กิฟท์ (GIFT), ซิฟท์ (ZIFT)

ปัจจุบันการรักษาภาวะมีบุตรยากได้ก้าวหน้าไปมาก แพทย์และนักวิทยาศาสตร์พยายามหาหนทางที่จะพัฒนารูปแบบของการรักษาให้ใกล้เคียงกับที่เกิดขึ้นในธรรมชาติมากที่สุดและพยายามลดสิ่งรบกวนจากภายนอกลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ปัจจุบันเราสามารถทำการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF) แล้วเพาะเลี้ยงตัวอ่อนไว้ภายนอกจนถึงระยะที่พร้อมจะฝังตัว แล้วจึงย้ายตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูกของแม่ได้ ซึ่งทำให้แนวทางในการรักษาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบันนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปและมีอัตราความสำเร็จสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตามในบางสถาณการณ์ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งซึ่งยังมีท่อนำไข่ที่ใช้งานได้อย่างน้อยหนึ่งข้าง น่าจะได้รับประโยชน์จากการรักษาด้วยการนำเอา Gamete หรือเซลล์สืบพันธุ์ทั้งของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ซึ่งก็คือไข่และอสุจิ ใส่เข้าไปในท่อนำไข่ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นในธรรมชาติ หลังจากนั้นหากไข่และอสุจิสามารถปฏิสนธิกันได้ก็จะมีการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนและเดินทางมาฝังตัวในโพรงมดลูก และเกิดเป็นการตั้งครรภ์ในที่สุด ซึ่งวิธีการดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า GIFT (กิฟท์) ซึ่งเป็นชื่อย่อมาจาก Gamete IntraFallopian tube Transfer ในขณะที่การใส่ไข่ที่ถูกปฏิสนธิเรียบร้อยแล้วเข้าไปยังท่อนำไข่ ซึ่งเรียกว่า ZIFT (ซิฟท์) ซึ่งเป็นชื่อย่อมาจาก Zygote IntraFallopian tube Transfer

Gamete Intra Fallopian tube Transfer: GIFT
ข้อบ่งชี้
ผู้ที่มีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสมในการทำ GIFT คือผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะมีบุตรยากที่อธิบายสาเหตุไม่ได้และผู้ป่วยที่มีสาเหตุของภาวะมีบุตรยากหลายกรณี เช่นเป็น Endometriosis หรือไม่ประสบความสำเร็จในการรักษาด้วยวิธีฉีดเชื้อ ฝ่ายหญิงอายุมาก และมีผังผืดในอุ้งเชิงกรานเป็นต้น ยกเว้นผู้มีท่อนำไข่อุดตันทั้งสองข้างจะไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีการนี้ได้
GIFT เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วในการนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยซึ่งมีปัญหาภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชายระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่มีการพัฒนาวิธีช่วยปฏิสนธิ (ICSI) ขึ้นมาได้ ปัญหาการมีบุตรยากในฝ่ายชายจึงไม่เป็นข้อบ่งชี้ในการทำ GIFT อีกต่อไป

การกระตุ้นรังไข่
เมื่อเริ่มมีรอบเดือนมาจะเริ่มทำการกระตุ้นไข่โดยให้ยาฉีดให้ทุกวันเป็นระยะเวลาประมาณ 14 วันโดยเฉลี่ย การตอบสนองของรังไข่นั้นสามารถตรวจดูได้ด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นหลัก แม้ว่าอาจจะต้องทำการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนร่วมด้วย จนเมื่อได้ไข่ที่เจริญเติบโตจนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 – 22 มิลลิเมตร จำนวนมากพอแล้ว การกระตุ้นการตกไข่จะสามารถทำได้โดยการฉีด Human chorionic gonadotrophin และการเจาะไข่จะถูกกำหนดขึ้นหลังจากนั้น 34 -36 ชั่วโมง ฝ่ายชายจะถูกขอให้เก็บเชื้ออสุจิให้ในสองชั่วโมงก่อนทำการเจาะไข่ เพื่อให้เวลาในการเตรียมอสุจิให้พร้อมในห้องปฏิบัติการ

การเจาะไข่
แต่ในปัจจุบันการเจาะไข่ทางช่องคลอดร่วมกับอัลตร้าซาวด์นั้นเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และช่วยให้สามารถเก็บเอาเซลล์ไข่ออกมาได้มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่นๆ โดยจำนวนครั้งที่เข็มเจาะผ่านเข้าไปในผิวรังไข่น้อยกว่า ซึ่งลดความเสี่ยงและการปริมาณเสียเลือดจากผิวรังไข่ที่ไหลออกมาสู่ช่องท้องได้มากกว่า

การย้ายเซลล์ไข่และอสุจิเข้าสู่ท่อนำไข่
ไข่ที่ถูกเลือกไว้จะถูกดูดเข้ามาไว้ในสายยางที่ใช้สำหรับการย้ายเซลล์สืบพันธุ์เข้าท่อนำไข่ รวมกับเชื้ออสุจิที่เตรียมไว้แล้ว การส่องกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopy) เป็นวิธีการหลักในการย้ายเซลล์สืบพันธุ์เข้าสู่ท่อนำไข่ หนทางอื่นๆที่สามารถทำได้ในการใส่ไข่และอสุจิเข้าสู่ท่อนำไข่ อาจทำโดยการผ่าตัดทางหน้าท้องเป็นแผลเล็กๆ แต่วิธีการเช่นนี้ไม่เป็นที่นิยมและมีการทำน้อยมากในปัจจุบัน

การทำ IVF สำหรับไข่ที่เหลือ
ถ้าหากมีจำนวนไข่เหลือมากกว่าที่ต้องการในการใส่กลับคืนในขณะนั้น ไข่เหล่านั้นจะถูกผสมโดยอสุจิของสามีที่เตรียมไว้ และจะถูกเพาะเลี้ยงไว้ในตู้อบเป็นเวลาประมาณ 18 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะนำไข่ที่ถูกผสมแล้วออกมาตรวจการปฏิสนธิ ไข่ที่สามารถปฏิสนธิได้ปกติจะถูกนำไปแช่แข็งไว้ หรือนำไปเพาะเลี้ยงจนเจริญเติบโตถึงระยะบลาสโตซิสท์ก่อนแล้วจึงทำการแช่แข็ง

การดูแลหลังการทำ GIFT
การให้การดูแลหลังการย้ายเซลล์สืบพันธุ์นั้นสามารถทำได้โดยการฉีดฮอร์โมน Progesterone ให้ หรือการให้ Progesterone gel (Crinone) หรือ Progesterone เม็ด (Clyclogest) เหน็บช่องคลอดทุกวัน หรือให้ hCG ฉีดให้ หลังจากนั้นจะทำการตรวจการตั้งครรภ์โดยตรวจระดับ hCG ในกระแสเลือด หากผลการตรวจแสดงให้เห็นว่าตั้งครรภ์การให้ Progesterone เสริมนี้จะให้ต่อเนื่องไปจนกระทั่งอายุครรภ์ได้ 8 – 12 สัปดาห์ การตรวจอัลตร้าซาวด์จะกระทำภายหลังจากผลการตรวจเลือดแสดงการตั้งครรภ์แล้ว 3 สัปดาห์ และจะทำอีกครั้งเมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 12 เมื่อจะย้ายผู้ป่วยไปทำการฝากครรภ์ตามปกติ

Zygote Intra Fallopian tube Transfer (ZIFT)
ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของการทำ GIFT คือ การที่ไม่สามารถเห็นการปฏิสนธิและการพัฒนาของตัวอ่อนในระยะแรกได้ ได้เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นในท่อนำไข่ ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกได้ว่ากระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ดีหรือไม่เพียงใด เมื่อผลการรักษาไม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะล้มเหลวในการปฏิสนธิหรือมีอัตราการปฏิสนธิต่ำ ดังเช่นในรายที่มีปัญหาของฝ่ายชายหรือมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวอสุจิ
ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนาเทคนิคต่างๆในการย้ายตัวอ่อนที่ปฏิสนธิแล้วขึ้นมามากมาย การปฏิสนธิในหลอดแก้วได้ถูกนำมาใช้ในการแสดงการปฏิสนธิซึ่ง ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะได้รับการย้ายตัวอ่อนกลับคืนต่อไปในภายหลัง ด้วยเหตุนี้คำถามเกี่ยวกับศักยภาพในการปฏิสนธิได้จึงหมดไป แต่ถ้าหากเกิดความไม่แน่ใจในรูบแบบของการแบ่งเซลล์และและคุณภาพของตัวอ่อนที่ได้ การย้ายตัวอ่อนกลับคืนให้สามารถยืดเวลาออกไปได้อีก 24 ชั่วโมง เพื่อรอให้ตัวอ่อนมีการแบ่งเซลล์จนเป็นตัวอ่อนระยะ 2 เซลล์ก่อน

ข้อบ่งชี้
ข้อบ่งชี้สำหรับการทำ ZIFT นั้นได้แก่ ผู้มีบุตรยากที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวอสุจิ ปัญหาในฝ่ายชาย ประสบความล้มเหลวจากการทำ GIFT

บทบาทของ GIFT และ ZIFT ในการรักษาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบัน
แม้ว่าอัตราความสำเร็จจากทำ GIFT (25%) / ZIFT (30%) จะต่ำกว่าการทำ IVF (50-60%) ปัจจุบันการทำ GIFT/ZIFT อาจเป็นหนทางที่ดีกว่าสำหรับผู้ป่วยบางรายได้แก่ (1) กรณีที่มีปากมดลูกตีบแคบ ทำให้การใส่ตัวอ่อนทำได้ด้วยความยากลำบาก (2) ในรายที่กลับมาทำการรักษาอีกครั้งหลังจากประสบความสำเร็จในการทำ GIFT/ZIFT และต้องการที่จะทำการรักษาด้วยวิธีการเดิม (3) ผู้ป่วยที่จะทำการใส่ตัวอ่อนแช่แข็งซึ่งหวังว่าสภาวะแวดล้อมในท่อนำไข่จะช่วยรักษาผลเสียอันเกิดจากการแช่แข็งตัวอ่อนได้ (4) มีข้อห้ามทางศาสนาซึ่งยอมรับการทำ GIFT/ZIFT มากกว่า IVF-ET
ข้อบ่งชี้อีกประการหนึ่งในการทำ GIFT คือ เพื่อการวินิจฉัยหรือเพื่อการรักษาโดยการส่องกล้องทางหน้าท้อง โดยสามารถที่จะทำการตรวจวินิจฉัยในอุ้งเชิงกรานได้โดยละเอียดเพียงพอ และสามารถทำการเลาะพังผืด หรือทำลาย เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriotic tissue) ได้ และยังคงมีอัตราการตั้งครรภ์อยู่ระหว่าง 24 – 30%
สรุป
การย้ายเซลล์สืบพันธุ์หรือตัวอ่อนเข้าสู่ท่อนำไข่นั้นเป็นหนึ่งในวิธีการที่ก้าวหน้า ของการรักษาภาวะมีบุตรยากยุคใหม่ และส่งผลให้มีทารกซึ่งเกิดมาจากวิธิการนี้แล้วหลายพันคน การพัฒนาวิธีการเหล่านี้ส่วนหนึ่งถูกกระตุ้นโดยระบบการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย ปัจจุบันปัญหาที่พบในระยะแรกๆของการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกายได้ถูกแก้ไขไปจนหมดสิ้น และระบบการเพาะเลี้ยงที่ดีกว่านั้นช่วยให้สามารถทำการย้ายตัวอ่อนระยะ Blastocyst กลับคืนสู่โพรงมดลูกได้ ภายหลังจากการยืดระยะเวลาในการการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนให้ยาวนานออกไป



Create Date : 05 กรกฎาคม 2553
Last Update : 5 กรกฎาคม 2553 16:21:05 น. 0 comments
Counter : 4279 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

Nomadus
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ประวัติการศึกษา
-ปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1992 - 1996
-Certificate of Workshop on Professional Counseling, National University Hospital, Singapore, April 2000
-Certificate of CGFNS Certification Program, the Commission on Graduates of Foreign Nursing School, Philadelphia, Pennsylvania, United States of America, September 2003

ประวัติการทำงาน
2006 – ปัจจุบัน Managing Director, Fertility Center Co.,Ltd
1999 - 2005 Blastocyst Center, Infertility Counselor: ให้คำปรึกษาแก่คู่สมรสเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก และอนามัย การเจริญพันธุ์
1996 - 1999 Newborn Intensive Care Unit, Incharged Nurse: ดูแลทารกแรกเกิดอาการปกติ และทารกแรกเกิดอาการวิกฤตในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด และให้คำแนะนำปรึกษาในการเลี้ยงดูทารกแก่บิดามารดา
[Add Nomadus's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com