Group Blog
 
All blogs
 
การสอบ CU-TEP [ตอนที่ 1]

เรียบเรียงโดย Flowery @ Pantip

CU-TEP คืออะไร?

CU-TEP ย่อมาจาก Chulalongkorn University Test of English Proficiency
เป็นการสอบเพื่อวัดความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาทางทักษะการอ่าน
การเขียน และการฟัง เนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษทั่วไป และภาษาอังกฤษกึ่งวิชาการ

จัดการสอบโดยศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์ทดสอบทางวิชาการฯ ได้พัฒนาแบบทดสอบมาตรฐาน CU-TEP
(Chulalongkorn University Test of English Proficiency) ขึ้น
เพื่อเทียบเคียงกับแบบทดสอบ TOEFL ซึ่งเป็นแบบทดสอบมาตรฐานสากล
ดังนั้น ผลสอบที่ได้ทาง ATC จะแสดงคะแนนของผู้สอบเทียบเคียงกับคะแนน TOEFL
(Test of English as a Foreign Language) และประเมินออกมาว่า
ระดับความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สอบอยู่ในระดับใดด้วย

การเทียบคะแนน CU-TEP และ TOEFL

CU-TEP/ TOEFL
45/ 450
60/ 500
65/ 520
75/ 550
90/ 600
120/ 677

ผลการสอบนอกจากช่วยให้ผู้สอบได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของตน
ยังใช้ในการสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และหลายหน่วยงานยังนำผลสอบ CU-TEP ไปพิจารณาประกอบการสมัครงานหรือการทำงานอีกด้วย

ข้อสอบแต่ละชุดมี 120 ข้อ ใช้เวลาสอบประมาณ 2 ชั่วโมง วัด 3 ทักษะคือ

1. ข้อสอบการฟัง มี 30 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที เป็นข้อสอบแบบปรนัย
ใช้วัดความสามารถในการฟังบทสนทนา การสัมภาษณ์และการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ
เนื้อหาเป็นเรื่องกึ่งวิชาการและสถานการณ์ เป็นเรื่องใกล้ตัวเกี่ยวกับชีวิตประจำวันและการศึกษา

2. ข้อสอบการอ่าน มี 60 ข้อ ใช้เวลา 70 นาที เป็นข้อสอบแบบปรนัย
ใช้วัดการอ่านความเข้าใจ การเดาความหมายจากปริบท (context) การจับใจความหลัก
ใจความที่สำคัญ การสรุป การวิเคราะห์และการตีความ เป็นต้น เนื้อหาเป็นเรื่องกึ่งวิชาการ

3. ข้อสอบการเขียน มี 30 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที เป็นข้อสอบแบบปรนัย
ใช้วัดความรู้ทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและความสามารถในการระบุข้อผิดพลาด
ในการเขียนประโยคที่เลือกมา เป็นเรื่องทั่วไปและกึ่งวิชาการที่นักศึกษาไทยมักใช้ผิด

แบบทดสอบแต่ละชุดมีคะแนนเต็ม 120-คะแนน ข้อละ 1 คะแนน ไม่หักคะแนนข้อที่ทำผิด

ตารางสอบ CU-TEP

ในแต่ละปี มีการสอบ CU-TEP ประมาณ 15-ครั้ง ผู้สนใจสามารถดูตารางสอบได้ที่
//www.atc.chula.ac.th/th_html/th_tep2.html

นิสิตปี 4 สามารถสอบ CU-TEP ได้ฟรี โดยทาง ATC จะจัดให้สอบประมาณเดือนธันวาคมของปี


วิธีการสมัคร

ผู้สมัครต้องสมัครสอบผ่านโปรแกรมลงทะเบียนแบบOnline ทาง Internet เท่านั้น
ทางเว็บไซต์ของ ATC

//register.atc.chula.ac.th/ChulaATC/internet

และหลังจากที่ผู้สมัครลงทะเบียนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว โปรแกรมจะสร้างใบลงทะเบียนให้ผู้สมัคร
ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้สมัครใช้ในการลงทะเบียนต้องต่อเข้ากับเครื่องพรินเตอร์ให้พร้อม

ขั้นตอนการสมัครสอบ อ่านได้จาก

//www.atc.chula.ac.th/pdf/Registordetail.pdf

ใบลงทะเบียน

หลังจากที่ผู้สมัครลงทะเบียนถูกต้องแล้วระบบจะสร้างใบลงทะเบียน ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 : แสดงตารางสอบที่ผู้สมัครเลือก และค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ
ส่วนที่ 2 : เป็นหลักฐานการชำระเงินของผู้สมัคร หลังจากที่ผู้สมัครชำระค่าธรรมเนียมที่งธนาคารเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ของธนาคารจะประทับตราธนาคารเพื่อเป็นหลักฐานการรับเงินผู้สมัครสามารถใช้ส่วนที่2นี้
เป็นใบเสร็จรับเงินชั่วคราวได้แต่ยังไม่ถือเป็นใบเสร็จที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศูนย์ทดสอบทางวิชาการฯจะส่งใบเสร็จที่ถูกต้องพร้อมบัตรเข้าห้องสอบ(ใบเดียวกัน)ให้แก่ผู้สมัคร
ทางไปรษณีย์ประมาณ1สัปดาห์ก่อนการสอบ
ส่วนที่ 3 : เป็นหลักฐานการรับเงินของธนาคาร ซึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารจะฉีกส่วนนี้เก็บไว้

ตัวอย่างใบลงทะเบียน

//www.atc.chula.ac.th/pdf/registrationreport.pdf

ค่าธรรมเนียมและการชำระค่าธรรมเนียม

ศูนย์ทดสอบฯ คิดค่าธรรมเนียมการสมัครสอบวิชาละ 400 บาท
พร้อมค่าธรรมเนียมของธนาคาร 15 บาทต่อใบลงทะเบียน 1 ใบ
โดยในการชำระค่าธรรมเนียม

ผู้สมัครต้องใช้แบบฟอร์มใบลงทะเบียนที่พิมพ์จากโปรแกรมลงทะเบียนแบบOnlineเท่านั้น
เพื่อนำไปยื่นชำระค่าธรรมเนียมที่เคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์หรือไทยธนาคาร
(ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ)ทั้งนี้ต้องไม่เกินวันที่ระบุไว้บนใบลงทะเบียน
และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารประทับตราชำระเงินบนใบลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน
การสมัครจะถือว่าเสร็จสิ้นสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้สมัครลงทะเบียนถูกต้องและชำระเงินเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
การชำระเงินโดยการกรอกใบนำฝากของธนาคารหรือการชำระเงินนอกเหนือจากช่วงเวลาที่กำหนดไว้
จะถือว่าการสมัครครั้งนั้นเป็นโมฆะ และผู้สมัครจะไม่สามารถขอรับเงินคืนหรือเลื่อนการลงทะเบียน
หรือโอนเงินให้ผู้สมัครรายอื่นได้

นโยบายการคืนเงิน

ศูนย์ทดสอบฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนเงินแก่ผู้สมัครไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น

การแจ้งสถานที่สอบ

ในการแจ้งข้อมูลสถานที่สอบนั้น ศูนย์ทดสอบฯจะดำเนินการแจ้งข้อมูลผ่าน 2 ช่องทางหลัก ดังนี้

1.เว็บไซต์

ศูนย์ทดสอบฯจะแจ้งข้อมูลสถานที่สอบผ่านทาง เว็บไซต์ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากวันปิดรับสมัคร
ผู้สมัครสอบสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้โดยเข้าไปในโปรแกรมลงทะเบียนในเว็บไซต์
(ต้องใส่ Login ID และ Password)

ตรวจสอบสถานที่สอบได้ที่เว็บไซต์ ATC

//register.atc.chula.ac.th/ChulaATC/internet

2.ไปรษณีย์

ศูนย์ทดสอบฯจะจัดส่งบัตรสอบเพื่อแจ้งสถานที่สอบให้ผู้สมัครสอบทางไปรษณีย์
ประมาณ1สัปดาห์ก่อนการสอบ
โดยผู้สมัครต้องนำบัตรสอบพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนมายื่นแสดงตัวในวันสอบ

ตัวอย่างบัตรเข้าห้องสอบ ดูได้จากที่นี่

//www.atc.chula.ac.th/pdf/testticket.pdf

กรณีที่ไม่ได้รับบัตรสอบ

หากผู้สมัครไม่ได้รับบัตรสอบให้นำใบลงทะเบียน(ที่ได้รับการประทับตราจากธนาคารแล้ว)
กับบัตรประจำตัวประชาชนมายื่นแสดงตัวในวันสอบ สำหรับสถานที่สอบให้ตรวจสอบผ่านทางเว็บไซค์ของศูนย์ทดสอบฯ

การแจ้งผลสอบ

ในการแจ้งผลสอบนั้น ศูนย์ทดสอบฯจะดำเนินการแจ้งข้อมูลผ่าน 2 ช่องทางหลัก ดังนี้

1.เว็บไซต์
ศูนย์ทดสอบฯ จะแจ้งผลสอบให้ผู้สมัครทราบทางเว็บไซต์ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากวันสอบ
ผู้สมัครสอบสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้โดยเข้าไปในโปรแกรมลงทะเบียนในเว็บไซต์
(ต้องใส่ Login ID และ Password)

ตรวจสอบผลการสอบได้ที่เว็บไซต์ ATC

//register.atc.chula.ac.th/ChulaATC/internet

2.ไปรษณีย์
ศูนย์ทดสอบฯจะจัดส่งใบรายงานคะแนนเพื่อแจ้งผลสอบให้ผู้สมัครสอบทราบทางไปรษณีย์
ประมาณ3สัปดาห์หลังจากวันสอบ

ตัวอย่างใบรายงานผลคะแนน ดูได้ที่นี่
//www.atc.chula.ac.th/pdf/scorereport.pdf

ในกรณีที่ประสงค์จะขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผลการสอบ ให้ดำเนินการได้ภายใน 30 วัน
นับตั้งแต่วันประกาศผลการสอบ

กรณีที่ไม่ได้รับผลสอบ

หากผู้สมัครไม่ได้รับใบรายงานคะแนนให้เข้าไปตรวจผลสอบในเว็บไซต์ของศูนย์ทดสอบฯ
และสามารถมาติดต่อกรอกใบคำร้องเพื่อขอใบรายงานคะแนนได้ที่ศูนย์ทดสอบฯ
ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับผลสอบให้ท่านดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบคำร้อง
จากในเว็บไซต์ พร้อมทั้งกรอกข้อมูลให้เรียบร้อยก่อนนำเอกสารมายื่นที่ศูนย์ทดสอบฯ
อาคารจามจุรี8ชั้น3(อยู่ตรงข้ามโรงเรียนอุเทนถวาย)

ใบคำร้อง ดาวน์โหลดได้ที่นี่
//www.atc.chula.ac.th/pdf/petition.pdf

หลักฐานแสดงตนเอง

ผู้เข้าสอบต้องนำหลักฐานมายื่นแสดงตนเองในห้องสอบ ดังนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชน (กรณีที่ผู้สมัครเป็นคนไทย)
หรือหนังสือพาสปอร์ต(กรณีที่ผู้สมัครเป็นชาวต่างชาติ)

2. บัตรสอบหรือกรณีที่ผู้เข้าสอบไม่ได้รับบัตรสอบทางไปรษณีย์จากศูนย์ทดสอบฯ
ให้ผู้สมัครนำใบลงทะเบียน(ที่มีรอยประทับตราธนาคาร) มายื่นแสดงตนเอง แทน

ข้อปฏิบัติในวันสอบ

1. ผู้เข้าสอบต้องมาถึงห้องสอบประมาณ 15 นาทีก่อนสอบ
เช่น ถึงห้องสอบเวลา 8.15 น.สำหรับการสอบในช่วงเช้า
หรือเวลา 12.45 น. สำหรับการสอบในช่วงบ่าย
กรรมการคุมสอบจะไม่อนุญาตให้ผู้เข้าสอบเข้าห้องสอบหลัง 8.30 น. สำหรับการสอบในช่วงเช้า
หรือหลัง 13.00 น. สำหรับการสอบในช่วงบ่าย
2.ผู้เข้าสอบต้องนำดินสอ 2B ยางลบ และปากกา
3.ผู้เข้าสอบต้องนำบัตรเข้าห้องสอบ และบัตรประชาชนมาในวันสอบ
4.ผู้เข้าสอบไม่สามารถออกจากห้องสอบก่อนหมดเวลาการสอบได้

คำถามที่ถามบ่อย อ่านได้จาก
//www.atc.chula.ac.th/th_html/faq.html

แผนที่สนามสอบ ดูได้จาก
//www.atc.chula.ac.th/th_html/th_maps.html

References:
//www.atc.chula.ac.th/th_html/th_tep.html
//pioneer.chula.ac.th/~pkanchan/doc/CU_TEP2002.DOC




Create Date : 30 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2551 17:39:08 น. 2 comments
Counter : 7452 Pageviews.

 
เก่งจังค่ะ
เก่งมากจัง


โดย: จอย IP: 58.137.30.201 วันที่: 13 ธันวาคม 2552 เวลา:22:48:23 น.  

 
อยากรู้เรื่อง Allophonic variation ค่ะ
ช่วยลงให้หน่อยได้ไหมค่ะ พี่คนสวย พี่คนเก่ง


โดย: จอย IP: 58.137.30.201 วันที่: 13 ธันวาคม 2552 เวลา:22:52:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Flowery
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Flowery รักการเขียน รักการเรียนรู้ รักภาษาอังกฤษ รักการแปล และรักที่จะแบ่งปันประสบการณ์ความรู้
Friends' blogs
[Add Flowery's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.