Group Blog
 
All Blogs
 
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์คืออะไร

ลิงค์เพิ่มเติม Nature of Science Questionnaire แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ //schamrat.com/Nature_of_Science_Questionnaire.aspx



การเรียนรู้วิทยาศาสตร์วันนี้ไม่ได้มีแค่ เนื้อหาและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาหรือแม้แต่นักวิทยาศาสตร์เรียกร้องต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นคือ ความเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร แตกต่างจากความรู้สาขาอื่น ๆ อย่างไร เหตุใดวิทยาศาสตร์จึงมีผลกระทบมากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ วิทยาศาสตร์ทุกวันนี้ไม่ใช่แค่สาขาวิชาที่มีไว้เพื่อเรียนเท่านั้น แต่มันคือ เครื่องมือในการหาความรู้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เป็นการใช้ความคิดขั้นสูงเพื่อให้คนเราสามารถดำรงชีวิตในโลกยุคนี้ได้ โลกที่ข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลมานับไม่ถ้วน โลกที่เต็มไปด้วยความจริงและความเท็จ โลกที่มีทั้ง Science Non-science และ Pseudo-science โลกที่ต้องใช้การตัดใจแม้เรื่อง เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่นการเลือกซื้อกระดาษชำระ จนถึงเรื่องใหญ่ ๆ เช่น การทำประชาพิจารณ์ โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เราลองมาดูกันว่า เรามีความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์มากแค่ไหน โดยการเปรียบเทียบกับ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ 8 ข้อ ดังนี้
1. Empirical NOS: Scientific knowledge based on natural phenomena, evidence, data, information, and observation
วิทยาศาสตร์คือการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยใช้ข้อมูล หลักฐาน และการสังเกตเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
2. Tentative NOS: Scientific knowledge is subject to change and never absolute or certain;
ข้อ 2 ชัดเจนมาก เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้
3. Inferential NOS: The crucial distinction between scientific claims (e.g., inferences) and evidence on which such claims are based (e.g., observations);
ข้อนี้หมายความว่าเราต้องลงข้อสรุป จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองเพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พูดง่าย ๆ คือว่า ความรู้ที่ได้ต้องอาศัยทั้งการสังเกตโดยตรงและการอนุมานจากข้อมูลเหล่านั้น
4. Creative NOS: The generation of scientific knowledge involves human imagination and creativity;
ไอน์สไตน์เคยบอกไว้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ต้องใช้ทั้งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยทฤษฎีอะตอมและ การค้นพบโครงสร้าง DNA เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ Aspect ข้อนี้
5. Theory-laden NOS: Scientific knowledge and investigation are influenced by scientists’ theoretical and disciplinary commitments, beliefs, prior knowledge, training, experiences, and expectations;
อันนี้จะเกี่ยวข้องกับนักปรัชญา Carl Poper และ Thomas Kuhn กล่าวคือ การการทำงานของนักวิทยาศาสตร์จะขึ้นอยู่กับ กระบวนทัศน์ (Paradigm) ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความเชื่อ การฝึกฝน ความชำนาญ ดังนั้น วิทยาศาสตร์อาจจะไม่ได้เป็น ปรนัย (objective) เสมอไป
ข้อนี้อาจตอบคำถามหลาย ๆ คนว่าทำไมเวลาทำวิจัยต้องมีการ Review Literature ด้วย คำตอบก็คือ เพื่อที่จะได้กำหนดทิศทางงานวิจัยภายใต้ Theoretical framework เพื่อให้เราโฟกัสได้ตรงจุดนั่นเอง
6. Social and cultural NOS: Science as a human enterprise is practiced within, affects, and is affected by, a lager social and cultural milieu;
วิทยาศาสตร์เกี่ยวพันกับสังคม วัฒนธรรม บรรทัดฐาน หรือแม้แต่การเมือง ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ การเมืองและสงครามเย็นส่งผลให้อเมริกาต้องเร่งพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเร่งด่วนมาแล้ว ในยุคต้นๆ ของ NASA
7. Myth of the “Scientific Method”: The lack of a universal step-wise method that guarantees the generation of valid knowledge
การค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้ไม่ได้มีใครมาเขียนข้อ 1 2 3 เหมือนคู่มือปฏิบัติการ เพราะโลกที่แท้จริง นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธี สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) มากมายหลายรูปแบบไม่ใช่แค่ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นเท่านั้น
8. Nature of scientific theories and law: Nature of, and distinction between scientific theories and laws. Scientific theories and laws are different kinds of knowledge (e.g., lack of a hierarchical relationship between theories and laws).
สมมติฐานไม่ได้กลายเป็นทฤษฎี และทฤษฎีก็ไม่ได้กลายเป็นกฎ ทั้งหมดเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างกัน เพราะมีที่มาต่างกัน
ลักษณะธรรมชาติวิทยาศาสตร์ 8 ข้อนี้ จะสอดคล้องกับเอกสารทางวิจัยหลาย ๆ ชิ้นที่นักวิจัยยอมรับ และสอดคล้องกลับเอกสารหลักสูตรของอเมริกาที่สำคัญ เช่น Science for All Americans, Benchmark for science literacy คราวหน้าเราจะมาพูดกันต่อถึง มาตรฐานที่กำหนดไว้เกี่ยวกับ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของไทย คือ สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทความ อ้างอิงจาก [url] //schamrat.com/nos1.aspx [/url]


Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2549
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2551 14:28:49 น. 7 comments
Counter : 3047 Pageviews.

 
ตอนนี้ผมสนใจที่จะวิจัยเกี่ยวกับ NOS มากเลยครับ พอดีมาเห็นบล๊อคของพี่ทำเรื่องนี้พอดี ผมได้ความรู้จากบล๊อคของพี่เยอะเลยครับ อยากจะให้มาอัพบ่อยๆนะคับ


โดย: NoNg A IP: 58.9.200.225 วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:14:21:11 น.  

 
อยากอ่านต่อเรื่อง NOS กับสาระที่ 8 ค่า


โดย: เอม IP: 156.56.151.47 วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:6:26:00 น.  

 
วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากคะ
จากเอม สุพรรณกัลยา คะ


โดย: เอมคนใหม่คะ IP: 117.47.18.254 วันที่: 13 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:00:31 น.  

 
ผมรักธอ


โดย: นาย ชียา มะยา IP: 118.173.202.204 วันที่: 10 มิถุนายน 2551 เวลา:17:26:42 น.  

 
น่าสนใจมากครับพี่ สุดยอดไปเลย


โดย: พีท IP: 128.189.167.90 วันที่: 27 มีนาคม 2552 เวลา:2:16:23 น.  

 
พี่มาเยี่ยมเมื่อไร ชอบการสรุปของน้องๆมาก ความชัดเจนของวิทยาศาสตร์จะทำให้การศึกษาดีขึ้น เมื่อให้สิ่งดีๆ แก่คนอื่นๆ สิ่งดีๆจะตอบแทนกลับมานะคะ


โดย: สมสุข แสงปราบ IP: 110.164.21.53 วันที่: 28 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:17:33 น.  

 
ความรู้วิทยาสาตร์เป็นสิ่งที่ดีถ้าทุกคนได้ศึกษาและเข้าถึงแก่นวิทยาสาตร์อย่างแท้จริง


โดย: ข้าวฟ่าง IP: 115.67.224.101 วันที่: 18 กรกฎาคม 2555 เวลา:18:22:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Atomic_bomb
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Atomic_bomb's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.