|
Warren Buffet's strategy on technical analysis
Warren Buffet's strategy on technical analysis Apr 05 '00
After much research and experience in investing I've discovered a simple strategy which works very well for profitable investing. It's a composite of Charles Schwab's and Warren Buffet's strategy. As you may know, Warren Buffet started with a little investment decades ago and now he's the third richest man in the world with over $30,000,000,000 in stock in the company he built. Charles Schwab is the genius who began the most successful off-price brokerage in the world. Here's what they say about investing and technical analysis:
Rule number one: Buy a company you'd be willing to hold for a lifetime.
When you put your money in a stock, you become an owner of that firm. You're essentially buying part of it and you reap the profit from the shares you buy in terms of earnings per share. Then the company may pay out those earnings per share in dividends or invest back into the company for growth. Make sure that you're buying a firm that you can depend on, even when the market is down. Investing isn't about the quick in-and-out schemes that lose most day-traders money. That's called gambling. Investing is putting your trust and your resources into a firm which you're willing to commit your hard-earned money to. This leads to my next point.
Rule number two: Ignore technical analysis.
Technical analysis is used to predict whether or not a stock will go up or down in the short term. Some people think that they can ignore the fundamentals of the companies they buy based on technical analysis and end up losing large amounts of money. Yet, no responsible financial advisor would recommend or practice buying based solely or largely on technical analysis. That practice is used for what I defined to be gambling. Essentially relying on technical analysis involves looking at the volume of trading, advances/declines in the share price, and trying to determine whether or not the price will continue upward or reverse. For example, a lot of people buy or sell based on momentum. They jump on the bandwagon or abandon ship with the rest of the crowd. Yet, these fluctuations based on the herd mentality do less for those playing on technical analysis and more for the investor who looks for good value in shares. For, often people selling on technical analysis overshoot and cause a stock's value to be worth less than its fair value. Thanks to people who get burned on these losses, investors find unique opportunities to snatch up great comanies at bargain-basement prices.
Rule number three: Focus on the Fundamentals.
You cannot accurately predict the short term price fluctuations of stocks. Let me repeat myself: You CANNOT accurately predict the short term price fluctuations of stocks. If you could, those stock experts working at Merrill Lynch and Goldman Sachs wouldn't be working. Believe me: they've got a lot more experience than you or I do, and they're not gambling. So, instead of "investing on luck" or momentum, take control and do your research. Find out whether the company is consistantly outpacing the industry. See what the price to earnings ratio is and whether it's being undervalued. Find out whether earnings per share has been increasing or decreasing. See what the financial community thinks by examining analyst opinions covering the firm. All this information is easily accessable over the internet and free of charge. IF you do your homework your gains will be all but certain OVER TIME and you'll feel satisfied and proud with your investment choices. You may even become attached to your company and become well acquainted with it.
Rule number four: Buy long term
Besides your liklihood of making money going up, there are tax advantages to holding stocks long term. For one thing, if you simply hold onto your stock, you won't be taxed until you pull out and your investment can continue to compound, without erosion, until you sell. But, if you constantly buy and sell, then you're taxed on all your gains and you don't get to pay the lower capital gains tax. Instead, it's taxed as regular income, which is a higher tax rate. For most daytraders, tax erosion is one of the biggest problems with making any profit. But, if you do sell make sure it's because your company has been consistently underperforming. This leads to the next point:
Rule number five: Buy low sell high.
Lots of people buy stocks and when the price dips they get scared and sell. Other people see the price of their stock go up and buy more. But, this seems like reverse logic, right? If you own a good company, short-cited investors can drive down a stock price temporarily because of one below-expected earnings report or a bit of bad news. Let these be times for you to take advantage of other people's hysteria and buy at an attractive price.
Be smart in your investment decisions. Warren Buffet didn't find himself where he is today by buying on momentum or following technical analysis. Instead, it took research, patience, and commitment. If you can commit yourself to these same principles, you too will enjoy financial success.
Create Date : 08 พฤศจิกายน 2553 | | |
Last Update : 22 ธันวาคม 2553 23:16:54 น. |
Counter : 635 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
เล่นหุ้นแบบไหนดีที่สุด โดย ดร.นิเวศน์
เล่นหุ้นแบบไหนดีที่สุด โดย : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในเรื่องของการลงทุนหรือเล่นหุ้นนั้น มีเทคนิคหรือวิธีการหลายอย่างที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ลงทุนแบบ Value หรือเน้นคุณค่า
เล่นหุ้นแบบดูกราฟแนวรับแนวต้าน หรือเล่นหุ้นโดยวิธีการ "ปั่นหุ้น" เป็นต้น คำถาม ก็คือ เล่นหุ้นด้วยวิธีไหนดีที่สุด
ก่อนที่จะตอบคำถามนั้น ผมคงต้องเติมข้อความในวงเล็บว่า ดีที่สุด (โดยเฉลี่ย) เพราะในแต่ละเทคนิคหรือวิธีการนั้น คนที่ทำได้ดีอาจจะเก่งมากจนทำได้ดีกว่าคนที่เก่งที่สุดในอีกวิธีหนึ่ง แต่โดยเฉลี่ย ซึ่งรวมถึงคนที่ไม่เก่งทั้งหมดด้วยแล้ว วิธีนั้นอาจจะแพ้การลงทุนอีกวิธีหนึ่งที่คนเก่งมากกับคนที่เก่งน้อยได้ผลตอบแทนไม่ต่างกันมากก็ได้
ประเด็นต่อมา ก็คือ ในการที่จะบอกว่าวิธีไหนดีกว่าวิธีอื่นนั้น เราจำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อที่จะพิสูจน์ ดังนั้น วิธีการลงทุนหรือเล่นหุ้นบางอย่างที่หาข้อมูลไม่ได้ เช่น การ "ปั่นหุ้น" นั้น เราคงไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นวิธีที่ดีแค่ไหนในการทำกำไร แม้ว่าเราจะเชื่อว่าเป็นวิธีที่น่าจะได้ผลตอบแทนสูงสุด อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นวิธีการที่ผิดกฎหมายและผมไม่แนะนำให้ทำ มันก็เหมือนกับถามว่า วิธีทำงานหาเงินที่ได้เงินมากและเร็วที่สุดคืออะไร ซึ่งคำตอบของเราอาจจะบอกว่า การ "คอร์รัปชัน" แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนสามารถทำได้ เช่นเดียวกับการ "ปั่นหุ้น" ที่ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้
ในการศึกษาเรื่องของเทคนิคหรือวิธีการในการลงทุนหรือเล่นหุ้นนั้น ในเชิงวิชาการ เราสามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มหลักๆ 4 วิธีด้วยกัน คือ
วิธีแรก เป็นกลุ่มของนักเล่นหุ้นที่ใช้ข้อมูลเพียง 2 อย่าง นั่นก็คือ ข้อมูลราคาหุ้นกับปริมาณการซื้อขายของหุ้น กลุ่มนี้จะนำข้อมูลทั้งสองอย่างมาเขียนเป็นกราฟ หรือทำเป็นจุดอะไรต่างๆ จากนั้นก็อาจจะคำนวณหาราคาเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลาหรือลูกเล่นต่างๆ แล้วก็กำหนดจุดซื้อขายหุ้น ด้วยวิธีนี้ พวกเขาคิดว่าจะสามารถทำกำไรได้ดีกว่าปกติ เราเรียกพวกเขาว่า "นักเล่นหุ้นแบบเทคนิค" การศึกษาจากตลาดที่พัฒนาแล้วอย่างในสหรัฐพบว่าการเล่นหุ้นแบบเทคนิคไม่สามารถเอาชนะดัชนีตลาดได้ ปัญหาใหญ่ ก็คือ พวกเขาต้องเสียค่าคอมมิชชั่นสูงเนื่องจากวิธีนี้มักทำให้ต้องซื้อๆ ขายๆ หุ้น "ตามสัญญาณ" ค่อนข้างมาก ในตลาดหุ้นไทยผมไม่แน่ใจว่ามีคนทำการศึกษาหรือไม่ นอกจากนั้น คนที่เป็นนักเทคนิคเองผมก็คิดว่ายังมีไม่มากนัก
วิธีที่สอง ก็คือ การลงทุนแบบอาศัย "ข้อมูลพื้นฐาน" ทั้งหลายที่เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว ข้อมูลเหล่านี้รวมถึงข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเงิน และข้อมูลผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นด้วย กลุ่มคนที่ใช้วิธีนี้ในการลงทุนนั้นกว้างขวางมาก ซึ่งรวมไปถึงคนที่บริหารกองทุนรวมจำนวนมหาศาล จากการศึกษาในตลาดหุ้นสหรัฐเช่นเดียวกันก็พบว่านักลงทุนที่ใช้วิธีการนี้ก็แพ้ดัชนีตลาดแบบ "ราบคาบ" ประเด็นสำคัญ ก็คือ การทำแบบนี้ต้องค้นคว้าและศึกษาข้อมูลมากมาย ต้องใช้คนที่จบการศึกษาทางด้านการเงินระดับ "MIT" มาทำงานทำให้มีต้นทุนในการบริหารพอร์ตสูงไม่คุ้มค่า
วิธีลงทุนโดยอาศัย "ข้อมูลพื้นฐาน" นี้ มีวิธีการ "ย่อย" แตกแขนงออกมา นั่นก็คือ วิธีการที่เรียกว่า "Value Investment" หรือการลงทุนแบบเน้นคุณค่า วิธีนี้เน้นที่การลงทุนในหุ้นที่มี "ราคาถูกเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับพื้นฐานของกิจการ" การศึกษาจากตลาดหุ้นสหรัฐและตลาดหุ้นไทยด้วยพบว่า การลงทุนแบบ VI นั้น ให้ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมกว่าดัชนีตลาดมากในระยะยาว ว่าที่จริงในตลาดหุ้นไทยนั้น การลงทุนแบบ VI ให้ผลตอบแทนโดดเด่นมากเมื่อเทียบกับดัชนีตลาดหุ้น ในขณะที่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น ในบางช่วงบางตอน การลงทุนแบบ VI ก็แพ้ตลาดเหมือนกันแม้ว่าในระยะยาวแล้วโดยเฉลี่ยจะเหนือกว่ามาก
วิธีที่สาม คือ การลงทุนหรือเล่นหุ้นโดยใช้ "ข้อมูลภายใน" ที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน วิธีนี้นั้น แน่นอน คนที่จะรู้ก็มักจะเป็น "คนใน" ที่เป็นผู้บริหารของบริษัท คนกลุ่มนี้มักจะมีจำนวนไม่มาก การศึกษาในสหรัฐเคยพบว่าพวกเขาสามารถทำกำไรได้ดีกว่าดัชนีหุ้น อย่างไรก็ตาม นักลงทุนที่ลงทุนตาม "คนใน" ผมก็เชื่อว่าคงไม่สามารถทำกำไรได้ เนื่องจากว่าเขาจะรู้ ราคาหุ้นก็เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
สุดท้าย คือ วิธีการลงทุนแบบ Passive หรือการลงทุนโดยการกระจายการถือครองหุ้นตามดัชนีพูดง่ายๆ ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนหุ้นตามดัชนี กลุ่มคนที่ใช้วิธีนี้มีความเชื่อว่าตลาดหุ้นนั้น "มีประสิทธิภาพ" ราคาหุ้นในตลาดสะท้อนคุณค่าของกิจการหมดแล้วจึงมีราคาที่เหมาะสม ดังนั้น จึงไม่มีประโยชน์ที่จะเลือกหุ้น ไม่ว่าจะใช้วิธีการหรือเทคนิคอะไร วิธีการที่ดีกว่า ก็คือ ซื้อหุ้นกระจายกันไปทุกตัวในตลาดและได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีโดยที่ต้นทุนในการบริหารกองทุนนั้นต่ำมาก ซึ่งผลการศึกษาในตลาดหุ้นสหรัฐพบว่า วิธีนี้ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดโดยเฉลี่ยเมื่อเทียบกับวิธีการลงทุนแบบอื่นๆ ที่กล่าวมา
นั่นอาจจะเป็นผลที่เกิดขึ้นในตลาดสหรัฐ ที่ซึ่งตลาดหุ้นอาจจะ "มีประสิทธิภาพสูง" อันเป็นผลจากการที่มีนักลงทุนและนักวิเคราะห์ที่มีความสามารถสูงมากมาย ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวได้รวดเร็วตามพื้นฐานของมันและทำให้หาหุ้นที่ราคาผิดไปจากพื้นฐานได้ยาก แต่ในตลาดหุ้นไทยเองนั้น ก็อาจจะมีข้อสงสัยว่าตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพแค่ไหน คนจำนวนมากโดยเฉพาะที่เป็น VI เชื่อว่ายังมีหุ้นถูกและดีที่เป็นหุ้น VI อีกมาก และเรายังสามารถใช้หลักการของ VI ทำผลตอบแทนได้โดดเด่นอยู่
ผมเองเชื่อว่า VI นั้น เป็นวิธีการลงทุนที่เหนือกว่าการลงทุนแบบอื่นๆ มองจากประสบการณ์ส่วนตัวและที่ได้สัมผัสกับนักลงทุนจำนวนมาก เหนือสิ่งอื่นใด การศึกษาก็พบว่ามันเป็นเทคนิคที่ให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นมากอย่างไม่น่าเชื่อ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคนที่เก่งมากๆ เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เทคนิคนั้นก็จะด้อยประสิทธิภาพลงไปเรื่อยๆ เพราะหุ้นที่ Undervalue หรือหุ้นที่มีราคาถูกก็จะถูกไล่ซื้ออย่างรวดเร็วจนมีราคาแพงขึ้น และทำให้คนที่เข้าไปลงทุนตามไม่ได้กำไร สุดท้าย ราคาหุ้นส่วนใหญ่หรือเกือบทุกตัวก็จะมีราคาที่เหมาะสม ซึ่งทำให้เราไม่สามารถหากำไรได้ง่ายๆ
ก่อนจะจบผมอยากเพิ่มเติมประเด็นที่มักจะมีการถกเถียงกันว่าการใช้วิธีการลงทุนแบบเทคนิค หรือการลงทุนแบบ VI ใครดีกว่ากัน หรือ VI ควรนำวิธีการของเทคนิคมา "เสริม" ไหม คำตอบสั้นๆ ของผม ก็คือ ข้อมูลราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นนั้น เป็นข้อมูลสาธารณะที่นักลงทุนในกลุ่มสองสามารถใช้ได้อยู่แล้ว ที่จริง VI ดังๆ หลายคนก็ใช้ข้อมูลทางเทคนิค ประเด็นสำคัญที่จะแบ่งว่าคุณอยู่กลุ่มไหนจึงน่าจะอยู่ที่ดีกรีของข้อมูลที่ใช้มากกว่า อย่างตัวผมเองนั้น ผมใช้ข้อมูลเกี่ยวกับราคา และปริมาณการซื้อขายน้อยมาก ผมพอใจที่จะอยู่กับข้อมูลพื้นฐานเป็นหลัก แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่า นี่คือ สิ่งที่ดีที่สุด คนที่จะพูดแบบนั้นได้ควรจะมีข้อพิสูจน์
ที่มา: สาระขัน@PantipSathon //www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I9877543/I9877543.html
Create Date : 03 พฤศจิกายน 2553 | | |
Last Update : 22 ธันวาคม 2553 23:16:23 น. |
Counter : 926 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
อัตราส่วนทางการเงิน ความสัมพันธ์ระหว่าง P/E P/BV และ ROE
วันนี้ก็จะขอยกเรื่องอัตราส่วนทางการเงินขึ้นมาทบทวนอีกสักครั้ง หลังจากได้เคยนำบทความเรื่อง การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis) มาลงไว้ เพราะตัวผมเองก็ยังสับสนกับอัตราส่วนพวกนี้อยู่บ่อยๆ ถ้าผมเขียนหรือเข้าใจอะไรผิดไปก็รบกวนช่วยแนะนำโดยการคอมเม็นต์ไว้ก็ได้ครับ
หลังจากคราวที่แล้วได้แนะนำหนังสือ คัมภีร์สุดยอดนักลงทุน (THE LITTLE BOOK that BEATS the MARKET) ที่นำเสนอสูตรสำเร็จการลงทุนซึ่งใช้อัตราส่วนทางการเงิน 2 ตัวคือ P/E และ ROA ในที่นี้จะขอทบทวนอีกครั้งว่าอัตราส่วนทั้ง 2 ตัวนี้มีความหมายอย่างไร P/E (Price/Earning per Share) หรืออัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นและกำไรต่อหุ้น ถ้าสมมติให้กำไรของบริษัทคงที่ตลอดหรือไม่มีการเติบโตเลย ค่า P/E จะหมายถึงระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุน เช่น ถ้าเราซื้อหุ้นราคา 10 บาท โดยหุ้นนั้นมีค่า P/E อยู่ที่ 5 เท่า หมายความว่ากำไรต่อหุ้นเท่ากับ 2 บาท เมื่อเราถือหุ้นนี้ไป 5 ปี กำไรต่อหุ้นจะเท่ากับ 2 x 5 คือ 10 บาท ซึ่งเท่ากับราคาต้นทุนที่เราซื้อนั่นเอง ค่า P/E นี้ยิ่งต่ำยิ่งดีครับ เพราะผู้ลงทุนสามารถคืนทุนได้เร็ว ROA (Return On Assets) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ของบริษัท โดยคำนวณจาก Net Income/Total Assets โดยสินทรัพย์สุทธิ (Total Assets) ของบริษัทนั้นประกอบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและส่วนของหนี้สิน ค่า ROA นี้ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะแสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์ที่ลงทุน หากค่า ROA ของบริษัทต่ำกว่า 5% นักลงทุนมืออาชีพมักจะไม่ให้ความสนใจกับบริษัทนั้น นอกจากอัตราส่วนสองตัวที่กล่าวถึงในหนังสือคัมภีร์สุดยอดนักลงทุนแล้ว ลองมาดูอัตราส่วนตัวอื่นที่นักลงทุนแบบเน้นคุณค่านิยมใช้ในการเลือกหุ้นกัน
ROE (Return on Equity) เป็นตัวที่บ่งบอกถึงความสามารถของบริษัทในการนำเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นไปทำให้งอกเงยได้ในอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ ซึ่งคำนวณจาก Net Income/Equity ค่า ROE นี้ยิ่งสูงยิ่งดี โดยนักลงทุนมืออาชีพจะมองหาหุ้นที่มีค่า ROE สูงกว่า 12-15% อย่างต่อเนื่องหลายๆปี
หากนำค่า ROA และ ROE มาพิจารณาแล้วจะพบว่าอัตราส่วนทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันคือเป็นตัวบ่งบอกความสามารถในการทำกำไรของบริษัท จุดแตกต่างกันที่สำคัญของอัตราส่วนทั้งสองจะอยู่ที่หนี้สินของบริษัท เนื่องจาก Assets = Equity + Liabilities ดังนั้นจากสูตรการหาค่า ROA และ ROE จะเห็นว่าถ้าบริษัทไม่มีหนี้สินค่าหรือ Liabilities มีค่าเท่ากับ 0 เราจะคำนวณค่า ROA ได้เท่ากับ ROE แต่หากบริษัทมีหนี้สินเยอะอาจทำให้ค่า ROA ที่ได้มีค่าต่ำในขณะที่ ROE มีค่าเท่าเดิม ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรระวังหากพิจารณาเฉพาะค่า ROE ที่สูงๆโดยไม่พิจารณาถึงหนี้สินของบริษัท
อัตราส่วนอีกตัวที่นิยมนำมาใช้ในการเลือกหุ้นคุณค่าและจะพูดถึงเป็นตัวสุดท้ายในวันนี้ก็คือ P/BV (Price/Book Value) โดย Book Value คิดมาจาก Equity/Number of Shares โดยทั่วๆไปแล้วค่า P/BV นี้ยิ่งต่ำยิ่งดี ตัวเลขมาตราฐานที่มักจะใช้เป็นฐานก็คือ 1 เท่า หากสามารถซื้อหุ้นที่มีค่า P/BV น้อยกว่า 1 ได้ก็หมายความว่าเราสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท
หลังจากได้ทบทวนอัตราส่วนทางการเงินที่นักลงทุนหุ้นคุณค่านิยมใช้ในการพิจารณาเลือกหุ้นที่จะซื้อกันแล้ว คราวหน้าหากมีโอกาสเราลองมาดูความสัมพันธ์ของอัตราส่วนพวกนี้กันดู
---------------------------------------------------------------
สวัสดีครับ หลังจากคราวที่แล้วที่กล่าวถึงอัตราส่วนทางการเงินไปคือ P/E ROA ROE และ P/BV ตามที่หนังสือ ทั่วๆไปให้ความหมายไว้ ในวันนี้เราลองมาลงรายละเอียดของ P/E P/BV และ ROE กันอีกสักนิดนะครับ คิดว่าจะทำให้เห็นภาพมากขึ้น สูตรการคำนวณของอัตราส่วนทางการเงินที่กล่าวถึงคือ
P/E = Price/EPS = Price/(Net Profit/Number of Share) P/BV = P/BV = Price/(Equity/Number of Share) ROE = Return/Equity = (Net Profit/Equity)
จากสูตรด้านบน เมื่อมาดูความสัมพันธ์ของสูตรแต่ละตัวจะได้ว่า P/BV = P/E x ROE
ทีนี้เมื่อเราลองพิจารณาหลักการเลือกซื้อหุ้นทั่วไปที่มักจะแนะนำให้ซื้อหุ้นที่มีค่า P/BV และ P/E ต่ำๆ แต่ค่า ROE สูงๆ
ซึ่งเมื่อดูจากสูตรความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทั้งสามแล้ว จะเห็นว่ามีส่วนที่ขัดแย้งกันอยู่คือ หากหุ้นมีค่า ROE สูง ค่า P/BV ก็จะต้องสูงตามไปด้วย ทีนี้จะเลือกหุ้นยังไงดีล่ะ
ถ้าคุณเป็นนักลงทุนในแนวเบนจามิน เกรแฮม (Benjamin Graham) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นที่มีราคาถูกก็คงจะต้องเลือกหุ้นที่มีค่า P/BV ต่ำและ P/E ต่ำ
แต่ถ้าคุณเป็นนักลงทุนในแบบของวอร์เรน บัฟเฟตต์แล้วล่ะก็ คุณคงจะเลือกลงทุนในหุ้นที่มีค่า P/E ไม่สูงมากนัก และมีค่า ROE ที่สูงอย่างต่อเนื่อง (ROE อย่างน้อย 12% ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี) ซึ่งก็คือหุ้นของบริษัทที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
ปํญหาในการดูแต่ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงๆ ก็คือส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นสามารถลดลงได้หากบริษัททำการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือการซื้อหุ้นคืนจากตลาด ซึ่งจะทำให้ ROE ของบริษัทสูงขึ้น ดังนั้นนักลงทุนจึงควรดูผลตอบแทนต่อเงินลงทุนทั้งหมดเพิ่มเติม โดย Return On Total Capital (ROTC) = EBIT/(Equity + Debt) นักลงทุนควรที่จะมองหาบริษัทที่มี ROTC ที่ต่อเนื่องและสม่ำเสมออย่างน้อย 12% ขึ้นไป สุดท้ายนี้เราลองย้อนมาดูกันหน่อยว่าเมื่อไหร่ที่เราควรจะเลือกซื้อหุ้นของบริษัทที่มี P/BV ต่ำและ ROE ต่ำ
เมื่อนักลงทุนไม่มีความรู้หรือไม่มีเวลาติดตามข่าวสารการลงทุนอย่างต่อเนื่อง การลงทุนในหุ้นที่มี P/E และ P/BV ต่ำหลายๆตัว (อย่างต่ำสัก 10 ตัว) เป็นหลักการลงทุนที่มีการพิสูจน์มาระดับหนึ่งแล้วว่าให้ผลตอบแทนที่ชนะตลาดได้
เมื่อเจอหุ้นที่มีพื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นหุ้นตัวหนึ่งที่มีค่า P/BV ต่ำ และในอดีตอาจจะมีผลกำไรที่ไม่ค่อยดีทำให้มีค่า ROE ต่ำอยู่นาน แต่ถ้าเรามีข้อมูลเพียงพอว่าบริษัทมีพื้นฐานที่เปลี่ยนไปเช่นมีการลงทุนในโครงการบางอย่างที่ได้ผลดีมากและสามารถสร้างกำไรในอนาคตได้เป็นกอบเป็นกำ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ ROE ในอนาคตจะเพิ่มสูงขึ้น หุ้นแบบนี้โอกาสที่จะกำไรหลายๆเท่าต้วนั้นมีสูงมาก ซึ่งหุ้นพวกนี้เห็นได้บ่อยๆในกลุ่มธุรกิจวัฏจักร ที่อยู่ในช่วงต่ำสุดของ Cycle และกำลังมีแนวโน้มที่ดี
ที่มา: Thaispeculator //www.thaispeculator.com/fundamental-analysis/pe-pbv-roe-equations.html
Create Date : 26 ตุลาคม 2553 | | |
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2553 22:01:37 น. |
Counter : 8560 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)
เป็นการนำรายการต่างๆ ในงบการเงินมาเทียบอัตราส่วนเพื่อหาความสัมพันธ์ว่า มีความเหมาะสมเพียงใด การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน 4 ประการ 1. การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio) 2. การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) 3. การวิเคราะห์ความสามารถ (ประสิทธิภาพ) ในการดำเนินงาน (Efficiency Ratio) 4. การวิเคราะห์โครงสร้างของเงินทุนหรือภาระหนี้สิน (Leverage Ratio or Financial Policy Ratio)
1.การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio)
1.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) /หนี้สินหมุนเวียน (CL) วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าค่าที่คำนวณได้สูงเท่าใด แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ประกอบไปด้วย เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือมากกว่าหนี้ระยะสั้น ทำให้คล่องตัวในการชำระหนี้ระยะสั้นมีค่อนข้างมาก โดยปกติ อัตราส่วน 2 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว
1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio) อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน สินค้าคงเหลือ) /หนี้สินหมุนเวียน หรือ( Quick Ratio = CA - Inventory )/CL เป็นการวัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้หักค่าสินค้าคงเหลือ ที่เป็นสินทรัพย์ระยะสั้นและมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ต่ำสุดออก เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการได้ โดยปกติอัตราส่วน 1 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว
1.3 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover) อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover) A/R Turnover = ขายเชื่อสุทธิ หรือใช้ยอดขายรวม (ครั้ง หรือ รอบ) /ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย = (ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด )/ 2 หากค่าที่คำนวณได้ มีค่าสูง แสดงถึงความสามารถในการบริหารลูกหนี้ให้แปลงสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว
1.4 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period) ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Avg. Collection Period) (วัน) = 365 วัน /อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ ยิ่งต่ำยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่าสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้ ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้ และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ
1.5 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) = ต้นทุนสินค้าขาย (COGS) /สินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Avg. Inventory) สินค้าคงเหลือเฉลี่ย =( สินค้าต้นงวด + สินค้าปลายงวด )/ 2 หากค่าคำนวณได้สูง ย่อมแสดงถึงความสามารถในการบริหารการขายสินค้าได้เร็ว
1.6 ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า(วัน) = 365 (วัน) /อัตราหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover) ยิ่งขายได้เร็ว (ระยะเวลาสั้น) ยิ่งดี
2.ความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio)
1.1 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) 1.2 อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin) 1.3 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) 1.4 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return On Equity or ROE)
อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)(%) = ขายสุทธิ - ต้นทุนขาย หรือ SALES - COGS / ขายสุทธิ SALES = กำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit /ขายสุทธิ SALES ยิ่งสูงยิ่งดี
อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน(Operating Profit Margin)(%) = กำไรจากการดำเนินงาน(Operating Profit Margin) /ขายสุทธิ (SALES)
ยิ่งสูงยิ่งดี
อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)(%) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /ขายสุทธิ (SALES) ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีเงินได้หมดแล้ว
ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE %) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นว่าเงินลงทุนในส่วนของเจ้าของ จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจากการดำเนินการของกิจการนั้นในอัตราส่วนเท่าไร หากมีค่าสูง แสดงถึงประสิทธิภาพในการหากำไรสูงด้วย
Dupont Equation ROE (%) = NP (or EAT) = (EAT/SALES) (SALES/ASSETS) (ASSETS/EQUITY) /Equity หรือ ROE (%) =รายได้จากการขาย สินทรัพย์ทั้งหมด= กำไรสุทธิ X รายได้จากการขาย X สินทรัพย์ทั้งหมด / ส่วนของผู้ถือหุ้น = (ความสามารถในการหากำไร) (การใช้เงินทุน) (ความสามารถในการหาทุน) หรือ สมการนี้เท่ากับ ROE (%) = (Net Profit Margin) (Total Asset Turnover) (Financial Leverage)
3. อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency Ratio)
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA)(%) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /สินทรัพย์รวม (Total Assets) ยิ่งสูงยิ่งดี เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ธุรกิจใช้ในการดำเนินงาน ว่าให้ผลตอบแทนจากการดำเนินงานได้มากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูง แสดงถึงการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ROFA) = กำไรสุทธิ (Net Profit or NP) /รวมสินทรัพย์ถาวร (Fix Assets) อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover) อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)(ครั้ง) = ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset) ยิ่งสูงยิ่งดี
อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) (ครั้งหรือเท่า) = ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์รวม (Total Assets) จำนวนครั้งสูง ดี เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด (TA) เมื่อเทียบกับยอดขาย (SALES) ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ
4. อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Leverage Ratio or Financial Ratio)
เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่ามาจากหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของ ว่ามีมากน้อยเพียงใด อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio) (เท่า) = หนี้สินรวม (Total Debt) /ส่วนของเจ้าของ (Equity) ยิ่งต่ำ ยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในด้านเจ้าหนี้และเจ้าของกิจการ ถ้าอัตราส่วนสูง แสดงว่า กิจการมีความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ
ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) (เท่า) = {กำไรสุทธิ (NP) + ภาษีเงินได้ (Tax) - ดอกเบี้ยจ่าย(Interest)} /ดอกเบี้ยจ่าย (Interest) เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง
อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout) = เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend /share) /กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) แสดงถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผลของธุรกิจ อัตราส่วนที่กล่าวมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน เพื่อท่านจะได้พิจารณางบการเงินได้ในระดับหนึ่ง
สัญญาณเตือนภัยจากการวิเคราะห์งบการเงิน 1.ขาดทุนมากๆ และติดต่อกันหลายปี 2.ระยะเวลาการเก็บหนี้นานขึ้น 3.อัตราหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของสูงขึ้นเร็วมาก 4.สินค้าคงคลังสูงมากผิดปกติ 5.ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น 6.ยอดขายสูงขึ้น แต่กำไรลดลง 7.หนี้สูญเพิ่มขึ้น 8.รายงานผู้สอบบัญชีผิดปกติ เปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่ 9.ขายสินทรัพย์ของบริษัท เพื่อสร้างกำไรให้เข้าเป้าในระยะสั้น ื ที่มา: GABLIEL@Bloggang //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=gabliel&group=1
Create Date : 26 ตุลาคม 2553 | | |
Last Update : 26 ตุลาคม 2553 9:35:47 น. |
Counter : 996 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
วิธีคำนวน PEG Ratio ที่ดีกว่า PE
PEG Ratio Nails Down Value Stocks by Ryan Barnes
A stock's price/earnings to growth (PEG) ratio may not be the first metrics that jump to mind when due diligence or stock analysis is discussed, but most would agree that the PEG ratio gives a more complete picture of stock valuation than simply viewing the price-earnings (P/E) ratio in isolation. (For related reading, see Move Over P/E, Make Way For The PEG.)
The PEG ratio is calculated easily and represents the ratio of the P/E to the expected future earnings growth rate of the company. This article will discuss the positive attributes of the metric, how to best use it in your research and what to watch out for when using it.
Determining a Stock's Value Common stocks represent a claim to futureearnings. The rate at which a company will grow its earnings going forward is one of the largest factors in determining a stock'sintrinsic value. That future growth rate represents everyday market prices in stock markets around the world.
The P/E ratio shows us how much shares are worth compared to past earnings. Most will use 12-month trailing earnings to calculate the bottom part of the P/E ratio. Inferences may be made by looking at the P/E ratio; for instance, high P/E ratios represent growth stocks, while low ones highlight value oriented stocks. (For more insight, read Understanding The P/E Ratio.) Example - Calculating the PEG
Let's look at two hypothetical stocks to see how the PEG ratio is calculated:
ABC Industries has a P/E of 20 times earnings. The consensus of all the analysts covering the stock is thatABC has an anticipated earnings growth of 12% over the next five years.
20 (x times earnings) / 12 (n % anticipated earnings growth) = 20/12 = 1.66
XYZ Micro is a young company with a P/E of 30 times earnings. Analysts conclude that the company has an anticipated earnings growth of 40% over the next five years.
30 (x times earnings) / 40 (n % anticipated earnings growth) = 30/40 = 0.75
What the PEG Ratio Tells Us Using the examples above, the PEG ratio tells us that ABC Industries stock price is higher than its earnings growth. This means that if the company doesn't grow at a faster rate, the stock price will decrease. XYZ Micro's PEG ratio of 0.75 tells us that the company's stock is undervalued, which means it's trading in line with the growth rate and the stock price will increase.
Stock theory suggests that the stock market should assign a PEG ratio of one to every stock. This would represent theoretical equilibrium between the market value of a stock and anticipated earnings growth. For example, a stock with an earnings multiple of 20 and 20% anticipated earnings growth would have a PEG ratio of one. (To learn more, see Introduction To Fundamental Analysis.)
PEG ratio results greater than one suggest one of the following: Market expectation of growth is higher than consensus estimates. Stock is currently overvalued due to heightened demand for shares. PEG ratio results of less than one suggest one of the following: Markets are underestimating growth and the stock is undervalued. Analysts' consensus estimates are currently set too low. A great feature of the PEG ratio is that by bringing future growth expectations into the mix, we can compare the relative valuations of different industries that may have very different prevailing P/E ratios. This makes it easier to compare different industries, which tend to each have their own historical P/E ranges. For example, let's compare the relative valuation of a biotech stock to an integrated oil company: Biotech Stock ABC -Current P/E: 35 times earnings -Five-year projected growth rate: 25% -PEG: 35/25, or 1.40 Oil Stock XYZ -Current P/E: 16 times earnings -Five-year projected growth rate: 15% -PEG: 16/15, or 1.07 ________________________________________
Even though these two fictional companies have very different valuations and growth rates, the PEG ratio allows us to make an apples-to-apples comparison of the relative valuations. What is meant by relative valuation? It is a mathematical way of asking whether a specific stock or a broad industry is more or less expensive than a broad market index, such as theS&P 500 or the Nasdaq.
So, if the S&P 500 has a current P/E ratio of 16 times trailing earnings and the average analyst estimate for future earnings growth in the S&P 500 is 12% over the next five years, the PEG ratio of the S&P 500 would be (16/12), or 1.25.
The Risk of Estimating Future Earnings Any data point or metric that uses underlying assumptions can be open to interpretation. This makes the PEG ratio more of a fluid variable and one that is best used in ranges as opposed to absolutes. The reason why five-year growth rate estimates are the norm rather than one-year forward estimates is to help smooth out the volatility that is commonly found in corporate earnings due to the business cycle and other macroeconomic factors. Also, if a company has little analyst coverage, good forward estimates may be hard to find. The enterprising investor may want to experiment with calculating PEG ratios across a range of earnings scenarios based on the available data and his or her own conclusions. (For more, see Great Expectations: Forecasting Sales Growth.)
Best Uses for the PEG The PEG ratio is best suited to stocks with little or no dividend yield. Because the PEG ratio doesn't incorporate income received by the investor in its presentation of valuation, the metric may give unfairly inaccurate results for a stock that pays a high dividend.
Consider the scenario of an energy utility that has little potential for earnings growth. Analyst estimates may be five percent growth at best, but there is solid cash flow coming from years of consistent revenue. The company is now mainly in the business of returning cash to shareholders. The dividend yield is five percent. If the company has a P/E ratio of 12, the low growth forecasts would put the PEG ratio of the stock at 12/5, or 2.50. An investor taking just a cursory glance could easily conclude that this is an overvalued stock. The high yield and low P/E make for an attractive stock to a conservative investor focused on generating income. Be sure to incorporate dividend yields into your overall analysis. One trick is to modify the PEG ratio by adding the dividend yield to the estimated growth rate during calculations. To give us a meaningful interpretation of the company's valuation, take a look a look at the following example.
Example - Adding Dividend Yield to the Estimated Growth Rate
This energy utility has an estimated growth rate of about five percent, a five percent dividend yield and a P/E ratio of 12. In order to take the dividend yield into account, you could calculate the PEG like this:
P/E / (Growth Estimates + Yield) = (12 / (5 +5)) = 1.2
Final Thoughts on Using the PEG Thorough and thoughtful stock research should involve a solid understanding of the business operations and financials of the underlying company. This includes knowing what factors the analysts are using to come up with their growth rate estimates, and what risks exist regarding future growth and the company's own forecasts for long-term shareholder returns.
Investors must always keep in mind that the market can, in the short-term, be anything but rational and efficient. While in the long run stocks may be constantly heading toward their natural PEGs of one, short-term fears or greed in the markets may put fundamental concerns on the backburner.
When used consistently and uniformly, the PEG ratio is an essential tool that adds dimension to the P/E ratio, allows comparisons across diverse industries and is always on the lookout for value. by Ryan Barnes (Contact Author | Biography)
Ryan Barnes has over 10 years experience in portfolio management and investment research, covering equities, fixed income and derivative products. Barnes has worked with Merrill Lynch, Charles Schwab, Morgan Stanley and many others as an institutional trader, and maintained AIMR compliant performance for a diverse set of high-net-worth investors.
Barnes is currently working as a writer and financial modeling consultant specializing in capital appreciation and hedging strategies, and is the editor of EpiphanyInvesting, a website devoted to finding long-term success in the stock market.
ที่มา:Tibular@ThaiVI //www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=42968
What Does Price/Earnings To Growth - PEG Ratio Mean? A ratio used to determine a stock's value while taking into account earnings growth. The calculation is as follows:

Investopedia explains Price/Earnings To Growth - PEG Ratio PEG is a widely used indicator of a stock's potential value. It is favored by many over the price/earnings ratio because it also accounts for growth. Similar to the P/E ratio, a lower PEG means that the stock is more undervalued.
Keep in mind that the numbers used are projected and, therefore, can be less accurate. Also, there are many variations using earnings from different time periods (i.e. one year vs five year). Be sure to know the exact definition your source is using.
ที่มา: //www.investopedia.com/terms/p/pegratio.asp
Create Date : 15 ตุลาคม 2553 | | |
Last Update : 15 ตุลาคม 2553 0:13:35 น. |
Counter : 1635 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|
Location :
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

|
ถ้าชอบ blog นี้อย่าลืม Subscribe RSS Feed ผมนะครับ จะพยายาม update ให้บ่อยมากที่สุด
เครื่องที่ใช้ Test: iPhone 3Gs / iTouch 2G ไม่ Jail Break
|
|
|
|
|
|
|
|