Group Blog
 
All blogs
 

มังกรฟ้า

มังกรฟ้า 青龍 (ชิงหลง ในภาษาจีน เซริว ในภาษาญี่ปุ่น หรือ ชุง รวอง ในภาษาเกาหลี) เทพอสูรแห่งทิศตะวันออก ตัวแทนแห่งฤดูใบไม้ผลิ สีประจำคือสีฟ้า (หรือเขียว) เป็นอสูรธาตุไม้ แสดงถึง คุณงามความดี ความเหมาะสม ความสงบสุขและมั่นคงของบ้านเมือง (ควบคุมดินฟ้าอากาศ และ เป็นสัญลักษณ์แห่งจักรพรรดิ) มักถูกใช้เป็นขั้วตรงข้ามกับ หงส์แดง (ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งจักรพรรดินี ตามความเชื่อของญี่ปุ่น)





 

Create Date : 24 ธันวาคม 2551    
Last Update : 24 ธันวาคม 2551 0:26:04 น.
Counter : 776 Pageviews.  

มังกรจีน

มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ , คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่งจะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง

เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด ไชโอะ (chiao) หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย

มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า เชด เม่อ (ch’ih muh) แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า โพ เชน (po-shan) ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้ ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร





 

Create Date : 24 ธันวาคม 2551    
Last Update : 24 ธันวาคม 2551 0:20:17 น.
Counter : 675 Pageviews.  

เงือก

"เงือก" ในภาษาอังกฤษเธอชื่อ mermaid แปลว่าหญิงสาวแห่งท้องทะเล เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงในตำนาน ร่างกายครึ่งบนเป็นหญิงสาวครึ่งล่างเป็นปลา ส่วนพวกพ้องเธอที่เป็นชาย เรียก เมอร์แมน - merman ตำนานว่าเป็นเผ่าพันธุ์อมนุษย์สะเทินน้ำสะเทินบก อาจมีถิ่นกำเนิดบนฝั่งบริตานี และว่ายข้ามช่องแคบอังกฤษไปยังคอร์นวอลล์ เป็นที่มาของชื่อ เมอร์เมด-เมอร์แมน อันเป็นคำผสมแองโกล-ฝรั่งเศส

และจากคอร์นวอลล์เงือกก็แพร่พันธุ์ไปจนถึงฝั่งตะวันตกของเกาะอังกฤษ ไปถึงรอบๆ สกอตแลนด์ตอนเหนือ สู่สแกนดิเนเวีย นอกจากนั้น ยังอาจพบเห็นเงือกในจุดต่างๆ ตลอดแนวฝั่งยุโรปด้วย อาจเป็นเพราะเงือกชอบอากาศเย็นและแนวฝั่งแอตแลนติกของอังกฤษกับไอร์แลนด์ โดยที่ไอริชแห่งไอร์แลนด์เรียกเงือกว่า เมอร์โรว์ และ เมอรูชา
เงือกในประเทศไทย ถูกกล่าวขานมาตั้งแต่สมัยอดีต ผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย แต่ที่เห็นว่าจะเป็นเงือกที่ได้รับความนิยม และกล่าวขวัญกันมากที่สุดนั้นคือ เงือกในวรรณคดีของ สุนทรภู่ เรื่อง พระอภัยมณี ที่นางเงือก (เงือกสาว) และเงือกตายาย ช่วยพาพระอภัยมณีหนีจาก ผีเสื้อสมุทรได้จนสำเร็จ และนางเงือกได้เป็นชายาของพระอภัยมณี จนมีโอรสด้วยกัน 1 องค์ ชื่อว่า สุดสาคร

ในภาษาไทยโบราณ รวมทั้งในวรรณคดีสมัยอยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์ มีคำว่า เงือก มาแล้ว แต่มีความหมายแตกต่างกันไป พอจะสรุปได้ดังนี้

งู : คำว่าเงือกในภาษาไทยโบราณ และภาษาตระกูลไตบางถิ่นนั้น มักจะหมายถึง งู ดังปรากฏในลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่ว่า "ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น" นั่นคือ เอางูมาพันรอบกาย, "เสียงเงือกงูว้าง ขึ้นลง" หมายถึง เสียงงู เหล่านี้เป็นภาษาเก่าที่ไม่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน

สัตว์ร้าย จำพวกผี หรือปิศาจ : ปรากฏในลิลิตพระลอ วรรณกรรมสมัยอยุธยาเช่นกัน

สัตว์ครึ่งคนครึ่งปลา : เชื่อกันว่าเงือกในลักษณะนี้ปรากฏครั้งแรกในวรรณคดีพระอภัยมณีดังกล่าวมาข้างต้น แต่อาจมีค้นเค้าจากเรื่องอื่นก็เป็นได้

มังกร : คนไทบ้างกลุ่มในประเทศจีนและเวียดนาม จะเรียกมังกรว่า "เงือก" เช่น ไทปายี ไทเมือง และกะเบียว ในเวียดนาม


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- คอลัมน์รู้ไปโม้ด เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ข่าวสด

- วิกิพีเดีย

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

Retrieved from "//www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81"
ประเภทของหน้า: สัตว์ในตำนาน




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2551    
Last Update : 20 ธันวาคม 2551 2:23:28 น.
Counter : 41382 Pageviews.  

ครุฑ

ครุฑ เป็นสัตว์หิมพานต์ ในเทพนิยายที่เราค่อนข้างคุ้นหูคุ้นตาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่เราพบเห็นกันอยู่เสมอตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าธนาคาร ห้างร้านบางแห่ง บนธนบัตร บนเรือพระที่นั่ง ฯลฯ โดยเฉพาะในสถานที่หรือทรัพย์สินทางราชการ วรรณกรรมหลายเรื่องก็มีการกล่าวถึงครุฑ เช่น เรื่องอุณรุท แต่ที่คนไทยรู้จักกันดี ก็คือครุฑในเรื่องกากี อย่างไรก็ตาม แม้คนส่วนใหญ่จะได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับครุฑมาบ้างแล้ว แต่เชื่อว่าคงมีคนอีกไม่น้อยที่ยังไม่ค่อยทราบประวัติของครุฑ ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำเรื่องของ “ครุฑ” จากส่วนหนึ่งในสารานุกรมของเสฐียรโกเศศ ปราชญ์เอกของไทยมาเล่าให้ฟัง ดังนี้

ครุฑ เป็นพญานกที่มีรูปครึ่งมนุษย์ ครึ่งนกอินทรี เป็นเทพพาหนะของพระวิษณุ เป็นโอรสของพระกัศยปมุนี และนางวินตา พระกัศยปมุนีเป็นฤษีที่มีอำนาจมากตนหนึ่ง นอกจากนางวินตาแล้ว ก็ยังมีนางกัทรู ซึ่งเป็นพี่น้องกับนางวินตาเป็นภริยาอีกคน โดยนางกัทรูได้ขอพรจากสามีให้มีลูกจำนวนมาก และต่อมาก็ได้ให้กำเนิดนาคหนึ่งพันตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอลูกเพียงสององค์และขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา ต่อมานางได้คลอดลูกออกมาเป็นไข่สองฟอง คือ อรุณ และครุฑ ซึ่งต่อมาอรุณได้ไปเป็นสารถีของสุริยเทพ ส่วนครุฑเมื่อแรกเกิดว่ากันว่า มีร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจรดฟ้า ดวงตาเมื่อกระพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกทีใด ขุนเขาก็จะตกใจหนีหายไปพร้อมพระพาย รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ ครั้งหนึ่งนางกัทรูและนางวินตาได้พนันกันถึงสีของม้าที่เกิดคราวกวนเกษียรสมุทร โดยว่าใครแพ้ต้องเป็นทาสอีกฝ่ายห้าร้อยปี นางวินตาทายว่าม้าสีขาว แต่นางกัทรูทายว่าสีดำ ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรูใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซมอยู่เต็มตัวม้า นางวินตาไม่ทราบในอุบายเลยยอมแพ้ ต้องเป็นทาสและถูกขังอยู่ในแดนบาดาลถึงห้าร้อยปี ทำให้ครุฑและนาคต่างก็ไม่ถูกกันนับแต่นั้น ครั้นต่อมาครุฑได้ทราบความจริงถึงอุบายของนางกัทรู แต่เพื่อช่วยแม่ให้เป็นอิสระ ครุฑจึงได้ทำความตกลงกับพวกพญานาคที่ต้องการเป็นอมตะว่าจะไปนำน้ำอมฤตที่อยู่กับพระจันทร์มาให้ ครั้นแล้วก็บินไปสวรรค์ คว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมา และเกิดต่อสู้กันขึ้น แต่ทวยเทพทั้งหมดแพ้ครุฑ ยกเว้นพระวิษณุเท่านั้นที่ไม่แพ้ แต่ก็แย่ไปเหมือนกัน ดังนั้นต่างจึงทำความตกลงหย่าศึก โดยพระวิษณุหรือพระนารายณ์สัญญาว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะ และให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าขอเป็นพาหนะของพระวิษณุ และเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักอยู่บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า นี่เองจึงเป็นที่มาว่าเหตุใดครุฑจึงเป็นพาหนะของพระวิษณุ ส่วนหม้อน้ำอมฤตนั้น พระอินทร์ได้ตามมาขอคืน ครุฑก็บอกว่าตนต้องรักษาสัตย์ที่จะนำไปให้นาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาส และให้พระอินทร์ตามไปเอาคืนเอง เมื่อครุฑเอาน้ำอมฤตไปให้นาคก็วางไว้บนหญ้าคา (และว่าได้ทำน้ำอมฤตหยดบนหญ้าคา ๒-๓หยด ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคล ใช้ประพรมน้ำมนต์ ส่วนงูเมื่อเห็นน้ำอมฤตบนหญ้าคาก็ไปเลียกิน ด้วยความไม่ระวัง จึงถูกคมหญ้าคาบาดกลางเป็นทางยาว งูจึงมีลิ้นแตกเป็นสองแฉกสืบมาจนทุกวันนี้) ส่วนนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดีปล่อยนางวินตาแม่ครุฑให้เป็นอิสระ ขณะพากันไปสรงน้ำชำระกายเพื่อจะมากินน้ำอมฤตนั่นเอง พระอินทร์ก็นำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้นาคไม่ได้กิน และยิ่งเพิ่มความเป็นศัตรูกับครุฑยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี มีเรื่องเล่าต่อมาว่า จากการที่พระอินทร์ได้ให้พรครุฑ จับนาคเป็นอาหารได้นั้น ทำให้พญานาควาสุกรีเกรงว่านาคจะสูญพันธุ์ จึงตกลงจะส่งนาคไปให้ครุฑกินที่ชายหาด วันหนึ่งถึงคราวของนาคหนุ่มชื่อสังขจูทะ จะต้องไปเป็นเหยื่อ แม่ก็ตามมาด้วยความรักและอาลัย ขอรัองอย่างไรก็ไม่ยอมกลับ วิทยาธรตนหนึ่งชื่อว่า ชีมูตวาหน เป็นผู้มีใจบุญสุนทานตัดแล้วซึ่งโลกีย์วิสัย ได้มาพบ ก็สอบถามได้ความแล้ว จึงเสนอตัวเองปลอมเป็นนาคให้ครุฑกินแทน ปรากฏว่าขณะที่ครุฑกำลังกินนาคปลอม แทนที่จะแสดงความเจ็บปวด ชีมูตวาหนกลับแสดงความปลื้มใจจนครุฑผิดสังเกตว่าต้องผิดตัวแน่ แต่สอบถามก็ไม่ยอมรับ ขณะนั้นเองนาคสังขจูทะก็ได้มาแสดงตัว ว่าตนคือเหยื่อของครุฑ เมื่อทราบความจริง ครุฑก็เกิดความสำนึกบาป และซาบซึ้งในความเสียสละของชีมูตวาหน จึงวิ่งเข้าไปในกองไฟหมายจะฆ่าตัวตายเพื่อชำระบาป แต่ชีมูตวาหนได้ร้องห้าม และว่าหากจะหยุดทำบาปก็ให้เลิกกินนาคเป็นอาหารต่อไป ครุฑก็เชื่อและได้เหาะไปนำน้ำอมฤตมาประพรมกระดูกนาคที่ตนเคยจิกกินมาแต่กาลก่อน จนนาคทั้งหมดได้ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาใหม่

ครุฑมีชายาชื่ออุนนติหรือวินายกา โอรสชื่อ สัมปาติหรือสัมพาที และชฎายุ ตามวรรณคดีพุทธศาสนากล่าวว่าครุฑมีขนาดใหญ่มาก วัดจากปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้ ๑๕๐ โยชน์ เวลากระพือปีกสามารถทำให้เกิดพายุใหญ่ เกิดมืดมนและทำลายบ้านเมืองให้หมดสิ้นไปได้ ที่อยู่ของครุฑเรียกว่า สุบรรณพิภพเป็นวิมานอยู่บนต้นสิมพลีหรือต้นงิ้ว อยู่เชิงเขาพระสุเมรุ ครุฑมีชื่อเรียกหลายนาม เช่น กาศยปิ และเวนไตย อันเป็นชื่อสืบมาจากกัศยปและวินตา บิดามารดา สุบรรณ หมายถึง ผู้มีปีกอันงาม ครุตมาน เจ้าแห่งนก สิตามัน มีหน้าสีขาว รักตปักษ์ มีปีกแดง เศวตโรหิต มีสีขาวและแดง สุวรรณกาย มีกายสีทอง คคเนศวร เจ้าแห่งอากาศ ขเคศวร ผู้เป็นใหญ่แห่งนก นาคนาศนะ ศัตรูแห่งนาค สุเรนทรชิต ผู้ชนะพระอินทร์ เป็นต้น

นอกจากตำนานข้างต้นแล้ว ครุฑยังมีความเกี่ยวข้องกับคนไทยอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะการถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของไทยก็มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดียที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ ดังนั้น ครุฑซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มากและเป็นพาหนะของพระนารายณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ ดังที่ปรากฏอยู่ในดวงตราหรือพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ประจำแผ่นดิน ประจำราชวงศ์ และประจำรัชกาล เป็นต้น ซึ่งจากการที่เราใช้ “ตราครุฑ” เป็นพระราชลัญจกรสำหรับประทับหนังสือราชการแผ่นดินที่เป็นพระบรมราชโองการ และใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประทับหนังสือราชการแผ่นดินมาแต่โบราณกาล ต่อมาจึงได้มีการใช้ ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่วๆไปด้วย เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ ส่วนรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์พระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า “ธงมหาราช” เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น สำหรับครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงก็มีอยู่ ๓ ลำคือเรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีแดงยุดนาค เรือครุฑเตร็จไตรจักรเป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค และ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙ เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน

นอกเหนือจากการที่ “ตราครุฑ” ปรากฏในส่วนราชการต่างๆแล้ว ในภาคเอกชนก็สามารถรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑหรือตราแผ่นดินในกิจการได้ด้วย โดยเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ ๕ ซึ่งเดิมเป็นตราอาร์ม โดยมีข้อความประกอบว่า “โดยได้รับพระบรมราชานุญาต” ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ได้เปลี่ยนตราแผ่นดินเป็นตราพระครุฑพ่าห์ การพระราชทานตรานี้ แต่เดิมถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย ผู้ได้รับนอกจากจะเป็นช่างหลวง เช่น ช่างทอง ช่างถ่ายรูป เป็นต้นแล้ว ก็มักจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้ากับราชสำนัก และเป็นประโยชน์ต่อราชการงานแผ่นดิน ปัจจุบันการขอพระราชทานตราตั้งนี้ต้องยื่นคำขอต่อสำนักพระราชวัง เพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งตราตั้งนี้ถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล สิทธิรับพระราชทานและการใช้เครื่องหมายนี้จะสิ้นสุดเมื่อสำนักพระราชวังเรียกคืนเนื่องจากบุคคล ห้างร้าน บริษัทที่ได้รับพระราชทานฯตาย หรือเลิกประกอบกิจการหรือโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือสำนักพระราชวังเห็นสมควรเพิกถอนสิทธิ

เรื่องราวของ “ครุฑ” ทั้งหมดข้างต้น หวังว่าคงจะเป็นความรู้ที่ทำให้ผู้อ่านและผู้ฟังได้ทราบประวัติความเป็นมาของครุฑที่เกี่ยวข้องกับเราคนไทยดีขึ้น


...............................




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2551    
Last Update : 19 ธันวาคม 2551 20:29:30 น.
Counter : 2282 Pageviews.  

พญานาค

พญานาค เป็นสัตว์มหัศจรรย์ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถแปลงกายได้ พญานาค มีอิทธิฤทธิ์ และมีชีวิตใกล้กับคน พญานาค สามารถแปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น
พญานาค ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นอะไร แต่ในสภาวะ 5 อย่างนี้ จะต้องปรากฎเป็นงูใหญ่เช่นเดิม คือ ขณะเกิด ขณะลอกคราบ ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค ขณะนอนหลับ โดยไม่มีสติ และที่สำคัญ ตอนตาย ก็กลับเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม
.พญานาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู แมงป่อง ตะขาบ คางคก มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน
พญานาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล คนโบราณเชื่อว่าเมื่อบนสวรรค์มีเทพเทวาอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลก ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า ที่ที่นาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อน ๆ กัน ชั้นสูง ๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์
พญานาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วผสมพันธุ์กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลก จนถึงสวรรค์ ในทุกตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขั้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้น ๆ
จะเห็นว่า พญานาค หรือ งูใหญ่ นั้นมีความเป็นมาและถิ่นที่อยู่เป็นสัดส่วนในภพหนึ่งต่างหาก จะมีเป็นบางครั้งที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ พญานาค เป็นทั้งเอกลักษณ์ของความดี และความไม่ดี





 

Create Date : 19 ธันวาคม 2551    
Last Update : 19 ธันวาคม 2551 19:07:51 น.
Counter : 537 Pageviews.  

1  2  

lui2520
Location :
นครนายก Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]










Google




Friends' blogs
[Add lui2520's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.