พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้ จากบล็อก บล็อกนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นมา เพื่อโต้แย้งพระเพียงองค์เดียว ซึ่งผมเขียนตอบเรื่องจิตว่า จิตมีดวงเดียว จิตไม่เกิดดับ ที่เกิดดับคืออาการของจิต ในพระบาลีก็กล่าวไว้ออกจะชัดเจนว่า "เอก จรํ" จิตมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไป และครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา ส่วนใหญ่ล้วนสอนตรงกันว่า จิตมีดวงเดียว แต่ละคนนั้นมีจิตเพียงดวงเดียว ของใครของมัน และเป็นที่บันทึกลงของกรรมดีกรรมชั่วครับ ส่วนที่เราเห็นนั้น ล้วนเป็นอาการของจิต ที่แสดงออกมาตามอารมณ์ต่างๆที่จิตเข้าไปยึดไม่เหมือนกัน จึงทำให้เข้าใจผิดได้ง่ายว่าเป็นจิตคนละดวงกัน แท้จริงแล้วเป็นอาการของจิตที่แสดงอาการออกมาแตกต่างกันไปเท่านั้นเอง ทำให้นักศึกษาฝ่ายอภิธรรมหลายท่านเข้ามาโต้แย้ง ทั้งๆที่เราท่านทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว แต่นักศึกษาฝ่ายอภิธรรมหายอมรับไม่ ว่าคัมภีร์พระอภิธรรม มีมาในชั้นหลัง ไม่ใช่พระพุทธวจนะ การจะเทียบเคียงคำสอนนั้น ให้ถือพระพุทธวจนะชั้นต้นเป็นหลัก คือ พระสูตร พระวินัย, พระอภิธรรม,พระอรรถกถาจารย์,อัตตโนมัติอาจารย์ ตามลำดับ แม้สมเด็จพระสังฆราชท่านก็มีกล่าวถึงในหนังสือ ความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ความตอนหนึ่งว่า ๓. คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ อภิธรรมคัมภีร์นี้ ถ้าจะเรียนกันโดยลำดับให้ครบถ้วนก็จะต้องใช้เวลานาน เพราะมีข้อความที่สลับซับซ้อนพิสดารมาก ฉะนั้น ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปอยู่ในขนาดพันปี ได้มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อท่าน อนุรุทธะ ได้ประมวลเนื้อความของอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้ มาแต่งไว้โดยย่นย่อ เรียกว่า คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ แปลว่า สงเคราะห์ คือ สรุปความแห่งอภิธรรม ยกหัวข้อเป็นสี่คือ ๑. จิต ๒. เจตสิก แปลว่าธรรมะที่มีในใจ ๓. รูป ๔. นิพพาน ท่านแต่งเป็นคาถาสลับร้อยแก้วแบ่งออกเป็น ๙ ปริเฉท คือ ๙ ตอน เป็นหนังสือเล่มเล็กๆไม่โตมาก คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนี้เป็นที่นิยมกันมาก เมื่อเรียนตามคัมภีร์นี้แล้วไปจับดูอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ก็จะเข้าใจได้โดยง่ายโดยตลอด เป็นการเรียนลัด. พิจารณาดูตามหัวข้อที่ท่านว่าไว้เป็นสี่นี้ตามความเข้าใจ จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว จิตจะเป็นต่างๆก็เพราะมีเจตสิก แปลว่าธรรมะที่มีในใจ มีเจตสิกเป็นอย่างไรจิตก็เป็นอย่างนั้น เจตสิกจึงเป็นสิ่งที่มีผสมอยู่ในจิต เทียบเหมือนดั่งว่าน้ำกับสีที่ผสมอยู่ในน้ำ น้ำโดยปรกติก็เป็นอย่างเดียว แต่เมื่อใส่สีลงไปน้ำจึงเป็นน้ำสีนั้น น้ำสีนี้ ฉะนั้น ในอภิธรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวง ก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง ยกเจตสิกออกแล้ว จิตก็เป็นอันเดียวเท่านั้น ^ ^ พระนิพนธ์ของพระสังฆราชท่าน ความของท่านก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว จิตจะเป็นต่างๆก็เพราะมีเจตสิก ในอภิธรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวง ก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง ยกเจตสิกออกแล้ว จิตก็เป็นอันเดียวเท่านั้น ซึ่งตรงกับพระพุทธวจนะที่ว่า "เอก จรํ" จิตมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไป และตรงกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา ซึ่งทุกท่านล้วนสอนตรงกันว่า จิตมีดวงเดียว แต่ละคนนั้นมีจิตเพียงดวงเดียว ของใครของมัน และจิตเป็นที่บันทึกลงของกรรมดีกรรมชั่ว จิตไม่เกิดดับ ที่เกิดดับคืออาการของจิต แม้ในมหาสติปัฏฐานสูตรก็มีกล่าวไว้ว่า จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ ความว่า ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ ก็แสดงชัดเจนว่า จิตต้องรู้ตลอดสายของการปฏิบัติ เมื่อราคะเกิดขึ้นที่จิต และราคะดับไปจากจิต แสดงว่าจิตไม่เกิดดับ สิ่งที่เกิดดับคือราคะ ไม่ใช่จิต @ ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดี ได้เข้าไปแสดงคคหโต้แย้งไว้ ซึ่งผมก็ได้แจกแจงแสดงให้ท่านได้เข้าใจไว้มากมายเช่นกันว่า จิตไม่เกิดดับ จิตมีดวงเดียว จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ จิตไม่ใช่กองทุกข์ แต่ท่านก็ยังดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้ จะให้จิตเป็นกองทุกข์ให้ได้ พยายามยกพระสูตรมาจากที่ต่างๆ โดย copy paste post อันเป็นนิสัยที่พวกอ่านพระไตรปิฎกไม่เป็นชอบทำ ชอบฟลัดกระทู้ ทำให้กระทู้เลอะเทอะ โดยที่ตัวเองไม่สามารถแสดงคคหของตนเองได้ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไร และบางครั้งก็ยังไปยก คคห ของท่านอื่นๆ ซึ่งท่านไม่รู้เรื่องด้วย ไม่สามารถเข้ามาโต้แย้งได้ ซึ่งก็อีกนั่นแหละ ประเภทเดียวกัน อ่านพระไตรปิฎกไม่เป็น อ่านแบบเด็กนักเรียน วิจัยเฉพาะที่เห็นตรงหน้า โดยไม่เชื่อมโยงกับพระสูตรที่มีมาก่อนหน้า เพราะธรรมะพระพุทธองค์ต้องเชื่อมโยงกันหมด และลงเป็นเนื้อเดียวกัน ถ้ามีข้อขัดแย้ง ให้เอาพระสูตรเป็นที่ตั้ง ท่านอรรถกถาจารย์ถือเป็นรอง ท่านอรรถกถาจารย์อาจเขียนวินิจฉัยไว้ แต่การพิจารณาต้องเอาข้อความในพระสูตรเป็นหลัก ดังนั้น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ศึกษาธรรม โดยเฉพาะผู้ยังใหม่อยู่ ผมจึงใคร่ขอทุกท่านนะครับ ผมยินดีถกกับทุกท่าน ทุกคำถามต้องมีคำตอบ เพียงแต่บางครั้งท่านเขียนมามากจนเปรอะไปหมด ผมอาจตอบไม่ทัน อาจตอบช้าไปบ้าง และขอความกรุณาอย่ายกถ้อยคำของท่านอื่นๆที่ไม่ใช่คคหของท่านมา เพราะท่านเหล่านั้นไม่สามารถมาโต้แย้งกับผมได้ และถ้าผมโต้แย้งท่านเหล่านั้นไป ก็ออกจะไม่ยุติธรรม เพราะท่านที่ยกมาก็ไม่อาจโต้แย้งแทนได้ แต่ถ้าเป็นถ้อยคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ก็ขอให้ยกมาเฉพาะส่วนที่สำคัญ ตรงประเด็นที่เรากำลังถกกัน แล้วทำลิงค์ไปต้นทางก็ได้ครับ จะยกพระไตรปิฎกมา ก็โดยย่อ แล้วทำลิงค์ไป แล้วแสดง คคห ของท่านในส่วนที่เกี่ยวเนื่อง ไม่ต้องยกมาแปะทั้งสูตรครับ อย่างอัสสุตวตาสูตร พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้ ทำนิสัยเป็นแพทเดียวกันเลยคือชอบยกสูตรนี้มาหากิน หากินกันเป็นแค่สูตรเดียว ก็ตามเคย เพราะไม่เคยเข้าใจความนัยในพระสูตร อ่านแบบเด็กนักเรียน วิจัยเฉพาะที่เห็นตรงหน้า @ ในอัสสุตวตาสูตร ทรงกล่าวถึงวานรเที่ยวไปในป่าใหญ่ วานรเปรียบเหมือนจิต วานรเกี่ยวกิ่งไม้ เหมือนจิตจับอารมณ์ จิตมีดวงเดียว เหมือนวานรตัวเดียว จิตเปลี่ยนไปจับอารมณ์ใหม่ตลอด เหมือนวานรเหนี่ยวกิ่งใหม่ตลอด ถ้าจิตมีหลายดวง แสดงว่าวานรก็ต้องมีหลายตัว ถ้าจิตเกิดดับอย่างที่ท่านๆเข้าใจกัน งั้นวานรก็ต้องตกตายเกลื่อนป่าน่ะสิ @ ในมหาปุณณมสูตรที่ยกมาแสดงก็เช่นกัน ยกมาทำไมครับ ในเมื่อคุณอ่านไม่เข้าใจ ผมอ่านมาหลายรอบหลายเที่ยว และอรรถาธิบายไว้หลายรอบหลายเที่ยวเช่นกัน พระสูตรนี้ชัดเจนอยู่แล้วว่า รูปที่ตรัสถึงคือ รูปร่างกายมนุษย์ ไม่ใช่รูปชนิดอื่นๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ...ฯลฯ... รูปชนิดอื่นๆ เกิดจากมหาภูตรูป ๔ เท่านั้น ไม่มีจิตครอง จึงรู้อะไรไม่ได้ จึงไม่เกิดผัสสะ ทำให้ไม่เกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือก็คือ ไม่เกิดขันธ์ ๕ นั่นเอง เพราะเป็นรูปที่ไม่มีจิตครอง ส่วนรูปร่างกายมนุษย์ เกิดจากธาตุ ๖ คือ มหาภูตรูป ๔ +ธาตุรู้(วิญญาณธาตุหรือจิต) แต่ทรงละไว้ในฐานที่เข้าใจ ณ พระสูตรนี้ เพราะได้ตรัสให้ทราบแล้วในธาตุวิภังคสูตร รูปร่างกายมนุษย์มีธาตุรู้(วิญญาณธาตุ)หรือจิตครองนั่นเอง จึงรู้อะไรได้ จึงเกิดผัสสะ ทำให้เกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามมาครบขันธ์ ๕ นั่นเอง ส่วนที่ยกมาเรื่องสักกายทิฐินั้น ยกมาแต่ปุถุชน ทำไมไม่ยกฝั่งตรงข้ามที่ตรัสถึงพระอริยสาวกมาด้วยครับ ผมจะแสดงให้ดูเป็นวิทยาทาน ปุถุชน มีสักกายทิฏฐิ เพราะ เห็นขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เห็นอัตตามีขันธ์ ๕ เห็นขันธ์ ๕ ในอัตตา เห็นอัตตาในขันธ์ ๕ พระอริยสาวก ไม่มีสักกายทิฏฐิ เพราะ ไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นอัตตา(ตน) ไม่เห็นอัตตามีขันธ์ ๕ ไม่เห็นขันธ์ ๕ ในอัตตา ไม่เห็นอัตตาในขันธ์ ๕ อะไรของปุถุชนและพระอริยสาวกที่เห็นครับ ถ้าไม่ใช่จิตเห็น เห็นขันธ์ ๕ เป็นตน กับไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นตน ไม่ได้บอกว่าไม่มีตนนะครับ อ่านมหาปุณณมสูตรเต็มๆที่นี่ครับ ในพระสูตรกล่าวถึงพระที่เป็นโมฆบุรุษ มีความคิดว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร พระที่เป็นโมฆบุรุษ มีความคิดเห็นผิดว่าอะไรๆก็เป็นอนัตตา(ไม่ใช่ตน)หมด เมื่อเป็นเช่นนี้ เวลาทำกรรมอะไรขึ้นมาก็ไม่ต้องรับกรรมสิ ในเมื่ออะไรๆก็ไม่ใช่ตน เมื่อทำกรรมไปแล้วจะถูกตน(รับกรรม)ได้อย่างไร จึงได้ถูกโจทก์ว่าเป็นโมฆบุรุษ ด้วยเหตุเช่นนี้ และในพระสูตรเอง ก็กล่าวไว้ชัดเจนแล้วว่า พระอริยสาวกนั้น ไม่เห็นขันธ์ ๕(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) "เป็น" ตน ไม่เห็น ตน "มี" ขันธ์๕ ไม่เห็นขันธ์ ๕ "ใน" ตน ไม่เห็น ตน "ใน" ขันธ์ ๕ @ ผู้ใดกระทำกรรมใดไว้ กรรมย่อมตามผู้นั้นไป ดุจรอยเท้าโคที่ลากเกวียน ฉะนั้น กรรมถูกบันทึกลงที่จิต และจิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ จิตไม่เกิดดับ ถ้าเข้าใจผิดว่าจิตเป็นวิญญาณขันธ์ ก็จะเข้าข่ายเดียวกับพระที่เป็นโมฆบุรุษ กรรมที่อนัตตาทำ จักถูกตนได้อย่างไร ความคิดเช่นนี้ ย่อมเป็นเชื้อร้ายที่คุกคามพระศาสนา ทำให้คนเราคิดกระทำกรรมชั่วโดยไม่เกรงกลัว เพราะในเมื่ออะไรๆก็ไม่ใช่ตน เมื่อทำกรรมไปแล้วจะถูกตน(รับกรรม)ได้อย่างไร เจริญในธรรมทุกๆท่าน ธรรมภูต ผู้รู้มีอยู่ ของจริงก็คือของจริง มันจะเป็นอื่นไปไม่ได้
เพราะติดคิด ติดสมมุติบัญญัติ ไม่เจริญจิตภาวนาในทางที่ถูกที่ควร เลยไม่เห็นของแท้จริง เมื่อไม่เห็น ก็ทึกทักเอาตามความเชื่อของตน บทความนี้ดีครับ อนุโมทนาในบทความ โดย: นมสิการ วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:13:24:11 น.
อนุโมทนาค่ะ
เคยได้ยินคำกล่าวว่า จิตมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไปเหมือนนอแรด โดย: พ่อระนาด วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:16:01:54 น.
** แต่ไม่มีแสดงว่าจิตต์เป็นสภาพเที่ยง ยั่งยืนในทางสัสสตทิฏฐิ**
ยิ่งกว่านั้น ในกายจิตตสูตร ตรัสสอนมิให้เห็นว่าจิตต์เป็นอัตตา, อธิบายว่า จิตต์เกิด ๆ ดับ ๆ อยู่เสมอ เหมือนวานร เที่ยวไปบนต้นไม้ จับปล่อย ๆ กิ่งไม้อยู่เสมอ, ท่านไม่ อธิบายว่าจิตต์ เป็นสภาพสัสสตะ (ยั่งยืน) โดยปริยายอย่างไร ๆ เลย โดย: ยังหวังดี IP: 113.53.83.13 วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:19:33:28 น. ........................................ ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ ในความหมายคำว่า จิตเที่ยง ที่เข้าข่ายสัสสตทิฐินั้น หมายถึง ผู้ที่มีความเชื่อไปว่า เคยเกิดมาเป็นอย่างไร เมื่อตายไปแล้ว ก็จะกลับมาเกิดเป็นอย่างนั้นเหมือนเดิมอีก ไม่ว่าจะเกิด-ตายอีกกี่หนกี่ครั้ง(กี่ภพ กี่ชาติ)ก็ตาม ก็จะกลับเกิดมาเป็นอย่างเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง โดยที่บาปบุญคุณโทษไม่มีผลต่อการเกิดในแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิ ฝ่ายสัสสตทิฐิ ส่วนพวกที่เข้าใจว่า เมื่อตายลงไปแล้วนั้น จิตที่บันทึกกรรมครั้งสุดท้ายที่มาประชิดจิต เป็นคติเครื่องไปสู่ภพภูมิต่างๆ ตามกรรมดี กรรมชั่ว ที่บันทึกลงที่จิตในวาระสุดท้ายก่อนตาย จิตที่ไปเกิดนั้น ก็เป็นจิตใครจิตเค้าที่ทำกรรมดี กรรมชั่ว เป็นคติเครื่องไปของสัตว์(ผู้ข้องในอารมณ์)ทั้งหลาย ความเข้าใจอย่างนี้ย่อมเป็น สัมมาทิฐิ เหมือนน้ำที่สะอาดได้รับการปนเปื้อนจากสิ่งต่างๆ ถ้าน้ำปนเปื้อนสิ่งที่ดี ก็ได้อยู่ในที่ๆหรือภาชนะที่ดี ถ้าปนเปื้อนสิ่งสกปรกโสมม ก็ต้องอยู่ที่ๆหรือภาชนะที่ไม่ดี(ไม่ประณีต) ส่วนความเข้าใจที่ว่า การไปเกิด เป็นจิตดวงใหม่ ที่ได้รับการสืบต่อจากจิตดวงเก่า เพื่อไปเกิดใหม่นั้น เป็นพวกมิจฉาทิฐินอกพุทธศาสนา ขอถามว่า การจะสืบต่อได้นั้น ถ้าพิจารณาตามหลักความเป็นจริงแล้ว จิตดวงเก่าต้องยังไม่ดับในทันที เพื่อรอจิตดวงใหม่มาเกิดก่อน จึงจะส่งต่อหรือสืบต่อกรรมดี กรรมชั่วให้ได้ เมื่อเรามาพิจารณาให้ดีแล้ว เป็นการพูดขัดแย้งกันเองว่า จิตใจอัตภาพร่างกายนี้เกิดแล้วดับไป เกิดจิตอีกดวงนึงในร่างกายใหม่ คนละดวงกัน ไม่ใช่ดวงเดิม แต่มันสืบเนื่องกันไป เมื่อจิตเกิด-ดับไปแล้วจะเอาช่วงเวลาตรงไหน มาถ่ายทอดกรรมดี กรรมชั่วกันล่ะ ก็อย่างที่บอกไว้ในตอนต้นว่า จิตดวงเก่ายังจะดับไปไม่ได้หรอก ต้องรอจิตดวงใหม่เกิดขึ้นมาก่อน จึงสืบต่อกรรมดี กรรมชั่วกันได้ ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะจะมีจิตพร้อมกัน ๒ ดวงในเวลาเดียวกันไม่ได้ อีกเหตุผลนึงที่รองรับว่า จิตมีดวงเดียวเท่านั้นของใครของเค้า เพราะ อวิชชาจะเกิด-ดับไปตามจิตไม่ได้ อวิชชาจะดับได้เพียงสถานเดียวเท่านั้น คือต้องปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา จนกระทั่งจิตเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อวิชชาเกิดขึ้น อวิชชาจึงจะดับไปครับ ถ้าจิตเกิด-ดับจริง อวิชชาก็ต้องเกิดดับไปตามจิตด้วยสิ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ดังมีพุทธวจนะรับรองไว้ว่า จิตไม่เคยดับตายหายสูญ มีพุทธพจน์ในมหาปรินิพพานสูตร ว่าไว้ดังนี้: จตุนฺนํ อริยสจฺจานํ ยถาภูตํ อทสฺสนา, สงฺสริตํ ทีฆมทฺธานํ ตาสุตาเสว ชาติสุ ความเวียนว่ายของเรา เข้าไปในชาติน้อยใหญ่ทั้งหลายอันยาวนานนับไม่ถ้วนนั้น เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ดังนี้ หมายความว่า จิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เข้าไปเวียนว่าย จากพระชาติหนึ่งไปยังอีกพระชาติหนึ่งติดต่อกันไปหลายพระชาติ เป็นเวลาอันยาวนานนับไม่ถ้วนก่อนทรงตรัสรู้ และจิตของพระองค์ได้ยืนตัวเป็นประธานทุกชาติ ไม่ว่าจะเปลี่ยนพระชาติไปกี่ครั้งกี่หนก็ตาม. ทั้งนี้แสดงว่า จิตเป็นสภาพธรรมที่ไม่ได้ดับตายหายสูญ พระพุทธองค์ทรงระลึกพระชาติได้ทุกพระชาติก่อนที่จะตรัสรู้ เป็นการแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า จิตดวงเดียวกันนี้ที่เวียนว่ายเข้าไปสู่ภพน้อยใหญ่อันยาวนานนับไม่ถ้วน ถ้าเป็นจิตคนละดวงแล้ว พระองค์จะทรงระลึกชาติของจิตดวงอื่นได้หรือครับ??? คลิกอ่านเต็มๆได้ที่นี่ครับ ดูจิตโดยไม่รู้จักจิตที่แท้จริงแล้ว ย่อมเข้าใจผิดคิดว่าจิตเป็นปูเสฉวน มีตัวอย่างบทความที่ขัดแย้งกับพระพุทธวจนะ แถมยังกล่าวร้ายพระพุทธพจน์ให้เสียหายว่าเป็นมิจฉาทิฐิ ชื่อว่าสัสสตทิฐิ ใครกันแน่ที่เป็นมิจฉาทิฐิ ชื่อว่าสัสสตทิฐิ แถมยังเปรียบเทียบเกิด-ตายของจิตเป็นเช่นปูเสฉวน โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบว่าเป็นไปได้มั้ย??? ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:20:57:23 น.
จากลำดับที่ [๑๒๘]
....เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ เป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน** เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูกรภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล จึงไม่มี อนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเราว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้ง หมดในภายนอก ฯ //www.larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?book=14&lstart=1930&lend=2136 จากพระสูตรนี้ จะเห็นชัดว่า วิญญาณธาตุ (ธาตรู้) หรือ จิต นั้นไม่มีตัวตนให้ยึดถือ ดังที่ว่า ไม่ใช่อัตตาของเรา วิญญาณขันธ์ หรือ วิญญาณ 6 อายตนะภายใน +ผัสสะ+ อายตนะภายนอก จึงเกิด วิญญาณ หู + เสียง เรียกว่า โสตวิญญาณ ตา + วัตถุรูป เรียกว่า จักษุวิญญาณ จมูก + กลิ่น เรียกว่า ฆานวิญญาณ ลิ้น + รส เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ กาย + เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เรียกว่า กายวิญญาณ ใจ + ความรู้สึกนึกคิด เรียกว่า มโนวิญญาณ ** ขึ้นอยู่กับว่า จะเกิดขึ้นที่ใดในขณะ (ปัจจุบันขณะ) นั้นๆ ที่เข้าใจว่า วิญญาณขันธ์ คือ จิต เพราะว่า ไม่ว่าวิญญาณนั้นจะเกิดที่ใด จิตก็เกิดที่นั้น (คือ วิญญาณ หรือ จิต เข้าไปรู้อารมณ์นั้นๆ) (ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตน) โดย : ยังหวังดี วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา: 19:18:29 น. .............................. ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ ท่านไม่รู้ ผมก็ไม่ว่าอะไร แต่ที่พยายามมั่วๆเดาสวดเอาโดยไม่พิจารณาอ่านพระสูตรให้รอบคอบ แบบนี้พระสูตรเสียหายหมดนะ เป็นบาปแก่ตนเองเปล่าๆ ในมหาปุณณมสูตรนั้น กล่าวถึงวิญญาณขันธ์ ไม่ใช่วิญญาณธาตุ นั่นคนละเรื่องกันเลย ถ้าคิดจะหาทางเอาตัวรอด โดยเที่ยวไปยกของท่านอื่นมาตอบ ไม่งามนะ จำไว้นะว่า จิตหนะเป็น"ธาตุรู้" ไม่ว่าวิญญานทางไหนจะเกิดจะดับก็รู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่มีวิญญาณถึงมีจิต เพราะมีจิตมาครอง จึงเกิดมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.... ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:21:14:25 น.
ส่วนที่ยกมาเรื่องสักกายทิฐินั้น
ยกมาแต่ปุถุชน ทำไมไม่ยกฝั่งตรงข้ามที่ตรัสถึงพระอริย -------------------------------------------------------- ที่ยกมาไม่ครบ เพราะจะแสดงว่า การจะละสักกายทิฎฐิ นั้นยากจริงๆ ทำความเห็นให้ตรงในระดับการพิจารณาก็ยาก ยิ่งเห็นให้ตรงด้วยปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริงแล้วยิ่งยากกว่า... เมื่อวิญญาณ คือ จิต และจิต นั้นก็เกิดขึ้นได้ทางทวารใดทวารหนึ่งจากทวารทั้ง 6 (เรียกว่า วิญญาณ 6 หรือ วิญญาณขันธ์) ดังนั้น การ จะยึดจิต เป็นตน ก็ยังเป็นความเห็นไม่ตรงอยู่ เพราะ จิต ก็อยู่ในกองวิญญาณขันธ์ นั้น โดย : ยังหวังดี วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา: 20:24:10 น. ................................... เมื่อจิตเกิดดับ ไม่คงทน ตกอยู่ในไตรลักษณ์ ดังนั้น จะยึดถือเอา จิต เป็นตนไม่ได้ ตามพระสูตรด้านล่างนี้ [๒๓๐] ท่านแสดงไม่ให้ยึดรูป เป็นตน (โดยย่อ) [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย **ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่** ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อม ปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้น นั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ โดย : ยังหวังดี วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา: 19:54:55 น. ................................ ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ การยกพระสูตรมา โดยไม่เคยเทียบเคียงกับพระสูตรอื่น ย่อมทำให้เข้าใจผิดพลาด พระสูตรก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ปุถุชนผู้มิได้สดับ ปุถุชนผู้มิได้สดับๆๆๆๆๆ ในพระสูตรต่างๆที่กล่าวถึงปุถุชนนั้น ย่อมต้องกล่าวถึงพระอริยะสาวกเป็นคู่เทียบทุกครั้งไป แต่ในพระสูตรนี้ กล่าวถึงแต่ปุถุชนยึดเอากายที่ประชุมด้วยธาตุ๔นี้ดีกว่ายึดจิตเป็นตน ก็ไม่แปลกอะไร? เพราะกายนี้เห็นได้ง่าย เมื่อมีการเปลียนแปลงไป ส่วน"จิต"ในพระสูตรนั้นหมายถึงจิตสังขาร ส่วนพระสูตรไม่ได้ทรงกล่าวถึงพระอริยะสาวกนั้น เพราะว่าจิตไม่ต้องยึดอะไรกับมัน จิตก็มีอยู่ในคนทุกๆคน มีกันคนละดวง ไม่มีใครที่มีจิตเกินกว่าหนึ่งดวงแน่นอน และจิตก็ยืนตัวรู้ เห็นอาการของจิตที่เกิดดับไปตามอารมณ์ต่างๆที่เข้ามาครอบงำจิต จิตเป็นต้นนั้น ความหมายที่ทรงแสดงเช่นเดียวกับน้ำเป็นต้นนั้น เช่น น้ำแกงบ้าง น้ำแดงบ้าง ต้มยำบ้างฯลฯ น้ำเหล่านี้ล้วนเป็นน้ำที่ถูกผสมแล้วทั้งนั้น แล้วน้ำบริสุทธิ์ที่ไม่มีสิ่งอื่นปนเปื้อนเป็นตัวยืนหละอยู่ไหน ใช่อยู่ในน้ำเป็นต้นนั้นมั้ย? ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:5:23:20 น.
รูปในอดีตก็ไม่ใช่รูปปัจจุบัน เป็นอนิจจัง
จิตในอดีตก็ไม่ใช่จิตในปัจจุบัน โดย : สิงห์ธรรม วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา: 19:41:01 น. ................... ท่านสิงห์ธรรมครับ นายก.เมื่อตอนเป็นเด็กกับนายก.ตอนเป็นผู้ใหญ่ใช่คนเดียวกันมั้ย? จิตในอดีตที่เคยมีความรัก ใช่จิตดวงเดียวกับปัจจุบันมั้ย? ถ้าไม่ใช่ แล้วรู้ได้อย่างไรว่าอดีตเคยมีความรัก? อย่าบอกนะ ว่ามั่วๆเดาๆเอาว่าอดีตเคยทำอะไรมาบ้าง? แบบนี้แสดงว่าจิตตอนเด็กทำความชั่ว เมื่อโตขึ้นก็ไม่ต้องชดใช้กรรมสิ? ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:5:27:04 น.
..ต้องขออภัยที่ทำให้คุณต้องลำบากตั้งบล๊อคใหม่ แต่ก็แค่พยายามทำความเข้าใจที่ว่า จิตมีดวงเดียว นั้นคืออย่างไร
ลองมองอีกมุมนะคะ จิต เกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่จิตเกิดขึ้นทีละดวง และดับไป จึงจะเกิดดวงใหม่ (ไม่มีทางเกิดพร้อมกันได้) ดังนั้นถามว่า จิต ที่เป็นอดีตยังอยู่ไหม หรือว่า ดับไปแล้ว จิตที่ปรากฎ ณ ปัจจุบันขณะ ก็มีดวงเดียวเท่านั้น (เน้นว่า ปัจจุบันขณะจริงๆ ไม่ใช่ปัจจุบันขณะในความรู้สึกของปุถุชน) ดังนั้น จึงปรากฎ จิต เพียงดวงเดียว (แต่ละขณะ) ท่องเทียวไป จิตที่ดับไปแล้ว จึงไม่ปรากฎ โดย: ยังหวังดี IP: 113.53.83.13 วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:18:26:52 น. ............................ ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ เพราะศึกษาธรรมะแบบปักธงเชื่อหัวปักหัวปำเชื่อว่าจิตเกิดดับ เข้าใจผิดว่าจิตเป็นวิญญาณขันธ์ จิตเป็นกองทุกข์ พยายามดีความเพื่อให้เข้าทาง โดยปฏิเสธหลักเหตุผล จิตคือธาตุรู้ รู้ตลอดเวลา ไม่มีเกิดดับ ที่เกิดดับคือสิ่งที่ถูกจิตรู้หรืออารมณ์นั่นเอง จิตจับอารมณ์ที่เป็นกุศล เรียกกุศลจิต จิตจับอารมณ์ที่เป็นอกุศล เรียกอกุศลจิต ไม่ว่ากุศลจิตหรืออกุศลจิต เกิดขึ้นหรือดับไปจากจิต จิตรู้ตลอดเพราะจิตคือธาตุรู้ ถ้าจิตดับ คือรู้ดับ ตอนกุศลจิตหรืออกุศลจิตดับ ก็ต้องไม่รู้สิ ถ้าไม่รู้ แล้วบอกมาได้ยังไงว่ากุศลจิตหรืออกุศลจิตดับ เนื่องจากจิตปุถุชน มีอวิชชาครอบงำ หลงผิดยึดขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นตน เพราะจิตปุถุชนเมื่อรู้อารมณ์(รูป)แล้ว ไม่ยึดเป็นไม่มี จิตปรุงแต่งไปตามอารมณ์(รูป) ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หรือก็คือ ขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิตนั่นเอง หรืออาจเรียกว่าจิตสังขาร ( จิตที่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์) จึงต้องปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเสด็จพระบรมครู เพื่อให้จิตดวงเดิมที่มีอวิชชาครอบงำ หลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา เกิดวิชชาขึ้นแทนที่ ที่จิตดวงเดิมนั่นแหละ จะได้ไม่หลงผิด ไม่ยึดขันธ์ ๕ เป็นตน จิตไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์(รูป) ทำให้ไม่เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หรือก็คือ ไม่เกิดขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิตนั่นเอง หรือที่เรียกว่าจิตเป็นวิสังขาร (จิตสิ้นการปรุงแต่งไปตามอารมณ์) ดังปฐมพุทธพจน์ที่ตรัสว่า จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:6:05:34 น.
จิตปุถุชน โง่เขลามีอวิชชาครอบงำ หลงผิดยึดขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นตน เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน จิตก็แปรปรวนตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่แปรปรวนไป นั่นก็คือ เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดดับ จิตก็พลอยเข้าใจผิดว่าตนเกิดดับตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดดับ จิตพระอริยสาวก ปฏิบัติอริยมรรค ๘ หลุดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา ไม่หลงผิดไม่ยึดขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นตน เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวน จิตก็ไม่แปรปรวนตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่แปรปรวนไป นั่นก็คือ เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดดับ จิตก็ไม่พลอยเข้าใจผิดว่าตนเกิดดับตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดดับ เพราะจิตรู้อยู่เห็นอยู่ว่าตนไม่เกิดดับ ที่เกิดดับคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังปรากฏใน นกุลปิตาสูตร ปุถุชน กายกระสับกระส่าย จิตกระสับกระส่าย เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป (กายกระสับกระส่าย) ทุกข์จึงเกิดขึ้นที่จิต (จิตกระสับกระส่าย) พระอริยสาวก กายกระสับกระส่าย จิตหากระสับกระส่ายไม่ เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป (กายกระสับกระส่าย) ทุกข์ไม่เกิดขึ้นที่จิต (จิตหากระสับกระส่ายไม่) ความในพระสูตรก็ชัดเจนว่า จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ มีแต่พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้ ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:6:23:12 น.
แต่ถ้ามองอีกนัยหนึ่ง
ถ้า ลิง เปรียบเสมือน จิต การเหนี่ยวกิ่งไม้ใหม่ตลอดของลิง คือ เจตสิก แล้วถามว่า ลิง เมื่อเปลี่ยนอิริยาบท โดยการเหนี่ยวกิ่งไม้ใหม่ ขณะที่เหนี่ยวกิ่งไม้ใหม่ ก็คือ ปัจจุบันขณะ มีอยู่ ปรากฎอยู่ให้เห็นได้ ก็เปรียบเสมือน จิต ที่..เกิด..ขึ้นทีละดวง ปรากฎให้เห็น มีอยู่ เพราะเห็นว่า ปรากฎอยู่ (ณ ขณะนั้นๆ) ส่วนลิงในอิริยาบทเก่า (ลิงที่เหนี่ยวกิ่งไม้อันเก่า) ยังมี ยังปรากฏอยู่ไหม (ในปัจจุบันขณะ) ก็ย่อมไม่มี ใช่ไหมคะ ดังนั้น จิตเกิดดับ ไม่ได้หมายถึง ลิงต้องตกลงมาตายจนเกลื่อนป่า แต่เพราะ ลิงในอิริยาบทเก่า (อดีต) ไม่ปรากฎแล้วต่างหากคะ ดังนั้น ลิงจึงไม่สามารถที่จะแสดงให้เห็นทั้งในอิริยาบทอดีตและปัจจุบันพร้อมๆกัน จึงเห็นว่า ลิงมีตัวเดียว จิต ก็เช่นกัน จิตที่เป็นอดีตก็ไม่ปรากฎ จะปรากฎก็เฉพาะ จิตที่ปรากฏในปัจจุบันขณะ เท่านั้น จิต จึงมี ดวงเดียว แต่ไม่ได้คงทนถาวร หรือ เที่ยง โดย: ยังหวังดี IP: 113.53.83.13 วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:19:13:54 น. ............................ ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ จากที่ท่านพยายามเปรียบเทียบมา ผมจะอธิบายให้เป็นวิทยาทาน ลิง(มีตัวเดียว) เปรียบเสมือน จิต(มีดวงเดียว) กิ่งไม้ เปรียบเสมือน อารมณ์ ลิงเหนี่ยวกิ่งไม้ เปรียบเสมือน จิตจับอารมณ์ ลิงเหนี่ยวกิ่งไม้ใหม่ตลอด เปรียบเสมือน จิตจับอารมณ์ใหม่ตลอด (ลิงตัวเดียวตัวเดิมนั่นแหละ ก็เหมือนจิตดวงเดียวดวงเดิมนั่นแหละ) การเหนี่ยงกิ่งไม้ใหม่ตลอดของลิง ทำให้ลิงเกิดอิริยาบถใหม่ตลอด เช่นเดียวกัน เหมือน จิตจับอารมณ์ใหม่ตลอด ทำให้จิตเกิดอาการของจิตใหม่ตลอด การเหนี่ยวกิ่งไม้ใหม่ตลอดของลิง คืออิริยาบถของลิง-ไม่ใช่ตัวลิง ฉันใด จิตจับอารมณ์ใหม่ตลอด ทำให้เกิด อาการของจิต-ก็ไม่ใช่ตัวจิต ฉันนั้น ท่านจะอธิบายอะไร ก็ให้มันอยู่ในหลักในเกณฑ์หน่อย ทำให้พระพุทธพจน์เสียหายหมด ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:6:44:30 น.
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ ---------------------------------------------------------- พระสูตรที่ยกมานี้ชัดแล้วว่า ท่านกล่าวถึง จิต ที่เกิดดับ โดย: ยังหวังดี IP: 113.53.83.13 วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:19:27:38 น. ............................ ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ อ่านพระสูตรไม่เป็น ไม่เคยเข้าใจความนัยในพระสูตร อัสสุตวตาสูตรสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงจิตสังขาร หรือขันธ์ ๕ ที่เกิดดับ จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ก็คือ จิตที่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์แล้ว หรือเรียกว่าจิตสังขาร หรือขันธ์ ๕ นั่นเอง ★ เพราะท้ายพระสูตรตรัสว่า [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจด้วยดีโดยแยบคายถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ^ พระสูตรนี้จะต่างจากพระสูตรอื่นๆ ตรงที่กล่าวว่า ร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้น เพราะทรงต้องการให้ทราบความนัยว่า จิตที่ตถาคตกล่าวมานั้น คือ จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั้น คือ จิตสังขาร หรือขันธ์ ๕ นั่นเอง หรือจะให้แตกแขนงให้ชัดขึ้น ก็คือ ขันธ์ ๕ ก็คือ ปฏิจจสมุปบาทธรรม นั่นแล ที่เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต ★ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เพราะมีอวิชชาเกิดขึ้นที่จิต ทำให้เกิดสังขารขึ้นที่จิต ทำให้เกิดวิญญาณขึ้นที่จิต...ฯลฯ... ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต ปฏิบัติอริยมรรค ๘ เพราะอวิชชาดับไปจากจิต สังขารจึงดับ วิญญาณจึงดับ...ฯลฯ... ทุกข์จึงดับไปจากจิต วิญญาณจึงดับไปจากจิต...ฯลฯ...ทุกข์จึงดับไปจากจิต ไม่ใช่จิตดับ แต่จิตรู้ตลอดไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นที่จิตหรือดับไปจากจิต ★ จึงมีกล่าวในตอนต้นพระสูตรว่า แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง พวกอ่านพุทธพจน์แล้ววิจัยเฉพาะที่เห็นตรงหน้า คงไม่เคยคิดว่า เป็นไปได้ยังไง จะเรียก ร่างกายที่ประกอบด้วย ธาตุ ๔ ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง แล้วโต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ ที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ ทำไมไม่เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง หละ ทั้งนี้เพราะมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ ๖ ธาตุ ๔+ธาตุรู้(วิญญาณธาตุ คือ จิต) ร่างกายมนุษย์จึงรู้อะไรได้ และเพราะมีจิตครองนั่นเอง จึงทำให้เกิดขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิต หรืออาจเรียกว่าจิตสังขาร หรือ ที่ทรงเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้างนั่นเอง แต่โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ ประกอบด้วยธาตุ ๔ เท่านั้น ไม่มีธาตุรู้(วิญญาณธาตุ คือ จิต) โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ จึงรู้อะไรไม่ได้ เพราะไม่มีจิตครองนั่นเอง จึงไม่เกิดขันธ์ ๕... ★ เข้าใจกันซักทีนะครับว่า จิตคือวิญญาณธาตุคือธาตุรู้ จิตมีดวงเดียว ไม่เป็นกอง จิตไม่เกิดดับ ที่เกิดดับคืออาการของจิต จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ขันธ์เป็นกอง วิญญาณขันธ์เป็นอาการของจิต ดังนั้น วิญญาณขันธ์จึงเกิดดับ เพราะมีจิตครอง จึงเกิดขันธ์ ๕ (รวมวิญญาณขันธ์)ขึ้น นั่นคือ จะมีวิญญาณขันธ์ โดยไม่มีจิตไม่ได้ แต่จะมีจิต โดยไม่มีวิญญาณขันธ์ได้(จิตพระอรหันต์) ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:7:46:50 น.
เอามาให้อ่าน รู้หยุดอยู่ที่รู้ คือรู้หยุดอยู่ที่จิตตั้งมั่นชอบ ไม่ใช่รู้หยุดอยู่ที่วิญญาณขันธ์รู้
ตอนตอบกระทู้ธรรมะ มีคนยกข้อธรรมนี้ขึ้นมา เนื่องจากตอนนั้นภาระเยอะ ไม่มีเวลาตอบ ลองมาดูกัน รู้ให้หยุด ณ วิญญาณขันธ์รู้ ไม่ใช่รู้ตอนเป็นสังขารขันธ์ แต่รู้ หยุด ณ วิญญาณขันธ์รู้ ก็ยังไม่พอ ยังต้องสาวให้ถึง จิต รู้ให้ถึง จิต แล้วก็ยังไม่พอ ยังต้องรู้ ในจังหวะที่ไม่รู้ มันถึงจะรู้ทุกข์ในจิต รู้ให้หยุด ณ วิญญาณขันธ์รู้ ถ้าเป็นวิญญาณขันธ์ แสดงว่ารู้และยึดอารมณ์ ปรุงแต่งไปตามอารมณ์เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่รู้ตอนเป็นสังขารขันธ์ พอรู้อารมณ์ปุ๊บ เกิดวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร ตามมาปั๊บ มันไม่ทันตั้งแต่แรกแล้ว จิตปรุงอารมณ์ตั้งแต่วิญญาณขันธ์แล้ว แต่รู้ หยุด ณ วิญญาณขันธ์รู้ ก็ยังไม่พอ ยังต้องสาวให้ถึง จิต อย่างที่บอกแต่แรก ถ้าเป็นวิญญาณขันธ์เนี่ย ปรุงอารมณ์เรียบร้อยแล้ว กระบวนการขันธ์ ๕ เกิดต่อเนื่องกันไปแล้ว ไม่ทันแล้ว... ต้องรู้อยู่ที่รู้ ก่อนจิตจะไปปรุงเป็นวิญญาณขันธ์ รู้ให้ถึง จิต แล้วก็ยังไม่พอ ยังต้องรู้ ในจังหวะที่ไม่รู้ มันถึงจะรู้ทุกข์ในจิต ถ้าจิตรู้อยู่ที่รู้ได้ มันจะรู้ชัดเจนเลยว่า ตอนที่จิตไปรู้อยู่ที่เรื่อง นั่นแหละจิตเป็นทุกข์ แต่พอจิตมารู้อยู่ที่รู้ นั่นแหละจิตไม่ทุกข์ ขออธิบายขยายความดังนี้ วิญญาณขันธ์ เป็นอาการของจิต เกิดจากจิตรู้และรับอารมณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อจิตรับรู้อารมณ์นั้นๆแล้ว ก็ปรุงแต่งต่อไป เกิด เวทนา สัญญา สังขาร ตามมาอย่างรวดเร็ว คงต้องเข้าใจความหมายของคำว่า อารมณ์ กันก่อน อารมณ์ คือ รูป คือ สิ่งที่ถูกจิตรู้ แจกแจงได้เป็น รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์ จิตรับรู้อารมณ์เหล่านี้ โดยอาศัยร่างกายซึ่งมีอายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นคู่เรียงตามลำดับ เป็นรูปารมณ์(อารมณ์คือ รูป), สัททารมณ์(อารมณ์คือเสียง) คันทารมณ์(อารมณ์คือกลิ่น), รสารมณ์(อารมณ์คือรส) โผฏฐัพพารมณ์(อารมณ์คือกายสัมผัส), ธัมมารมณ์(อารมณ์คือความนึกคิดในใจ) ตัวอย่าง เมื่อ ตา กระทบ รูป จิตรับรู้อารมณ์(รูปารมณ์)ทางตา เรียก วิญญาณทางตา (จักษุวิญญาณ) จิตเกิดความชอบใจ-ไม่ชอบใจ-เฉยๆ ต่อรูปารมณ์นั้นๆ เรียกว่า เวทนา จิตจดจำรูปารมณ์นั้นๆไว้ เรียกว่า สัญญา (รูปสัญญา) จิตนึกคิดถึงรูปารมณ์นั้นๆ คิดดี-คิดชั่ว-คิดไม่ใช่ดีไม่ใช่ชั่ว เรียกว่า สังขาร ครบขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในวันหนึ่งๆ อารมณ์ หรือ รูป หรือ สิ่งที่ถูกจิตรู้ เข้าสู่จิตตลอดเวลา ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงเกิดขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิตตลอดเวลา พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรืออริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง เพื่อให้รู้อยู่ที่รู้ ไม่ใช่รู้อยู่ที่อารมณ์หรือเรื่องต่างๆทั้งภายนอกและภายในใจ โดยเริ่มต้นจากอานาปานสติบรรพะแรก นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ นั่นคือ ปฏิบัติสัมมาสมาธิ ควบคู่ไปกับสัมมาวายามะ และสัมมาสติ จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตอยู่โดยลำพังตนเอง ไม่ต้องอิงอาศัยอารมณ์ จิตอยู่ส่วนจิต อารมณ์อยู่ส่วนอารมณ์ อารมณ์เหล่านั้นก็คงเป็นแค่ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ของจิตอีกต่อไป เพราะจิตไม่ได้ปรุงแต่งไปตามอารมณ์แล้ว ไม่เกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามมา นี้คือ รู้สักว่ารู้ เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน รู้แล้วหยุดด้วยปัญญา (จิตรู้แต่ไม่รับ ไม่ยึด ไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์) ไม่ใช่ รู้ให้หยุด ณ วิญญาณขันธ์ รู้ (จิตรู้แล้วรับ แล้วปรุงแต่งไปตามอารมณ์แล้ว) จาก...สหายธรรม ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:8:41:05 น.
ครับ ขอขอบคุณ ท่านสหายธรรม ที่ส่งบทความมาให้ได้ร่วมกันศึกษาครับ
มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ใน นกุลปิตาสูตร ว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปรวนแปรไป จิตก็ปรวนแปรตามไปด้วย ส่วนพระอริยสาวกนั้น เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปรวนแปรไป จิตก็หาปรวนแปรไปตามไม่ จากพระพุทธพจน์ที่นำมาแสดงให้อ่านนั้น ก็ชัดเจนในตัวโดยไม่ต้องชี้แจงอะไรเพิ่มเติมอีกเลย จิตเป็นสภาพธรรมที่ชอบออกไปรู้รับอารมณ์แล้วยึดอารมณ์นั้นๆมาเป็นของๆตน โดยเฉพาะปุถุชนผู้มิได้สดับจากพระอริยสาวกนั้น ย่อมเข้าใจผิดว่าขันธ์๕เป็นตน ตนเป็นขันธ์ เมื่อจิตยึดขันธ์๕อย่างเหนียวแน่น มาหยุดรู้อยู่ที่ ณ.วิญญาณขันธ์นั้น ก็แสดงว่าจิตได้เข้ายึดอารมณ์นั้นเข้าให้เสียแล้ว พร้อมที่จะปรุงเป็น เวทนา สัญญา สังขารต่อไป ส่วนพระอริยสาวกนั้น ท่านได้ฝึกฝนอบรมสัมมาสมาธิอย่างต่อเนื่องเนืองๆอยู่ จนจิตของท่านสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ ที่เข้ามากระทบทางอายตนะทั้ง๖ จิตเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง ว่าอารมณ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่อารมณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พอรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณปรวนแปรไป จิตของท่านหาปรวนแปรไปไม่ เราจะรู้ได้จากพระพุทธพจน์ ที่พระองค์ทรงสอนในหัวใจพุทธศาสนาไว้ว่า ให้ชำระจิตบริสุทธิ์หมดจดได้นั้น เป็นวิธีเดียว(สัมมาสมาธิ) เท่านั้น ที่จะสาวไปหาจิตที่เป็นตัวเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)ของสัตว์โลกทั้งหลาย เพื่อขจัดมลทินสิ่งสกปรกทั้งหลายที่หมักหมมอยู่ที่จิตของตน ของใครของมันอยู่แล้ว เมื่อชำระโดยวิธีปฏิบัติสัมมาสมาธิได้สำเร็จ จิตย่อมรู้อยู่ที่รู้ ไม่ไปรู้อยู่ที่เรื่อง เนื่องจากการไปรู้อยู่ที่เรื่องนั้น รังแต่จะเป็นเครื่องหม้กหมมให้จิตสกปรกเศร้าหมอง ไปตามเรื่องต่างๆเหล่านั้นครับ..... ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:8:43:26 น.
วิญญาณ คือ จิตที่ยังไม่สามารถล้างกิเลสให้ข้ามพ้นรูปกายละเอียดได้ เมื่อตายลงจึงอุบัติเป็น วิญญาณรูป ถ้าละลาย รูปวิญญาณได้ จะเปลี่ยนคำเรียกใหม่ ว่า อรูปพรหม
ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรม โดย: ตามพันธสัญญา IP: 203.144.144.164 วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:8:50:55 น.
เราบอกเล่าสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติให้เป็นข้อมูลมิได้คิดโต้แย้งบุคคลใด....
รูปกายหยาบ...เมื่อปฏบัติจนถึงจุดหนึ่ง.......รูปเปลี่ยนเป็นรูปกายละเอียด รูปกายละเอียด...เมื่อปฏิบัติจนถึงจุดหนึ่ง.....จะเปลี่ยนเป็นรูปพรหม รูปพรหม...เมื่อปฏิบัติจนถึงจุดหนึ่ง.....จะเปลี่ยนเป็นอรูปพรหม(ไร้รูป) อรูปพรหม...เมื่อปฏิบัติจนถึงที่สุด......จิต... ... .. ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป.... โดย: ตามพันธสัญญา IP: 203.144.144.164 วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:17:41:03 น.
จิตตามเห็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
เห็นความรู้สึกเกิด-ดับ ไปเรื่อยๆ จิตก็จะค่อยๆ เกิดญาณปัญญาในการเห็นถึง พระไตรลักษณ์ ในสังขารร่างกาย จนจิตเกิดความเบื่อหน่ายเกิดสภาวะที่น้อมไปเพื่อการปล่อยวางความคิด ความรู้สึก และ อารมณ์ ที่เกิดขึ้นต่างๆ ได้เองโดยอัตโนมัติ เห็นด้วยกับ ท่านธรรมภูต ค่ะ จิตก็ส่วนจิต สภาวะธรรมก็ส่วนสภาวะธรรม โดย: พ่อระนาด วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:19:23:53 น.
อนุโมทนาครับ ท่านตามพันธสัญญา ท่านนมสิการ และท่านระนาด
ขอให้เจริญในธรรมปฏิบัติยิ่งๆขึ้นครับ ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 28 มกราคม 2553 เวลา:5:11:05 น.
๙. มหาปุณณมสูตร (๑๐๙)
[๑๒๔] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ เวทนาขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สัญญาขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ พ. ดูกรภิกษุ มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์ ***นามรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ*** จากพระสูตร เพราะนามรูป เป็นเหตุปัจจัย จึงบัญญัติวิญญาณขันธ์ นามรูป ก็คือ การทำงานของขันธ์ 5 (องค์ประชุมพร้อมเกิดการทำงานขึ้น) เมื่อนามรูปทำงาน ก็เกิดวิญญาณทางทวารต่างๆ และ ธาตุ คือสิ่งที่ทรงสภาพของตนไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือวิปริตไปเป็น อย่างอื่น เป็นต้นว่า สภาพที่ทรงไว้ซึ่งความแข็ง ก็เรียกว่า ปฐวีธาตุ สภาพที่ทรง ไว้ซึ่งการรับรู้อารมณ์ ก็เรียกว่า วิญญาณธาตุ เป็นสภาพที่มีอยู่เองเป็นเอง โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.8 วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:16:05:37 น. .................................................. ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ ท่านครับ ผมบอกหลายครั้งแล้วว่าท่านอ่านพระสูตรไม่เป็น วิจัยเฉพาะที่เห็นตรงหน้า เขียนขัดแย้งกันเองท่านยังไม่รู้เลย เท่าที่ถกมาท่านนะอ่อนมากๆ แต่ดื้อสุดๆเพื่อเอาชนะเท่านั้น ลองดูคำพูดของท่านเองนะ ธาตุ คือสิ่งที่ทรงสภาพของตนไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือวิปริตไปเป็น อย่างอื่น เป็นต้นว่า สภาพที่ทรงไว้ซึ่งความแข็ง ก็เรียกว่า ปฐวีธาตุ สภาพที่ทรงไว้ซึ่งการรับรู้อารมณ์ ก็เรียกว่า วิญญาณธาตุ เป็นสภาพที่มีอยู่เองเป็นเอง ธาตุ คือสิ่งที่ทรงสภาพของตนไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือวิปริตไปเป็น อย่างอื่น ... เป็นสภาพที่มีอยู่เองเป็นเอง คำว่า สภาพที่มีอยู่เองเป็นเอง ความก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าหมายถึง ไม่ได้เกิดจากเหตุปัจจัยใดๆ นั่นคือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ เป็นสภาพที่มีอยู่เองเป็นเอง ไม่ได้เกิดจากเหตุปัจจัยใดๆ ความก็ชัดว่า วิญญาณธาตุ(จิต) ไม่ได้เกิดจากเหตุปัจจัยใดๆ ดังนั้น วิญญาณธาตุ(จิต) จึงไม่ใช่วิญญาณขันธ์ และในพระสูตรที่ท่านยกมา ก็ตอกย้ำชัดเจนให้เห็นว่า วิญญาณธาตุ(จิต) ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ เพราะเขียนไว้ว่า นามรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ผมว่า ที่ท่านยกมาเนี่ย ท่านยังไม่รู้เลย ว่าทรงกล่าวถึงอะไร ก็จะอรรถาธิบายเป็นวิทยาทานละกัน สำหรับคนดื้อรั้น เถียงข้างๆคูๆจะให้จิตซึ่งเป็นวิญญาณธาตุเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้...บาปกรรม...บาปกรรม ที่ยกมานั้น กล่าวถึงแม่ธาตุ ซึ่งมีอยู่ดั้งเดิม ที่ยังไม่มีเหตุปัจจัยให้เข้าผสมปรุงแต่ง จะทรงสภาพของตนไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปรหรือเสื่อมสูญไปตามกาลเวลา นั่นคือ เดิมมีคุณภาพอย่างไร ก็คงคุณภาพอย่างนั้นอยู่เสมอ แม่ธาตุ มี ๖ ธาตุ คือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณธาตุ(จิต) ธาตุดิน มีคุณสมบัติคือ ความแค่นแข็ง ธาตุน้ำ มีคุณสมบัติคือ ความเอิบอาบ เหลวและไหล ธาตุลม มีคุณสมบัติคือ ความพัดไหวไปมา ธาตุไฟ มีคุณสมบัติคือ ความร้อน อากาศธาตุ มีคุณสมบัติคือ ความว่าง วิญญาณธาตุ (ธาตุรู้คือจิต) มีคุณสมบัติคือ ความรู้ ธาตุดิน มีคุณสมบัติแค่นแข็ง ก็จะทรงสภาพนี้ตลอดกาล ไม่อาจแปรเปลี่ยนเป็นธาตุอื่นได้ เช่นเดียวกัน กับธาตุน้ำ ลม ไฟ วิญญาณธาตุ ก็ไม่อาจแปรเปลี่ยนเป็นธาตุอื่นๆ วิญญาณธาตุ(ธาตุรู้คือจิต) จึงทรงสภาพรู้ตลอดทุกกาลสมัย ไม่อาจแปรเปลี่ยนเป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรืออากาศธาตุได้ แต่วิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ มีปัจจัยที่ทำให้เกิดคือ นามรูป และวิญญาณขันธ์ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนตลอดเวลา ความก็ชัดเจนว่า วิญญาณธาตุ(จิต) ไม่ใช่ วิญญาณขันธ์ มีแต่พวกดื้อรั้นไม่ยอมรับเหตุผลจะดึงดันให้จิตซึ่งเป็นวิญญาณธาตุเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้เท่านั้น ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 28 มกราคม 2553 เวลา:5:56:26 น.
(แม้นิพพาน ก็เป็น ธาตุ)
สิ่งหรือธาตุทั้งหมด รวมเรียกว่า โลกธาตุ ทวาร (ธาตุรับ) + อารมณ์ (ธาตุกระทบ) + วิญญาณ (ธาตุรู้) จักขุธาตุ + รูปธาตุ + จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ + สัททธาตุ + โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ + คันธธาตุ + ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ + รสธาตุ + ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ + โผฏฐัพพธาตุ + กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ + ธัมมธาตุ + มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณธาตุทั้ง 6 ก็ คือวิญญาณธาตุ หรือ จิต นั่นเอง เพียงแต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามทวารอันเป็นที่ให้เกิด วิญญาณธาตุ ทั้ง 6 ชื่อ นี้ ก็รวมเรียกว่า วิญญาณขันธ์ ก็คือ กองแห่งวิญญาณธาตุ เป็นชื่อเรียกโดยหมายรวมเอาวิญญาณทั้งหมด แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่ใช่ จิต โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.8 วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:16:05:37 น. .............................................. ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ ท่านครับ อย่างที่บอกครับ ท่านน่ะอ่อนมากๆ และดื้อสุดๆ ที่ยกมาแสดงเนี่ย ท่านพูดเองหรือท่านใดวินิจฉัยไว้ครับ ผมก็แสดงเป็นวิทยาทานมาให้ท่านก็ไม่น้อยทีเดียว ก็อยากจะบอกให้ท่านกลับไปศึกษาเพิ่มเติมเอาเองก็แล้วกันนะ ธาตุ แบ่งโดยรวมเป็น ๒ คือ อสังขตธรรมธาตุ และสังขตธรรมธาตุ ถ้าท่านไม่เข้าใจว่า อสังขตะ กับสังขตะ ต่างกันอย่างไร ท่านก็ยังคงอ่านพระสูตรไม่เป็นเหมือนเดิมนั่นแหละ และจะวิจัยเฉพาะที่เห็นตรงหน้า โดยไม่รู้ว่า ส่วนไหนกำลังกล่าวถึง สังขตธรรมธาตุ ซึ่งไม่แปลกว่า ต้องมีความแปรปรวน แตกสลาย ไม่เที่ยง และส่วนไหน หมายถึง อสังขตธรรมธาตุ ซึ่งไม่แปรปรวน ไม่แตกสลาย และเที่ยงแท้ถาวร ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 28 มกราคม 2553 เวลา:6:06:39 น.
ดังนั้น จากบางส่วนในพระสูตรที่ยกมานี้
***นามรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ*** ถ้าไม่มีนามรูป ก็ไม่เกิดวิญญาณ (จิต) ก็ไม่จำเป็นต้องมีบัญญัตินั้นๆ หรือ บัญญัติใดๆ อีก (เพราะบัญญัติ เป็นชื่อสมมุติสำหรับโลก สำหรับขันธ์ 5 ไว้ใช้เรียกหรือสื่อสาร) และเมื่อ ไม่มีนามรูป (ก็ไม่เกิดการทำงาน) นั่นก็หมายถึง การที่ไม่มีเหตุปัจจัย (หรือเชื้อ) ทำให้เกิดวิญญาณธาตุต่างๆ หรือ จิต ได้อีก เพราะการไม่เกิดแห่งนามรูป (ไม่มีขันธ์5 เกิดขึ้นมาทำงาน) ก็คือการที่ พระอรหันต์ดับขันธ์และนิพพานแล้ว และไม่ปรากฎในที่ใดๆ อีก เพราะพ้นจากอาสวะกิเลสและอวิชชา (เชื้ออันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด) เสียแล้ว ดังนั้น ชื่อว่า ผู้พ้น พระพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ล้วนเป็นบัญญัติ ให้ขันธ์ 5 ไว้เรียก แต่ไม่ปรากฎตัวตนอยู่ ณ ที่ใด เพราะไม่มีเหตุปัจจัย(อวิชชาและอาสวะกิเลส) ให้ปรากฎนั่นเอง เหมือน (ชื่อว่า) ไฟ มีอยู่ แต่เมื่อไม่มีเชื้อเป็นเหตุปัจจัยให้ปรากฏ ก็ย่อมไม่เห็นไฟนั้นอยู่ที่ใดๆ และตัวพระอรหันต์เอง ก็ไม่ต้องการบัญญัติใดๆ ที่เป็นสมมุติของโลกอีกแล้ว เพราะพ้นจากโลกแล้ว เหนือโลกแล้ว (โลก คือ สิ่งที่ปรากฎทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) กรรมทั้งหลาย จึงเป็นอโหสิกรรม เพราะไม่มีขันธ์ 1 ขันธ์ 4 ขันธ์ 5 ที่จะมารองรับกรรมนั้นอีก แปลกใจนะ ที่คุณว่า วิญญาณธาตุ คือ จิต แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณขันธ์ ก็คือ จิต เช่นกัน เมื่อยังเห็นว่า จิต ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ และยังคงยึดจิต นั่นก็คือ ยังยึดขันธ์อยู่นะ (เป็นความเห็นส่วนตัว ลองพิจารณาดู ถ้ายังเห็นว่า จิต ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ อีก ก็แล้วแต่เถิด ไม่มีใครบังคับหรอกค่ะ) ขอให้เจริญในธรรมค่ะ โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.8 วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:16:05:37 น. ............................................ ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ ท่านครับ เวลาท่านอ่านพระสูตรเนี่ย หัดอ่านพระสูตรอื่นๆข้างเคียงและที่เชื่อมโยงกันด้วยนะครับ เพราะธรรมะพระพุทธองค์ย่อมเชื่อมโยงกันหมด ในมหาปุณณมสูตรที่ยกมาแสดงนั้น กล่าวถึงปัจจัยเกิดแห่งขันธ์ ๕ ว่า นามรูปเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ★ ท่านอธิบายเจื้อยแจ้วไปเลยว่า ถ้าไม่มีนามรูป ก็ไม่เกิดวิญญาณ (จิต) แล้วท่านทราบมั๊ยว่า อะไรเป็นปัจจัยแห่งการเกิดนามรูป...ตอบด้วยนะครับ ★ ผมไม่แปลกใจนะ ที่ท่านดื้อรั้นจะให้ จิตซึ่งเป็นวิญญาณธาตุเป็นวิญญาณขันธ์ ให้ได้ ทั้งๆที่ผมมีเหตุผลแจกแจงแสดงที่มาที่ไปให้ตั้งมาก เพราะท่านยึดตามตำรา ปักธงลงไปแล้วว่าจิตต้องเกิดดับ จิตต้องเป็นวิญญาณขันธ์ และอ่านพระพุทธพจน์ไม่เป็น ไม่เคยเทียบเคียงพระพุทธพจน์ที่มีมา ★ ถ้าเมื่อใดรู้เห็นด้วยปัญญาว่า จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์ นั่นแลคือ จิตสามารถปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในวิญญาณขันธ์(ขันธ์ ๕)ได้ แต่ถ้ายังคงเห็นว่า จิตเป็นวิญญาณขันธ์ นั่นก็คือจิตยังคงยึดขันธ์ ๕ อยู่นะ ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 28 มกราคม 2553 เวลา:6:27:30 น.
ความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าที่แสดงไว้ อาจจะน้ำหนักไม่พอ จึงขออัญเชิญคำเทศน์บางส่วนของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มาแสดงดังนี้
บางส่วนจากหัวข้อเรื่อง สุญญตาข้อที่ ๔ อันวิญญาณนั้นกล่าวเข้าใจง่ายๆ ก็คือตัวรู้ หรือความรู้ วิญญาณที่ตรัสแสดงไว้ในที่ต่างๆ เช่นวิญญาณในธาตุ ๖ ได้แก่ธาตุรู้ วิญญาณธาตุ ***ธาตุรู้ วิญญาณในขันธ์ ๕ *** ได้แก่รู้เห็น รู้ได้ยิน เป็นต้น ในเมื่ออายตนะภายใน อายตนะภายนอก มีตากับรูป หูกับเสียง เป็นต้นมาประจวบกัน ก็เห็น ก็ได้ยิน อันการเห็นการได้ยินนั้นก็คือตัวความรู้อย่างหนึ่งนั้นเอง เห็นก็คือรู้เห็น ได้ยินก็คือรู้ได้ยิน เป็นความรู้ของวิญญาณธาตุ คือธาตุรู้ ที่รู้ทางอายตนะ เพราะฉะนั้นในที่นี้วิญญาณจึงหมายถึงตัววิญาณธาตุ คือธาตุรู้ นั้นเองก็ได้ หมายถึงความรู้ของวิญญาณธาตุคือธาตุรู้นั้น ซึ่งรู้ทางอายตนะ อันมีลักษณะเป็นเห็นเป็นได้ยิน ดังกล่าวเป็นต้นนั้นก็ได้ แต่เพื่อให้รวบรัดก็แสดงว่า ความรู้ หรือตัวรู้ ความรู้หรือตัวรู้ไม่มีที่สุด โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.8 วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:17:20:49 น. ............................ ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ ท่านครับ ท่านกำลังลบหลู่สมเด็จพระสังฆราชอยู่นะ เท่าที่ถกมาท่านนะอ่อนมากๆ แต่ดื้อสุดๆเพื่อเอาชนะเท่านั้น สมเด็จฯท่านก็แยกไว้ชัดเจนระหว่าง วิญญาณธาตุ ธาตุรู้ และวิญญาณขันธ์ แต่ท่านพยายามที่จะไม่แยกประโยค ทำให้ไม่ชัดเจนเอง เพื่อประโยชน์ตนเท่านั้น อาศัยช่องว่างที่สมเด็จฯท่านเทศน์ด้วยคำพูด จึงมีช่องว่างของรูปประโยค ผมเตือนท่านหลายครั้งแล้วนะว่าบาปกรรมมีจริง ท่านก็พยายามที่จะเข้าหาเอง ดูรูปประโยคที่สมเด็จฯท่านตรัสดีๆนะ จากพระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๒ สมเด็จพระญาณสังวรฯ "อันวิญญาณนั้นกล่าวเข้าใจง่ายๆ ก็คือตัวรู้ หรือความรู้ วิญญาณที่ตรัสแสดงไว้ในที่ต่างๆ เช่น ● วิญญาณในธาตุ ๖ ได้แก่ธาตุรู้ วิญญาณธาตุ ธาตุรู้ ●วิญญาณในขันธ์ ๕ ได้แก่ รู้เห็น รู้ได้ยิน เป็นต้น ในเมื่ออายตนะภายใน อายตนะภายนอก มีตากับรูป หูกับเสียง เป็นต้น มาประจวบกัน ก็เห็น ก็ได้ยิน อันการเห็นการได้ยินนั้นก็คือตัวความรู้อย่างหนึ่งนั้นเอง เห็นก็คือรู้เห็น ได้ยินก็คือรู้ได้ยิน เป็นความรู้ของวิญญาณธาตุ คือธาตุรู้ ที่รู้ทางอายตนะ เพราะฉะนั้นในที่นี้ วิญญาณจึงหมายถึง ตัววิญาณธาตุ คือธาตุรู้ นั้นเองก็ได้ หมายถึง ความรู้ของวิญญาณธาตุคือธาตุรู้นั้น ซึ่งรู้ทางอายตนะ อันมีลักษณะเป็นเห็นเป็นได้ยิน ดังกล่าวเป็นต้นนั้นก็ได้ แต่เพื่อให้รวบรัดก็แสดงว่า ความรู้ หรือตัวรู้ ความรู้หรือตัวรู้ไม่มีที่สุด" ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 28 มกราคม 2553 เวลา:6:39:20 น.
หาอ่านเพิ่มในลิ้งค์นะคะ
//dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-002.htm น่าจะชัดเจนแล้วนะคะว่า เมื่อพิจารณาจนถึงที่สุดแล้วก็มีแต่ความว่าง นอกจากความว่าง ไม่มีอะไรเลย ที่หลงยึดอยู่ก็เป็นเพียงสิ่งปรุงแต่งที่ปรากฎขึ้นมาเป็นขณะๆและดับไปเท่านั้น ไม่ได้มีอะไรๆที่คงทนอยู่เลย แม้แต่ จิต (ธาตุรู้) มีแต่ทุกข์ที่เกิด มีแต่ทุกข์ที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์ที่ดับไป จิต ก็จัดเป็นทุกข์ เพราะความทนอยู่ไม่ได้ ไม่คงทน นั่นเอง จิต เป็น สังขตธรรม ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.8 วันที่: 27 มกราคม 2553 เวลา:17:20:49 น. ....................... ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ ท่านไม่กลัวบาปกลัวกรรมเอาจริงๆเสียเลยนะ บริบทก่อนหน้าประโยคท่านยกมา สมเด็จฯท่านกล่าวไว้ชัดเจนแล้วนะว่า "อากาศคือช่องว่างที่ไม่มีที่สุดนั้น จะรู้ได้ก็เพราะมีตัวรู้ หรือมีธาตุรู้ มีความรู้ ที่ครอบคลุมอากาศคือช่องว่างไม่มีที่สุดนั้น เพราะฉะนั้น แม้ตัวความรู้ก็เป็นสิ่งไม่มีที่สุดเช่นเดียวกัน เช่นเดียวกับอากาศที่ไม่มีที่สุด เมื่อเป็นดั่งนี้ ความใส่ใจกำหนดจึงน้อมเข้ามาถึงตัวรู้ หรือธาตุรู้ ความรู้ที่เป็นภายใน ว่าไม่มีที่สุด ดั่งนี้ก็เป็นสมาธิจิตอันประกอบด้วยญาณคือความหยั่งรู้ หรือปัญญาซึ่งเป็นตัวรอบรู้ที่สูงขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง" จำไว้นะ วันหลังอย่าสรุปแบบเดาสวดคิดเอง เออเอง ผมถามไปหัดตอบบ้างนะ จิตที่เป็นธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุ มีรูปร่างให้จับต้องได้มั้ย? ถึงไม่มีรูปร่างให้จับต้องได้ แต่เรารู้ว่ามีอยู่จริงใช่มั้ย? ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ เมื่อดับจิตไป ก็พ้นทุกข์ใช่มั้ย? ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ ทำไมบางครั้งจิตก็มีความสุขหละ? จิตพระอรหันต์ ยังตกอยู่อำนาจพระไตรลักษณ์อีกรึ? ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 28 มกราคม 2553 เวลา:6:41:18 น.
ถามหน่อยว่า ความคิดเห็นทั้งหมดที่ยกมาให้ดูนี้หายไปไหน ? คุณจงใจลบทิ้งเพียงเพื่อจะยกเอาเฉพาะส่วนความคิดเห็นของข้าพเจ้ามาโต้แย้งอย่างนั้นหรือ
อ่านประโยคนี้ชัดๆ อีกทีนะ แล้วก็ไม่ต้องลบด้วยนะ ***แม้ตัวธาตุรู้ ความรู้ ตัวรู้ นั้นก็ไม่มีอีกเหมือนกัน เพราะเป็นความว่าง อะไรสักน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี*** ทำไมคุณไม่แสดงความเห็นในประโยคนี้ล่ะ ? หรือว่า หมดคำโต้แย้ง แต่ยังต้องการจะแย้งแบบจนมุม โดย : ยังหวังดี วันที่: 28 มกราคม 2553 เวลา: 12:16:58 น. ..................... ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ ผมแจกแจงแสดงเหตุผลไว้มากมาย อย่างที่บอกไว้ ท่านอ่านไม่เป็น ดีแต่เถียงข้างๆคูๆ แล้วแถออกนอกประเด็นไปเรื่อยๆ ผมถือว่าท่านมาฟลัดบล็อกผม ทำให้เลอะเทอะ โดยไม่มีภูมิรู้ภูมิธรรมเพียงพอ เมื่อผมยกส่วนที่เห็นเป็นสาระมาตอบแล้ว ก็จะลบทิ้ง เพราะท่านต้องการเพียงเถียงเพื่อให้ชนะเท่านั้น ไม่เคยอ่านของคนอื่นให้ละเอียดเลย ความจริงผมได้ตอบไปแล้ว แต่ท่านพยายามดื้อรั้นเพื่อเอาชนะเท่านั้น โดยไม่มีเหตุผล แล้วส่วนที่ผมถามไป ท่านไม่เคยคิดจะตอบเลยนะ แล้วเบี่ยงประเด็นมั่วออกไปเรื่อยๆ ตามที่ยกมา พระสูตรว่าด้วยสุญญตา ของสมเด็จพระสังฆราชนั้น สมเด็จฯท่านกำลังกล่าวถึง จูฬสุญญตสูตร ตามลิงค์ไปอ่านเอาเอง สมเด็จฯท่านกำลังไล่เลียงพระสูตรให้ฟัง ถึงการกำหนดจิต ถึงการกำหนดจิต ตั้งแต่ไม่ใส่ใจกำหนดในอารมณ์หนึ่ง...แต่ใส่ใจกำหนดในอีกอารมณ์หนึ่ง... ไล่เลียงตั้งแต่ ป่า แผ่นดิน อากาสานัญจายตนสัญญา วิญญาณัญจายตนสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ถ้าได้อ่านพระสูตรเทียบเคียงไปด้วย จะเห็นว่าทุกบทที่กล่าวไล่เลียงนั้น ในตอนท้ายบทพระสูตรจะเขียนไว้ว่า ด้วยอาการนี้แหละเธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ตรงที่ท่านทำดอกจันมานั้น ***แม้ตัวธาตุรู้ ความรู้ ตัวรู้ นั้นก็ไม่มีอีกเหมือนกัน เพราะเป็นความว่าง อะไรสักน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี*** ท่านก็ไม่รู้เรื่องเหมือนเดิม ว่าทรงกำลังตรัสถึงอะไร จะบอกให้เอาบุญว่า เป็นส่วนที่กำลังตรัสถึงการกำหนดอากิญจัญญายตนะ การกำหนดว่าอะไรสักน้อยนิดหนึ่งก็ไม่มี และสำหรับท่านที่อ่านพระสูตรเป็น จะเข้าใจได้ว่าสมเด็จฯท่านก็ตรัสเหมือนพระสูตรนั่นแล ถ้าไม่ใส่ใจกำหนดจิตเข้าไปในอารมณ์ใด จิตก็จะว่างจากอารมณ์นั้น เมื่อใส่ใจกำหนดจิตเข้าไปในอารมณ์ใด จิตก็จะไม่ว่างจากอารมณ์นั้น กล่าวตู่พระพุทธพจน์ยังไม่พอ ยังกล่าวตู่สมเด็จฯ กล่าวตู่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ไม่เว้นผมด้วยเลยนะ ผมถามไปหัดตอบบ้างนะ นี่ถามซ้ำเป็นครั้งที่ ๒ แล้ว จิตที่เป็นธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุ มีรูปร่างให้จับต้องได้มั้ย? ถึงไม่มีรูปร่างให้จับต้องได้ แต่เรารู้ว่ามีอยู่จริงใช่มั้ย? ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ เมื่อดับจิตไป ก็พ้นทุกข์ใช่มั้ย? ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ ทำไมบางครั้งจิตก็มีความสุขหละ? จิตพระอรหันต์ ยังตกอยู่อำนาจพระไตรลักษณ์อีกรึ? ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 29 มกราคม 2553 เวลา:5:18:17 น.
จิต....เป็นสิ่งที่...มี...แต่เหมือน....ไม่มี....
เปรียบดั่งนี้ว่า เมื่อเราเข้าไปในห้องที่เปิดแอร์นั้น...เราจะรู้สึก...เย็น.... แต่เราจะไม่เห็น...รูปร่างหรือลักษณะของความเย็นนั้น... ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรม... โดย: ตามพันธสัญญา IP: 203.144.144.164 วันที่: 29 มกราคม 2553 เวลา:10:34:49 น.
จิตที่เป็นธาตุรู้ หรือวิญญาณธาตุ มีรูปร่างให้จับต้องได้มั้ย?
ถึงไม่มีรูปร่างให้จับต้องได้ แต่เรารู้ว่ามีอยู่จริงใช่มั้ย? ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ เมื่อดับจิตไป ก็พ้นทุกข์ใช่มั้ย? ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ ทำไมบางครั้งจิตก็มีความสุขหละ? จิตพระอรหันต์ ยังตกอยู่อำนาจพระไตรลักษณ์อีกรึ? ------------------------------------------------------- คิดว่า อธิบายไปละเอียดแล้วนะ จากความเห็นตั้งแต่ต้น ถ้าอ่านดีๆ จะเห็นคำตอบ แต่ก็จะตอบให้อีกที 1.จิต เป็นอนัตตา มีอยู่ แต่ไม่ใช่ตัวตนให้ยึดถือ (เกิด-ดับ ตามเหตุปัจจัย) 2.จิตไม่มีรูปร่าง แต่รู้ว่า มี เพราะอาศัย รู้สึก 3.ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด จิตก็ไม่เกิด (พ้นจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน) ก็คือ พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง 4.สุขหรือทุกข์ หรือเฉยๆ เป็นเวทนา คือเวทนาเจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิต ทุกดวง อย่าลืมว่า แม้แต่พระอรหันต์ ที่ยังมีชีวิต ท่านก็ยังมีเวทนา ท่านเสวยสุขเวทนาทางใจ แต่อาจจะมีเสวยทุกขเวทนาทางกายบ้าง (แล้วแต่วิบาก) แต่สุขเวทนาที่ท่านได้รับ ท่านก็ต้องละความยินดี เพลิดเพลินในสุขเวทนานั้น เพื่อความบริสุทธ์หมดจดจากกิเลสจริงๆ 5.จิตพระอรหันต์ที่ยังไม่ตาย (ยังมีขันธ์5) ก็ยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ มีความทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา เพราะมีความเกิดดับ ตามเหตุปัจจัย (ทุกข์ ในที่นี้ หมายถึง สามัญลักษณะของจิต คือ ความทนไม่ได้ ไม่คงทน ไม่ใช่ ทุกขเวทนา) โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.198.185 วันที่: 29 มกราคม 2553 เวลา:22:07:10 น. ............................. คุณแน่ใจนะยังหวังดีครับ เป็นครั้งแรกที่คุณตอบเป็นเรื่องเป็นราว อย่างนี้พอสนทนาด้วยได้ ๑.ที่บอกว่าจิตเป็นอนัตตานั้น ขอหลักฐานด้วยนะ? จิตเป็นธาตุรู้ใชมั้ย? ใครๆก็รู้แม้แต่คุณเอง ส่วนขันธ์๕นั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกช์ เป็นอนัตตา ใช่มั้ย? มีมาในอนัตตลักขณสูตรใช่มั้ย? ๒.ใช่ถูกต้อง รู้และรู้สึกได้ ยอมรับแล้วนะว่ามีอยู่จริง แต่ไม่มีรูปร่างให้จับต้องได้ ๓.ที่บอกว่าไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด ก็ไม่เกิด ถามว่าแล้วรู้ใช่มั้ยว่าไม่มีเหตุปัจจัยเกิด? มีเกิดก็รู้ ไม่มีเกิดก็รู้ใช่มั้ย? ๔.ไหนคุณบอกเองว่า "จิตเป็นตัวทุกข์" แต่ตอนมากลับคำว่า สุข ทุกข์คือเวทนา เกิดขึ้นที่จิตใช่มั้ย? ๕.คุณยอมรับแล้วนะว่า จิตของพระอรหันต์ไม่ตาย เมื่อไม่ตายเที่ยงหรือไม่เที่ยงหละ? จิตของพระอรหันต์ไม่ตกอยู่ในอำนาจพระไตรลักษณ์แล้วใช่มั้ย? ยังไม่ตอบ ส่วนที่ตกอยู่ในอำนาจพระไตรลักษณ์ คือขันธ์๕ใช่มั้ย? ไม่ว่าขันธ์๕ของของใครๆก็ตกอยู่ในอำนาจพระไตรลักษณ์ทั้งนั้นใช่มั้ย? ถ้าจะสนทนาต่อ ก็ต้อตอบคำถามเหล่านี้ก่อน ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 30 มกราคม 2553 เวลา:9:59:30 น.
ไม่สังเกตุบ้างหรือว่า ธาตุทั้ง 5 (ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ) นั้น มีคุณลักษณะต่างๆ ที่เป็นสภาวะแสดงให้...รู้...ได้จากการ รู้สึก (การสัมผัสแล้วรู้สึก เช่น รู้สึกว่าแข็ง รู้สึกว่าเย็น)
มีแต่ตัว ธาตุรู้ (วิญญาณธาตุ หรือ จิต) เท่านั้น ที่มีคุณสมบัติเป็น กิริยา คือ รู้ และ รู้สึก ดังนั้น ถ้าไม่มีปฎิกิริยาใดๆ เกิด (ไม่มีผัสสะเกิด) ธาตุรู้ (จิต) จะเกิดขึ้นไหม จะมีการรู้ หรือ รู้สึก ไหม ว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้มีอาการอย่างนั้นอย่างนี้ ที่ว่า ธาตุรู้ มันคงสภาพ เพราะ มันเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจาก รู้ จึงเรียกว่า คงสภาพ รู้ ไม่เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นแน่ เช่น ไม่เปลี่ยนไปเป็น แข็ง อ่อน ร้อน เย็น แต่มันเป็นได้อย่างเดียว คือ รู้ (ซึ่งหมายถึง คุณสมบัติ ไม่ใช่ตัวตน) ก็เหมือน มโนวิญญาณธาตุ นั่นแหละ ทำไมถึงใช้ คำว่า มโนวิญญาณธาตุ มันก็ธาตุเหมือนกัน แต่คุณเห็นว่ามันเกิดดับ เป็นวิญญาณขันธ์ (ตกอยู่ในไตรลักษณ์) แต่ไม่ยอมรับว่า ธาตุรู้ ก็คือวิญญาณขันธ์ มันก็อันเดียวกันนั่นแหละ คุณสับสนเอง โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.198.185 วันที่: 29 มกราคม 2553 เวลา:22:07:10 น. ............................. คุณแน่ใจนะยังหวังดีครับ คุณกำลังสับสนอยู่กับคำว่าธาตุรู้ ที่คุณบอกเอง เมื่อไม่มีผัสสะเกิด จิตจะเกิดไหม ย่อมต้องแน่นอนที่ไม่มีการเกิดอาการของจิตไปตามอารมณ์ผัสสะนั้น แต่ผมถามว่าแล้วจิต(ธาตุรู้)รู้ไหมว่าขณะนี้ไม่มีผัสสะเกิดใช่มั้ย? แสดงว่าจิตรู้อยู่ตลอดใช่มั้ย? จิตรู้ว่าไม่มีผัสสะเกิด หรือ มีผัสสะเกิดอยู่ขณะนี้ หรือว่าจิตไม่รู้หละ? ถ้าไม่รู้บอกได้ไงว่า ขณะนี้ไม่มีผัสสะเกิด หรือมีผัสสะเกิด อย่าบอกนะเดาๆเอา และจิตก็เป็นธาตุรู้ ที่มักแสดงกิริยาอาการออกมาต่อ เมื่อกระทบอารมณ์รัก ชัง เย็น ร้อน อ่อนแข็งฯลฯ อย่าพยายามคิดเอง เออเองสิคุณ จิตเป็นตัวกิริยาที่ไหน จิตเป็นเพียงผู้รู้เท่านั้น ส่วนกิริยาคืออาการของจิตที่แสดงต่ออารมณ์ต่างๆ จำไว้นะ แล้วใครบอกหละว่ามโนวิญญาณธาตุ ไม่ใช่ธาตุ เป็นเพียงแต่ว่า เป็นธาตุที่ผสมไปแล้ว ผสมเข้ามโน(ใจ)ซึ่งเป็นอายตนะภายใน ธาตุส่วนธาตุ ขันธ์ส่วนขันธ์ ผสมปนเปกันได้ แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน คุณกำลังสับสนเอง จำไว้นะ ฉะนั้น ธาตุมีธาตุแท้(แม่ธาตุ) ทรงไว้ซึ่งความเป็นอย่างนั้น และธาตุที่ผสมปนเปกันไปแล้ว ซึ่งไม่คงทน ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมต้องแตกสลายไปตามเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น ส่วนขันธ์นั้นเป็นกองๆ เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จำไว้นะ จะได้หายสับสนซะที ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 30 มกราคม 2553 เวลา:10:15:13 น.
แล้วเข้าใจไหมว่า
เมื่อไม่มี ธาตุรู้ (จิต) เสียแล้ว ธาตุต่างๆนั้น (ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ) ก็ย่อมไม่มีปรากฎน่ะ เช่น ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีอาทิตย์ ไม่มีพระจันทร์ ไม่มีแผ่นดิน ต้นไม้ ภูเขา บ้านเรือน หรืออะไรๆ ก็ไม่มีเลย ก็นิพพานนั่นเอง เพราะอะไรหรือ ก็เพราะว่า อะไรที่เป็นทุกข์ (ความทนไม่ได้) ย่อมไม่ตั้งอาศัยอยู่ในนิพพาน ดังนั้น นิพพาน จึงไม่มี จิต (ธาตุรู้) โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.198.185 วันที่: 29 มกราคม 2553 เวลา:22:07:10 น. ............................. คุณแน่ใจนะยังหวังดีครับ คุณกำลังสับสนอยู่กับคำนิยามเหล่านี้อยู่ ที่พูดมาทั้งหมดนี้เป็นการพ้นสมมุติของสภาวะพระนิพพานแล้ว จิตบริสุทธิ์ของพระอรหันต์นั้น เมื่อบรรลุพระนิพพานแล้ว ย่อมกลายเป็นธรรมธาตุที่บริสุทธิ์เช่นกัน ซึ่งมีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งหละ? แสดงว่าต้องรู้ใช่มั้ยว่าเป็นสุชอย่างยิ่ง? และ นิพพานัง ปะระมัง สูญญัง พระนิพพานสูญอย่างยิ่งหละ แสดงว่าต้องรู้ใช่มั้ยว่าพระนิพพานสูญอย่างยิ่ง? ว่าพระนิพพานสูญจากราคะ โทสะ โมหะใช่มั้ย? ถ้าพระนิพพานไม่มีธาตุรู้(จิต) แล้วรู้ได้ไงว่าบรรลุพระนิพพานแล้วหละ? อย่าบอกนะเดาๆเอาเองเท่านั้นว่าถึงพระนิพพานแล้ว มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา คุณอย่าทำให้พระพุทธพจน์เสียหายไปกว่านี้อีกเลย ด้วยความรู้ผิดของคุณเองแท้ๆ เวรกรรม เวรกรรม... ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 30 มกราคม 2553 เวลา:10:38:32 น.
ลองอ่านนิพพานสูตรนะ
[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจาตนะ อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น ว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์. จบปฐมนิพพานสูตรที่ ๑ ชัดแล้วนะ ว่า นิพพานเป็นอายตะภายนอก และ โลกุตรจิตเป็นอายตนะภายใน นิพพาน + ผัสสะ+ โลกุตรจิต เกิด มโนวิญญาณ (รู้ทางใจ ว่า นิพพาน มีอยู่) ที่คุณสาธยายมามากมาย อ่านผ่านๆ แล้วนะ ไม่น่าสนใจ บอกแล้วว่า ก็แล้วแต่คุณ ถ้ายังยึดว่า มีอะไรๆ ที่คงทนถาวรอยู่ ก็สุดแท้แต่ ความเห็นก็ยังเป็นของคุณ ไม่มีใครเปลี่ยนได้ นอกจากตัวคุณเอง คำต่อว่าต่างๆ ที่มีมาตั้งแต่ต้น ก็ได้แต่อ่านนะ แต่ไม่ได้รับไว้ ขอบอกว่า ยังไงคุณก็เป็นชาวพุทธคนหนึ่งที่มีความตั้งใจดี ซึ่งในโลกนี้ส่วนใหญ่บางคนยังได้แค่ชื่อว่า เป็นชาวพุทธ แต่ก็ไม่ได้สนใจพุทธศาสนาจริงจังเช่นคุณ ก็ขอนุโมทนาในส่วนนี้ และไม่ได้คิดว่าการที่ความเห็นไม่ตรงกัน ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่ดี หรือ เป็นศัตรู นะ (อย่าเข้าใจผิด) ขอให้เจริญในธรรม (ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตน ไม่ชวนให้เชื่อ โปรดหาคำตอบที่ถูกต้องเอง) โดย : ยังหวังดี วันที่: 29 มกราคม 2553 เวลา: 22:07:10 น. ............................. คุณแน่ใจนะยังหวังดีครับ คุณอย่ามั่วเอง เออเองสิ ในพระสูตรไม่ได้บอกซะหน่อยว่า พระนิพพานเป็นอายตนะภายนอกหรืออายตนะภายใน เพียงแต่บอกว่าอายตนะนั้นมีอยู่ คำว่าอายตนะหมายถึงการเชื่อมต่อ แสดงว่าต้องมีการเชื่อมต่อได้ ในพระสูตรกล่าวไว้ชัดเจนแล้ว เมื่อพระองค์ทรงกล่าวธรรมมีกถาอยู่นั้น ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้จิตตั้งมั่น มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมมีกถาด้วยจิตของภิกษุทั้งปวงแล้ว คุณเองก็เลิกคิดเองเออเองเสียที ที่กล่าวหาว่าของคนอื่นไม่มีสาระ เพราะคุณอ่านไม่เข้าใจเอง ก็ด้วยทิฐิมานะว่าของตัวคุณเองว่า ที่ข้าฯรู้มานั้นถูก จึงไม่พยายามเปิดใจให้กว้างพอที่จะรับ เป็นแสดงให้เห็นถึงความที่เป็นคนมีจิตใจคับแคบ ไม่ยอมรับในเหตุผลต่างๆที่ผมได้กล่าวไปแล้ว อย่าต้องทำให้ตนเองเนิ้นช้าไปกล่าวนี้อีกเลย ลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาพุทโธเสียตั้งแต่วันนี้เลยเถิด เมื่อคุณเข้าถึงสภาวะตทังควิมุคติแล้ว คุณก็จะเลิกเถียงข้างๆคูๆเสียทีว่า จิตเป็นวิญญาณขันธ์ จิตเกิดดับฯลฯ.... เจริญในธรรม ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 30 มกราคม 2553 เวลา:11:09:01 น.
สวัสดีค่ะ
มาแจ้งข่าวว่า อัพเรื่อง พระนางนันทาเทวี ค่ะ ถ้าว่างก็เชิญนะคะ โดย: พ่อระนาด วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:51:13 น.
สวัสดีค่ะ ท่านธรรมภูต
ขอบคุณที่ติดตามผลงานนะคะ แอบมาอ่านเนื้อหาที่บล๊อกนี้บ่อยค่ะ แต่ไม่ได้เม้นท์เท่านั้นเอง อนุโมทนาค่ะ โดย: พ่อระนาด วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:15:40 น.
อนุโมทนา กับคุณธรรมทูตด้วย Blog นี้คงช่วยได้หลายโลกธาตุ ครับ
เค้าแต่งนิยายกำลังภายในให้ฟัง ดันไปเชื่อ โดยเอา เศษความสุขเล็กน้อยมาล่อ Blog ผมรวมคำกล่าว โกหก ของเจ้าสำนักนี้ไว้ ใครสนใจเห็นธาตุแท้ตามไปดูได้ครับ โดย: Oz(OB) วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:17:46:49 น.
วันพระสวัสดีค่ะ ท่านธรรมภูต
เมื่อเช้าได้ทำบุญตักบาตร นำบุญมาฝากค่ะ ขอให้ได้บุญเท่ากันนะคะ โดย: พ่อระนาด วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:8:07:53 น.
เข้ามาอนุโมทนาสาธุครับ กับท่าน ธรรมภูต..พบท่าน นมสิการพอดี สาธุครับท่าน นมสิการ..ขอเจริญในธรรมครับ
โดย: เกิดเป็นคนช่างยากแท้ IP: 117.47.92.26 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:12:31 น.
สวัสดีค่ะ ท่านธรรมภูต
มาส่งข่าวว่าอัพตอนใหม่ของ วิมุตติรัตนมาลี ตอนนาคีกุมารี ค่ะ ว่างก็เชิญนะคะ มีความสุข รักษาสุขภาพค่ะ โดย: พ่อระนาด วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:7:02:11 น.
สวัสดีค่ะ ท่านธรรมภูต
วันนี้ไปทำบุญ ปิดทองลูกนิมิตร เอาบุญมาฝากนะคะ โดย: พ่อระนาด วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:20:58:32 น.
5.จิตพระอรหันต์ที่ยังไม่ตาย (ยังมีขันธ์5) ก็ยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ มีความทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา เพราะมีความเกิดดับ ตามเหตุปัจจัย (ทุกข์ ในที่นี้ หมายถึง สามัญลักษณะของจิต คือ ความทนไม่ได้ ไม่คงทน ไม่ใช่ ทุกขเวทนา)
โดย: ยังหวังดี ๕.คุณยอมรับแล้วนะว่า จิตของพระอรหันต์ไม่ตาย เมื่อไม่ตายเที่ยงหรือไม่เที่ยงหละ?จิตของพระอรหันต์ไม่ตกอยู่ในอำนาจพระไตรลักษณ์แล้วใช่มั้ย? ยังไม่ตอบส่วนที่ตกอยู่ในอำนาจพระไตรลักษณ์ คือขันธ์๕ใช่มั้ย? ไม่ว่าขันธ์๕ของของใครๆก็ตกอยู่ในอำนาจพระไตรลักษณ์ทั้งนั้นใช่มั้ย?ถ้าจะสนทนาต่อ ก็ต้อตอบคำถามเหล่านี้ก่อนธรรมภูต ธรรมผีอ่านแค่นี้ยังตีความเข้าข้างตัวเองเลย เรียกว่าอ่านไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด ไม่ต้องพูดถึงในพระไตรปิฎกหรอกว่า ธรรมผีจะตีความเข้าข้างตัวเองแค่ไหน คุณยังหวังดีเขาไม่ได้บอกสักคำว่าจิตของพระอรหันต์นั้น ตัวจิตไม่ตาย แต่เขาหมายถึง จิตของ องค์พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต ธรรมผีอ่านแค่นี้ยังไม่แตก คิดแต่เข้าข้างตัวเอง อย่าพึ่งไปวิจารณ์พระพุทธพจน์เลย ขันธ์ 5 ของพระอรหันต์ยังไงก็ต้องตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ ซึ่งรวมถึงจิตด้วย ถ้าบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วพ้นจากไตรลักษณ์ อย่างนี้พระพุทธเจ้าก็คงไม่ต้องปรินิพพานแล้วสิ โดย: ผ่านมา IP: 1.20.0.130 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา:3:05:48 น.
ีที่ตถาคตเรียกว่า จิต บ้าง มโน บ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นเกิดขึ้นดับไป
จิต มโน วิญญาณ เป็นคำเรียกต่างๆของธรรมชาติที่รู้อารมณ์ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ดังพระพุทธพจน์ จิตเกิดทางตาเรียกว่า จักขุวิญญาณ (เกิดแล้วก็ดับไป) จิตเกิดทางหูเรียกว่าโสตะวิญญาณ (เกิดแล้วก็ดับไปเช่นกัน) จิต เป็นคำไวพจน์กับ วิญญาณขันธ์ ใช้เรียกแทนกันได้ นายธรรมผีีี นี่สิดื้อรั้นกว่าที่จะให้ จิตเป็นนิพพาน นิพพานคือภาวะที่สิ้นทุกข์ เที่ยงแท้ไม่แปรผัน ไม่เกิดดับเป็นคนละอย่างกับจิตที่เกิดดับ ที่ไม่เที่ยงแท้ จะเป็นอย่างเดียวกันได้ยังไง ถ้าแน่จริงก็ยกพระสูตรมาชัดๆว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้ที่ไหนบ้างว่า จิตไม่เกิดไม่ดับ อย่ายกแบบเข้าข้างตัวเองนะ เช่น ในธรรมบท ที่ชอบอ้างว่า เอกังจะรัง จิตดวงเดียวเที่่ยวไป จุดอ่อนของพวกดื้อด้านจะให้จิตเที่ยงก็คือ ชอบตีความเข้าข้างตัวเองว่า นี่ไง เห็นไหม ดวงเดียวเที่ยวไป แสดงว่าจิตไม่เกิดไม่ดับ แต่นี่เป็นการอ้างตรรกกะแบบคนปัญญาอ่อน เพราะคำว่าดวงเดียว กับเกิดดับ นี่คนละเรื่องกัน เหมือน มีหลอดไฟดวงเดียว จะบอกว่าหลอดไฟนั้นไม่กะพริบเลย ก็ไม่ถูก เพราะหลอดไฟดวงเดียวนั้นแหละถ้าเปิดจะเห็นว่าแรกๆก็กระพริบช้าๆ จนกระทั่งเร็วมากจนมองไม่ทัน การกะพริบก็คือเกิดดับของแสงนั่นเอง โดย: ผ่านมา IP: 1.20.0.189 วันที่: 1 ธันวาคม 2555 เวลา:2:00:14 น.
ธรรมผีบอกว่า จิตมีสภาพรู้ตลอดเวลา
ธรรมผีนี่แหละอ่อนจริงๆ แล้วยังไปเถียงคุณยังหวังดีแบบข้างๆคูๆอีก ลองคิดให้ดีนะว่า ตอนนอนหลับนี่รู้สึกตัวตลอดเวลาไหม เวลาสลบนี่รู้สึกตัวตลอดเวลาไหม ถ้าจิตรู้ตัวตลอดเวลาก็ต้องรู้สิ แต่นี่ไม่รู้แสดงว่าจิตไม่เที่ยงสิเพราะเดี๋ยวรู้บ้างไม่รู้บ้าง โดย: ผ่านมา IP: 1.20.1.152 วันที่: 8 ธันวาคม 2555 เวลา:1:34:33 น.
ธรรมผีบอกว่า แต่จะมีจิต โดยไม่มีวิญญาณขันธ์ได้(จิตพระอรหันต์)
ธรรมผีนี่ตลกจริงๆ พูดแบบนี้ก็หมายความว่าพระอรหันต์ไม่มีขันธ์ที่ 5 งั้นสิ แบบนี้พระอรหันต์ก็ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ทางประสาทสัมผัสและทางใจง้ันหรือ จริงๆแล้ว พระอรหันต์ก็ยังคงเห็นรูปด้วยตา ได้ยินเสียงด้วยหู ฯลฯ เหมือนคนทั่วไป แต่ไม่เกิดกิเลสครอบงำได้ ธรรมผีบอกว่าพระอรหันต์ไม่มีวิญญาณขันธ์นี่มั่วมากๆ ปัญญาเท่าหางอึ่งยังจะมาสะเออะเถียงผู้รู้อย่างคุณยังหวังดี หรือเถียงแม้กระทั่งอรรถกถาจารย์รวมไปถึงพระพุทธเจ้าที่บอกว่าจิตเกิดดับ อีก บาปกรรมจริงๆหนอ ออกไปตั้งลัทธิธรรมผีเถอะอย่ามาปลอมปนคำสอนของศาสนาพุทธเลย โมฆบุรุษเช่นธรรมผีนี้มีส่วนทำให้ศาสนาอันตรธานเร็วขึ้น โดย: ผ่านมา IP: 1.20.1.152 วันที่: 8 ธันวาคม 2555 เวลา:1:59:05 น.
แล้วเรื่องที่ธรรมผีกังวลว่า ถ้าจิตเกิดดับจะถ่ายทอดกรรมไปยังจิตดวงใหม่ยังไง
นี่ก็เหมือนกับ ไฟที่ติดบนเทียนมีความร้อนมีแสงสว่าง ถ้าเอาไฟจากเทียนเล่มที่1ไปอังไส้เทียนของเทียนเล่ม 2 แล้วดับเทียนเล่มที่ 1 ซะ แค่นี่ พลังงานความร้อน และแสงสว่าวก็ถ่ายทอดไปจากเทียนเล่มนึงไปอีกเล่มได้แล้ว จิตดวงก่อนก็ถ่ายทอดกรรมไปยังจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นด้วยอาการแบบเดียวกับไฟนี่แหละ ส่วนอวิชชาก็เหมือนกับ ไส้เทียน ถ้า ยังมีอวิชชาอยู่ไฟก็ถ่ายทอดไปเรื่อยๆ ไม่ดับ แต่ถ้า ไม่มีไส้เทียน ไฟก็ตั้งไม่ได้ก็ดับไป เช่นเดียวกัน จิตสุดท้ายของพระอรหันต์เรียกว่า จริมกจิต พอหลังจากที่ จริมกจิต ดับแล้วก็ไม่มีจิตดวงใหม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเพราะไม่มีอวิชชาที่เป็นไส้เทียนเลี้ยงไฟให้ติดอีกแล้ว โดย: ผ่านมา IP: 1.20.1.152 วันที่: 8 ธันวาคม 2555 เวลา:2:13:58 น.
ธรรมผีนี่แหละดื้อรั้นจะให้จิต ไม่ใช่วิญญาณขันธ์
ทั้งๆที่มันเป็นคำที่ใช้เรียกแทนกันได้ สาเหตุที่ทำให้ธรรมผี ไม่อยากให้เป็นอันเดียวกัน ก็เพราะธรรมผีมีมิจฉาทิฏฐิว่าจิตเที่ยง จิตไม่เกิดไม่ดับ เพราะถ้าจิตกับวิญญาณขันธ์ เหมือนกัน นั่นหมายความว่า วิญญาณขันธ์ไม่เที่ยง จิตก็ไม่เที่ยง (เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป) ซึ่งความจริงที่ถูกต้องนี้มันจะไปค้านกับความเห็นผิดของธรรมผีที่ว่าจิตเที่ยงไม่เกิดดับ ถึงแม้จะมีผู้ที่ยกพระพุทธพจน์จากพระไตรปิฎกมา อธิบาย แต่นายธรรมผีก็หาได้ยอมรับพระพุทธพจน์ไม่ แต่กลับดื้อรั้นและตะแบงกล่าวตู่พระพุทธพจน์ว่า คำว่าจิตในพระพระไตรปิฎกหมายถึงจิตตสังขาร ทั้งๆ พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสบอกไว้เลย (พระพุทธเจ้าบอกว่า จิต มโน วิญญาณ คือสิ่งเดียวกันแต่เรียนหลายชื่อตามบริบทและหน้าที่การทำงานให้เข้าใจ) แต่ธรรมผี กลับแต่งคำว่าจิตตสังขารขึ้นมาเองอย่างผิดๆให้สับสนกับความหมายจริงๆ ของคำว่าจิตตสังขารในพระไตรปิฎก ดังนี้ จิตตสังขาร ในพระไตรปิฎกหมายถึง สัญญา และ เวทนา แต่จิตตสังขารของธรรมผีหมายถึงจิตที่ยึดอารมณ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสเลยว่า จิตหมายถึงจิตตสังขารตามที่ธรรมผีพยายามกล่าวตู่ (เพราะจิตจะเป็นสัญญาและเวทนาไปไม่ได้) หมายความว่า จิตในความหมายของธรรมผี เป็นสิ่งที่ธรรมผีแต่งขึ้นมาเอง โดยไม่สนใจความหมายจริงๆที่พระพุทธเจ้าตรัส (เหมือนคนบ้าที่เรียกโต๊ะว่าเก้าอี้) แต่สิ่งที่ชาวพุทธควรยอมรับคือบัญญัติจากพระพุทธเจ้า ที่ว่า จิตไม่เที่ยง จิตเกิดขึ้น เพราะมีเหตุปัจจัย จิตดับไปก็เพราะเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตนั้นดับไป แต่ในฐานะ ชาวพุทธแท้ เราไม่ยอมรับ คำว่าจิตในความหมายของธรรมผีที่หมายถึงสิ่งที่ไม่เกิดดับ เพราะไม่ใช่พุทธบัญญัติ พระพุทธเจ้าตรัสไว้หลายที่ว่า จิตเกิดดับ เช่น ในอัสสุวตาสูตร ที่ว่า จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึินดวงหนึ่งดับไป ทั้งวันทั้งคืน หรือใน สมุทยสูตร ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน ๔ [๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร? ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่งมนสิการ ความดับแห่งธรรมย่อมมีเพราะความดับแห่งมนสิการ. จบ สูตรที่ ๒ ซึ่งสรุปได้ว่าจิตเกิดเพราะมีนามรูป ถ้านามรูปดับจิตก็ดับ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดๆโดยไม่ต้องตีความเลย ยอมรับเสียบ้างนะธรรมผี ว่าจิตเกิดดับ อย่าตะแบงเถียงว่า จิตหมายถึงจิตตสังขารอีกเลย เพราะจิตตสังขารคือสัญญากับเวทนาซึ่งไม่ใช่จิต อย่าใช้ศัพท์มั่วๆให้ตัวเองสับสนกับตีความพระพุทธพจน์เข้าข้างตัวเองนะ มันบาปกรรม โดย: ผ่านมา IP: 1.20.1.182 วันที่: 8 ธันวาคม 2555 เวลา:22:32:32 น.
|
ในความฝันของใครสักคน
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?] หน้าแรก Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์ Group Blog All Blog |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
เปลี่ยนภพ เปลี่ยนรูป, เปลี่ยนรูป เปลี่ยนภพ สุดยาวไกล
เกินกว่าคำจะบรรยาย
คนนั้นคือรูปหนึ่ง ของภพหนึ่ง เพียงแค่นั้น
แต่คนนั้น ใช้ความคิดจากหนึ่งภพ ตัดสินซึ่งทุกสิ่ง.
ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป...สาธุ...สาธุ..อนุโมธามิ