Group Blog
 
All Blogs
 
เครื่องหมายการค้า ขายของโดยหลอกลวง

แม้จะเก่า แต่ทรงคุณค่า ขออนุญาตนำเผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ

ขายของโดยหลอกหลวง
จิตติ ติงศภัทิย *
(บทบัณฑิตย์ เล่ม ๒๕ ตอน ๑ มกราคม ๒๕๑๑ หน้า ๔๐-๔๕)
ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติความผิดฐานขายของโดยหลอกหลวงไว้ในมาตรา
๒๗๑ ว่า “ผู้ใดขายของโดยหลอกหลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด
สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐาน
ฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
มาตรการนี้มีข้อความตรงกับมาตรา ๓๑๐ แห่งกฎหมายลักษณะอาญา ตามที่แก้ไข
เพิ่มเติมฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๔๘๕ เพียงแต่เพิ่มข้อความขึ้นตอนหนึ่งว่า “ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็น
ความผิดฐานฉ้อโกง” ซึ่งคงจะทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และได้เปลี่ยนจากที่เคย
อยู่ในหมวดความผิดฐานฉ้อโกงมาอยู่ในหมวดความผิดเกี่ยวกับการค้า องค์ความผิดใน
ส่วนการกระทำคือขายของ ขายในที่นี้หมายความถึง การกระทำในรูปสัญญา ไม่หมายความ
ถึงโอนกรรมสิทธิ์แก่กันแล้ว อันเป็นการซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์มาตรา ๔๕๕ คือหมายความเพียงสัญญาซึ่งผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินตอบแทน
ราคาที่ผู้ซื้อจะชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๕๓ การซื้อขายจะสมบูรณ์
หรือสำเร็จบริบูรณ์หรือไม่ ไม่เป็นข้อสำคัญ เหตุนี้ความผิดตามมาตรานี้จึงสำเร็จเมื่อมีสัญญา
ขาย คือ มีคำสนองขึ้นตรงตามคำเสนอ เช่น ผู้ขายวางของไว้เป็นคำเสนอขาย ผู้ซื้อแสดงเจตนา
ซื้อก็เป็นคำสนอง เกิดเป็นสัญญา ถือได้ว่ามีการขายขึ้นแล้ว ไม่จำต้องถึงกับเลือกหรือระบุตัว
ทรัพย์สิน เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๕, ๔๖๐
ไม่จำต้องได้รับชำระราคาค่าซื้อจากผู้ซื้อแล้ว แต่การเสนอขายตามทำนองมาตรา ๒๕๗, ๒๖๐
ยังไม่เป็นการขาย อันเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรานี้จนกว่าจะมีคำสนองซื้อต่อผู้เสนอขาย อาจ
* เนติบัณฑิตไทย นิติศาสตร์มหาบัณฑิต และ LL.M.Magna Cum Laude (S.M.U.) จากสหรัฐอเมริกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ
ในศาลฎีกา
โครงการอนุรักษ์มรดกทางปัญญา (Project for the Preservation of Intellectual Heritage )
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม (E-Library of the Judiciary – //www.library.judiciary.go.th)
2
เป็นได้ก็แต่ขั้นพยายาม อนึ่ง การใช้กฎหมายอาญาลงโทษผู้กระทำต้องตีความโดยเคร่งครัด
เหตุนี้การขยายความคำว่า ขายไปถึงการแลกเปลี่ยน หรือจำนำ จึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๒ (ฎีกาที่
๙๙๒/๒๔๕๖ มโนสาร ๙๙) การแลกเปลี่ยนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา
๕๑๘ เป็นการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินซึ่งกันและกัน อาจมีการโอนเงินเพิ่มเข้ากับทรัพย์สินสิ่งอื่น
ให้แก่กันด้วยก็ได้ ตามมาตรา 520 แต่ถ้าตกลงซื้อขายกัน แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน
อื่นเพิ่มเข้ากับเงินราคาทรัพย์ก็ยังคงเป็นการขายอยู่ ถ้าเป็นการขายแล้ว จะขายทอดตลาดหรือ
แม้เเต่ขายฝากก็เป็นการขายตามความหมายในมาตรานี้ ไม่เกี่ยวกับจะต้องมีหลักฐาน หรือ
ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๕๖ ซึ่งเป็นบทบัญญัติเพื่อใช้สิทธิ
ในทางคดีส่วนแพ่งจะขายของ ของตนเองหรือไม่ การขายต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ ก็ได้
ชื่อว่าขายทั้งสิ้นไม่เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อขายในทางแพ่งแต่ประการใด ของที่ขาย
ตามมาตรานี้เป็นคำที่กฎหมายเลือกใช้ต่างกับทรัพย์หรือทรัพย์สินที่ใช้อยู่ในมาตราอื่นๆ จึงย่อม
มีความหมายต่างกัน คงไม่หมายความไปถึงอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่คง
หมายถึงสิ่งที่บุคคลซื้อขายกันนอกจากอสังหาริมทรัพย์ โดยจำต้องถึงกับเป็นสินค้าที่ขายกันใน
การค้า ถึงแม้มาตรานี้จะอยู่ในลักษณะความผิดเกี่ยวกับการค้า แต่กฎหมายก็ใช้คำว่าของ ไม่ใช้
คำว่าสินค้า ดังที่ใช้ในมาตรา ๒๗๒ ต่อไป ของในมาตรานี้จึงหมายความถึงสังหาริมทรัพย์ ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย ์ มาตรา ๑๐๑ ซึ่งรวมถึงกำลังแรงแห่งธรรมชาติ และสิทธิอัน
เกี่ยวด้วยสังหาริมทรัพย์ ทั้งยังหมายความรวมตลอดถึงสิทธิเรียกร้องและลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจเป็น
ปัญหาว่า เป็นทรัพย์สินหรือเป็นสังหาริมทรัพย์หรือไม่นั้นด้วย1 ถ้านำมาขายกัน ก็เป็นของตาม
ความหมายตามมาตรานี้ได้ทั้งสิ้น2
การขายต้องขายโดยหลอกหลวงด้วยประการใดๆให้ผู้ซื้อหลงเชื่อ จึงต้องมีการกระทำ
อันหนึ่งคือ หลอกหลวง อันเป็นเหตุให้เกิดผลคือการขายอันเป็นการกระทำอีกอันหนึ่ง เหตุนี้ถ้า
บรรยายฟ้องว่าขายของโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงให้เชื่อ แต่ไม่บรรยายว่าหลอกลวงด้วย
ประการใดอย่างไร ศาลถือว่าเป็นแต่บรรยายว่ามีเจตนาหลอกลวง ไม่มีการกระทำอันแสดงการ
1 ดูฎีกาที่ ๑๒๒๗/๒๔๘๑ ๒๒ ธรมสาร ๑๔๖๒, ที่ ๑๑๗๔/๒๔๘๗ คำพิพากษาฎีกาของเนติบัณฑิตยสภา ๗๙๗, ที่ ๓๘/
๒๔๙๒ ๒๔๙๒ คำพิพากษาฎีกาของเนติบัณฑิตยสภา ๒๗,คำบรรยายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์ของ
ศาสตราจารย์ประมูล สุวรรณศร พ.ศ. ๒๕๐๑ หน้า ๑๒
2 Rousselet & Patin No. ๗๗๐ p.๖๖๓ หมายความถึงสังหาริมทรัพย์ และตามกฎหมายฝรั่งเศสความผิดฐานนี้อาจกระทำได้
โดยผู้ซื้อด้วย เช่น ใช้เครื่องชั่งผิดอัตราซื้อของเป็นต้น ไม่จำกัดเฉพาะผู้ขายเท่านั้นที่ทำความผิดตามมาตรานี้ได้ดังมาตรา
๒๗๑
โครงการอนุรักษ์มรดกทางปัญญา (Project for the Preservation of Intellectual Heritage )
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม (E-Library of the Judiciary – //www.library.judiciary.go.th)
3
หลอกลวงออกมา หากผู้ซื้อซึ่งมีหน้าที่ตรวจตราของที่ซื้อได้ซื้อโดยเข้าใจไปเองการขายก็ไม่
เป็นความผิด จึงไม่เป็นฟ้องที่ครบองค์ความผิดฐานนี้ (ฎีกาที่ ๑๒๗๗/๒๔๙๔, ๒๔๙๔ คำ
พิพากษาฎีกาของเนติบัณฑิตยสภา ๑๐๕๓) การหลอกลวงคือทำให้หลงเชื่อซึ่งตามมาตรานี้จะ
ทำด้วยวิธีใดก็ได้ไม่จำกัด ไม่จำต้องหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดข้อความ
จริงดังมาตรา ๓๔๑ เหตุนี้แม้จะเป็นการหลอกลวง โดยแสดงความเห็นโอ้อวด หรือคำมั่น
สัญญากล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต ถ้ากระทำหรือมุ่งหมายให้หลงเข้าใจผิดก็เป็นการ
หลอกลวงตามมาตรานี้ได้ แต่การหลอกลวงนั้นต้องมีผลเกิดขึ้น คือผู้ซื้อหลงเชื่อการหลอกลวง
นั้น เช่นเดียวกับความผิดตามมาตรา ๓๔๑ หากมีการกระทำเพื่อให้หลงผิดแต่ผู้ซื้อไม่หลงเชื่อ
ความผิดอาจมีได้ก็แต่เพียงพยายาม ถ้าหลอกขายของว่าเป็นของทำภายในประเทศ แต่ผู้ซื้อซื้อ
โดยไม่คำนึงว่าเป็นของต่างประเทศหรือไม่ ก็เป็นได้แต่พยายามตามมาตรานี้เท่านั้น มิใช่ซื้อ
โดยหลงเชื่อการหลอกลวงว่าเป็นของต่างประเทศ ง. ขายด้ายหลอดตราสมอแก่ตำรวจที่ไปขอ
ซื้อ ที่หีบห่อได้แสดงไว้ว่า มีความยาว ๒๐๐ หลา แต่ความจริงยาวระหว่าง ๑๓๐ ถึง ๑๕๐ หลา
ซึ่งตำรวจรู้ความจริงอยู่ก่อนแล้ว เป็นความผิดเพียงฐานพยายามตามมาตรานี้ (ฎีกาที่ ๕๔๙/
๒๕๐๔, ๒๕๐๔ คำพิพากษาฎีกาของเนติบัณฑิตยสภา ๔๘๓) ด้วยเหตุนี้การหลอกลวงให้
หลงเชื่อจึงต้องมีอยู่ก่อนหรือในขณะที่มีการขาย การขายย่อมหมายความถึงขณะที่สัญญาขาย
ดังกล่าวได้เกิดขึ้น ขายของที่บรรจุอยู่ในหีบห่อไม่ครบถ้วน แต่มีตัวอย่างให้ตรวจดูซึ่งครบถ้วน
เมื่อผู้ซื้อตรวจดูตัวอย่างเป็นที่พอใจจึงตกลงซื้อ เป็นการหลอกลวงในขณะซื้อขาย ถ้าไม่มีการ
หลอกลวงจนถึงในขณะที่มีสัญญาขายเกิดขึ้น แต่เมื่อตกลงซื้อขายแล้วจึงส่งมอบของที่ขายไม่
ครบถ้วนด้วยอุบายอย่างใดอย่าง ดังนี้ ไม่มีการหลอกขายโดยให้ผู้ซื้อซื้อโดยหลงเชื่อ แต่เป็น
การหลอกในการส่งมอบของตามสัญญาซื้อขายให้รับชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น เช่น ตกลง
ขายผ้ากัน เวลาวัดผ้าเพื่อขายก็ใช้ไม้วัดที่ถูกต้องตามกฎหมายแต่ใช้วิธีวัดโดยพลิกแพลงวัดผ้า
สั้นไปศอกละ 5 เซนตเิ มตร ดังนี้ เป็นการหลอกในการส่งมอบ ไม่น่าจะมีความผิดตามมาตรานี้
แต่ถ้ามีข้อเท็จจริงที่เห็นได้ว่าผู้ขายได้หลอกลวงว่าจะส่งมอบของโดยถูกต้อง ทั้งที่เจตนาจะส่ง
มอบของโดยไม่ถูกต้องอยู่แล้วในขณะตกลงการขาย ก็ถือได้ว่าเป็นการหลอกลวงด้วยประการ
ใดๆ อันเป็นความผิดตามมาตรานี้ได้3 เหตุนี้ของที่ขายจึงน่าจะยังไม่จำเป็นต้องมีตัวตนอยู่
3 ฎีกาที่ ๑๐๘๔/๒๔๗๙ ๑๐ บทบัณฑิตย์ ๓๓๔ มีข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นโดยไม่ปรากฏว่ามีการหลอกลวงอย่างใดตั้งแต่ต้น
ศาลล่างลงโทษมาตามมาตรา ๓๑๐ แห่งกฎหมายลักษณะอาญาเดิม และไม่มีฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่ศาลฎีกากล่าวว่าการใช้
เครื่องวัดโดยไม่วัดให้ถูกต้องเป็นความผิดดังที่ศาลล่างวินิจฉัย ควรสังเกตว่ามาตรา ๓๑๐ ก่อนแก้ไขเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ มี
โครงการอนุรักษ์มรดกทางปัญญา (Project for the Preservation of Intellectual Heritage )
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม (E-Library of the Judiciary – //www.library.judiciary.go.th)
4
ในขณะกระทำความผิดเสมอไป ถ้าเป็นการอ้างถึงของที่ขายโดยพิสูจน์ได้ว่าเป็นการหลอกลวง
ตามที่บัญญัติไว้ ก็น่าจะเป็นความผิดสำเร็จได้ เช่นเป็นของที่รวมอยู่ในจำนวนใหญ่ หรือมี
ตัวอย่าง หรือส่วนหนึ่งของของที่ขายแสดงไว้ อันเป็นการหลอกลวง หรือเช่นขายลูกสุนัขที่จะ
เกิดขึ้นจากท้องแม่สุนัขโดยหลอกลวงในสภาพว่าเป็นพันธุ์แท้ อันมิใช่ความจริง เพราะแม่สุนัข
ไม่ใช่พันธุ์แท้เป็นต้น อย่างไรก็ดี แม้การหลอกลวงจะไม่จำกัดวิธีการ การหลงเชื่อก็จำกัด
เฉพาะที่เกี่ยวกับของนั้นในประการที่ระบุไว้ คือ
๑. แหล่งกำเนิด ซึ่งอาจเป็นที่ที่ของนั้นได้เกิดมีขึ้น เช่น ประเทศผู้ผลิต ท้องถิ่นที่ผลิต เช่น ส้ม
อ้อมหรือส้มโอนครไชยศรี แต่ไม่หมายความถึงคำที่เป็นชื่อสิ่ง ผลิตไปแล้ว เช่น น้ำพริก
ศรีราชา และอาจหมายความรวมถึงสถานที่ โรงงาน หรือบุคคลผู้ผลิตด้วย
๒. สภาพคือธรรมชาติของของที่ขาย เช่น ทองแท้หรือใช้ทองเหลืองทองแดงชุบทำเทียมขึ้น
(ฎีกาที่ ๙๙๒/๒๔๕๖ ๓ มโนสาร ๙๙, ที่ ๑๑๓๑,๑๑๓๒/๒๔๘๐ ๒๑ ธรมสาร๑๑๘๘)
๓. คุณภาพ คือ ลักษณะที่ทำให้ของอันมีสภาพเดียวกันอันหนึ่งดีหรือเลวกว่าอีกอันหนึ่ง เช่น
ทองที่มีแร่อื่นผสมมากน้อยกว่ากัน ของที่เอาวัตถุอื่นที่ด้อยกว่าผสม ลำดับชั้นของของ เช่น
ข้าวสารชนิดที่เท่าใด ของเก่าหรือของใหม่ที่มีค่าต่างกัน ความสามารถหรือประโยชน์ของของ
เช่น แก้โรคหายได้ภายในเวลาหนึ่งนาทีเป็นต้น
๔. ปริมาณ คือ จำนวนมากน้อยเท่าใด น้ำหนัก ความยาว (ฎีกาที่ ๕๔๙/๒๕๐๔ ๒๕๐๔ คำ
พิพากษาของเนติบัณฑิตยสภา ๔๘๓ ) ความจุที่วัดได้
องค์ประกอบความผิดในส่วนจิตใจ คือเจตนา ตามมาตรา ๕๙ รวมทั้งความรู้ข้อเท็จจริง
ถึงความเท็จในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณแห่งของที่ขายนั้น ควรสังเกตว่าไม่มี
ข้อความบัญญัติว่าต้องมีเจตนาทุจริต ฉะนั้นแม้จะไม่ได้หลอกขายโดยเจตนาเพื่อหาประโยชน์
อันมิควรได้ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นความผิดได้ ข้อที่น่าสงสัยก็คือ การขายย่อมมีราคาตอบแทน
เป็นการหาประโยชน์อยู่แล้ว ประโยชน์ที่ได้มาโดยการหลอกน่าจะเป็นสิ่งที่มิควรได้โดยชอบ
ด้วยกฎหมายอยู่ในตัวเอง
ข้อความว่า “ ผู้ใดขายทรัพย์สิ่งของอย่างใดๆ และมันใช้อุบายล่อลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในธรรมชาติ ในชนิดหรือในจำนวนอัน
เป็นเท็จ ฯลฯ” ต่างกับที่แก้ไข ซึ่งมีข้อความตรงกับมาตรา ๒๗๑ นี้ ถ้อยคำในกฎหมายเวลานั้น ไม่จำกัดว่าต้องขายโดย
หลอกลวงให้หลงเชื่อในธรรมชาติฯลฯหากกินความถึงขายแล้ว มีการหลอกลวงให้เชื่อในธรรมชาติ ชนิด จำนวนในภายหลัง
เช่นเวลาส่งมอบให้ก็ได้
โครงการอนุรักษ์มรดกทางปัญญา (Project for the Preservation of Intellectual Heritage )
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม (E-Library of the Judiciary – //www.library.judiciary.go.th)
5
มาตรานี้มีข้อความเพิ่มขึ้นจากข้อความในมาตรา ๓๑๐ แห่งกฎหมายอาญาเดิม ว่า “ถ้า
การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง” ทำให้ความหมายแตกต่างกันไปอย่างสำคัญ
กล่าวคือ ตามกฎหมายอาญาเดิม มาตรา ๓๑๐ โทษเบากว่ามาตรา ๓๐๔ เดิม ซึ่งเป็นบทบัญญัติ
ความผิดฐานฉ้อโกงทั่วไป จึงมีผลว่ามาตรา ๓๑๐ เป็นบทบัญญัติเฉพาะ แม้โทษเบากว่าก็ต้อง
ลงโทษตามบทบัญญัติเฉพาะไม่ลงโทษตามบททั่วไปที่มีโทษหนัก ชั้นเดิมศาลเคยวินิจฉัยว่า
แม้มีการหลอกลวงโดยแสดงข้อความเท็จ เช่น สิ่งประดิษฐ์ทำด้วยทองแดง ทองเหลือง ชุบให้
เหมือนทอง หลอกว่าเป็นทองแท้ ก็เป็นความผิดตามมาตรา ๓๑๐ ไม่ใช่ ๓๐๔ (ฎีกาที่ ๙๙๒/
๒๔๕๖ ๓ มโนสาร ๙๙, ที่ ๑๑๓๑,๑๑๓๒/๒๔๘๐ ๒๑ ธรมสาร ๑๑๘๘) แต่ตามกฎหมายใหม่
มาตรานี้จะต้องแยกความแตกต่างระหว่างมาตรา ๒๗๑ กับมาตรา ๓๔๑ ฐานฉ้อโกง และเป็น
ความผิดตามมาตรานี้ต่อเมื่อการกระทำไม่ถึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงเท่านั้น ความผิดฐาน
ฉ้อโกงหมายความถึงในขั้นพยายามด้วยซึ่งเป็นความผิดที่จะลงโทษตามมาตรานี้ไม่ได้ เมื่อ
เปรียบเทียบมาตรานี้กับความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 มีข้อควรสังเกตดังนี้
๑. การขายตามมาตรานี้เป็นแต่เพียงสัญญา ผู้กระทำความผิดตามมาตรานี้ยังไม่ต้องได้ทรัพย์สิน
อันเป็นราคามาจากผู้ซื้อที่หลงเชื่อการหลอกลวง แต่แม้จะยังไม่ได้รับทรัพย์สินมา ยังไม่เป็น
ความผิดสำเร็จตามมาตรา ๓๔๑ ก็ยังอาจเป็นพยายามฉ้อโกงลงโทษตามมาตรานี้ไม่ได้
๒. ของที่ขายตามมาตรานี้ไม่หมายความถึงอสังหาริมทรัพย์ แต่มาตรา ๓๔๑ ทรัพย์สินที่
ฉ้อโกงเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้
๓. การหลอกลวงตามมาตรานี้จะหลอกลวงด้วยประการใดๆก็ได ้ ต่างกับมาตรา ๓๔๑ ซึ่งจำกัด
การหลอกลวงเฉพาะด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ข้อนี้จึงเป็นประการหนึ่งที่การกระทำ
อาจเป็นความผิดตามมาตรานี้โดยยังไม่ถึงกับเป็นความผิดฐานฉ้อโกง การหลอกลวงโดยวิธีโอ้
อวด แสดงความเห็นหรือแสดงเจตนาในภายหน้า ถ้าไม่ตรงต่อความจริงใจแล้ว ก็เป็นการ
หลอกลวงตามมาตรานี้แต่อาจไม่เป็นการแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดข้อความจริงตามมาตรา
๓๔๑4 เหตุนี้ถ้าของที่ขายเป็นทองเหลืองชุบทอง แต่หลอกขายโดยแสดงข้อความเท็จ เช่น บอก
ว่าเป็นทอง ก็น่าจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไปทีเดียว แต่ศาลเคยวินิจฉัยว่าเป็นความผิดตาม
มาตรา ๓๑๐ แห่งกฎหมายลักษณะอาญาเดิม ทั้งๆที่ผู้ขายบอกผู้ซื้อว่าเป็นทอง ศาลยังถือว่ามิได้
กล่าวเท็จให้หลงเชื่อ จึงมีความผิดฐานนี้ไม่ใช่ฐานฉ้อโกง (ฎีกาที่ ๑๑๓๑, ๑๑๓๒/๒๔๘๐ ๒๑
4 Rousselet & Patin No.970 p. 663 ตามกฎหมาย ค.ศ. 1905 ที่ใช้แทนมาตรา 423 แห่งประมวลกฎหมายอาญาฝรั่งเศสมีข้อ
แตกต่างกับความผิดฐานฉ้อโกงทำนองเดียวกันนี้
โครงการอนุรักษ์มรดกทางปัญญา (Project for the Preservation of Intellectual Heritage )
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม (E-Library of the Judiciary – //www.library.judiciary.go.th)
6
ธรมสาร ๑๑๘๘) ตามมาตรา ๓๑๐ กฎหมายในเวลานั้นอาจเป็นบทเฉพาะที่ยกเว้นบททั่วไปซึ่ง
ต่างกับมาตรา ๒๗๑ นี้ แต่หลอกขายด้ายหลอดแก่ตำรวจที่ไปขอซื้อว่ายาว ๒๐๐ หลา ตามที่
เขียนไว้ที่หีบห่อ ซึ่งความจริงยาว ๑๓๐ ถึง ๑๕๐ หลา ศาลยังวินิจฉัยว่าเป็นความผิดตามมาตรา
๒๗๑ (ฎีกาที่ ๕๔๙/๒๕๐๔ ๒๕๐๔ คำพิพากษาฎีกาของเนติบัณฑิตยสภา ๔๘๓ คดีนี้โจทก์
ไม่ได้ฟ้องฐานฉ้อโกงตามมาตรา ๓๔๑ แต่ว่าตามมาตรา ๒๗๑ นี้โดยเคร่งครัดแล้ว ความผิด
ตามมาตรานี้มีได้ก็ต่อเมื่อการกระทำไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงท่านั้น)
๔. การกระทำที่เป็นองค์ความผิดตามมาตรานี้ ไม่มีบัญญัติถึงปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้
แจ้ง อันมาตรา ๓๔๑ ถือเป็นการหลอกลวงประการหนึ่ง ที่จริงการหลอกลวงหรือปกปิด
ข้อความจริง ก็เป็นการกระทำด้วยกันทั้ง ๒ ประการ มิใช่ละเว้น จึงอาจกระทำด้วยการงดเว้น
ได้ ตามาตรา ๕๙ วรรคท้าย แต่ต้องเป็นการงดเว้นการซึ่งตนมีหน้าที่เปิดเผยเพื่อป้องกันผลมิให้
เกิดการหลงผิด หน้าที่ในที่นี้ไม่หมายความถึงหน้าที่ในทางศีลธรรมฉะนั้นการหลอกลวงตาม
มาตรา ๒๗๑ นี้จึงรวมถึงการไม่เปิดเผยข้อความอันตนมีหน้าที่ต้องเปิดเผยเช่นว่านี้ด้วย แต่การ
ปกปิดข้อความจริงตามมาตรา ๓๔๑ อาจมีความหมายกว้างออกไปไม่เฉพาะแต่ข้อความที่ตนมี
หน้าที่ต้องเปิดเผย เพื่อป้องกันผลตามมาตรา ๕๙ วรรคท้ายเท่านั้น แม้ไม่ถึงกับมีหน้าที่ หาก
เป็นข้อความที่ตนควรบอกให้แจ้งอันเป็นเพียงหน้าที่ตามศีลธรรมก็ต้องด้วยมาตรา ๓๔๑ แล้ว
๕. การหลอกลวงตามมาตรานี้เป็นการทำให้เกิดผล คือหลงเชื่อ และเป็นผลให้มีการขาย
เช่นเดียวกับหลอกลวง เป็นเหตุให้ได้ทรัพย์ไป เพราะการหลอกลวงนั้น ซึ่งรวมทั้งการปกปิด
ตามมาตรา ๓๔๑ ถ้าหลอกลวงแต่ไม่หลงเชื่อหรือไม่ได้ทรัพย์ไปเพราะการหลอกลวง ก็ไม่เป็น
ความผิดสำเร็จทั้งตามมาตรานี้และมาตรา ๓๔๑ ความผิดมีเพียงขั้นพยายามทั้งสองมาตรา ไม่ใช่
ข้อแตกต่างระหว่างกัน ถ้าขายของผิดคุณภาพโดยหลอกลวง แต่ผู้ซื้อมิได้ซื้อเพราะเชื่อว่าเป็น
ของตามคุณภาพที่หลอก หรือเป็นของตามคุณภาพที่แท้จริง ก็คงซื้อในราคาเดียวกัน ก็คงไม่
เป็นความผิดทั้งตามมาตรานี้หรือมาตรา ๓๔๑ ถ้าซื้อเพราะหลงเชื่อคุณภาพตามที่บอก มิฉะนั้น
จะไม่ซื้อหรือไม่ซื้อตามราคาเดียวกัน คือจะเป็นกลฉ้อฉลขนาดให้ทำสัญญาหรือให้รับภาระ
หนักขึ้นก็เป็นความผิดตามมาตรา ๓๔๑ ได้ทั้งสองประการ ไม่เพียงแต่เป็นความผิดตามมาตรา
นี้
๖. การหลอกให้หลงเชื่อตามมาตรานี้จำกัดเฉพาะในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณ
แต่มาตรา ๓๔๑ ไม่จำกัดว่าหลอกให้หลงเชื่อในข้อใด
โครงการอนุรักษ์มรดกทางปัญญา (Project for the Preservation of Intellectual Heritage )
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม (E-Library of the Judiciary – //www.library.judiciary.go.th)
7
๗. มาตรานี้ไม่มีเจตนาพิเศษคือ โดยทุจริตดังในมาตรา ๓๔๑ เหตุนี้ถ้าการกระทำไม่มีเจตนา
ทุจริตก็ย่อมไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามาตรา ๓๔๑ แต่เป็นความผิดตามมาตรานี้ได้ แต่ก็น่า
สงสัยว่า การขายเป็นการได้ประโยชน์ ถ้าหลอกลวงขาย ประโยชน์ที่ได้จากการขายจะเป็น
ประโยชน์ที่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายได้อย่างไร แม้จะหลอกขายของเก๊อย่างราคาของเก๊
ถ้าเขาไม่ต้องการซื้อของเก๊ แต่ซื้อเพราะถูกลวงให้หลงเชื่อ แม้ซื้อในราคาของเก๊เขาก็ไม่อยาก
เสียเงินซื้อ ยังเป็นประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นทุจริตอยู่นั่นเอง
รวมความแล้วข้อแตกต่างที่แท้จริงซึ่งทำให้เป็นความผิดตามมาตรานี้ โดยไม่เป็น
ความผิดฐานฉ้อโกง ก็มีแต่ในเรื่องการหลอกลวงซึ่งอาจกระทำด้วยประการใด ๆ ก็ได้ ไม่
จำต้องแสดงข้อความเท็จ หรือปกปิดข้อความที่ควรบอกให้แจ้งเท่านั้น
ความผิดมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้ อาจมีผลว่าถ้าขายสิ่งที่กฎหมายห้ามเป็น
การกระทำผิดต่อกฎหมาย ผู้ซื้อที่ร่วมรู้เห็นด้วยอาจอยู่ในฐานะเป็นผู้สมัครใจเข้ารับความ
เสียหายจาการกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมายไม่ถือเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายร้องทุกข์หรือฟ้องคดี
ความผิดตามมาตรานี้ไม่ได้ ซึ่งมีข้อพิจารณาเช่นเดียวกับผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง


Create Date : 26 มิถุนายน 2553
Last Update : 26 มิถุนายน 2553 20:26:50 น. 1 comments
Counter : 1853 Pageviews.

 
ระวัง !! กลุ่มมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบขายของออนไลน์กันนะจ๊ะ
เนื่องจากมีมิจฉาชีพหลายรูปแบบใช้กลโกงแอบอ้าง บัญชีนายอมร ก้องกังสดาลกุล ของเราหลอกให้ลูกค้าโอนเงินเข้ามาทางชื่อบัญชีนี้ จึงขอความกรุณาลูกค้าทุกท่านโปรดเช็คข้อมูลชื่อผู้ขายสินค้า และบัญชีให้ดีก่อนทำการโอน มิฉะนั้นท่านอาจตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพนี้หลอกได้ ด้วยความห่วยใย ปรารถนาดีจากเรา :’)


โดย: เตือนภัย IP: 27.145.115.192 วันที่: 1 พฤษภาคม 2557 เวลา:6:24:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

boxxcatt
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add boxxcatt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.