ดูจิตที่รู้เห็นผิดจากความเป็นจริง เพราะดูแต่จิตสังขาร การดูจิตที่รู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมต่างกับการดูจิตที่รู้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง ดังที่เคยจั่วหัวเรื่องไปแล้วว่า การรู้จักจิตผิดๆนั้น ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาผิดไปตลอดแนว เปรียบเหมือนการติดกระดุมเสื้อเม็ดแรกผิด ย่อมทำให้ติดเม็ดอื่นผิดตามไปด้วยตลอดแนวเช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้น เพราะรู้จักจิตผิดไปจากความเป็นจริงนั่นเอง ไม่ใช่ไม่รู้จักจิต แต่เป็นเพราะรู้จักจิตแบบผิดๆ เข้าใจว่าจิตเป็นตัวทุกข์ โดยเห็นการที่จิตแสดงอาการตอบสนองต่ออารมณ์เหล่านั้นว่าเป็นจิตตนเอง ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงจิตสังขาร คือจิตผสมปรุงแต่งกับอารมณ์เหล่านั้นเรียบร้อย จนมีอาการของจิตแสดงออกมาให้เห็นทางร่างกายและจิตใจแล้ว โดยเจ้าตัวจะรู้เห็นได้เองอย่างชัดเจน ต่อเมื่ออารมณ์เหล่านั้นผ่านพ้นไปแล้วและตนเองนำกลับมาพิจารณาอีกที แต่บางท่านที่เคยผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาบ้างนั้น ก็สามารถที่จะยับยั้งอารมณ์ที่กำลังคุกรุ่นอยู่นั้นให้บรรเทาเบาบางลงได้ ไม่ว่าจะโดยวิธีการกดข่ม(ใหม่ๆ) หรือรู้จักวิธีสลัด(สละ)อารมณ์ออกไปจากจิตได้ก็ตามที ก็เพราะล้วนแล้วแต่ต้องรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า การที่มีอารมณ์เหล่านั้นมาคุกรุ่นอยู่ที่จิตได้นั้น ไม่ใช่ว่าอารมณ์เหล่านั้นมีขึ้นมาได้เอง แต่เพราะเนื่องจากจิตนั่นเอง ที่เป็นผู้ออกไปรับเอาอารมณ์เหล่านั้นเข้ามาเป็นของๆจิต แต่ทำไมถึงไม่เป็นอารมณ์ของบางคนหละ? เนื่องจากจิตสามัญสัตว์โลกนั้น ล้วนแล้วแต่ยังโง่เขลาเบาปัญญา ยังมีความยึดมั่นถือมั่น ณ.ภายในจิต อารมณ์ทั้งหลาย รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์ และอาการของจิต ซึ่งก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่จิตเองได้สะสมสั่งสมอบรมมานานแล้วไม่รู้กี่ภพ กี่ชาติ ทำให้จิตมีความยึดมั่นถือมั่น ณ.ภายในจิตขึ้นมาอย่างเหนียวแน่น เพราะจิตไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงนั่นเอง จึงได้สั่งสมอบรมความยึดมั่นถือมั่นเหล่านั้นเข้ามา โดยไม่รู้ตัว โดยความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรมการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามานั้น จะรู้สึกตัวก็ต่อเมื่อจิตได้รับการผสมกับอารมณ์ที่รัก ชอบ ชังนั้นแล้ว จะรู้สึกตัวช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับความคุ้นชินที่เคยตั้งเจตนาไว้ก่อนกับอารมณ์เหล่านั้น ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถในการรู้สึกตัวต่ออารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่จริตนิสัยที่ตนเองสั่งสมอบรมมาแต่เก่าก่อน บางพวกที่ได้รับการสั่งสอนอบรมให้ดูจิตโดยเริ่มต้นที่ฐานจิตเลยนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะรู้สึกว่า(ความรู้สึก ยังเชื่อถือไม่ได้) ดีขึ้น เพราะรู้เห็นอาการของจิตที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะได้เร็วขึ้นนั้น ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว ใครก็ตามที่ได้รับการฝึกฝนอบรมการสำรวมอินทรีย์มาก่อนแล้ว ย่อมเข้าใจได้ดี เพราะเมื่อเราระวังรักษาสำรวมกาย วาจา ใจ ด้วยความต่อเนื่องเนืองๆมาก่อน ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ทำให้เราจดจำและรู้จักอารมณ์เหล่านั้นได้ดีขึ้น แต่การที่จะสลัด สละอารมณ์ออกไปจากจิตให้ได้นั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ที่ต้องได้รับการฝึกฝนอบรมภาวนา "พุทโธ" เพื่อสั่งสมสัมมาสติให้เจริญขึ้นที่จิต คือ ฝึกให้จิตมีความชำนาญในการสลัด สละ ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆพร้อมความยึดมั่นถือทั้งหลาย ณ.ภายในจิตออกไปจากจิต จนกระทั่งจิตอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆเหล่านั้นได้จริง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา "พุทโธ" อันเป็นการฝึกสร้างสัมมาสติให้เกิดขึ้นที่จิตนั่นเอง ซึ่งต้องเริ่มต้นจากการฝึกฝนอบรมปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา "พุทโธ" ที่ฐานกายก่อน เพื่อให้จิตเข้าถึงกายในกาย กล่าวคือ เมื่อจิตไปรู้ที่ส่วนไหนของฐานกายก็ตาม รู้อยู่ที่ไหนจิตย่อมอยู่ที่นั้นเสมอ เป็นการฝึกให้เกิดฐานที่ตั้งของสติให้สำเร็จก่อน (สัมมาสติ) เมื่อสามารถสร้างสัมมาสติให้เกิดขึ้นที่จิตได้แล้ว จิตย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงและมองเห็นตนเองที่ซ้อนอยู่ ณ.ภายในกายนี้ได้อย่างชัดเจน เป็นธรรมอันเอกที่ผุดขึ้นมาให้เห็น และจิตก็จะเข้าถึง เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมโดยปริยาย เมื่อฝึกฝนจนชำนาญเป็นวสีดีแล้ว จิตจะรู้อยู่ที่ฐานไหนก็เช่นเดียวกัน แต่ใหม่ๆ ที่ยังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น ต้องเริ่มต้นที่ฐานกายเพื่อจะได้เข้าถึงจิตที่แท้จริง(กายในกาย) เป็นการสร้างสัมมาสติให้เกิดขึ้นที่จิต ที่ว่าจิตรู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น ก็คือ จิตจะเห็นอาการของจิตที่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่างๆและความยึดมั่นถือมั่น ณ.ภายในจิตได้อย่างชัดเจน และมีกำลังสติ สมาธิ มากพอที่จะสลัด สละ ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆและความยึดมั่นถือมั่น ณ.ภายในจิตออกไปจากจิตตามกำลังของสติ สมาธิ ที่ได้รับการอบรมสั่งสมมา จิตจะอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆและความยึดมั่นถือมั่นได้มากน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังสติ สมาธิเช่นกัน จิตสามารถสลัด สละ ปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิตได้เท่าใด จิตก็จะอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ได้เท่านั้น คำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ก็กล่าวไว้ชัดเจนแล้วนะครับ ในหนังสือพระไตรสรณคมน์และสมาธิวิธี โดย พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม กำหนดจำเพาะจิตผู้รู้ เพ่งพินิจพิจารณาให้เห็นพื้นแผ่นดินกว้างใหญ่ เป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งโลก(ผู้ข้องในอารมณ์) ก็ยังต้องฉิบหายด้วยน้ำ ด้วยลม ด้วยไฟ ยกวิปัสสนาละลายแผ่นดินนี้เสียให้เห็นเป็นสภาวธรรม เพียงสักว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้น รวบรวมเอาแต่จิตคือผู้รู้ ตั้งไว้ให้เป็นเอกจิต เอกธรรม สงบนิ่งแน่วอยู่ และวางลงเป็นอุเบกขาเฉยอยู่กับที่ คราวนี้จะแลเห็นจิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นทีเดียว ก้าวล่วงจากนิมิตได้ดี มีกำลังให้แลเห็นอำนาจอานิสงส์ของจิตที่ได้ฝึกหัดสมาธิมาเพียงชั้นนี้ ก็พอมีศรัทธาเชื่อในของตนในการที่จะกระทำความเพียรยิ่งๆ ขึ้นไป ฉะนั้นเราพอสรุปได้ไม่ยากว่า จิตไม่ใช่ตัวทุกข์หรือกองทุกข์เลย แต่ที่จิตเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ไปนั้น เนื่องจากอารมณ์ต่างๆภายนอกหรือธรรมารมณ์ ณ.ภายในจิต ที่เกิดผัสสะให้จิตแสดงอาการสนองตอบต่ออารมณ์ต่างๆเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นที่ตัวจิตเอง แต่เป็นที่อาการของจิตที่แสดงออกมาให้เห็นในการสนองตอบต่ออารมณ์นั้นๆ ถ้าเราฝึกฝนอบรมจิตจนกระทั่งสามารถอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆและความยึดมั่นถือมั่น ณ.ภายในจิตได้ จิตก็จะไม่สุข ไม่ทุกข์ไปตามสิ่งที่เกิดผัสสะเหล่านั้นนั่นเอง เรื่องจิตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ที่พวกเราต้องศึกษาให้เข้าใจ และปฏิบัติตามรอยพระบาทองค์สมเด็จพระพุทธชินวร บรมศาสดา พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงกล่าวไว้ชัดเจนว่า สจิตปริโยทปนัง เอตังพุทธานสาสนัง การชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกๆพระองค์ เจริญในธรรมทุกๆท่าน ธรรมภูต สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปล่อยวาง ละซึ่งทุกๆ อย่าง ขั้นสูงๆของพระอรหันต์นั้น แม้แต่จิตก็ยังต้องละค่ะ
โดย: Chillout Cafe'
![]() และคงเหลือแต่ความไม่รับรู้ในจิต จึงนำไปสู่นิพพานนั่นเอง
โดย: Chillout Cafe'
![]() สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปล่อยวาง ละซึ่งทุกๆ อย่าง ขั้นสูงๆของพระอรหันต์นั้น แม้แต่จิตก็ยังต้องละค่ะ
โดย : Chillout Cafe' วันที่: 24 เมษายน 2553 เวลา: 11:17:26 น. .................................... และคงเหลือแต่ความไม่รับรู้ในจิต จึงนำไปสู่นิพพานนั่นเอง โดย: Chillout Cafe' วันที่: 24 เมษายน 2553 เวลา:11:18:07 น. ............................. คุณChilloutCafe'ครับ คุณช่วยตอบผมหน่อยสิว่า ท่านพระอรหันต์ท่านยังต้องละจิต ละเพื่ออะไร? ท่านพระอรหันต์ ท่านได้ชื่อว่า ท่านบรรลุซึ่งโลกุตรจิตแล้วไม่ไช่มั้ย? กระทั่งโลกุตรจิตยังต้องละทิ้ง แล้วรู้ได้อย่างไรว่าท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว? ในเมื่อจิตคือธาตุรู้ เมื่อละจิตไปแล้ว จะเอาอะไรมารู้ได้อีกละ? อย่าบอกนะว่าเป็นการเดาๆเอา ผมถามอีกว่า การรู้แล้วไม่รับได้มั้ย? ส่วนคำว่า"ไม่รับรู้ในจิตนั้น" แสดงว่า จิตขาดสติอยู่สิ ขณะนั้น เมื่อจิตขาดสติ จะบรรลุถึงซึ่งพระนิพพานได้หรือ? ธรรมภูต โดย: ในความฝันของใครสักคน
![]() |
ในความฝันของใครสักคน
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หน้าแรก Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์ Group Blog All Blog |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |