Group Blog
 
All Blogs
 

การสิ้นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

การสิ้นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

การสิ้นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาตามความตกลงระหว่างประเทศ

ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการคุ้มครองผลงานต่างๆที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์

หรือประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเช่น การประดิษฐ์เทคโนโลยีหรือยารักษาโรค

ที่ได้รับความคุ้มครองโดยสิทธิบัตรเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าก็จะได้รับ

ความคุ้มครองโดยเครื่องหมายการค้าหรือหนังสือเรียนหรือผลงาน

ทางวิชาการที่ได้รับความคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์เป็นต้น โดยกฎหมายทรัพย์สิน

ทางปัญญาแต่ละประเภทนี้ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ได้สร้างสรรค์

หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงานดังกล่าวในฐานะ“เจ้าของสิทธิ” โดยการให้สิทธิ

ต่างๆแก่เจ้าของสิทธิในการที่จะแสวงหาประโยชน์จากผลงานดังกล่าวได้

แต่เพียงผู้เดียว(exclusive rights) ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการจำหน่าย ผลิต

ทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งหากบุคคลอื่นใดกระทำ

การดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์ก็จะเป็นการละเมิด

ทรัพย์สินทางปัญญาเว้นแต่จะเป็นการกระทำ ที่ได้รับการยกเว้น

ตามกฎหมายมิให้เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญานี้


ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า

(TRIPs)ซึ่งเป็นความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกและประเทศไทย

ก็มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามได้บัญญัติไว้ในข้อ ๖ ว่าไม่มีบทบัญญัติใด

ในความตกลงที่จะนำมาใช้เพื่อกล่าวถึงการสิ้นสิทธิในทรัพย์สิน

ทางปัญญาดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในของแต่ละ

ประเทศที่จะกำหนดเกี่ยวกับการสิ้นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานี้

กรณีการซื้อสินค้าที่มีทรัพย์สินทางปัญญาถูกต้องจากประเทศหนึ่งแล้วนำเข้ามาจำหน่ายในอีกประเทศหนึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับขอบเขตของสิทธิแต่เพียงผู้เดียวว่าหลังจากที่เจ้าของสิทธิได้จำหน่ายสินค้าของตนไปแล้ว เจ้าของสิทธิควรจะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะเข้าไปควบคุมหรือห้ามผู้ซื้อจากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวต่อไปหรือไม่ซึ่งโดยหลักการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากรณีนี้จะถือว่าสิทธิของเจ้าของสิทธิได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อได้มีการจำหน่ายสินค้าออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรกหรือที่เรียกว่า “หลักการสิ้นสิทธิ

ในทรัพย์สินทางปัญญา”(exhaustion of rights) ด้วยเหตุผลพื้นฐาน

ที่ว่าเจ้าของสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการจำหน่ายสินค้าของตน

ไปแล้วจึงต้องมีการจำกัดสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของสิทธิ เนื่องจาก

หากยินยอมให้เจ้าของสิทธิมีสิทธิที่จะควบคุมหรือห้ามผู้ซื้อจากการจำหน่าย

สินค้าที่ตนได้จำหน่ายไปแล้วนั้นก็จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ซื้อ

และประโยชน์สาธารณะได้


หลักการสิ้นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งได้เป็น๓ ประเภท

.การสิ้นสิทธิภายในประเทศ (National exhaustion of rights)

คือกรณีที่เจ้าของสิทธิได้จำหน่ายสินค้าของตนในประเทศใดประเทศ

หนึ่งสิทธิของเจ้าของสิทธิจะหมดสิ้นไปเฉพาะในประเทศนั้น

.การสิ้นสิทธิภายในภูมิภาค (Regional exhaustion of rights)

คือกรณีที่เจ้าของสิทธิได้จำหน่ายสินค้าของตนในประเทศใดประเทศ

หนึ่งในภูมิภาคสิทธิของเจ้าของสิทธิจะหมดสิ้นไปเฉพาะในภูมิภาค

.การสิ้นสิทธิระหว่างประเทศ (International exhaustion of

rights) คือ กรณีที่เจ้าของสิทธิได้จำหน่ายสินค้าของตนในประเทศใด

ประเทศหนึ่งแต่สิทธิของเจ้าของสิทธิจะหมดสิ้นไปทั่วโลก


กรณีการสิ้นสิทธิระหว่างประเทศในทรัพย์สินทางปัญญานี้เป็นประเด็น

ที่มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากหลักการดังกล่าวยอมรับว่า เมื่อเจ้าของสิทธิได้จำหน่ายสินค้าของตนไปแล้วเจ้าของสิทธิจะไม่มีสิทธิควบคุมหรือห้ามผู้ซื้อจากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวได้อีกต่อไปไม่ว่าในประเทศใดก็ตามกล่าวคือ ผู้ซื้อสินค้าสามารถนำสินค้านั้นไปจำหน่ายต่อไปได้ทั่วโลก

การสิ้นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมายไทย

ทรัพย์สินทางปัญญามีหลายประเภทซึ่งจะมีกฎหมายเฉพาะที่คุ้มครอง

ทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละประเภทด้วยนอกจากนั้น รัฐธรรมนูญ

แห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

ไว้เป็นแนวนโยบายที่รัฐจะต้องดำเนินการโดยมาตรา ๘๖ (๒) บัญญัติ

ให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ทรัพย์สิน

ทางปัญญาและพลังงาน โดยส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้

เกิดความรู้ใหม่รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย

รวมทั้งให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

(๑)สิทธิบัตร

เมื่อปี๒๕๔๒ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสิทธิบัตร

พ.ศ.๒๕๒๒ โดยได้บัญญัติรองรับการสิ้นสิทธิในกฎหมายสิทธิบัตรว่า

การใช้ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร

ซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ทรงสิทธิ

หากผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาตหรือยินยอมให้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์

ดังกล่าวแล้ว(มาตรา ๓๖ วรรคสอง (๗))

() เครื่องหมายการค้า

ในกรณีของเครื่องหมายการค้าพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ..

๒๕๓๔ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ใช้บังคับในปัจจุบัน

ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการรองรับการสิ้นสิทธิของเจ้าของเครื่องหมาย

การค้าไว้อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยโดยยอมรับหลักการ

สิ้นสิทธิระหว่างประเทศนี้เช่นกัน(คำวินิจฉัยศาลฎีกาที่ ๒๘๑๗/๒๕๔๓)

ซึ่งในคดีดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยนโดยมีเครื่องหมาย

การค้าว่า“WAHL” ซึ่งได้จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาและ

ประเทศไทยส่วนจำเลยนั้นได้ซื้อสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้า

ดังกล่าวโดยถูกต้องจากตัวแทนจำหน่ายของโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์

แล้วนำมาจำหน่ายในประเทศไทยโดยศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า การมีผู้ซื้อ

สินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไปเป็นเรื่อง

ปกติธรรมดาในการประกอบการค้าซึ่งเมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของ

เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรกโดยได้รับ

ประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่าย

ไปเสร็จสิ้นแล้วจึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกติ

นำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป

() ลิขสิทธิ์

ในกรณีของลิขสิทธิ์พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.. ๒๕๓๗ ซึ่งเป็น

กฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่ใช้บังคับในปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติรองรับการ

สิ้นสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ไว้นอกจากนั้น ก็ยังไม่เคยมีแนวคำวินิจฉัย

ของศาลยอมรับหลักการสิ้นสิทธิระหว่างประเทศในกรณีของลิขสิทธิ์ไว้

แต่อย่างใดอย่างไรก็ดี ผู้เขียนมีความเห็นว่า สามารถพิจารณานำ

บทบัญญัติอื่นๆในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.. ๒๕๓๗ มาปรับใช้กับกรณี

การสิ้นสิทธิระหว่างประเทศได้ดังนี้

- สิทธิในการนำเข้า

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.. ๒๕๓๗ ได้บัญญัติรองรับสิทธิ

แต่เพียงเดียวไว้หลายประการตามมาตรา๑๕ แต่ไม่มีการบัญญัติเกี่ยวกับ

การรับรองสิทธิในการนำเข้าไว้ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายคุ้มครอง

ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นเช่น สิทธิบัตรที่บัญญัติรองรับสิทธิใน

การนำเข้าไว้อย่างชัดเจนจึงอาจกล่าวได้ว่า การที่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้

บัญญัติรองรับสิทธิในการนำเข้าไว้เจ้าของลิขสิทธิ์จึงไม่มีสิทธิในการควบคุม

หรือห้ามการนำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก

ต่างประเทศ

-ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

หลักการสิ้นสิทธิอาจนำมาอ้างได้ภายใต้ข้อยกเว้นการละเมิด

ลิขสิทธิ์โดยอาศัยมาตรา๓๒ วรรคหนึ่งโดยลำพัง หากการนำเข้ามาจำหน่าย

ในประเทศนั้นไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรก็จะไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ในกรณีที่นำมาตรา๓๒ วรรคหนึ่งมาใช้โดยลำพังนั้น วิเคราะห์ได้ว่า

การที่บุคคลใดได้ซื้อสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องจากต่างประเทศแล้วนำมาจำหน่ายในประเทศไทยก็ควรที่จะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่งนี้เนื่องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับผลตอบแทนจากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปแล้วจึงไม่เป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรนอกจากนั้น หากจะให้เจ้าของลิขสิทธิ์เข้าไปควบคุมการจำหน่ายดังกล่าวต่อไปก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการค้าและเป็นการเปิดช่องทางให้เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้สิทธิโดยมิชอบ

บทสรุป

หลักการสิ้นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นกลไกสำคัญในกฎหมายทรัพย์สิน

ทางปัญญาที่จะคุ้มครองประโยชน์สาธารณะและเพื่อป้องกันการใช้สิทธิ

ในทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากเจ้าของสิทธิได้รับผลตอบแทนจากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวไปแล้วในครั้งแรกซึ่งหากเปิดโอกาสให้เจ้าของสิทธิสามารถหาผลประโยชน์ได้อีกจากสินค้าที่มีการจำหน่ายไปแล้วนั้นอีกต่อไปก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อได้โดยวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญานี้มิใช่เป็นการคำนึงเพียงแต่ผลประโยชน์ของเจ้าของสิทธิเท่านั้นแต่ก็จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของสาธารณะด้วยดังที่บัญญัติไว้ในข้อ ๘ ของความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้าว่าประเทศสมาชิกสามารถที่จะกำหนดหรือบังคับใช้มาตรการต่างๆที่จำเป็นตามกฎหมายเพื่อปกป้องประโยชน์ทางสาธารณสุขและการโภชนาการและเพื่อส่งเสริมประโยชน์สาธารณะ(public interest) ในส่วนที่มีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมและการพัฒนาทางเทคโนโลยีรวมตลอดจนมาตรการต่างๆที่เหมาะสมที่ประเทศสมาชิกอาจกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันการบังคับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่เหมาะสมหรือการบังคับสิทธิที่เกินขอบเขต

ที่มา

ข่าวสารพัฒนากฎหมาย ลำ ดับที่ 80

1 กุมภาพันธ์ 2556

จัดทำโดย ฝ่ายพัฒนากฎหมาย

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2

394/14 ถนนสามเสน เขตดุสิต

กรุงเทพฯ 10300 //www.lawreform.go.th




 

Create Date : 06 เมษายน 2556    
Last Update : 6 เมษายน 2556 19:07:50 น.
Counter : 4249 Pageviews.  

คดี นวนิยายหางเครื่อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่๖๖๕๖/๒๕๔๙

ประเด็นของคดีนี้เป็นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานประพันธ์วรรณกรรมประเภทนวนิยายการพิจารณาปัญหานี้จึงต้องพิจารณาผลงานการสร้างสรรค์นวนิยายทั้งเล่มซึ่งรวมทั้งโครงสร้างของเรื่อง ลำดับการนำเสนอเนื้อเรื่องการแสดงให้เห็นถึงความคิดหลักของนวนิยาย และรายละเอียดการนำเสนอในส่วนที่เกี่ยวกับตัวละครหลักและ ตัวละครประกอบตลอดจนสำนวนโวหารและลีลาการเขียนเนื่องจากการคุ้มครองงานสร้างสรรค์วรรณกรรมนวนิยายไม่อาจแยกพิจารณาได้เป็นส่วน ๆเหมือนงานสร้างสรรค์บางประเภท เช่นงานสร้างสรรค์ดนตรีกรรมที่อาจแยกพิจารณาได้ทั้งงานประพันธ์ทำนอง หรือคำร้องหรือการเรียบเรียงเสียงประสาน ดังนั้นการทำซ้ำหรือเลียนแบบงานประพันธ์ของบุคคลอื่นแม้เพียงส่วนหนึ่งส่วนใด เช่นลอกสำนวนโวหารหรือข้อความส่วนหนึ่งส่วนใดอันเป็นงานประพันธ์ที่ชี้ให้เห็นถึงความเฉพาะเจาะจงจะเป็นเรื่องที่นักประพันธ์ที่ดีไม่ทำกันแต่ก็ไม่ถึงกับเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมายในงานสร้างสรรค์วรรณกรรมประเภทนวนิยาย

การพิจารณาปัญหานี้จึงจำเป็นต้องตรวจพิจารณานวนิยายทั้งสองเรื่องซึ่งจากการตรวจพิเคราะห์แล้ว พบว่านวนิยายทั้งสองเรื่องมีโครงเรื่องคล้ายคลึงกันคือเป็นเรื่องของนักร้องผู้หญิงที่ยากจนอยากเป็นนักร้องจนต้องยอมมีความสัมพันธ์ทางเพศกับนักข่าวนักหนังสือพิมพ์และมีตอนจบที่นักร้องซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องได้มีชีวิตอย่างมีความสุขกับคนที่ตนรัก

ในเรื่องความคล้ายกันของโครงเรื่องนี้จำเลยนำสืบว่า เอาโครงเรื่องของนิยายเรื่อง “นักร้องอย่างหล่อน”ที่เคยเขียนไว้มาแต่งเติมเขียนเป็นนวนิยายเรื่อง “หางเครื่อง”โดยได้แรงบันดาลใจจากนักร้องชื่อนาง ว. เมื่อพิจารณาประกอบกับประสบการณ์ของจำเลยที่เคยเป็นนักดนตรีนักร้องและคลุกคลีอยู่ในวงการบันเทิงจึงเป็นไปได้ที่จำเลยจะได้ซึมซับแนวคิดของโครงเรื่องในลักษณะที่เขียนในนวนิยายทั้ง ๒ เรื่อง คือเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของเด็กสาวในชนบทที่มีฐานะยากจนใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้องและต้องยอมมีความสัมพันธ์ทางเพศกับนักดนตรีและผู้สื่อข่าวบันเทิง

หลักการของกฎหมายลิขสิทธิ์ตามที่ปรากฎในมาตรา๖ ของพระราบัญญัติลิขสิทธิ์ ฑ.ศ.๒๕๓๗ กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองการแสดงออกของความคิดแต่มิได้คุ้มครองความคิดหรือแนวคิด จำเลยนำพยานผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในงานวรรณกรรม๔ ปาก มานำสืบให้เห็นได้ว่า นวนิยายทั้งสองเรื่องมีเพียงโครงเรื่องหรือแก่นของเรื่องที่คล้ายกันเท่านั้นและไม่อาจสรุปได้ว่าจำเลยลอกเลียนผลงานของโจทก์เมื่อพิจารณาคำเบิกความของพยานจำเลยดังกล่าวประกอบเหตุผลที่ว่าโครงเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตของหญิงสาวที่มีฐานะยากจนใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้องและยอมมีความสัมพันธ์ทางเพศกับหัวหน้าวงดนตรีและผู้สื่อข่าวบันเทิงนั้นเป็นลักษณะของชีวิตที่ปรากฎให้เห็นได้ในธุรกิจบันเทิงเมื่อจำเลยนำสืบว่าเขียนนวนิยายเรื่องนี้จากชีวิตและประสบการณ์ของนักร้องชื่อนางว.และนาง ว.ได้มาเบิกความรับรองข้อกล่าวอ้างของจำเลยพยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยสร้างสรรค์ผลงานด้วยการประพันธ์นวนิยายเรื่อง“หางเครื่อง”โดยไม่ได้คัดลอกหรือเลียนงานวรรณกรรมเรื่อง “ไฟพระจันทร์”ของโจทก์จำเลยจึงไม่ได้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์

หมายเหตุ(พยานหลักฐานของโจทก์เป็นการสรุปเปรียบเทียบส่วนที่คล้ายกันของนวนิยายที่แสดงผ่านออกทางข้อเขียนเป็นตัวหนังสือรวม๒๒ จุด เป็นเพียงการวิเคราะห์และสรุปด้วยความเห็นของโจทก์เท่านั้นโจทก์หาได้นำผู้เชี่ยวชาญในงานวรรณกรรมมาสืบสนับสนุนบทสรุปและความเห็นดังกล่าวของโจทก์ไม่จึงทำให้พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์)




 

Create Date : 14 มีนาคม 2556    
Last Update : 14 มีนาคม 2556 15:58:48 น.
Counter : 1444 Pageviews.  

ค้น ความผิดซึ่งหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2549

พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด

     โจทก์

บริษัทโซนี่ คอมพิวเตอร์

เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อิงค์ จำกัด

     โจทก์ร่วม

นายกิติพงศ์ พิมมล

     จำเลย

ป.วิ.อ. มาตรา 2(7), 78, 80, 93

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31, 70

          หนังสือร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมซึ่งมีข้อความว่า มีการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมที่บริเวณศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ขอแจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) แล้วไม่จำเป็นต้องระบุชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำความผิด

          ร้านที่เกิดเหตุเป็นร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเล่นเกมต่างๆ และแผ่นเกม ย่อมเป็นสถานที่ที่เชื้อเชิญให้ประชาชนทั่วไปสามารถเดินเข้าไปดูและเลือกซื้อสินค้าได้ นับเป็นที่สาธารณสถานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ เมื่อสิบตำรวจ ส. เป็นผู้ทำการตรวจค้น แผ่นซีดีเกมอยู่ในตะกร้าซึ่งอยู่ในตู้สามารถมองเห็นได้ โดยแผ่นซีดีเกมของกลางดังกล่าวละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม มีลักษณะภายนอกของแผ่นซีดีของกลางต่างจากของโจทก์ร่วมอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นกรณีของการค้นในที่สาธารณสถานโดยเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าร้านที่เกิดเหตุมีสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด ไม่จำเป็นต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ทั้งเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับจำเลยได้ตามมาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง การค้นและจับจึงชอบด้วยกฎหมาย

________________________________

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 28, 30, 31, 61, 69, 70, 75 และ 76 ให้แผ่นซีดีรอมเกมของกลางจำนวน 179 แผ่น ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ และจ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

          จำเลยให้การปฎิเสธ

          ระหว่างพิจารณา บริษัทโซนี่ คอมพิวเตอร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ อิงค์ จำกัด ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งอนุญาต

          ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) และ 70 วรรคสอง ให้ลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 290,000 บาท ให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 1 ปี ให้คุมประพฤติจำเลยโดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติมีกำหนด 4 เดือน ต่อครั้ง เป็นเวลา 1 ปี และให้ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรเป็นเวลา 10 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และ 30 ให้แผ่นซีดีรอมเกมของกลางตามวัตถุพยานหมาย จ.10 ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ และให้จำเลยจ่ายเงินค่าปรับที่ได้ชำระตามคำพิพากษาฐานละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำนวนกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

          จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว คดีมีข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาท ชื่องาน “เพลย์สเตชั่น โปรแกรมเมอร์ทูล” (รหัสห้องสมุดเพลต์สเตชั่น) นายชาญสิญจ์ ตั้งบูรณากิจ ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ร่วมและมีการมอบอำนาจช่วงให้ นายพิเนต ฟ้าวิทยะ ดำเนินคดีรวมถึงการร้องทุกข์คดีนี้ด้วย นายพิเนตสืบทราบว่ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมที่ “ร้านนิวเกมส์” ในศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ แขวงบางบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร และนายพิเนตเคยไปที่ร้านที่เกิดเหตุ ต่อมานายพิเนตได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าพนักงานตำรวจ ในวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง นายพิเนตได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปยังร้านที่เกิดเหตุ มีการตรวจพบสินค้าซีดีเกมจำนวนหนึ่ง เจ้าพนักงานตำรวจและนายพิเนตได้แสดงตัวและค้นร้านที่เกิดเหตุ จำเลยอยู่ในร้านที่เกิดเหตุ จากการค้นได้ยึดแผ่นซีดีเกม จำนวน 179 แผ่น เป็นของกลาง คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยประการแรกว่า การจับกุมและสอบสวนคดีนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยอุทธรณ์ในทำนองว่า หนังสือร้องทุกข์ เอกสารหมาย จ.1 ไม่ใช่คำร้องทุกข์เพราะไม่มีการระบุชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำความผิด พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมไปน่าเชื่อถือ และรับฟังไม่ได้ว่ามีการร้องทุกข์จริง ทั้งการตรวจค้นและจับจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายเห็นว่า คำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7) นั้น หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวกระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ ดังนั้น หนังสือร้องทุกข์ เอกสารหมาย จ.1 ซึ่งมีข้อความว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมที่บริเวณศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ขอแจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป จึงถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายแล้ว ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำความผิดดังที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ ส่วนปัญหาที่ว่า มีการแจ้งความร้องทุกข์จริงหรือไม่นั้น โจทก์และโจทก์ร่วมมีนายพิเนตผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์ร่วม และพันตำรวจตรีสมเดช เทศลงทอง พนักงานสอบสวน เบิกความประกอบหนังสือร้องทุกข์ เอกสารหมาย จ.1 ยืนยันว่า มีการร้องทุกข์ตามกฎหมาย พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ปรากฎพิรุธให้สงสัย จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ ส่วนจำเลยไม่ได้นำสืบในประเด็นนี้ จึงไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมดังกล่าวได้ สำหรับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อสงสัยทำนองว่า เมื่อสายลับซื้อสินค้าจากร้านที่เกิดเหตุได้แล้ว นายพิเนตย่อมทราบถึงผู้กระทำความผิดแล้ว แต่ไม่ระบุในหนังสือร้องทุกข์ เอกสารหมาย จ.1 ก็ดี การไม่นำสายลับมาเบิกความ จึงเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ ของนายพิเนตก็ดี รวมทั้งข้อแตกต่างในคำเบิกความระหว่างสิบตำรวจตรีสุรเชษฐ์ วิสูตรศักดิ์ กับพันตำรวจตรีสมเดชนั้น ล้วนเป็นข้อเท็จจริงปลีกย่อย ไม่มีน้ำหนักถึงขนาดที่จะหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมได้ อุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          สำหรับเรื่องการค้นและจับในคดีนี้ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 บัญญัติห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น ในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด คดีนี้ร้านที่เกิดเหตุเป็นร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเล่นเกมต่างๆ และแผ่นเกม ย่อมเป็นสถานที่ที่เชื้อเชิญให้ประชาชนทั่วไปสามารถเดินเข้าไปดูและเลือกซื้อสินค้าได้ นับเป็นที่สาธารณสถานซึ่งนายพิเนตและเจ้าพนักงานตำรวจมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ เมื่อสิบตำรวจสุรเชษฐ์เป็นผู้ทำการตรวจค้น และสิบตำรวจตรีสุรเชษฐ์กับนายพิเนตต่างเบิกความยืนยันว่า แผ่นซีดีเกมของกลางอยู่ในตะกร้าซึ่งอยู่ในตู้สามารถมองเห็นได้ โดยนายพิเนตยืนยันด้วยว่า แผ่นซีดีเกมของกลางดังกล่าวละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม เพราะลักษณะภายนอกของแผ่นซีดีของกลางต่างจากของโจทก์ร่วมอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นกรณีของการค้นในที่สาธารณสถานโดยเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าร้านที่เกิดเหตุมีสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด การค้นดังกล่าวจึงเป็นไปตามกฎหมายแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีหมายค้นตามที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด ทั้งเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง การค้นและจับจึงชอบด้วยกฎหมาย แม้จะไม่มีการตรวจสอบแผ่นซีดีเกมของกลางในร้านที่เกิดเหตุดังที่จำเลยอุทธรณ์ก็ตาม อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน”

          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง ให้ลงโทษจำคุก 5 เดือน และปรับ 70,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ไม่คุมความประพฤติจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้แผ่นซีดีรอมเกมของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ และจ่ายเงินค่าปรับที่ได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก.

 

( พิชิต คำแฝง - สุวัฒน์ วรรธนะหทัย - ปัญญารัตน์ วิระยะวานิช )




 

Create Date : 31 พฤษภาคม 2555    
Last Update : 31 พฤษภาคม 2555 16:50:32 น.
Counter : 4344 Pageviews.  

การบรรยายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2553

พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร

     โจทก์

นายจิรวัฒน์ สนิทมาก

     จำเลย

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 29, 31, 70 วรรคหนึ่ง, 70 วรรคสอง

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26

ป.วิ.อ. มาตรา 158(5)

การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ต้องเป็นการกระทำแก่งานแพร่เสียงแพร่ภาพ ซึ่งหมายถึงงานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน ตามบทนิยามในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

          ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้าก็ตาม แต่การกระทำ “เพื่อการค้า” กับการกระทำ“เพื่อหากำไร” มีความหมายแตกต่างกันได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติให้การละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 เพื่อการค้า ต้องระวางโทษหนักกว่าการกระทำเพื่อหากำไรตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ทั้งตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะหากำไรโดยตรงจากการนำเพลงดังกล่าวออกแพร่เสียง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ไม่ครบถ้วนไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

________________________________

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 5, 6, 8, 15, 27, 28, 29, 31, 69, 75, 76 ริบของกลาง และให้จ่ายค่าปรับตามคำพิพากษาแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

          จำเลยให้การปฏิเสธ

          ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง

          โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติ นายสงวนศักดิ์ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหาย นำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นร้านเมมโมรี่คอมพิวเตอร์ ซึ่งเปิดให้ลูกค้าใช้บริการอินเทอร์เน็ตและเกม โดยมีจำเลยเป็นผู้ควบคุมดูแล พบข้อมูลเพลงเอ็มพี 3 ซึ่งมีงานเพลงที่ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ บันทึกอยู่ในหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ 9 เครื่อง ภายในร้าน  เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยพร้อมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า และยึดหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ 9 เครื่อง จอมอนิเตอร์ 1 จอ แผงแป้นอักขระ 1 แผง และเม้าส์ 1 อัน เป็นของกลาง นำส่งเจ้าพนักงานสอบสวนดำเนินคดี

มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ฟ้องจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 นั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกแพร่เสียงซ้ำ และจัดให้ประชาชนฟัง โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อื่นทางการค้าจากบุคคลทั่วไป การกระทำที่จะเป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ต้องเป็นการกระทำแก่งานลิขสิทธิ์ประเภทงานแพร่เสียงแพร่ภาพ ซึ่งหมายความถึงงานที่นำออกสู่สาธารณชนโดยการแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกันตามบทนิยามในมาตรา 4แต่คำฟ้องโจทก์กล่าวเพียงว่า ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมกับสิ่งบันทึกเสียงเท่านั้น โดยไม่ได้กล่าวว่าเพลงที่บันทึกในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายเป็นงานแพร่เสียงแพร่ภาพ การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องในส่วนนี้ ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้  ส่วนที่โจทก์ฟ้อง จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 บัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” นั้นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แม้โจทก์บรรยายในฟ้องว่า จำเลยนำเพลงซึ่งบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย อันเป็นการกระทำเพื่อการค้าก็ตาม แต่การกระทำ “เพื่อการค้า” กับการกระทำ “เพื่อหากำไร” มีความหมายแตกต่างกันได้ ดังจะเห็นได้จากการที่มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 31 เพื่อการค้า ต้องระวางโทษหนักกว่าการกระทำเพื่อหากำไรตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ทั้งตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะหากำไรโดยตรงจากการนำเพลงออกแพร่เสียง เป็นคำฟ้องที่บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ไม่ครบถ้วน ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

          ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อต่อไป  จำเลยกระทำความผิดฐานทำซ้ำดัดแปลงงานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 และ 28 หรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์มีนายสงวนศักดิ์ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหาย กับสิบตำรวจเอกอนุสรณ์เดินทางไปตรวจสอบที่ร้านพร้อมกับนายสงวนศักดิ์มาเบิกความ ผลการตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในร้านพบว่ามีเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายบันทึกอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานเพลง แต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบยืนยัน จำเลยเป็นผู้ทำซ้ำหรือดัดแปลงข้อมูลเพลงของผู้เสียหายโดยนำสิ่งบันทึกเสียงแผ่นซีดีรอมเอ็มพี 3 ซึ่งบันทึกเพลงอันเป็นงานลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง แต่ปรากฏว่าร้านเป็นของนายวุฒินันท์ ทั้งในชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยเป็นผู้ทำซ้ำดัดแปลงงานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจริงตามฟ้องหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

          พิพากษายืน

 

( สมควร วิเชียรวรรณ - อร่าม เสนามนตรี - ไมตรี ศรีอรุณ )

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายอภิชาติ เทพหนู

หมายเหตุ




 

Create Date : 24 มีนาคม 2555    
Last Update : 24 มีนาคม 2555 21:01:45 น.
Counter : 2925 Pageviews.  

ฏีกาอาจารย์ไพจิตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2551


นายไพจิตร ปุญญพันธุ์


โจทก์

ราชบัณฑิตยสถาน


จำเลย



พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6 วรรคหนึ่ง, 7(2)



ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๔ บัญญัติว่า ผู้สร้างสรรค์ คือ ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์ดังกล่าวต้องเป็นการสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ดังนั้นงานที่จะมีลิขสิทธิ์นั้นเพียงปรากฏว่าเป็นงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้สร้างสรรค์โดยผู้ใช้ความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ ระดับหนึ่งในงานนั้น และมิได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์แล้วโดยไม่จำเป็นต้องเป็นงานที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้น หากผู้สร้างสรรค์สองคนต่างคนต่างสร้างสรรค์งานโดยมิได้ลอกเลียนซึ่งกันและกัน แม้ว่าผลงานที่สร้างสรรค์ของทั้งสองคนออกมาจะมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ผู้สร้างสรรค์ทั้งสองต่างคนต่างก็ได้ลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างสรรค์ขึ้นแยกต่างหากจากกัน

โจทก์เป็นผู้เขียนและเรียบเรียงหนังสือเรื่อง “ความคลาดเคลื่อนของความหมายในพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ (ในทางนิติศาสตร์) และพจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๓๗ กับความคลาดเคลื่อน" นั้น หากพิเคราะห์เนื้อหาโดยรวมของหนังสือทั้งเล่ม เป็นการหยิบยกคำศัพท์แต่ละคำและความหมายของคำที่จำเลยให้ไว้ในพจนานุกรมขึ้นมาเป็นวัตถุแห่งการวิจารณ์ โดยการวิจารณ์คำแต่ละคำเริ่มต้นด้วยคำศัพท์และความหมายของคำแต่ละคำ ต่อด้วยเนื้อหาของการวิจารณ์ที่มีการอ้างบทกฎหมายและความเห็นทางตำราประกอบ และความหมายของคำที่ควรจะเป็น โดยไม่ปรากฏว่ามีการเลียนแบบผู้ใด นับว่าเป็นงานที่โจทก์ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ ความวิริยะอุตสาหะในการค้นคว้า จัดลำดับและเรียบเรียงที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ถือว่าโจทก์ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ดังนั้น โจทก์จึงย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานหนังสือดังกล่าว ตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา ๖ วรรคแรก ที่จะได้รับความคุ้มครองงานอันเป็นวรรณกรรมของโจทก์

สำหรับเฉพาะในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานวิจารณ์คำศัพท์ทั้ง ๗ คำคือ ครอบครอง ครอบครองปรปักษ์ คู่สัญญา ตัวการ พินัยกรรม คดีดำ คดีแดง ซึ่งเป็นบางส่วนของหนังสือที่โจทก์เป็นผู้เขียนนั้น จำต้องวิเคราะห์เป็นคำ ๆ ไป ซึ่งเนื้อหางานวิจารณ์คำแต่ละคำนั้นประกอบด้วย ๓ ส่วน ส่วนที่หนึ่งได้แก่ คำศัพท์และความหมายของคำศัพท์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งการวิจารณ์ ส่วนที่สองเนื้อหาการวิจารณ์ และส่วนที่สามซึ่งเป็นส่วนที่พิพาทกันในคดีนี้ คือ ส่วนความหมายของคำศัพท์ ตามที่ควรจะเป็น ดังนั้น เนื้อหาส่วนที่สามซึ่งเป็นบทสรุปดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ต้องการชี้ให้เห็นว่า ความหมายที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ความหมายของคำที่เป็นบทสรุปของโจทก์ แต่ละความหมายนั้นแล้วก็พบว่า ความหมายของคำว่า ครอบครอง ครอบครองปรปักษ์ ตัวการ และพินัยกรรม ล้วนมีเนื้อหาตรงกับความหมายที่ปรากฏอยู่แล้วในกฎหมายคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายอาญา แตกต่างกันบ้างเฉพาะถ้อยคำที่เป็นรายละเอียดเล็กน้อย เช่น การเชื่อมโยงคำ หรือการเรียงประโยค ดังนั้น ในส่วนความหมายของคำว่า ครอบครอง ครอบครองปรปักษ์ ตัวการ และพินัยกรรม ในหนังสือของโจทก์นั้น จึงเป็นเนื้อความในตัวบทกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีลิขสิทธิ์ในความหมายของคำดังกล่าวตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗ (๒)

ส่วนคำว่า “คู่สัญญา” “คดีดำ” และ “คดีแดง” แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติในลักษณะเป็นการให้ความหมายไว้โดยตรงเช่นเดียวกับคำ ๔ คำที่กล่าวมาแล้ว แต่โจทก์ได้มาจากการดูตัวบทกฎหมาย และเป็นถ้อยคำที่อาจารย์ของโจทก์ใช้ในการสอนในมหาวิทยาลัยและอธิบายความตั้งแต่เมื่อครั้งโจทก์เป็นนักศึกษากฎหมายซึ่งตรงกับความหมายที่โจทก์ได้ให้ความหมายไว้ จึงทำให้น่าเชื่อว่าความหมายของคำทั้ง ๓ คำดังกล่าว ก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของโจทก์เองโดยแท้ หากแต่เป็นความหมายที่มีการสร้างสรรค์และเข้าใจกันโดยทั่วไปมาก่อนโดยผู้ปฏิบัติหรือคณาจารย์ทางนิติศาสตร์ท่านอื่น ๆ จากเนื้อหาของกฎหมาย แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาคดีและคำพิพากษาของศาล ซึ่งมีการถ่ายทอดต่อกันมาโดยทางคำบรรยาย ทางตำราหรือเอกสารทางวิชาการ แล้วโจทก์เป็นผู้นำความหมายดังกล่าวมารวมไว้เท่านั้น ความหมายของคำเหล่านี้จึงไม่ใช่งานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๔ ในอันที่จะได้รับความคุ้มครอง



________________________________





( เกรียงชัย จึงจตุรพิธ - สุวัฒน์ วรรธนะหทัย - ปัญญารัตน์ วิระยะวานิช )



ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายวิศิษฐ์ ศรีพิบูลย์




 

Create Date : 05 ตุลาคม 2554    
Last Update : 5 ตุลาคม 2554 18:28:38 น.
Counter : 1707 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

boxxcatt
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add boxxcatt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.