|
จากฮอยอันถึงอยุธยา ไทยแพ้เวียดนาม (อีกแล้ว)
ได้อ่านข่าว แร้งลง
มรดกโลก อยุธยา ใน Traveler เมื่อฉบับก่อน ทำให้คิดเมืองมรดกโลก ฮอยอัน ที่ผู้เขียนไปเยือนเมื่อปีที่แล้ว
ฮอยอันเป็นเมืองเล็กๆ ในภาคกลางของเวียดนาม แต่เมืองนี้ได้สร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวให้แก่ประเทศเวียดนามมหาศาล เพราะเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของประเทศ ที่ชาวญวนล้วนภาคภูมิใจ

ความเหมือนของฮอยอันและอยุธยา อยู่ตรงที่ต่างก็เป็นเมืองมรดกโลกด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเหมือนกัน แต่ระบบการจัดการของ 2 เมืองนี้กลับต่างกันลิบลับ
ขณะที่ฮอยอันยังคงมีบรรยากาศย้อนยุคไปในศตวรรษที่ 16-17 หน่วยงานผู้รับผิดชอบสามารถรักษาฮอยอันไว้ได้ภายใต้บรรยากาศเก่าๆ โดยได้รับความร่วมมือจากคนพื้นที่อย่างดีเยี่ยม สามารถเรียกนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนได้ปีละหลายล้านคน
ขณะที่อยุธยาบ้านเรากลับถูกปล่อยปละละเลยให้เกิดทัศนอุจาดทั่วไป ทั้งกลุ่มพ่อค้าแม่ขายที่เข้าไปบุกรุกตั้งร้านค้าบริเวณโบราณสถานสำคัญ ปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารสมัยใหม่บดบังหรือทับพื้นที่ประวัติศาสตร์
จึงน่าศึกษาว่าชาวเวียดนามเขามีวิธีการจัดการกันอย่างไร จึงสามารถรักษาเมืองฮอยอัน ไว้เป็นเมืองมรดกโลกอันน่าภาคภูมิ ไม่ต้องมามัวกังวลใจว่าจะถูกยูเนสโกถอดถอนออกจากบัญชีมรดกโลกเมื่อใดเหมือนอยุธยาบ้านเรา
ชาวญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในฮอยอันตั้งแต่ต้นคริสตศตวรรษที่ 16 หลักฐานสำคัญคือสะพานญี่ปุ่นกลางเมือง ซึ่งยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นสัญญลักษณ์ของเมือง

ฮอยอันได้กลายเป็นเมืองท่าใหญ่ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17-18 พ่อค้าวาณิชและนักเดินเรือชนชาติต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น จีน ดัชท์ และชาติต่างๆ ในยุโรปอพยพมาอยู่ทำมาค้าขาย ก่อให้เกิดชมชนนานาชาติ แต่งแต้มสีสันทางด้านวัฒนธรรมอันหลากหลาย
ความเจริญรุ่งเรืองของฮอยอันเริ่มร่วงโรยลงตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 19 ภายหลังจากท่าเรือบริเวณอ่าวดานังซึ่อยู่ไม่ไกลนักเจริญขึ้นมาแทนที่ ฮอยอันได้กลายเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ริมแม่น้ำอันตื้นเขิน

แม้เผชิญกับสงครามอยู่หลายปี แต่สถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของฮอยอันก็รอดพ้นจากการถูกทำลายมาได้ ยังหลงเหลือโบราณสถานอยู่ถึง 194 แห่ง รัฐบาลเวียดนามเห็นคุณค่าของฮอยอัน จึงได้วางโครงการอนุรักษ์ให้เป็นสมบัติของชาติตั้งแต่ปี 1985 และปี 1999 ยูเนสโกได้ประกาศให้ฮอยอันเป็นมรดกโลก

รัฐบาลเวียดนามได้ตั้งสมาคมฮอยอันขึ้นมาทำหน้าที่ส่งเสริมและอนุรักษ์เมือง โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นส่งที่ปรึกษามาทำงานร่วมกับทีมงานชาวเวียดนาม
งานชิ้นแรกคือออกสำรวจอาคารบ้านเรือนในเขตเมืองเก่าครอบคลุมถนน 3 สาย พบว่าหลายหลังได้ถูกดัดแปลงจนสูญค่า ทีมงานได้คัดเลือกอาคารหลายหลังเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีสถาปัตยกรรมแบบโบราณ โดยได้รับความช่วยเหลือด้านงบประมาณจากรัฐบาลเวียดนามครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งออกโดยเจ้าของอาคาร
เห็นได้ว่าความสำเร็จของโครงการนี้นอกจากความเอาจริงเอาจังของสมาคมฮอยอันซึ่งรัฐบาลเวียดนามอยู่เบื้องหลังและการใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอย่างเคร่งครัดแล้ว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในพื้นที่ด้วย
วิธีการที่รัฐบาลเวียดนามใช้ไม่ใช่การไล่ที่ประชาชนเพื่อเอาอาคารบ้านเรือนมาเก็บรักษาไว้ แต่ยังปล่อยให้ประชาชนทำมาค้าขายในอาคารเดิมของตนต่อไป และรณรงค์ให้เจ้าของของอาคารเห็นประโยชน์จากอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองเก่าขึ้นมา จนยอมเสียค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง

ประโยชน์ที่เจ้าของอาคารได้รับนอกจากได้ซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนของตนเอง โดยออกเงินแค่ครี่งเดียวแล้ว ยังได้ประโยชน์จากทำมาค้าขายคล่องขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นหลังโครงอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองเก่าสำเร็จ
แต่แค่นี้อาจยังไม่พอทางทีมงานจึงมีอีกมาตรการเพื่อดึงดูดให้คนในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ โดยการเปิดอาคารบางหลังที่มีลักษณะโดดเด่นที่เป็นศาลเจ้า สมาคมต่างๆ หรือบ้านของตระกูลเก่าแก่บางหลังให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชม โดยขายเป็นตั๋วค่าเข้าชมเป็นแพคเกจ ซื้อเพียงใบเดียว สามารถเลือกเข้าชมในอาคารตามจำนวนที่กำหนดไว้ และแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้เจ้าของอาคาร และส่วนหนึ่งได้กลายเป็นกองทุนเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองในอนาคต

ความสำเร็จในการบริหารจัดการเมืองฮอยอันทำให้ที่นี่กลายเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประชาชนในพื้นเต็มใจให้ความร่วมมือกับรัฐบาล เพราะเขาได้ประโยชน์โดยตรง

ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าสายเกินไปหรือไม่ที่ผู้เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองมรดกโลกอยุธยาเมืองหลวงเก่าของไทยจะพิจารณาตัวอย่างความสำเร็จของฮอยอัน
จากคอลัมน์ แบกเป้ท่องโลกกว้าง นสพ.Traveler 1-16 ส.ค.52 โดย ฝันไกล
Create Date : 26 กรกฎาคม 2553 |
Last Update : 15 กันยายน 2553 23:44:11 น. |
|
5 comments
|
Counter : 2939 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Tree Rose วันที่: 26 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:20:42 น. |
|
|
|
โดย: itoursab วันที่: 26 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:08:32 น. |
|
|
|
โดย: หน่อยอิง วันที่: 26 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:24:53 น. |
|
|
|
โดย: mai IP: 202.12.74.130 วันที่: 26 พฤษภาคม 2554 เวลา:22:10:14 น. |
|
|
|
| |
|
|
Location :
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

|
ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งซึ่งชอบเที่ยวสไตล์แบกเป้เดินทางไปทั่ว สมัยก่อนก็อาศัยข้อมูลจากหนังสือหรือนิตยสารซึ่งมีข้อจำกัดมากมาย ทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการซื้อหา รวมทั้งมีข้อมูลไม่ครบถ้วนและไม่ค่อยทันสมัย แต่เมื่อถึงยุคดิจิตอล ก็ได้พึ่งพาข้อมูลออนไลน์จากเพื่อนพ้องน้องพี่ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ ผู้เขียนเองมีโอกาสได้รับเชิญจากหนังสือพิมพ์รายปักษ์ Traveler ให้เขียนคอลัมน์ประจำ "แบกเป้ท่องโลกกว้าง" จึงขอนำข้อเขียนที่ลงตีพิมพ์แล้วมาร่วมแชร์บ้างครับ รวมทั้งรีวิวจากการไปท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านๆ บ้างไม่มากก็น้อย แล้วช่วยให้ Comment และเพิ่มเติมนะขอรับ
ขอแถมให้อีกบล็อกครับ เป็นบันทึกจากงานอาชีพล้วนๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านครับ
|
|
|
|
|
|
|
|