Until Death Do Us Part
Group Blog
 
All Blogs
 

เกร็ดโดนใจจากนิยายเกาหลี มหากาพย์เทพมรณะ Siam Inter Multimedia

มหากาพย์เทพมรณะ

เล่ม  1
วิชาสะกดวิญญาณเป็นวิชาพลังหยิน  หน้า ๑๑๖

วิชาตัวเบา๘ก้าวสู่แดนสรวง  คือ วิชาตัวเบาประจำพรรคกระยาจก  หน้า ๑๙๒

วิชาลับของพรรคกระยาจก  คือ วิชามีดบินบุปผารุ้งกำจาย ๑๙๒
...........
เล่ม ๒
พระเอกฝึกวิชาตัวเบาก้าวเท้าไร้เงา ถึงขั้นที่  ๕  หน้าแปดสิบ

ตอนพี่ชาย(ของพระเอก)ตาย  มันต้องเอาเสื่อขาดๆห่อศพแล้วเอาไปฝังไว้บนเขา  หน้า ๑๒๙

ชงนีชูฝึกวิชาดาบโลหิตรินหลั่ง  วิชาหนึ่งดรรชนีชี้สวรรค์  ของนักฆ่าดรรชนีอสูร   เคล็ดวิชาสะท้านวายุ๓๖กระบวนท่า  วิชาแยกฟ้าทะลวงดารา   หน้า ๑๔๓

สำนักปัจฉิมทิวา  คือ วิชาแยกฟ้า๑๖ดารา  หน้า ๑๔๕

จอมดาบภูษาขาว  เจ้าสำนักช็องซ็อง สำเร็จยอดวิชาเพลงกระบี่เมฆาล้อวายุ   เพลงกระบี่๗๒กระบี่พิฆาต

วิชาเงาหมอกมหานที มี ๙ กระบวนท่า คือ ขาตัดเหล็ก  ขาเคลื่อนคล้อย  ขาไกวบุตร  ขารื่นร่ม  ขาจิตมุ่ง  ขานิลมรณา  ขาสะท้านนภา  ขาบุปผากระจาย  ขาทองคำ  หน้า ๑๙๓...........
เล่ม ๓

ช็อกซาฝึกวิชาดาบ๘วิญญาณของตระกูลวอนแห่งชนเผ่าแนมัน  มองโกล  หน้า ๓๔

โซยออึน คือ เด็กสาวเท้าเปลือยเปล่า  ฝึกวิชากับมารทมิฬจำแลง  คือ เพลงกระบี่บัญชาหมื่นมาร  หน้า ๓๙


พระเอกสำเร็จเคล็ดวิชาสะท้านวายุ๓๖กระบวนท่าถึงขั้น ๓  หน้า ๔๒
........
เล่ม ๔
ยาอีกัน มีวิชาเพลงกระบี่ทอประกาย   ฝ่ามือ๖ดารา  ลูกเหล็กทะลวงกระดูก  หน้า ๓๖

ในสายตาเจ้าสำนักประตูสวรรค์มรณะ  ชงนีชูตอนนี้มีศักดิ์ฐานะเดียวกับเทพบุตรประหารฟ้าเมื่อครั้งกระโน้น  หน้า ๔๔

ชงนีชูเป็นมือสังหารชั้นพิเศษ  หากพบชงนีชู  จงปฎิบัติดุจเดียวกับที่ปฎิบัติต่อเรา  หน้า ๕0

เมื่อธาตุทั้ง๕รวมตัว  ก็สามารถเปิดจุดแพ็กฮเวฮย็อล  จุดหว่างคิ้ว  จุดที่จมูกก็เปิดออกพร้อมกัน  หน้า  ๕๔


วิชาตัวเบาที่ยากหยั่งคาด คือ วิชาตัวเบากลืนราตรี  สำนักช็องซ็อง   หน้า ๙๕


ยูกูและพย็องนอ  หน้า  ๑๕๕
..........
เล่ม ๕
พย็องนอ ชื่อจริง คือ ชองว็อนจี  หน้า ๔๘

วิชาสลับเท้า๙ร่าง  สำนักคุนหลุน  ถ้าเปลี่ยนทิศทางกลางอากาศได้ต่ำกว่า ๔ ครั้ง คือ ระดับต่ำ  เปลี่ยนได้ ๕ ครั้ง  ระดับกลาง   เปลี่ยนได้ ๗ ครั้งขึ้นไป ระดับสูง   หน้า 110

จอมฝ่ามือพิฆาตมังกร  คือ ประมุขพรรคกระยาจก  หน้า ๑๓๖


ตะขอเดียวดายมี 1 เมีย และมีลูก ๕ คน  หน้า 
๑๗๓
..............
เล่ม ๖
ยูกูกลายเป็นพ่อคน  มีลูกสาวที่น่ารักน่าชังตอนอายุ ๔๒  หน้า ๒๗

วิชาสลับเท้า๙ร่าง  เพลงกระบี่แบ่งใจ  สำนักคุนหลุน  หน้า ๒๑๔
.........

เล่ม ๘

ร้อยแปดอรหันต์และ๗๒อาชา  วัดเส้าหลิน  เทียบได้กับ ๘๑ มือกระบี่สำนักมูดัง   หน้า ๘๖

ดาบมังกรหัตถ์สวรรค์  สำนักชงนัม หน้า ๙๔

ฝ่ามือวชิระท่องโลกันตร์  สามสวรรค์ท่องนภา  วิชาดาบสังหารภูต   ฝ่ามือวชิระพิชิตหล้า   ฝ่ามือ๑๘วิถี  วิชาของวัดเส้าหลิน

จอมมารเงาโลหิตแขนขาด  หน้า ๑๗๓




 

Create Date : 06 มกราคม 2559    
Last Update : 6 มกราคม 2559 18:32:39 น.
Counter : 1449 Pageviews.  

วิเคราะห์นิยาย จอมคนแผ่นแผ่นดินเดือด จาก Siam Intelligence

  Refeence : //www.siamintelligence.com/introduction-jomkon/?fb_action_ids=750876844941367&fb_action_types=og.likes


ปฐมบท “แผ่นดินเดือด”

“เดิมแผ่นดินเมืองจีนทั้งปวงนั้น เป็นสุขมาช้านานแล้วก็เป็นศึก ครั้นศึกสงบแล้วก็เป็นสุข”

คำกล่าวเปิดเรื่องสามก๊ก ฉบับ “เจ้าพระยาพระคลัง (หน)” ข้างต้นนี้ แสดงออกถึงสัจธรรมแห่งประวัติศาสตร์ได้ลึกซึ้งกินใจยิ่งนัก แต่เรื่องราวภายหลัง “ศึกสามก๊ก” สิ้นสุดลง (ค.ศ 280) แผ่นดินจีนกลับมีเวลาสงบสุขเพียงช่วงสั้นๆเท่านั้นคล้อยหลังเพียง 10 ปี “สุมาเอี๋ยน” ฮ่องเต้ผู้รวบรวม “สามก๊ก” เป็นหนึ่งเดียว ได้เสด็จสวรรคต เปิดฉากความวุ่นวายขึ้นอีกวาระหนึ่ง นับแต่เจี่ยฮองเฮาก้าวก่ายราชกิจ ส่งผลให้เกิดกบฏ 8 อ๋อง จนแผ่นดินจีนอ่อนแอทรุดโทรมยิ่งนัก ชนเผ่านอกด่าน ซึ่งเคยรุกรานแผ่นดินจีนนับตั้งแต่ก่อน “จิ๋นซีฮ่องเต้” สร้างมหาอาณาจักรจีนใหม่ขึ้นมา (ปีที่ 221 ก่อน ค.ศ.) ได้สะสมกำลังเพียงพอ จนสามารถเปิดฉากรุกรานครอบครองดินแดนจงหยวนได้สำเร็จเป็นครั้งแรกแผ่นดินจีนจึงเข้าสู่ยุคสมัย “5 ชนเผ่า 16 ประเทศ” (ค.ศ. 304-439)

ลุล่วงเข้าปี ค.ศ. 317 “สุมายุ่ย” จำต้องนำขุนนางจากอาณาจักรเดิม ถอยร่นลงมายังดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเคยเป็นถิ่นพำนักของ “ซุนกวน” แห่ง “ง่อก๊ก” สร้างเมืองหลวงที่มหานคร “เจี้ยนคัง” สถาปนาอาณาจักร “จิ้นตะวันออก” ปล่อยให้ดินแดนทางเหนือตกอยู่ใต้การต่อสู้ช่วงชิงของชนเผ่านอกด่าน โดยในภายหลังอีกหลายร้อยปี ชนเผ่านอกด่าน “ชาวหู” ที่เข้ามายึดครองดินแดนของ “ชาวฮั่น” เหล่านี้ ต่างได้ดูดซับเรียนรู้หลอมรวม “วัฒนธรรมฮั่น” จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่อาจแบ่งแยกเป็น “ชาวหู (ป่าเถื่อน)” และ “ชาวฮั่น(อารยธรรม)” อีกต่อไป

จากยุคสมัย “5 ชนเผ่า 16 ประเทศ” รอนแรมถึง “ราชวงศ์เหนือใต้” แวะหยุดพักผ่อนช่วงสั้นกับราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618) แผ่นดินจีนต้องอดทนฝ่าฟันผ่าน“ห้วงเวลาแห่งความเจ็บปวดและมืดมน” ยาวนานเกือบ 300 ปี จึงสามารถก้าวสู่ยุคทองอันเรืองโรจน์ของอาณาจักร “ต้าถัง” ซึ่งได้มหาบุรุษที่ปรีชาสามารถอย่าง “หลี่ซื่อหมิน” หรือ “ถังไท่จงฮ่องเต้” มาปกครองและวางรากฐานให้แผ่นดินจีนได้มีวันเวลาที่แสนรื่นรมย์ โดยเฉพาะศักราช “เจินกวน” (ค.ศ. 626-649) ซึ่งพระองค์ทรงครองราชย์ ยังเป็นที่กล่าวขานจดจำของชาวจีนมิรู้ลืม

“หวงอี้” เทพอักษราแห่งบูรพาทิศ ผู้นิยมเขียนนวนิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์ ได้หยิบยกเรื่องราวช่วงหนึ่งในยุค “5 ชนเผ่า 16 ประเทศ” ยุคสมัยที่ผู้คนไม่อยากเอ่ยอ้างถึง เพราะมีแต่ภาพอันชวนรันทดหดหู่ มาใส่ชั้นเชิงศิลปะจนกลายเป็น “มหากาพย์” ที่แสนซาบซึ้งตรึงตราแห่งยุคสมัยต้นศตวรรษที่ 21 หวงอี้ไม่เพียงสื่อสารให้คนยุคใหม่เข้าใจถึง “ชาวจีนเมื่อ 1600 ปีที่แล้ว” เท่านั้น แต่หวงอี้ยังใส่จิตใจของ “มนุษย์ในยุคโลกาแบนราบ” (The World is Flat)หรืออีกนัยหนึ่งคือยุคปัจจุบันสมัยซึ่งเส้นแบ่งของชนชาติเบาบางอย่างยิ่ง เข้าไปในตัวละครแห่งอดีตกาลนานโพ้น ได้อย่างแนบเนียนยิ่งนัก จึงทำให้คนรุ่นใหม่อดเกิดความรู้สึกสะทกสะท้อนหวั่นไหวใจไปกับนิยายของหวงอี้ไม่ได้ นับเป็นเสน่ห์มนต์ขลัง เรียกเสียงปรบมือเกรียวกราวดังสะท้านไปทั่วใต้หล้า

“จอมคนแผ่นดินเดือด” คือ ชื่อเสียงเรียงนามในภาคภาษาไทยของนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ยุคสมัย “5 ชนเผ่า 16 ประเทศ” ซึ่งหวงอี้ได้ทุ่มเทกำลังภายในทั้งมวลประพันธ์ขึ้นจนกลายเป็น “จุดสุดยอดใหม่” ที่ก้าวพ้นขอบเขตความงามอลังการเดิมในมหากาพย์ “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ซึ่งเป็นเรื่องราวการช่วงชิงแผ่นดินในปลายสมัยราชวงศ์สุย จนในที่สุด “หลี่ซื่อหมิน” ได้รับชัยชนะสามารถนำพาแผ่นดินจีนกลับคืนสู่ความสงบสุขหลังจากที่แผ่นดินจีนผ่านความเจ็บปวดบอบช้ำอันยาวนาน

“จอมคนแผ่นดินเดือด” เปิดฉากตระการตาด้วย “ยุทธการแม่น้ำเฝยสุ่ย” (ค.ศ. 383) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในช่วงตอนกลางของยุคสมัย “5 ชนเผ่า 16 ประเทศ” และรูดม่านสิ้นสุดลงด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองกำลังเป่ยฝู่ของหลิวอวี้ โดยได้ปราบปรามการกบฏของ “หวนเสียน” ในปี ค.ศ. 404 ปิดฉากมหากาพย์อันลือลั่นของหวงอี้อย่างแสนอาลัยอาวรณ์

“ศาสตราดีคู่ควรวีรบรุษ” ฉันใด “งานศิลปะชั้นเลิศย่อมคู่ควรผู้มีสายตาเฉียบคมลึกซึ้ง” ฉันนั้น การเสพรับวรรณกรรมระดับโลกเยี่ยง “จอมคนแผ่นดินเดือด” จึงไม่อาจซึมซับคุณค่าได้อย่างง่ายดายนัก

หากต้องการเสพรับความบันเทิงใจ “จอมคนแผ่นดินเดือด” ย่อมสามารถอภินันทนาการผู้อ่านได้อย่างดียิ่ง เหนือล้ำกว่านวนิยายธรรมดาทั่วไปอย่างเทียบไม่ได้ แต่หากต้องการคุณค่าที่ล้ำลึกกว่านั้น ท่านจะต้องมีภูมิปัญญาในการวิเคราะห์ถอดความ เปรียบเทียบเจาะลึกเพื่อดื่มด่ำในพลังคุณค่าที่ผู้เขียนบรรจงสลักเสลาขึ้นมาทั้งที่เปิดเผยและซ่อนเร้น ยังไม่นับการประยุกต์ใช้ต่อยอดซึ่งต้องอาศัยความรู้ในศาสตร์แขนงอื่นผนวกเข้าไปด้วย

“จอมคนในจอมคนฯ หมื่นวิถีสู่ราชันย์” จึงถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อจุดมุ่งหมายในการเสริมสร้างการเสพรับคุณค่า “จอมคนแผ่นดินเดือด” ให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยยิ่งขึ้น โดยผู้เขียนต้องขอออกตัวแต่เบื้องต้นว่า ไม่ได้มีภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่จนสามารถแสร้งทำเป็นผู้รู้เจนจบได้ ผู้เขียนเพียงแต่หลงรักในผลงานชั้นยอดนี้ จึงอาสาตัวด้วยความเจียมกายเจียมใจ ในการเป็นหินก้อนแรกหรือผู้บุกเบิกด้วยการปฏิบัติดูดซับภูมิปัญญาที่แฝงอยู่ใน “จอมคนแผ่นดินเดือด” เพื่อช่วยสร้าง “เครื่องมือ” ให้ผู้อ่านทั้งหลายได้มีแง่มุมที่หลากหลายในการขบคิดต่อยอด สามารถเสพรับคุณค่าในตัวงานได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น งดงามยิ่งนัก

“การเมืองชนชั้นล่าง” ได้พยายามสร้าง “หน่วยวิเคราะห์ Unit of Analysis” เพื่อให้ผู้อ่านสามารถมองเห็นความลึกซึ้งที่แฝงอยู่อย่างเด่นชัดใน “จอมคนแผ่นดินเดือด” ซึ่งแตกต่างจากงานชิ้นอื่นของหวงอี้ โดยการเมืองชนชั้นล่างนั้น ไม่ได้จำกัดเพียง “ทัพเทพศาสดา” ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนของชาวบ้านยากไร้ที่ถูกกดขี่รีดเร้นจากผู้ปกครองนครเจี้ยนคัง แต่ยังกินความไปถึง “เฉินกงกง” ซึ่งแฝงตัวเข้าไปในศูนย์กลางอำนาจ เพื่อรอคอยโอกาสในการแก้แค้น และโดดเด่นที่สุด คือ “หลิวอวี้” ซึ่งมองผิวเผินดูเหมือนแตกต่างจากชนชั้นล่างทั่วไป แต่ด้วยการเติบโตไต่เต้าจากชนชั้นล่าง “หลิวอวี้” จึงเป็นผู้นำที่มีความเข้าใจในการเมืองชนชั้นล่างอย่างดียิ่ง จึงสามารถใช้ความได้เปรียบนี้ในการต่อสู้และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ใต้ได้สำเร็จ

“หมากล้อมจอมคน” มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรูปธรรมให้กับการต่อสู้ช่วงชิงในเรื่อง “จอมคนแผ่นดินเดือด” โดยผู้เขียนตระหนักดีว่า “ความจำกัดของหมากล้อม” ไม่อาจสะท้อนเกมการเมืองแห่งอำนาจของแผ่นดินได้ครบถ้วน แต่ข้อดีของการนำหมากล้อมมาเปรียบเทียบ คือ ระบบและความชัดเจน ซึ่งทำให้ผู้อ่านที่ขาดความเจนจัดในการชิงไหวชิงพริบหักเล่ห์ชิงเหลี่ยม ได้มี “เครื่องมือ” ในการวิเคราะห์ และภายหลังจากมองผ่านแว่นตาของหมากล้อมได้ระยะหนึ่ง ผู้อ่านย่อมมีความลึกซึ้งจัดเจนเพียงพอในการ “ทลายข้อจำกัด” ของหมากล้อม เพื่อซึมซับในความลุ่มลึกของเนื้อหาการประลองกำลังประลองปัญญาที่สุดแสนคู่คี่ก้ำกึ่งถึงใจใน “จอมคนแผ่นดินเดือด” ได้อย่างเต็มเปี่ยม จนถึงขั้นสามารถประยุกต์ใช้ในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งทั้งประเทศและบุคคลกำลังเผชิญภาวะการแข่งขันโอบล้อมอย่างรอบด้านได้อย่างมียุทธศาสตร์ ไม่ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำเพียงอย่างเดียว

“เปียนฮวน เมืองแห่งแรงบันดาลใจ” นับเป็นบทหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและความใฝ่ฝันให้กับผู้อ่านทุกท่านในยุคโลกาแบนราบ (The World is Flat) ซึ่งต้องเผชิญการรุกล้ำแข่งขันในทุกฝีก้าว แต่พวกเราในยุคนี้ย่อมสามารถสร้างอาณาจักรอิสระเฉกเช่นเมืองเปียนฮวน เมืองสมมติในเรื่อง “จอมคนแผ่นดินเดือด” ขึ้นมาได้ บางทีโลกนี้อาจไม่ยุติธรรม แต่การตัดสินผู้คนด้วยความสามารถ ย่อมกระตุ้นการต่อสู้และพัฒนาของมนุษย์ได้ดีกว่าการตัดสินจากเชื้อชาติ ชนชั้น เพศ ศาสนา ฯลฯ อย่างแน่นอน ผู้อ่านจึงไม่ควรหยุดยั้งเพียงแค่การเสพรับความสนุกสนานในบรรยากาศอันรื่นรมย์ของเมืองเปียนฮวนเท่านั้น แต่น่าสนใจที่จะวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งถึงธาตุแท้การแสวงหาอิสรภาพในใจมนุษย์ที่มีมาตลอดสมัยประวัติศาสตร์อันยาวนาน ณ จุดที่เรายืนภาคภูมิอยู่นี้ บรรพบุรุษของเราต้องนำหยาดเหงื่อเลือดเนื้อเข้าแลกไปมากมายเพียงใด เราต้องสานต่อภารกิจนี้จนกว่ามนุษย์จะได้รับเสรีภาพโดยสมบูรณ์

“จอมคนนอกกระแส” รจนาขึ้นเพื่อผู้อ่านในยุคโลกาแบนราบ (The World is Flat) โดยเฉพาะ ตลอดเรื่อง “จอมคนแผ่นดินเดือด” เราย่อมพบเห็นบทบาทของ “จอมคนนอกกระแส” ที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมสำคัญในการกำหนดชัยชนะหรือแพ้พ่ายของขุมกำลังทั้งหลาย จึงนับเป็น “หน่วยวิเคราะห์” ที่น่าสนใจศึกษายิ่งนัก หากจัดประเภทอย่างกว้างขวางแล้ว บางทีเราอาจต้องผนวก “เอี้ยนเฟย” เข้าเป็นหนึ่งในผู้นำของ “จอมคนนอกกระแส” เพราะเอี้ยนเฟยมีความคิดและพฤติกรรมหลายประการที่แตกต่างจากความเห็นความเชื่อของผู้คนส่วนใหญ่ในท้องเรื่อง การวิเคราะห์ต่อยอดเช่นนี้ จึงยิ่งทำให้เห็นว่า “การเป็นคนนอกกระแส” อาจมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยทัดทานความผิดพลาดของลัทธิสุดขั้ว ซึ่งอคติของผู้คนได้ร่วมกันสร้างสมขึ้นมา

ทอดตาในยุคสมัยปัจจุบัน “นอกกระแส” กลับเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ง่าย และสร้างประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ให้กับสังคม ซึ่งได้ยกย่องเชิดชูความสดใหม่สร้างสรรค์ ทุกคนจึงได้รับโอกาสในการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระเสรี ขอเพียงแต่สร้างคุณค่าและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ย่อมเพียงพอต่อการเป็น “จอมคนนอกกระแส” ได้อย่างเต็มภาคภูมิ “จอมคนแผ่นดินเดือด” จึงให้แรงดลใจอันแรงกล้าในการใช้ชีวิตพัฒนาความเป็นเลิศในสิ่งที่รักให้ถึงจุดสูงสุด ไม่ต้องเกรงว่าจะแตกต่างจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม จนถูกลงโทษอย่างรุนแรงเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

“ความซาบซึ้งตรึงตราในห้วงยามแผ่นดินเดือด” มุ่งประเด็นไปที่ “รากฐาน” ศิลปะการประพันธ์ของหวงอี้ ซึ่งสามารถเขียนชีวิตของผู้คนในยุคต่อสู้ห่ำหั่นได้อย่างมีเสน่ห์สีสัน ตัวละครซึ่งดูภายนอกอาจต้องทุกข์ทนจากการต่อสู้ กลับสามารถสร้างจิตใจที่เปิดกว้างเบิกบาน เพื่อแสวงหาความสุขจากความทุกข์ในความสับสนวุ่นวายของยุคสมัยได้ และเมื่อมาถึง “จอมคนแผ่นดินเดือด” ความรันทดปวดร้าวบีบเค้นยิ่งเข้มข้นกว่าเรื่องใดของหวงอี้ที่ผ่านมา ตัวละครในเรื่องจึงยิ่งต้องปลุกเร้าจิตใจกันอย่างร้อนระอุ บุกตะลุยฝ่าฟันจนถึงสมรภูมิสุดท้าย ไม่ท้อถอยแม้นต้องเผชิญกับอุปสรรค ความปวดร้าวระหว่างทาง หากมองเพียงผิวเผิน “ทัวปากุย” เป็นคนโหดร้ายไร้น้ำใจ แต่หากพิจารณารอบด้านผนวกด้วยความในใจที่จอมคนท่านนี้ถ่ายทอดให้ “เอี้ยนเฟย” สหายรักรับฟัง พวกเราย่อมอดเห็นใจในความบีบคั้นของสถานการณ์ไม่ได้

เราต้องฝึกจิตใจให้มองเห็นความงามซาบซึ้งในห้วงความทุกข์ยาก จึงสามารถเสพรับคุณค่าจาก “จอมคนแผ่นดินเดือด” ได้อย่างเต็มอัตราศึก เมื่อพัฒนาถึงจุดหนึ่ง เราย่อมสามารถตระหนักสัมผัสถึงความงามอลังการในภาพรวมของงานศิลปะชิ้นนี้ที่หวงอี้ได้บรรจงรจนาร้อยเรียงขึ้นมา มิใช่สัมผัสเพียงแต่ละตัวอักษร แต่ละเรื่องราวอีกต่อไป

“จุดประกายจอมคน” คือ บทประยุกต์ร้อยเรียงของ 5 บทที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นแนวทางการประยุกต์ใช้ “จอมคนแผ่นดินเดือด” ในการต่อสู้แข่งขันบนโลกแบนใบนี้ เราไม่ควรมองข้ามการเชื่อมโยงนิยายอิงประวัติศาสตร์กับโลกปัจจุบัน เพราะขึ้นชื่อว่ามนุษย์ย่อมมีธาตุแท้ที่คล้ายคลึงกันทุกยุคทุกสมัย ที่สำคัญ หวงอี้น่าจะมีจุดประสงค์บางประการในการสอดใส่อารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในปัจจุบันเข้าไปในจิตใจและการต่อสู้ของ “จอมคน” ในยุค “แผ่นดินเดือด” ทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนในประวัติศาสตร์ ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้ามการวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ต่อสู้ยืนหยัดในยุคสมัยแข่งขันอันโหดร้ายเช่นในปัจจุบัน

ผู้เขียนเชื่อว่า หากผู้อ่านได้ประยุกต์ใช้ “จอมคนแผ่นดินเดือด” ในการดำรงชีวิตและการทำงาน นอกจากผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากภูมิปัญญาอันเจิดจรัสของหวงอี้แล้ว ยังอาจเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อเนื้อหาและตัวละครในเรื่องอย่างที่การอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียวไม่อาจประทานให้ได้ และคงเป็นจุดสูงสุดของการซึมซับ “จอมคนแผ่นดินเดือด” ที่หวงอี้น่าจะภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ในแรงศรัทธาที่แฟนนักอ่านของท่านมอบให้

“จอมคนในจอมคนฯ หมื่นวิถีสู่ราชันย์” เป็นเพียงความพยายามเล็กๆ ที่จะสร้างรากฐานการอ่านอย่างลึกซึ้งให้สังคมไทย โดยไม่ปล่อยให้ “วรรณกรรมชั้นเลิศ” ได้รับการชื่นชมเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง และสุดท้ายต้องเลือนหายไป โดยสาเหตุสำคัญไม่ได้เกิดจากเนื้อหาล้าสมัย หรือคุณค่าสิ้นสุดเพียงเท่านี้ แต่เพราะไม่มีผู้คนสืบสานต่อยอด แตกแขนงการขบคิดวิเคราะห์ใคร่ครวญออกไปอย่างยาวไกลสร้างสรรค์ เพาะสร้างกระบวนการประเมินมูลค่าใหม่ (Revalue) ให้ผู้คนเกิดความซาบซึ้งซึมซ่านในทุกห้วงความรู้สึก สามารถย้อนคิดใหม่ (Rethink) ในผลงานชั้นยอด จนเกิดมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย นำไปสู่การถกเถียงพัฒนาภูมิปัญญา ช่วยเสริมสร้าง “ระบบวิธีคิด” ของคนไทยให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอในการยืนหยัดต่อสู้บนสมรภูมิโลกาภิวัตน์ได้อย่างสวยงามยั่งยืน

เรื่องราวของ “สามก๊ก” ที่ผู้เขียนได้ยกมาเปิด “ปฐมบทแผ่นดินเดือด” เป็นตัวอย่างของ “วรรณกรรมชั้นเลิศ” ที่ได้รับการสืบสาน วิเคราะห์วิจารณ์ต่อยอด จนยกระดับสู่ “วรรณกรรมอมตะ” ซึ่งมีการพูดคุยเอ่ยอ้างไม่สิ้นสุด ในทุกบรรยากาศการสนทนา แต่เราไม่ควรหยุดยั้งความเจริญทางภูมิปัญญาไว้ที่ “สามก๊ก” เช่นเดียวกับที่ไม่ควรหยุดการพัฒนาประเทศไว้ที่ยุทธศาสตร์ผลิตสินค้าส่งออกด้วยค่าแรงราคาถูก ซึ่งทำให้คนไทยต้องเจ็บช้ำจากวิกฤติค่าเงินบาทแข็งในปี 2549 และ 2550 เราต้องร่วมกันสร้างบทวิเคราะห์สนทนาแตกแขนงต่อยอดให้กับหนังสือดีมากมายในเมืองไทย ไม่ใช่เพียงยกขึ้นหิ้งบูชาเท่านั้น

“น้ำแยงซี รี่ไหล ไปบูรพา คลื่นซัดกวาดพา วีรชน หล่นลับหาย ถูกผิดเเพ้ชนะ วัฎจักร เวียนว่างดาย สิงขรยังคง ตะวันยังฉาย นานเท่านาน เกาะกลางชล คนตัดฟืนผมขาว เฒ่าหาปลา สารทวสันต์ เห็นมาเหลือหลาย ที่กลายผ่าน สรวลสุราขุ่น ป้านใหญ่ ให้ตำนาน เก่าๆใหม่ๆ เสพสราญ ว่ากันไป…”




 

Create Date : 22 มกราคม 2558    
Last Update : 22 มกราคม 2558 16:37:08 น.
Counter : 1100 Pageviews.  

หมวด ศัพท์กำลังภายใน

ฮ้งฮีจือ  แม่ทัพขวาของแคว้นจิ้นสมัยเลียดก๊ก  แต่มีความรู้ทางอักษรศาสตร์สูงมาก  โดยเฉพาะลายมือของท่าน  เป็นแบบฉบับให้คนรุ่นหลังพยายามลอกเลียนมาจนตราบเท่าทุกวันนี้


บักฮื้อ   เป็นไม้เคาะจังหวะเวลาสวดมนต์ของหลวงจีน  มีลักษณะคล้ายกบนั่ง

เท็กลื้อ   ลาโง่หัวล้าน   คำด่าหลวงจีน

เศษฟัน   หมายถึง  ของไร้ประโยชน์

ตีกุ้ย  - นายอำเภอ

เป้าบ้อ - แม่เล้า
นัยน์ตาสูง   คือ   หยิ่งผยอง
ขวัญขึ้นบน คือ   ลำพองเกินไป
เป็ดรมควัน  คือ   ตายปากยังแข็ง
ดำกินดำ  คือ  โจรปล้นโจร
แบกหม้อดำ  คือ  มลทิน
ไท้กง    ทวด
เจ็งโจ๊ว   ทวด
โจ้วแป๋   ปู่
งักเจี๋ยง  พ่อตา
งักแป๋    พ่อตา
แป๊ะบ้อ   ป้า
ตั้วแปะ   ลุงคนโต
งั่วกง      ตา
งั่วพั๊ว     ยาย
งักบ้อ     แม่ยาย
เซี่ยวส่วย -  เขย
แกเจ๊กโจ๊ว    น้องของปู่
ของป่า   คือ   สตรี
ตี๋หู     ภรรยาศิษย์ผู้น้อง
พั่วพั๊ว   คำเรียกมารดาสามี
กู๋จื้อ    น้องภรรยา
ซ้อจื้อ    พี่สะใภ้
ซือเอี้ย   ที่ปรึกษา
เจี้ยงเล่า     ผู้อาวุโส
ก้วงสื่อ       ผู้ดูแล
ซือแป๊ะ      ศิษย์ผู้พี่ของบิดา
งี่เจ๊           พี่สาวบุญธรรม
กระบอกเหล็ก  โทรโข่ง
ขุดหลุมฝัง  คือ  ทรยศ
ขนมเปี๊ยะทอด  คือ  โรตี
กัดหู  คือ   กระซิบ
อ้วงจื้อ   ราชบุตร
อึงกง  -  ผู้มีพระคุณ
หางเปียชี้  หมายถึง    ตาย




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2557    
Last Update : 6 พฤษภาคม 2557 15:00:29 น.
Counter : 846 Pageviews.  

หมวด ของวิเศษ

ตะโพกคางคกมรกต  เง็กเซี้ยมซู้

ผลไม้ชาดยอดโสมพันปี
มุกวิเศษป้องกันพิษ
ปลาหลีฮื้อพันปี
คางคกทอง 3 ขา
รากไม้ฮ่อซิ่วอูพันปี
น้ำบาดาลศักดิ์สิทธิ์
บัวแดงไฟพิษ




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2557    
Last Update : 6 พฤษภาคม 2557 14:52:16 น.
Counter : 564 Pageviews.  

หมวด คัมภีร์วิชา+ยา

คัมภีร์กระบี่ตั้วเล้ง -  พญามังกร

เอ็กกึงเก็ง - คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
ยาเม็ดสุนัขเน่า  (เช่าเก๋าอี้)  ยาประจำพรรคกระยาจก




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2557    
Last Update : 6 พฤษภาคม 2557 14:51:48 น.
Counter : 492 Pageviews.  

1  2  3  4  

jsoc
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add jsoc's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.