Group Blog
 
All Blogs
 
นายจ้างมีหนังสือเลิกจ้างแต่ไม่ได้ระบุเหตุผลการกระทำความผิดไว้ในหนังสือเลิกจ้าง นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรง ขึ้นเป็

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2543

นางสาว เอมอร มุสตาฟา

     โจทก์

บริษัท โกลเบิ้ล ซิวเวอร์ฮอค (ประเทศไทย) จำกัด

     จำเลย

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17, 119

          แม้นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างกระทำต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอันมีลักษณะตามข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ตาม แต่เมื่อนายจ้างมิได้อ้างเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้างโดยนายจ้างเพิ่งจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเมื่อถูกลูกจ้างฟ้องคดี ศาลแรงงาน ย่อมไม่สามารถจะหยิบยกข้อต่อสู้ของนายจ้างมาประกอบการพิจารณาได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม

________________________________

          โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง ต่อมาวันที่ 29 ตุลาคม 2542 จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลเป็นการเลิกจ้างวันที่31 ตุลาคม 2542 โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดและจำเลยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 90,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 

          จำเลยให้การว่า โจทก์จงใจหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หลายครั้งซึ่งเป็นความผิดร้ายแรง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายทั้งที่จำเลยได้ตักเตือนโจทก์ด้วยวาจาและเป็นหนังสือหลายครั้ง กล่าวคือ โจทก์มีหน้าที่ด้านการปฏิบัติการฝ่ายสินค้าขาเข้าของจำเลยต้องรับผิดชอบในการติดต่อแนะนำ อีกทั้งทำเอกสารใบแจ้งหนี้เพื่อดำเนินการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า แต่โจทก์ละเลยหน้าที่ดังกล่าวหลายครั้ง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก นอกจากนี้โจทก์ละเลยไม่ลงราคาต้นทุนในเอกสาร ปกปิดชื่อลูกค้าในลำดับ การรับงาน และแก้ไขชื่อลูกค้าในสมุดรับงานไม่ตรงกับแฟ้มเอกสารของลูกค้า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดร้ายแรงทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างและค่าชดเชยจากจำเลย แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม จำเลยจึงได้พิจารณาให้เงินช่วยเหลือโจทก์ในระหว่างว่างงานจำนวน 60,000 บาท แต่โจทก์ไม่ยอมรับกลับมาฟ้องเป็นคดีนี้ ทั้งที่ไม่มีสิทธิตามกฎหมายขอให้ยกฟ้อง

 

          ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 30,000 บาท และค่าชดเชยจำนวน 90,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านับแต่วันฟ้อง และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของค่าชดเชยนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2542 ซึ่งเป็นวันเลิกจ้าง จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 

          จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

 

          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2541 ครั้งสุดท้ายทำงานในตำแหน่งโอเปอร์เรชั่นโคโอดิเนเตอร์ ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 30,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 29 ตุลาคม 2542 จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2542 เป็นต้นไป ตามหนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จล.1 ทั้งนี้โดยหนังสือเลิกจ้างดังกล่าวจำเลยไม่ได้ระบุความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุผลของการเลิกจ้างซึ่งเป็นเหตุที่จะไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ไว้

 

          คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า ก่อนที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ โจทก์ได้กระทำความผิดต่อหน้าที่หลายครั้ง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยได้ตักเตือนโจทก์ด้วยวาจาและเป็นหนังสือหลายครั้ง แต่โจทก์ยังฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม โดยครั้งสุดท้ายโจทก์ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ลงราคาต้นทุนในเอกสาร ปกปิดชื่อลูกค้าในลำดับการรับงานและแก้ไขชื่อลูกค้าในสมุดรับงานไม่ตรงกับแฟ้มเอกสาร ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรง ความผิดของโจทก์ดังกล่าวสมควรที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลางด้วย เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างนายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้" ฉะนั้น แม้จำเลยจะอ้างว่าโจทก์กระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันมีลักษณะตามข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตาม มาตรา 119 และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วยก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยมิได้อ้างเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือเลิกจ้าง โดยจำเลยเพิ่งจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ เมื่อถูกโจทก์ฟ้องคดี ศาลแรงงานกลางย่อมไม่สามารถจะหยิบยกข้อต่อสู้ของจำเลยมาประกอบการพิจารณาได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ดังกล่าว

 

          พิพากษายืน

( ปัญญา สุทธิบดี - สละ เทศรำพรรณ - รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์ )




Create Date : 09 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2555 11:55:43 น. 0 comments
Counter : 1839 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

boxxcatt
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add boxxcatt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.