรทมแบบสีหไสยาสน์ คือบรรทมตะแคงทางด้านขวา หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ พระหัตถ์ขวายัน พระเศียรด้านขวาไว้ ส่วนพระบาทซ้ายทับพระบาทขวา โดยมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ในคืนนั้นพระสัมมา สัมพุทธเจ้าประทานปัจฉิมโอวาทผ่านพระอานนท์เถระ และพระภิกษุสงฆ์อื่นๆ หลังจากที่ประทานปัจฉิมโอวาทแล้ว ก็มิได้รับสั่งใดๆ จนกระทั่งเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานในการปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระภิกษุสงฆ์ผู้ยัง เป็นปุถุชนอยู่กับพุทธบริษัททั่วประเทศมีความเศร้าโศกเสียใจเหลือประมาณ ในพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่แบบพระมหาจักรพรรดิ ครั้งนั้นกษัตริย์จากเมืองต่างๆ ๗ เมือง ได้แต่งราชทูตและกองทัพไปขอส่วน แบ่งพระสารีริกธาตุ เพื่อมาบรรจุไว้บูชาที่พระนครแห่งตน มัลลกษัตริย์แห่งกุสินาราไม่ยอมให้ กองทัพทั้ง ๗ พระนคก็ประชิดติดเมืองกุสินารา ฝ่ายโทณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต เป็นอาจารย์สอนไตรเพทแก่กษัตริย์ทั้งหลาย เห็นเหตุการณ์เช่นนั้น จึงได้เกลี้ยกล่อมกษัตริย์ทั้งหลายเลิกการประหัตประหารกันเพราะพระบรมสารีริกธาตุเป็นต้นเหตุ ขอให้มีความสามัคคีกัน ขอให้ทุกพระองค์มีส่วนได้พระบรมสารีริกธาตุ อัญเชิญไปสักการะทั่วกัน ขอพระบรมสารี ริกธาตุแพร่ออกไปยังพระนครต่างๆ เพื่อเป็นที่สักการบูชา เคารพของมหาชนทั่วไปเถิด กษัตริย์ทั้งหลายเมื่อได้สดับ คำแห่งพราหมณ์ก็พอพระทัย จึงพร้อมกันขอให้โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งปันพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ ถูกแบ่งไปบรรจุในพระสถูป ๘ แห่งในประเทศ พระสถูปหนึ่งได้สร้างไว้ ณ สถานที่ถวายพระเพลิง ส่วนที่สถูปที่อื่นๆ ซึ่งได้รับส่วนแบ่งของพระบรมสารีริกธาตุที่สร้างเป็นที่ระลึกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีทั้งหมด ๑๐ แห่ง





Create Date : 12 ธันวาคม 2550
Last Update : 12 ธันวาคม 2550 17:59:51 น. 2 comments
Counter : 775 Pageviews.

 
เรื่องนี้ดูแล้วอยากบวช


โดย: metalizaa วันที่: 12 ธันวาคม 2550 เวลา:19:43:55 น.  

 
ว่าจะไปดูเหมือนกันค่ะ ต้องไปดูให้ได้ ^^


โดย: yipso in august วันที่: 12 ธันวาคม 2550 เวลา:19:47:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

lalintipn
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






coffee
Build your own Blingee

Friends' blogs
[Add lalintipn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.