บูริน บูริน บูริน หมูอวกาศ...
 
ประเภทของระบบเครือข่าย

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN)

เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ


2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN)

เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN


3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN)

เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม


ประเภทของเครือข่าย LAN

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณแลนนั้น จุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งก็คือการแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทรัพยากรเหล่านั้นอาจเป็นหน่วยประมวลผลกลาง CPU ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบคือ

1. เครือข่ายแบบพึ่งเครื่องบริการ (Client/Server - based networking)

เป็นการเชื่อมต่อโดยมีเครื่องบริการอยู่ศูนย์กลาง ทำหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ ที่เครื่องผู้ใช้หรือสถานีงาน (Workstation) ร้องขอ รวมทั้งเป็นผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด นั่นคือการติดต่อกันระหว่างเครื่องต่าง ๆ จะต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องผู้ใช้จะทำการประมวลผลในงานของตนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องอื่น ๆ ในระบบ

เครื่องผู้บริการในระบบเครือข่ายชนิดนี้อาจมีได้ 2 รูปแบบคือ

v เครื่องบริการแบบอุทิศ (Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการทำหน้าที่บริการอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในงานทั่ว ๆไปได้ ข้อดีคือทำให้ระบบมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือไม่สามารถใช้งานเครื่องที่มีราคาสูงได้

v เครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการยังสามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีข้อเสียที่สำคัญคือมีประสิทธิภาพของเครือข่ายจะลดลง ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน



2. เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer - to Peer networking)

เป็นการเชื่อมต่อที่เครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด โดยเครื่องทุกเครื่องสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องผู้ใช้และเครื่องบริการในขณะใดขณะหนึ่ง นั่นคือเครื่องทุกเครื่องเปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องบริการแบบไม่อุทิศ(Non - Dedicated Server) นั่นเอง ในระบบเครือข่ายประเภทนี้การติดต่อระหว่างแต่ละเครื่องจะสามารถติดต่อกันได้โดยตรง มีข้อเสียคือประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลด้อยกว่าแบบแรก ทำให้ไม่เหมาะกับระบบที่มีการใช้งานการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมาก ๆ


ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์


ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นการจำแนกเครือข่ายตามขนาดพื้นที่ที่เครือข่ายครอบคลุม การจำแนกประเภทของเครือข่ายยังสามารถจำแนกได้โดยใช้ลักษณะการแชร์ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของเครือข่าย ซึ่งเมื่อใช้หลักการนี้แล้วเราสามารถแบ่งเครือข่ายออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer-to-peer Network)

เครือข่ายแบบผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (Client/Server Network)


หน้าที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

เซิร์ฟเวอร์ (Server) คือคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ ให้แก่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น

ไคลเอนท์ (Client) คือคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์
รูปนี้เป็นตัวอย่างเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนท์ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ในรูปนี้จะให้บริการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บข้อมูลและจัดการเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ เครื่องไคลเอนท์เมื่อต้องการที่จะพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลก็จะติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์โดยให้เซิร์ฟเวอร์จัดการให้
โดยปกติเมื่อมีคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องถูกเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายแล้ว มักจะมีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่เป็น "เซิร์ฟเวอร์" ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ เช่น เป็นศูนย์กลางในการจัดข้อมูล ไฟล์ หรือ โปรแกรมต่างๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรที่อยู่ในระบบเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ CD-ROM เป็นต้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกันทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ส่งคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์เพื่อที่จะใช้บริการดังกล่าวเรียกว่า "ไคลเอนท์" การ ที่เซิร์ฟเวอร์จะให้บริการแก่ผู้ใช้หลายๆ คนจำเป็นต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพดีพอ ดังนั้นเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ปกติจะมีราคาแพงกว่าเครื่องไคลเอนท์ทั่วไป
ในระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่อง ไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์อย่างเดียวเสมอไป การสื่อสารอาจเป็นไปในรูปแบบเพียร์ทูเพียร์ หรือคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำหน้าที่เป็นทั้งเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนท์ในเวลาเดียวกัน คำว่า "Peer" แปลว่าเท่าเทียมกัน ดังนั้นเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะทำหน้าที่คล้ายกันคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแบบนี้ยังคงสามารถที่จะรับส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ สามารถถ่ายโอนไฟล์ไปยังฮาร์ดดิสก์ของอีกเครื่องหนึ่งได้ หรือแม้แต่ใช่เครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเครือข่ายมีการขยายใหญ่ขึ้น การมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมีความสะดวกต่อการจัดการระบบเครือข่าย เช่น การจัดการพื้นที่เก็บข้อมูล การควบคุมการใช้เครื่องพิมพ์ และการอัพเกรดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น
เครือข่ายทั้งสองประเภทคือ เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ และเครือข่ายแบบไคลเอนท์ เซิร์ฟเวอร์นั้นมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของเครือข่าย สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้

1. จำนวนผู้ใช้ หรือจำนวนคอมพิวเตอร์

2. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

3. การดูแลและจัดการระบบ

4. ปริมาณข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่าย

5. ความต้องการใช้ทรัพยากรเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน

6. งบประมาณ


เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network)
เครือข่ายประเภทนี้จะไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และไม่มีการแบ่งชั้นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจัดการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า เพียร์ (Peer) นั่นเองคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทำหน้า ที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์แล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้เครือข่ายระเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูและและจัดการระบบ หน้าที่นี้จะกระจายไปยังผู้ใช้แต่ละคน เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเป็นคนกำหนดว่าข้อมูลหรือทรัพยากรใดบ้างของเครื่องนั้นที่ต้องการแชร์กับผู้ใช้อื่นๆ
การใช้งานแบบเพียร์ทูเพียร์ บางทีก็เรียกว่า "เวิร์คกรุ๊ป(Workgroup)" หรือกลุ่มของคนที่ทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งส่วนมากจะมีจำนวนน้อยกว่าสิบคน เครือข่ายประเภทนี้จะเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากเนื่องจากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งมีราคาแพงมาก ดังนั้นราคารวมของเครือข่ายจึงถูกกว่าเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เพราะต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาแพงทำหน้าที่จัดการเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นซอฟต์แวร์ ที่มีฟังก์ชัน และระบบรักษาความปลอดภัยเท่ากับระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย แบบเพียร์ทูเพียร์ อาจจะใช้แค่วินโดวส์ 95/98/Me ในขณะที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจต้องใช้วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์2000/2003 ซึ่งราคาของระบบปฏิบัติการนี้จะแพงกว่ากันมากเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังต่อไปนี้

1. มีผู้ใช้เครือข่าย 10 คน หรือน้อยกว่า

2. มีทรัพยากรเครือข่ายที่ต้องแชร์กันไม่มากนัก เช่น ไฟล์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งยัง ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่หน้าที่ทางด้านนี้โดยเฉพาะ

3. ยังไม่มีความจำเป็นในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

4. การขยายตัวของเครือข่ายไม่มากนักในอนาคตอันใกล้
เมื่อสถานการณ์เป็นดังที่ว่านี้ ก็ควรจะสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากเหมาะสมกว่าที่จะสร้างเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก ถึงแม้ว่าเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้จะเหมาะกับเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็ก แต่ก็ไม่เหมาะสมกับทุกๆ สภาพแวดล้อมเสมอไปสำหรับองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายใช้ ควรที่จะมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลและจัดการระบบ ซึ่งจะทำหน้าที่ดังต่อไปนี้





1. ให้การช่วยเหลือผู้ใช้เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ และการใช้เครือข่าย

2. ดูแลข้อมูลและกำหนดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

3. สร้างการแชร์ทรัพยากรต่างๆ

4. ดูแลรักษาซอฟต์แวร์ เช่น การติดตั้งและอัพเกรดซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมทั้งระบบปฏิบัติการ

5. บำรุงรักษาอุปกรณ์เครือข่าย และแก้ปัญหาต่างๆ ของเครือข่าย
ในเครือข่ายหนึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถกำหนดการแชร์ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครื่องตัวเองได้ ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะรวมถึงไดเร็คทอรีที่จะแชร์ในฮาร์ดดิสก์ตัวเอง เครื่องพิมพ์ แฟกซ์ เป็นต้น ในสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ของเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นั้น ผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของเครื่องจะใช้ทรัพยากรส่วนใหญ่ของคอมพิวเตอร์ตัวเอง ส่วนผู้ใช้คนอื่นจะใช้ทรัพยากรบางส่วนผ่านทางเครือข่าย ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่มีคนใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ นอกจากผู้ดูแลระบบที่ใช้เครื่องในการจัดการต่างๆ เท่านั้น
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล หมายถึง การทำให้ข้อมูลปลอดภัยจากการนำไปใช้โดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือมีสิทธิ์ ส่วนวิธีการนั้นอาจมีหลายวิธี เช่น การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล หรือกำหนดรหัสลับในการเข้าใช้ข้อมูลที่ได้แชร์ไว้ เป็นต้น ในสภาพแวดล้อมแบบเพียร์ทูเพียร์ ผู้ใช้แต่ละคนต้องกำหนดรหัสลับกับทุกทรัพยากรที่แชร์ไว้ ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ไม่สามารถรวมศูนย์ควบคุมเพื่อการรักษาความปลอดภัย การทำเช่นนี้อาจก่อให้เกิดช่อง โหว่เพราะผู้ใช้บางคนอาจจะไม่ได้กำหนดระดับความปลอดภัยในเครื่องตัวเองเลย ถ้าหากความปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะเหมาะสมกว่า เพราะง่ายต่อการรักษาความปลอดภัย
เนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายประเภทนี้จะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นผู้ใช้แต่ละคนควรที่จะได้รับการฝึกอบรมให้เป็นได้ทั้งผู้ใช้และผู้ดูแลระบบในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นการยากเนื่องจากผู้ใช้แต่ละคนอาจมีงานอื่นที่ต้องทำมาก





เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server Network)
ถ้าระบบเครือข่ายมีคอมพิวเตอร์จำนวนไม่มากนัก ควรสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากง่ายและค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า แต่เมื่อเครือข่ายมีการขยายใหญ่ขึ้น จำนวนผู้ใช้มากขึ้น การดูแลและจัดการระบบก็จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เครือข่ายจำเป็นที่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ และให้บริการอื่นๆ เครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นควรที่จะเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถให้บริการกับผู้ใช้ได้หลายๆ คนในเวลาเดียวกัน และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการเข้ามาใช้บริการและทรัพยากรต่างๆ ของผู้ใช้เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบที่ส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานของการสร้างเครือข่ายในปัจจุบันแล้ว ถึงแม้ว่าการติดตั้ง การกำหนดค่าต่างๆ และการดูและและจัดการเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะค่อนข้างยากกว่าแบบเพียร์ทูเพียร์ก็ตาม แต่เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ก็มีข้อได้เปรียบอยู่หลายข้อดังต่อไปนี้
เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่ให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้ใช้ ในขณะเดียวกันก็ควบคุมและรักษาความปลอดภัยข้อมูลด้วยเครือข่ายแบบเคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะรวมศูนย์การดูแลและจัดการเครือข่ายพร้อมทั้งควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรที่มีการแชร์ในเครือข่าย เนื่องจากว่าทรัพยากรเหล่านี้ถูกเก็บรวมไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จึงทำให้ง่ายต่อการค้นหาและจัดการมากกว่าทรัพยากรที่ถูกเก็บไว้กระจัดกระจายตามเครื่องไคลเอนท์ต่างๆ เหมือนดังในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์
ความปลอดภัยของข้อมูลอาจเป็นหนึ่งในจุดประสงค์หลักที่ทำให้ต้องเลือกเครือข่ายแบบ ไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ เพราะในสภาวะแวดล้อมอย่างนี้ผู้ดูระบบสามารถกำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัยและบังคับใช้กับผู้ใช้ทุกคนในเครือข่ายได้ ทำให้การรักษาความปลอดภัยง่ายขึ้น
ข้อมูลถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ถ้าข้อมูลเกิดความเสียหายอาจมีผลกระทบต่อองค์กรมากความเสียหายที่อาจเกิดกับข้อมูลนั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่เราสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้วิธีหนึ่งก็คือการสำรองข้อมูล เพื่อเมื่อเซิร์ฟเวอร์ล้มเหลวก็สามารถกู้คืนได้ การเก็บสำรองข้อมูลสามารถทำได้วันละหลายๆ ครั้ง หรือสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูลและความถี่ของการเปลี่ยนแปลงข้อ มูล ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดให้เซิร์ฟเวอร์ทำการบันทึกข้อมูลสำรองโดยอัตโนมัติไม่ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะตั้ง ณ จุดใดในเครือข่าย
เนื่องจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มีโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้ในการจัดการเครือข่ายหลาย อย่าง จึงทำให้เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์สามารถรองรับผู้ใช้ได้เป็นพันๆ คน ซึ่งในสภาพแวดล้อมอย่างนี้ไม่สามารถทำได้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากการจัด การเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นั้นไม่ใช่แบบรวมศูนย์ ทำให้การจัดการผู้ใช้นับพันนั้นเป็นงานที่เป็นไปไม่ได้










ประเภทของเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการแบบต่างๆ


เมื่อเครือข่ายมีการขยายตัวหรือจำนวนผู้ใช้ ระยะห่างระหว่างคอมพิวเตอร์และปริมาณข้อมูลที่ถ่ายโอนผ่านเครือข่ายเพิ่มขึ้น อาจจะต้องมีจำนวนเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้นด้วย การกระจายหน้าที่ของเซิร์ฟเวอร์ไปหลายๆ เครื่อง เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องทำหน้าที่เฉพาะอย่าง จะมีประสิทธิภาพมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ตัวเดียวแต่ให้บริการหลายอย่าง
เซิร์ฟเวอร์ต้องสามารถที่จะทำหน้าที่ที่ซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เซิร์ฟเวอร์ ของเครือข่ายขนาดใหญ่ถูกกำหนดให้ทำหน้าที่เฉพาะอย่างเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเซิร์ฟเวอร์ชนิดต่างๆ ที่ส่วนใหญ่มีในเครือข่ายขนาดใหญ่ทั่วๆ ไป



ไฟล์และพรินต์เซิร์ฟเวอร์ (File and Print Server)
ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) จะให้บริการเกี่ยวกับพื้นที่เก็บไฟล์ต่างๆ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้จะมีฮาร์ดดิสก์ที่สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ ส่วนพรินต์เซิร์ฟเวอร์ (Print Server) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการใช้เครื่องพิมพ์ที่พ่วงต่อเข้ากับเครือข่าย

แอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ (Application Server)
แอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ (Application Server) ทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับโปรแกรมและข้อมูลที่เกี่ยวกับโปรแกรมนั้นๆ ตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล ซึ่งจะทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ให้ง่ายต่อการเรียกดูของผู้ใช้ เซิร์ฟเวอร์ชนิดนี้จะแตกต่างจากไฟล์เซิร์ฟเวอร์ตรงที่ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ทางด้านเซิร์ฟเวอร์ตลอดเวลา ในขณะที่ถ้าเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์แล้วไคลเอนท์ต้องดาวน์โหลดไฟล์ไปทำการเปลี่ยนแปลงที่ทางฝั่งไคลเอนท์ แล้วค่อยนำกลับมาเก็บไว้ที่ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์อีกที
ไคลเอนท์ของแอพพลิเคชันจะรันโปรแกรมบนไคลเอนท์ แต่จะดึงข้อมูลมาจากทางฝั่งของเซิร์ฟเวอร์ เช่น การค้นหาข้อมูลของลูกค้าจากเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล เฉพาะข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการเท่านั้นที่จะถูกส่งมาให้ทางฝั่งไคลเอนท์ แทนที่จะเป็นข้อมูลทั้งฐานข้อมูล

อินเตอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet Server)
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตมีผลกระทบกับเครือข่ายในปัจจุบันอย่างมาก อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่และมีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก เทคโนโลยีที่ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นที่นิ ยมคือ เว็บ และอีเมลล์ เพราะทั้งสองแอพพลิเคชั่นทำให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อสารกันง่ายและรวดเร็ว
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบ HTML (Hyper Text Markup Language) ซึ่งไฟล์นี้สามารถเปิดอ่านได้โดยใช้เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) อย่างเช่น Internet Explorer เป็นต้น ปัจจุบันแทบทุกองค์ กรจะมีเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการข้อมูลต่อพนักงานหรือผู้ใช้ทั่วไป
เมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) คือเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการในการรับ-ส่ง จัดเก็บ และจัด การเกี่ยวกับอีเมลล์ของผู้ใช้ ซึ่งอาจจะเป็นอีเมลล์ที่ใช้ได้เฉพาะภายในองค์กร หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับนโยบายการใช้งานของเครือข่าย

ไดเร็คทอรีเซิร์ฟเวอร์ (Directory Server)
ไดเร็คทอรีเซอร์วิส (Directory Service) คือการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรของเครือข่ายพร้อมทั้งควบคุมการเข้าใช้ทรัพยากรเหล่านั้น ข้อมูลที่ว่านี้ อย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ เครื่องพิมพ์ ไฟล์เซิร์ฟเวอร์เป็นต้น ถ้าเครือข่ายมีขนาดใหญ่มากๆ การดูแลและจัดการทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนมาก ไดเร็คทอรีเซิร์ฟ เวอร์ (Directory Server) จะทำให้งานนี้มีความซับซ้อนน้อยลง อย่างไรก็ตามการรักษาความปลอดภัยในเครือข่ายนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัย ซึ่งแต่ละองค์กรต้องกำหนดนโยบายให้แน่ชัด และมีการบังคับใช้นโยบายอย่างเคร่งครัด เช่น ก่อนที่จะใช้งานเครือข่ายนั้นจะต้องมีการล็อกอินก่อนทุกครั้ง และมีการกำหนดสิทธิของผู้ใช้แต่ละคนให้ชัดเจนด้วย





ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล


อีกวิธีหนึ่งในการแบ่งประเภทเครือข่ายคือ การใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อินเตอร์เน็ต (Internet), อินทราเน็ต (Intranet) และ เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet) อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อเข้าได้ เครือข่ายนี้จะไม่มีความปลอดภัยของข้อมูลเลย ถ้าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ไว้บนอินเตอร์เน็ตได้ ในทางตรงกันข้าม อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ถ้าทุกคนสามา รถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ไว้บนอินเตอร์เน็ตได้ ในทางตรงกันข้าม อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลข้อมูลจะถูกแชร์เฉพาะผู้ใช้ที่อยู่ข้างในเท่านั้น หรือผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลในอินทราเน็ตได้ ถึงแม้ว่าทั้งสองเครือข่ายจะมีการเชื่อมต่อกันอยู่ก็ตาม ส่วนเอ็กส์ตราเน็ตนั้นเป็นเครือข่ายแบบกึ่งอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตกล่าวคือ การเข้าใช้เอ็กส์ตราเน็ทมีการควบคุมเอ็กส์ตราเน็ตส่วนใหญ่จะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างซึ่งกันและกัน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ต้องมีการควบคุม เพราะเฉพาะข้อมูลบางอย่างเท่านั้นที่ต้องการแลกเปลี่ยน
สิ่งที่ทำให้การแยกเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กส์ตราเน็ตออกจากกันได้นั้น ก็โดยการใช้ไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่คอยควบคุมการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างแต่ละเครือข่าย รายละเอียดเกี่ยวกับไฟร์วอลล์และการรักษาความปลอดภัยในเครือข่ายนั้นจะได้กล่าวถึงต่อไป

อินเตอร์เน็ท ( Internet)
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อินเตอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระโดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่างๆ ที่ถูกตีพิมพ์ใน อินเตอร์เน็ตได้ อินเตอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจมหา วิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์ กรได้ใช้อินเตอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเตอร์เน็ต ความปลอด ภัยของข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเตอร์เน็ตได้
อินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า "TCP/IP (Transport Connection Proto col/Internet Protocol)" ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ. 1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า "ISP (Internet Service Provider)" ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะจึงไม่มีหลักประกันความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง

อินทราเน็ต (Intranet)
ตรงกันข้ามกับอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์การสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่ในเฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเตอร์เน็ต องค์ กรนั้นสามา รถที่จะกำหนดนโยบายได้ในขณะที่การแชร์ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต พนักงานของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่างๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่น อินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ระหว่างอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ระบบรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเตอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ต ขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรองข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อกัน ดังนั้นองค์กรสามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้
อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร เช่น ข่าวภายในองค์กร กฎ ระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงานต่างๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซอฟต์แวร์ที่เรียกว่ากรุ๊ปแวร์(Groupware) เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของอินทราเน็ต เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มทำงานร่วมกันในโปรเจ็กต์ที่ได้รับมอบหมายและเปลี่ยนข้อมูลประชุมระยะไกล (Video Conferencing) และสร้างระเบียบปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการทำงานได้ด้วย ซอฟต์แวร์ฟรี เช่น นิวส์กรุ๊ป (New sgroups) ยิ่งกระตุ้นการขยายตัวของเครือข่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งความยิ่งใหญ่ของอินเตอร์เน็ตทำให้อินทราเน็ตขยายตัวขึ้นเช่นกัน ความง่ายในการเลือกแชร์ข้อมูลและการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลยิ่งทำจะทำให้การใช้อินทราเน็ตเป็นที่นิยมมากขึ้นเท่านั้น

เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet)
เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเตอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ตราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อ มูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ตราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อ มูลและการบังคับใช้



รูปแบบของเครือข่ายที่ใช้กันมากในปัจจุบัน
ส่วนใหญ่การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากเครือข่ายขนาดเล็กก่อน ตามขนาดธุรกิจขององค์กรหรือบริษัทนั้นๆ เมื่อธุรกิจมีการขยายตัวเครือข่ายก็ขยายตัวใหญ่ตามขนาดขององค์กร เพื่อรองรับงานของพนักงานที่เพิ่มขึ้น สำหรับการสร้างเครือข่ายครั้งแรกนั้น ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ 1-2 เครื่อง และคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากันเป็นระบบเครือข่ายประมาณ 5-20 เครื่อง เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตและก็อาจมีการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยอาจจะใช้โมเด็ม 1-2 ตัวและสายโทรศัพท์ ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายแล้วผู้ใช้สามารถแชร์เอกสารต่างๆ เช่น ไฟล์เวิร์ด เอ็กเซล หรือเพาเวอร์พอยท์ หรือแม้กระทั่งรายงานต่างๆที่เกี่ยวกับลูกค้า เมื่อต้องการติดต่อกับโลกภายนอกหรืออินเตอร์เน็ตก็สามารถทำได้โดยการหมุนโมเด็ม ดังนั้นจึงสามารถรับส่งอีเมลได้ นอกจากนี้ยังสามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เครื่องบันทึกแผ่นซีดี เป็นต้น
อย่างไรก็ตามธุรกิจต้องมีการขยายตัว เครือข่ายก็เช่นกันต้องได้รับการปรับปรุงให้สามารถรองรับธุรกิจขององค์กรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นผู้ใช้เพิ่มขึ้นผู้ใช้ก็จะแชร์แบนด์วิธเครือข่าย หรือแชร์ลิงค์เข้ากับอินเตอร์เน็ตผ่านโมเด็ม และเมื่อผู้ใช้เริ่มแลกเปลี่ยนไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น ภาพ เสียง วิดีโอ หรือแอพพลิเคชัน มัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งจะมีการส่งไปมาระหว่างไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นเครือข่ายอาจจะรองรับไม่ไหว ทางเลือกหนึ่งคือ การปรับปรุงเครือข่ายโดยแบ่งเป็นเครือข่ายย่อยๆ โดยใช้สวิตช์และเราท์เตอร์ ส่วนการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตก็ใช้เราท์เตอร์และสายคู่เช่า (Leased Line) ซึ่งรองรับแบนด์วิธได้มากกว่าโมเด็ม



Create Date : 09 กรกฎาคม 2552
Last Update : 9 กรกฎาคม 2552 11:26:15 น. 17 comments
Counter : 6765 Pageviews.

 
ขอบคุณครับ


โดย: เบียร์ IP: 124.121.130.127 วันที่: 4 ตุลาคม 2552 เวลา:16:44:33 น.  

 
ขอคณุสำหรับข้อมูลระบบเครือข่ายMAN


โดย: การ์ด IP: 10.250.254.83, 203.172.199.254 วันที่: 7 มิถุนายน 2553 เวลา:9:22:02 น.  

 
น่ารักค่ะ


โดย: น้อง ไก่ IP: 118.172.103.140 วันที่: 6 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:03:15 น.  

 
ข้อความดีมากค่ะ


โดย: น้องปู IP: 118.172.103.140 วันที่: 6 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:07:34 น.  

 
ข้อความดีมาก


โดย: ขวัญอุมา IP: 192.168.10.244, 192.168.10.244, 127.0.0.1, 58.147.20.203 วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:55:04 น.  

 
นางขวัญอุมา แก


โดย: วีลาวัลย์ IP: 192.168.10.244, 192.168.10.244, 127.0.0.1, 58.147.20.203 วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:57:09 น.  

 
love ทุกคน


โดย: ณ้อง ฟาง ฉึก ฉึก IP: 223.205.60.53 วันที่: 1 ธันวาคม 2553 เวลา:13:47:03 น.  

 
รักมาก


โดย: ปราง IP: 223.205.60.53 วันที่: 1 ธันวาคม 2553 เวลา:13:50:58 น.  

 
รักเด็กเรียน


โดย: คนหน่าลัก IP: 223.205.60.53 วันที่: 1 ธันวาคม 2553 เวลา:13:53:22 น.  

 
รักแรก ต้องแยกทาง


โดย: พฤกษา IP: 223.205.60.53 วันที่: 1 ธันวาคม 2553 เวลา:13:55:54 น.  

 
ชอบดู4หัวใจแห่ง.....


โดย: แนน IP: 223.205.60.53 วันที่: 1 ธันวาคม 2553 เวลา:13:58:22 น.  

 
แจ่มดีน่ะค่ะ


โดย: พิมมี่จังค่ะ IP: 1.47.205.4 วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:10:17:15 น.  

 
ระหว่างเพื่อนกับแฟนจะเลือกใคร


โดย: นู๋บัยเฟิร์น IP: 203.172.216.249 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:52:46 น.  

 
ทำไมยาวจังคะ


โดย: ปอ ฝน IP: 124.121.4.86 วันที่: 18 กรกฎาคม 2555 เวลา:8:53:53 น.  

 
น่ารักดี


โดย: นารีรัตน์ IP: 124.121.4.86 วันที่: 18 กรกฎาคม 2555 เวลา:8:54:55 น.  

 
อ่านยังไม่จบเลยคะ(ยังไม่ได้อ่าน)


โดย: อริสา IP: 124.121.4.86 วันที่: 18 กรกฎาคม 2555 เวลา:8:56:04 น.  

 
เราอยู่ที่หนองบัวลำภู ขอให้นายแม่รีบมารับเรา อยู่ล้านทองแม่ทองสุก


โดย: ต่อพงษ์ IP: 49.48.108.65 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:5:08:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

nookcas
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




บูริน บูริน บูริน.................
[Add nookcas's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com