รวมมิตรบทความปีนเขา
หวัดดีครับ
ช่วงเดือนนี้ ( พ.ย. )ทีมปีนเขาคนไทย 5 คน กำลังลุยยอดเขาเอเวอร์เรสต์ด้านใต้กันอยู่ วันนี้ก็วันที่ 5/11/50 ตามหมายกำหนดการคาดว่า วันนี้จะต้องถึงแคมป์ที่ 4 ความมันส์กำลังมาเยือนแล้ว เส้นทางเหนือแคมป์ 4 ตื่นเต้นเร้าใจกำลังรอทีมปีนเขาอยู่ ถ้าเห็นว่าอากาศเปิดควรรีบลุยจากแคมป์ 4 ไปเลยดีกว่า ออกจากแคมป์ 4 เร็ว ๆ หน่อยก็ดีนะ ออกประมาณ ห้าทุ่ม ถึง ตี 2 คงถึงยอดสูงสุดไม่ช้าเกินไป ก็ขอให้เฮง ๆ ขึ้นถึงยอดสูงสุดก็แล้วกันนะ

VALERY BABANOV และ SERGEY KOFANOV ขึ้นถึงยอดสูงสุด jannu 7710 เมตร โดยใช้เส้นทางด้านใต้ เวลา 9.30 น. วันที่ 21/10/50 ออกจากแคมป์ 7400 เมตร เวลา 10.00 น. โดยปีนแนวหน้าผาขึ้นไปตรง ๆ เลย เอาแต่พวกเต็นท์กับก๊าชไป ค้างคืนที่แคมป์ 7600 เมตร โดยไม่ใช้ถุงนอน พอถึงเวลา 6 โมงเช้าจึงเริ่มปีนขึ้นไปยอดสูงสุด
ภาพ 2 คู่หูที่พิชิต jannu ได้ในปี 2007

//www.everestnews.com/stories2007/jannu10292007.htm

ข่าวเด็ดอีกชิ้นหนึ่ง นาย Tomaz Humar จากประเทศ สโลเวเนีย โทรศํพท์ผ่านดาวเทียมรายงานกับทาง everestnews.com ว่าได้ปีนแบบลุยเดี่ยวขึ้นไปถึงยอดสูงสุดของ annapurna 1 ( 8091 เมตร ) โดยใช้เส้นทางด้านใต้ ในวันที่ 28/10/50 --- ยอดเขานี้ด้านใต้ มีอันตรายจากเหตุการณ์หิมะถล่ม ถ้าปีนด้านเหนือจะปลอดภัยมากกว่า ---
//www.everestnews.com/everest2008/humar10292007.htm

วันนี้ 7/11/50 ทีมปีนเขาจากประเทศไทย ตอนนี้อยู่ที่แคมป์ 4 คาดว่าคงจะออกจากแคมป์ที่ 4 ในวันนี้ ใครได้มีโอกาสมาเหนือแคมป์ 4 อย่าลืมถ่ายรูป balcony ( นั่งหย่อนใจชมวิวที่ balcony ) , south summit , hillary step , ช่วงสุดท้ายก่อนถึงยอดสูงสุดเก็บไว้หล่ะ อ้อถึงยอดสูงสุดแล้ว ลองเดินลงไปเส้นทางด้านเหนือสักนิดนึงก็ยังดีนะ น่าจะถึงยอดสูงสุดได้ไม่มีปัญหานะ ถ้าผ่าน hillary step ไปได้ก็ไม่น่ามีปัญหา เตรียมตัวถ่ายรูปกันบนยอดสูงสุดได้เลย สู้ต่อไป ขอให้เฮง ๆ เด้อ

ปีนี้เป็นปี ครบรอบ 50 ปี ของยอดเขา broad peak ( ยอเขาสูงอันดับที่ 12 ของโลก )ให้ภาพจาก ยอดสูงสุดของ broad peak ถ่ายวันที่ 12/7/50 จากทีมปีนเขาแบบดับเบิ้ล k2 , broad peak ของประเทศเช็ค


แถมท้ายด้วยภาพจาก ยอดสูงสุด k2 ถ่ายเมื่อวันที่ 20/7/50 นาย libor uher เป็นชาวเช็คคนที่ 2 ที่ขึ้นถึงยอดสูงสุดของเค 2 จ๊าบ ๆ ขึ้นถึงยอดสูงสุดโดยใช้เส้นทาง abruzzi ridge ถือว่าเป็นปีประวัติศาสตร์อีกปีหนึ่งของยอดเขา เค 2 ที่ทำได้สามเส้นทาง ( เส้นทางที่ 2 คือ west face , เส้นทางที่ 3 คือ สันเขาตะวันตกเฉียงเหนือ ) ถ้าทีมจากไทยขึ้นถึงยอดสูงสุดเอเวอร์เรสต์ในปีนี้ก็คงดี มีความหมายดีเหมือนกัน เพราะว่า ตรงกับปีมหามงคล 80 พรรษา , ตรงกับปีประวัติศาสตร์ของเค 2 ทำได้ 3 เส้นทาง และก็ตรงกับปีครบรอบ 50 ปี ยอดเขา broad peak จวนจะเข้าหน้าหนาวแล้ว ตอนนี้ยังไม่มีข่าวทีมไหนจะลุยยอดเขา 8,000 เมตร หน้าหนาว ถ้ามีจะทำลิงค์ให้ในโอกาสต่อไป ปีหน้าหวังว่าคงมีข่าวจากยอดเขา gasherbrum 1 ปี 2008 ครบรอบ 50 ปี ยอดเขานี้ ( ยอดเขาซ่อนแอบเป็นยอดเขาสูงอันดับที่ 11 ของโลก ) เอาไว้เจอกันใหม่โอกาสหน้าครับ

//www.mytendon.com/en/novinky/?link=186

วันที่ 8/11/50 ปีหน้าจะเป็นปีครบรอบ 50 ปี ของยอดเขา gasherbrum 4 ยอดเขาสูงอันดับที่ 17 ของโลก ระดับความสูง 7,925 เมตร ทีมปีนเขาจากอิตาลีขึ้นถึงยอดสูงสุดได้เป็นทีมแรกเมื่อปี 1958 รูปทรงของยอดเขานี้คล้าย ๆ กับยอดเขา เค 2 มันส์ดีเหมือนกันนะ ตอนปี 1958 เขาใช้เส้นทางสันเขาด้านเหนือ นาย Walter Bonatti และก็ นาย Carlo Mauri ขึ้นถึงยอดสูงสุด กลับลงมาจากยอดสูงสุดต้องพักอยู่ที่แคมป์ 6 เพราะว่าเจอกับพายุรุนแรง วันที่พวกเขาปีนกลับลงมายังแคมป์ 5 ( 7,193 เมตร ) ผ่านเส้นทางที่อันตรายมาก สมาชิกคนหนึ่งของทีม นาย Giuseppi de Francesch ได้เกิดตกลงมาจากยอดเขานี้ ทำให้เสียชีวิต ภาพประกอบยอดเขา g 4 ดูแข็งแกร่ง สไตล์เค 2


ขอพาย้อนกลับไปยังยอดเขานี้สมัยปี 1929 ภาพนี้ไปค้นเจอในเว็บ เว็บมันไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ยอดเขา g 4 อยู่ทางด้านซ้าย มันเป็นยอดเขาที่เชื่อมต่อกับ gasherbrum หมายเลขอื่น ๆ อีกหลายหมายเลข ภาพนี้ยังไม่มีใครขึ้นถึงยอดสูงสุดได้ในตอนนั้น ภาพนี้มีขนาดใหญ่ต้องทำลิงค์ออกไปข้างนอก ภาพอยู่ด้านบนสุด
//www.minerva.unito.it/storia/Desio/Desio03.htm

พาทัวร์ไปที่ยอดเขานี้ในปี ครบรอบ 49 ปี ภาพจากเว็บ project-himalaya ยอดด้านบนของ g 4 กำลังเจอกับกระแสลมรุนแรง ภาพนี้ถ่ายสวยดี ถ่ายปี 2007 เพิ่งผ่านมาไม่กี่เดือนนี่เอง ภาพนี้ทีมจากเว็บนี้เขามาปีน gasherbrum 2 แต่ว่าอกหักขึ้นไม่ถึงยอดสูงสุด


พอถึงวันที่ 24/7/50 นาย Mick Parker ที่มาปีนยอดเขา gasherbrum 1 ได้มาขอแจมที่แคมป์ฐาน gasherbrum 2 ของทีม project himalaya ที่มาแจมเพราะว่าทีมของนาย mick ต้องรีบกลับประเทศก่อนเพราะว่าเวลาที่มาปีนเขาหมดแล้ว พอถึงวันที่ 29/7/50 นาย mick ได้ออกลุยยอดสูงสุด g 1 โดยออกจากแคมป์ก่อนตี 2 ทำเส้นทางปีนเขาให้กับทีมจากฮังการี ตลอดเส้นทางจนถึงยอดสูงสุด ใช้เวลาปีนเขาประมาณ 12 ช.ม. บนเส้นทางที่ชันขึ้นไปเรื่อย ๆ และพื้นตามเส้นทางมีลักษณะอันตราย หลาย ๆ ทีมในวันนั้นต้องกลับลงไปเพราะว่า มีนักปีนเขาอยู่คนนึงตกลงจากยอดเขานี้ ทำให้เสียชีวิต นาย mick ปีนไปเรื่อย ๆ จนถึงยอดสูงสุดของ gasherbrum 1 ( ยอดเขาซ่อนแอบ ) ได้สำเร็จ เฮ เฮ ถ้ามองอีกแง่นึง นาย mick มาขโมยซีนทีมปีน g 2 ของทีม project-himalaya แบบเต็ม ๆ เลย เพราะว่ารูปยอดสูงสุดของนาย mick ไปปรากฏอยู่บนเว็บ project-himalaya ฮี่ ฮี่ ภาพประกอบยอดสูงสุดของยอดเขา g 1 ถ่ายสวยสุดยอด ถือเป็นภาพที่เด็ดประจำปีนี้เลยครับ ถ่ายโดย Peter C จาก ฮ้งการี


ภาพนี้ ถ่ายบนยอดสูงสุดของ G 1 ( ยอดเขาสูงอันดับที่ 11 ของโลก ) จะเห็นยอดเขา เค 2 อยู่ตรงกลาง ยอดที่สูงสุดนั้นแหล่ะ ถ้ดจาก เค 2 ไปทางด้านซ้ายก็คือ G 2 , ถัดมาเป็นยอดเขา broad peak กับ G 3 (ไม่แน่ใจตำแหน่งของ 2 ยอดนี้ว่าอันไหนอยู่หน้าอยู่หลัง กลัวเล่าผิด ใครรู้ก็ช่วยบอกหน่อย แต่เดาว่า จี 3 น่าจะอยู่ด้านหน้า, ส่วน broad peak อยู่ด้านหลัง ) แต่ที่แน่ ๆ g 4 จะอยู่ตรงด้านซ้ายเกือบติดขอบ ใตรสนใจยอดเขา g 1 ก็ลองติดตามข่าวได้ในเน็ต ปีหน้ายอดเขานี้ครบรอบ 50 ปี ภาพจากยอดเขานี้ amical.de ก็มีให้ดูนะ ถือว่าเป็นยอดเขาสุดมันส์อีกยอดหนึ่งที่เทือกเขา karakoram ส่งเข้าประกวดประชันความมันส์แข่งกับบรรดายอดเขาจากเทือกเขาหิมาลัย หวัดดีครับ


วันที่ 10/11/50 ปีหน้าจะเป็นปีครบรอบ 50 ปี ของยอดเขา rakaposhi , ประเทศปากีสถาน ตัวเลขความสูง เลขสวยด้วย 7,788 เมตร เป็นยอดเขารูปทรงสวยอีกยอดเขาหนึ่ง ถ้าเปรียบเป็นผู้หญิงก็ต้อง ขาว , หมวย , สวย , น่ารัก ยอดเขานี้สามารถมองเห็นได้จาก karakoram highway ให้ภาพประกอบยอดเขานี้ถ่ายจาก karakoram highway ถ่ายจากด้านเหนือ ( ถ่ายจาก aliabad ) งามหลายเด้อ ภาพยอดเขานี้ปีนไปตามเส้นทางไม่มีในเน็ตเลย ใครรู้ว่าอยู่เว็บไหนก็บอกมาหน่อยนะ คลิกไปดูภาพยอดเขานี้ที่ลิงค์ข้างล่าง
//www.summitpost.org/images/original/141890.JPG
วันที่ 12/11/50 ขอลงภาพยอดเขา gangkhar puensum 7541 เมตร อยู่ตรงแนวพรมแดน bhutan/tibet ถึงปัจจุบันยังไม่มีทีมไหนขึ้นถึงยอดสูงสุดได้ เป็นยอดเขาสูงอันดับที่ 40 ของโลก ถือเป็นยอดเขาสูงที่สุดในโลกที่ยังไม่มีขึ้นไปถึงยอดสูงสุด สวยดีเหมือนกันนะเนี่ย ดูท่าทางจะชันมาก

วันที่ 24/11/50 ฉลองวันลอยกระทง ด้วยข่าวการปีนยอดเขาเอเวอร์เรสต์ของทีมนักปีนเขาจากประเทศไทย ลงในเว็บ everestnews.com เมื่อวันที่ 13/11/50 ตามข่าวบอกว่าขึ้นไปถึง 8,500 เมตร แต่จากช่อง titv บอกว่าถึงแคมป์ที่ 4 ระดับความสูง 7,900 เมตร เดาว่าที่บอกว่าขึ้นไปถึงระดับความสูง 8,500 เมตร คงหมายถึงพวก sherpa ปีนขึ้นไปล่วงหน้าก่อนมั้ง หรือไม่ก็ข่าวที่ลงในเว็บ everestnews.com ลงข้อมูลผิด ใครรู้ข้อเท็จจริงก็ช่วยบอกหน่อยเด้อ

The Thai Everest Expedition reached up to 8500 meters and turned back. Now they are on the way back to Kathmandu. They were supported by sherpas climbers. Overall a good effort from the Thai Team! The Thai expedition is celebrating the 80th birthday of The King of Thailand.
//www.everestnews.com/everest2007/thiaeverest09132007.htm
วันที่ 28/11/50 ข่าวฮ๊อตจาก nanga parbat นักปีนเขาชาวอิตาลี Simone La Terra กับนักปีนเขาชาวปากีสถาน Mehrban Karim ( เคยขึ้นถึงยอดสูงสุด nanga parbat ปี 2005 ) ทั้ง 2 คนนี้จะปีนยอดเขานี้ในช่วงหน้าหนาวโดยใช้เส้นทาง diamir face เริ่มลุย nanga parbat วันที่ 21/12/50
ภาพชุดปีนยอดเขา annapurna แบบโซโล ปี 2007 ของนาย Tomaz Humar เผยโฉมออกมาแล้ว ลงให้สัก 2 ภาพก็แล้วกัน ภาพนี้เป็นเส้นทางสู่ยอดสูงสุดด้านตะวันออกของ annapurna ด้านตะวันออก ตามเส้นสีแดง

ภาพนี้นาย Tomaz Humar ถ่ายตรงก่อนจะถึงยอดสูงสุดของ annapurna มียอดเขา dhualagiri กับ ยอดเขา niligiri อยู่ด้านหลังซ้ายมือ

//www.russianclimb.com/humar_annapurna.html
Russian Mountaineering Federation มอบรางวัลอันดับที่ 1 ให้กับ Piolet D'Or จากการปีนยอดเขาเค 2 เส้นทาง direct west face ( เป็นเส้นทางใหม่ ) รางวัลอันดับที่ 2 ได้แก่การปีนยอดเขา jannu สันเขาด้านตะวันตก นาย Babanov และ Kofanov ได้รับรางวัล ส่วนรางวัลที่ 3 ได้แก่การปีน ยอดเขา shingu charpa
ภาพประกอบเส้นทางการปีน janna สันเขาด้านตะวันตก ที่ใช้ในการปีนปี 2007

//www.russianclimb.com/russian_piolet_2007.html

วันที่ 4/12/50 วันนี้ขอเสนอบทความการปีนยอดเขา saramati 3825 เมตร ต้อนรับวันที่ 5/12/50 เป็นยอดเขาสูงอันดับ 1 ของเทือกเขา arakan yoma ตั้งอยู่ระหว่างแนวชายแดนรัฐ sagaing , พม่า กับ nagaland , อินเดีย มีการปักหลักแนวชายแดนหมายเลข 138 ไว้ใกล้ ๆ ยอดสูงสุดด้วย ผมว่ายอดเขานี้มันเป็นเหมือนคนเฝ้ายามให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นยอดเขาที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ปีนเขาเพิ่มเติม เพียงแต่เดินขึ้นไปเท่านั้น ผ่านป่าหนาทึบตามแนวชายแดน เป็นยอดเขาอีกยอดนึงที่น่าลอง ลองอ่านรายละเอียดดูตามบทความข้างล่างนี้

ผู้พิทักษ์แห่งดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือ
โดย hpone thant
“มันน่าชื่นใจจริง ๆ เลยครับ มันเป็นความรู้สึกที่โครงการทำได้สำเร็จ พวกเราหวังอยู่เสมอว่าจะต้องกลับไปยังยอดเขา saramati และในตอนนี้พวกเราก็ได้ทำมันสำเร็จแล้ว” ศ.ดร. paing soe , ประธานของ the Myanmar hiking & mountaineering federation ( MHMF) เขามีแต่รอยยิ้มในขณะที่เขาได้เล่าประสบการณ์ของเขาในการเดินทางไปยังยอดเขา saramati เมื่อเร็ว ๆ นี้
ยอดเขา saramati หรือ ยอดเขา new mauk taung ตามที่ชาวบ้านท้องถิ่นเรียกชื่อยอดเขานี้ , มันตั้งอยู่บนแนวชายแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า , อยู่ตรงมุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐ sagaing , มันมีระดับความสูง 12,553 ฟุต ( 3,825 เมตร ) และยอดสูงสุดวางตัวอยู่ในดินแดนของประเทศพม่า ถูกทำเครื่องหมายโดยหลักเขตหมายเลข 138 ที่เป็นตัวกำหนดแนวชายแดนซึ่งอยู่ห่างออกไปจากยอดสูงสุดเพียงเล็กน้อย
หลักเขตแนวชายแดนอันนี้ได้สร้างขึ้นมาในปี 1971 โดยทีมกำหนดแนวชายแดนร่วมของประเทศพม่า – อินเดียนำโดย พันเอก hla aung , นอกจากนั้นก็ยังมีอธิบดีกรมสำรวจและก็เป็นหน่วยงานของชาวอินเดียที่สนับสนุนเขาด้วย และนั้นก็เป็นครั้งสุดท้ายที่คนได้ขึ้นไปถึงยอดสูงสุดของยอดเขานี้จากทางด้านประเทศพม่า และมันก็ไม่ใช่การเดินเขาที่ง่ายๆด้วยที่จะเดินเขาผ่านป่าบริสุทธิ์ที่หนาทึบ
สหพันธ hiking & mountaineering ประเทศพม่า มีความต้องการมาอย่างยาวนานแล้วที่จะทำซ้ำอย่างนี้อีกแต่เนื่องจากกรณีแวดล้อมต่าง ๆมากมายที่ไม่ได้คาดล่วงหน้าเอาไว้ได้เกิดขึ้นมาแผนการเดินทางจึงถูกเก็บเข้าลิ้นชักไป แต่ว่าในตอนนี้ด้วยการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพของหน่วยงาน ngo ท้องถิ่นมากมายหลายหน่วยงาน , MHMF มีความพร้อมที่จะจัดการกับเป้าหมายที่ยากที่จะอธิบายแห่งนี้ด้วยความช่วยเหลือของเหล่าสมาชิกที่เป็นนักศึกษาจากสาขาของสหพันธที่เมือง mandalay และการสนับสนุนจากบริษัทห้างร้านเชิงพาณิชย์หลายแห่ง
การเดินทางมีการนำโดย ดร. Paing soe , ประธานของสหพันธ hiking & mountaineering ประเทศพม่า และ maj.kang khang mong , รองประธานของสหพันธ ; ทีมการเดินทางประกอบไปด้วยสมาชิก 31 คน “ ทีมนั้นประกอบขึ้นมาจากเหล่าสมาชิกของ MHMF , นักศึกษาจากสหพันธสาขาเมือง mandalay และก็นักปีนเขาชาวต่างประเทศ 2 คน , ” ดร. Paing soe กล่าวกับเรา
“สิ่งที่น่าสังเกตก็คือมีเด็กผู้หญิงชาวพม่า 15 คนอยู่ในทีมเดินทางรวมกับนักปีนเขาชาวต่างประเทศที่เป็นสุภาพสตรีอีก 1 คน, เขาได้กล่าวต่ออีกว่า “ดังนั้นจากสมาชิกของคณะเดินทาง 31 คน , 16 คนเป็นผู้หญิง!”
เริ่มต้นออกเดินทางจากเมือง mandalay โดยเครื่องบินในวันที่ 17 ก.พ. ทีมเดินทางได้เดินมาถึง hkamti ในวันเดียวกัน เช้าตรู่ของวันถัดไปเรือก็ได้พาทีมเดินทางล่องไปตามแม่น้ำ chindwin ไปยัง htamathi
“เรื่องราวของมนุษย์ที่กลายเป็นเสือมันเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า ?” หนึ่งในเหล่านักศึกษาต้องการที่จะรู้ htamathi นั้นเป็นที่ขึ้นชื่อกระฉ่อน , หรือว่าจะเป็นสถานที่ๆ มีชื่อเสียง , มันก็ขึ้นอยู่กับความลึกซึ้งของคุณ , ในขณะที่มันเป็นสถานที่ ๆ มีเสืออาศัยอยู่ อย่างไรก็ตาม , มันก็ยังคงไม่ใช่จุดหมายปลายทางสำหรับเหล่าสมาชิกคณะเดินทางในครั้งนี้และก็ไม่มีเวลาที่จะมาสืบสวนเข้าไปยังเรื่องราวเหล่านี้ด้วย
เดินทางมาถึง htamathi ตอนเวลาประมาณ 16.00 น. รถสองคันกำลังคอยอยู่เพื่อที่จะพาคณะเดินทางไปยัง layshi , ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในบริเวณพื้นที่ชนบท naga ถนนที่มุ่งไปยัง layshi มีระยะทางประมาณ 56 ไมล์ ( 89.6 ก.ม. )และถูกโอบล้อมด้วยแนวหน้าผาเกือบจะเป็นแนวตั้งในด้านหนึ่งโดยมีโตรกผาลึกอยู่อีกด้านหนึ่ง เมื่อการเดินทางเริ่มต้นออกเดินทางไปตามถนนมันถึงเวลาประมาณ 18.00 น. แล้ว มีคนตลกอยู่คนนึงในกลุ่มไม่สามารถช่วยอะไรได้นอกไปเสียจากล้อเพื่อนคนอื่น ๆ “ เฮ้ย คุณก็รู้นี่ถนนที่นี่ที่ได้ตัดผ่านแนวเทือกเขาซึ่งเขาเรียกกันว่า myauk chaw le taung ( ภูเขาที่แม้แต่ลิงก็ยังลื่นเลย ) , พวกเขาอาจจะตั้งชื่อเทือกเขานี้ก็เพราะคุณก็ได้นะ ! ”
ดวงจันทร์สว่างไสวแขวนอยู่กับเหล่าหมู่ดาวเป็นประกายนับล้านดวงท่ามกลางท้องฟ้าสีหมึกดำ , ในขณะที่วันนั้นเป็นวันแรกหลังจากวันพระจันทร์เต็มดวง tabodwe ( เดือนกุมภาพันธ์ ) แต่ว่าสมาชิกคณะเดินทางนั้นเหนื่อยเกินไปที่จะมาสังเกตดวงจันทร์ ; สมาชิกคณะเดินทางนอนสลบเหมือบ , หมดแรงหลังจากการเดินทางตลอดทั้งวัน ทีมเดินทางได้เดินทางมาถึง layshis หลังเที่ยงคืนเล็กน้อยซึ่งที่นั้นเจ้าหน้าที่หลายคนกำลังรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ
หลังจากสองวันของการวางแผนการเดินทางอย่างเอาใจใส่ การเดินทางก็พร้อมแล้วที่จะเริ่มต้นโครงการในครั้งนี้ “พรุ่งนี้พวกเราจะเริ่มต้นการเดินทางของเรา” , ดร. Paing soe กล่าวกับสมาชิกสั้น ๆ ก่อนที่พวกเขาจะเข้านอน “ พรุ่งนี้เป็นวันประวัติศาสตร์สำหรับ MHMF ยอดเขา saramati พิชิตได้ครั้งสุดท้ายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1971 โดย พันเอก hla aung ซึ่งต่อมาเขาได้เป็นประธานของสหพันธ ดังนั้นเป็นเวลามากกว่า 30 ปีมาแล้วที่ยอดเขา saramati ไม่ได้ถูกพิชิตโดยคนที่เดินทางมาจากประเทศพม่า และพวกเราก็จะเป็นคนกลุ่มแรกที่จะทำอย่างนั้น ” หลังจากการกล่าวอย่างห้าวหาญในครั้งนั้นทุก ๆ คนก็พร้อมที่จะพบกับความท้าทายทั้งหมด
เสียงแตรปลุกแต่เช้าตรู่ในวันที่ 21 ก.พ. หลังจากที่ได้เขมือบอาหารเช้าที่เป็นข้าวผัดพร้อมด้วยชาเขียวร้อน ๆ กันอย่างเร่งรีบ การเดินทางก็เริ่มต้นออกเดินทางไป จากตรงจุดนี้ต่อไปจะเป็นการเดินและก็เดิน !! จุดหมายปลายทางสำหรับวันนี้ก็คือ หมู่บ้าน amimi , ตั้งอยู่ที่ระดับความสูงมากกว่า 3,900 ฟุต
หน่วยสอดแนมที่ได้ส่งออกไปล่วงหน้าได้รายงานมาว่า “ saya , ( ครู ) สะพานที่ข้ามลำห้วย nantalat ไม่ปลอดภัย พวกเราจะต้องใช้แพต้นไผ่เพื่อที่จะข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ” ต้นไผ่ได้ถูกตัดและประกอบเป็นแพอย่างคร่าว ๆ เพื่อที่จะขนสมาชิกไปยังตลิ่งอีกฝั่งหนึ่งและเวลาประมาณ 16.00 น. สมาชิกทั้งหมดก็ได้เดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง amimi , ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่อาศัยโดยชนเผ่า lonpuri naga และมีกระท่อมอยู่ที่นี่เพียง 11 หลังเท่านั้น
หลังจากวันแรกสมาชิกคณะเดินทางก็เคยชินอย่างรวดเร็วในจังหวะของการเดิน เริ่มออกเดินทางกันแต่เช้าตรู่โดยที่มีการหยุดพักกินข้าวเที่ยงและพักค้างคืนกันที่หมู่บ้านชาว naga หรือพักกันตรงตำแหน่งที่ตั้งซึ่งเป็นที่ ๆ สะดวกต่อการหาน้ำมาใช้จนกลายเป็นภารกิจประจำวันที่ต้องทำ หมู่บ้าน mathawyi ซึ่งอยู่อาศัยโดยชาว makuri nagas คือจุดหมายปลายทางสำหรับวันที่สอง หมู่บ้านนี้ก็ยังคงตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ ระดับความสูงประมาณ 3,000 ฟุต และมีกระท่อมอยู่ประมาณ 25 หลัง
สำหรับคืนถัดไปนั้นการเดินทางได้หยุดพักกันที่หมู่บ้าน latte ซึ่งตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 5,250 ฟุต มันเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ , มีกระท่อมอยู่เพียง 6 หลังเท่านั้นและก็ยังคงอยู่อาศัยโดยชาว makuri nagas
เด็กผู้หญิงซึ่งเป็นสมาชิกของคณะเดินทางได้ถามขึ้นมาในระหว่างที่กำลังเหนื่อยหอบ , “ทำไมหมู่บ้านเหล่านี้ทั้งหมดจะต้องตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ๆ ด้วยหล่ะ ? ” ชาว nagas โดยปกติแล้วจะสร้างหมู่บ้านของพวกเขาให้อยู่บนพื้นที่สูงเพื่อที่จะทำให้หมู่บ้านเข้าไปถึงไม่ได้และเพื่อที่จะป้องกันคนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจากเหล่าศัตรูที่มาปล้นขโมย ; ธรรมเนียมปฏิบัติอย่างนี้ได้มีการปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้ latte เป็นหมู่บ้านสุดท้ายที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการเดินทางและดินแดนที่อยู่ไกลออกไปจากหมู่บ้านนี้มีการใช้พื้นที่นาน ๆ ครั้งและบริเวณพื้นที่ ๆ ใช้งานนั้นก็จะกลับคืนสู่สภาพที่เป็นธรรมชาติของมัน สมาชิกของทีมเดินทางจำเป็นที่จะต้องใช้มีดขนาดใหญ่เพื่อที่จะฟันพวกไม้เถาและก็ไม้เลื่อยที่ล่วงล้ำทางเดินแคบ ๆ ให้พ้นออกไป จากหมู่บ้าน latte การเดินทางออกไปก็ยังคงมีการหยุดพักค้างคืนกันในป่าเหมือนกัน
จากหมู่บ้าน latte ทีมเดินทางมุ่งตรงไปยังลำธาร khavakazu มันก็ยังคงเป็นการเดินเขาตลอดทั้งวัน เดินทางมาถึงจุดหมายปลายทางตอนเวลาประมาณ 17.00 น. เพียงเท่านั้น พวกเขาตัดสินใจที่จะตั้งแคมป์พักค้างคืนกันที่นี่ในขณะที่น้ำนั้นหามาใช้ได้อย่างง่าย ๆ ถึงแม้ว่าแหล่งน้ำมันจะอยู่ ณ ระดับความสูง 4,900 ฟุต ในวันถัดไปพวกเขาได้ข้ามเหนือสันเขาสูงซึ่งได้กะประมาณว่ามันจะต้องมีความสูงมากกว่า 5,900 ฟุต ก่อนที่จะเดินทางมาถึงลำธาร tishiti เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น.
จากแคมป์ลำธาร tishiti ไปยัง ไปยังแคมป์ลำธาร katha wong thi เป็นการเดินเขากันตลอดทั้งวันอีกวันหนึ่งซึ่งเป็นการเดินเขาไปตามเส้นทางที่ชันมาก ๆ และเป็นเส้นทางที่ไม่รู้จัก ในบางครั้งต้องตะกายไปเหนือบริเวณที่เราเกาะยึดที่มีลักษณะลื่น , บางครั้งก็คว้าเอาต้นไม้เล็ก ๆ เพื่อที่จะดึงตัวเองขึ้นไป , สมาชิกคณะเดินทางทุกคนได้ออกแรงใช้พลังงานกันอย่างเต็มที่ , ได้เดินทางมาถึงจุดหมายปลายทางในเวลาประมาณ 17.00 น. ลำธาร katha wong thi ยังคงเรียกกันอีกว่าลำธาร shumi taung และตั้งอยู่ ณ ระดับความสูง 9,000 ฟุต และที่นี่ความยุ่งเหยิงก็ได้เกิดขึ้นมา , ดร. Paing soe ได้เล่าให้ฟังว่า “นักเดินเขาของเราได้มาบอกกับเราว่าพวกเขาไม่เคยเดินเขาไปไกลกว่าจุดนี้และพวกเขาก็ไม่รู้จักเส้นทางด้วย พวกเราได้ล้อมวงเข้าหากันเพื่อปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นมาในเวลาฉุกเฉินและมันก็มีการตัดสินใจที่จะส่งทีมเดินทางออกไปล่วงหน้าเพื่อที่จะค้นหาเส้นทางบริเวณรอบ ๆ ยอดเขา shumi , ซึ่งมันอยู่สูงขึ้นไปเหนือจากจุดที่พวกเราพักอยู่ ณ ระดับความสูงมากกว่า 10,000 ฟุต มันก็ยังคงมีการตัดสินใจที่จะกำหนดให้แคมป์ katha wong thi แคมป์นี้เป็นแคมป์ฐานของการเดินทางในครั้งนี้และการจู่โจมขึ้นไปบนยอดเขา saramati จะเริ่มต้นกันในวันพรุ่งนี้
ดร. Paing soe ได้จัดให้มีการกล่าวสรุปเป็นครั้งสุดท้ายในเย็นวันนั้น , “พรุ่งนี้พวกเราจะเริ่มต้นการจู่โจมของเราขึ้นไปบนยอดเขา saramati ในขณะที่คุณก็รู้นี่ยอดสูงสุดของยอดเขานี้ไม่มีใครเคยขึ้นไปถึงเป็นระยะเวลามากกว่า 30 ปีมาแล้ว กรุณาปฏิบัติตามหลักการและกฏข้อบังคับของการปีนเขาที่ปลอดภัยทั้งหมดและผมก็ขอให้พวกคุณประสบความสำเร็จ”
ในวันที่ 27 ก.พ. ปี 2003 มีการรื้อแคมป์เสร็จสิ้นกันตอน 8.00 น. และการจู่โจมขึ้นไปบนยอดเขา saramati ก็ได้เริ่มต้นขึ้น
ณ ระดับความสูง 10,000 ฟุต มีการเผชิญหน้ากับทุ่งหิมะเป็นแห่งแรก พวกเขาเดินทางกันต่อไปอย่างไม่ท้อถอย และ ณ ระดับความสูง 11,000 ฟุต ก็ได้พบกับบริเวณพื้นที่ ๆ โล่งเตียนปลอดจากหิมะและน้ำแข็งและก็เหมาะสมที่จะทำการตั้งแคมป์ด้วย น้ำก็ยังคงหามาใช้ได้โดยการละลายน้ำแข็ง พวกเขาได้ตั้งชื่อตรงบริเวณนี้ว่า yegai sut sakhan ( แคมป์ที่ตั้งอยู่บนขอบของน้ำแข็ง )
“ในขณะที่สมาชิกคณะเดินทางในส่วนที่เหลือ ( ทีมที่เดินทางออกไปล่วงหน้าจากแคมป์ katha wong thi เพื่อที่จะค้นหาเส้นทางบริเวณรอบ ๆ ยอดเขา shumi ) ได้ตั้งแคมป์ u thet tun ขึ้นมา , ผู้บรรยายทางด้านเทคนิคจาก MHMF , ได้อาสาสมัครที่จะนำทีมออกเดินทางไปและก็ค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุดขึ้นไป ” , ดร. Paing soe ได้อธิบายเอาไว้ว่า , “มันเป็นเวลาอันยาวนานตามที่ได้กล่าวเอาไว้แล้วที่ยังไม่มีใครปีนขึ้นไปบนยอดเขา saramati ( ปีนจากทางด้านประเทศพม่า ) และพันเอก hla aung และคณะเดินทางของเขาได้ปีนขึ้นไปจนถึงยอดสูงสุดของยอดเขานี้จากเส้นทางที่แตกต่างกันมากครั้งกว่าเส้นทางที่พวกเรากำลังเดินทางกันอยู่ ดังนั้นมันจึงเป็นความรอบคอบเลยทีเดียวหล่ะที่เส้นทางการปีนที่ดีที่สุดจะต้องถูกค้นพบ”
ในขณะที่สมาชิกของคณะเดินทางในส่วนที่เหลือกำลังคอยการกลับมาของกลุ่มหน่วยสอดแนม สภาพอากาศที่แคมป์นี้ ( แคมป์บนขอบของน้ำแข็ง ) เปลี่ยนกลายมาเป็นสภาพอากาศที่หนาวมาก ๆ หิมะได้เริ่มที่จะตกลงมาและอุณหภูมิได้ลดลงไปถึง –7 องศาเซลเซียส Maj. Kang Khang Mong ได้กล่าวเพิ่มอีกว่า “นักปีนเขาที่เป็นนักศึกษาทั้งหมดนั้นเป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและก็มาจากเมือง mandalay ที่มีสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งพวกเขาไม่เคยเห็นเกล็ดหิมะมาก่อน ! บางคนคิดว่าเกล็ดหิมะนั้นเป็นเถ้าถ่านที่มาจากกองไฟที่สุมอยู่กลางแจ้งจนกระทั้งพวกเขาได้เห็นเกล็ดหิมะกำลังละลายอยู่บนเสื้อผ้าของพวกเขา”
“ลุกขึ้นมาและก็ทำตัวให้แจ่มใสเพื่อการเดินทางในครั้งนี้ซึ่งเป็นวันที่สำคัญ” นักศึกษาที่กระปี้กระเปร่ารายหนึ่งจากเมือง mandalay ได้ร้องตะโกนเรียกปลุกให้ตื่นขึ้นมาตอนเช้าด้วยเสียงที่ดังสุดขีดของเขาในเช้าวันถัดไป ( เช้าวันที่ 28 ก.พ. 2003 ) ทุก ๆ คนได้ดิ้นรนออกมาจากดินแดนแห่งความฝันและชั่วพริบตาเดียวพวกเขาก็พร้อมที่จะออกเดินทาง เริ่มต้นออกเดินทางไปตั้งแต่เช้าตรู่ นักปีนเขากลุ่มแรกเดินทางถึงยอดสูงสุดของยอดเขา saramati ตอนเวลา 8.30 น. และก็ตามมาด้วยทีมปีนเขาในส่วนที่เหลือ ทุก ๆ คนมีจิตใจที่คึกคะนอง “ เดินทางมาที่นี่ , เพื่อที่จะมาดูหลักเขตแนวชายแดนที่ถูกติดตั้งโดยคณะเดินทางของพันเอก hla aung ” สมาชิกอีกคนหนึ่งของทีมปีนเขาตะโกนออกมา เหล่าสมาชิกของคณะเดินทางในครั้งนี้ได้พบหลักเขตแบ่งแนวชายแดนที่ถูกติดตั้งโดยพันเอก hla aung และก็มีการกดชัตเตอร์กันในขณะที่สมาชิกทีมปีนเขาทั้งหมดมารวมตัวอยู่รอบ ๆ หลักเขตเพื่อที่จะทำการถ่ายรูปกันเป็นที่ระลึก
แนวเทือกเขาแผ่ขยายออกไปไกลเท่าที่สายตาจะสามารถมองเห็นได้ในทางด้านทิศตะวันตก อย่างไรก็ตามสมาชิกคณะเดินทางไม่สามารถที่จะอยู่บนยอดสูงสุดได้เป็นเวลานานในขณะที่อุณหภูมิได้ลดต่ำลงไปถึง – 11 องศาเซลเซียสและเริ่มมีกระแสลมที่พัดอย่างรุนแรงมากเกิดขึ้นมา หลังจากที่ได้ปักธง union และธงอื่น ๆ ขององค์กรต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเดินทางในครั้งนี้แล้ว , ทีมปีนเขาได้ออกเดินทางจากยอดสูงสุดตอนเวลา 9.15 น. และหลังจากที่กินมื้อกลางวันอย่างเร่งรีบที่แคมป์ yegai sut sakhan ( แคมป์บนขอบของน้ำแข็ง ) ทีมปีนเขาได้เดินทางกลับมาถึงแคมป์ฐาน katha wong thi ตอนเวลา 13.30 น.
จากแคมป์ katha wong thi มันเป็นการเดินทางกลับไปในเส้นทางที่พวกเขาเดินทางมาไปยัง layshi และหลังจากนั้นก็ไปยัง htamanthi
แต่แทนที่จะเดินทางกลับไปยัง hkamti และก็บินออกไปจากที่นั้น , มีการตัดสินใจที่จะล่องเรือไปตามแม่น้ำ chindwin ไปยัง monywa โดยผ่าน phaungbyin , mawlaik และ mingin และหลังจากนั้นจะต้องขับรถไปยังเมือง mandalay ออกเดินทางจาก htamanthi โดยเรือในวันที่ 6 มีนาคม 2003 พวกเขาเดินทางถึงเมือง monywa ในช่วงเช้าของวันที่ 8 มีนาคม 2003 เพราะว่าการขาดแคลนน้ำที่อยู่บนภูเขาและเพื่อที่จะป้องกันอุบัติเหตุอันไม่จำเป็นระหว่างการเดินทางล่องเรือจึงไม่มีใครได้รับอนุญาติให้ว่ายน้ำในแม่น้ำ และดังนั้นเมื่อพวกเขาเดินทางมาถึง monywa สมาชิกคณะเดินทางเพิ่งจะสามารถอาบน้ำชำระล้างร่างกายของพวกเขา , หลังจากที่ไม่ได้อาบน้ำมา 21 วัน มีการเปลี่ยนการเดินทางไปเป็นรถยนต์หลังจากนั้นพวกเขาก็เดินทางไปตามเส้นทางของพวกเขาต่อไปยังเมือง mandalay และก็เดินทางกลับมายังเมือง mandalay ได้อย่างปลอดภัยในตอนเย็นของวันเดียวกัน ( วันที่ 8 มีนาคม 2003 )
“พวกเราสามารถที่จะกล่าวได้ว่าการเดินทางไปยังยอดเขา saramati ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ , ไม่เพียงสำหรับ MHMF เท่านั้นแต่ยังคงเป็นความสำเร็จสำหรับประเทศชาติทั้งหมดด้วย การได้เห็นธง union ของเราสะบัดไปมาอยู่ในกระแสลมทำให้หัวใจของคุณเต้นเร็วขึ้นกว่าเดิมและทำให้เรามีความภูมิใจเป็นอย่างมากเลยจริง ๆ พวกเราอยากที่จะขอบคุณสปอนเซอร์ของเราทั้งหมดและทุกๆคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้ที่ได้ช่วยเหลือเราอย่างมีเมตตาเพื่อที่จะทำให้การพิชิตยอดเขา saramati ในครั้งนี้มีความเป็นไปได้ รวมทั้งหมด 47 คนด้วยกันที่เดินทางไปถึงยอดเขา saramati ในจำนวนนี้ได้รวมถึงสมาชิกของสหพันธ์ 31 คน , พนักงานรักษาความปลอดภัย 5 คน , ลูกจ้างของทางรัฐบาล 3 คนจาก layshi บวกกับคนช่วยเหลืออีก 8 คน,” ดร. Paing soe ได้กล่าวเป็นความเห็นเอาไว้ และยอดเขา saramati ก็ยังคงที่จะยืนเป็นคนเฝ้ายามอย่างซื่อสัตย์ตรงแนวพรมแดนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเราต่อไป
คำกล่าวแสดงการเห็นคุณค่า : ผู้เขียนอยากที่จะขอบคุณ ศ.ดร. paing soe ( ประธานของ Myanmar hiking & mountaineering federation ) , พันตรี kang khang mong ( รองประธานของ MHMF ) สำหรับการแบ่งปันประสบการณ์และความประทับใจของพวกเขาจากการเดินทางไปยอดเขา saramati และการทำให้บทความนี้เกิดขึ้นมาได้ MHMF และ นาย Gerald Schreiber ที่ยังคงให้ความกรุณาจัดหาเครื่องสไลด์สีมาให้
Hpone 77Jant ( เป็นผู้ที่เขียนบทความนี้ ) ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความประจำให้กับทางนิตยสาร Enchanting Myanmar Travel และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณีและธรรมชาติของประเทศ สามารถที่จะติดต่อไปหาเขาได้ที่ : harry@swiftwinds.com.mm
.สรุปการเดินทางไปยอดเขา saramati
17 ก.พ. 2003 ออกเดินทางจากเมือง mandalay ไปยัง hkamti โดยเครื่องบิน
18 ก.พ. 2003 ออกเดินทางตั้งแต่เช้าตรู่ล่องเรือไปตามแม่น้ำ chindwin ไปยัง htamanthi ถึง htamanthi เวลาประมาณ 16.00 น. ประมาณ 18.00 น. ออกเดินทางจาก htamanthi โดยรถยนต์ไปยัง layshi . ( ระยะทาง 56 ไมล์เป็นถนนผ่านหน้าผาสูงและก็โตรกผา ) ถึง layshi ตอนหลังเที่ยงคืนเล็กน้อย
19 – 20 ก.พ. 2003 วางแผนการเดินทางอยู่ที่ layshi
21 ก.พ. 2003 ออกเดินเท้าจาก layshi ในช่วงเช้าไปยังหมู่บ้าน amimi ( หมู่บ้านตั้งอยู่ ณ ระดับความสูงมากกกว่า 1,188 เมตร ) ผ่านห้วย nantalat ต้องดูสถานการณ์ด้วยว่าสะพานข้ามห้วยมันพังหรือเปล่า ? ถึงหมู่บ้าน amimi ตอนประมาณ 16.00 น.
22 ก.พ. 2003 ออกเดินเท้าในช่วงเช้าจากหมู่บ้าน amimi ไปยังหมู่บ้าน mathawyi เป็นหมู่บ้านอยู่บนภูเขาสูง ระดับความสูง 914 เมตร
23 ก.พ. 2003 ออกเดินเท้าในช่วงเช้าจากหมู่บ้าน mathawyi ไปยังหมู่บ้าน latte เป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ ณ ระดับความสูง 1,600 เมตร หมู่บ้าน latte เป็นหมู่บ้านสุดท้ายที่อยู่ในเส้นทาง
24 ก.พ. 2003 ออกเดินเท้าในช่วงเช้าจากหมู่บ้าน latte ไปยังแคมป์ลำธาร khavakazu ถึงแคมป์ลำธาร khavakazu ตอนประมาณ 17.00 น. เป็นแคมป์ที่ตั้งอยู่ ณ ระดับความสูง 1,493 เมตร
25 ก.พ. 2003 ออกเดินเท้าในช่วงเช้าจากแคมป์ลำธาร khavakazu ข้ามแนวสันเขาสูง ระดับความสูงของสันเขามากกว่า 1,798 เมตร ไปยังแคมป์ลำธาร tishiti ( ไม่ได้ระบุความสูงของแคมป์ ) ถึงแคมป์ลำธาร tishiti ตอนประมาณ 17.00 น.
26 ก.พ. 2003 ออกเดินเท้าในช่วงเช้าจากแคมป์ลำธาร tishiti ผ่านเส้นทางเดินที่ชันมากและเป็นเส้นทางเดินที่ไม่รู้จัก ถึงแคมป์ลำธาร katha wong thi ( หรือเรียกอีกอย่างว่าแคมป์ลำธาร shumi taung ) ตอนประมาณ 17.00 น. เป็นแคมป์ที่ตั้งอยู่ ณ ระดับความสูง 2,743 เมตร จากแคมป์นี้นักเดินเขาชาวพม่าไม่เคยเดินไปไกลจากแคมป์นี้ มีการกำหนดให้แคมป์ลำธาร katha wong thi เป็นแคมป์ฐานสำหรับการปีนยอดเขา saramati เดาว่ามีการส่งทีมปีนเขาออกเดินทางล่วงหน้าไปในช่วงเย็นวันที่ 26 ก.พ. 2003 ออกเดินทางไปค้นหาเส้นทางรอบ ๆ ยอดเขา shumi เป็นการหาเส้นทางขึ้นไปด้านบนของยอดเขา saramati ทีมที่ถูกส่งไปหาเส้นทางทำการตั้งแคมป์ u thet tun ไม่ได้ระบุความสูงของแคมป์นี้

27 ก.พ. 2003 ออกเดินเท้าจากแคมป์ katha wong thi ตอน 8.00 น. ผ่านทุ่งหิมะซึ่งตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 3,048 เมตร ไปยังแคมป์ yegai sut sakhan แปลชื่อบริเวณนี้ได้ว่า แคมป์บนขอบของน้ำแข็ง เป็นบริเวณพื้นที่โล่งที่ปลอดจากหิมะและน้ำแข็ง ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 3,352 เมตร เดาว่าในวันนี้ตอนช่วงบ่าย ๆ – ถึงเย็น ๆ ทีมปีนเขาที่ตั้งแคมป์อยู่ที่แคมป์บนขอบน้ำแข็งได้รอการกลับมาของทีมปีนเขาที่ถูกส่งไปหาเส้นทางล่วงหน้าที่เดิน-ทางกลับมาจากแคมป์ u thet tun ตอนที่รอมีอุณหภูมิติดลบ 7 องศาเซลเซียส
28 ก.พ. 2003 ออกเดินเท้าจากแคมป์บนขอบของน้ำแข็งกันตั้งแต่เช้าตรู่ โดยแบ่งทีมปีนเขาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกปีนถึงยอดสูงสุดของยอดเขา saramati ตอนเวลา 8.30 น. กลุ่มที่สองถึงยอดสูงสุดหลังจากกลุ่มที่ 1 ไม่นานนัก อุณหภูมิบนยอดสูงสุดติดลบ 7 องศาเซลเซียสและมีกระแสลมพัดแรงมาก ทีมปีนเขาออกเดินทางจากยอดสูงสุดตอนเวลา 9.15 น. แวะกินข้าวกลางวันที่แคมป์บนขอบของน้ำแข็ง และเดินทางกลับมาถึงแคมป์ฐาน katha wong thi ตอนเวลา 13.30 น.
วันที่ 6 มีนาคม 2003 ล่องเรือกลับไปตามแม่น้ำ chindwin ไปยังเมือง monywa
ถึงเมือง monywa ตอนช่วงเช้าของวันที่ 8 มีนาคม 2003 แล้วก็อาบน้ำที่เมืองนี้หลังจากนั้นก็ต่อรถไปยังเมือง mandalay โดยถึงเมือง mandalay ตอนช่วงเย็นวันที่ 8 มีนาคม 2003
สำหรับผมแล้ว ขอให้ได้ไปสักครั้งนึงก็คงดีนะ

วันที่ 14/12/50 ลงบทความรายงานสรุปปีนการปีนเขาของ alpine club pakistan ยอดเขา nanga parbat ปีนี้ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บเลย เชิญอ่านได้เลยครับ
จบฤดูปีนเขา : รายงานบทสุดท้ายของการเดินทางปีนเขาในประเทศปากีสถาน ปี 2007
ข่าวลงวันที่ 16 ต.ค. 2007 รายงานโดย k2climb.net
ฤดูปีนเขาช่วงหน้าร้อนปี 2007 ของประเทศปากีสถานในที่สุดก็ได้จบลงไปแล้ว จากนักปีนเขาทั้งหมด 799 คนที่มาปีนเขาในประเทศปากีสถานในปีนี้ มีอยู่ 201 คนที่ปีนขึ้นไปถึงยอดสูงสุด จากจำนวนยอดเขาทั้งหมดที่มาปีน 22 ยอด ; มีอยู่ 7 ยอดที่ปีนขึ้นไปถึงยอดสูงสุด มีนักปีนเขา 5 คนที่เสียชีวิต , ทั้งหมด 5 คนนั้นตายบนยอดเขา 8,000 เมตร
คอยดูนะผมจะแสดงรายงานของฤดูปีนเขาที่จบลงไปแล้วให้คุณดูด้วยความเอื้อเฟื้อโดย Karrar Haidri จาก explorersweb และนาย Saad Tariq Siddiqi , เลขาธิการของ Alpine Club Pakistan
ใบสมัครปีนเขาทั้งหมด 91 ทีม
ในปีนี้มีใบสมัครการเดินทางมาปีนเขาอยู่ทั้งหมด 91 ชุดซึ่งได้ถูกกรอกเพื่อขออนุญาติการปีนเขาในประเทศปากีสถาน มีใบสมัครอยู่ 83 ชุด ได้รับอนุญาติให้ปีนเขาได้ซึ่งในจำนวนนั้นได้รวมการปีนเขาแบบปีน 2 ยอดอยู่ทั้งหมด 14 ทีม , ปีนแบบ 3 ยอด 1 ทีม , และมีอยู่ 1 ทีมได้รับอนุญาติให้ปีน 4 ยอดเขา ในจำนวนทีมที่ได้บอกมานั้นมีการพยายามปีนยอดเขาต่าง ๆ ถึง 102 ครั้ง ( เดาว่าถ้าเดินทางมาถึงยอดเขาใดก็ให้นับเป็น 1 ครั้ง ) ซึ่งเป็นการปีนโดยนักปีนเขา 799 คน จากทีมปีนเขา 83 ทีม , เพื่อที่จะปีนยอดเขา 22 ยอดเขา , จากจำนวนนักปีนเขาทั้งหมดมีนักปีนเขาอยู่ 201 คนซึ่งรวมถึงนักปีนเขาจากประเทศปากีสถาน 13 คนด้วย , ที่ประสบความสำเร็จ
มีทีมปีนเขาอยู่ 2 ทีมได้ถูกปฏิเสธคำขอใบอนุญาติที่จะปีนยอดเขาต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับเขตพื้นที่สงคราม ธารน้ำแข็ง siachen มีทีมปีนเขาอยู่ 6 ทีมได้ขอถอนใบสมัครของพวกเขาไป
ในปี 2007 , ยอดเขา broad peak มีผู้ที่ปีนขึ้นไปถึงยอดสูงสุดมากที่สุดถึง 77 คน , ตามมาด้วยยอดเขา spantik 44 คน , และยอดเขา k2 29 คน ยอดเขา nanga parbat และยอดเขาในกลุ่มยอดเขา gasherbrum นับรวมกันได้ 48 คน มีนักปีนเขาอยู่ 5 คนที่เสียชีวิต ; 2 คนตายบน k2 , 1 คนตายบน G 1 และ 2 คนตายบน G2
ฉลองครบรอบ 50 ปีของยอดเขา broad peak 8,047 เมตร
ยอดเขา broad peak ปีนได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในวันที่ 9 มิถุนายน ปี 1957 โดยนักปีนเขาชาวออสเตรีย 4 คน เพื่อเป็นการระลึกถึงครบรอบ 50 ปีของยอดเขานี้ , ทีมปีนเขาชาวออสเตรีย 26 คน นำโดย Gerfried Göschl ได้เดินทางมาถึงประเทศปากีสถานในวันที่ 18 มิถุนายน 2007 นักปีนเขา 8 คนของทีมปีนเขานี้ซึ่งรวมถึงผู้นำทีมได้ปีนขึ้นไปถึงยอดสูงสุดในวันที่ 20 กรกฏาคม และวันที่ 31 กรกฏาคม
มีทีมปีนเขาทั้งหมด 25 ทีมได้พยายามที่จะทำให้โชคได้เข้าของพวกเขาบนยอดเขา broad peak ในปีนี้ , จากทีมทั้งหมดมีอยู่ 19 ทีมได้นำนักปีนเขา 77 คน ( รวมถึงนักปีนเขาชาวปากีสถาน 6 คน ) ขึ้นไปถึงยอดสูงสุด มีทีมปีนเขาเพียง 6 ทีมเท่านั้นที่ไม่ประสบความสำเร็จ
ยอดเขา choghori K2 ( 8,611 เมตร )
ไม่เหมือนกับปีที่แล้ว , ปี 2007 เป็นปีแห่งความสำเร็จบนยอดเขา K2 นักปีนเขา 130 คน จาก 16 ทีมปีนเขาได้พยายามที่จะปีนขึ้นไปให้ถึงยอดสูงสุดและมีนักปีนเขาอยู่ 29 คน ( จากทีมปีนเขา 8 ทีม ) ประสบความสำเร็จ ทีมปีนเขาชาวรัสเซียนำโดย Nickolay Totmjanin ได้สร้างเส้นทางปีนเขาเส้นทางใหม่ขึ้นมาบนกำแพงทางด้านตะวันตก มีอยู่ 11 คนของสมาชิกทีมปีนเขาทีมนี้ซึ่งรวมถึงผู้นำทีมได้ทำการปีนยอดเขา K2 ด้วยความสำเร็จผ่านเส้นทางปีนเขาเส้นใหม่นี้ในวันที่ 21 ส.ค. และวันที่ 22 ส.ค. ปี 2007 ในการเดินทางกลับมาจากยอดเขาของพวกเขานั้นพวกเขาได้รับการแสดงความยินดีจากนายกรัฐมนตรีของประเทศปากีสถานและต่อมาในช่วงเย็นวันนั้นพวกเขาก็ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรขึ้นไปถึงยอดสูงสุดซึ่งมอบให้โดยนาย Saad Tariq Siddiqi ,เลขาธิการของ Alpine Club of Pakistan.
ยอดเขา gasherbrum II ( 8,035 เมตร )
ปี 2007 เป็นปีที่การปีนยอดเขา gasherbrum II ออกมาไม่ดี มีทีมปีนเขาอยู่ 14 ทีมได้รับใบอณุญาตเพื่อที่จะปีนยอดเขานี้ , จากทีมปีนเขาทั้งหมดมีเพียงหนึ่งทีมเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการนำสมาชิก 4 คนขึ้นไปถึงยอดสูงสุด ทีมปีนเขาที่เหลืออยู่ทั้งหมด 13 ทีมได้เดินทางกลับออกมาโดยปราศจากความสำเร็จหลังจากที่เกิดหิมะถล่มครั้งร้ายแรงคร่าชีวิตของ 2 นักปีนเขา ( ข้อสังเกตของนาย ed : Karl Unterkircher และ Daniele Bernasconi ได้ทำการปีนยอดเขา gasherbrum II ด้านเหนือจากทางด้านประเทศจีน )
ยอดเขา gasherbrum I ( 8,068 เมตร )
ปี 2007 เป็นปีที่การปีนยอดเขา gasherbrum I ประสบความสำเร็จ สมาชิก 96 คนของทีมปีนเขา 10 ทีมได้พยายามที่จะปีนขึ้นไปให้ถึงยอดสูงสุดของยอดเขานี้ ; นักปีนเขา 27 คน ( ซึ่งรวมถึงนักปีนเขาชาวปากีสถาน 3 คน ) จาก 6 ทีมปีนเขาได้ทำมันสำเร็จ มีอยู่ 4 ทีมปีนเขาที่ไม่ประสบความสำเร็จ ทีมปีนเขาคบเพลิงโอลิมปิกชาวจีนนำทีมโดยนาย Sam Drug ก็อยู่ในกลุ่มของนักปีนเขาที่ขึ้นไปถึงยอดสูงสุดด้วย ( ข้อสังเกตของนาย ed : มีนักปีนเขาอยู่หลายคนที่ได้อ้างว่าการปีนยอดเขา gasherbrum I ในครั้งนั้นเป็นการเสร็จสิ้นการออกปีนยอดเขา 8,000 เมตรได้ครบทั้ง 14 ยอดของพวกเขา - อย่างไรก็ตามการปีนขึ้นไปยังยอดสูงสุดหลักของยอดเขา broad peak ของนักปีนเขาเหล่านั้นยังเป็นข้อที่ถกเถียงกันอยู่ , ในขณะที่ภาพยอดสูงสุดของทีมปีนเขานั้นได้แสดงให้เห็นว่ามันเป็นยอดสูงสุดด้านหน้าที่เป็นหิน )
นักผจญภัยชายอาฟริกาใต้นาย Mike Horn ได้จ้างไกด์ปีนเขาชาวสวิสนาย Jean Troillet เพื่อที่จะเป็นไกด์ปีนเขาให้กับเขาในการปีนยอดเขา 8,000 เมตรของเทือกเขา karakoram ที่มีอยู่ทั้งหมด 4 ยอด ทีมปีนเขาทีมนี้ได้ล่าถอยออกมาจากยอดเขา gasherbrum I และเป็นทีมปีนเขาเพียงทีมเดียวเท่านั้นที่ปีนขึ้นไปถึงยอดสูงสุดของยอดเขา gasherbrum II ในปี 2007 จากทางด้านประเทศปากีสถาน ( ทีมปีนเขาชาวอิตาลีได้พิชิตยอดเขา gasherbrum II จากทางด้านประเทศจีน )
ยอดเขา nanga parbat ( 8,125 เมตร )
ปี 2007 เป็นปีที่ประสบความสำเร็จอย่างผิดปกติบนยอดเขา nanga parbat นักปีนเขาที่มาปีนยอดเขา nanga parbat มีอยู่ทั้งหมด 5 ทีมต่างก็ประสบความสำเร็จในการนำนักปีนเขา 17 คนจากนักปีนเขาทั้งหมด 32 คนขึ้นไปถึงยอดสูงสุดของยอดเขา nanga parbat โดยไม่มีการบาดเจ็บหรือตายโดยอุบัติเหตุ
ยอดเขา spantik ( 7,027 เมตร )
มีทีมปีนเขาอยู่ 11 ทีมที่ได้พยายามปีนยอดเขา spantik และมีทีมปีนเขาอยู่ 10 ทีมที่ประสบความสำเร็จ , นำนักปีนเขา 44 คน ( ซึ่งรวมถึงนักปีนเขาชาวปากีสถาน 4 คน ) ขึ้นไปถึงยอดสูงสุด มีเพียงทีมปีนเขา ชาวออสเตรียเพียง 1 ทีมเท่านั้นซึ่งนำทีมโดย Hannes Nieder Seer ที่ได้รับรายงานมาว่าไม่ประสบความสำเร็จ
ยอดเขา K7 ด้านตะวันตก
มีทีมปีนเขาเพียง 1 ทีมเท่านั้นที่มาปีนยอดเขานี้ , เป็นทีมปีนเขาชาวอเมริกันนำทีมโดย Steve House , ได้พยายามปีนด้านตะวันตกของยอดเขา k 7 ที่ไม่เคยมีการปีนมาก่อนในปีนี้ สมาชิกทีมปีนเขาทั้งหมด 3 คนปีนขึ้นไปถึงยอดสูงสุด
ยอดเขาอื่น ๆ
ทีมปีนเขาอื่น ๆ ได้เดินทางไปยังยอดเขาต่าง ๆ ที่ยังคงเหลืออยู่อีก 16 ยอด , ได้แก่ ยอดเขา gasherbrum 3 และ 4 , k6 , latok 1 , kunyang chish หลัก และ ตะวันออก , pamir sar , masherbrum , shisper , diran , ultar sar , raka poshi , bekka brakai , kampir dior และ yashkuk ทั้งหมด 15 ยอดล้มเหลว ทีมปีนเขาชาวอเมริกันที่มาปีนยอดเขา pumari chish ซึ่งนำโดยนาย Steve Su ยังคงอยู่ในช่วงการปีนยอดเขานี้อยู่
ทีมปีนยอดเขา nanga parbat ชาวอิตาลี ช่วงหน้าหนาวปี 2007
นักปีนเขาชาวอิตาลีนาย Simone La Terra จะเดินทางมาถึงประเทศปากีสถานประมาณวันที่ 15 ธันวาคม 2007 ในการพยายามที่จะปีนยอดเขา nanga parbat แบบปีนคนเดียวระหว่างช่วงฤดูหนาวปี 2007-2008
จำนวนรวมของผู้ที่ปีนขึ้นไปถึงยอดสูงสุด
( หมายเลขยอดเขา , จำนวนของทีมที่มาปีนยอดเขา , จำนวนของนักปีนเขาที่มาปีนยอดเขา , จำนวนทีมปีนเขาที่ประสบความสำเร็จ , จำนวนผู้ที่ขึ้นไปถึงยอดสูงสุด )
1. K-2 Choghori 16 130 08 29
2. Nanga Parbat 05 32 05 17
3. Broad Peak 25 261 19 77
4. Gasherbrum-I 10 96 06 27
5. Gasherbrum-II 14 132 01 04
6. Spantik 11 72 10 44
7. K-7 01 03 01 03
8. K-6 ( ยอดเขา balistan peak เป็นยอดเขาสูงอันดับที่ 89 ของโลก )01 04 -- --
9. Gasherbrum-V 01 08 -- --
10. Latok-I 02 05 -- --
11. Kunyang Chish Main ( ยอดเขาสูงอันดับที่ 21 ของโลก )02 04 -- --
12. Kunyang Chish East 01 02 -- --
13. Beka Brak 01 02 -- --
14. Ultar Sar ( ยอดเขาสูงอันดับที่ 70 ของโลก )01 02 -- --
15. Masherbrum ( ยอดเขาสูงอันดับที่ 22 ของโลก ) 02 10 -- --
16. Gasherbrum-III ( ยอดเขาสูงอันดับที่ 15 ของโลก )01 05 -- --
17. Shisper ( ยอดเขา shispare เป็นยอดเขาสูงอันดับที่ 38 ของโลก )01 02 -- --
18. Diran 02 08 -- --
19. Pamir Sar 01 02 -- --
20. Raka Poshi ( ยอดเขาสูงอันดับที่ 27 ของโลก )01 01 -- --
21. Pumari Chish ( ยอดเขาสูงอันดับที่ 53 ของโลก )01 02 Result Awaited
22. Kampir Dior 01 07 -- --
23. Yashkuk 01 08 -- --
Total 102 799 50 201
24. การปีนยอดเขา nanga parbat ช่วงหน้าหนาว 01 01 เดินทางถึงยอดเขาในเดือน ธ.ค. 2007 เอาไว้เจอกันใหม่โอกาสหน้า

วันที่ 27/12/50 ข่าวเด็ดซูปเปอร์ฮ๊อต ทีมปีนเขาทหารจากอังกฤษจะปีนยอดเขา makalu ปี 2008 โดยแบ่งเป็น 3 ทีม ได้แก่ ทีมแรกจะปีนสันเขาอีสาน , ทีมที่ 2 จะปีนสันเขาตะวันออกเฉียงใต้ ทีมที่ 3 จะเดินเขาเป็นระยะทาง 3 อาทิตย์ไปยังแคมป์ฐานของ makalu หลังจากนั้นก็จะไปแจมเส้นทางเดินเขาไปยอดเขาเอเวอร์เรสต์โดยเดินไปยังเมือง lukla จากนั้นก็จะนั่งเครื่องไปยัง kathmandu และก็เดินทางกลับอังกฤษต่อไป ข้อมูลจาก
//www.mod.uk/DefenceInternet/DefenceNews/TrainingAndAdventure/BritishTeamPreparesToTackleMakalu.htm
หมายเหตุปี 2004 ทีมทหารอังกฤษมาปีนยอดเขา makalu โดยใช้เส้นทางสันเขาด้านตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปีนไม่สำเร็จไปถึงแคมป์ที่ 3 เพราะว่าสภาพอากาศไม่ดี ลองดูข้อมูลได้ที่
//www.makalu2004.com/
คาดว่าน่าจะมีรูปยอดเขานี้ ลงในเน็ตเพียบเลยในปีหน้า คอยติดตามข่าวการปีนแก้มือในปีหน้าได้เลยครับ

ข่าวเด็ดนาย Nicholas Rice นักปีนเขาจากแดนมะกัน จะขอลองปีนยอดเขา makalu ปี 2009 แต่ไม่รู้ว่าจะปีนเส้นทางไหน ปี 2007 เขาปีนน้อง 14 กับ broad peak อกหักทั้ง 2 ยอด เขาเคยปีนไปถึงยอดสูงสุดของ จี 2 กับ cho oyu ภาพจากเว็บนี้ก็สวยดีนะอย่างเช่น เขาใช้กล้อง canon power shot a630 ภาพก็ออกมาสวยคมดีเหมือนกัน ต้องรออีก 2 ปีนะจ๊ะถึงจะได้ดูภาพจาก makalu จากเว็บนี้ ตอนนี้ก็ดูภาพการปีนในอดีตของเขาจากเว็บนี้ไปก่อนเด้อ
//www.nickrice.us/

วันที่ 3/1/51 รายงานข่าวจาก //www.russianclimb.com เมื่อวันที่ 28/12/50 ทีมปีนเขา Central Sport Club of Kazakhstan Army กำลังออกเดินทางไปปีนยอดเขา makalu ช่วงหน้าหน้าวปี 2007-2008 สมาชิกได้แก่ Denis Urubko, Serguey Samoilov, Eugeny Shutov and Gennady Durov โดยจะปีนเส้นทางปกติกัน ท่าทางจะมันส์นะเนี่ยสงสัยคงมีลุ้นส์

วันที่ 8/1/51 ข่าวจาก yuhm.org yuhm จะจัดปีนยอดเขา victoria รัฐ chin ในวันที่ 27/12/07 ข่าวลงวันที่ 6/12/50 รีบ ๆ เอารูปมาลงในเว็บเลยนะจ๊ะ

วันที่ 8/1/51 ข่าวจาก everestnews.com จะมีการจัดแข่งปีนยอดเขา elbrus แบบเร่งความเร็ว ระหว่างวันที่ 15-17 ก.ย. 2008 ได้ปีนสักครั้งก็คงดีนะยอดเขานี้

วันที่ 17/1/51 sir edmund hillary คนที่พิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ได้คนแรก เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ โดยตายที่ ร.พ. ตอน 9 โมงเช้า วันศุกร์ที่ 12/1/51 ตอนอายุ 88 ปี ขอแสดงความเสียใจด้วย

la terra ประกาศยกเลิกการปีน nanga parbat ช่วงหน้าหนาว ปี 07-08 แล้ว เพราะว่าเมื่อวันที่ 21/12/51 เกิดพายุหิมะพัดเอาเต็นท์ครัวที่แคมป์ฐานปลิวข้ามธารน้ำแข็งไป เขาจึงตัดสินใจยกเลิกการปีนในครั้งนี้ไปเลย





Create Date : 05 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 17 มกราคม 2551 20:03:42 น.
Counter : 1621 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kangchenjunga
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]