กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
เมื่อไหร่ที่โลกของเราจะตระหนักถึงความเลวร้ายของอาวุธนิวเคลียร์?



บทความ โดย Bunny McDiarmid

เมื่อมองย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่กำหนดทางเดินของชีวิตของฉัน ไม่ว่าจะทางเดินด้านวิชาชีพ หรือความสนใจส่วนตัว นั่นคือช่ว⁞งเวลาที่ฉันได้เหยียบผืนดินบนเกาะรองจ์แลป (Rongelap) ในมหาสมุทรแปซิฟิก

ในวันที่ 17 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2528 ขณะนั้นฉันมีอายุเพียง 24 ปี

แวบแรกเมื่อเห็นชายหาดทรายพร้อมกับต้นมะพร้าวที่เรียงราย และน้ำที่ใสจนเห็นพื้นทะเล ฉันคิดว่าฉันได้เดินทางมาถึงหาดสวรรค์ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่เป็น

ชุมชนพื้นเมืองกลุ่มผู้หญิงพร้อมป้ายข้อความว่า “เรารักอนาคตของลูกหลานของเรา” ยืนรอต้อนรับพวกเราอยู่บนชายหาดพร้อมดอกไม้

ฉันคือหนึ่งในลูกเรือของเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ ของกรีนพีซ  ที่มาเดินทางมาเพื่อย้ายชาวบ้านออกจากเกาะอันเป็นที่รักของพวกเขา ที่กำลังฆ่าพวกเขาลงอย่างช้า ๆ จากฆาตกรที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

ย้อนกลับไปเดือนมีนาคม พ.ศ. 2497 เกาะนี้ถูกปกคลุมไปด้วยสารกัมมันตรังสีจากการที่สหรัฐอเมริกา ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ “แคสเซิล บราโว” (Castle Bravo) คือชื่อรหัสที่กำหนดให้กับการทดสอบแรกของระเบิดนิวเคลียร์ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่เกาะรองจ์แลปไม่ได้รับแม้กระทั่งคำเตือนหรือการป้องกันใดๆ ทั้งสิ้น

หยาดฝนที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีตกโปรยปรายบนเกาะเป็นเวลาหลายวัน สารกัมมันตรังสีละลายไปกับแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภค ทะเล บ้านเรือน สวน และแทรกซึมเข้าไปสู่ร่างกายของชาวบ้าน ในแถบเมืองร้อนซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่นอกบ้าน เด็กๆ ออกมาเล่นกับเขม่าละเอียดสีขาว โดยที่พวกเขานั้นคิดว่ามันคือหิมะ

ในหลายปีถัดมา ประชาชนตระหนักว่าชีวิตบนเกาะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป หลังจากกัมมันตรังสีเริ่มส่งผลกระทบเมื่อเวลาผ่านไป และสารกัมมันตรังสีไม่มีทางที่จะถูกกำจัดออกไปจากเกาะนี้ได้

เด็กหลายคนบนเกาะถูกผ่าไทรอยด์ที่โดนทำลายจากกัมมันตรังสี ผู้หญิงหลายคนที่ให้กำเนิดบุตรที่มีความพิการขั้นรุนแรงหรือที่เรียกกันว่า เด็กแมงกระพรุน ซึ่งปัญหานี้ไม่สามารถที่จะถูกเพิกเฉยได้

ประชาชนไม่สามารถที่จะทนเชื่อคำพูดของนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯเกี่ยวกับความปลอดภัยบนเกาะได้อีกต่อไป พวกเขาไม่มีตัวเลือก มีแต่เพียงความต้องการที่จะย้ายออกจากเกาะ พร้อมความหวังอันริบหรี่ที่จะได้กลับมายังสถานที่แห่งนี้

การอพยพชาวเกาะรองจ์แลปไปเกาะเมจาโท (Mejato) โดยลูกเรือเรนโบว์วอร์ริเออร์ ของกรีนพีซ

ความแตกต่างสุดขั้วระหว่างทิวทัศน์อันสวยงามของเกาะกับการไร้ความรับผิดชอบของทหารสหรัฐฯ ที่ใช้ชีวิตของประชาชนมาเป็นหนูทดลอง เรื่องราวนี้ยังคงเป็นเรื่องที่น่าปวดใจในแม้ว่าผ่านมาหลายปี

วันที่ 29 สิงหาคม ปีนี้ เป็นวันต่อต้านการทดลองอาวุธนิวเคลียร์สากล

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาทำให้เราได้ระลึกว่าทำไมการทดลองนิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ถึงเป็นอันตราย และวันนี้เป็นวันที่จะสะท้อนให้เห็นถึงบทเรียนที่เราได้ร่วมกันต่อสู้การทดลองนิวเคลียร์ และที่สำคัญที่สุดคือเราจะต่อสู้กันไปได้อย่างไรเพื่อที่จะกำจัดสิ่งประดิษฐ์ที่เลวร้ายชนิดนี้

ปีนี้ เราจะยังคงเดินหน้าสู้ต่อไป เพราะเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา พบว่าแนวคิดการใช้ขีปนาวุธนิวเคลียร์กำลังแพร่หลายและส่วนใหญ่อยู่ในกำมือของคนที่ต้องการใช้มัน

การทดลองถึงสองพันครั้ง

อาจจะยากที่จะจินตนาการถึงการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ที่ทำให้ดูเป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นจนเป็นเรื่องธรรมดา

ถือว่าเป็นช่วงยุคทองของวิทยาศาสตร์และการการันตีด้านความมั่นคงจากการที่อาวุธนิวเคลียร์ได้ถูกทดสอบมากกว่า 2,000 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม ปีพ.ศ. 2488 เมื่อการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ที่มีชื่อว่า ทรินิตี้ (Trinity) ได้ถูกดำเนินการโดยกองทัพสหรัฐฯในรัฐนิวเม็กซิโก

ในช่วงปี 60 และ 70 จำนวนการทดลองมีจำนวนเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะลดลง แต่ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงปลายปี 90

ประเทศที่ทำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา ด้วยการทดลองถึง 1,054 ครั้ง สหภาพโซเวียต 715 ครั้ง ประเทศฝรั่งเศส 210 ครั้ง และสหราชอาณาจักรซึ่งมีการทดลองเท่ากับประเทศจีนที่ 45 ครั้ง

ความโกรธและความไม่อ่อนข้อประชาชนทั่วทุกมุมโลกทำให้เกิดพลังที่สำคัญในการหยุดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในสิ่งแวดล้อม กรีนพีซได้ออกเดินทางครั้งแรกในฐานะองค์กรในปีพ. ศ. 2514 เพื่อหยุดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ บทบาทหน้าที่ในการเดินทางครั้งนั้นทำให้ฉันรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

การเรียกร้องให้หยุดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์หน้าตึกองค์การสหประชาชาติในกรุงเจนีวา

ในปีพ.ศ. 2539 รัฐหลักๆ ได้ลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty) โดยจะยุติการทดสอบนิวเคลียร์ทั้งหมด ถึงแม้ว่าสนธิสัญญาจะไม่เคยมีผลบังคับใช้ แต่การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ก็หยุดชะงักลง

สนธิสัญญานี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินหน้าต่อต้านการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในระดับสากล การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ใดๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากปีพ.ศ. 2539 ล้วนได้รับการประนามและโดนคว่ำบาตรซึ่งเป็นการลงโทษอย่างเอกฉันท์ของสหประชาชาติว่าด้วยความมั่นคง

ประเทศเดียวที่ได้ยังคงทำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในศตวรรษที่ 21 คือเกาหลีเหนือ ซึ่งในช่วง 11 ปีที่ผ่านมาเกาหลีเหนือทดลองไปแล้วถึง 5 ครั้ง

เมื่อสิ้นสุดยุคของสงครามเย็น และการลงนามในสนธิสัญญาต่างๆที่ทำให้หลายประเทศหยุดการใช้อาวุธนิวเคลียร์ สื่อและความสนใจของสาธารณชนเริ่มจางลง เราเข้าสู่ยุคที่หลายคนกำลังมีชีวิตอยู่ภายใต้ข้ออ้างเท็จที่ว่าการคุกคามของสงครามนิวเคลียร์เป็นเรื่องในอดีต

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หลายประเทศที่ให้คำมั่นที่จะยุติการใช้อาวุธนิวเคลียร์นั้นยังไม่ได้ทำตามที่ให้คำมั่นไว้

พวกเขาถูกขัดขวางและพบข้อแก้ตัวหรือละเลยอย่างเห็นได้ชัดในความมุ่งมั่นของพวกเขา ผลที่ได้นั้นตายตัว เกือบ 25 ปีหลังจากสิ้นสุดยุคสงครามเย็นนั้นยังคงมีอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 16,300 ชนิด ของจำนวน 98 พื้นที่ใน 14 ประเทศ มี 9 ประเทศยังคงใช้เงินเพื่อรักษาและปรับปรุงคลังแสง แทนที่จะยุติการใช้

เมื่อความจริงถูกเปิดเผย

เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา การใช้ชีวิตโดยเชื่อว่าสนธิสัญญาหยุดใช้อาวุธนิวเคลียร์ยังมีพลังอยู่ได้ถูกทำลายอย่างหมดสิ้น

ดูเหมือนว่าสงครามนิวเคลียร์จะไม่ใช่เรื่องชวนเชื่ออีกต่อไป เมื่อประธานาธิบดีทรัมป์ผู้ซึ่งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของคลังแสงอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ (ซึ่งเชื่อว่ามีหัวรบขีปนาวุธจำนวนถึง 6,800 หัวรบ) ได้ข่มขู่เกาหลีเหนือด้วยวาทะ "ไฟและความเกรี้ยวกราด" ส่วนเกาหลีเหนือได้ข่มขู่ว่าจะโจมตีเกาะกวม ซึ่งเป็นเขตปกครองของสหรัฐฯที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก การโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ดูเหมือนว่ากลายเป็นของแถมในการเจรจาข่มขู่ระหว่างสองประเทศ การคุกคามที่สามารถพูดกันได้ง่ายและดูไร้ความหมาย

เมื่อเหตุการณ์ดำเนินมาถึงจุดนี้ ทำให้ฉันรู้สึกโกรธและความหมดหวัง เราไม่ได้เรียนรู้จากบทเรียนที่ผ่านมาบ้างหรือ? อย่างไรก็ตาม ฉันพยายามที่จะคิดในแง่ดี

นักกิจกรรมกรีนพีซถือป้ายข้อความหน้าสถานทูตเกาหลีเหนือประจำกรุงเบิร์น

เมื่อความจริงถูกเปิดเผย เป็นอีกครั้งที่เราถูกทำให้คิดว่าสถานการณ์ตอนนี้มีความเสี่ยงระดับไหน สถานการณ์ที่เปราะบางเพราะการอยู่ของมนุษย์โลกและอาวุธนิวเคลียร์ที่แพร่หลาย อาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้น นั่นก็คือสงคราม การใช้อาวุธนิวเคลียร์หรือแม้แต่การคุกคามโดยการใช้อาวุธนิวเคลียร์นั้นก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อชีวิตทุกชีวิตบนโลกอันมีค่าของเรา

การแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ในปัจจุบันนั้นชัดเจน คือ การเจรจาต่อรองและการทูต ด้วยวิธีเหล่านี้สามารถนำเราออกมาห่างจากวิกฤตการณ์เหล่านั้น แต่นั่นยังไม่เพียงพอ เราอยากเห็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองยุติการใช้งาน

ในเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้เกิดขึ้นที่องค์การสหประชาชาติในนิวยอร์ก เมื่อประเทศ 122 ประเทศได้ลงนามสนับสนุนสนธิสัญญาห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ฉบับใหม่

ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ สนธิสัญญาห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ฉบับนี้จะเปิดให้ลงนาม ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองและพันธมิตรจำนวนหนึ่งของพวกเขาได้เห็นพ้องร่วมกันคว่ำบาตรสนธิสัญญาฉบับนี้ และได้ทำทุกอย่างที่จะพับการเจรจาครั้งนี้ ซึ่งพวกเขาล้มเหลวในการขัดขวาง การเจรจายังมีขึ้น ถึงอย่างไรก็ตาม การไม่เข้าร่วมประชุมของพวกเขานั้นมีความสำคัญ เพราะว่าถ้าพวกเขาไม่ร่วมลงนาม นั่นหมายความว่าประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครองไม่จำเป็นต้องทำตามสนธิสัญญา

อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญานั้นมีความสำคัญสูงมากที่จะทำให้เห็นว่าการใช้อาวุธนิวเคลียร์ที่ถูกกฎหมายและมีประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศนั้นเป็นไปได้ยาก สนธิสัญญากำหนดเกณฑ์มาตรฐานสำหรับโลกที่อาวุธนิวเคลียร์ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง ไม่ใช่ทางเดินที่ถูกต้อง

ในช่วงเวลาที่การคุกคามจากสงครามกลายเป็นเรื่องที่ถูกจุดประเด็นได้อีกครั้ง รัฐบาลทั่วโลกโลกต้องใช้สนธิสัญญานี้เป็นแรงผลักดันให้เกิดความตระหนักและยกเลิกการทดลองอาวุธนิวเคลียร์

Bunny McDiarmid ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซสากล

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านบทความต้นฉบับได้ที่นี่

ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/60112


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่




Create Date : 30 สิงหาคม 2560
Last Update : 18 ตุลาคม 2560 14:59:00 น. 0 comments
Counter : 7238 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com