กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
เมื่อพลาสติกไม่เพียงแต่ทำลายมหาสมุทร หากยังปล่อยก๊าซเรือนกระจก



บทความ โดย Sarah-Jeanne Royer

Sarah-Jeanne Royer นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาวาย พร้อมทีมวิจัย พบว่าพลาสติกที่กำลังย่อยสลายสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดใหม่ที่ทำลายชั้นบรรยากาศโลก และก๊าซที่เพิ่งค้นพบนี้ไม่ได้รวมอยู่รายชื่อของก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศโลก การปล่อยก๊าซเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพลาสติกมีการผลิตออกมาและเกิดการสะสมในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเริ่มย่อยสลายเมื่อเวลาผ่านไป

ก๊าซเรือนกระจกมีผลกระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น ระบบนิเวศบนบกและในมหาสมุทร พายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง และการกัดเซาะชายฝั่ง พลาสติกส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นจากก๊าซธรรมชาติดังนั้นการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขยะพลาสติกอาจไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยฮาวายเป็นที่แรกที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างก๊าซเรือนกระจกและพลาสติกในสิ่งแวดล้อม


โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลหลักต่อพลาสติกประเภทหนึ่งที่เรียกว่าโพลีเอธิลีน ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำลายสภาพภูมิอากาศสูงที่สุด พลาสติกชนิดนี้สามารถพบได้ทั่วไปในพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งมากที่สุด และเป็นพลาสติกชนิดเดียวกันที่ไหลลงสู่มหาสมุทรและแม่น้ำของเรา ข้อมูลของงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อพลาสติกชนิดนี้แตกตัวในมหาสมุทร ระดับของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นเพิ่มขึ้นมากถึง 488 เท่ามากกว่าเม็ดพลาสติกเม็ดก่อนที่จะถูกผลิตเป็นถุงพลาสติกหรือขวดน้ำพลาสติก

แต่ยังไม่จบเพียงเท่านั้น พลาสติกที่อยู่กล้างแจ้งโดนแสงแดดและลม เช่น บนชายหาด แนวชายฝั่งทะเล ทุ่งหญ้า หรือสนามเด็กเล่น เป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญ ดังนั้นในขณะที่เราต้องปกป้องพลาสติกไม่ให้ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้ว เรายังต้องจัดการกับขยะพลาสติกบนพื้นดินอีกด้วย

งานวิจัยชิ้นนี้มีความหมายอย่างมากต่อการจัดการของเสียรวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันมลพิษจากขยะพลาสติกอยู่ในระดับวิกฤตและเมื่อบวกกับข้อมูลใหม่ชิ้นนี้แล้วทำให้ปัญหาขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว ลองคิดเล่น ๆ ว่าจำนวนขยะพลาสติกที่ถูกพัดขึ้นมาบนชายฝั่ง พร้อมกับปริมาณพลาสติกที่อยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ถึงเวลาเราควรเพื่อปกป้องโลกของเราจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเราจำเป็นต้องหยุดมลพิษจากขยะพลาสติกที่ต้นตอ

หลอดพลาสติกที่เก็บได้จากการทำความสะอาดชายหาดที่เกาะฟรีดอม ประเทศฟิลิปปินส์ © Daniel Müller / Greenpeace

อ่านงานวิจัยเกี่ยวกับพลาสติกและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฉบับคลิกได้ที่นี่

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ อ่านบทความต้นฉบับได้ที่นี่

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/61823


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่




Create Date : 29 สิงหาคม 2561
Last Update : 29 สิงหาคม 2561 14:07:21 น. 0 comments
Counter : 482 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com