การตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน

(Preimplantation Genetic Diagnosis: P.G.D.)

โรคทางพันธุกรรมนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ โดยจะส่งผล 1 - 3% ต่อแต่ละบุคคลเมื่อแรกเกิด ความผิดปกติบางประการส่งผลต่อชีวิต ทำให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาหรือเสียชีวิตเมื่ออายุขณะหนึ่ง หลังการคลอด มีกระบวนการสองอย่างที่นำเข้ามาจัดการกับการเกิดโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม นั่นคือการป้องกันและการรักษา การรักษาให้หายขาดหรือกลับมามีพันธุกรรมปกตินั้นในปัจจุบันยังคงเป็นไปไม่ได้ แต่การรักษาแบบประคับประคองนั้นจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น และมีโอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวได้สูงขึ้น มาตรการต่างๆจำนวนมากสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ในสถานะการณ์ที่แตกต่างกัน ทางเลือกหนึ่งในการป้องกันโรคคือการตรวจโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งสามารถทำได้โดยการตรวจเนื้อเยื่อจากรก ซึ่งได้มาจากตัวอย่างเนื้อรกที่ดูดออกมาเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ในระยะแรก หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือการเพาะเลี้ยงเซลล์ของทารกซึ่งได้มาจากการเจาะน้ำคร่ำในระยะไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เมื่อได้รับผลการตรวจผู้ป่วยมีสิทธิที่จะเลือกให้การตั้งครรภ์ที่ทารกผิดปกตินั้นสิ้นสุดลงหรือดำเนินต่อไป นอกจากนี้การตรวจอัลตร้าซาวด์ระหว่างการตั้งครรภ์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งช่วยให้สามารถมองเห็นโครงสร้างร่างกายของทารกซึ่งบ่งชี้ถึงความผิดปกติได้ การทำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์หรือทำแท้งนั้นอาจไม่เป็นสิ่งที่ยอมรับได้สำหรับทุกคนในแง่ของศาสนา ศีลธรรม และเหตุผลด้านอารมณ์ความรู้สึก การพัฒนาทางเลือกใหม่ในปัจจุบันที่เรียกว่า Preimplantation genetic diagnosis: PGD (การวินิจฉัยพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว) ได้ให้ทางเลือกที่เหมาะสมและยอมรับได้มากกว่าสำหรับครอบครัวที่มีตัวอ่อนที่ผิดปกติ

โรคที่ต้องตรวจคัดกรอง
ในการทำ PGD นั้นโรคทางพันธุกรรมต่างๆจะได้รับการวินิจฉัยรวมทั้งเพศของตัวอ่อนด้วยในกรณีที่มีโรคที่ถ่ายทอดทางโครโมโซมเพศ ดังนั้นตัวอ่อนที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าปลอดจากโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมต่างๆจะถูกย้ายกลับคืนสู่โพรงมดลูก

ตัวอ่อนที่นำมาตรวจโครโมโซม
ในวิธีการปฏิบัติทั่วไป การทำ IVF เป็นวิธีการหลักที่จะได้มาซึ่งตัวอ่อนสำหรับการตรวจ PGD โดยไม่จำเป็นที่ผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้มีบุตรยาก ภายหลังจากการตรวจทางพันธุกรรม ตัวอ่อนที่ไม่เป็นโรคจะถูกย้ายกลับคืนสู่โพรงมดลูก จำนวนของตัวอ่อนที่จะใส่กลับคืนให้หลังการตรวจ PGD ควรจะใส่จำนวนสองตัวอ่อน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ทารกแฝดจำนวนมากเกินไป

การดูดเอาเซลล์ของตัวอ่อนออกมาตรวจ PGD (Blastocyst biopsy)
ส่วนประกอบทางพันธุกรรมของตัวอ่อนนั้นถูกกำหนดเมื่อมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ซึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากสารประกอบในนิวเคลียสของอสุจิและเซลล์ไข่ ดังนั้นการทำ Biopsy ตัวอ่อน (ดูดเอาสารประกอบจากตัวอ่อนออกมาตรวจ) นั้นจึงเป็นการตรวจทางพันธุกรรมที่ให้ผลได้ถูกต้องแม่นยำและครอบคลุมมากที่สุด
การที่ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตมาถึงระยะบลาสโตซิสท์ได้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 วันหลังการตกไข่ (หรือหลังการเจาะไข่) ซึ่งในระยะนี้เซลล์ภายในตัวอ่อนจะมีการจัดเรียงเซลล์เป็นเซลล์ชั้นนอกที่อยู่ปกคลุมล้อมรอบตัวอ่อน เรียกว่า Trophectoderm และเซลล์ที่อยู่ภายในที่บริเวณขั้วของตัวอ่อนเรียกว่า Inner cell mass ซึ่ง Inner cell mass นั้นต่อมาภายหลังจะพัฒนาไปเป็นตัวอ่อน ในขณะที่ Trophectoderm จะพัฒนาไปเป็นส่วนของรก ในการทำ Blastocyst biopsy นั้นมีจุดประสงค์คือนำเซลล์ส่วน Trophectoderm ออกมาเป็นจำนวนมากถึง 10 เซลล์เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรมที่ให้ผลการตรวจที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง

สรุป
แม้ว่า PGD นั้นยังคงอยู่ในระยะแรกเริ่มเท่านั้น แต่ก็ได้มีทารกจำนวนมากที่ได้เกิดมาด้วยกระบวนการดังกล่าว การทำ PGD นั้นถือเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับนักพันธุศาสตร์ ซึ่งพัฒนาการของการทำ PGD นั้นมีความผูกพันกับเทคโนโลยีช่วยเหลือการเจริญพันธุ์อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถคัดเลือกเฉพาะตัวอ่อนที่สุขภาพดีเท่านั้นสำหรับใส่กลับคืนสู่มดลูกให้ โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงที่มีอายุมากซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเกิดความผิดปกติในตัวอ่อนสูง การใส่ตัวอ่อนที่มีสุขภาพดีเท่านั้นยังช่วยเพิ่มผลสำเร็จในการตั้งครรภ์และการคลอดทารกที่สุขภาพดี



Create Date : 05 กรกฎาคม 2553
Last Update : 5 กรกฎาคม 2553 16:11:21 น. 3 comments
Counter : 791 Pageviews.

 
มีสาระความรู้มากๆค่ะ


โดย: teansri วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:57:22 น.  

 
ทักทายยามเย็นคะ ทานข้าวให้อร่อยนะคะ ^^


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:05:19 น.  

 
ด้วยความยินดี ขอบคุณค่า


โดย: Nomadus วันที่: 6 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:02:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

Nomadus
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ประวัติการศึกษา
-ปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1992 - 1996
-Certificate of Workshop on Professional Counseling, National University Hospital, Singapore, April 2000
-Certificate of CGFNS Certification Program, the Commission on Graduates of Foreign Nursing School, Philadelphia, Pennsylvania, United States of America, September 2003

ประวัติการทำงาน
2006 – ปัจจุบัน Managing Director, Fertility Center Co.,Ltd
1999 - 2005 Blastocyst Center, Infertility Counselor: ให้คำปรึกษาแก่คู่สมรสเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก และอนามัย การเจริญพันธุ์
1996 - 1999 Newborn Intensive Care Unit, Incharged Nurse: ดูแลทารกแรกเกิดอาการปกติ และทารกแรกเกิดอาการวิกฤตในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด และให้คำแนะนำปรึกษาในการเลี้ยงดูทารกแก่บิดามารดา
[Add Nomadus's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com