Group Blog
 
All blogs
 
สารพิษ ... ในบุหรี่


ในบุหรี่มีสารพิษอะไรบ้าง


ในบุหรี่ 1 มวน เมื่อเกิดการเผาไหม้ จะทำให้เกิดสารเคมี มากกว่า 4,000 ชนิด
สารหลายร้อยชนิดมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และมี 42 ชนิด ที่เป็นสารก่อมะเร็ง

สารพิษที่สำคัญในควันบุหรี่นอกจากสารก่อมะเร็ง คือ

1. นิโคติน ( Nicotine ) เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำมันไม่มีสี
เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติด และทำให้เกิดโรคหัวใจ นิโคตินส่วนใหญ่ จะไปจับอยู่ที่ปอด
และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด

2. ทาร์ ( Tar) ประกอบด้วยสารหลายชนิด เป็นละอองเหลวเหนียว สีน้ำตาลคล้ายน้ำมันดิน
ร้อยละ 50 ของทาร์จะจับอยู่ที่ปอด ทำให้เยื้อบุหลอดลมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ

3. คาร์บอนมอนอกไซด์ ( Carbon monoxide ) ซึ่งเป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่พ่นออกมาจาก
ท่อไอเสียรถยนต์ ก๊าซนี้จะขัดขวาง การลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง
ทำให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับออกซิเจนน้อยลง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 – 15
หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้นและทำงานมากขึ้น

4. ไฮโดรเจนไดออกไซด์ ( Hydrogen dioxide ) เป็นก๊าซพิษที่ใช้ในสงคราม
ก่อให้เกิดอาการไอ มีเสมหะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

5. ไนโตรเจนไดออกไซด์ ( Nitrogen dioxide ) เป็นสาเหตุของโรคถุงลมปอดโป่งพอง
เพราะไปทำลายเยื่อบุ หลอดลมอักส่วนปลาย และถุงลม

6. แอมโมเนีย ( Ammonia ) มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ

7. ไซยาไนด์ ( Cyanide ) ซึ่งปกติเป็นยาเบื่อหนู ก็พบในบุหรี่ด้วยเช่นกัน




การสูบบุหรี่เป็นวิธีการที่ทำให้สมองได้รับสารเสพติด ( นิโคติน ) เร็วที่สุด
คือภายใน 7 วินาทีเท่านั้น ซึ่งเร็วกว่า การฉีดเฮโรอีนเข้าเส้นเลือดเสียอีก

นิโคตินทำให้เกิดการเสพย์ติดเช่นเดียวกับเฮโรอีน
ทุกครั้งที่คุณสูบบุหรี่จะเกิดมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง

1. เมื่อมีการสูดดมควันบุหรี่เข้าไป นิโคตินจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วเข้าสู่กระแสเลือด
และผ่านเข้าสู่สมองภายในเวลา 10 วินาที

2. นิโคตินกระตุ้นการหลั่งของสารโดปามีน (บริเวณสีแดง) ซึ่งมีผลทำให้เกิดอารมณ์แห่งความสุข

3. นิโคตินยังมีผลเพิ่มการหลั่งสารนอร์อีพิเนฟฟริน (บริเวณสีเหลือง) ซึ่งมีผลทำให้เกิดการตื่นตัวและมีพลัง

4. เมื่อหยุดสูบบุหรี่ ฤทธิ์ของสารโดปามีน และนอร์อีพิเนฟฟรินจะลดลง
ซึ่งมีผลทำให้อารมณ์แห่งความสุขของผู้สูบบุหรี่หายไป และเกิดอาการถอนยาขึ้นมาแทนที่
ได้แก่ อาการกระวนกระวาย โกรธ หงุดหงิดง่าย นอนหลับยาก เสียสมาธิ และเหนื่อยง่าย เป็นต้น

5. เพื่อที่จะบรรเทาอาการถอนยานี้ และเพื่อให้เกิดสภาวะอารมณ์แห่งความสุขต่อไป
จึงต้องสูบบุหรี่มวนต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้สมองจึงเกิดความเคยชิน
จากการได้รับสารนิโคติน และเกิดการเสพย์ติดในที่สุด




ควันบุหรี่มีผลของพิษต่อบุคคลข้างเคียง


การสูบบุหรี่นั้นนอกจากจะมีผลต่อผู้สูบโดยตรงแล้ว ยังทำให้ผู้อื่นที่อยู่ในระยะของควันบุหรี่
สูดเอาพิษจากควันบุหรี่เข้าไปด้วย ทำให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกับผู้สูบบุหรี่
ซึ่งผลกระทบของบุหรี่ที่มีผลต่อคนข้างเคียงพอสรุปได้ดังนี้

1. เด็ก - การสูบบุหรี่ของคนในครอบครัว ทำให้เด็กป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ
ปอดบวม หอบหืด หูอักเสบเพิ่มมากขึ้น

2. หญิงมีครรภ์ - หญิงมีครรภ์สูบบุหรี่ จะทำให้น้ำหนักตัวในขณะตั้งครรภ์เพิ่มน้อยกว่าปกติ และมีโอกาสแท้ง
คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดในระหว่างคลอด และหลังคลอดมากเป็น 2 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้สูบบุหรี่
นอกจากนั้นยังทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ และรกลอกตัวก่อนกำหนดมากขึ้น
ลูกที่คลอดจากแม่ที่สูบบุหรี่ อาจมีน้ำหนักและความยาวตัวน้อยกว่าปกติ
พัฒนาการทางด้านสมองช้ากว่าเด็กปกติ อาจมีความผิดปกติทางด้านระบบประสาท ระบบความจำ

3.คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่ - มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่เป็น 2 เท่า
มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 ท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปี

4. คนทั่วๆไป - บุคคลทั่วๆไปที่อยู่ในบรรยากาศที่ผู้อื่นสูบบุหรี่อยู่ ควันบุหรี่จะทำให้เกิดอาการเคืองตา
ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้ว โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ
มีอาการกำเริบของโรคเพิ่มมากขึ้น





Create Date : 28 สิงหาคม 2551
Last Update : 28 สิงหาคม 2551 7:54:03 น. 0 comments
Counter : 1104 Pageviews.

ฉะฉาน
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ฉะฉาน's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.