Until Death Do Us Part
Group Blog
 
All Blogs
 

ดาบซามูไรญี่ปุ่นผลิตโดยคนไทย ThaisukiSword

Thai Suki & Bushi Blades 

//www.thaitsukisword.com/2011/th/
086-799-9977 
086-312-3100




 

Create Date : 30 เมษายน 2557    
Last Update : 30 เมษายน 2557 16:18:01 น.
Counter : 1006 Pageviews.  

ตัวแทนจำหน่ายปืน Sig Sauer อย่างเป็นทางการในไทย

จากนิตยสาร อาวุธปืน มี.ค.2553

หจก.ปืนราชา

02-222-1254

02-222-7005

02-224-8550

Fax 02-224-7025


หจก.ปืนนครหลวง

02-222-6724

02-226-2879

Fax 02-623-7245




 

Create Date : 30 เมษายน 2557    
Last Update : 30 เมษายน 2557 15:25:43 น.
Counter : 1681 Pageviews.  

เกร็ดความรู้จากพ็อกเกตบุ๊ค บอดี้การ์ด ของ TOP GUN

GSPR – หน่วยอารักขาปธน.ฝรั่งเศส




FBI – ตั้งปี 1908  โดยปธน.รูสเวลล์




CIA – ตั้ง 1947




Secert  Service  -  ตั้ง 1865




SAS – ตั้งปี 1941




GSG-9   - ตั้งปี  1972




SDECE – หน่วยข่าวกรองฝรั่งเศส  1958  ปฏิบัติงานในตปท.เท่านั้น




ในฝรั่งเศส  หน้าที่ของ DST เปรียบได้กับ FBI ของอเมริกา




Special  Branch   Protection  - สันติบาลของอังกฤษ  คือ หน่วยข่าวกรอง




Sleeper  Bomb  -  ระเบิดเวลาที่ตั้งเวลาเอาไว้นานๆ




กระเป๋าเอกสารสั่งนิวเคลียร์เขียนตัวสีทองพิมพ์นูนเอาไว้ว่า  For the President’s eyes  Only




DSS  Diplomatic  Security  Service – จนท.รักษาความปลอดภัยทางการฑูต  ของกระทรวงต่างประเทศอเมริกา



ทาน้ำมันที่ท่อน้ำทิ้งให้ปีนไม่ได้




GEO – หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของสเปน




EPIGN – หน่วยอารักขาบุคคลสำคัญของตำรวจตระเวนชายแดน  ฝรั่งเศส





 

Create Date : 29 เมษายน 2557    
Last Update : 29 เมษายน 2557 19:46:41 น.
Counter : 337 Pageviews.  

มหิดล-เอ็มเทค ทำเสื้อเกราะกันกระสุน M16

//blog.eduzones.com/futurecareer/36273


10 พฤศจิกายน 2552



       นักวิจัยมหิดลร่วมมือเอ็มเทค พัฒนาเสื้อเกราะกันกระสุนปืนเอ็ม-16 ไรเฟิล สำเร็จ ราคาต้นทุนถูกกว่านำเข้าเกือบครึ่ง ปตท. ให้ทุนอุดหนุนผลิต 100 ตัวแรก นำไปมอบให้ตำรวจและทหารในพื้นที่ชายแดนใต้ นักวิจัยเตรียมต่อยอดพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นและหนักน้อยลง เพิ่มความคล่องตัวให้ผู้สวมใส่ขณะปฏิบัติหน้าที่

       ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) แถลงผลสำเร็จการพัฒนาเสื้อเกราะกันกระสุนจากโลหะ เซรามิกส์ และพลาสติก เมื่อวันที่ 5 พ.ย.52 ที่ผ่านมา พร้อมจัดพิธีส่งมอบเสื้อเกราะกันกระสุนให้แก่ บริษัท พีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ในกลุ่ม ปตท. จำนวน 100 ตัว เพื่อนำไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารใช้ป้องกันตัวขณะปฏิบัติราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

       ดร.กุลจิรา สุจิโรจน์ นักวิจัยเอ็มเทค กล่าวว่า เสื้อเกราะกันกระสุนที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นเสื้อเกราะชนิดแข็ง ประกอบด้วยแผ่นกระจายแรงอยู่ด้านนอก และแผ่นดูดซับแรงอยู่ด้านใน

       แผ่นกระจายแรงทำจากเซรามิกส์และโลหะ ทำหน้าที่ละลายหัวกระสุน คุณสมบัติของเซรามิกส์ที่เบาและแข็งสามารถทำให้หัวกระสุนที่มีความเร็วสูงแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ได้ และความแข็งช่วยกระจายแรงได้ดี ส่วนแผ่นดูดซับแรงผลิตจากแผ่นโพลิเมอร์คอมโพสิทจากเม็ดพลาสติกเอชดีพีอี (HDPE) ซึ่งมีความแข็งแรงสูง ทำหน้าที่ลดแรงกระแทกที่เหลือ

       เสื้อเกราะดังกล่าวมีน้ำหนักประมาณ 9 กิโลกรัม ประกอบด้วยเกราะแผ่นสอด 2 แผ่น คือ ด้านหน้าและด้านหลัง เกราะแผ่นสอดมีลักษณะเป็นแผ่นโค้งและเหมาะกับสรีระของคนไทย ผ่านการทดสอบคุณภาพจากองพลาธิการทหารและสรรพาวุธ สำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วว่ามีประสิทธิภาพการป้องกันภัยของเกราะบุคคลในระดับ 3 ตามมาตรฐานเอ็นไอเจ (National Institute of Justice: NIJ) สหรัฐอเมริกา คือ สามารถป้องกันกระสุนปืน 7.62 ม.ม., ปืนเอ็ม-16 และปืนไรเฟิลได้ ซึ่งเป็นอาวุธสงครามที่ใช้กันอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

       ด้าน รศ.ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้วิจัยแผ่นดูดซับแรงจากโพลิเมอร์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เสื้อเกราะกันกระสุนนี้มีอายุการใช้งานนานกว่า 5 ปี หากยังไม่ถูกกระสุนปืน และนานกว่าเสื้อเกราะกันกระสุนโดยทั่วไปที่ผลิตจากเส้นใยเคฟลาร์ ทั้งนี้เพราะแผ่นโพลิเมอร์ HDPE คอมโพสิทมีความทนทานต่อความชื้นและแสงแดดมากกว่า แต่ปกติแล้วจะไม่นำเสื้อเกราะที่ถูกกระสุนปืนแล้วกลับมาใช้อีก

       ทั้งนี้ เสื้อเกราะกันกระสุนที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทยชุดนี้มีต้นทุนการผลิตประมาณ 30,000 บาทต่อชุด ซึ่งต่ำกว่าเสื้อเกราะกันกระสุนนำเข้าจากต่างประเทศที่มีป้องกันได้ในระดับเดียวกันเกือบเท่าตัว โดยเอ็มเทคและมหิดลร่วมกันวิจัยพัฒนาและผลิตขึ้นเป็นจำนวน 100 ตัว เพื่อมอบให้กับ บริษัท พีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ 5.5 ล้านบาท พร้อมวัตถุดิบเม็ดพลาสติก โดยจะนำไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารใช้ป้องกันตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

       รศ.ดร.ทวีชัย บอกอีกว่าขั้นต่อไปจะพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เส้นใยโพลิเมอร์ HDPE มีความแข็งแรงมากขึ้น 2 เท่า ด้าน ดร.กุลจิรา ก็เตรียมพัฒนาแผ่นกระจายแรงให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีน้ำหนักน้อยลง 20-30% เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับผู้สวมใส่ขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งจะพัฒนาหมวกกันกระสุนด้วย

       อย่างไรก็ตาม เสื้อเกราะกันกระสุนถือเป็นยุทธภัณฑ์อย่างหนึ่ง ซึ่งการผลิตและการครอบครองจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงกลาโหมเท่านั้น ซึ่งทีมวิจัยจะพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเสื้อเกราะให้ทันกับเทคโนโลยีอาวุธสงคราม ส่วนผลงานที่สำเร็จและจดสิทธิบัตรแล้วนั้นวางแผนจะถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชน เพื่อให้มีการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้มีราคาถูกลงได้อีก และผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงกลาโหมด้วย





 

Create Date : 29 เมษายน 2557    
Last Update : 29 เมษายน 2557 19:03:39 น.
Counter : 456 Pageviews.  

เสื้อบางระจันราคาไม่ถึง 20,000 บาท ผลงานล่าสุดของบริษัท พรีซิพาร์ท

เสื้อเกราะ "บางระจัน"


      ประมาณช่วงปีเดียวกัน พ.ต.ต.ศรายุทธ เดินทางกลับจากการอบรมในอเมริกา เขาหยิบเสื้อเกราะกันกระสุนที่ได้รับแจกกลับมาให้ พ.ต.ทรงพล ดูแล้วถามว่า “พี่ช่วยทำแบบนี้หน่อยได้มั้ย ตำรวจส่วนใหญ่ไม่มีใส่กัน”

       พ.ต.ทรงพล พร้อมนายตำรวจทั้งสอง สลับผลัดเปลี่ยนกันเล่ารายละเอียดให้ฟังว่า เป็นที่รู้กันดีในแวดวงเจ้าหน้าที่ว่า เสื้อเกราะที่ได้รับแจกจากรัฐมีไม่เพียงพอสำหรับนำมาให้ตำรวจใช้ปฏิบัติงานอย่างทั่วถึง เพราะราคาแพงมาก พวกเขาบอกว่า ของมือสองหลังกระทรวงตัวหนึ่งยังราคากว่า 30,000 บาท แถมยังเป็นที่เคลือบแคลงไม่มั่นใจว่ากระสุนจะเจาะทะลุเกราะได้หรือไม่ ทั้งยังเป็นเกราะอ่อนที่ไม่สามารถป้องกันการกระแทกอวัยวะสำคัญอย่างลิ้นปี่และหัวใจในเวลาที่ถูกยิงได้ ตลอดจนไม่สามารถตรวจสอบการหมดอายุของเส้นใย และไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศในบ้านเราด้วย

       ดังนั้น จากตัวอย่างแผ่นเหล็กที่มีอยู่ในเสื้อเกราะเมดอินอเมริกา ปลายปีนั้นเอง พ.ต.ทรงพล และทีมวิจัย จึงทดลองแสวงหาเอาเครื่องโลหะทั้งหมดที่อยู่ในไทยมาปรับปรุงคุณภาพตามกรรมวิธีโลหะวิทยา เขาใช้เวลาเพียง 15 วัน ได้แผ่นเหล็กขึ้นมา 1 แผ่น แต่ที่เหมือนปาฏิหาริย์ คือเมื่อลองใช้ปืน .357 บรรจุกระสุนเจาะเกราะยิงใส่แผ่นเหล็กแล้วไม่ทะลุตั้งแต่การทดลองในครั้งแรก

       อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยก็ยอมรับว่ายังมีข้อด้อยตรงที่มีน้ำหนักมากกว่าต้นแบบ จนคนทั่วไปที่ทราบข่าวในตอนนั้นใช้คำว่า "โลว์เทค" แต่ไม่ว่าคนจะว่าอย่างไร เสื้อเกราะแข็งตัวแรกของไทย โดยคนไทย ก็ได้กำเนิดขึ้นมาแล้ว

       ผู้คิดค้นกล่าวสรรพคุณว่า เป็นเสื้อเกราะที่ใช้เหล็กกล้าชุบพิเศษ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก 2 กิโลกรัมจากเสื้อเกราะเดิมของเมืองนอกที่ 3 กิโลกรัม ข้อดีคือ เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระสุนปืนนานาชนิดได้ดีกว่าของต่างประเทศ ยิ่งหากเทียบราคา เสื้อเกราะกันกระสุนของต่างประเทศในระดับ "A 3" 1 ตัว สามารถซื้อเสื้อเกราะแข็งของไทยประดิษฐ์ได้ถึง 5 ตัว แม้จะมีน้ำหนักมาก แต่ก็ทนทานมีอายุคงทนได้ถึง 90 ปี เนื่องจากใช้ยางพาราหุ้ม ส่วนของต่างประเทศมีอายุไม่เกิน 7 ปี และไม่สามารถถูกน้ำได้

       นอกจากนี้ทีมวิจัยก็ได้พัฒนาเสื้อเกราะโดยปรับลดจุดอ่อนบริเวณช่องว่างที่จะถูกกระสุนปืนให้มีเกราะป้องกันได้มิดชิดขึ้น พร้อมกับอุปกรณ์เสริมกันอีกหลากรูปแบบ คนต้นคิดตั้งชื่อให้เสื้อเกราะไทยประดิษฐ์นี้ว่า "เสื้อบางระจัน"


ทว่า แม้เสื้อบางระจันจะมีการมอบให้หน่วยงานตำรวจหน่วยงานรัฐไปทดลองใช้ หรือจะได้รับการตอบกลับที่ดีเพียงใดจากผู้ที่ซื้อไปใช้ แต่คุณภาพและมาตรฐานของเสื้อ ก็ยังคงเป็นรู้จักกันเฉพาะเพียงในแวดวงของเหล่าตำรวจทหารเหมือนที่ผ่านมาเท่านั้น



ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9470000058279





 

Create Date : 29 เมษายน 2557    
Last Update : 29 เมษายน 2557 19:02:47 น.
Counter : 499 Pageviews.  


jsoc
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add jsoc's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.