|
โลมาที่-`๏-บางปะกง-`๏-
เอามาเล่าสู่กันฟัง...เพื่อเป็นไอเดีย ให้เพื่อนๆ BP หาที่คลายเครียด ไม่ไกลจากกรุงเทพนัก
วิ่งเส้นบางนาตราดครับ....ถนนข้างล่างไม่ดีเลย รถรับส่งพนง. ช่วงเช้าเยอะไปหมด วิ่งมาจากข้างบนสะดวกกว่า ก็ลงที่ด่านที่บอกไปชลบุรีสายใหม่....
พอลงมาแล้วก็เข้าข้างใน (เลนขวา) วิ่งข้ามสะพานข้าแม่น้ำบางปะกงไป ให้ผ่านหน้า รฟ.บางปะกงก่อนนะครับ สัก 500 ม. จะมียูเทริน์ *ตรงนี้รถวิ่งเร็วกัน ระวังหน่อย
แล้วจะมีทางเข้าเล็ก ซ้ายมือครับ เลี้ยวซ้ายเข้าไปเรื่อยๆ จะไปเจอแยกศูนย์ฝึกอบรมของ กฟผ.
ทางซ้ายไปดูโลมาที่ หมู่ 8 ทางขวาไปหมู่ 1 เมื่อเช้าผมเลือกไปหมู่ 1 เลี้ยวขวามือครับ วิ่งไปเรื่อยๆ ป้ายหายากสักหน่อย....สักไม่ถึง 10 นาทีก็จะมาถึงท่าเรือของชาวบ้านครับ
ดีแฮะ..มีบริการอุ้มลงเรือด้วยหล่ะ
ท่าเรือเล็กไปหน่อย แต่ผมรู้สึกชอบนะเนี่ย
ออกเรือมาได้หน่อยนึง เจ้าเด็กคนนี้..ไม่รู้หัวเราะอะไรนักหนา...
คงเพราะมากับเพื่อนๆ รุ่นเดียวกันหลายคน
ตัวเล็กที่สุดในทริปนี้...10 เดือนเอง
นั่งมาสักพัก..เจอปะภาคารเล็กๆ ครับ มีนักท่องเที่ยวเหมาเรือไปยืนตกปลาอยู่พอดี
เลยประภาคารไปสัก 15 นาทีเองครับ....
ได้ยินกัปตันเบาเครื่อง...สักครู่เดียวเครื่องก็ดับลง.....
แล้วเราก็เจอกับ โลมาอิรวดี
วันนี้ลมเย็นจังเลยครับ....เย็นแบบหนาวเลยหล่ะ.....
มาซ้ายที ขวาที
บนเรือลำน้อยเรื่มปั่นป่วน
ถ่ายยากนะครับ..เพราะไม่รู้ว่าเขาจะมาทางไหน...
แล้วก็มีเล็นซ์เเค่ 17-50 ตัวเดียว ใครมีเทเลฯ ลองไปเก็บภาพสวยๆ นะครับ
เราลอยลำกันซักเกือบชม....
มีโลมาอิระวดี โฉบมารอบๆ เรือตลอดเวลาครับ วันนี้มีเรือออกช่วงที่ผมไป สองลำเอง
อยู่ในที่แคบ....กับเด็ก 8 คนนี่....หุ หุ ชักจะเริ่มตีกันแล้ว....แย่งของเล่นกันก็มี
เข้าฝั่งดีกว่า
เรือลำที่เหมาไปไม่มีห้องน้ำนะครับ....เด็กๆ เริ่มปวดฉี่กัน
เราก็ไม่ได้บอกให้เข้าฝั่งเลย กัปตันเค้าหวังดี พาวนรอบเกาะนกอีก 1 รอบ
นี่ระหว่างรอเข้าห้องน้ำกัน...ใต้ถุนบ้านคุณป้าเจ้าของเรือฯ มีปลา Teen ให้ชมด้วยจ้า แกอนุรักษ์ไว้
เสร็จแล้วผมพาไปซื้อฝอยทองเจ้าดัง ที่ อ.บางปะกง ร้านป้านงค์
แล้วก็เลยหาก๋วยเตี๋ยวทานแถวนั้นเพราะว่าใกล้จะเที่ยงแล้ว @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ เราไปต่อที่วัดโพธิ บางคล้า..พาเด็กไปดูค้างคาวแม่ไก่กัน......
ตัวใหญ่....แต่เราไม่มีซูมนะ
เด็กๆ วัยขนาดนี้....ให้อาหารปลาเป็นมือวางกันทั้งนั้นครับ...
คราวหน้าจะซื้อติดรถไว้สักกระสอบนึง
ใกล้ๆ กับวัดโพธิ์ บางคล้า มีตลาดน้ำบางคล้า ก็แวะไปเดินเล่น แล้วก็กลับกรุงเทพฯ กันครับ ############################################ ขอปิดท้ายทริปนี้ ด้วยภาพที่ท่าน้ำวัดโพธิ์ บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรานะครับ ############################################
ลิงค์กระทู้ในห้อง Blueplanet อยู่นี่ครับ //www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E7266372/E7266372.html
Create Date : 09 ธันวาคม 2551 |
Last Update : 11 ธันวาคม 2551 8:35:04 น. |
|
6 comments
|
Counter : 1597 Pageviews. |
|
|
|
โดย: เพิ่มข้อมูลอีกนิดนึง (Art999. ) วันที่: 10 ธันวาคม 2551 เวลา:19:24:35 น. |
|
|
|
โดย: paerid วันที่: 11 ธันวาคม 2551 เวลา:14:45:07 น. |
|
|
|
โดย: eyewitness วันที่: 11 ธันวาคม 2551 เวลา:19:03:55 น. |
|
|
|
โดย: ืninabella IP: 58.9.227.139 วันที่: 15 ธันวาคม 2551 เวลา:13:36:10 น. |
|
|
|
โดย: Art999. วันที่: 8 มกราคม 2552 เวลา:8:58:17 น. |
|
|
|
| |
|
|
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5
โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตร (Irrawaddy Dolphin หรือ Ayeyarwaddy Dolphin) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orcaella brevirostris อยู่ในวงศ์โลมา (Delphinidae) รูปร่างหน้าตาคล้ายโลมาทั่วไป แต่มีลักษณะเด่นคือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีขนาดประมาณ 180 - 275 ซ.ม. น้ำหนักไม่มีรายงาน
มีการกระจายอย่างกว้างขวางในมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย อ่าวไทย มักพบเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและทะเลสาบ เช่น บริเวณปากแม่น้ำ โลมาอิระวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมร ในปี พ.ศ. 2459 พบว่ามีอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย
ถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบัน สามารถพบได้ที่ ทะเลสาบชิลก้า ประเทศอินเดีย แม่น้ำโขง ทะเลสาบสงขลาและปากแม่น้ำบางปะกง เป็นต้น
มีพฤติกรรมพบได้บริเวณที่มีน้ำขุ่น สามารถอยู่ใต้ผิวน้ำได้นานถึง 70-150 วินาที แล้วจะโผล่ขึ้นมาหายใจสลับกัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 เดือน ลูกที่เกิดมามีขนาด 40 % ของตัวโตเต็มวัย อาหาร ได้แก่ กุ้ง ปลา และหอยที่อยู่บนผิวน้ำและใต้โคลนตม สถานภาพปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) จัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 1 ของไซเตส (Appendix I) คือ ห้ามซื้อขาย ยกเว้นมีไว้ในการศึกษาและขยายพันธุ์
โลมาอิระวดีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง", "โลมาน้ำจืด", "โลมาหัวหมอน" ในภาษาใต้ และ "ปลาข่า" ในภาษาลาว เป็นต้น
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
โลมาอิระวดี
Saturday, 15 March 2008
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Orcaella brevirostris
วงศ์ : DELPHINIDAE
รายละเอียด
มีลักษณะคล้ายกับ ปลาวาฬDelphinapterus leucas มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปลาวาฬนักล่า Orcinus orca ลักษณะเด่นคือ หัวค่อนข้างกลม ไม่มีจะงอยปาก เช่น โลมาอีกหลายชนิด สีลำตัวแปรเปลี่ยนไปตั้งแต่สีน้ำเงิน เทาเข้มจนถึงน้ำเงินจาง โลมานี้จะรวมกลุ่มเช่นเดียวกับโลมาในมหาสมุทรแม้ว่าโลมาบางตัวสามารถอาศัยได้ในแม่น้ำที่จืดสนิทก็ตาม มักพบโลมาอาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้นชายฝั่งในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนของมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค รอบหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย ตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้ชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำได้แก่ บางปะกงทะเลสาบสงขลา เจ้าพระยา เป็นต้น
ลักษณะทั่วไปของโลมาอิระวดี คือ มีครีบหลังรูปทรงสามเหลี่ยมขนาดเล็กปลายมน พบในตำแหน่งที่ห่างจากจุดกึ่งกลางลำตัวค่อนไปทางหางนัก มีสีเทาดำ ถึงสีเทาสว่าง ลำตัวมีความยาวประมาณ 275 เซนติเมตร แต่เฉลี่ยแล้วมีความยาว 210 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 115 130 กิโลกรัม เป็นโลมาขนาดเล็ก ว่ายน้ำโดยปกติค่อนข้างช้า และอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เมื่อพิจารณาลักษณะภายนอก โลมาอิระวดีมีรูปร่าง ลักษณะคล้ายคลึงกับวาฬเบลูก้า (Beluga whale) หรือที่เรียกทั่วไปว่าวาฬมีฟัน (Toothed whale) และยังมีรูปทรงคล้ายคลึงกับโลมาหัวบาตร หรือโลมาไม่มีครับหลัง(Finless porpoise) ซึ่งมีหัวลมมนคล้ายกัน ทำให้บางครั้งมีความสับสนขึ้น แต่ที่จำง่าย ๆ ก็คือ โลมาอิระวดีมีครีบบนหลังหนึ่งอัน และมีฟันแหลมอยู่บนขากรรไกรบน จำนวนเต็มที่ 40 ซี่และจำนวน 36 ซี่ อยู่บนขากรรไกรล่าง
อุปนิสัยของโลมาอิระวดีมักอยู่รวมเป็นฝูงเล็ก แต่ละฝูงมีจำนวน 6 ตัว หรือน้อยกว่า ไม่ชอบปรากฏตัวให้เห็นตามผิวน้ำทะเล แต่ชอบโผล่หัวขึ้นมา ที่ระดับผิวน้ำ ค่อนข้างขี้อายและหลบซ่อนตัว ความยาวของโลมาเต็มวัย อยู่ระหว่าง 90 -150 กิโลกรัมและให้ลูกเกิดใหม่มีความยาวประมาณ 1 เมตร ที่มีน้ำหนักประมาณ 12 กิโลกรัมหรือมากกว่า อาหารอันโอชะของโลมาเหล่านี้คือปลากุ้งและปลาหมึก บางครั้งช่วยเหลือชาวประมง โลมามีตา หู จมูก และลิ้นเหมือนคนเรา มันจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในที่โล่ง และน้ำตื้น แต่เนื่องจากโลมาไม่มีตาอยู่ด้านหน้าจึงไม่สามารถกะระยะทางได้ดีนัก เมื่ออยู่ใต้น้ำ จมูกของโลมาจะปิด ดังนั้นมันจะไม่ได้กลิ่นอะไรเลย แต่ลิ้นสามารถรับรสจากสารเคมีในน้ำได้ดี การรับเสียงด้วยคลื่นสะท้อนแบบเรดาร์ของโลมา ใช้ล่าเหยื่อ และรู้วัตถุหรือลักษณะภูมิประเทศใต้น้ำได้เป็นอย่างดีทั้งยังส่งเสียงสื่อสารกับโลมาตัวอื่นได้ด้วย
โลมาอิรวดีได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ ๑๓๘ (สัตว์ป่าคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าที่เกิดในธรรมชาติและมีรายชื่ออยู่ในประกาศคณะรัฐมนตรีให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามล่า ห้ามครอบครอง หรือห้ามเพาะพันธุ์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต) สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงมีพระราชประสงค์ให้ช่วยกันอนุรักษ์โลมาอิรวดีซึ่งเป็นสัตว์หายาก พร้อมทั้งทรงรับไว้เป็นสัตว์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ส่วนสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ก็จัดให้โลมาอิรวดีอยู่ในบัญชีตัวแดง (Red List) โดยอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต (Critically Endangered) โลมาอิรวดีถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ ๑๓๘
//www.chachoengsao.most.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=98&Itemid=1