ไม่ว่าใครจะตายหรือหายไปสุดท้ายโลกก็ยังหมุนต่ออยู่ดี(ฉะนั้นจงทำความดีเพื่อโลกใบนี้)
Group Blog
 
All Blogs
 

Android สร้าง Project

หลังจากลอง Import example project กันในตอนที่แล้ว ตอนนี้เราก็จะมาลอง New Project
พร้อมกับลองเขียนอะไรเล่น ๆ ดูนิด ๆ หน่อย ๆ เพื่อทำความคุ้นเคยกับ Android และ IDE กันซักหน่อย

เริ่มแรกก็เหมือนเดิมครับ File > New > Other > Android > Android Project แล้วกด Next

ซึ่งค่าที่จะใส่มีดังนี้

- Project Name : ใส่ชื่อ Project ที่เราต้องการลงไป
- Contents : เลือกเป็น Create new project in workspace
- Build Target : เลือก SDK ที่ต้องการใช้
- Application Name : อันนี้จะใช้ในการแสดงชื่อ App บนโทรศัพท์
- Package name : ใส่ชื่อ package
- Create Activity : ให้ใส่เครื่องหมายถูก พร้อมระบุชื่อ Activity ซึ่งก็คือ Main Class ที่จะใช้เริ่มต้นในการ Run Program
- Min SDK Version : มัน Default มาให้ก็คงค่าเดิมไว้ละกันครับ

เมื่อใส่ค่าเรียบร้อยแล้วก็กด "Finish"
________________________________________

เสร็จแล้ว Project จะปรากฎขึ้นใน Workspace เราลองดูก็จะมี File Activity ที่เราได้ใส่ไปในขั้นตอนแรกปรากฎขึ้นมา
ซึ่งใน source code ก็จะไม่มีอะไรเลยนอกจาก

@Override
public void onCreate(Bundle savedInstanceState) {
super.onCreate(savedInstanceState);
setContentView(R.layout.main);
}

จาก Source Code ก็ประมาณว่าให้นำ Layout ใน Class R ที่ set ไว้ขึ้นมาแสดง
ส่วน class R นั้น SDk เป็นคน Generate ขึ้นมา อย่าเพิ่งไปแก้ไขอะไรในตอนนี้
มาดูอีก file ที่น่าสนใจกันนะครับคือ main.xml
________________________________________

ลอง Double Click ที่ file main.xml ดู IDE จะเปิด Editor สำหรับการสร้าง Android Layout ขึ้นมาดังรูป
ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 5 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1. จะเป็น Layouts แบบต่าง ๆ ใช้ในการจัดวาง Views
ส่วนที่ 2. จะเป็น Views หรือพูดง่าย ๆ ก็จะเป็นพวก Textbox, Button, Datepicker อะไรพวกนี้
ส่วนที่ 3. จะเป็นหน้าจอซึ่งเราจะทำการลาก Layouts หรือ Views มาวางไว้ที่นี่
ส่วนที่ 4. จะบอกว่าในหน้าจอ มีอะไรแปะไว้อยู่บ้าง
ส่วนที่ 5. ก็จะเป็นการ Set ค่าต่างๆ ที่ใช้ในหน้าจอนี้

________________________________________

ไปดูที่ส่วนที่ 3 จะเห็นว่ามีคำว่า Hello World, Test Android อยู่ ซึ่งเป็นค่า Default ที่ IDE สร้างมาให้
และถ้าดูจากส่วนที่ 4 จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นว่า Layout ที่ใช้จะเป็น LinearLayout พร้อมกับมี TextView วางแปะอยู่อันนึง

ซึ่งผมไม่ชอบ LinearLayout เพราะมันวาง Views ไม่ได้ดั่งใจ ผมก็เลยลบทิ้งทั้งหมด
________________________________________

หลังจากนั้นผมก็ลาก AbsoluteLayout มาไว้ตรงพื้นที่สีเทาว่าง ๆ ซึ่งเคยเป็นหน้าจอที่ลบไป
แล้วก็ลาก TextView กับ Button มาอย่างละ 1 อัน สังเกตุได้ว่าการวาง Views บน AbsoluteLayout
จะง่ายดายมากเพราะเราสามารถวางไว้ตรงไหนก็ได้ตามใจ (แต่ถ้ากดปล่อยแล้วจะเลื่อนใหม่ไม่ได้นะครับ)
คราวนี้หน้าจอเราก็จะมี TextView กับ Button อยู่อย่างละ 1 ชิ้นแล้วครับ
________________________________________

ลอง Click ที่ View ซักอันนึง ในรูปผม Click ที่ TextView แล้วดู Tab Properties ข้างล่าง
จะเห็นว่ามี Property ของ View หลายอย่างที่สามารถ Set ได้
ผมได้ลองไปเปลี่ยน Property Text ดูให้เป็นคำอื่น และถ้าอยากเปลี่ยนตำแหน่งของ Text View
ก็สามารถไป Set ที่ Layout X, Layout Y ได้ครับ ถ้าความกว้างก็ width
ส่วน Property อื่น ๆ ลองเล่นดูครับ
________________________________________

เสร็จแล้วลอง Run ดูครับจะเห็นว่า Emulator จะโชว์หน้าจอตามที่เราได้ Set ไว้
ถ้า Run ได้แล้วก็ลองเล่น Layout ตัวอื่น หรือ View ตัวอื่นดูบ้างครับจะได้รู้ว่าตัวไหนเป็นอย่างไร
________________________________________



เสร็จแล้ว Project จะปรากฎขึ้นใน Workspace เราลองดูก็จะมี File Activity ที่เราได้ใส่ไปในขั้นตอนแรกปรากฎขึ้นมา

ซึ่งใน source code ก็จะไม่มีอะไรเลยนอกจาก

@Override
public void onCreate(Bundle savedInstanceState) {
super.onCreate(savedInstanceState);
setContentView(R.layout.main);
}

จาก Source Code ก็ประมาณว่าให้นำ Layout ใน Class R ที่ set ไว้ขึ้นมาแสดง
ส่วน class R นั้น SDk เป็นคน Generate ขึ้นมา อย่าเพิ่งไปแก้ไขอะไรในตอนนี้
มาดูอีก file ที่น่าสนใจกันนะครับคือ main.xml



ลอง Double Click ที่ file main.xml ดู IDE จะเปิด Editor สำหรับการสร้าง Android Layout ขึ้นมาดังรูป
ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 5 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1. จะเป็น Layouts แบบต่าง ๆ ใช้ในการจัดวาง Views
ส่วนที่ 2. จะเป็น Views หรือพูดง่าย ๆ ก็จะเป็นพวก Textbox, Button, Datepicker อะไรพวกนี้
ส่วนที่ 3. จะเป็นหน้าจอซึ่งเราจะทำการลาก Layouts หรือ Views มาวางไว้ที่นี่
ส่วนที่ 4. จะบอกว่าในหน้าจอ มีอะไรแปะไว้อยู่บ้าง
ส่วนที่ 5. ก็จะเป็นการ Set ค่าต่างๆ ที่ใช้ในหน้าจอนี้



ไปดูที่ส่วนที่ 3 จะเห็นว่ามีคำว่า Hello World, Test Android อยู่ ซึ่งเป็นค่า Default ที่ IDE สร้างมาให้
และถ้าดูจากส่วนที่ 4 จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นว่า Layout ที่ใช้จะเป็น LinearLayout พร้อมกับมี TextView วางแปะอยู่อันนึง

ซึ่งผมไม่ชอบ LinearLayout เพราะมันวาง Views ไม่ได้ดั่งใจ ผมก็เลยลบทิ้งทั้งหมด


หลังจากนั้นผมก็ลาก AbsoluteLayout มาไว้ตรงพื้นที่สีเทาว่าง ๆ ซึ่งเคยเป็นหน้าจอที่ลบไป
แล้วก็ลาก TextView กับ Button มาอย่างละ 1 อัน สังเกตุได้ว่าการวาง Views บน AbsoluteLayout
จะง่ายดายมากเพราะเราสามารถวางไว้ตรงไหนก็ได้ตามใจ (แต่ถ้ากดปล่อยแล้วจะเลื่อนใหม่ไม่ได้นะครับ)
คราวนี้หน้าจอเราก็จะมี TextView กับ Button อยู่อย่างละ 1 ชิ้นแล้วครับ



ลอง Click ที่ View ซักอันนึง ในรูปผม Click ที่ TextView แล้วดู Tab Properties ข้างล่าง
จะเห็นว่ามี Property ของ View หลายอย่างที่สามารถ Set ได้
ผมได้ลองไปเปลี่ยน Property Text ดูให้เป็นคำอื่น และถ้าอยากเปลี่ยนตำแหน่งของ Text View
ก็สามารถไป Set ที่ Layout X, Layout Y ได้ครับ ถ้าความกว้างก็ width
ส่วน Property อื่น ๆ ลองเล่นดูครับ


เสร็จแล้วลอง Run ดูครับจะเห็นว่า Emulator จะโชว์หน้าจอตามที่เราได้ Set ไว้
ถ้า Run ได้แล้วก็ลองเล่น Layout ตัวอื่น หรือ View ตัวอื่นดูบ้างครับจะได้รู้ว่าตัวไหนเป็นอย่างไร




 

Create Date : 29 มิถุนายน 2553    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2553 9:30:45 น.
Counter : 530 Pageviews.  

การติดตั้ง Android SDK

Google Android เป็นระบบปฎิบัติการ (OS) บนมือถือ และเป็น Open Source ด้วย
อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการปฎิวัติวงการมือถือเล็กน้อยสำหรับการเริ่มต้นครั้งนี้
และมีการประมาณการว่ากลุ่มผู้ใช้ OS Android นี้จะเพิ่มขึ้นแซงหน้า OS เจ้าอื่น ๆ
รวมทั้งจะมี โทรศัพท์มือถือ OEM เกิดขึ้นอีกหลายเจ้า ทำให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์จากสิ่งนี้
 
ในบทความนี้จะอธิบายถึงการพัฒนา Application บน Android เผื่อจะมีคนสนใจช่วยกันพัฒนา Application 
มาใช้งานกันเยอะ ๆ


สิ่งที่เราต้องเตรียมก่อนการติดตั้งก็คือ
 
1. eclipse เป็น IDE ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม และต้องเป็น version 3.3 ขึ้นไป ของผมใช้ version กาลิเลโอ นะครับหา Download ide ได้ที่
//www.eclipse.org/downloads/
 
2. Android SDK ปัจจุบันเป็น Version 1.5 นะครับ Download ได้ที่
//developer.android.com/sdk/1.5_r3/index.html
Download เสร็จแล้วก็แตก Zip File ตามปกติวางไว้ Folder ไหนก็ได้แล้วแต่เราครับ
 
3. เปิดโปรแกรม eclipse ขึ้นมา ขั้นตอนนี้เราจะต้องติดตั้ง Android Plugin ให้กับ eclipse ครับหรือที่เรียกว่า ADT Plugin ในที่นี่ขอวิธีติดตั้งแบบง่าย ๆ
อธิบายสั้น ๆ ละกันนะครับ เริ่มจากไป Download Plugin ที่
//dl-ssl.google.com/android/ADT-0.9.1.zip
 
4. Download Plugin มาแล้ว ยังไม่ต้องแตก Zip นะครับเปิด eclipse ไปที่ help > install new software แล้วก็เลือก Add > Archive แล้วก็ Browse ไปที่ Zip file ของ Plugin มันก็จะขึ้นรายละเอียดขึ้นมาแล้วก็ Finish ได้เลยครับ





 

Create Date : 18 มิถุนายน 2553    
Last Update : 24 กรกฎาคม 2553 0:59:52 น.
Counter : 365 Pageviews.  

นักพัฒนาจะเลือกเขียน app บน iPhone หรือ Android

เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่ออีกครั้งสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการสร้างสรรค์โปรแกรมบนมือถือว่าจะเลือกเขียนโปรแกรมบน iPhone หรือ Android ดี การจะเขียนให้รองรับทั้งสองระบบก็เป็นสิ่งดี ถ้าทำไหว! จากการสอบถามนักพัฒนาจำนวนหนึ่งพอสรุปเงื่อนไขในการตัดสินใจออกเป็นสามเรื่อง คือ 1. ความยากง่ายในการพัฒนา 2. ความรวดเร็วในการอนุมัติโปรแกรม 3. รายได้จากการขายโปรแกรม


1. ความยากง่ายในการพัฒนา
การเขียนโปรแกรมจะยากหรือง่ายก็ขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้และ api ที่ระบบสนับสนุน ถ้าคุณเคยพัฒนาภาษา Java มาก่อน การพัฒนาโปรแกรมบน android ดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะมาก กลับกันบน iPhone ต้องเขียนด้วยภาษา Object-C ซึ่งเป็นภาษาที่เก่ากว่า โปรแกรมเมอร์รุ่นเดอะก็จะได้เปรียบ หลายสิ่งที่ภาษาใหม่ๆ อย่าง Java จะได้เปรียบด้านเทคโนโลยี เช่นเรื่อง Gabage Collections (ตัวจัดการ memory และ resource) ที่ต้องจัดการเองบน iPhone เป็นต้น
ความได้เปรียบที่สุดของ iPhone ในขณะนี้ก็คือมีความเป็นเอกภาพ นักพัฒนาไม่ต้องสนใจในความหลากหลายของอุปกรณ์ ขนาดหน้าจอที่เหมือนกัน อุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ใช้เหมือนกัน ต่างจาก android ที่ขณะนี้มีออกมาแล้วกว่า 16 รุ่นหลากยี่ห้อ หากจะเขียนโปรแกรมเพื่อรองรับทั้งหมดคิดดูว่าต้องทดสอบกันขนาดไหน
ด้วยความสามารถของ Android มีส่วนทำให้ผู้ใช้รู้สึกดีกว่า เช่น คุณสมบัติที่โปรแกรมสามารถทำงานอยู่ด้านหลัง (Background) ทำให้โปรแกรมสามารถปรับปรุงข้อมูลได้เองตลอดเวลา เช่นคอยติดตามราคาหุ้นตัวโปรดของคุณและแจ้งเตือนเมื่อมีความเคลื่อนไหว ซึ่งบน iPhone คุณจะต้องปิดโปรแกรมหนึ่งก่อนหรือต้องวางหูโทรศัพท์ก่อนแล้วเปิดเข้ามาดูอีกที แต่ก็ต้องยอมรับว่าในขณะนี้ยังไม่โทรศัพท์ android เครื่องใดที่มีประสิทธิภาพและการแสดงผลได้ดีเท่า iPhone เลย
หากคุณเป็นนักพัฒนามือ iPhone มือใหม่ อย่าลืมบวกค่าที่ต้องซื้อเครื่อง Mac ใหม่ด้วย เพราะเครื่องมือพัฒนาใช้ได้แต่บน Mac เท่านั้น ส่วน Android นั้นสามารถพัฒนาได้ทั้งบน Windows, Linux และ Mac
2. ความรวดเร็วในการอนุมัติโปรแกรม
ก่อนที่โปรแกรมบน iPhone จะขึ้นไปแสดงอยู่ใน App Store ได้ต้องผ่านการอนุมัติจากบริษัท Apple เสียก่อน ซึ่งบางทีต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ Apple เองมีกฏที่เข้มงวดสำหรับโปรแกรมที่จะนำมาใช้บน iPhone เช่น ไม่อนุญาตโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเสียเอง (API) หรือไม่อนุญาตโปรแกรมที่ทำงานซ้ำซ้อนกับโปรแกรมที่มีอยู่แล้วของ Apple เอง เป็นต้น ส่วน Android เป็นระบบที่เปิด คุณไม่จำเป็นต้องเอาโปรแกรมไปใส่ใน Android Market จะเขียนโปรแกรมแล้วขายเองเลยก็ได้ หรือจะเขียนเพื่อใช้เฉพาะกลุ่มก็ทำได้โดยไม่ต้องขอใครอนุมัติ
3. รายได้จากการขายโปรแกรม
แน่นอนทุกคนย่อมขาดหวังกับตลาดผู้บริโภคขนาดมหึมาของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ iPhone มีจำนวนยอดขายเครื่องที่น่าพึงพอใจ นั่นหมายถึงจำนวนผู้ซื้อที่ต้องมากกว่า Android แต่ด้วยความเบียดเสียดของโปรแกรมใน App Store ไม่ใช่เรื่องง่ายที่คุณจะเบียดโปรแกรมดังๆ ยอดนิยมขึ้นมาได้ บางทีคุณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในด้านการโฆษณามากขึ้นไปอีก





 

Create Date : 18 มิถุนายน 2553    
Last Update : 12 กันยายน 2553 23:24:20 น.
Counter : 367 Pageviews.  


iamsem
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"สุรา" ของเหลวที่ล้ำค่า
มีเพียงมันเท่านั้นที่ปลอบประโลม
ให้คนลืมเรื่องที่เขาไม่ควรคิดถึง
Friends' blogs
[Add iamsem's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.