บล็อกนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นมา เพื่อโต้แย้งพระเพียงองค์เดียว
ก่อนอื่น ต้องขอขอบคุณทุกๆท่าน ที่แวะเข้ามาที่บล็อกนี้ ด้วยวัตถุประสงค์อะไรก็ตาม ทั้งท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็น และไม่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

ได้มีผู้สงสัยและตั้งคำถามมาว่า

ขอเรียนถามด้วยความเคารพนะครับ มิได้มีเจตนาจะล่วงเกินหรือ สบประมาท ใดๆทั้งสิ้น

1. Blog นี้ตั้งขึ้นมาเพื่อโต้แย้งพระเพียงองค์เดียวหรือครับ

2.ถ้าเปรียบ เทียบกับ วัดธรรมกาย หรือ ท่าน โพธิรักษ์ ฯลฯ แล้ว
อย่างไหนอันตราย และเร่งด่วนกว่ากันครับ

3.ผมก็เคารพนับถือพระอาจารย์ทั้ง 2 องค์ เหมือนกันครับ
แต่กระผม ไม่สามารถแยกแยะหรือวินิจฉัยได้ ว่าจริงๆ แล้ว
แค่สอนผิด แค่เป็นเรื่องของภาษา หรือ มีอะไรที่มากกว่านี้ครับ

เพิ่มเติมครับ ผมก็ติดตามอ่านที่พันทิพตลอดครับ แต่ไม่กล้า post ความเห็น หรือ คำถาม เพราะที่นั่นแรงมาก อ่านของที่นี่แล้วคิดว่าพอถามได้ครับ


ก็ขอตอบข้อสงสัย ดังนี้ครับ

บล๊อกผมให้อิสระในการออกความเห็นอยู่แล้วครับ แต่ขออย่าใช้คำหยาบคายจนเกินไปก็พอครับ

1. Blog นี้ตั้งขึ้นมาเพื่อโต้แย้งพระเพียงองค์เดียวหรือครับ

๑. บล๊อกนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์สร้างขึ้นมาเพื่อโจมตีพระเพียงองค์เดียวเท่านั้น
วัตถุประสงค์ที่แท้จริงนั้น ต้องการสื่อเรื่องคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
และการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา เพื่อให้เข้าถึงธรรมที่ถูกที่ควรครับ


เราท่านต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นกันก่อนว่า ปัจจุบันนี้มีคำสอนที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ถึงขนาดกลับขาวเป็นดำไปเลยก็มี ไม่ตรงต่อคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา ได้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง มีการนำคำสอนเหล่านั้นมาปรามาสคำสอนของพระอาจารย์ท่านอื่นๆให้เสียหาย

โดยเฉพาะผู้ที่ยังใหม่อยู่ ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตนเองเลยว่า อันไหนถูก อันไหนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เพราะมีการชักจูง โดยการโปรปากานดากันอย่างมากมาย ที่เกินกว่าความเป็นจริง ให้เกิดความเชื่อถือด้วยวิธีการต่างๆนานา โดยลูกศิษย์ลูกหาช่วยกันสร้างภาพลักษณ์กันขึ้นมา เพื่อให้เห็นเป็นอย่างนั้น

แถมเนื้อหาในคำสอนนั้น ยังเป็นการชี้นำ ให้ผู้ที่ปฏิบัติใหม่อยู่หรือเก่ากะลาแล้วก็ตาม เห็นว่าการปฏิบัติธรรมกรรมฐานต่างๆของสายอื่นๆนั้น เป็นคำสอนที่ไม่ถูกต้อง และคลาดเคลื่อน

ทำให้เกิดการกลัวการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา(สัมมาสมาธิ) กันเป็นวงกว้างขึ้น เช่น สอนว่า การทำสมาธิภาวนานั้น ทำให้ติดสุขบ้างหละ ไม่เกิดญาณปัญญาบ้างหละ ทำให้เนิ่นช้าเสียเวลาบ้างหละ เหมือนหินทับหญ้าเอาไว้บ้างหละ ฯลฯ

ทั้งๆที่คำสอนดังกล่าวนั้น ขัดแย้งกับพระพุทธวจนะของพระพุทธองค์ และคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลายแต่เก่าก่อน

2.ถ้าเปรียบ เทียบกับ วัดธรรมกาย หรือ ท่าน โพธิรักษ์ ฯลฯ แล้ว
อย่างไหนอันตราย และเร่งด่วนกว่ากันครับ


๒.ส่วนเรื่องวัดธรรมกายที่เป็นการแตกแขนงออกมาจากท่านอาจารย์หลวงพ่อสดนั้น อาจมีการแปลกแยกออกไปจากวัตถุประสงค์เดิมที่หลวงพ่อท่านได้วางเอาไว้ มีการขายบุญอย่างออกหน้าออกตา เหมาะสำหรับกลุ่มที่บ้าบุญ แต่ก็ไม่ทิ้งการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา ยังไม่เคยเห็นมีคำสอนที่ไปโจมตี การปฏิบัติธรรมต่างๆของสายอื่นๆเลย คงเน้นสอนแต่ของตนเอง

ส่วนท่านโพธิรักษ์นั้น ท่านก็โดนอาญาจากทางเถรสมาคมเล่นงานเข้าไปแล้ว
มีสถานะเป็นเพียงนักบวชเท่านั้น ไม่ใช่พระในธรรมวินัยนี้ เท่านี้ก็แรงพอแล้วนะครับ

ผมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เร่งด่วนมากกว่าครับ เพราะมีการแอบอ้างทั้งอ้างอิงโดยมีเจตนามิชอบซ่อนเร้นอยู่ว่า พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลายในสายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา ได้กล่าวรับรองผลการปฏิบัติของท่าน(คุณก็รู้ว่าใคร)ไว้ว่าเป็นอเสขบุคคล ขั้นนั้นขั้นนี้

ซึ่งเป็นเรื่องน่าคิดพิจารณาเอามากๆว่า คำสอนของท่าน(คุณฯ) มักขัดแย้งกับ คำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย ที่ท่านมักชอบนำเอามาแอบอ้างถึง ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้เลยครับ ที่ท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จะมารับรองคำสอนของท่านอื่น ที่สอนขัดแย้งกับคำสอนของตนเองที่สอนเอาไว้ครับ

3.ผมก็เคารพนับถือพระอาจารย์ทั้ง 2 องค์ เหมือนกันครับ
แต่กระผม ไม่สามารถแยกแยะหรือวินิจฉัยได้ ว่าจริงๆ แล้ว
แค่สอนผิด แค่เป็นเรื่องของภาษา หรือ มีอะไรที่มากกว่านี้ครับ


๓.การที่ท่านนับถือท่านอาจารย์ทั้งสองท่าน ก็คงไม่มีใครว่าอะไรได้ครับ? เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะทำได้ หรือเชื่ออะไรก็ได้ที่ตนเองเชื่อถือ แต่การนับถือศาสนาพุทธนั้น พระพุทธองค์ท่านทรงวางแบบแผนไว้ชัดเจนแล้วนิครับว่า

เมื่อเราได้ล่วงไปแล้ว ให้ท่านทั้งหลาย ถือเอาพระสูตรและพระวินัยเป็นศาสดาของเธอแทนเราต่อไป

ท่านทั้งหลายลองพิจารณาให้ดีๆสิครับว่า
คำสอนของทั้งสองท่าน(ผู้แอบอ้างกับผู้ที่รับรอง)นั้น ต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ

ผมขอยกเอาแค่เรื่องจิตเรื่องเดียว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญทางพระพุทธศาสนา มาเทียบเคียงให้ดู

ท่านหนึ่งสอนว่า จิตมีดวงเดียว จิตไม่เกิดดับ
ที่เกิดดับไปคืออาการของจิตที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์นั้นๆ


อีกท่านหนึ่ง(ผู้แอบอ้าง)สอนว่า จิตมีหลายดวง จิตเกิดดับตลอดเวลา
จิตเป็นตัวทุกข์ มีเก่ามีใหม่ปนเปกันหมด


ทั้งๆที่ในพระบาลีก็กล่าวไว้ออกจะชัดเจนว่า "เอก จรํ" จิตมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไป และครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา ส่วนใหญ่ล้วนสอนตรงกันว่า จิตมีดวงเดียว แต่ละคนนั้นมีจิตเพียงดวงเดียว ของใครของมัน และเป็นที่บันทึกลงไปของกรรมดีกรรมชั่วที่จิตดวงนั้นได้กระทำไว้ครับ

การจะชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายตามพระพุทธพจน์นั้น ต้องชำระที่จิตดวงเดียวที่มีอยู่ของใครของมัน จึงจะถูกต้องตามความเป็นจริง

ส่วนที่เราเห็นเกิดๆดับๆนั้น ล้วนเป็นอาการของจิตที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น ที่แสดงออกมาตามอารมณ์ต่างๆที่จิตเข้าไปยึดไม่เหมือนกัน

จึงทำให้เข้าใจผิดได้ง่ายว่าเป็นจิตคนละดวงกัน แท้จริงแล้วเป็นอาการของจิตที่แสดงอาการออกมาแตกต่างกันไปเท่านั้นเอง
ตลอดเวลาของการเกิดๆ ดับๆ จิตของเราย่อมยืนตัวรู้อยู่ตลอดเช่นกัน ว่ามีอารมณ์อะไรบ้างที่เกิดๆ ดับๆไปแล้ว


แถมท่านยังมีการเอาคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ มาสอนและเพิ่มเติมอีกว่า หลวงปู่ดูลย์ได้สอนคลาดเคลื่อนไปจากที่ควรเป็น (เก่งเกินครู) ทั้งๆที่หลวงปู่ดูลย์นั้น เราชาวพุทธทั้งหลายเชื่อกันว่าท่านเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูง

ท่านไม่เคยคิดพิจารณาหันกลับมามองตนเองเสียบ้างเลย เพราะไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ตนเองยังเป็นผู้เข้าไม่ถึงหัวใจพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วเองต่างหาก จึงเห็นไปว่าครูบาอาจารย์สอนคลาดเคลื่อนไป

โดยที่ตัวผู้ที่ชอบแอบอ้างนั้น ตนเองมีจริยาวัตรที่มักล่วงละเมิดศีลเป็นประจำ
โดยเฉพาะศีล๕ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการปฏิบัติกรรมฐานภาวนา


เจริญในธรรมทุกๆท่าน
ธรรมภูต





Create Date : 14 กันยายน 2552
Last Update : 19 มกราคม 2558 14:58:09 น.
Counter : 908 Pageviews.

79 comments
  
เข้ามาอ่านครับ
เรื่องผิด เรื่องถูก คงต้องปฏิบัติเองจนเข้าใจว่า
เป็นอย่างไร ขอบคุณครับ
โดย: นมสิการ วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:0:31:45 น.
  
จิตและเจตสิก ตกอยู่อำนาจไตรลัษณะ..เพราะฉนั้น ใครที่สอนว่าจิตทีดวงเดียว ผิดแนนนอน ไม่งั้นจะแยก ปรมัติธรรมไว้ 4 รึ.จิตและอาการ และรูป ไม่เที่ยง.นิพพานเท่านั้นมี 1 ง่าวววววว
โดย: ก IP: 10.249.114.135, 203.149.16.36 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:17:44:43 น.
  
คุณ ก IP: 10.249.114.135, 203.149.16.36 จะว่าใครง่าวววววว
ก็ควรศึกษาให้รอบคอบ รอบรู้ก่อนนะคะ
ถ้ายังไม่รู้ จะไม่แสดง ก็ไม่มีใครว่า ง่าวววววว นะคะ

ขออัญเชิญพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงแสดงเรื่องอภิธรรม
และทรงตรัสไว้ว่า จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว

ความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม
พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช


๓. คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ

อภิธรรม คัมภีร์นี้ ถ้าจะเรียนกันโดยลำดับให้ครบถ้วนก็จะต้องใช้เวลานาน
เพราะมีข้อความที่สลับซับซ้อนพิสดารมาก
ฉะนั้น ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปอยู่ในขนาดพันปี
ได้มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อท่าน อนุรุทธะ
ได้ประมวลเนื้อความของอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้
มาแต่งไว้โดยย่นย่อ เรียกว่า คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
แปลว่า สงเคราะห์ คือ สรุปความแห่งอภิธรรม

ยกหัวข้อเป็นสี่คือ
๑. จิต
๒. เจตสิก แปลว่าธรรมะที่มีในใจ
๓. รูป
๔. นิพพาน

ท่านแต่งเป็นคาถาสลับร้อยแก้วแบ่งออกเป็น ๙ ปริเฉท คือ ๙ ตอน
เป็นหนังสือเล่มเล็กๆไม่โตมาก

คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนี้เป็นที่นิยมกันมาก
เมื่อเรียนตามคัมภีร์นี้แล้วไปจับดูอภิธรรม ๗ คัมภีร์
ก็จะเข้าใจได้โดยง่ายโดยตลอด เป็นการเรียนลัด.

พิจารณาดูตามหัวข้อที่ท่านว่าไว้เป็นสี่นี้ตามความเข้าใจ
จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว
จิตจะเป็นต่างๆก็เพราะมีเจตสิก แปลว่าธรรมะที่มีในใจ
มีเจตสิกเป็นอย่างไรจิตก็เป็นอย่างนั้น
เจตสิกจึงเป็นสิ่งที่มีผสมอยู่ในจิต
เทียบเหมือนดั่งว่าน้ำกับสีที่ผสมอยู่ในน้ำ

น้ำโดยปรกติก็เป็นอย่างเดียว
แต่เมื่อใส่สีลงไปน้ำจึงเป็นน้ำสีนั้น น้ำสีนี้ ฉะนั้น

ในอภิธรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวง
ก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง เอาเจตสิกออกแล้ว
จิตก็เป็นอันเดียวเท่านั้น

โดย: สมาชิกผู้ทรงเกียรติ วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:19:49:12 น.
  
จิตและเจตสิก ตกอยู่อำนาจไตรลัษณะ..เพราะฉนั้น ใครที่สอนว่าจิตทีดวงเดียว ผิดแนนนอน ไม่งั้นจะแยก ปรมัติธรรมไว้ 4 รึ.จิตและอาการ และรูป ไม่เที่ยง.นิพพานเท่านั้นมี 1 ง่าวววววว

โดย: ก IP: 10.249.114.135, 203.149.16.36 วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:17:44:43 น.

**************
ท่านกครับ
ท่านกำลังกล่าวร้ายองค์พระศาสดาอยู่นะครับ ท่านไม่ใช่ง่าววววววธรรดาซะแล้วครับ
ในพระบาลี มีพระพุทธวจนะกล่าวไว้ชัดเจนนะครับว่า
"จิตมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไปสู่ที่ไกลได้"

ท่านครับท่านลองบอกผมหน่อยสิครับว่า
ท่านเองนั้นมีจิตกี่ดวง ดวงไหนใช้ทำหน้าที่อะไรบ้าง???

ถ้าไม่รู้ก็ไม่ต้องเดาสวดก็ได้นะครับ ถ้าอยากหายง่าววววว
ก็ไปขอขมาพระรัตนตรัยซะโดยเร็ว
และลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา จะได้รู้ซะทีว่าจิตมีกี่ดวง....


ธรรมภูต




โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:20:10:44 น.
  
บางทีอาจจะไม่มีใครถูก หรือ ผิดก็ได้ครับ
จุดหมายนิพพานนั้นอาจจะดูไกลมากสำหรับคนส่วนใหญ่

ทุกวันนี้เอาแค่ทำยังไงให้ประเทศชาติ และสังคมสงบสุขก็พอเป็นพื้นฐานก่อน

ก็น่าจะพอก่อนเนอะครับ

โดย: อัสติสะ วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:8:27:43 น.
  
ครับท่านอัสติสะ
ท่านใช้คำว่าบางทีอาจจะไม่มีใครถูก หรือผิดก็ได้นั้น ผมเห็นว่าไม่ถูกต้องครับท่าน
ศาสนานะครับ ถูกคือถูก ผิดคือผิด ใช่คือใช่ ไม่ใช่คือไม่ใช่ครับ
ก็เพราะหยวนๆกันนี้หละครับ จึงทำให้ศาสนาเรียวลงๆทุกวัน

ประเทศชาติจะสงบสุขได้อย่างไร? ในเมื่อสายดูจิตๆมีหลายดวง จะให้ดวงไหนสงบสุขดีหละครับ
ซึ่งแตกต่างจากสายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา ซึ่งสอนว่า "ผู้ใดสำรวมจิต ที่มีดวงเดียว"
เมื่อรู้จักสำรวมจิตให้สงบตั้งมั่น ความสงบพื้นฐานก็เกิดขึ้นที่จิต
ความสงบสุขในสังคมย่อมเกิดขึ้นและทำให้สังคมไม่สับสนใช่มั้ยครับ???


ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:8:05:41 น.
  
เรียนคุณอัสติสะ

เราเป็นคนหนึ่งที่เอาจริงเอาจังกับการภาวนาเพื่อหวังพ้นทุกข์ แต่ในขณะเดียวกันในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งของโลก เราไม่เคยดูดายกับการลุ้นและทำตัวให้เป็นประโยชน์เพื่อสันติสุขของสังคมเลย เราเชื่อว่าคุณและนักภาวนาจำนวนไม่น้อยก็ทำเหมือนเรา

แต่ประเด็นปัญหาที่เราถกกันในบล็อคนี้ก็คือว่า มีการสอนผิดพลาดมากมาย ที่เอาเข้าจริงแล้วผลการปฏิบัติเป็นได้แค่ทำให้คนเป็นคนดีและมีความสุข ซึ่งมันเป็นคนละเรื่องกับการบรรลุธรรมเข้าสู่สภาวะพ้นทุกข์ถาวร

ถ้าหากคำสอนของหลายสำนักพูดความจริงว่า ท่านจงมาตามรู้ตามดูอาการของจิตกันเถิด เราขอรับรองว่าท่านจะมีความสุขในชีวิต แต่อย่าหวังนิพพานจากแนวทางนี้นะ

ถ้าสอนอย่างนี้เสียตั้งแต่ต้น จะไม่มีวิวาทะใดๆ เกิดขึ้นเลยค่ะ
โดย: ต้นหอม IP: 202.176.92.2 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:8:27:56 น.
  
เรียนคุณ ก ค่ะ

เรามีแผนจะขึ้นไปกราบพระพุทธบาท 4 รอย เร็วๆ นี้
จะฝากแผ่นทองคำเปลว หรือพานธูปเทียนแพไหมคะ

คุณรีบร้อนแสดงทัศนะ จนเราใจหายแทน

โดย: ต้นหอม IP: 202.176.92.2 วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:8:35:03 น.
  
ครับท่านต้นหอม

ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ยังสอนให้สานุศิษย์เข้าใจว่า
การปฏิบัติแบบอื่นๆที่ต่างจากตนเองสอนนั้นผิดทั้งหมด
ไม่ใช่ทางแห่งการพ้นทุกข์นอกจากวิธีดูจิตเท่านั้นจึงจะข้ามโคตรได้

ทั้งๆที่การดูจิตที่สอนอยู่นั้น เป็นเพียงการเฝ้าดูอาการของจิตเท่านั้น
อย่างมากที่สุด ปฏิบัติก็จะติดอยู่เพียงรู้อาการของจิตเร็วขึ้นเท่านั้น
หรือเรียกว่า "ติดดีในดี" การจะข้ามโคตรนั้นดูไปแล้วเป็นไปได้ยากครับ...

ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 20 กันยายน 2552 เวลา:8:28:35 น.
  
ขอบคุณมากครับ คำถามผมถ้าเป็นกระดาน เพื่อนบ้านคงโดนเละ คุณธรรมภูติ ได้กรุณาตอบด้วยเหตุ และ ผล ก็ดีนะครับที่เปิดโอกาสให้ ถกกันอย่างสุภาพ ขอชมเชยครับ เพิ่งฟัง ธรรมะ ตัดแปะ กับ จิตว่างจบ ครับ
โดย: anonymous IP: 125.25.14.68 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:9:19:39 น.
  
เห็นด้วยกับคุณต้นหอมค่ะ

มีพุทธศาสนิกชนทั้งที่เป็นนักบวชและฆราวาสหลายสำนักบนโลกนี้ที่สอนวิธีทำให้มีความสุขในปัจจุบัน โดยไม่เคยเอานิพพานมาเป็นจุดขาย อย่างนี้สิน่ากราบน่าไหว้มากกว่า

เพราะคนเรามีหลากหลาย แต่นี่ถึงขั้นแก้แหลก เปลี่ยนแหลก คำสอนของครูบาอาจารย์ที่ปากก็บอกว่านับถือสุดใจก็ไม่เว้น แล้วดึงเอาคำสอนของตัวเองมาเป็นตัวตั้ง แบบนี้ตั้งใจทำลายคำสอนที่แท้ชัดๆ มีจุดประสงค์อันใดซ่อนเร้นอยู่ฤาทั่น

ระวังบาปกรรมจะตามทัน ชาตินี้เกิดมาเก่งจีเนียสสุดๆ แล้วใช้มันมาประหัตประหารตัวเอง ชาตินี้ไม่อยากนึกภาพเลย
โดย: พุทโธ IP: 124.120.217.176 วันที่: 22 กันยายน 2552 เวลา:12:02:37 น.
  
ลองไปอ่านดีๆ อีกหลายเที่ยวนะ แล้วคุณจะเข้าใจ นะธรรมภูต
โดย: ผมเอง IP: 202.176.88.176 วันที่: 19 ตุลาคม 2552 เวลา:17:27:14 น.
  
ขออนุญาตตอบ...

เข้าใจน่ะ เข้าใจได้

แต่ใจไม่เข้า เข้าไม่ถึงใจ

คนดูจิต เข้าได้ถึงมั้ย-ใจน่ะ

ดูเฉยๆ ชื่อดูจิต เหมือนจะดี

แท้จริงแล้ว ก็แค่กลวงงงงงงงงงงง เพราะถูกลวงงงงงงงง ให้งมงาย ทำได้แค่ตามดูอาการของจิต

่พ่อแม่ครูอาจารย์ สอนมานานบอกให้ฆ่า ให้ฝืนตัวกิเลส
แต่นี่หยาม มาบังอาจลบคำสอน บอกให้แค่เข้าใจเอง
แล้วปล่อยวาง ได้มรรคผล ในที่สุด

อุเหม่ สอนไปด้ายยย พวกนอกรีต ฤานิครน กลับชาติมาเกิด ล้างผลาญศาสนาของตถาคต
โดย: ดีน่า IP: 124.122.163.12 วันที่: 21 ตุลาคม 2552 เวลา:14:32:59 น.
  
อยากฝากไว้...เมื่อได้ข้อมูลใดๆ มา ควรที่จะ...

1.สอบถามหาแหล่งข้อมูลที่แท้จริงก่อน ถ้าเป็นข้อมูลที่บอกต่อๆ กันมา ก็ให้รับฟังไว้ อย่าเพิ่งปักใจเชื่อทันที (ตามหลักกาลามสูตร)

2.เนื้อหาเรื่องนี้เป็นความจริงหรือไม่ ก็ต้องหาข้อมูลเสียก่อน ที่จะด่วนตัดสินสรุป โดยเอาทิฏฐิของตัวเองเข้าไปร่วมด้วย
(การเอาข้อมูลธรรมะหรือข้อมูลใดๆ เพียงบางส่วนมาเปรียบเทียบ เป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรง ส่งผลเสียมามาก มีตัวอย่างให้เห็น แต่คุณก็ยังทำ การฟังธรรมต้้องฟังให้ต่อเนื่อง ให้นานๆ ให้เข้าใจเจตนาของผู้สื่อสารอย่างลึกซึ้ง ของทั้งสองฝ่ายให้ดีเสียก่อน ไม่ใช่รับมาเพียงบางส่วนเห็นว่าไม่ตรงกัน ก็สงสัย แต่ไม่สืบหาความจริงให้แน่นอน ก็ชิงตัดสินด้วยทิฎฐิตน คิดหรือว่า ทิฎฐิของตนจะถูกต้องเสมอ กิเลสหลอกเอาอีกแล้ว...แต่ไม่รู้)

3.เมื่อยังไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง ก็ควรที่จะอยู่ในความสงบและสำรวม กาย วาจา ใจ ไว้ (ควรรู้เท่าทันกิเลสในใจตัวเอง)
ถ้าอดทนไม่ได้ ก็แสดงว่า กิเลสยังชนะคุณอยู่เสมอ...แต่ไม่เคยรู้ตัว เรื่องนี้ควรปรับปรุง ไม่ใช่ติเตียนผู้ท้วงติง

อีกอย่าง เอาเวลาอันมีค่าใฝ่หาความรู้ทางธรรมเพิ่มเติม เป็นการเพิ่มกุศลแก่ตนเอง จะเป็นการดีกว่า เพราะว่าถ้าคิดจะเผยแผ่ธรรมะ นั่นเป็นเรื่องดีและสำคัญ ผู้เผยแผ่ก็ควรที่จะศึกษาและปฏิบัติให้รู้มากๆ รู้จริงๆและตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์ จะประเสริฐยิ่งและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นมาก

อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น ถ้าคำใดของข้าพเจ้าที่เป็นเหตุให้ท่านทั้งหลายยอมรับไม่ได้ เกิดโทสะ ก็ขออโหสิกรรมด้วยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ /\\
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.166 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:19:51:57 น.
  
โปรดศึกษาข้อมูลเรื่อง จิต ให้ชัดเจนอีกที...

รูปนาม (ขันธ์ 5) ล้วนตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ เหตุใด จิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนาม หรือที่เรียกว่า วิญญาณขันธ์ จึงไม่ตกอยู่ในกฏนั้น

//www.buddhism-online.org/Section02A_05.htm

ส่วน พระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงแสดงเรื่องอภิธรรมและทรงตรัสไว้ว่า จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว

ตรงนี้ไม่ได้ขัดแย้งต่อคำตรัสของท่าน /\\ ผู้ปฏิบัติแล้ว ย่อมรู้ด้วยตัวเอง (ปัจจัตตัง) แต่บางทีเพราะความไม่รู้ อาจจะตีความสำนวนของท่านผิดไปก็ได้ จึงขอแย้งเพื่อให้ทบทวน แต่ถ้ายังยึดทิฎฐิเดิม ก็ไม่ว่ากันค่ะ เพราะข้าพเจ้าก็ไม่ใช่ผู้รู้เหมือนกัน มีแต่ข้อมูล จึงตัดสินไม่ได้ ก็จะหาข้อมูลเพิ่มต่อไป













โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.166 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:20:29:06 น.
  
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
แบบนี้ชาวบ้านเค้าไม่ได้เรียกว่ายังหวังดีนะ เค้าเรียกว่าดูเหมือนว่ายังหวังดี แต่แอบเหน็บเล็กๆ
ที่ผมเรียกท่านหายนะนั้นคงไม่ผิดหรอกนะ เพราะเค้าบอกว่าจะนำจขบ.ออกจากหายนะ
แสดงว่าเค้าต้องเข้าไปที่หายนะมาก่อน และคุ้นเคยกับหายนะดีเอามากๆ จึงสามารถเอาผมออกมาได้
แบบนี้ไม่ให้ผมเรียกว่าท่านหายนะ จะให้ผมเรียกว่าอะไรดีหละ

ท่านเองก็ยังแอบเหน็บผมเลยตามนิสัยถาวรของท่านว่า
"โดยเฉพาะคุณธรรมภูต (จขบ) การที่คุณเรียกว่าเขาว่า ท่านหายนะ
ก็บ่งบอกถึงจิตใจที่มืดบอด ปราศจากเมตตา เป็นอย่างดี"


๑.ท่านครับอย่าเข้าใจสับสนว่า ข้อมูลฟังๆกันมา ข้อมูลมาจากเจ้าของที่แอบเขียนเองกับมือเลย

๒.ท่านเองไม่รู้หรือแกล้งไม่รู้เพราะศรัทธาบังตา
คนเขียนบทความเอง พยายามที่จะสื่อให้เห็นความเหนือกว่า พระบรมครูและพ่อแม่ครูบาอาจารย์
โดยที่ตนเองพยายามบอกแล้วบอกเล่าว่าเคารพพ่อแม่ครูบาอาจารย์
แต่กลับพูดหน้าตายว่า ท่านพระอาจารย์หลวงปู่ดูลย์กล่าวธรรมคลาดเคลื่อน

๓.ท่านครับ จะไม่ให้ผมติเตียนได้ไงหละ ในเมื่อกล้าเข้ามาสนทนา ควรเอาเนื้อธรรมมาว่ากันสิ
ไม่ใช่มาพูดแบบอ้อมไปอ้อมมาว่า ผมกำลังหลงผิด ใครกันแน่ที่กำลังหลงผิดอยู่???

ท่านเองก็รู้นิว่า เวลาเป็นของมีค่า เคยหันกลับมาพิจารณาตัวเองบ้างมั้ยว่ากำลังเดินหลงทาง
ไปกับภาพลักษณ์ที่มีคนสร้างขึ้นมา เพื่อให้เห็นเป็นเช่นนั้นเอง(ข้างในกลวง)

ก่อนที่ผมจะเอาธรรมเนื้อมาวิพากษ์วิจารณ์นั้น
ผมเองได้สมาทานการดูจิตแบบที่สอนอยู่ มาก่อนแล้วอย่างจริงจัง
แต่เมื่อเห็นแล้วว่า ไม่ใช่ทาง อย่างมากก็แค่ทำให้รู้อารมณ์เร็วขึ้นเท่านั้น แต่ปล่อยวางอารมณ์ไม่เป็น
ทำให้คนส่วนใหญ่ที่ฝึกมาทางด้านนี้ หลงตนเองว่าดีกว่าชาวบ้านชาวช่องทั่วไป
เพราะสามารถรู้อารมณ์ได้เร็วขึ้นและเปลี่ยนมาเป็นการกดอารมณ์ให้รู้เฉยๆในขณะที่ภายในยังครุกรุ่น

ความคุ้นชินกับอารมณ์เพราะชอบคลุกคลีกับอารมณ์ทำให้เก็บอาการเก่งกว่าชาวบ้านเท่านั้นเอง
ไม่ได้รู้จักวิธีปล่อยวางอารมณ์ออกจากจิตเลย คุ้นชินแต่อาการของจิตเท่านั้น

ด้วยความปรารถนาดี กลับตัวกลับใจนะ ยังทัน จะได้ไม่เนิ่นช้าเพราะติด"ดีในดี"

ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:22:04:04 น.
  

โปรดศึกษาข้อมูลเรื่อง จิต ให้ชัดเจนอีกที...

รูปนาม (ขันธ์ 5) ล้วนตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ เหตุใด จิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนาม หรือที่เรียกว่า วิญญาณขันธ์ จึงไม่ตกอยู่ในกฏนั้น

//www.buddhism-online.org/Section02A_05.htm

ส่วน พระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงแสดงเรื่องอภิธรรมและทรงตรัสไว้ว่า จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว

ตรงนี้ไม่ได้ขัดแย้งต่อคำตรัสของท่าน /\\\\ ผู้ปฏิบัติแล้ว ย่อมรู้ด้วยตัวเอง (ปัจจัตตัง) แต่บางทีเพราะความไม่รู้ อาจจะตีความสำนวนของท่านผิดไปก็ได้ จึงขอแย้งเพื่อให้ทบทวน แต่ถ้ายังยึดทิฎฐิเดิม ก็ไม่ว่ากันค่ะ เพราะข้าพเจ้าก็ไม่ใช่ผู้รู้เหมือนกัน มีแต่ข้อมูล จึงตัดสินไม่ได้ ก็จะหาข้อมูลเพิ่มต่อไป

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.166 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:20:29:06 น.
..............................................
ความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

อภิธรรม คัมภีร์นี้ ถ้าจะเรียนกันโดยลำดับให้ครบถ้วนก็จะต้องใช้เวลานาน
เพราะมีข้อความที่สลับซับซ้อนพิสดารมาก

ฉะนั้น ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปอยู่ในขนาดพันปี
ได้มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อท่าน อนุรุทธะ ได้ประมวลเนื้อความของอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้
มาแต่งไว้โดยย่นย่อ เรียกว่า คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
แปลว่า สงเคราะห์ คือ สรุปความแห่งอภิธรรม
ยกหัวข้อเป็นสี่คือ
๑. จิต
๒. เจตสิก แปลว่าธรรมะที่มีในใจ
๓. รูป
๔. นิพพาน
ท่านแต่งเป็นคาถาสลับร้อยแก้วแบ่งออกเป็น ๙ ปริจเฉท คือ ๙ ตอนฯลฯ

พิจารณาดูตามหัวข้อที่ท่านว่าไว้เป็นสี่นี้ ตามความเข้าใจ
จิตนี้เป็นตัวยืน โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว
จิตจะเป็นต่างๆก็เพราะมีเจตสิก

แปลว่าธรรมะที่มีในใจ มีเจตสิกเป็นอย่างไรจิตก็เป็นอย่างนั้น
เจตสิกจึงเป็นสิ่งที่มีผสมอยู่ในจิต
เทียบเหมือนดั่งว่าน้ำกับสีที่ผสมอยู่ในน้ำ

น้ำโดยปรกติก็เป็นอย่างเดียว
แต่เมื่อใส่สีลงไปน้ำจึงเป็นน้ำสีนั้น น้ำสีนี้

ฉะนั้น ในอภิธรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวง ก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง
แยกเจตสิกออกแล้ว จิตก็เป็นอันเดียวเท่านั้น แจกออกไปเป็นอย่างไรมิได้ ฯลฯ

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:22:16:22 น.
  
สันตินันท์ (หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)

หรือถ้าดูจิตที่เกิดดับทางตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่ได้นะ
นี่บางคนดูไม่ไหวดูยาก เราดูจิตซึ่งเป็นกุศลบ้างเป็นอกุศลบ้าง
เช่นจิตเผลอไปคิด จิตเผลอไปคิดนี่มันอันนึงนะ
พอเรารู้สึกว่าจิตเผลอไปคิดนี่ จิตที่เผลอไปคิดดับไปแล้ว
เกิดจิตที่รู้สึก รู้ว่าตะกี้เผลอไปคิด เป็นจิตอีกดวงหนึ่งเกิดขึ้น

นี่จิตที่รู้สึกตัวนี่อยู่ชั่วคราว เดี๋ยวก็เผลอไปคิดครั้งใหม่
จิตที่รู้สึกตัวก็ดับ เกิดจิตที่หลงไปคิดใหม่
นี่เห็นอย่างนี้เรื่อยๆนะ เดี๋ยวก็หลงไปเดี๋ยวก็รู้สึก เดี๋ยวก็หลงไปเดี๋ยวก็รู้สึก
.....................................

ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ผมยกบทความมาให้ท่านเปรียบเทียบกับของสมเด็จพระสังฆราชดูว่า ขัดกันมั้ย???

และผมมีคำถามว่า เมื่อจิตเกิดดับ กรรมที่ทำลงไป0tบันทึกที่จิตดวงไหน???
ถ้าตอบว่าดวงที่ดับไป ในเมื่อดับไปแล้ว(ไม่เหลือซาก)เอาอะไรมาใช้กรรมที่กระทำไปหละ???

ธรรมภูต




โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:8:00:41 น.
  
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ผมยกบทความมาให้ท่านเปรียบเทียบกับของสมเด็จพระสังฆราชดูว่า ขัดกันมั้ย???

และผมมีคำถามว่า เมื่อจิตเกิดดับ กรรมที่ทำลงไป0tบันทึกที่จิตดวงไหน???
ถ้าตอบว่าดวงที่ดับไป ในเมื่อดับไปแล้ว(ไม่เหลือซาก)เอาอะไรมาใช้กรรมที่กระทำไปหละ???

ธรรมภูต
---------------------------------------------------------
เรียน คุณธรรมภูต

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า ข้าพเจ้าไม่ได้มีความรู้ในทางธรรมะมากมาย และเข้าใจว่า คุณอาจจะมีความรู้มากกว่าด้วยซ้ำไป จึงตั้งใจที่จะเผยแผ่ธรรมะ

เพียงแต่สิ่งที่จะนำมาสนทนาก็เป็นเพียงข้อมูลที่ได้มาเท่านั้น ไม่ได้เกิดจากความรู้ในตนเอง จึงไม่ขอรับรองใดๆว่า สิ่งที่ยกมานั้นถูกต้องแล้ว

สิ่งที่หลวงพ่อและสมเด็จพระสังฆราชกล่าว จะขัดกันไหม ถ้าดูรูปประโยค ก็ต้องบอกว่า ไม่ตรงกัน แต่ถ้าดูที่เจตนาในการสื่อ ตรงนี้ตอบไม่ได้ ดังนั้นขอยกไว้ก่อน ไม่กล้าพาดพิงถึงค่ะ

จากที่เคยศึกษามา (ยังไม่มาก) ทราบว่า

จิต มีชื่อเรียกไปต่างๆ ทั้งหมด 10 ชื่อ

อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑0. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ

สามัญญลัษณะของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการ
คือ

จิตนี้เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล
จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ จึงมีอาการเกิดดับ
จิตนี้เป็นอนัตตา คือ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน (มีอยู่จริง แต่อยู่ไม่นานก็ดับ) เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ให้เกิดดับไม่ได้

และจิตเกิดดับสืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วมาก เสมือนเปลวไฟที่มองด้วยตาปุถุชนธรรมดา ย่อมเห็นว่า ไฟนั้นเป็นดวงเดียว ดวงเดิมตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริง มันเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ต่างหาก

ฉันใดก็ฉันนั้น การสืบต่อนั่นเอง ทำให้การเกิดดับอย่างรวดเร็ว เสมือนว่า มันคงสภาพนั้นอยู่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ

และ จิตย่อมเกิดดับพร้อมกับเจตสิก..เสมอ

เจตสิกปรมัตถ์

เพราะปรากฏการณ์ที่เป็นโลก เป็นชีวิตในสายตาของ พุทธะ คือ การที่ จิตรู้อารมณ์ แต่ในการที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น จะต้องมี เจตสิก อย่างน้อยที่สุดเกิดประกอบร่วมรู้อารมณ์ด้วยเสมอไป จิตซึ่งไม่มีเจตสิกประกอบด้วยเลยจึงมีไม่ได้

เจตสิก คือ ธรรมชาติประกอบจิต เจตสิกเป็นธรรมชาติรู้เช่นเดียวกับจิต ดังนั้นจึงมีลักษณะ 4 ประการคือ

(1) เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดขึ้นของจิต

(2) ดับลงพร้อมกับการดับลงของจิต

(3) ในขณะที่ดำรงอยู่นั้น มีอารมณ์อันเดียวกับจิต

(4) มีที่อาศัยเกิดอย่างเดียวกับจิตดวงที่ตนเกิดดับมีอารมณ์ร่วมด้วยนั้น

จะเห็นได้ว่า เจตสิกกับจิตแยกกันไม่ได้ เมื่อมีจิตก็ต้องมีเจตสิกประกอบอยู่ด้วย และรับรู้กระทำหน้าที่ต่ออารมณ์เดียวกันด้วยเสมอ ส่วนเจตสิกจะเกิดขึ้นโดยลำพัง โดยไม่มีจิตเป็นประธานก็ไม่ได้เช่นกัน

//suvinai-dragon.com/buddhabucha37.html

ข้อความด้านบนทั้งหมดที่ยกมานี้ คงจะพอให้คำตอบกับคำถามด้านล่างของคุณได้นะคะ

และผมมีคำถามว่า เมื่อจิตเกิดดับ กรรมที่ทำลงไป0tบันทึกที่จิตดวงไหน???
ถ้าตอบว่าดวงที่ดับไป ในเมื่อดับไปแล้ว(ไม่เหลือซาก)เอาอะไรมาใช้กรรมที่กระทำไปหละ???

ต้องไม่ลืมว่าจากด้านบน จิตไม่ได้มีหน้าที่ จำ แต่จิตเกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกอย่างสัญญา (จำได้หมายรู้)
อีกทั้งมีเจตสิกอื่นเกิดร่วมด้วย จึงมีการปรุงแต่งว่า นั้นถูกนี้ผิดเกิดขึ้น และปรุงแต่งอื่นๆ อีกมากมาย พิศดารนัก

และที่ว่า เจตสิกที่ประกอบเข้ากับจิต ก็คือ อาการของจิต นั่นเอง ก็ถูกแล้ว

ดังนั้น ที่ว่าดูจิต ตามที่ข้าพเจ้าเข้าใจ ก็คือ ดูอาการของจิต ก็ไม่น่าจะผิด (เพราะ จิตเกิดพร้อมกับเจตสิก...เสมอ จึงยังมองไม่ออกว่า จะดูจิต โดยไม่มีเจตสิก ได้อย่างไร)

การเจริญสติ คือ การทำความเข้าใจตามความเป็นจริง ของรูปนาม หรือ กายใจนี้ ให้ปัญญาเกิดขึ้น

เมื่อจิต เกิดพร้อมกับ เจตสิก ก็คือ ความจริง อย่างหนึ่ง
การดูจิต ก็คือการ ดูความจริง อย่างหนึ่ง นั่นเอง...

ทั้งหมดไม่ใช่ข้อสรุป แต่มีความเห็นอย่างนั้นค่ะ (คุณก็อย่าเพิ่งเชื่อเลยค่ะ หาข้อมูลประกอบไปเรื่อยๆ ดีกว่า)

ทุกคนเกิดมา (ถ้าไม่หลงระเริงกับโลก) ก็มีหน้าที่เข้ามาหาความจริงของชีวิต แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่า ได้ศึกษากับพระอรหันต์หรือพระอริยะโดยตรงแล้วต้องบรรลุทุกคน เพราะต้องไม่ลืมว่า...กิเลสและอินทรีย์แต่ละคนสั่งสมหรือขัดเกลากันมาไม่เท่ากัน (ศึกษาเพิ่มจากหลัก ปฏิปทา 4)

ถูกผิดมีแต่พระอรหันต์ผู้รู้แจ้งแล้วเท่านั้นจะตัดสินได้ ใครผิดทางใครถูกทาง ปุถุชนยังไม่ควรทำเช่นนั้น

ขออนุโมทนาค่ะ /\\
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.198.45 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:14:51:29 น.
  
ฝากลิงค์นี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ
//www.nkgen.com/jit.htm
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.198.45 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:15:08:02 น.
  
ท่านเองก็ยังแอบเหน็บผมเลยตามนิสัยถาวรของท่านว่า
"โดยเฉพาะคุณธรรมภูต (จขบ) การที่คุณเรียกว่าเขาว่า ท่านหายนะ
ก็บ่งบอกถึงจิตใจที่มืดบอด ปราศจากเมตตา เป็นอย่างดี"

ธรรมภูต
----------------------------------------------------------
เรียน คุณธรรมภูต

เพื่อไม่ให้เป็นความขุ่นเคืองติดอยู่ในใจ ก็ถือโอกาสขออโหสิกรรม อีกครั้งนะคะ

ที่เจตนาเข้ามาแสดงความเห็น เพียงแค่ไม่อยากเห็นใครปรามาสใครโดยที่ยังไม่รู้ความจริง ซึ่งคุณเองก็น่าจะทราบแก่ใจว่า มันเป็นบาปอกุศลทั้งสิ้น

แต่จะแสดงความเห็นเฉพาะเนื้อหาธรรมะในมุมมองที่คิดว่า แตกต่าง ตรงนั้นก็ไม่แปลกอะไร เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ

***ลืมไปค่ะ ที่คุณปรามาสว่า เป็นนิสัยถาวร ขอบอกว่า ไม่จริงค่ะ (คุณรู้ได้อย่างไร) แต่ไม่ถือนะคะ แค่มีโอกาสแจ้งให้ทราบก็สบายใจแล้ว กลัวจะเข้าใจผิด ^^
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.198.45 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:16:33:24 น.
  
● จิตในพระอภิธรรมมีชื่อสำหรับเรียกขานเป็นไวพจน์แทนกันได้ ถึง ๑๐ ชื่อ ดังนี้คือ
จิต, มโน, หทัย, มนัส, ปัณฑระ, มนายตนะ,
มนินทรีย์, วิญญาณ, วิญญาณขันธ์, มโนวิญญาณธาตุ


ความหมายของจิตแต่ละคำเหล่านี้
สามารถใช้แทนกันและมีใช้กันอยู่ในภาษาธรรมะโดยทั่วไป

ดังนั้น จากเงื่อนไขของคำอธิบาย ในคัมภีร์พระอภิธรรมที่ยกมาทั้งหมดนี้
ที่ว่า มีจิตจะต้องมีอารมณ์ และจะต้องรับอารมณ์ด้วยเสมอ นั้น
ย่อมแสดงความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า

ชื่อจิตที่ใช้เรียกแทนกันทั้ง ๑๐ ชื่อเหล่านี้
เป็นจิตที่ถูกอารมณ์เข้าผสมปรุงแต่ง จนผิดไปจากสภาพเดิมแล้ว
ไม่ใช่ธาตุแท้ จึงเป็น จิตสังขาร


เมื่อเป็น จิตสังขาร ก็ย่อมมีการเกิดขึ้นและดับสลายไปเป็นธรรมดา
หมายความว่า
ไม่สามารถรับรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้อย่างถาวรตลอดกาลได้
เมื่อเรื่องหนึ่งดับไปจากการรับรู้แล้ว
ก็ย่อมมีเรื่องอื่นทยอยกันเข้ามาสู่จิตต่อไปอีกตามลำดับ

เพราะฉะนั้น จิตสังขารในคัมภีร์พระอภิธรรม ที่เรียกกันในนามว่า "จิต" นี้
จึงเป็น วิบากจิต (ผลของการรับรู้อารมณ์แต่ละอย่าง)เท่านั้น

ไม่ใช่ฐานรองรับบุญและกรรมใดๆ
เกิดขึ้นแล้วก็ย่อมดับไปตามอารมณ์เป็นธรรมดา

ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจิตชนิดใดเกิดขึ้นหรือดับไปก็ตาม

จากตัวอย่างที่ยกมาแสดงนี้ จะเห็นได้ว่า
จิตในพระอภิธรรม ซึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไปเป็น จิตสังขาร

ส่วน จิตของผู้ปฏิบัติ นั้น ดำรงสภาพ รู้ ของ ตนเอง อยู่ตลอดทุกกาลสมัย
ไม่ได้ดับตามจิตสังขารไปด้วยแต่ประการใดทั้งสิ้น


อ่านเต็มๆที่นี่ครับ

โดย: หนูเล็กนิดเดียว วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:18:00:27 น.
  
นักธรรมะฝ่ายพระสูตรว่า
อารมณ์เกิด-ดับ แต่จิตไม่ได้เกิด-ดับ


ส่วนนักธรรมะฝ่ายพระอภิธรรมก็ว่า
ทั้งจิตและอารมณ์เกิด-ดับพร้อมกันหมด


ดังนี้ จึงจำเป็นต้องหาเหตุผลมาแสดงให้เห็นชัดดังต่อไปนี้ คือ

สมมุติว่า มีหลอดกระแสไฟฟ้าตรงต่ออยู่กับสายไฟฟ้า
และเปิดสวิตช์อยู่หลอดหนึ่ง

แสงที่หลอดไฟฟ้าส่องออกมา ย่อมใสสว่างจ้าตลอดเวลา
อุปมาเหมือนดัง จิต

ต่อจากนี้ไป,ถ้าเราเอาโป๊ะกระจกสีต่างๆมาครอบหลอดไฟฟ้าหลอดนี้
อุปมาเหมือนดัง อารมณ์ที่เข้ามาปรุงแต่งจิต

แสงไฟฟ้าย่อมมีสีเหมือนกับสีของโป๊ะกระจกครอบหลอดไฟฟ้านั้นทุกประการ
ทั้งนี้หมายความว่า
ถ้าเราใช้โป๊ะสีเขียวครอบ แสงไฟฟ้าก็ย่อมกลายเป็นสีเขียว
ถ้าเราใช้โป๊ะสีแดงครอบ แสงไฟฟ้าก็ย่อมกลายเป็นสีแดง
และถ้าเราใช้โป๊ะสีเหลืองครอบ แสงไฟฟ้าก็ย่อมกลายเป็นสีเหลืองตามไปด้วย
แล้วแต่ว่าจะใช้โป๊ะสีใดมาครอบหลอดไฟฟ้าไว้
แสงไฟฟ้าก็ย่อมเปลี่ยนสีตามไปด้วยเสมอ

ตามอุทธาหรณ์ที่ยกขึ้นมาแสดงนี้
เราจะเห็นได้ว่า แสงไฟฟ้า กับ สีของโป๊ะ เป็นคนละอย่าง

กล่าวให้ชัดก็คือ
แสงไม่ใช่สี และ สีก็ไม่ใช่แสง แต่มาผสมกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน

จิตผู้รู้(พุทโธ)ย่อมแยกอารมณ์ออกจากกันได้เป็นคนละส่วน
แต่สามัญชนย่อมยึดติดเป็นอันเดียวกันและไม่ยอมแยกออกจากกัน
จึงพูดบรรยายออกมาเหมือนที่ตนเห็นทุกประการ


ในพระอภิธรรมอธิบายว่า
แสงสีเขียว(แสงผสมกับสี)เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
แสงสีแดงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
แสงสีเหลืองเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ดังนี้

แต่โดยข้อเท็จจริงนั้น เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไปนั้น คือ สีที่ปรุงแต่งแสงอันใสสว่าง ที่มีอยู่ด้วยต่างหาก
แต่ตัวแสงสว่างเดิมนั้น มิได้เกิดดับตามไปด้วย
โดย: หนูเล็กนิดเดียว วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:18:04:20 น.
  
เรียน คุณธรรมภูต

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า ข้าพเจ้าไม่ได้มีความรู้ในทางธรรมะมากมาย และเข้าใจว่า คุณอาจจะมีความรู้มากกว่าด้วยซ้ำไป จึงตั้งใจที่จะเผยแผ่ธรรมะ

เพียงแต่สิ่งที่จะนำมาสนทนาก็เป็นเพียงข้อมูลที่ได้มาเท่านั้น ไม่ได้เกิดจากความรู้ในตนเอง จึงไม่ขอรับรองใดๆว่า สิ่งที่ยกมานั้นถูกต้องแล้ว

สิ่งที่หลวงพ่อและสมเด็จพระสังฆราชกล่าว จะขัดกันไหม ถ้าดูรูปประโยค ก็ต้องบอกว่า ไม่ตรงกัน แต่ถ้าดูที่เจตนาในการสื่อ ตรงนี้ตอบไม่ได้ ดังนั้นขอยกไว้ก่อน ไม่กล้าพาดพิงถึงค่ะ

จากที่เคยศึกษามา (ยังไม่มาก) ทราบว่า

จิต มีชื่อเรียกไปต่างๆ ทั้งหมด 10 ชื่อ

อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑0. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.198.45 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:14:51:29 น.
............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ที่ท่านยกเอาอรรถกถาจารย์มาอ้างอิงทั้ง๑๐ข้อนั้น ล้วนเป็นจิตสังขารทั้งสิ้น
๑. ท่านเคยรู้โดยไม่ต้องคิด(ปรุงแต่ง)ใช่มั้ย???
๒. เมื่อท่านรู้อยู่ที่รู้เป็น ท่านต้องน้อมออกไปหาอารมณ์รึ???
๓. ที่จิตรวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน เพื่อเป็นธรรมารมณ์ไว้จดจำ คิด นึกใช่มั้ย???
๔. จิตที่อยู่ในโลกล้วนรู้แล้วเป็นยึด(ฉันทะ)ทั้งนั้นใช่มั้ย???
๕. จิตเดิมนั้นประภัสสรผ่องใส ที่เศร้าหมองไปเพราะมีกิเลสเป็นแขกจรใช่มั้ย???
๖. มนายตนะ เป็นช่องทางหนึ่งของจิตในการรับรู้อารมณ์ใช่มั้ย???
๗. แน่นอนต้องครองความเป็นใหญ่ในการรู้รับอารมณ์ทางใจใช่มั้ย???
๘.๙.ข้อนี้พูดถึงวิญญาณขันธ์
๑๐. วิญญาณธาตุ(ธาตุรู้) ในพระสูตรกล่าวไว้ว่ามโนวิญญาณธาตุอันเกิดแต่วิญญาณขันธ์นั้น

มีในพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า
"เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้"


แสดงให้เห็นว่า จิตสามารถอบรมให้เป็นที่พึ่งได้ และควบคุมบังคับได้ใช่มั้ย???

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:22:04:43 น.
  
สามัญญลัษณะของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการ
คือ

จิตนี้เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล
จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ จึงมีอาการเกิดดับ
จิตนี้เป็นอนัตตา คือ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน (มีอยู่จริง แต่อยู่ไม่นานก็ดับ) เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ให้เกิดดับไม่ได้

และจิตเกิดดับสืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วมาก เสมือนเปลวไฟที่มองด้วยตาปุถุชนธรรมดา ย่อมเห็นว่า ไฟนั้นเป็นดวงเดียว ดวงเดิมตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริง มันเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ต่างหาก

ฉันใดก็ฉันนั้น การสืบต่อนั่นเอง ทำให้การเกิดดับอย่างรวดเร็ว เสมือนว่า มันคงสภาพนั้นอยู่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ

และ จิตย่อมเกิดดับพร้อมกับเจตสิก..เสมอ

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.198.45 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:14:51:29 น.
............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านเอามาจากไหนครับว่า จิตตกอยู่ในอำนาจพระไตรลักษณ์
ที่ตกอยู่ในอำนาจพระไตรลักษณ์นั้น ล้วนเป็นจิตสังขารทั้งสิ้น(จิตที่ปรุงแต่งอารมณ์แล้ว)

ในอนัตตลักขณสูตร ไม่มีตรงไหนที่กล่าวไว้เลยว่า จิต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเลย
มีแต่พูดถึงขันธ์๕เท่านั้น และจิตก็ไม่ใช่ขันธ์๕ ขันธ์๕ก็ไม่ใช่จิต
ถ้าจิตเป็นขันธ์๕แล้ว จิตจะหลุดพ้นจากขันธ์๕ไปเพื่ออะไร???
ในทุกๆพระสูตร กล่าวถึงจิตหลุดพ้นทั้งสิ้น ไม่เคยกล่าวว่า"วิญญาณหลุดพ้น"เลย

มีแต่พระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี".


ท่านครับ เห็นชัดเจนแล้วนะ ว่าอะไรบ้างที่ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ผมถามว่า ที่บอกว่าจิตไม่เที่ยง เกิดดับๆๆๆๆอยู่ตลอดเวลานั้น รู้มั้ย???
ที่บอกว่าจิตเป็นตัวทุกข์ ถ้าดับจิตทิ้งเสีย ทุกข์ก็สิ้นไปด้วยใช่มั้ย???
ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ แล้วทำไมบางครั้งจิตก็เป็นสุขหละ???
ถ้าจิตเป็นอนัตตา(ไม่ใช่ตน) แสดงว่าพึ่งพาอาศัยไม่ได้ แล้วอบรมจิตไปเพื่ออะไร???

ท่านครับ ถ้าไฟเกิดดับๆๆเร็วมากอย่างท่านว่า ท่านก็เอานิ้วมือไปอังไฟดูสิว่า มีร้อนบ้างไม่ร้อนบ้างมั้ย???
ถ้ารู้สึกว่าร้อนอยู่ตลอดเวลาที่นิ้วมืออังไฟ ก็แสดงว่าไม่เกิดดับ อย่าคิดเองเออเองสิ
ที่ท่านบอกว่าจิตเกิดดับสืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วมาก รู้มั้ย??? อย่าบอกว่าไม่รู้นะ
ถ้าไม่รู้เอามาพูดได้ยังไงว่าจิตเกิดดับๆๆๆเร็วมาก ที่พูดมาทั้งหมดต้องรู้สิ


ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:22:07:02 น.
  
เจตสิกปรมัตถ์

เพราะปรากฏการณ์ที่เป็นโลก เป็นชีวิตในสายตาของ พุทธะ คือ การที่ จิตรู้อารมณ์ แต่ในการที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น จะต้องมี เจตสิก อย่างน้อยที่สุดเกิดประกอบร่วมรู้อารมณ์ด้วยเสมอไป จิตซึ่งไม่มีเจตสิกประกอบด้วยเลยจึงมีไม่ได้

เจตสิก คือ ธรรมชาติประกอบจิต เจตสิกเป็นธรรมชาติรู้เช่นเดียวกับจิต ดังนั้นจึงมีลักษณะ 4 ประการคือ

(1) เกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดขึ้นของจิต

(2) ดับลงพร้อมกับการดับลงของจิต

(3) ในขณะที่ดำรงอยู่นั้น มีอารมณ์อันเดียวกับจิต

(4) มีที่อาศัยเกิดอย่างเดียวกับจิตดวงที่ตนเกิดดับมีอารมณ์ร่วมด้วยนั้น

จะเห็นได้ว่า เจตสิกกับจิตแยกกันไม่ได้ เมื่อมีจิตก็ต้องมีเจตสิกประกอบอยู่ด้วย และรับรู้กระทำหน้าที่ต่ออารมณ์เดียวกันด้วยเสมอ ส่วนเจตสิกจะเกิดขึ้นโดยลำพัง โดยไม่มีจิตเป็นประธานก็ไม่ได้เช่นกัน

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.198.45 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:14:51:29 น.
..................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านครับ คำว่าเจตสิกคือ เครื่องปรุงแต่งจิต ปรมัตถ์หมายถึงจริงแท้แน่นอน

ผมเปรียบจิตเหมือนบ้าน เจตสิกก็คือเครื่องปรุงแต่งบ้าน
ถามว่ามีบ้านโดยไม่มีเครื่องปรุงแต่งได้มั้ย???
แล้วมีเครื่องปรุงแต่ง โดยไม่มีบ้าน จะไปปรุงแต่งอะไร?
เวลาทานก๋วยเตี๋ยว ท่านไม่ต้องปรุงเครื่องปรุงได้มั้ย???

ถ้าจิตกับเจตสิกแยกกันไม่ได้แล้ว จะอบรมจิตให้หมดจดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองไปเพื่ออะไร

มีพระพุทธพจน์ที่ทรงกล่าวไว้ว่า
"จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว"

"เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้"



แสดงว่าที่ท่านกล่าวมาทั้งหมด ก็ขัดกับพระพุทธพจน์สิ พระพุทธพจน์ชัดเจนแล้วนะ

ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:22:08:51 น.
  
ข้อความด้านบนทั้งหมดที่ยกมานี้ คงจะพอให้คำตอบกับคำถามด้านล่างของคุณได้นะคะ

และผมมีคำถามว่า เมื่อจิตเกิดดับ กรรมที่ทำลงไป0tบันทึกที่จิตดวงไหน???
ถ้าตอบว่าดวงที่ดับไป ในเมื่อดับไปแล้ว(ไม่เหลือซาก)เอาอะไรมาใช้กรรมที่กระทำไปหละ???

ต้องไม่ลืมว่าจากด้านบน จิตไม่ได้มีหน้าที่ จำ แต่จิตเกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกอย่างสัญญา (จำได้หมายรู้)
อีกทั้งมีเจตสิกอื่นเกิดร่วมด้วย จึงมีการปรุงแต่งว่า นั้นถูกนี้ผิดเกิดขึ้น และปรุงแต่งอื่นๆ อีกมากมาย พิศดารนัก

และที่ว่า เจตสิกที่ประกอบเข้ากับจิต ก็คือ อาการของจิต นั่นเอง ก็ถูกแล้ว

ดังนั้น ที่ว่าดูจิต ตามที่ข้าพเจ้าเข้าใจ ก็คือ ดูอาการของจิต ก็ไม่น่าจะผิด (เพราะ จิตเกิดพร้อมกับเจตสิก...เสมอ จึงยังมองไม่ออกว่า จะดูจิต โดยไม่มีเจตสิก ได้อย่างไร)

การเจริญสติ คือ การทำความเข้าใจตามความเป็นจริง ของรูปนาม หรือ กายใจนี้ ให้ปัญญาเกิดขึ้น

เมื่อจิต เกิดพร้อมกับ เจตสิก ก็คือ ความจริง อย่างหนึ่ง
การดูจิต ก็คือการ ดูความจริง อย่างหนึ่ง นั่นเอง...

ทั้งหมดไม่ใช่ข้อสรุป แต่มีความเห็นอย่างนั้นค่ะ (คุณก็อย่าเพิ่งเชื่อเลยค่ะ หาข้อมูลประกอบไปเรื่อยๆ ดีกว่า)

ทุกคนเกิดมา (ถ้าไม่หลงระเริงกับโลก) ก็มีหน้าที่เข้ามาหาความจริงของชีวิต แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่า ได้ศึกษากับพระอรหันต์หรือพระอริยะโดยตรงแล้วต้องบรรลุทุกคน เพราะต้องไม่ลืมว่า...กิเลสและอินทรีย์แต่ละคนสั่งสมหรือขัดเกลากันมาไม่เท่ากัน (ศึกษาเพิ่มจากหลัก ปฏิปทา 4)

ถูกผิดมีแต่พระอรหันต์ผู้รู้แจ้งแล้วเท่านั้นจะตัดสินได้ ใครผิดทางใครถูกทาง ปุถุชนยังไม่ควรทำเช่นนั้น

ขออนุโมทนาค่ะ /

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.198.45 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:14:51:29 น.
....................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านพระอรรถกถาจารย์ท่านเอง ยังกล่าวไว้เลยว่าจิตมีหน้าที่รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ นี้เป็นคำกล่าวโดยปรมัตถ์
ถ้าจิตไม่มีหน้าที่จำ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่จิตรู้มั้ย??? ถ้ารู้ แสดงว่าจำได้สิ

ผมถามว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเกิดขึ้นที่ไหน??? ถ้าไม่ใช่ที่จิต
สติ สมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นที่ไหน??? ถ้าไม่ใช่ที่จิต

ท่านครับเมื่อรู้ว่าตนเองรู้น้อย ควรศึกษาธรรมของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ซึ่งเป็นพระแท้
ไม่มีอะไรง่ายๆ ลัดสั้นหรอกนะ ถ้ามีจริงพระพุทธองค์ท่านทรงสั่งสอนเองแล้ว
ไม่ต้องรอให้ใครก็ไม่รู้ที่เป็นเพียงแค่พุทธบุตรมาแอบอ้างหรอก เป็นไปไม่ได้

อีกอย่างถ้าอะไรๆในโลกนี้ ล้วนไม่มีทั้งนั้น ไม่ใช่อะไรทั้งนั้นแล้ว
แล้วพระพุทธองค์จะทรงออกผนวชค้นหาอมตะธรรมไปเพื่ออะไร ในเมื่ออะไรๆก็ไม่มี อะไรๆก็ไม่ใช่

ยิ่งโดยเฉพาะการดูจิตที่ถูกต้องนั้นสำคัญยิ่ง ต้องดูจิตผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเท่านั้น
ท่านจะดูจิต ท่านรู้จักจิตที่แท้จริงแล้วหรือ???
ที่เรียกว่าจิต จิตหน้าตาเป็นยังไง???
ในเมื่อท่านยังมีความคิดเห็นว่าจิตเป็นวิญญาณขันธ์หละก็
ดูจิตไปก็ติดอยู่กับอาการของจิตเท่านั้น ปล่อยวางไม่เป็นเพราะไม่เคยฝึกฝนมาก่อน...

ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:22:12:12 น.
  
จากตัวอย่างที่ยกมาแสดงนี้ จะเห็นได้ว่า
จิตในพระอภิธรรม ซึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไปเป็น จิตสังขาร

ส่วน จิตของผู้ปฏิบัติ นั้น ดำรงสภาพ รู้ ของ ตนเอง อยู่ตลอดทุกกาลสมัย
ไม่ได้ดับตามจิตสังขารไปด้วยแต่ประการใดทั้งสิ้น

หนูเล็กนิดเดียว
-----------------------------------------------------------
เรียน คุณหนูเล็กนิดเดียว

จากปรมัตถธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นั้น

จิต เจตสิก รูป เป็น สังขตธรรม
นิพพาน เป็น อสังขตธรรม (เป็นเพียงสภาวะ)

ดังนั้น จิต ก็เป็นสังขาร อย่างหนึ่งนะคะ

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:15:00:40 น.
  
กล่าวให้ชัดก็คือ
แสงไม่ใช่สี และ สีก็ไม่ใช่แสง แต่มาผสมกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน

จิตผู้รู้(พุทโธ)ย่อมแยกอารมณ์ออกจากกันได้เป็นคนละส่วน
แต่สามัญชนย่อมยึดติดเป็นอันเดียวกันและไม่ยอมแยกออกจากกัน
จึงพูดบรรยายออกมาเหมือนที่ตนเห็นทุกประการ

ในพระอภิธรรมอธิบายว่า
แสงสีเขียว(แสงผสมกับสี)เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
แสงสีแดงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
แสงสีเหลืองเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ดังนี้

แต่โดยข้อเท็จจริงนั้น เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไปนั้น คือ สีที่ปรุงแต่งแสงอันใสสว่าง ที่มีอยู่ด้วยต่างหาก
แต่ตัวแสงสว่างเดิมนั้น มิได้เกิดดับตามไปด้วย

หนูเล็กเดียว
----------------------------------------------------------
ถูกค่ะ แสงไม่ใช่สี และ สีก็ไม่ใช่แสง

แต่ว่า...แล้ว แสง นั้นคืออะไรคะ เป็นเพียงสิ่งที่มาประชุมกันใช่หรือไม่ (เป็นพลังงานชนิดหนึ่ง เปลี่ยนแปลงได้ ตามเหตุปัจจัย)

สี ก็เช่นกัน เป็นลักษณะความเข้มของแสง (สิ่งที่เกิดจากพลังงานเหมือนกัน)

แล้วพลังงาน คือ อะไร ก็เป็นเพียงสิ่งที่มาประชุมกันอีกเช่นกัน สุดท้ายแล้ว เมื่อไม่มีการประชุมกันเกิดขึ้น พลังงานนั้นๆ ก็ย่อมไม่มี

จิต ก็เช่นกัน เป็นสังขาร เป็นสิ่งปรุงแต่ง ที่เกิดขึ้นมาตามเหตุปัจจัย เมื่อไม่มีเหตุปัจจัย จิตย่อมก็ไม่มีเช่นกัน

อุปมา แม่กับลูก เมื่อผู้หญิง ยังไม่ตั้งครรภ์ จะเรียกว่า แม่ได้ไหม และ ความเป็นลูก เกิดเพราะ มีแม่ ใช่หรือไม่

หรือความเป็นครูกับลูกศิษย์ ก็เช่นกัน

ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อ เป็นแม่เมื่อมีลูก เป็นลูกเมื่อมีแม่ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน จึงมีแม่และลูก

เมื่อมี ครู จึงมี ศิษย์

แสงและสี ก็เช่นกัน เป็นเพียงพลังงานที่เกิดจากสิ่งต่างๆ มาประชุมกัน ตามเหตุปัจจัย
.
.
.
ส่วนที่ว่า จิตผู้รู้ (พุทโธ) คือ อะไร คะ (ไม่ทราบจริงๆ)

การทำสมาธิ เท่าที่ทราบ ถ้าทำได้ถึง ฌาน 4 (หรือ 5 ก็แล้วแต่) สุดท้าย ก็สิ้นสุดที่ เอกัคคตาจิต (จิตที่มั่นคงอยู่ในอารมณ์เดียว)

ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ
ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์)
เวทนา
สัญญา
เจตนา
เอกัคคตา
ชีวิตินทรีย์
มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ)
//www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%BE%BE%A8%D4%B5%B5%CA%D2%B8%D2%C3%B3%E0%A8%B5%CA%D4%A1

เอกัคคตาจิต คือ จิต เกิดร่วมกับ เอกัคตาเจตสิก หรือเปล่าคะ (แต่เอกัคคตาจิต ก็เกิดร่วมกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว)

แล้ว เมื่อที่สุดของสมาธิ อยู่ที่เอกัคคตาจิตแล้ว จิตผู้รู้ ที่ว่า มีตัวตนคงสภาพอยู่ที่ตรงไหนคะ

แต่ในความเข้าใจ จิตรู้ เกิดขึ้นเมื่อมีการกระทบระหว่าง อายตนะภายนอก และ อายตนะภายใน เกิดที่ไหน ก็ดับที่นั่น (รู้เป็นขณะๆ เช่น เห็น ได้ยิน ลิ้มรส เป็นต้น และในขณะที่เห็น ก็ย่อมไม่ได้ยิน หรือ รู้รส เช่นกัน) จิตและเจตสิกอื่นก็ทำหน้าที่อื่นสืบต่อทันที

แม้แต่จิตที่กำลังนิ่งที่สุด อย่างเอกัคคตาจิต ซึ่งเปรียบเสมือน เปลวไฟที่ตั้งอยู่ได้โดยปราศจากลม แต่เปลวไฟ ที่อุปมาคือ จิตนั้น ก็ยังเกิดดับอยู่

จิตทุกดวง มีผัสสะเจตสิกประกอบอยู่เสมอ ดังนั้น เมื่อมีผัสสะ ขณะที่จิตเกิดดับรู้อารมณ์เดียวสืบต่อกันนานๆ ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกซึ่งตั้งมั่นในอารมณ์แต่ละขณะจิตนั้น จิตก็ย่อมรับรู้ได้ถึงความสงบ(ของจิต) ความไม่ซัดส่าย(ของจิต) ได้

(เป็นเพียงความเข้าใจส่วนตัว อาจจะผิดก็ได้)


โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:16:24:41 น.
  
เรียน คุณหนูเล็กนิดเดียว

จากปรมัตถธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นั้น

จิต เจตสิก รูป เป็น สังขตธรรม
นิพพาน เป็น อสังขตธรรม (เป็นเพียงสภาวะ)

ดังนั้น จิต ก็เป็นสังขาร อย่างหนึ่งนะคะ

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:15:00:40 น

............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านครับ อ่านแล้วสงสัยถามได้มั้ย??? ถึงถามไม่ได้ก็ต้องถาม

เมื่อพูดถึง จิต เจตสิก รูป พระนิพพานแล้ว อดถามไม่ได้ว่า
จิตที่พูดถึงนี้มีทั้ง โลกียจิตและโลกุตรจิตใช่มั้ย???
โลกียจิตคือจิตที่ข้องอยู่ในโลก เป็นจิตสังขารใช่มั้ย???
แล้วโลกุตรจิตชั้นพระอรหันต์ คือ จิตที่พ้นโลก เหนือโลกแล้วใช่มั้ย???
โลกุตรจิตชั้นพระอรหันต์นั้น เป็นวิสังขารใช่มั้ย???

มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า"วิสังขาระ คะตัง จิตตัง"
"จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง" เป็นโลกุตรจิตใช่มั้ย???

ที่บอกว่าพระนิพพานเป็นสภาวะนั้น เมื่อเป็นสภาวะตั้งอยู่ที่ไหนหละ???
ไม่ว่าสภาวะไหนๆในโลกที่เกิดขึ้นมานั้น ล้วนต้องมีที่ตั้ง ที่อาศัย เกิดขึ้นเองลอยๆไม่ได้จ้า...

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:17:21:31 น.
  
ในอนัตตลักขณสูตร ไม่มีตรงไหนที่กล่าวไว้เลยว่า จิต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเลย
มีแต่พูดถึงขันธ์๕เท่านั้น และจิตก็ไม่ใช่ขันธ์๕ ขันธ์๕ก็ไม่ใช่จิต
ถ้าจิตเป็นขันธ์๕แล้ว จิตจะหลุดพ้นจากขันธ์๕ไปเพื่ออะไร???
ในทุกๆพระสูตร กล่าวถึงจิตหลุดพ้นทั้งสิ้น ไม่เคยกล่าวว่า"วิญญาณหลุดพ้น"เลย

มีแต่พระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี".

ท่านครับ เห็นชัดเจนแล้วนะ ว่าอะไรบ้างที่ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ผมถามว่า ที่บอกว่าจิตไม่เที่ยง เกิดดับๆๆๆๆอยู่ตลอดเวลานั้น รู้มั้ย???
ที่บอกว่าจิตเป็นตัวทุกข์ ถ้าดับจิตทิ้งเสีย ทุกข์ก็สิ้นไปด้วยใช่มั้ย???
ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ แล้วทำไมบางครั้งจิตก็เป็นสุขหละ???
ถ้าจิตเป็นอนัตตา(ไม่ใช่ตน) แสดงว่าพึ่งพาอาศัยไม่ได้ แล้วอบรมจิตไปเพื่ออะไร???

ท่านครับ ถ้าไฟเกิดดับๆๆเร็วมากอย่างท่านว่า ท่านก็เอานิ้วมือไปอังไฟดูสิว่า มีร้อนบ้างไม่ร้อนบ้างมั้ย???
ถ้ารู้สึกว่าร้อนอยู่ตลอดเวลาที่นิ้วมืออังไฟ ก็แสดงว่าไม่เกิดดับ อย่าคิดเองเออเองสิ
ที่ท่านบอกว่าจิตเกิดดับสืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วมาก รู้มั้ย??? อย่าบอกว่าไม่รู้นะ
ถ้าไม่รู้เอามาพูดได้ยังไงว่าจิตเกิดดับๆๆๆเร็วมาก ที่พูดมาทั้งหมดต้องรู้สิ


ธรรมภูต
---------------------------------------------------------
เรียน คุณธรรมภูต

ก็ยังยืนยันความเข้าใจเดิมค่ะ ว่า จิต คือ วิญญาณขันธ์

อย่างที่เขียนไว้น่ะค่ะ จิต เป็น สังขตธรรม

ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ (เพราะความทนอยู่ไม่ได้ มีเกิดดับ)
อุปาทานขันธ์ 5 คือ ความยึดมั่นในขันธ์ 5 ทำให้เป็นทุกข์
เหตุที่ทำให้ทุกข์ ก็สมุทัย คือ กิเลสทั้งหลายที่หลอกให้ยึดในขันธ์ 5 นั่นล่ะค่ะ

ที่ท่านสอนให้ละ ก็คือ สมุทัย แล้วทุกข์จากเหตุนั้นก็จะหมดไป เพราะทุกข์ ทำได้แค่รู้ เพราะทุกข์ที่เกิดแล้ว แก้ไขไม่ให้กลับไปไม่ทุกข์ไม่ได้

สิ่งที่ผูกมัดทั้งหลาย (สังโยชน์) อันเกิดจากอนุสัยกิเลสนำให้เกิดความเห็นผิดไปจากความจริง ก็อาศัยปัญญาเท่านั้นที่จะละสิ่งผูกมัดทั้งหลายเป็นลำดับๆ จนหมดไป

ส่วนที่ให้เอานิ้วมือไปอังไฟ...^^

ร่างกายเป็นสิ่งที่หยาบ เป็นวิบาก จึงต้องรับผลแห่งกรรมต่างๆ ที่ก่อไว้ผ่านร่างกายและใจอันนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องอาศัยร่างกายอันนี้ สร้างกรรมใหม่ๆด้วย

แต่ร่างกาย (รูป เป็น สังขตธรรม) เป็นธรรมชาติที่ไม่รู้อารมณ์ แต่ที่รู้อารมณ์ได้คือจิต

ถ้าจิตออกจากร่าง ร่างกายก็ไม่รับรู้ใดๆ จึงมีสภาพที่เขาเรียกว่า ซากศพ นั่นเอง

จิตที่ละเอียดเท่านั้น จึงจะสามารถเห็นการเกิดดับของรูปได้ (รูปเกิดดับ 1 ขณะ แต่จิตเกิดดับถึง 17 ขณะ)

เคยสังเกตไหมว่า เวลานั่งสมาธิ ทำไมความเจ็บปวดมันขึ้นๆ ลงๆ เมื่อใดที่จิตจดจ่ออยู่กับส่วนที่เจ็บ ความเจ็บก็ทวีขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อใดที่จิตเผลอไปคิด ความรู้สึกเจ็บจะหายไปชั่วขณะ แต่ส่วนนี้ก็จิตที่ยังหยาบอยู่รับรู้ (เวทนาที่แปรปรวน) ได้

ดังนั้น ถ้าจิตละเอียดมากพอ ก็เป็นไปได้ ที่เมื่ออังไฟ แล้วจะรู้สึกร้อนบ้างไม่ร้อนบ้าง (รับรู้เวทนาที่แปรปรวนที่ละเอียด) ได้เช่นกัน
(เป็นความเห็นส่วนตัว ซึ่งอาจจะผิดก็ได้)
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:17:26:54 น.
  
เมื่อพูดถึง จิต เจตสิก รูป พระนิพพานแล้ว อดถามไม่ได้ว่า
จิตที่พูดถึงนี้มีทั้ง โลกียจิตและโลกุตรจิตใช่มั้ย???
โลกียจิตคือจิตที่ข้องอยู่ในโลก เป็นจิตสังขารใช่มั้ย???
แล้วโลกุตรจิตชั้นพระอรหันต์ คือ จิตที่พ้นโลก เหนือโลกแล้วใช่มั้ย???
โลกุตรจิตชั้นพระอรหันต์นั้น เป็นวิสังขารใช่มั้ย???

มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า"วิสังขาระ คะตัง จิตตัง"
"จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง" เป็นโลกุตรจิตใช่มั้ย???

ที่บอกว่าพระนิพพานเป็นสภาวะนั้น เมื่อเป็นสภาวะตั้งอยู่ที่ไหนหละ???
ไม่ว่าสภาวะไหนๆในโลกที่เกิดขึ้นมานั้น ล้วนต้องมีที่ตั้ง ที่อาศัย เกิดขึ้นเองลอยๆไม่ได้จ้า...

ธรรมภูต
----------------------------------------------------------
ตามที่เข้าใจ นิพพานมี 2 อย่าง คือ
1. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีขันธ์อยู่
2. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับได้ทั้ง กิเลสและ ขันธ์ 5

ดังนั้น โลกุตรจิต คือ จิตของพระอริยะและพระอรหันต์(ที่ยังมีขันธ์ 5) ที่เข้าไปรู้อารมณ์นิพพาน

นิพพาน เป็นสภาวะ มีอยู่ ไม่มีที่ตั้ง (ไม่มีภพ) เป็นอายตนะภายนอก ซึ่งโลกุตรจิต (อายตนะภายใน) เท่านั้น ที่จะสัมผัสได้

//www.dhammakid.com/board/ocoaaaad/aaoao-adiaoaaaena/?PHPSESSID=bfa7dccc69229a5a460a9b45e03ed9b2

ก็เข้าใจกันว่า นิพพาน คือ ความว่างอย่างยิ่ง มิใช่หรือ เมื่อดับขันธ์ไปแล้ว แล้วทำไม จิตจึงไม่ดับไปด้วยล่ะคะ

"นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101)

เพราะนิพพานปราศจากซึ่งตัวตน...จริงมั๊ยคะ
และ โลกุตรจิต ก็ไม่มีในนิพพานเช่นกันค่ะ
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:18:13:34 น.
  
ที่บอกว่า นิพพานเป็นสภาวะ นั้น

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า

"ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี (แต่) พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..."(มิลินฺท.336)

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:18:21:44 น.
  
อเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง
คะหะการกัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง
สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฎัง วิสังขะตัง
วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหาหัง ขะยะมัชฌะคา.

เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบได้ท่องเที่ยวไปสู่สังสาระ (การเกิด) ไม่ใช่เพียงชาติเดียว ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ แนะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่านแล้ว ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้ ซี่โครงทุกซี่ของท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว เพราะเราบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว

"วิสังขาระ คะตัง จิตตัง"

น่าจะหมายถึง จิตพ้นแล้วจากการปรุงแต่งอันนำไปเกิดอีก

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:18:36:01 น.
  
ถ้าจิตกับเจตสิกแยกกันไม่ได้แล้ว จะอบรมจิตให้หมดจดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองไปเพื่ออะไร

มีพระพุทธพจน์ที่ทรงกล่าวไว้ว่า
"จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว"

"เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้"


แสดงว่าที่ท่านกล่าวมาทั้งหมด ก็ขัดกับพระพุทธพจน์สิ พระพุทธพจน์ชัดเจนแล้วนะ

ธรรมภูต
--------------------------------------------------------
การอบรมจิต ไม่ได้หมายถึง แยกจิตออกจากเจตสิก

แต่อบรมให้จิตมีปัญญาละความเห็นผิด คือ เครื่องผูกมัดให้ติดอยู่ในสังสารวัฏ (สังโยชน์)

เพราะ ปัญญา ก็เป็นเจตสิก อีกเช่นกัน

อุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) เป็นเพียงสิ่งที่จรมา (ตามเหตุปัจจัย) ดังนั้น จิตที่มีปัญญา จึงไม่ไปจับฉวยอุปกิเลสไว้มาปรุงแต่งเป็นตัวเป็นตนอีก

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:18:55:39 น.
  
แต่จิตพระอรหันต์ อุปกิเลสทั้งหลายย่อมไม่ปรากฎ (ไม่จรมาอีกเลย)
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:19:15:40 น.
  
เรียน คุณธรรมภูต

ก็ยังยืนยันความเข้าใจเดิมค่ะ ว่า จิต คือ วิญญาณขันธ์

อย่างที่เขียนไว้น่ะค่ะ จิต เป็น สังขตธรรม

ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ (เพราะความทนอยู่ไม่ได้ มีเกิดดับ)
อุปาทานขันธ์ 5 คือ ความยึดมั่นในขันธ์ 5 ทำให้เป็นทุกข์
เหตุที่ทำให้ทุกข์ ก็สมุทัย คือ กิเลสทั้งหลายที่หลอกให้ยึดในขันธ์ 5 นั่นล่ะค่ะ


ที่ท่านสอนให้ละ ก็คือ สมุทัย แล้วทุกข์จากเหตุนั้นก็จะหมดไป เพราะทุกข์ ทำได้แค่รู้ เพราะทุกข์ที่เกิดแล้ว แก้ไขไม่ให้กลับไปไม่ทุกข์ไม่ได้

สิ่งที่ผูกมัดทั้งหลาย (สังโยชน์) อันเกิดจากอนุสัยกิเลสนำให้เกิดความเห็นผิดไปจากความจริง ก็อาศัยปัญญาเท่านั้นที่จะละสิ่งผูกมัดทั้งหลายเป็นลำดับๆ จนหมดไป

ส่วนที่ให้เอานิ้วมือไปอังไฟ...^^

ร่างกายเป็นสิ่งที่หยาบ เป็นวิบาก จึงต้องรับผลแห่งกรรมต่างๆ ที่ก่อไว้ผ่านร่างกายและใจอันนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องอาศัยร่างกายอันนี้ สร้างกรรมใหม่ๆด้วย

แต่ร่างกาย (รูป เป็น สังขตธรรม) เป็นธรรมชาติที่ไม่รู้อารมณ์ แต่ที่รู้อารมณ์ได้คือจิต

ถ้าจิตออกจากร่าง ร่างกายก็ไม่รับรู้ใดๆ จึงมีสภาพที่เขาเรียกว่า ซากศพ นั่นเอง

จิตที่ละเอียดเท่านั้น จึงจะสามารถเห็นการเกิดดับของรูปได้ (รูปเกิดดับ 1 ขณะ แต่จิตเกิดดับถึง 17 ขณะ)

เคยสังเกตไหมว่า เวลานั่งสมาธิ ทำไมความเจ็บปวดมันขึ้นๆ ลงๆ เมื่อใดที่จิตจดจ่ออยู่กับส่วนที่เจ็บ ความเจ็บก็ทวีขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อใดที่จิตเผลอไปคิด ความรู้สึกเจ็บจะหายไปชั่วขณะ แต่ส่วนนี้ก็จิตที่ยังหยาบอยู่รับรู้ (เวทนาที่แปรปรวน) ได้

ดังนั้น ถ้าจิตละเอียดมากพอ ก็เป็นไปได้ ที่เมื่ออังไฟ แล้วจะรู้สึกร้อนบ้างไม่ร้อนบ้าง (รับรู้เวทนาที่แปรปรวนที่ละเอียด) ได้เช่นกัน
(เป็นความเห็นส่วนตัว ซึ่งอาจจะผิดก็ได้)

โดย : ยังหวังดี วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา: 17:26:54 น.
............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านเอาอะไรมายืนยันหละ เอาแค่ความรู้สึก ก็แสดงว่าเก่งเกินพระบรมครูสิ
ในอนัตตลักขณสูตรกล่าวไว้ชัดเจนแล้ว อย่าเดาสวดสิ เอาพระสูตรมายืนยัน

ท่านเล่นพูดลอยๆ จากความรู้ที่ตกผลึกโดยที่ไม่เคยปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาตามรอยพระบาทมาก่อน
แต่กับกล้ากล่าวตู่พระพุทธพจน์ แบบนี้เรียกว่าล้มล้างพระพุทธพจน์ได้มั้ยนะ???

อุปาทานขันธ์ 5 คือ ความยึดมั่นในขันธ์ 5 ทำให้เป็นทุกข์
ใครยึดมั่นถือมั่น??? ใช่จิตมั้ยที่ยึดถือขันธ์๕??? และจิตก็หลุดพ้นจากขันธ์๕ใช่มั้ย??? มีพระพุทธพจน์รับรองนะ

กิเลสทั้งหลายที่หลอกให้ยึดในขันธ์ 5 นั่น
ใครหละที่ถูกกิเลสหลอกให้ยึดมั่นขันธ์๕??? เล่นคิดเองเออเองพูดลอยๆเป็นประจำก็แย่สิ
แบบนี้ศาสนาเสียหายหมด อย่าบอกนะว่ากิเลสหลอกขันธ์๕ให้ยึดตัวมันเอง เล่นพูดเป็นเด็กขายขนมไปได้

อย่างที่เขียนไว้น่ะค่ะ จิต เป็น สังขตธรรม
แล้วที่ถามไปว่าโลกุตรจิต จัดอยู่ในอยู่ในสังขตธรรมด้วยหรือ
ถ้าทั้งโลกียจิตและโลกุตรจิต เป็นสังขตธรรมทั้งคู่แล้ว จะต้องแยกเป็นโลกียจิตและโลกุตรจิตไปเพื่ออะไร
เล่นเถียงข้างๆคูแบบนี้ โดยเอาแค่ความรู้สึกมาพูดเท่านั้น ศาสนาก็เรียวลงแน่นอน

อย่าเอามรรคไปปนเปกับเจตสิกให้มั่วไปหมดสิ ทั้งสติ สมาธิ ปัญญาล้วนเป็นมรรค(ทางเดินของจิต)ทั้งสิ้น

เคยสังเกตไหมว่า เวลานั่งสมาธิ ทำไมความเจ็บปวดมันขึ้นๆ ลงๆ เมื่อใดที่จิตจดจ่ออยู่กับส่วนที่เจ็บ ความเจ็บก็ทวีขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อใดที่จิตเผลอไปคิด ความรู้สึกเจ็บจะหายไปชั่วขณะ แต่ส่วนนี้ก็จิตที่ยังหยาบอยู่รับรู้ (เวทนาที่แปรปรวน) ได้

ดังนั้น ถ้าจิตละเอียดมากพอ ก็เป็นไปได้ ที่เมื่ออังไฟ แล้วจะรู้สึกร้อนบ้างไม่ร้อนบ้าง (รับรู้เวทนาที่แปรปรวนที่ละเอียด) ได้เช่นกัน
(เป็นความเห็นส่วนตัว ซึ่งอาจจะผิดก็ได้)


ท่านเล่นพูดเดาสวดแบบนี้ โดยไม่เคยมีประสบการณ์ทางจิต ที่เกิดจากการนั่งสมาธิภาวนา อย่าคิดเองเออเองนะ
ที่ท่านพูดมาก็แสดงให้รู้อยู่แล้วว่า ไม่เคยนั่งสมาธิภาวนาจนกระทั่งจิตผ่านเวทนามาได้

ขอเถอะนะ ถ้าคิดจะพูดพล่อยๆ เพื่อเอาตัวรอดแล้วหละก็ อย่าพูดเสียดีกว่า
ท่านลองเอามือไปอังไฟดูสิว่า แล้วทำจิตให้ละเอียด ดูสิว่าร้อนบ้างไม่ร้อนบ้างมั้ย???
เป็นไปไม่ได้นะ ที่จะร้อนบ้างไม่ร้อนบ้าง ขาดเหตุผลสิ้นดีนะ
พุทธศาสนานั้นยืนอยู่บนหลักเหตุผล พระพุทธองค์จึงได้ชื่อว่าเป็นศาสดาเอกของโลก ก็ด้วยเหตุนี้....

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:20:27:19 น.
  
เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบได้ท่องเที่ยวไปสู่สังสาระ (การเกิด) ไม่ใช่เพียงชาติเดียว ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ แนะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่านแล้ว ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้ ซี่โครงทุกซี่ของท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว เพราะเราบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว

"วิสังขาระ คะตัง จิตตัง"

น่าจะหมายถึง จิตพ้นแล้วจากการปรุงแต่งอันนำไปเกิดอีก


โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:18:36:01 น

............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านตกลงยอมรับแล้วนะว่า โลกุตรจิตชั้นพระอรหันต์
วิสังขาร(สิ้นแล้วจากการปรุงแต่งอันนำไปเกิดอีก) ไม่ใช่สังขตธรรมแล้ว
รู้จักยืนอยู่บนหลักเหตุผลเสียบ้างนะ

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:20:34:08 น.
  
ตามที่เข้าใจ นิพพานมี 2 อย่าง คือ
1. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีขันธ์อยู่
2. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับได้ทั้ง กิเลสและ ขันธ์ 5

ดังนั้น โลกุตรจิต คือ จิตของพระอริยะและพระอรหันต์(ที่ยังมีขันธ์ 5) ที่เข้าไปรู้อารมณ์นิพพาน

นิพพาน เป็นสภาวะ มีอยู่ ไม่มีที่ตั้ง (ไม่มีภพ) เป็นอายตนะภายนอก ซึ่งโลกุตรจิต (อายตนะภายใน) เท่านั้น ที่จะสัมผัสได้

//www.dhammakid.com/board/ocoaaaad/aaoao-adiaoaaaena/?PHPSESSID=bfa7dccc69229a5a460a9b45e03ed9b2

ก็เข้าใจกันว่า นิพพาน คือ ความว่างอย่างยิ่ง มิใช่หรือ เมื่อดับขันธ์ไปแล้ว แล้วทำไม จิตจึงไม่ดับไปด้วยล่ะคะ

"นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101)

เพราะนิพพานปราศจากซึ่งตัวตน...จริงมั๊ยคะ
และ โลกุตรจิต ก็ไม่มีในนิพพานเช่นกันค่ะ


โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:18:13:34 น.
............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
๑. ใครหละที่ดับกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีขันธ์อยู่???
๒. ใครหละที่ดับได้ทั้ง กิเลสและ ขันธ์ 5???
อย่าบอกนะ ทุกอย่างเกิดขึ้นลอยๆ เป็นไปไม่ได้ ต้องมีสิ่งที่ได้รับผลนั้นสิ จึงพูดได้..

นิพพาน เป็นสภาวะ มีอยู่ ไม่มีที่ตั้ง (ไม่มีภพ) เป็นอายตนะภายนอก ซึ่งโลกุตรจิต (อายตนะภายใน) เท่านั้น ที่จะสัมผัสได้
เล่นพูดขัดกันเองแบบนี้ คนศึกษาธรรมใหม่ๆก็แย่นะสิ ที่พูดนี่แสดงว่ามีจิตอยู่ใช่มั้ย???
อย่าบอกนะว่า โลกุตรจิตสัมผัสแล้ววิ่งหนี

ที่ท่านบอกว่าพระนิพพานว่างอย่างยิ่ง อะไรหละว่างอย่างยิ่ง???
เมื่ออะไรดับขันธ์ไปแล้ว??? อย่าเอาแตพูดลอยๆสิ
ที่จิตไม่ดับไปด้วยนั้น เพราะจิตไม่ใช่ขันธ์ ถึงณ.จุดนั้น จิตกลายเป็นธรรมธาตุแล้วนะ

ถ้าพระนิพพานไม่มีผู้เข้าถึง แล้วบอกได้ยังไงว่าเข้าถึงแล้วหละ???
แบบนี้ก็แสดงว่าเป็นการเดาๆเอาเองสิว่าเข้าถึงนะสิ
เพราะเกิดลอยๆโดยไม่รู้ว่า เกิดขึ้นยังไง เกิดขึ้นเมื่อไหร่...

ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:20:51:21 น.
  
ที่บอกว่า นิพพานเป็นสภาวะ นั้น

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า

"ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี (แต่) พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..."(มิลินฺท.336)

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.91 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:18:21:44 น.
............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านยอมรับแล้วนะ ว่าพระนิพพานนั้นมีอยู่จริง แต่ไม่มีรูปร่างให้จับต้องได้
สามารถสัมผัสได้ด้วยจิตผู้รู้อันบริสุทธิ์(ไม่มีรูปร่างเช่นกัน) ที่มีอยู่จริง

ใครหละที่ทำให้พระนิพพานแจ้งขึ้นมาได้
กายที่ตายเน่าเข้าโลงของท่านพระโยคาวจร
หรือจิตที่บริสุทธิ์ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวของพระโยคาวจรหละ???

พระนิพพาน คือคุณลักษณะใช่มั้ย???

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:20:59:01 น.
  
การอบรมจิต ไม่ได้หมายถึง แยกจิตออกจากเจตสิก

แต่อบรมให้จิตมีปัญญาละความเห็นผิด คือ เครื่องผูกมัดให้ติดอยู่ในสังสารวัฏ (สังโยชน์)

เพราะ ปัญญา ก็เป็นเจตสิก อีกเช่นกัน

อุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) เป็นเพียงสิ่งที่จรมา (ตามเหตุปัจจัย) ดังนั้น จิตที่มีปัญญา จึงไม่ไปจับฉวยอุปกิเลสไว้มาปรุงแต่งเป็นตัวเป็นตนอีก

โดย : ยังหวังดี วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา: 18:55:39 น.
............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ

ปัญญาคือมรรค ปัญญาคือสัมมาทิฐิ ที่เกิดที่จิต
ต้องอาศัยมรรคในการแยกจิตออกจากเจตสิก จิตจึงจะบริสุทธิ์ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง (อุปกิเลสที่จรมา=เจตสิก)

ท่านพูดว่า จิตที่มีปัญญา จึงไม่ไปจับฉวยอุปกิเลสไว้มาปรุงแต่งเป็นตัวเป็นตนอีก
แสดงว่าจิตมีมรรค จึงไม่ปรุงแต่งไปตามกิเลส จิตเป็นวิสังขารใช่มั๊ย???


ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:21:03:26 น.
  
แต่จิตพระอรหันต์ อุปกิเลสทั้งหลายย่อมไม่ปรากฎ (ไม่จรมาอีกเลย)

โดย : ยังหวังดี วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา: 19:15:40 น.
............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ

ท่านยอมรับแล้วนะ ว่าจิตชั้นพระอรหันต์เป็นวิสังขาร

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:21:05:27 น.
  
จากคำเทศนา (ในลิ้งค์ด้านบน)
อารมณ์วิปัสสนา

แต่พระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดาได้ตรัสสอนอารมณ์ของวิปัสสนาไว้

ยกเอาขันธ์ ๕ ขึ้นโดยมาก คือรูปขันธ์กองรูป เวทนาขันธ์กองเวทนา

สัญญาขันธ์กองสัญญา สังขารขันธ์กองสังขาร วิญญาณขันธ์กองวิญญาณ

ขันธ์ ๕ นี้ก็เป็นสมมติบัญญัติธรรมในกลุ่มเดียวกันกับกายเวทนาจิตธรรม

กายเวทนาจิตธรรมก็เป็นสมมติบัญญัติธรรมในกายที่ยาววาหนาคืบ มีสัญญามีใจครองนี้

ขันธ์ ๕ ก็เป็นสมมติบัญญัติธรรมในกายที่ยาววาหนาคืบมีสัญญามีใจครองนี้เช่นเดียวกัน

เป็นแต่เพียงว่าสมมติบัญญัติธรรมต่างชื่อกันไปเท่านั้น


****ท่านบอกชัดแล้วว่า ขันธ์ 5 คือ กายและใจ(จิต) อันนี้เอง

จากคำเทศนาต่อมา

เพราะฉะนั้น ในไตรลักษณ์จึงได้ตรัสสรุปเอาไว้ว่า

สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งปวงก็คือทั้งสังขาร และทั้งวิสังขาร

****เมื่อกายและใจ(จิต) คือ ขันธ์ 5 ก็ชัดแล้วว่า

จิต เป็น สังขตธรรม เป็นทุกข์

ดังนั้น
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา (รวมทั้งนิพพานด้วย และ ไม่เว้นแม้แต่ จิต)
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:11:50:29 น.
  
จากข้อความด้านล่างนี้ของคุณธรรมภูต ที่ว่า...

ท่านเอาอะไรมายืนยันหละ เอาแค่ความรู้สึก ก็แสดงว่าเก่งเกินพระบรมครูสิ
ในอนัตตลักขณสูตรกล่าวไว้ชัดเจนแล้ว อย่าเดาสวดสิ เอาพระสูตรมายืนยัน

ท่านเล่นพูดลอยๆ จากความรู้ที่ตกผลึกโดยที่ไม่เคยปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาตามรอยพระบาทมาก่อน
แต่กับกล้ากล่าวตู่พระพุทธพจน์ แบบนี้เรียกว่าล้ม

-------------------------------------------------------
เคยบอกไว้ตั้งแต่กระทู้แรกๆ แล้วมิใช่หรือว่า เป็นเพียงข้อมูลที่รับรู้มา และเห็นว่า ความเห็นในเรื่อง จิต ที่คุณนำเสนอ กับสิ่งที่ข้าพเจ้ารู้มามันแตกต่างกัน จึงขอแย้งเพื่อศึกษาเพิ่ม

ดังนั้น ถ้าความเห็นใดๆ ที่แตกต่างจากความเห็นเดิมของคุณ คุณก็เพียงแต่แย้งมาก็เท่านั้น

แต่ไม่ควรกล่าวว่า ความเห็นที่แตกต่างนี้เป็นการกล่าวตู่พรพุทธองค์

เพราะสิ่งที่ข้าพเจ้าแสดง ก็ไม่เคยเชิญชวนให้เชื่อในทันที
(ให้ศึกษาเอง โดยยึดหลักกาลามสูตร) ซึ่งบางครั้งก็บอกไปแล้วด้วยซ้ำว่า...เป็นความเห็นส่วนตัว อาจจะผิดก็ได้...

หรือว่า ไม่ได้อ่านโดยละเอียดคะ ^^

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:11:59:32 น.
  
๑. ใครหละที่ดับกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีขันธ์อยู่???
๒. ใครหละที่ดับได้ทั้ง กิเลสและ ขันธ์ 5???
อย่าบอกนะ ทุกอย่างเกิดขึ้นลอยๆ เป็นไปไม่ได้ ต้องมีสิ่งที่ได้รับผลนั้นสิ จึงพูดได้

ธรรภูต
-------------------------------------------------------
ก็ยังไม่เคยบอกว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นลอยๆ นะ (มีบอกไว้ตรงไหนคะ) มีแต่บอกว่า...เกิดตามเหตุปัจจัย...ค่ะ

ถ้าลองศึกษา ก็จะรู้ว่า
พระอรหันต์ ที่ดับกิเลสแล้ว แต่ยังมีขันธ์ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน
พระอรหันต์ ที่ดับกิเลส ดับขันธ์แล้ว เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน

คิดดูอีกทีนะคะ ขันธ์ ก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (จิต) เป็นสิ่งที่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต ยังต้องอยู่กับขันธ์ เพราะเป็นวิบาก ยังต้องอยู่กับ..ทุกข์..(ความทนอยู่ไม่ได้ ไม่มั่นคงของขันธ์) อนิจจัง และอนัตตา

ถามว่า
พระอรหันต์เช่นพระโมคัลลา ท่านถูกคนร้ายทุบตี จนร่างกายบอบช้ำเป็นอันมาก ท่านมีเวทนาอันเนื่องจากกายอยู่ไหม

พระองคุลีมาร ที่โดนก้อนหินของชาวบ้านจนศีรษะแตก ท่านยังมีเวทนาอยู่ไหม

ตราบใดที่ขันธ์ยังมี ดังนั้น ความทุกข์อันเนื่องจากขันธ์ ก็ยังมี (..รู้...ว่าเจ็บ)

แต่ที่ไม่ทุกข์ คือ ใจ เพราะพ้นแล้วจากอวิชชา (สิ่งที่ผูกมัดสัตว์) และ อุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย) ก็ไม่มีในพระอรหันต์อีกแล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่มี เพราะหมดความยึดถือในขันธ์แล้ว

ท่านละความพอใจ ไม่พอใจออกหมดแล้ว เวทนาที่เกิด ก็ไม่มีผลต่อจิตใจท่าน

แต่ยังต้องใช้ผลแห่งกรรม ตราบเท่าที่ยังมี่ขันธ์

(เป็นความเห็นส่วนตัว อาจจะผิดก็ได้ค่ะ)
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:12:26:45 น.
  
และดูเพิ่มที่ลิ้งค์นี้ด้วยค่ะ

//gotoknow.org/blog/dhammakaya-27/215948

พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงจิตที่เศร้าหมองเพราะประกอบด้วยเจตสิกที่เศร้าหมอง คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย แม้ภาพจิตรกรรมที่เขาเขียนไว้นั้น จิตรกรก็คิดด้วยจิตนั่นเอง จิตนั่นเองวิจิตรกว่าภาพจิตรกรรมที่เขาเขียนไว้นั้น เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายควรพิจารณาจิตอยู่เนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นเวลานาน สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เพราะจิตผ่องแผ้ว”
(สํข.(ไทย) ๑๗/๑๐๐/๑๙๑-๑๙๒.)


ในอีกพระสูตรหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตที่เศร้าหมองก็หวังได้ว่าจะต้องไปสู่ทุคติเหมือนผ้าสกปรกที่ช่างนำมาย้อมสีต่างๆ ก็หวังได้ว่าผ้านั้นย้อมได้ไม่ดี สีไม่สดใส ส่วนจิตที่ไม่เศร้าหมอง ก็หวังได้ว่า จะต้องไปสู่สุคติเหมือนผ้าสะอาด ที่ช่างย้อมนำไปใส่ลงในน้ำย้อมสีต่างๆ ก็หวังได้ว่า ผ้านั้นย้อมได้ดีมีสีสดใส ทรงอธิบายว่า จิตเศร้าหมองเพราะอุปกิเลส คือ กิเลสเครื่องเศร้าหมองมี ๑๖ ประการ ๑.อภิชฌาวิสมโลภะ (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่น) ๒.พยาบาท (ความคิดปองร้ายผู้อื่น) ๓.โกธะ (ความโกรธ) ๔.อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ๕มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน). . .๑๖.ปมาทะ (ความประมาท)
(ม.มู. (ไทย) ๑๒/๗๐/๖๒-๖๓.)


*****เฉพาะ เจตสิกที่เป็นอกุศลเท่านั้น ที่ทำให้ จิตเศร้าหมอง (ไม่ใช่เจตสิกทั้งหมด)


โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:12:39:58 น.
  
และจากลิ้งค์เดียวกัน....

ต่อมาพระสารีบุตรได้อธิบายคำถามของพระมหาโกฏฐิตะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก กับวิญญาณ ดังนี้


“เวทนา สัญญา และวิญญาณ ๓ ประการนี้รวมกัน ไม่แยกกัน และไม่สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้ เพราะเวทนาเสวยอารมณ์สิ่งใด สัญญาก็กำหนดหมายสิ่งนั้น สัญญากำหนดหมายสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น เหตุนั้นธรรม ๓ ประการนี้ จึงรวมกัน ไม่แยกกัน และไม่สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้”
(ม.มู.(ไทย) ๑๒/๔๕๐/๔๙๐.)


แสดงว่าจิตกับเจตสิกนั้นเกิดร่วมกัน รับอารมณ์เดียวกันแต่ทำหน้าที่ต่างกัน ดังนี้คือ วิญญาณหรือจิตทำหน้าที่รู้อารมณ์ เจตสิกแต่ละดวงทำหน้าที่เฉพาะของตนเอง ได้แก่ ปัญญาเจตสิกทำหน้าที่รู้ชัดอารมณ์ เวทนาเจตสิกทำหน้าที่เสวยอารมณ์ สัญญาเจตสิกทำหน้าที่กำหนดหมาย(จำ)อารมณ์

-----------------------------------------------------
พระสารีบุตรท่านก็กล่าวไว้ ว่า เวทนา สัญญา และวิญญาณ ไม่แยกจากกัน

ดังนั้น จิตกับเจตสิก แยกจากกันไม่ได้

และถ้าวิญญาณ ไม่ใช่จิต แล้ว
วิญญาณ จะเป็นเจตสิก เป็นรูป เป็นนิพพาน ก็ไม่น่าจะใช่ หรือ เป็นอื่นนอกจากนี้ก็ไม่ได้

เพราะปรมัตถธรรม ก็มีแค่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เท่านั้น
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:13:11:18 น.
  
จากข้างต้นที่คุณเคยกล่าวไว้

ชื่อจิตที่ใช้เรียกแทนกันทั้ง ๑๐ ชื่อเหล่านี้
เป็นจิตที่ถูกอารมณ์เข้าผสมปรุงแต่ง จนผิดไปจากสภาพเดิมแล้ว
ไม่ใช่ธาตุแท้ จึงเป็น จิตสังขาร

ลองอ่านเพิ่มจากข้อความด้านล่างดูค่ะ

//www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=6611

จิตเป็นธาตุรู้


ธรรมชาติเดิมของจิตเป็นธาตุรู้ เพราะเหตุอะไร

เป็นปัจจัย จึงทำให้จิตปฏิสนธิในรูปสังขารเป็นไม่รู้


ธรรมชาติของจิตเป็นธาตุรู้ จิตทุกประเภทเป็นสภาพรู้ ทุกขณะที่เกิดขึ้น กุศลจิตก็เป็นสภาพรู้ โลกียจิต โลกุตตรจิตก็เป็นสภาพรู้ ลักษณะของจิตทุกประเภททุกขณะที่เกิดขึ้นเป็นสภาพรู้

ฉะนั้น เมื่อถามว่า เพราะเหตุอะไรเป็นปัจจัยจึงทำให้จิตปฏิสนธิใน รูปสังขาร เป็นไม่รู้สภาพ ที่ไม่รู้อารมณ์ เป็นรูปไม่ใช่จิต

จิตมีหลายประเภท อกุศลจิตที่ยินดียินร้ายเป็นต้น ไม่ใช่กุศลจิตที่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย อกุศลจิตไม่สามารถรู้ว่า สภาพธรรมเป็นอนัตตา แต่กุศลจิต ที่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย สามารถอบรมเจริญปัญญา จนรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้


โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:13:36:19 น.
  
ลองอ่านจากลิ้งค์นี้ดูนะคะ

ทุกขทุกข์ สังขารทุกข์ วิปรินามทุกข์

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร

*
อารมณ์วิปัสสนา ๓

ความเกิดแก่ตายเป็นทุกข์ ๔

ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ๕

สังขารทุกข์ ๖

วิปรินามทุกข์ ๘

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:11:43:44 น
............................................

ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านครับ ตกลงผมจะลบเนื้อความทิ้ง แต่จะทำลิ้งค์ไว้ให้ เผื่อใครจะได้ไปอ่านและศึกษากันเอาเองนะ

ท่านอ่านของพระสังฆราชไม่เข้าใจเอง ท่านเล่นตีความตามชอบใจของตัวเอง
แล้วผมก็ต้องมาอธิบายขยายความที่พระสังฆราชกล่าวไว้ ให้ท่านได้เข้าใจด้วยอย่างนั้นหรือ
ออกจะเกินเลยไปหละมังครับท่าน

พระสังฆราชท่านก็กล่าวไว้ชัดเจนแล้วว่า ขันธ์๕ ไม่ใช่จิต
เพราะขันธ์๕ ที่ท่านพูดถึงคือกายและใจ ใจคืออายตนะ๑ใน๖อายตนะภายใน ที่มีธาตุรู้(จิต)ซ้อนอยู่อีกทีนะ

และพระสังฆราชท่านก็มีกล่าวไว้อีกมากมายในที่อื่นๆ ว่าจิตคือวิญญาณธาตุ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์
ท่านอย่าคิดเองเออเองคนเดียว ทำให้พระสังฆราชเสียหายหมด

พระสังฆราชท่านพูดถึงจิตในพระอภิธรรมไว้ชัดเจนว่า

พิจารณาดูตามหัวข้อที่ท่านว่าไว้เป็นสี่นี้ ตามความเข้าใจจิตนี้เป็นตัวยืน
โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว จิตจะเป็นต่างๆก็เพราะมีเจตสิก
แปลว่าธรรมะที่มีในใจ มีเจตสิกเป็นอย่างไรจิตก็เป็นอย่างนั้น

เจตสิกจึงเป็นสิ่งที่มีผสมอยู่ในจิต
เทียบเหมือนดั่งว่าน้ำกับสีที่ผสมอยู่ในน้ำ
น้ำโดยปรกติก็เป็นอย่างเดียว แต่เมื่อใส่สีลงไปน้ำจึงเป็นน้ำสีนั้น น้ำสีนี้ ฉะนั้น

ในอภิธรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวง ก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง
ยกเจตสิกออกแล้ว จิตก็เป็นอันเดียวเท่านั้น แจกออกไปเป็นอย่างไรมิได้


ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:19:59:43 น.
  
และจากข้อความของคุณธรรมภูต ที่กล่าวว่า..

ส่วน จิตของผู้ปฏิบัติ นั้น ดำรงสภาพ รู้ ของ ตนเอง อยู่ตลอดทุกกาลสมัย
ไม่ได้ดับตามจิตสังขารไปด้วยแต่ประการใดทั้งสิ้น

*****โปรดอ่านข้อความจาก ลิ้งค์ นี้ดูนะคะ
//www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=24
นานาปัญหา
โดย คณะสหายธรรม

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:11:54:27 น.
............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านครับ ตกลงผมจะลบเนื้อความทิ้ง เพราะเป็นความคิดเห็นของท่านอื่นๆ ไม่ใช่ของท่าน

ผมถกไป ท่านเองก็แย้งผมไม่เป็น เพราะท่านไม่รู้เรื่อง(จึงต้องยกของท่านอื่นมา)
ท่านเจ้าของบทความเอง ก็ไม่ได้เข้ามาอ่าน มันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการถกธรรมกัน

เพราะธรรมะที่ท่านยกมานั้น ผมรู้มาหมดแล้วว่า เป็นความเข้าใจเรื่องจิตผิดๆของท่านเหล่านั้น

แค่ขึ้นต้นก็ผิดแล้วที่กล่าวว่า วิญญาณขันธ์ก็คือจิตนั่นเอง
ไม่ต้องอ่านให้เสียเวลา ขัดกับพระสังฆราชที่ได้ยกมาก่อนหน้าด้วยซ้ำ
ถ้าท่านต้องการเผยแพร่ ก็ทำลิงค์ไว้ก็พอ

ส่วนประโยคนี้
ส่วน จิตของผู้ปฏิบัติ นั้น ดำรงสภาพ รู้ ของ ตนเอง อยู่ตลอดทุกกาลสมัย
ไม่ได้ดับตามจิตสังขารไปด้วยแต่ประการใดทั้งสิ้น

ไม่ใช่ผมกล่าวครับ เป็นของท่านหนูเล็กนิดเดียวครับ
(ท่านหนูเล็กนิดเดียว ได้อ่านแล้ว กรุณามาตอบด้วยนะครับ)

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:20:12:11 น.
  
จิต เป็น สังขตธรรม เป็นทุกข์

ดังนั้น
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา (รวมทั้งนิพพานด้วย และ ไม่เว้นแม้แต่ จิต)

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:11:50:29

............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านครับ ผมถามท่าน ท่านควรตอบ แต่ไม่ใช่เที่ยวเอาของใครก็ไม่รู้มาให้ผมอ่าน
ผมถามไปออกมากมาย ท่านก็ไม่ตอบ ใช้วิธีเอาของคนอื่นมาให้อ่าน ผมจะอ่านไปทำไม???

ในเมื่อที่ท่านเอามาให้อ่านนั้น ผมรู้มาหมดแล้วว่าเป็นการเข้าใจเรื่องจิตผิดๆนั่นเอง
ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์จริงแล้ว ก็ดับจิตซะก็จะพ้นทุกข์ได้ใช่มั้ย???
ซึ่งเป็นไปไม่ได้ใช่มั้ย??? เมื่อยังไม่บรรลุพระอรหันต์ใช่มั้ย???

ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ ทำไมบางครั้งจิตถึงเป็นสุขหละ???
ท่านก็ยอมรับเองชัดๆว่า โลกุตรจิตชั้นพระอรหันต์ เป็นวิสังขารใช่มั้ย???
ในเมื่อจิตพระอรหันต์เป็นวิสังขาร จะเป็นสังขตธรรมได้หรือ???
ท่านรู้สึกมั้ยว่า องค์ธรรมที่ท่านเรียนรู้ขัดแย้งกันเองมั้ย???

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช่ไตรลักษณ์มั้ย???
อนิจจัง ไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้ใช่มั้ย???
ทุกขัง เมื่อไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ใช่มั้ย???
เมื่อ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงเป็นอนัตตาไม่ใช่ตน เป็นที่พึ่งไม่ได้ใช่มั้ย???

เมื่ออนัตตลักขณสูตรกล่าวไว้ชัดเจนว่า ขันธ์๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ขันธ์๕ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้เป็นพระพุทธพจน์

ถ้าพระนิพพานเป็นอนัตตาตามตำราบางเล่มหรือบางพวกพูดไว้
ก็แสดงว่าพระนิพพาน เป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้สิ เพราะยังตกอยู่ในอำนาจพระไตรลักษณ์น่ะ

อย่าพยายามเอาเพียงความเชื่อความเข้าใจของตนเองเป็นที่ตั้ง
โดยที่ไม่เคยลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเลยนะ

ปล. ช่วยตอบคำถามผมแบบตรงไปตรงมาด้วยนะ อย่าใช้วิธีเอาของใครก็ไม่รู้มาให้อ่าน...

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:20:43:54 น.
  
เคยบอกไว้ตั้งแต่กระทู้แรกๆ แล้วมิใช่หรือว่า เป็นเพียงข้อมูลที่รับรู้มา และเห็นว่า ความเห็นในเรื่อง จิต ที่คุณนำเสนอ กับสิ่งที่ข้าพเจ้ารู้มามันแตกต่างกัน จึงขอแย้งเพื่อศึกษาเพิ่ม

ดังนั้น ถ้าความเห็นใดๆ ที่แตกต่างจากความเห็นเดิมของคุณ คุณก็เพียงแต่แย้งมาก็เท่านั้น

แต่ไม่ควรกล่าวว่า ความเห็นที่แตกต่างนี้เป็นการกล่าวตู่พรพุทธองค์

เพราะสิ่งที่ข้าพเจ้าแสดง ก็ไม่เคยเชิญชวนให้เชื่อในทันที
(ให้ศึกษาเอง โดยยึดหลักกาลามสูตร) ซึ่งบางครั้งก็บอกไปแล้วด้วยซ้ำว่า...เป็นความเห็นส่วนตัว อาจจะผิดก็ได้...

หรือว่า ไม่ได้อ่านโดยละเอียดคะ ^^

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:11:59:32 น.
............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ที่ผมใช้คำว่ากล่าวตู่พระพุทธพจน์นั้น ก็เพราะว่า ท่านอรรถกถาจารย์ท่านก็กล่าวไว้เองนะ ดังนี้
ก็ปิฏก ๓ที่ยกขึ้นสู่สังคีติ ๓ ชื่อว่าสุตตะ ในปกิณณกะมีสุตตะเป็นต้น.
ข้อที่เข้ากันได้กับกัปปิยะ ชื่อว่าสุตตานุโลม.
อรรถกถา ชื่อว่าอาจริยวาท.
ปฏิภาณของตน ตามความคาดหมายตามความรู้ ชื่อว่าอัตตโนมัติ.

ในปกิณณกะเหล่านั้น สุตตะ ใครๆ คัดค้านไม่ได้ เมื่อคัดค้านสุตตะนั้น ก็เท่ากับคัดค้านพระพุทธเจ้าด้วย.
ส่วนข้อที่เข้ากับได้กับกัปปิยะ ควรถือเอาเฉพาะข้อที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.
แม้อาจริยวาทเล่า ก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.
ส่วนอัตตโนมัติเพลากว่าเขาทั้งหมด.
แม้อัตตโนมัตินั้นก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.

ก็สังคีติมี ๓ เหล่านี้คือ ปัญจสติกสังคีติ (สังคายนาครั้งที่ ๑) สัตตสติกสังคีติ (ครั้งที่ ๒) สหัสสิกสังคีติ (ครั้งที่ ๓).
แม้สุตตะเฉพาะที่มาในสังคีติ ๓ นั้น ควรถือเอาเป็นประมาณ. นอกนั้นเป็นที่ท่านตำหนิ ไม่ควรถือเอา.


ความรู้ที่ท่านรู้มาท่านเคยเทียบกับพระสูตรและพระวินัยหรือยัง??? ผมเชื่อว่ายัง
เพราะท่านพยายามเอาจากแหล่งที่ท่านเรียนรู้มาเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น โดยไม่นำพาความรู้ที่มาจากแหล่งอื่นเลย

โดยเฉพะความรู้ที่มาจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ฝ่ายปฏิบัติ สายท่านพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น
คำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่มีองค์ไหนเลยที่กล่าวว่าจิตคือวิญญาณขันธ์
จะมีแต่กลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นฝ่ายปฏิบัติที่เป็นของเทียมแบบแอบอ้างเท่านั้น ที่สอนว่า จิตคือวิญญาณขันธ์

ผมเองก็ไม่เคยเชิญชวนให้เชื่อในคำพูดของผม
แต่ผมเชิญชวนให้เชื่อในการลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา ตามรอยพระบาทของพระบรมครู
เมื่อได้ผลเช่นใดก็เอามาเทียบเคียงว่าลงได้กับพระสูตรและพระวินัยมั้ย
ไม่ใช่มัวแต่คิดๆ นึกๆ ง่ายๆ สบายๆ ลัดสั้น แล้วเข้าถึงสัจจธรรมได้นั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ครับ


ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:21:11:16 น.
  
พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงจิตที่เศร้าหมองเพราะประกอบด้วยเจตสิกที่เศร้าหมอง คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย แม้ภาพจิตรกรรมที่เขาเขียนไว้นั้น จิตรกรก็คิดด้วยจิตนั่นเอง จิตนั่นเองวิจิตรกว่าภาพจิตรกรรมที่เขาเขียนไว้นั้น เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายควรพิจารณาจิตอยู่เนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นเวลานาน สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เพราะจิตผ่องแผ้ว”
(สํข.(ไทย) ๑๗/๑๐๐/๑๙๑-๑๙๒.)

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:12:39:58 น.
............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านอ่านพระสูตรไม่เป็น แถมยังเชื่อตามคนที่เอาพระสูตรไปตีความเอง

พระสูตรที่ท่านยกมาคือ คัททูลสูตรที่ ๒ พระสูตรนี้แสดงชัดเจนว่า

เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า
จิตนี้เศร้าหมองด้วย ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นกาลนาน

สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว.


ความก็ชัดเจนอยู่แล้ว จึงทรงสอนให้ชำระจิตให้บริสุทธิ์
ไม่ได้ทรงสอนให้ชำระจิตที่เกิดดับให้บริสุทธิ์
ถ้าจิตยังเกิดดับ จะชำระได้อย่างไร?
ตอนชำระอยู่ จิตดับ ทำไงล่ะ? ก็ชำระไม่ได้สิ?

ทรงตรัสไว้ท้ายพระสูตร แสดงชัดเจนว่า
ที่เกิดดับคือ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จึงตรัสถามต่อว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง
ตอบ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนของเรา

เนื่องจากพระสูตรใช้ ฯลฯ สำหรับผู้ไม่เคยศึกษามาก่อน ดีแต่ยกของคนอื่นมา
จึงไม่รู้ว่า ตอนท้ายพระสูตร ที่เป็น ฯลฯ นั้น เขียนไว้ว่า
จิตของพระอริยสาวกก็หลุดพ้นจากการถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

ซึ่งชัดเจนว่า จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์
เพราะถ้าจิตเป็นวิญญาณขันธ์ ทำไมไม่เคยมีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า
วิญญาณหลุดพ้นจากการถือมั่นวิญญาณล่ะ???

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:21:30:34 น.
  
พระสารีบุตรท่านก็กล่าวไว้ ว่า เวทนา สัญญา และวิญญาณ ไม่แยกจากกัน
ดังนั้น จิตกับเจตสิก แยกจากกันไม่ได้
และถ้าวิญญาณ ไม่ใช่จิต แล้ว
วิญญาณ จะเป็นเจตสิก เป็นรูป เป็นนิพพาน ก็ไม่น่าจะใช่ หรือ เป็นอื่นนอกจากนี้ก็ไม่ได้
เพราะปรมัตถธรรม ก็มีแค่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เท่านั้น
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:13:11:18 น.
............................................
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ท่านอ่านพระสูตรไม่เป็น แถมปักธงลงไปว่า วิญญาณขันธ์คือจิต ทำให้ความเข้าใจธรรมผิดเพี้ยนไปนะ

วิญญาณเป็นอาการของที่จิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ เป็นขบวนการในขันธ์๕

ผมจำได้ว่าเคยถามไปแต่ยังไม่ได้รับคำตอบว่า เรารู้โดยไม่ต้องรับได้มั้ย???
เมื่อรู้โดยไม่รับ ก็ไม่เกิดวิญญาณ เมื่อไม่เกิดวิญญาณก็ไม่เกิดเวทนา สัญญา สังขาร ตามมา

ที่พระสารีบุตรท่านกล่าวว่า เวทนา สัญญา และวิญญาณ ไม่แยกจากกันนั้น
หมายถึง ทั้งหมดนี้คือ กระบวนการเกิดขันธ์ ๕ ขึ้นที่จิต

ตัวอย่างเช่น
เมื่อตาเห็นรูป จิตรับรู้อารมณ์(รูป)ทางตา เรียกวิญญาณทางตา...วิญญาณ
จิตเกิดความพอใจ-ไม่พอใจในรูปที่เห็น...เวทนา
จิตจดจำรูปที่เห็น...สัญญา
จิตนึกคิดปรุงแต่งในรูปที่เห็น...สังขาร
ครบขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นที่จิต

จากนั้น ถ้าหูได้ยินเสียง กระบวนการของขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นข้างต้นดับไป
เกิดกระบวนการของขันธ์ ๕ ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการในทำนองเดียวกัน
คือ เกิดวิญญาณทางหู
เกิดเวทนา-พอใจไม่พอใจในเสียงที่ได้ยิน
เกิดสัญญา-จดจำเสียงที่ได้ยิน
เกิดสังขาร-นึกคิดปรุงแต่งไปตามเสียงที่ได้ยิน
ครบขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นที่จิต
และดับไปจากจิต เมื่อมีอารมณ์ใหม่เข้ามากระทบจิต

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:21:54:03 น.
  
จากข้างต้นที่คุณเคยกล่าวไว้

ชื่อจิตที่ใช้เรียกแทนกันทั้ง ๑๐ ชื่อเหล่านี้
เป็นจิตที่ถูกอารมณ์เข้าผสมปรุงแต่ง จนผิดไปจากสภาพเดิมแล้ว
ไม่ใช่ธาตุแท้ จึงเป็น จิตสังขาร

ลองอ่านเพิ่มจากข้อความด้านล่างดูค่ะ

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.196.152 วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:13:36:19 น.
....................................

ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ
ส่วนนี้ท่านหนูเล็กนิดเดียว เป็นคนยกมาครับ

เนื่องจากผมตอบท่านมาก็มากแล้ว ทุกความคิดเห็น
ผมก็ว่า ยังไงท่านก็คงไม่เข้าใจอยู่ดี เพราะท่านเรียนธรรมะโดยไม่ยืนอยู่บนหลักเหตุผล
เชื่อตามๆกันมาเท่านั้น ไม่ลงมือพิสูจน์เองโดยการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
ไม่มีทางเข้าถึงจิตได้หรอก

ยังไงถ้าท่านหนูเล็กนิดเดียวเข้ามาอ่าน จะตอบบ้างก็ดีนะ

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 22 มกราคม 2553 เวลา:22:02:11 น.
  
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ

การดูจิตที่ติดวิญญาณ ต่างจากการดูจิตที่ไม่ติดวิญญาณ

อ่านด้วยนะครับ ผมมีอธิบายไว้ละเอียดแล้ว

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 23 มกราคม 2553 เวลา:8:18:03 น.
  
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ

การดูจิตที่ติดวิญญาณ ต่างจากการดูจิตที่ไม่ติดวิญญาณ

อ่านด้วยนะครับ ผมมีอธิบายไว้ละเอียดแล้ว

ธรรมภูต
--------------------------------------------------------
จากที่คุณยกมาให้อ่านพบประโยคที่ว่า

จิตรับรู้ (วิญญาณ)

ไม่แปลกใจค่ะ เพราะคุณเข้าใจว่า จิตเที่ยง ก็จำต้องมีอะไรมารองรับการรู้นั้น

แต่ถ้าถามว่า

เมื่อ จิต..รับ..รู้(วิญญาณ) แล้ว

เพราะมีสัญญา ใช่ไหม จิตจึงมีการจดจำ
เพราะมีเจตนาเจตสิก (ร่วมกับเจตสิกอื่น) ใช่ไหม จิตจึงมีการคิด

ถ้าเช่นนั้น จิต ก็ไม่มีความหมายอะไรเลย ทำอะไรก็ไม่เป็น แล้ว จิตนั้นคืออะไรกัน

ที่ว่า จิต คือธาตุรู้ (คือ รู้) ก็ใช่ แต่ว่า แล้วมันต่างอะไรกับคำว่า วิญญาณ ที่หมายถึง รู้ เช่นกันคะ


พระพุทธองค์ทรงสอนธรรมะ ซึ่งท่านก็สอนเกี่ยวกับกายและจิตใจ นี้ (ขันธ์5) และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับกายและจิตใจนี้ จึงเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า ธรรมะ

ดังนั้น ที่ว่า สัพเพธัมมา อนัตตาติ ก็ชัดเจนในตัวอยู่แล้ว
ว่า จิตใจ ก็เป็นอนัตตา เช่นกัน





โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.13 วันที่: 24 มกราคม 2553 เวลา:16:44:14 น.
  
ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่าง นี้ว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรง ทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจ มีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล พวกเธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ

ภิกษุทูลว่า เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
(ยังมีเนื้อความต่อ คุณคงเคยอ่านแล้ว)

-----------------------------------------
ในพระสูตร ที่ยกมานี้ โปรดทำความเข้าใจในอีกมุมว่า

****โมฆะบุรุษ นั้นท่านหมายถึงใคร ถ้าไม่ใช่ภิกษุรูปนั้น ที่ว่า

มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่าง นี้ว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร

****พระพุทธเจ้าท่านทรงทราบ จึงตรัสสอนแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยกล่าวยกตัวอย่างถึงภิกษุผู้นั้น (โมฆะบุรุษ) ว่า

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรง ทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจ มีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล พวกเธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ถ้าเข้าใจตรงตามนี้ ก็ไม่น่าจะ คิดว่า จิตเที่ยง

ประโยคที่ว่า กรรมที่อนัตตาทำแล้ว
ก็เป็นความเข้าใจที่ผิด อนัตตาไม่ใช่ตัวตน แล้วจะกระทำได้อย่างไร

และประโยคที่ว่า จะทำถูกตนได้อย่างไร
เพราะเข้าใจว่ามีอนัตตา กระทำตน ก็เป็นความเห็นผิดที่ว่า มีตนเป็นผู้ถูกกระทำ

ที่พระองค์ทรงตรัสสอนไว้ว่า

ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ. สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา

ท่านสอนอะไร ท่านสอนธรรมะ
ธรรมะคืออะไร คือ ความธรรมดา (ธัมม)
แล้วธรรมะของท่านหมายรวมถึงอะไร หมายถึง กายใจ (ขันธ์5) และ สิ่งที่เนื่องด้วยกายใจ (ขันธ์5)

แล้วจะมีตัวตนได้อย่างไร ในเมื่อความธรรมดา มันไม่มีตัวตน มันเกิดแล้วก็ต้องดับ ไปตามเหตุปัจจัย

ก็ชัดเจนแล้วที่ว่า สัพเพธัมมา อนัตตาติ
เมื่อกายและใจเป็นส่วนหนึ่งของธรรมะ จิตใจนั้น ก็ตกอยู่ในอนัตตา ซึ่งไม่ใช่ตัวตน (เกิดเพราะเหตุปัจจัย) เช่นกัน
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.13 วันที่: 24 มกราคม 2553 เวลา:17:07:41 น.
  
จากที่สงสัยกันว่า พระอรหันต์ที่นิพพาน (ดับขันธ์แล้ว)แล้วจะไปที่ไหน

พุทธดำรัสตอบ “....ดูก่อนวัจฉะ คำว่า จะเกิดดังนี้ไม่ควรเลย.... คำว่า ไม่เกิดดังนี้ก็ไม่ควร.... คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ก็ไม่ควร.... คำว่าเกิดก็มีใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ก็ไม่ควร
“.....ธรรมนี้เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเป็นยากที่จะรู้ สงบระงับประณีตไม่ใช่ธรรมที่จะหลั่งถึงได้ด้วยความตร ึกละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยากดูก่อนวัจฉะ...... เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้..... ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านท่านจะพึงรู้หรือไม่ว่าไ ฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา”
วัจฉะ “ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา”
พุทธะ “...... ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้อาศัยอะไรจึงลุกเล่า ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร ?
วัจฉะ “......ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกอยู่”
พุทธะ “......ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้จะดับไปต่อหน้าเราแล้ว ?”
วัจฉะ “ ...... ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.....”
พุทธะ “......ไฟที่ดับไปต่อหน้าท่านแล้วนั้นไปยังทิศไหนจาก ทิศนี้.... ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร ?”
วัจฉะ “...... ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกแต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่า ไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว”
พุทธะ “......ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะรูปใด...... เพราะเวทนาใด....... เพราะสัญญาใด........ เพราะสังขารใด เพราะวิญญาณใด รูป...... เวทนา...... สัญญา.....สังขาร..... วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เห็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความมี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูป....... เวทนา...... สัญญา.... สังขาร...... วิญญาณ มีคุณอันลึกอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มีไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้”

อัคคิวัจฉโคตตสูตร ม. ม. (๒๔๘-๒๕๑)
ตบ. ๑๓ : ๒๔๕-๒๔๘ ตท.๑๓ : ๒๐๙-๒๑๑
ตอ. Mls. Ii : ๑๖๕-๑๖๖
-----------------------------------------------------
ขันธ์ 1 ขันธ์ 4 และขันธ์ 5 ก็เปรียบเสมือน ไฟ

เมื่อยังมีอวิชชา (เชื้อ) อยู่ ขันธ์ ก็ยังต้องเกิด เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย...จึงมีภพ (ที่ตั้งอาศัย)จึงมีชาติ (ความเกิด) แม้แต่พรหมลูกฟัก ที่มีแต่รูป ไม่มีนาม (จิต) ก็ยังต้องมาเกิดอีก

แต่เมื่อละอวิชชาแล้ว ย่อมไม่มีเชื้ออันเป็นเหตุนำให้เกิดอีกต่อไป ไม่มีภพให้ตั้งอาศัย ไม่มีผู้อาศัย

ดังนั้น

คำว่า (ชื่อว่า) จิต (วิญญาณ) นั้นมีอยู่ แต่อวิชชา (เชื้อ) ที่จะทำให้จิต (วิญญาณ) เกิดอีกไม่มี ก็ย่อมไม่มีจิตในนิพพาน เพราะนิพพานเป็นอนัตตา

และ คำว่า (ชื่อว่า) รูป เวทนา สัญญา สังขาร นั้นมีอยู่ แต่อวิชชา (เชื้อ) ที่จะทำให้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร เกิดร่วมกับจิต (วิญญาณ) ก็ย่อมไม่มี เช่นกันค่ะ

(เป็นความเห็นส่วนตน ไม่ชวนให้เชื่อ แต่ให้หาคำตอบเอง)
โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.13 วันที่: 24 มกราคม 2553 เวลา:19:43:25 น.
  
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 208

..........................................................................

ทำที่พึ่งแก่ตนเองแล จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เพราะบุคคลอาศัยคนอื่น ไม่สามารถเพื่อจะมีสวรรค์หรือมรรคเป็นที่ไปในเบื้องหน้าได้, ฉะนั้นตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน, คนอื่นจะทำอะไรได้ " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๔. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.


" ตนแลเป็นที่พึ่งของตน. บุคคลอื่นใครเล่า

พึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคล มีตนฝึกฝนดีแล้ว

ย่อมได้พึ่ง ที่บุคคลได้โดยยาก. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโถ คือเป็นที่พำนัก พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำนี้ไว้ว่า " บุคคลตั้งอยู่ในตน คือสมบูรณ์แล้วด้วยตน สามารถจะทำกุศลแล้วถึงสวรรค์ หรือเพื่อยังมรรคให้เจริญ หรือทำให้แจ้งซึ่งผล
ได้, เพราะเหตุนั้นแหละ ตนแลพึงเป็นที่พึ่งของตน. คนอื่นใครเล่า ?

พึงเป็นที่พึ่งของใครได้. เพราะบุคคลมีตนฝึกดีแล้ว คือมีความเสพผิดออกแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งบุคคลได้โดยยากกล่าวคือพระอรหัตผล. ก็คำว่า

" นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ " นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระอรหัต.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล

เรื่องมารดาของพระกุมารกัสสปเถระ จบ.


202-23/09

****อัตตา ในที่นี้ คือ การตั้งตนไว้ชอบในขณะที่ยังเป็นมนุษย์ เช่น การทำบุญกุศล การเจริญสติ (เจริญมรรค) เป็นการตั้งตนไว้ชอบในทางอันเป็นกุศลทั้งหลาย ก็จะไม่ทำให้ตนเดือดร้อนในภายหน้า (คือเป็นที่พึ่งแก่ตนในภายหน้าได้) แม้จนถึงที่สุด เจริญสติจนรู้แจ้งเป็นอรหันต์ เมื่อดับขันธ์แล้วก็ย่อมพ้นจากภัยในวัฎฎะ (หมดเชื้ออันนำมาเกิดอีก) สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ พึ่งใครไม่ได้นอกจากตัวเอง (ด้วยการตั้งตนไว้ชอบ หรือ การกระทำ (กรรม) อันชอบ คือ เป็นไปในกุศล)

ดังนั้น อัตตา (ตน) ในพระสูตรต่างๆ น่าจะ มีความหมายนัยนี้เช่นเดียวกันค่ะ

(เป็นความเห็นส่วนตัว ยังไม่ต้องเชื่อ หาคำตอบเอง)




โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.13 วันที่: 24 มกราคม 2553 เวลา:20:35:15 น.
  
พระไตรปิฎกเล่มที่ 14 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 6
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เทวทหวรรค มหาปุณณมสูตร


๙. มหาปุณณมสูตร (๑๐๙)


[๑๒๔] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ เวทนาขันธ์
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สัญญาขันธ์
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ


พ. ดูกรภิกษุ มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์
ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์
ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์
นามรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ



[๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิ จะมีได้อย่างไร ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมเล็งเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็น อัตตาในรูปบ้าง

ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนา บ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง

ย่อมเล็งเห็นสัญญา โดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง

ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง

ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงมีได้ ฯ

//www.larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?book=14&lstart=1930&lend=2136

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.13 วันที่: 24 มกราคม 2553 เวลา:20:54:11 น.
  
พระไตรปิฎก เล่มที่ 16

[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย
ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุ
ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี
สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ
เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-
โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย
แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ
โดย: ยังหวังดี IP: 113.53.83.214 วันที่: 25 มกราคม 2553 เวลา:12:16:46 น.
  
จากที่คุณยกมาให้อ่านพบประโยคที่ว่า
จิตรับรู้ (วิญญาณ)
ไม่แปลกใจค่ะ เพราะคุณเข้าใจว่า จิตเที่ยง ก็จำต้องมีอะไรมารองรับการรู้นั้น
แต่ถ้าถามว่า
เมื่อ จิต..รับ..รู้(วิญญาณ) แล้ว
เพราะมีสัญญา ใช่ไหม จิตจึงมีการจดจำ
เพราะมีเจตนาเจตสิก (ร่วมกับเจตสิกอื่น) ใช่ไหม จิตจึงมีการคิด
ถ้าเช่นนั้น จิต ก็ไม่มีความหมายอะไรเลย ทำอะไรก็ไม่เป็น แล้ว จิตนั้นคืออะไรกัน
ที่ว่า จิต คือธาตุรู้ (คือ รู้) ก็ใช่ แต่ว่า แล้วมันต่างอะไรกับคำว่า วิญญาณ ที่หมายถึง รู้ เช่นกันคะ
พระพุทธองค์ทรงสอนธรรมะ ซึ่งท่านก็สอนเกี่ยวกับกายและจิตใจ นี้ (ขันธ์5) และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับกายและจิตใจนี้ จึงเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า ธรรมะ
ดังนั้น ที่ว่า สัพเพธัมมา อนัตตาติ ก็ชัดเจนในตัวอยู่แล้ว
ว่า จิตใจ ก็เป็นอนัตตา เช่นกัน

โดย: ยังหวังดี IP: 118.172.197.13 วันที่: 24 มกราคม 2553 เวลา:16:44:14 น.
.........................................

ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ

ท่านแกล้งลืม หรือเถียงเพื่อเอาชนะเท่านั้น
ท่านสมเด็จพระสังฆราชท่านเองก็กล่าวไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า จิตเป็นตัวยืน(รู้)
ที่เข้ามาทำให้จิตเศร้าหมองนั้นล้วนเป็นเจตสิกที่เปลี่ยนหน้ากันเข้ามา
ส่วนสติ สมาธิ ปัญญานั้น เป็นมรรค(ทางเดินของจิต)ไม่ทำให้จิตเศร้าหมองเลยสักนิด
เป็นเครื่องมือในการชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใช่มั้ย?

ไม่แปลกใจนะว่า ทำไมจึงไม่รู้จักจิตเพราะมัวแต่วนเวียนอยู่กับอาการของจิต
ถามว่า จิตของพระโสดาบันเป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพานใช่มั้ย?
ถ้าไม่ใช่จิตของพระโสดาบันที่เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน แล้วอะไรหละที่เป็นผู้เที่ยงแท้???


เพราะมีสัญญา ใช่ไหม จิตจึงมีการจดจำ
เพราะมีเจตนาเจตสิก (ร่วมกับเจตสิกอื่น) ใช่ไหม จิตจึงมีการคิด
ถ้าเช่นนั้น จิต ก็ไม่มีความหมายอะไรเลย ทำอะไรก็ไม่เป็น แล้ว จิตนั้นคืออะไรกัน
ที่ว่า จิต คือธาตุรู้ (คือ รู้) ก็ใช่ แต่ว่า แล้วมันต่างอะไรกับคำว่า วิญญาณ ที่หมายถึง รู้ เช่นกันคะ
โดย: ยังหวังดี


ใช่ครับ เพราะมีธรรมารมณ์ที่เป็นสัญญาอันนอนเนื่องอยู่ในจิต
เมื่อจิตกระทบอารมณ์ทางอายตนะใด ล้วนแต่รู้แล้วเป็นยึดอารมณ์เหล่านั้นทันที ไม่ยึดเป็นไม่มี

ถ้าจิตไม่มีความหมายอะไร แล้วพระพุทธองค์ท่านทรงสอนให้ชำระจิต
ให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองไปเพื่ออะไรหละ?
อย่ารู้ดีเกินพระพุทธองค์เลย บาปนะ

จิตคือธาตุรู้ใช่ แต่วิญญาณนั้นคือ กิริยาที่รู้แจ้งอารมณ์นั้น ทางทวารนั้น
มีผู้รู้ในพันทิพแจงไว้ดังนี้
“จิต เจเตติ ใน สิ่งใด = จิต ปักลงไปในอารมณ์
เหตุ เกิด ผล คือ เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ (ที่คือ กิริยาที่รู้แจ้งอารมณ์นั้น ทางทวารนั้น)”

ส่วนเรื่องสัพเพธัมมา อนัตตานั้น ท่านก็อย่าพยายามเดาสวดต่อไปอีกเลยนะ
ในพระพุทธพจน์นั้น ทุกครั้งที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสถึงสัพเพธัมมา อนัตตานั้น
พระพุทธองค์ท่านทรงจะต้องตรัสถึงบริบทก่อนหน้านั้นว่า
สัพเพสังขารา อนิจจา สัพเพสังขารา ทุกขา สัพเพธัมมา อนัตตา ชัดเจนนะ

ถ้าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา(พึ่งพาอาศัยไม่ได้)หมด
แบบนี้แล้วพระพุทธองค์จะทรงออกผนวชไปเพื่ออะไร? ในเมื่ออะไรๆก็ไม่มี อะไรๆก็ไม่ใช่
ทรงประทับอยู่ในวังไม่ต้องลำบากลำบนกับการออกผนวช ก็ทรงตรัสรู้ได้เช่นกันสิ?

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 25 มกราคม 2553 เวลา:20:11:33 น.
  
ท่านแน่ใจนะว่ายังหวังดีครับ

ท่านมาฟลัดบล็อกผมทำไม โดยที่ท่านไม่มีความรู้ อ่านพระไตรปิฎกไม่เป็น
ท่านไม่ต้อง copy paste post แบบที่เค้าชอบทำกันในกระทู้หรอกครับ เปลืองพื้นที่ครับ

ท่านอ้างพระสูตรมาเลย แล้วทำลิงค์มาว่าชื่อสูตรอะไร
แล้วสรุปมาตามสำนวน คคห ของท่าน ไม่ต้องเอาของคนอื่นมา
ท่านจะได้รับผิดชอบคำพูด คคห ของท่านเอง
ก็เหมือนเดิม ถามไปไม่เคยได้รับคำตอบ ดีแต่ยกมาวางๆๆๆๆ

ไม่ว่าจะเป็นมหาปุณณมสูตร อัสสุตตวตาสูตร ผมก็ถกมาเยอะแล้ว
ผมอ่านพระสูตรเหล่านี้มาไม่รู้กี่รอบ พูดไปไม่รู้กี่หน
เถียงไม่ได้ แต่ไม่ยอมรับ เที่ยวเอาของท่านอรรถกถาจารย์บ้าง อัตโนมัติอาจารย์บ้าง มาล้มล้างพุทธพจน์

ไม่ใช่ผมตอบไม่ได้ ผมตอบแน่นอน
แต่ผมจะเปิดบล็อกเรื่องใหม่ ยกที่คุณโต้แย้งมา ไปตอบที่นั่น
สงสัยต้องตั้งชื่อเรื่อง พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้

ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 25 มกราคม 2553 เวลา:20:24:50 น.
  
เปิดบล็อกใหม่ตามคำเรียกร้องของ

พวกดื้อรั้นจะให้จิตเป็นวิญญาณขันธ์ให้ได้

ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 26 มกราคม 2553 เวลา:9:20:34 น.
  
อวดฉลาดกันทั้งคู่
โดย: เข้ามาดู IP: 119.31.76.240 วันที่: 28 มกราคม 2553 เวลา:15:32:29 น.
.............................
คุณเข้ามาดู
ที่ว่าอวดฉลาดทั้งคู่หนะ หมายถึงคุณกับผม หรือคุณกับคุณยังหวังดี?

ธรรมภูต

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 30 มกราคม 2553 เวลา:7:52:40 น.
  
เจ้าของบล๊อค บอกว่า จิต ไม่เกิดดับ แสดงว่า จิตเที่ยง ลองทำใจเป็นกลางแล้วพิจารณาใหม่

จิต มีชื่อเรียกมากมาย และ คำว่า วิญญาณธาตุ ก็เป็นชื่อหนึ่งของ จิต แล้วมาดูว่า พระสูตรสอนเกี่ยวกับ วิญญาณธาตุหรือจิต นั้นว่าอย่างไร

[๔๗๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา อาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ อากาสธาตุ ฯลฯ วิญญาณธาตุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
และ จากอีกหนึ่งพระสูตร
ธาตุสูตร
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ ... อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ... วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ... วิญญาณธาตุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ

โดย: จิต และ วิญญาณธาตุ ไม่เที่ยง IP: 118.172.196.226 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:50:25 น.
.............................
คุณจิตและวิญญาณธาตุไม่เที่ยงครับ
ผมว่าคุณสับสนในการอ่านพระสูตรเสียมากกว่า และอ่านไม่เข้าใจโดยดูแต่ตัวหนังสือที่เขียนไว้เท่านั้น
ในพระสูตรพระองค์ท่านทรงกล่าวไว้ชัดเจนว่า ร่างกายมนุษย์เราประกอบธาตุ๖
เมื่อธาตุทั้ง๖มารวมตัวกันเป็นธาตุผสมแล้ว ย่อมไม่เที่ยงปรวนแปรไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบเป็นธรรมดา
โดยเฉพาะวิญญาณธาตุหรือจิต เมื่อเข้ามายึดครองร่างกายเป็นของๆตนแล้ว
ย่อมปรวนแปรไปตามอารมณ์ที่เข้ามาทางอายตนะสู่จิต

จึงต้องมีการอบรมปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เพื่อให้จิตรู้จักปล่อยวางอารมณ์ต่างๆเหล่านั้น
เมื่อจิตเบื่อหน่าย จิตก็คลายกำหนัด เมื่อจิตคลายกำหนัด จิตก็หลุดพ้นจากอุปกิเลสเหล่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า
สัทธานุสารี ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ผมถามว่า สัทธานุสารีที่คุณพูดถึงหนะ เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบ้องหน้า
อะไรของท่านเหล่านั้นที่เป็นผู้เที่ยง?
กายที่ตาย เน่าเปื่อยผุพัง หรือจิตของท่านเหล่านั้น?


แม้สมเด็จพระสังฆราชเองท่านก็กล่าวไว้เช่นกัน ไม่ใช่ผมเห็นแบบนั้นคนเดียวเสียเมื่อไหร่
"ส่วนทางจิตใจนั้น จิตใจที่เป็นวิญญาณธาตุ
ธาตุรู้ตัวรู้ที่ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรมทั้งหลาย
นั่นก็ยังเป็นสังขารส่วนประสมปรุงแต่ง

แต่ว่าตัวรู้ที่สิ้นอวิชชาตัณหาอุปาทานทั้งหมด
เป็นตัวรู้ที่รู้พ้นไม่มีสิ่งผสมปรุงแต่ง ไม่มีการผสมปรุงแต่งทั้งสิ้น
เป็นรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย
สิ้นอาสวะกิเลสทั้งหมด

ซึ่งอาจจะแสดงออกมาเป็นสมมติบัญญัติก็เป็นวิชชาเป็นวิมุติ
เป็นตัวรู้ที่บริสุทธิ์ไม่มีเครื่องปรุงแต่งด้วยประการทั้งปวง
ดั่งนี้ก็กล่าวได้ว่าเป็นสภาพที่เป็นวิสังขาร ที่เป็นวิราคะธรรม หรือเป็นนิพพาน"


ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:30:44 น.
  
เจ้าของบล๊อค บอกว่า จิต ไม่เกิดดับ แสดงว่า จิตเที่ยง ลองทำใจเป็นกลางแล้วพิจารณาใหม่
เห็นพระสูตรแสดงไว้อย่างนี้แล้ว ท่านเจ้าของบล๊อค ยังมีความเห็นว่า จิตเที่ยงอยู่อีกหรือ
เมื่อเห็นชัดเจนดีแล้วว่า วิญญาณธาตุหรือจิต ไม่เที่ยง ก็ต้องมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นธรรมดา จะยึดเป็นตัวเป็นตนได้อย่างไร
และจะบอกว่า จิต หรือวิญญาณธาตุ ก็คือ วิญญาณขันธ์นั่นเอง ไม่เป็นอย่างอื่นไปได้ ขันธ์ คือ กอง เป็นกองแห่งวิญญาณธาตุที่เกิดทางทวารใดทวารหนึ่ง จากทั้ง 6 ทวาร ตามแต่เหตุปัจจัย
เมื่อ วิญญาณธาตุ ก็คือ วิญญาณขันธ์ แล้วจะยังยึดว่า วิญญาณธาตุหรือจิต ยึดเป็นตัวตนได้อยู่อีกหรือท่าน
อุปาทานขันธ์ ก็คือ การยึดมั่นในขันธ์ว่าเป็นตน เป็นของตน จึงทุกข์
การยึดเอาจิต หรือ วิญญาณธาตุซึ่งไม่เที่ยง ว่าเป็นตน เป็นของตน ก็ต้องเป็นทุกข์
ชัดเจนแล้วนะท่าน
สัพเพสังขารา อนิจจา
สัพเพสังขารา ทุกขา
สัพเพธัมมา อนัตตา
ท่านมีความเห็นว่า จิต หรือ วิญญาณธาตุ นั้น สมควรเป็นอนัตตาด้วยหรือไม่
โดย: จิต และ วิญญาณธาตุ ไม่เที่ยง IP: 118.172.196.226 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:50:25 น.
.............................
คุณจิตและวิญญาณธาตุไม่เที่ยงครับ
ใครที่ไม่ยึดขันธ์๕เป็นตน? ไม่มีตนในขันธ์๕ ? ขันธ์๕ไม่ใช่ตัวตน?
มีพระสูตรมากกมายที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ชัดเจนว่า จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์
ในนกุลปิตาสูตรก็กล่าวไว้ชัดเจนแล้ว คุณอย่าเดาสวดส่งเดชไปเลยนะ
"ปุถุชน ผู้มิได้สดับ……
เพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงเกิดขึ้น

ดูกรคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มี กาย กระสับกระส่าย
และเป็นผู้มี จิต กระสับกระส่าย


พระอริยสาวก ผู้ได้สดับ......
เพราะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้น

ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แล
บุคคลแม้มี กาย กระสับกระส่าย
แต่หาเป็นผู้มี จิต กระสับกระส่ายไม่."


ถ้าจิตไม่มีความหมายอะไร แล้วพระพุทธองค์ท่านทรงสอนให้ชำระจิต
ให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองไปเพื่ออะไรหละ?
อย่ารู้ดีเกินพระพุทธองค์เลย บาปนะ

จิตคือธาตุรู้ใช่ แต่วิญญาณนั้นคือ กิริยาที่รู้แจ้งอารมณ์นั้น ทางทวารนั้น
มีผู้รู้ในพันทิพแจงไว้ดังนี้
“จิต เจเตติ ใน สิ่งใด = จิต ปักลงไปในอารมณ์
เหตุ เกิด ผล คือ เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ (ที่คือ กิริยาที่รู้แจ้งอารมณ์นั้น ทางทวารนั้น)”

ส่วนเรื่องสัพเพธัมมา อนัตตานั้น ท่านก็อย่าพยายามเดาสวดต่อไปอีกเลยนะ
ในพระพุทธพจน์นั้น ทุกครั้งที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสถึงสัพเพธัมมา อนัตตานั้น
พระพุทธองค์ท่านทรงจะต้องตรัสถึงบริบทก่อนหน้านั้นว่า
สัพเพสังขารา อนิจจา สัพเพสังขารา ทุกขา สัพเพธัมมา อนัตตา ชัดเจนนะ

ถ้าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา(พึ่งพาอาศัยไม่ได้)หมด
แบบนี้แล้วพระพุทธองค์จะทรงออกผนวชไปเพื่ออะไร? ในเมื่ออะไรๆก็ไม่มี อะไรๆก็ไม่ใช่
ทรงประทับอยู่ในวังไม่ต้องลำบากลำบนกับการออกผนวช ก็ทรงตรัสรู้ได้เช่นกันสิ?

เอาของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่อัฏฐิของท่านได้กลายเป็นพระธาตุแล้ว มาให้อ่าน

ธรรมเพื่อความหลุดพ้น น้อมลงที่ใจ
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ)
อ. คำชะอี จ. มุกดาหาร ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗

ก็เป็นหน้าที่เจ้าตัวจะพิจารณาตัวเอง ของใครของมัน จะใส่ร้ายป้ายสีกันก็ไม่ได้
กายแก่เป็น ชราเป็น ตายเป็น แต่จิตตายไม่เป็น จิตตายมี ๒ อย่าง
ตายจากความดีหนึ่ง เรียกว่าจิตตาย จิตตายชั้นสุดท้าย คือตายจากกิเลส
ไม่มีกิเลส เรียกว่าตายสุดท้าย ไม่เกิดอีก ที่เรียกว่าจิตไม่ตายก็มีอยู่ ๒ประเภท
จิตไม่ตายเพราะศีลธรรม เพราะปฏิบัติศีลธรรมอยู่ จิตไม่ตายเพราะถึงพระนิพพาน ไม่มาเกิด แก่ เจ็บ ตายอีกอันนั้น

ผมถามคุณว่า พระโสดาบัน ท่านเป็นผู้เที่ยงตรงต่อพระนิพพานใช่มั้ย?
อะไรของท่านที่เที่ยงตรงต่อพระนิพพานหละ?
กายที่ตายเน่าเข้าโลงหรือจิตของท่านที่เข้าถึงเป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน?
ช่วยตอบแบบตรงไปตรงมานะ อย่าออกนอกเรื่องหละ

ธรรมภูต
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:10:59 น.
  
ขออภัยวันนี้เข้ามาอ่าน กลับมาจากเขาภูน้อย ต่างจังหวัด เห็นว่า คุนหวังดียังสับสนอยู่นะ ยังแยกจิตกับอาการของจิตไม่ออก เหมือนกับแยกนำกับสีของนำไม่ออก จึงคิดว่านำกับสีเป็นอันเดียวกัน จึงสับสนปนเปไปหมด เหตุนี้จึงไปยึดเอาอาการของ ซึ่งก็คือกิเลสที่ปนอยุ่กับจิตนั่นเอง ว่าเป็นจิตแท้ จึงตีความหมายพุทธพจน์เพี้ยนไปหน่อย (ขออภัย ว่าตามเนื้อผ้า) ต้องปฏิบัติให้มาก ศึกษาให้แจ่มแจ้งจึงจะเข้าใจ
โดย: พราหมญ์ทศ IP: 124.121.194.252 วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:0:44:09 น.
  
ตามที่ท่านธรรมภูต พยายามอธิบายนั้น แจ้งชัดดี ฟังครั้งเดียวก็เข้าใจ ต้องแยกจิตกับเจตสิกให้ออกก่อน จึงจะเห็นจิตแท้ว่าเป็นอย่างไร เราเห็นว่า อุเบกขาในฌาณ4 นั่นแหละคือจิตเดิมแท้ ที่แยกออกจากอาการของจิต เพราะกิเลสไม่อาจเข้าครอบงำได้ในขณะนั้น แต่โดยปกติ คนเรามักมั่นหมายเอาความรู้สึก นึก คิด จดจำ หมายรู้ ว่าเป็นจิต ซึ่งไม่ไช่จิตแท้ แต่เป็นจิตที่มีอาการของจิตปนอยู่ ตรงนี้กระมังที่คุณหวังดี ตีความหมายของพุทธพจน์ ผิดไป เพราะไม่เห็นจิต แต่ไปเห็นอาการของจิต ว่าเป็นจิต ต้องศึกษาได้แจ้งและปฏิบัตให้มาก อย่างที่ท่านธรรมภูมิว่า น่าจะเป็นทางออกที่ดี แล้วค่อยมาคุยกันไหม่ ก็ไม่เสียหายอะไร
โดย: พราหมญ์ทศ IP: 124.121.194.252 วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:0:58:35 น.
  
คำว่า จิตไม่เกิดดับ นั้น หมายเอาจิตเดิมแท้ ที่หลวงปู่มั่น เรียกว่า ฐีติภูตัง นั่นแหละครับ จิตตัวนี้ไม่เกิดดับ แต่เวียนว่ายตายเกิดทุกภพชาติไม่จบสิ้น ตามอำนาจกรรมกิเลส จนนับชาติไม่ถ้วน แล้วอย่างนี้จะว่าจิตดับได้อย่างไร แล้วอะไรละที่ไปเกิดมาเกิดจนบัดนี้ จิตนี้มีดวงเดียว แต่อาศัยอาการของจิต จึงมีหลายดวง คำวาหลายดวงนั้ไม่ไช่จิตแท้ จิตแท้มีดวงเดียว ถ้าพ้นจากดวงนี้เป็นจิตเทียม นี่ว่าตามภาษาชาวบ้านนะ ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมายนัก ขออภัยด้วย ยังงัยจิตก็มีดวงเดียว ถ้ายังหลงอาการของจิต ก็ยังมีหลายดวงอยู่นั่นเอง แล้วอย่างนี้ท่านก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่รำไป ไม่จบสิ้นสักที เวลาท่านมาเกิดในครรถ์มารดา ท่านก็มาด้วยจิตดวงเดียว ถ้ามาหลายดวงก็ แม่เราก็คงจะมีทารกในครรถ์หลายคน ท้องแตกตายพอดี เวรกรรม
โดย: พราหมญ์ทศ IP: 124.121.194.252 วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:1:17:15 น.
  
ต้องหาจิตตนเองให้เจอก่อน จึงจะแจ้งใจ อันนี้หมายถึงจิตแท้นะ ไม่ไช่จิตเทียม ถ้ายังเข้าใจว่า จิตมีหลายดวงก็แสดงว่า ยังหาจิตตนเองไม่เจอ ผู้ใดเห็นจิต ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดถึงจิต ผู้นั้นถึงธรรม ถ้ายังมีหลายดวงก็ไม่เห็นธรรมอันวิเศษสักที คงเห็นแต่อาการของจิตหมายเอากิเลสนั่นเอง คำว่า จิตดับ ผมเข้าใจว่า กิเลสดับ เมื่อกิเลสดับ สิ่งที่เหลืออยู่คือ จิตแท้ จิตไม่ได้ดับด้วย
สิ่งที่ดับคือ อาการจิต ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าและพระอรหันต หมดกิเลส ท่านก็มีร่างกายเป้นมนุษย์อยู่ มีความรู้สึกเจ็บ ปวด หนาว ร้อน จิตท่านก็อยู่ไม่ได้ดับไปไหน ดับเพียงกิเลสเท่านั้น คงเหลือแต่จิตแท้ที่บริสุทหมดจดจากกิเลส เท่านั้น อย่างนี้จะว่า จิตเกิดดับได้อย่างไร ถ้าจิตดับแล้ว พระพุทธเจ้าและพระอรหัตจะเอาอะไรมารับรู้ละ คนเรียกก็คงไม่ได้ยิน เหมือนก้อนหินหรือกระไร พูดตามประสาคนที่ไม่ค่อยรู้เท่าไร สิ่งใดที่ผิดพลาด คลาดเคลื่อนไป ขอท่านผู้ในที่นี้โปรดอภัย ความเห็นยาวหน่อย
โดย: พราหมญ์ทศ IP: 124.121.194.252 วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:1:45:19 น.
  
ท่านผู้หวังดีครับ การไปคัดลอกพระสูตรมาจากไตรปิฏกก็ดี ครูบาอาจารเจ้าก็ดี แสดงว่ามีความสนใจใคร่รู้ ขอโมทนาสาธุในบุญนั้น แต่ต้องศึกษาให้เข้าอย่างถ่องแท้ ถ้าจะให้ดีต้องปฏิบัติด้วยจะได้แจ้งใจ การคัดลอกคำสอนของผู้อื่นมาเป็นแบบอ้างอิงนั้น ไม่ไช่รู้และจดจำเท่านั้น ต้องเข้าใจด้วย หรือจะเรียกว่ารู้แจ้งก็ว่าได้ ไม่ไช่รู้อย่างเดียว ต้องแจ้งด้วย คำว่าแจ้งนั้นจะแจ้งด้วยการปฏิบัติ หรือแจ้งด้วยสติปัญญาของตนก็แล้วแต่ ล้วนแต่ยังคำสอนของพระศาสดาให้เจริญสืบไป นี่คือ ความเห็นของผม หวังว่าท่านคงมีจิตใจอันเป็นธรรมพิจารณาด้วย ขออภัยที่เสียมารยาทผมมิได้มีเจตนาที่จะตำหนิท่าน แต่เป็นการชี้ขุมทรัพย์และแลกเปลี่ยนทัศนะเท่านั้น ขอบคุณ ขอให้เจริญในธรรมครับ
โดย: พราหมญ์ทศ IP: 124.121.198.136 วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:14:32:07 น.
  
อนุโมทนาครับ คุณพราหมทศ

แจ่มครับ จิตมีดวงเดียว ที่เที่ยวชอบแสดงออกไปคือเงาของจิต
โดย: ยังต้องเดินทาง IP: 118.174.14.234 วันที่: 24 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:44:45 น.
  
โลกุตตระจิต คือจิตที่หลุดพ้นแล้วด้วยดี โดยชอบ ถึงซึ่งความที่อะไรก็ปรุงแต่งไม่ได้อีกแล้ว หลุดพ้นเฉพาะตนไปแล้ว อนุโมทนาสาธุครับ
โดย: shadee829 วันที่: 2 มีนาคม 2554 เวลา:12:02:38 น.
  
..ผมเห็นด้วยกับ ท่านธรรมภูติ แต่ยังไงก็ตามจะปฏิบัติดูจนกว่าจะตาย..ครับ
โดย: เกิดเป็นคนช่างยากแท้ IP: 49.49.205.105 วันที่: 7 พฤษภาคม 2556 เวลา:6:36:09 น.
  
ที่พลังจิต..ผมเองก็โดนแบนมาครั้งที่2..แล้วครับ
แอนตี้ฯ..ก็ยังเข้าไม่ได้เลยครับ ไม่รู้เป็นอะไร ใกล้สำเร็จมรรคเบื้องต้นละมั้งครับ ผม อิอิ
โดย: เกิดเป็นคนช่างยากแท้ IP: 49.49.205.105 วันที่: 7 พฤษภาคม 2556 เวลา:6:38:23 น.
  
สวัสดีครับคุณเกิดฯ

เป็นธรรมดาครับ ปรกติไปเล่นที่ไหน ผู้ดูแลจ้องเล่นงาน เพราะเนื้อธรรมที่แสดง มักไม่ถูกใจคนรู้แลบอร์ด โดยมากล้วนเป็นพวกจิตเกิดๆดับๆเป็นผีกระสือ ก็ให้สงสัยเหมือนกันว่า เมื่อจิตมันเกิดๆดับๆตลอดเวลา แล้วจิตจะเอาเวลาตรงไหนมาตั้งมั่นได้ยังไงก็ไม่รู้ เดี๋ยวเกิดๆดับๆ เอาสาระไม่ได้55+

เจริญในธรรมทุกๆท่าน
โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 8 พฤษภาคม 2556 เวลา:8:05:16 น.
  
-- Blog นี้ตั้งขึ้นมาเพื่อโต้แย้งพระเพียงองค์เดียวหรือครับ
-- บล๊อกนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์สร้างขึ้นมาเพื่อโจมตีพระเพียงองค์เดียวเท่านั้น



อืมม ใช่ ท่าทางเจ้าของบล็อกนี่ จะสร้างขึ้นมาเพื่อโจมตี พระหลายองค์ (บาปเหลือเกิน)
แต่พระองค์หลักๆเจ้าของบล็อกโจมตี น่าจะเป็นพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช แน่ๆ (ไม่รู้จงเกลียดจงชังอะไรนักหนา)

โดย: จิตเกิดดับคือพุทธพจน์

^
^
ไม่รู้จะจงเกลียดจงชังไปทำไม ทำให้ใกล้มรรคผลนิพพานก็ไม่ใช่ วัตถประสงค์ที่ทำบล๊อกนี้ขึ้นมา
เพื่อต้องการรักษาพระสัทธรรมคำสอนที่เป็นพระพุทธพจน์ไว้ ให้คงอยู่นานเท่านาน ไม่ให้ถูกลบเลือนไปง่ายๆด้วยคำสอนที่ถูกตบแต่งขึ้นเองในภายหลัง ที่ขาดเหตุผลและหลักความจริงที่ตริตรองตามเป็นจริงได้


***

ดูจากที่เขียน
-- แถมท่านยังมีการเอาคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ มาสอนอีกว่า หลวงปู่ดูลย์สอนคลาดเคลื่อนไป

ท่าทาง เจ้าของบล็อกนี่มีอคติกับ พวกสัมมาทิฏฐิที่เห็นว่า จิตเกิดดับได้ เหลือเกิน ลองไปอ่าน “แก่นธรรมคำสอนของหลวงปู่ดูลย์” ที่หลวงพ่อปราโมทย์เขียนให้ดีก่อนที่จะกล่าวหา โดยฟังๆมาจากไหนไม่รู้หรือ คิดเอาเอง ท่านเขียนว่า คนรุ่นหลังมีการนำคำสอนหลวงปู่ดูลย์มาจัดเรียงใหม่ให้สละสลวย ทำให้เนื้อหาในคำสอนน่าจะคลาดเคลื่อนจากเดิมที่หลวงปู่สอน

โดย: จิตเกิดดับคือพุทธพจน์

^
^
ถ้าจิตเกิดๆดับๆเป็นสัมมาทิฐิ ก็แสดงว่าคุณกำลังกล่าวหาว่าร้าย ไล่ตั้งแต่พระบรมศาสดามายันมาถึงองค์สังฆราชในปัจจุบันและพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลายสิ เพราะทุกท่านที่คุณกล่าวหาว่าร้ายนั้น ล้วนกล่าวตรงกันว่า ที่เกิดๆ ดับๆคืออาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ และว่างๆคุณก็ไม่หาอ่านที่เค้าวิจารณ์ คนที่รู้ว่าใครที่ชอบแอบอ้างธรมะหลวงปู่หากินบ้างนะ อันนักบวช ไม่มีศีล ก็สิ้นดี ชัดๆนะว่าเป็นคนหาดีไม่ได้เลย.


***

และนอกจากหลวงพ่อปราโมทย์ก็ยังมี หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ที่เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบลูกศิษย์หลวงปู่มั่นที่เชื่อกันว่าเป็นพระอริยะแห่งภูจ้อก้อ ท่านกล่าวว่า
“ผู้รู้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เร็วที่สุด จิตก็เหมือนกัน ติดต่อกันอยู่ หาระหว่างไม่ได้ ใครว่าจิต ไม่เกิด ไม่ดับ ผู้นั้นเป็น มิจฉาทิฏฐิ เหตุฉะนั้นท่านจึงบัญบัติว่า รูป จิต เจตสิก นิพพาน ไม่ได้บัญญัติว่า จิตเป็นพระนิพพาน ไม่ได้บัญญัติว่าพระนิพพาน เป็นจิต”
หลวงตามหาบัวท่านยังกล่าวไว้ว่า “เราหาที่ค้านท่านไม่ได้ (ในสิ่งที่) ท่านหล้าพูด”

โดย: จิตเกิดดับคือพุทธพจน์

^
^
อย่าพูดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียวสิ แบบนี้เค้าเรียกว่าด้านได้อายอด ถ้าจะแอบอ้างพ่อแม่ครูบาอาจารย์ควรเอาบริบทหน้าหลังมาด้วย ท่านจะสั่งสอนไว้ชัดเจนว่า อาการของผู้รู้ เกิดดับไปกับอารมณืรวดเร็วมาก อย่ามั่วอีกเลย ยิ่งโดยเฉพราะแอบอ้างหลวงตาเข้าให้ จะบาปหนักนะ ท่านสั่งสอนไว้ในหลายที่หลายทางถึงเรื่อง"จิต"ที่ชำระให้บริสุทธิ์หมดจดได้ ที่เกิดดับไปคืออาการของจิตหรือ"เงาของจิต"นั่นเอง อย่ามั่วอีก แค่นี้พอให้อภัย กลับตัวกลับใจใหม่ซะ


****

นั่นคือเจ้าของบล็อกนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างขึ้นมาเพื่อโจมตีพระเพียงองค์เดียวคือ พระปราโมทย์ เท่านั้น แต่ยัง โจมตีหรือโต้แย้ง พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอื่นๆ เช่น หลวงปู่หล้า รวมถึงพระที่มีสัมมาทิฏฐิอื่นๆ ด้วย เท่านี้ไม่พอยังโต้แย้งอรรถกถาจารย์อีกด้วยซ้ำ

โดย: จิตเกิดดับคือพุทธพจน์

^
^
เฮ้อ!!!
ก็ยังยืนยันนั่งยันนอนยันว่า วัตถุประสงค์รณรงค์สิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น


***

เจ้าของบล๊อกบอกว่า
--- ทั้งๆที่ในพระบาลีก็กล่าวไว้ออกจะชัดเจนว่า "เอก จรํ" จิตมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไป

ที่ยกบาลีมาอ้างเนี่ย ลองศึกษาดูให้ดีหรือยัง ในอรรถกถาท่านอธิบายว่ายังไง
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรงฺคมํ เป็นต้น (พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้)
ก็ชื่อว่าการไปและการมาของจิต โดยส่วนแห่งทิศมีทิศบูรพาเป็นต้น แม้ประมาณเท่าใยแมลงมุม ย่อมไม่มี, จิตนั้นย่อมรับอารมณ์ แม้มีอยู่ในที่ไกล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทูรงฺคมํ.
อนึ่ง จิต ๗-๘ ดวง ชื่อว่าสามารถเกิดขึ้นเนื่องเป็นช่อโดยความรวมกันในขณะเดียว ย่อมไม่มี, ในกาลเป็นที่เกิดขึ้น จิตย่อมเกิดขึ้นทีละดวงๆ, เมื่อจิตดวงนั้นดับแล้ว, จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นทีละดวงอีก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกจรํ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=4

โดย: จิตเกิดดับคือพุทธพจน์

^
^
ขอเถอะเกิดเป็นคนต้องถือว่าโชคดีแล้ว อย่ามีหัวไว้เพียงกั้นหูเท่านั้น หัวสมองไม่ใช่เครื่องประดับ
มีไว้พิจารณาตริตรองตามความเป็นจริง ใครว่า"เอก จรํ"นั้นเป็นเพียงแค่สมมุติ เป็นปรมัติที่จริงแท้แน่นอนในฝ่ายโลกียะ เพราะปุถุชนคนหนาด้วยกิเลสนั้น จิตชอบส่งออกเป็นนิด(เที่ยวไป) ลองอ่านที่คุณยกมาเองว่ามีเหตุผลหรือเปล่า "อนึ่ง จิต ๗-๘ ดวง ชื่อว่าสามารถเกิดขึ้นเนื่องเป็นช่อโดยความรวมกันในขณะเดียว" ที่ยกมาก็ชัดเจนว่า๗-๘ดวง มันเป็นพวงแล้ว ลองบอกใครสิว่ามีจิตเป็นพวง ใครได้ยินคงได้หัวเราะงอหายแน่นอน คำว่า"เอกะ"หรือ"เอก" ก็ชัดเจนในตัว แปลว่า"หนึ่ง" จะมีมากกว่าหนึ่งได้หรือ? ถ้ามากกว่าหนึ่งเค้าเรียกว่า"พวงเดียว" มีหลายดวง
จำเอาไว้นะ


***

ที่พระพุทธเจ้าตรัสธรรมบทเรื่อง “จิตดวงเดียวท่องเที่ยวไป” นี้เป็นภาษาสมมุติบัญญัติพูดไปตามโลกเท่านั้น เหมือนกับที่ว่า “อัตตา หิ อัตโนนาโถ” ที่แปลว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ดูจากประโยคนี้แล้วเจ้าของบล็อก จะคิดไหมว่า พระพุทธเจ้าสอนว่ามีอัตตา ? ทั้งๆที่ ความจริงแล้วท่านสอนว่า “สัพเพ ธัมมา อนัตตา”

สุดท้ายนี้ขออนุโมทนากับคุณยังหวังดีที่พยายามแก้ไขมิจฉาทิฏฐิของนายธรรมผีเจ้าของบล๊อกนี่ (ธรรมของผีจริงๆ อย่าใช้ชื่อธรรมภูติเลย เพราะชื่อนี้เป็นชื่อของพระพุทธเจ้าไม่สมควรที่จะนำมาใช้ให้แปดเปื้อน)

โดย: จิตเกิดดับคือพุทธพจน์ IP: 199.58.84.9 23 กันยายน 2555 2:34:05 น.

^
^
คุณต้องหัดเป็นที่ยืนอยู่บนหลักเหตุผลเสียบ้าง อย่าเอาแต่หลับหูหลับตาเชื่อตามๆกันมา โดยขาดวิจารณาญาณของตนเองเป็นสำคัญ พระบาลีที่ว่า“อัตตา หิ อัตโนนาโถ”ที่แปลว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คุณรู้จักที่พึ่งที่ไม่มีรูปร่างเป็นตัวๆให้จับต้องได้หรือเปล่า บทนี้มีพระพุทธพจน์รับรองไว้แล้ว "ดูก่อนอานนท์ วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชิวิตเราเหลือน้อย เราได้กระทำที่พึ่งแก่ตนแล้ว"
ที่เหลือเรื่องสัพเพ ธัมมา อนัตตานั้น ไปอ่านเอาเองที่นี่ มีถกไว้เยอะ
//www.antiwimutti.net/forum/index.php?topic=1833.0
ตกลงเรื่องชื่อให้พระพุทธองค์ทรงตัดสินเองดีกว่ามั้ย?

เจริญในธรรมทุกๆท่าน

โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 8 พฤษภาคม 2556 เวลา:20:21:14 น.

ในความฝันของใครสักคน
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สารบัญ Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์



หน้าแรก Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์