Group Blog
 
All blogs
 
ทำความรู้จักบัญชีภาษี

รู้จักบัญชี
การบัญชี หมายถึง การจดบันทึก การจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ และการสรุปผลสิ่งสำคัญในรูปตัวเงิน รายการ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางด้านการเงิน รวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย

การบัญชีมีความหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ

1. การทำบัญชี (Bookkeeping) เป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

1.1 การรวบรวม (Collecting) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าที่เกิดขึ้นประจำวันและหลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เช่น หลักฐานการซื้อเชื่อและขายเชื่อ หลักฐานการับและจ่ายเงิน เป็นต้น
1.2 การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป พร้อมกับบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา
1.3 การจำแนก (Classifying) หมายถึง การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้แล้ว มาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ของบัญชีประเภทต่างๆ เช่น หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย
1.4 การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จำแนกให้เป็นหมวดหมู่ดังกล่าวมาแล้วมาสรุปเป็นรายงานทางการเงิน (Accounting report) ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจตลอดจนการได้มาและใช้ไปของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง

2. การให้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายบริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ ตัวแทนรัฐบาล

นักลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ข้อมูลทางการเงินยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน การจัดทำงบประมาณ การปรับปรุงระบบบัญชี เป็นต้น

รู้จักภาษีอากร

ผู้จัดการในธุรกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่ มีความสามารถด้านเทคนิค เพื่อให้งานหลักในธุรกิจของตนดำเนินไปด้วยดี แต่ขาดความรู้ความเข้าในการจัดการงานที่เป็นระบบซึ่งเหตุผลเหล่านี้คงจะทำให้เข้าใจถึงคำตอบของคำถามที่ว่าผู้จัดการเหล่านี้จะมีความรู้ความเข้าใจระบบภาษีอากรที่ซับซ้อนได้มากน้อยเพียงไรคำแนะนำต่อไปนี้ อาจจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้จัดการธุรกิจขนาดย่อม ซึ่งถ้าเมื่อไรก็ตามที่ผู้จัดการมีคำถามเกี่ยวกับภาษีอากร สิ่งที่ควรเข้าใจก็คือ
1. ภาษีอากรมิใช่เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่จะต้องพิจารณาและต้องตัดสินใจเท่านั้น
2. การหลบหนีภาษี (Tax evasion) และการหลีกเลี่ยงภาษี (Tax avoidance) มีความแตกต่างกัน การหลบหนีภาษีหมายถึง การไม่จ่ายชำระภาษีเมื่อถึงกำหนดชำระ ส่วนในกรณีหลัง หมายถึงการจัดการในทางที่จะทำให้ภาระภาษีต่ำลงหรือยืดระยะเวลาออกไป กฏหมายภาษีอากรมิได้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องทำกำไรให้มากที่สุดเพื่อส่งเสริมรายได้ของรัฐ และก็มิได้ห้ามให้ผู้จัดการตัดสินใจในแนวทางที่จะทำให้ภาระภาษีต่ำลงเช่นเดียวกัน ดังนั้นความพยายามที่จะยืดระยะเวลาการรับภาระภาษีออกไป หากอยู่ในขอบเขตของกฎหมายแล้ว ย่อมถือมิได้ว่าเป็นการละเมิดกฎหมาย
3. ภาษีอากรเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทักษะ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและซับซ้อน ขึ้นกับว่าผู้จัดการจะมีเวลาเพื่อใช้ทบทวนในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน หากเกิดปัญหาทางภาษีอากรขึ้นมา ผู้จัดการควรศึกษาพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน หรือไม่เช่นนั้นก็จำต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ แทนการฟังคำบอกเล่าจากบุคคลอื่นหรือเพื่อนฝูง

การเลือกรูปแบบของธุรกิจ

ในทางภาษีอากร ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจขนาดย่อมในรูปของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด ก็ถือว่าเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกัน ดังนั้นการชำระภาษีจะใช้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 30 จากกำไรสุทธิ โดยอาศัยข้อมูลทางบัญชีเป็นหลักในการคำนวณกำไรสุทธิและกำไรทางภาษีอากร

ทางเลือกในอีกรูปแบบหนึ่งคือ การประกอบการในลักษณะเจ้าของคนเดียวหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งจะชำระภาษีในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเริ่มต้นที่ร้อยละ 5 จนถึงร้อยละ 37 ขึ้นกับเงินได้สุทธิที่เริ่มตั้งแต่มากกว่าศูนย์บาท ถึง 4 ล้านบาทขึ้นไป

หลักพิจารณาง่าย ๆ ในการเลือกรูปแบบของธุรกิจ ก็คือ สมมติให้ผลประกอบการมีกำไรสุทธิ 1 ล้านบาท ธุรกิจในรูปนิติบุคคล จะต้องเสียภาษี 300,000 บาท ในขณะที่ธุรกิจในรูปของบุคคลธรรมดา จะเสียภาษีเพียง 145,000 บาท เท่านั้น ซึ่งข้อสมมตินี้ถึงแม้อาจจะดูสุดโต่งไปบ้าง แต่ก็พอทำให้ผู้จัดการธุรกิจเห็นความสำคัญของการเลือกรูปแบบธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

การเลือกปีภาษีสำหรับผู้เริ่มเข้าทำธุรกิจ

ประมวลรัษฎากรกำหนดให้รอบปีภาษีของธุรกิจมีระยะเวลา 12 เดือน โดยกิจการในรูปของบุคคลธรรมดาทุกประเภท กฎหมายภาษีอากรบังคับให้ปิดบัญชีทุกวันสิ้นปี 31 ธันวาคม ดังนั้นรูปแบบของธุรกิจในลักษณะเจ้าของคนเดียวหรือห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน คงต้องตัดประเด็นการเลือกปีภาษีออกไปในส่วนของนิติบุคคล สามารถเลือกวันสิ้นสุดของปีภาษีได้ตามที่เจ้าของธุรกิจเห็นว่าเหมาะสม ซึ่งปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาอาจเป็นดังนี้
1. รายได้และค่าใช้จ่ายควรมีความเหมาะสมกันและอยู่ในปีภาษีเดียวกัน เพื่อป้องกันการขาดเงินสดในมือโดยไม่จำเป็น
(unnecessary cash distortion) ตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่ขายสินค้าตามฤดูกาล เช่น ครีมทาผิวสำหรับฤดูหนาว อาจจะมีรายได้เข้ามาในธุรกิจช่วงประมาณเดือนกันยายน-มีนาคม จำนวนเดือนที่เหลือคงต้องเป็นการรับภาระต้นทุน กิจการก็อาจจะเลือกให้มีการปิดบัญชีในราวเดือนมีนาคม แทนการเลือกวันปิดบัญชีในเดือนธันวาคม หรือธุรกิจประเภทที่ต้องทำตามสัญญาจ้าง ก็ควรพยายามเก็บเงินจากผู้รับจ้างให้ได้ในปีภาษีเดียวกับที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น บางครั้งถ้าจำเป็นก็คงต้องหลีกเลี่ยงการเซ็นสัญญาจ้างในช่วงใกล้สิ้นปีภาษี แต่เพิ่มการเซ็นสัญญาในช่วงต้นปีภาษีแทน ทั้งนี้ก็เพื่อยืดระยะเวลาการรับรู้รายได้ออกไปนั่นเอง
2. ควรเลือกระยะเวลาปิดบัญชีที่มีสินค้าคงเหลือน้อย เช่นในกรณีของครีมทาผิวสำหรับฤดูหนาว หากปิดบัญชีในช่วงเดือนมีนาคม จะทำให้สินค้าคงเหลือในวันปิดบัญชีน้อยลง มีผลทำให้ต้นทุนการผลิตที่นำไปเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีสูงขึ้น

การเลือกนโยบายทางบัญชีที่สำคัญ


นโยบายการบัญชีทั่วไป
ในการเลือกนโยบายการบันทึกบัญชีต่าง ๆ ควรจะสอดคล้องกับที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้ เช่น การใช้เกณฑ์คงค้าง การกำหนดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ เป็นต้น เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย จะได้ไม่ต้องมีการปรับปรุงรายการบัญชีให้ตรงกับที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ให้ยุ่งยากในภายหล
สินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และการคิดค่าเสื่อมราคา
โดยหลักทั่วไปจะบันทึกรายการประเภทนี้ไว้ในหมวดสินทรัพย์ ด้วยวิธีราคาทุนที่ได้รับ (Acquisition cost) หลังจากนั้นจึงนำราคาทุนนี้ไปเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายในรูปของค่าเสื่อมราคาตามอายุการใช้งานที่ถูกกำหนดขึ้นของสินทรัพย์นั้น ๆ
-
สินทรัพย์เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ อาจมีราคาทุนสูง บางกรณีธุรกิจที่กำลังเจริญเติบโตอาจต้องการขยายงานและลงทุนเพิ่มเนื่องจากมีรายได้เข้ามามาก ในลักษณะเช่นนี้ผู้จัดการจึงอาจต้องการนำราคาทุนของสินทรัพย์มาคิดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีเพื่อทำให้กำไรน้อยลง ซึ่งก็จะขัดกับหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีอากรที่กำหนดให้คิดค่าเสื่อมราคา เพราะถือว่าราคาทุนของสินทรัพย์เหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายประเภทลงทุน (Capital expenditures) ต้องนำมาเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating expenditures) ตามอายุการใช้งานในภายหลังเท่านั้น ผู้จัดการจึงอาจใช้เทคนิคโดยการแยกราคาทุนของส่วนประกอบต่าง ๆ ของอุปกรณ์ออกมา (ในกรณีที่อุปกรณ์สามารถคิดแยกส่วนได้) แทนการรวมราคาทุนทั้งหมดไว้ในตัวอุปกรณ์เพียงตัวเดียว จะเท่ากับเป็นการกระจายอายุการใช้งานของอุปกรณ์ขนาดใหญ่ไปให้กับส่วนประกอบเล็ก ๆ เหล่านั้น ทำให้อายุการใช้งานอาจน้อยกว่า 1 ปี ก็เป็นได้ และก็สามารถนำราคาทุนของส่วนประกอบเหล่านั้นบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ทันที
-
นโยบายค่าเสื่อมราคาถือได้ว่ามีผลกระทบอย่างสำคัญต่อค่าใช้จ่ายของธุรกิจที่มีการลงทุนในอาคาร โรงงาน เครื่องจักร และอุปกรณ์ หลักทั่วไปในประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีการคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีที่หลักการบัญชีกำหนดไว้ แต่จำกัดอายุของการใช้งานต้องไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด เช่น อาคารจะต้องคำนวณจากอายุการใช้งาน 20 ปี หรืออายุการใช้งาน 5 ปีสำหรับอุปกรณ์ เป็นต้น วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาทางบัญชีมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น คิดค่าเสื่อมในปีแรกสูงและต่ำลงในปีหลังหรือกลับกัน หรือคิดเฉลี่ยเท่ากันทุกปี สิ่งที่ผู้ประกอบการควรสังเกตได้ก็คือ ควรเลือกวิธีการที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของตนเองว่าต้องการให้มีค่าใช้จ่ายสูงในช่วงปีแรกหรือปีหลังภายในระยะเวลาของอายุการใช้งานที่กฎหมายกำหนด

การตีราคาสินค้าคงเหลือ

ประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีการคำนวณราคาสินค้าคงเหลือด้วยวิธีราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า (Lower of cost or market value) โดยวิธีราคาทุนให้ใช้ตามวิธีที่หลักการบัญชีกำหนด ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน ผู้จัดการควรพิจารณาว่าวิธีการทางบัญชีวิธีใดที่ทำให้สินค้าคงเหลือปลายงวดมีมูลค่าต่ำ ซึ่งวิธีนั้นจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และเมื่อค่าใช้จ่ายสูงขึ้น จำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระก็ย่อมลดลงเช่นกัน




Create Date : 04 กันยายน 2550
Last Update : 11 กันยายน 2550 14:55:02 น. 0 comments
Counter : 386 Pageviews.

ac.account
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





สำนักงานบัญชี เอ.ซี 71/64 ม.4
บางแม่นาง บางใหญ่ นนทบุรี 11140
โทร 083-119-4999 ,02-101-2025
ac.account @ hotmail.com

Friends' blogs
[Add ac.account's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.