Group Blog
 
All Blogs
 
ทนไม่ไหวแล้วครับ

นักวิชาการ คณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ
   จากบทสัมภาษณ์ ผ่านสื่อที่ออกมามากมาย ผมรู้สึกว่า กระแสส่วนใหญ่สำหรับการแก้ปัญหาในครั้งนี้ คือการให้นายกฯ ลาออก
เป็นทางแก้ จริงๆ หรือเปล่าครับ หรือแค่เป็นการปัดปัญหา ให้ออกไปให้พ้นๆ เฉยๆ (เหมือนกวาดบ้านเอาฝุ่นซุกไว้ใต้พรม)
จริงๆแล้วปัญหาคืออะไร
ประเด็นนี้ผมคงละไปก่อนเพราะจากที่สังเกตุ ปัญหามีความ ซับซ้อน และลึกซึ้งกว่าที่เห็นมาก
แล้วประเด็นที่เกี่ยวกับ นักวิชาการ และ คณาจารย์ คืออะไร
คือ บรรทัดฐานครับ
ขณะที่ พวกท่านทั้งหลาย เรียกร้องหา จรรยาบรรณ และ จริยธรรม จาก นักการเมือง
สิ่งที่ท่านทำอยู่นี้คือการยอมรับ การละเมิดกฏหมาย
ไม่มีการบอกให้จับกุม หรือประนามการกระทำอันละเมิดด้วยกฏหมาย แต่เร่งเร้าให้ผู้ดูแลกฏหมายรับผิดชอบและลาออก
การออกมาต่อต้านความรุนแรงนั้น ผมเห็นด้วย
แต่เมื่อความรุนแรงเกิดขึ้น กลับผลักดันน้ำหนักไปที่ผู้ดูแลกฏหมาย ละเลยผู้ก่อความรุนแรง (โดยส่วนตัวผมมองว่า ผิดทั้งสองฝ่ายแหล่ะ)
หลังจากนี้ เด็กนักเรียนตีกันไม่มีความผิดแล้วครับ เพราะทั้งสองฝ่ายต่างตีกันด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองของตน
ฝ่ายที่ผิดคือ เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ?
แล้วความถูกต้องมันอยู่ตรงไหนเล่าครับ ?
ประหนึ่งว่า โจรขึ้นบ้าน ก็เลยไล่ตำรวจออกจากหมู่บ้าน
แล้ว ตำรวจที่ไหน เขาอยากจะมาดูแลให้เล่าครับ ?
แล้วใครได้ประโยชน์เล่าครับ ?
ถึงตรงนี้คงมีคนออกมาตะโกนชี้หน้า กระผมว่า "คนเหล่านั้นไม่ใช่โจร แต่เป็นผู้เปี่ยมด้วยอุดมการณ์ทางการเมือง"
ผมไม่เถียงหรอกครับ ตราบใดที่เขาไม่ละเมิดกฏหมาย ทั้งบุกรุก ข่มขู่ และ ละเมิดสิทธิผู้อื่น
สิ่งเหล่านี้ นักวิชาการทั้งหลายดูเหมือนจะไม่มีใครกล่าวถึงประเด็นนี้สักเท่าไร และดูจะยอมรับให้เป็น บรรทักฐานของสังคม
ท่านต้องการให้เป็นเช่นนั้นจริงๆหรือครับ ?
แล้วเราจะเรียกร้องหา จริยธรรม และ จรรยาบรรณ กันทำไมเล่าครับ ในเมื่อ กฏหมาย ก็ไม่มีความหมายแล้ว
ทุกคนสามารถ ละเมิดผู้อื่นได้ ถ้าพวกมากพอ และ เสียงดังพอ!
ท่านกำลังปลูกฝังอะไรลงในสังคมนี้กันแน่ครับ?
วัฒนธรรม พวกพ้อง ?
วัฒนธรรม การใช้กำลัง ? (การข่มขู่คุกคาม เสียงดังเข้าใส่ พวกมากเข้าว่า ผมก็ถือเป็นการใช้กำลัง และ ความรุนแรงแล้วนะครับ)
จริยธรรมของสังคม จะอยู่ตรงไหนเล่าครับ ?
ประชาชนทุกคน สามารถ ถูกละเมิดได้ โดยประชาชนด้วยกัน เช่นนั้นหรือครับ ?
กรุณาไตร่ตรองให้ลึกซึ้ง กว้างขวาง และ คำนึงถึงอนาคต ด้วยนะครับ

ส่วนข้อสงสัยที่ว่า ฝ่ายหนึ่งที่ใช้ความรุนแรงเกิดจากน้ำมือของผู้รักษากฏหมายเอง หรือ ผู้ที่อยู่ในอำนาจ
เป็นไปได้ครับ แต่ ไม่ใช่ข้อสรุป
เราสรุปเรื่องราวต่างๆ จากสิ่งที่เรียกว่า ความรู้สึก ไม่ได้นะครับ
"คิดว่า" "รู้สึกว่า" "คาดว่า" เอามาสรุปไม่ได้นะครับ
กระบวนการสืบสวนต้องเกิดครับ ขั้นตอนการตรวจสอบตรงนี้ต่างหากที่ต้องให้ความสำคัญ
ไม่เช่นนั้น ปัญหานี้ไม่มีทางแก้ไขได้ครับ

และไม่ใช่การกดดัน หรือเร่งเร้า เพียงอย่างเดียว เพราะกระบวนการ จะไม่เกิดการพัฒนา ครับ
พยายามคิด และ วิเคราะห์ ให้ละเอียก จะดีกว่านะครับ

สื่อสารมวลชน
  กระผมพึ่งได้ยินการสอบถาม นายกฯ และ ผบทบ. ในกรณีประกาศ พรก. ฉุกเฉิน
หลังจากที่ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างๆ ออกมาประนามคำพูดของท่าน นายกฯ ที่บอกให้สื่อเลือกข้าง (ไม่ว่า นายกฯ ท่านจะหมายความอย่างไรก็ตาม)
ผมพบว่า สื่อได้เลือกข้างไปเรียบร้อยตั้งนานแล้วครับ
ข้างที่อยู่ตรงกันข้ามกับท่าน นายกฯ นั่นเองครับ
อย่างไรหรือครับ
ดูจากคำถามที่มุ่งเน้นจะให้แสดงความรับผิดชอบ (โดยไม่มองถึงวิธีการอื่นๆแม้แต่น้อย ... ไม่ลังเลถึงทางเลือกใดๆเลย)
หรือที่ยิ่งแล้วใหญ่ คือถาม โดยมีคำด่าบุคคล ลงไปในคำถามด้วย
สื่อทำถูกต้องแล้วหรือครับ ?
แล้วอย่างนี้ จะสามารถ นำเสนอข่าวอย่างเป็นกลางได้อย่างไรครับ ?

สิ่งที่สะกิดใจผมอีกอย่างคือ การแถลงบนแท่นและให้สอบถามได้
ผู้ตอบ(ผู้แถลง) จะเป็นฝ่ายระบุว่าให้ผู้ใดถามก่อน
โดยส่วนใหญ่ ผู้ถามก็จะมีสิทธิ คนละ๑คำถาม และควรจะเวียนจนครบทุกสำนักข่าว
ผู้ถามจะระบุว่าตนเป็นใครมาจากสำนักข่าวไหน
กรณีที่เกิดขึ้น ผมไม่เห็นกระบวนการนี้เลยนะครับ
สื่อแย่งกันถาม โดยไม่รอ จะดีหรือครับ ?


หลักการ, หลักการ และ หลักการ
  มาถึงตรงนี้หลายๆท่านอาจจะมองว่า ผมมาเขียน เชียร์ รัฐบาล
ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน
แต่สิ่งที่ผม อยากจะให้คนไทยทุกๆคนคำนึงถึงให้มากๆ คือ หลักการ ครับ
หลักการทางประชาธิปไตย
บุคคลทุกคนมีสิทธิ และ เสรีภาพโดยเท่าเทียมกัน ซึ่งผู้ใดจะละเมิดมิได้
ทุกคนอยู่ใต้ กฏหมาย (อันนี้ผมถือว่าให้ละ พรก. ฉุกเฉิน เอาไว้ก่อนก็ได้นะครับ หากท่านไม่เห็นชอบ)
ชัดเจนนะครับ
ปัญหาคือ ผมไม่ทราบว่าผู้ชุมนุม รู้หรือเปล่า ว่า เขากำลังละเมิดผู้อื่นอยู่
บางคนอาจจะบอกว่า สิ่งที่คุณกระทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ต่อประเทศชาติ เป็นอย่างยิ่ง
นั่นไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้คุณสามารถละเมิดคนอื่นเขาได้นะครับ
เป็นสิทธิของเขาต่างหากครับ ว่าจะยอมให้คุณ ละเมิดหรือเปล่า
จะไปใช้กำลังบังคับขู่เข็ญเขาก็ไม่ได้นะครับ (แบบนั้น ไม่ใช่ม๊อบ ครับ แบบนั้นเรียก มาเฟีย)
สิ่งเหล่านี้จำเป็นจะต้องถูกระบุชี้ให้ชัดว่า อะไร เป็น อะไร ไม่อย่างนั้น เราจะอยู่กันอย่างไรครับ? ลูกหลานเราจะอยู่กันอย่างไรครับ ?
และการบุกรุก ปิดล้อม ข่มขู่ บังคับให้ออกจากพื้นที่ เป็นความผิดทางกฏหมายนะครับ
ทำไมไม่ใครพูดถึงประเด็นนี้กันเลยครับ ?
แล้วจะปล่อยให้เป็นที่ยอมรับกัน เช่นนั้นหรือย่างไรครับ ?
อย่างนี้ เป็นโจรกันดีกว่าไหมครับ ?
ผลกระทบ
ผมเชื่อว่า มาถึง ตรงนี้ หลายๆคนคงบอกว่า ผมคิดมาก จุกจิกจู้จี้ ลงรายละเอียดมากเกินไป
แต่ผมว่า รายละเอียดนั่นละครับ สำคัญที่สุด
เป้าหมายที่ดีงามถูกต้อง ไม่เคยประสบความสำเร็จ จากวิธีการ ผิดๆ ครับ
และวิธีการนั่นละครับ คือ รายละเอียด
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมส่งผลกระทบ อย่างแน่นอน ครับ เพราะ กระบวนการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้ว
และสิ่งที่ตามมา จะเป็น บรรทัดฐานของสังคม ในอนาคตครับ
ระยะสั้น
ผมเชื่อว่า ในระยะสั้น ผลเชิงสังคมจะยังไม่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนนะครับ
เราจะรู้สึกประหนึ่งว่า การแสดงออกภาคประชาชน ประสบความสำเร็จ อย่างงดงาม
โดยลืมไปว่า เรากำลังเหยียบย่ำ อยู่บนบรรทัดฐานเชิงจริยธรรมของสังคมอยู่
น่าหดหู่นะครับ
ระยะยาว
อันนี้สิครับ น่ากลัว
อย่างที่ผมบอกไว้ก่อนหน้า
เราจะเกิด วัฒนธรรม พวกพ้อง ที่เข้มแข็ง และ แข็งแกร่งอย่างมากเลยครับ เพราะวัฒนธรรมนี้จะมีศักยภาพถึงขั้น สามารถละเมิดกฏหมายได้
ปัจเจกชน จะหายไปจากประเทศไทย เพราะ อยู่ไม่ได้ครับ
เราจะเกิดวัฒนธรรมกร้าวร้าว เพราะเสียงดังกว่า รุนแรงกว่า จึงจะได้สิ่งที่ต้องการ
อันนี้ โดยส่วนตัว แนวโน้มนี้ มีมาเรื่อยๆอยู่แล้วนะครับ เพราะ มีแนวทางมาจากทางตะวันตก
จริงๆแล้วในแง่หนึ่งเป็นสิ่งที่ดีนะครับ ในแง่ของการทำธุรกิจ แต่ต้องใช้เหตุผลครับ เป็นความก้าวร้าว แต่ไม่ใช่ความรุนแรง ครับ
ก็ต้องประเมินกันไปครับว่า กรอบมันจะอยู่ตรงไหน
แต่ประเภท นายA กร้าวร้าว เลยต้องไล่ นายB ออก อันนี้ คงเป็นแนวทาง ทางสังคมที่แปลกๆอยู่สักหน่อยนะครับ
เหมือนเด็กนักเรียนตีกัน ไล่ ผอ.โรงเรียนออก การลงโทษเด็ก หรือ มาตรการ ป้องกันเล่าครับ ... ไล่ ผอ.ออก แก้ปัญหาได้จริงหรือครับ
เราจะเกิด วัฒนธรรม เห็นแก่ตัวที่ รุนแรง ขึ้น
เพราะเราปลูกฝังว่า ความเห็นของเรา ถูกต้องที่สุด ความเห็นคนอื่นผิดหมด (ก่อนจะวนกลับไปที่ วัฒนธรรมพวกพ้อง เพื่อหาพวกต่อไป)

น่ากลัวมากๆเลยนะครับ

สรุป
  ผมไม่สนใจหรอกครับว่า นายกฯ จะแก้ปัญหาความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ได้อย่างไร
ที่ผมเป็นห่วงคือ พวกเราทุกคน ทั้งนักวิชาการ ทั้งคณาจารย์ ทั้งสื่อ กำลังสร้าง บรรทัดฐานอะไรขึ้นในสังคมนี้
ผมอยากให้ทุกๆท่าน ตรึกตรองให้จงหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบ ต่อ อนาคต ของสังคม ของประเทศ นี้
ถ้าผมแค่คิดมากไปเองก็ดีไป
แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ลักษณะทางสังคม เกิดจากการเรียนรู้ของ มวลชน นะครับ
เช่นเดียวกับการเข้าแถวซื้ออาหาร
เมื่อมีคนบางกลุ่ม ไม่อยู่ในแถว แซงแถว แล้วได้รับบริการเช่นกัน
คนก็จะเริ่มไม่อยู่ในแถว
เช่นเดียวกัน
เมื่อคน สามารถ ละเมิดกฏหมายได้ ... แล้วจะปฏิบัติ ตามกฏหมาย ทำไมเล่าครับ
...
การเรียนรู้ของ สังคม ได้เกิดขึ้นแล้วนะครับ
พวกท่านอยากให้ สังคม นี้ เป็นเช่นนี้ จริงๆหรือครับ



Create Date : 06 กันยายน 2551
Last Update : 6 กันยายน 2551 12:44:47 น. 6 comments
Counter : 376 Pageviews.

 
เมืองไทยอยู่ระหว่างการตัดสินใจของประชาชน หากเอา
การเมืองแบบ พธม. 70/30 หรือ แบบ รธน .ปี2540 ต้อง
มีการแก้ไข รธน.ก่อน ทางออกที่ดี ให้ รัฐบาลกับฝ่ายค้าน
เขียน รธน.คนละฉบับเสร็จแล้วทำ ประชามติ พธม.เลิกประท้วงก่อน ไปช่วยเขียน รธน.แล้วนำมาเสนอประชาชน
เสียงส่วนใหญ่ว่าไงก็เอาตามนั้น (ม่ายรู้ฝันมากไปหรือปล่าว)


โดย: คนทำยาง วันที่: 6 กันยายน 2551 เวลา:14:37:13 น.  

 
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ และพูเห็นด้วย เรื่องบรรทัดฐานค่ะ
พูไม่อยากให้สมัครลาออกเพราะมีคนพวกมากมากดดันให้ลาออก เพราะจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีถ้าคราวหน้าประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล แล้ว นปก.ทำแบบนี้บ้าง บ้านเมืองคงยุ่งพิลึก

แต่พูก็ยังอยากให้สมัครลาออกค่ะ แต่อยากให้ลาออกด้วยจิตสำนึกของตัวเอง อย่างน้อยที่สุดก็คดีที่บริษัทญี่ปุ่นสารภาพว่ามีการให้เงินสินบนกับเจ้าหน้าที่กทม. ในสมัยที่สมัครเป็นผู้ว่า ซึ่งท่านอาจจะเถียงว่าท่านไม่ได้ทำหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ก็อยากให้ท่านสมัครสร้างบรรทัดฐานทางจริยธรรมที่ว่า นักการเมืองต้องมีจริยธรรมสูงกว่าคนทั่วไป แม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าผิด ก็พร้อมจะลาออก เพื่อให้คนอื่นเข้ามาตรวจสอบ และพิสูจน์ความบริสุทธิ์ให้ท่าน

ถามว่าพันธมิตรละเมิดกฏหมายหรือไม่ พูดตามตรงก็คือละเมิดกฏหมายในการละเมิดสิทธิ์ของคนอื่นจริงค่ะ แต่เราต้องดูไปที่สาเหตุด้วย จะเห็นได้ว่าคดีในศาลทำผิดเหมือนกัน ยังมีโทษไม่เท่ากัน บางคนถึงกับได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับโทษก็ยังมี เพราะศาลจะพิจารณาถึงเจตนาการทำค่ะ ดังคำกล่าวว่า กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา ที่นักวิชาการไม่ตำหนิพันธมิตรรุนแรง ก็เพราะเล็งเห็นถึงเจตนาที่ไม่ได้ทำเพื่อตัวเองค่ะ

เช่นเดียวกับเมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้น นักวิชาการก็มองที่เจตนาค่ะ จึงต่อว่าผู้ดูแลกฏหมาย ทั้งๆที่รู้ล่วงหน้า และสามารถป้องกันได้ แต่ไม่ทำ และเจตนาที่จะปล่อยให้เกิดความรุนแรง

ถามว่าการลาออกของนายกจะเป็นการแก้ปัญหาหรือเปล่า พูก็ว่าไม่แก้ค่ะ เป็นการปัดปัญหาเข้าไปใต้พรมอย่างที่คุณว่า เลือกตั้งมากี่ครั้ง ฝ่ายพลังประชาชนก็ยังชนะอยู่ดี แต่หลักการประชาธิปไตย คือการมีส่วนร่วมของประชาชนค่ะ
คุณต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่ และยอมรับเสียงส่วนน้อยด้วย ไม่ใช่ฉันได้เสียงส่วนใหญ่มาแล้วจะทำอะไรก็ได้ตามใจฉัน หรือ ฉันไม่ชอบใจรัฐบาล ฉันจะไล่มันยังไงก็ได้ตามใจฉัน มันก็ไม่ถูกทั้งคู่ค่ะ


โดย: pumpond วันที่: 6 กันยายน 2551 เวลา:14:55:53 น.  

 
ได้มีโอกาสแวะเข้ามาอ่านที่บล็อกนี้ ขอชื่นชมและเห็นด้วยอย่างมากเลยค่ะกับแนวความคิดของคุณเจ้าของบล็อก พอดีว่ายังมึนกับการเพิ่งจะไปเจอว่าตัวเองโดนด่ามาจากอีกกระทู้หนึ่ง เพราะบังอาจไปวิพากย์วิจารณ์กลุ่มที่มองว่า พธม.ถูก (บล็อกนั้นเค้าอยู่ข้างพธม. แต่ใช้วาจาไม่สุภาพกับเรา ซึ่งเราก็อาจจะใช้คำพูดรุนแรงว่าพวกพธม.มั้ง เค้าเลยด่าย้อนกลับมา) ก็ยอมรับล่ะค่ะว่าเบื่อพธม. มากๆ เพราะไม่ชอบคนไม่เคารพกติกา ไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง ไม่เคารพคำสั่งศาล ใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย การที่ไม่พอใจใครก็ประท้วงไล่เค้าออก ถูกอย่างที่คุณว่าเลยค่ะ แล้วก็เห็นพวกนักวิชาการทั้งหลายแหล่ออกมาแสดงความเห็น แต่ปกป้องพธม.ทั้งนั้น ไม่รู้ว่าบ้านเมืองเราเป็นอะไรกันไปหมดแล้ว ก็มองอยู่เหมือนกันว่า ถ้าคราวหน้าเิกิดว่า เป็นพรรคที่ตนเองไม่ชอบได้เป็นรัฐบาลอีก ก็คงจะทำแบบเดิมอีก (เพราะพธม.ประกาศชัดแจ้งมาก เรียกร้องไม่ใช่แค่นายกออก แต่ให้ออกทั้งคณะ ยังๆไม่จบ แต่จะประท้วงเอาการเมืองใหม่ 70/30 อีก นี่มันอะไรกันหรือ) โดยส่วนตัวไม่สนับสนุนให้นายกลาออก เพราะรัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงประชาชนส่วนใหญ่ เลือกเข้ามาโดยถูกต้องชอบธรรม เสียงข้างน้อยก็ควรยอมรับ ถ้านายกลาออก เท่ากับว่าบ้านเมืองนี้มีกฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ถ้าไม่ชอบใจใครก็ประท้วงไล่ออก ต่อไปกฎหมายก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์แล้วค่ะ เพราะทำอะไรกับพวกที่ละเมิดกฎหมายไม่ได้เลยซักอย่าง


โดย: แม่น้องแปงแปง วันที่: 6 กันยายน 2551 เวลา:16:46:13 น.  

 
อยากให้คนไทยรักกัน สามัคคีกัน ร่วมคิดร่วมสร้าง แก้ปัญหาร่วมกัน เห็นด้วยกับความเห็นของ มล.ณัฐกรณ์ เทวกุลฯ (คุณปลื้ม) ค่ะ เขาสนับสนุนให้แก้ รฐน เพราะ รฐน ปี 40 ถูกล้มเลิกไปด้วยอำนาจที่ไม่ถูกต้อง..และปัญหาที่ทำเนียบ ต้องแก้ปัญหาโดยนิติรัฐค่ะ


โดย: I_sabai วันที่: 6 กันยายน 2551 เวลา:20:53:42 น.  

 
เห็นด้วยกับคุณ คนทำยางแฮะ

เสนอมาคนละฉบับแล้วตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากที่ต่าง ๆ มาเลือก แล้วทำประชาวิจารณ์ แล้วค่อยลงมติ ..

ผมว่าก็เข้าท่านะ


โดย: zilarx (Zilarx ) วันที่: 17 ตุลาคม 2551 เวลา:2:06:27 น.  

 
คำนึงถึงอนาคต <<< เพราะคนบางกลุ่มคำนึงถึงอนาคตแล้ว แต่คำนึงถึงแต่อนาคตตัวเอง ไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศ

สื่อได้เลือกข้างไปเรียบร้อยตั้งนานแล้วครับ <<< เห็นด้วยครับ แต่เลือกได้ก็เปลี่ยนใจได้ สื่อก็เป็นแค่คน -_-"

อย่างนี้ เป็นโจรกันดีกว่าไหมครับ ? <<< หึ..หึ...หึ

วัฒนธรรม พวกพ้อง ที่เข้มแข็ง และ แข็งแกร่งอย่างมากเลยครับ <<< เห็นด้วยครับ จากเดิมก็เล่นพรรคเล่นพวกกันขนาดหนักอยู่แล้ว -_-"


โดย: แค่ก้อนหินที่อยากบินได้ วันที่: 2 ธันวาคม 2551 เวลา:12:39:12 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ยังอยากเป็นคนไทยอยู่
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ยังอยากเป็นคนไทยอยู่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.