ทักษภณ
 
พฤษภาคม 2563
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
30 พฤษภาคม 2563

ชั้นตรี ธรรมวิภาค ทุกะ หมวด ๒

 

ทุกะ คือ หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง
๑. สติ ความระลึกได้
๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

       สติ คือ เมื่อก่อนจะทำจะพูดจะคิด ก็มีความนึกได้อยู่เสมอว่า เมื่อทำหรือพูดหรือคิดไปแล้ว จะมีผล เป็นเช่นไร จะดีหรือไม่ดี มีประโยชน์หรือไม่มี ถ้าคนมีสติระลึกได้อยู่เช่นนี้แล้ว จะทำจะพูดจะคิด ก็ไม่ผิดพลาด
       สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวในขณะเวลากำลังทำ หรือพูดหรือคิด เป็นเครื่องสนับสนุนสติ ให้สำเร็จ ตามความต้องการ
       สติและสัมปชัญญะนี้ ที่ชื่อว่าธรรมมีอุปการะมาก เพราะถ้ามีสติและสัมปชัญญะแล้ว กิจการอย่างอื่นก็สำเร็จ ได้โดยง่ายเพราะมีสติและสัมปชัญญะคอยควบคุมประคับประคองไว้ เหมือนหางเสือเรือที่คอยบังคับเรือ ให้แล่น ไปตามทางฉะนั้น

ธรรมเป็นโลกบาล คือ คุ้มครองโลก ๒ อย่าง
๑. หิริ ความละอายแก่ใจ
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว
         หิริ คือ ความละอายต่อใจตนเอง เมื่อจะประพฤติทุจริตต่อการทำบาป ทำความชั่ว ไม่กล้าทำทั้งในที่ลับ และที่แจ้ง เกลียดการทำชั่วเหมือนคนชอบสะอาด ไม่อยากแตะต้องของสกปรกฉะนั้น
         โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของการทำชั่ว โดยคิดว่าคนทำดีได้ดีคนทำชั่วได้ชั่ว กลัวผลของกรรม นั้นจะตามสนอง จึงไม่กล้าทำความชั่วทั้งในที่แจ้งและที่ลับ
         หิริและโอตตัปปะ ที่ชื่อว่าธรรมคุ้มครองโลกนั้น เพราะถ้ามนุษย์ทุกคนมีธรรม ๒ ข้อนี้แล้ว โลกก็จะมีแต่ ความสงบสุข ไม่มีเบียดเบียนกันและกัน ปราศจากความระแวงสงสัยต่าง ๆ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่าธรรมคุ้มครองโลก

ธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่าง
๑. ขันติ ความอดทน       ๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม
ขันติ มี ๓ คือ
๑. อดทนต่อความลำบาก ได้แก่ ทนต่อการถูกทรมานร่างกาย เช่น ทำโทษทุบตีต่าง ๆ พร้อมทั้งอดทนต่อความเจ็บไข้
๒. อดทนต่อการตรากตรำ ได้แก่ ทนทำงานอย่างไม่คิดถึงความลำบาก ทั้งทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ มีหนาวลมร้อนแดดเป็นต้น
๓. อดทนต่อความเจ็บไข้ ได้แก่ ทนต่อคำกล่าวดูถูกเหยียดหยาม หรือพูดประชดให้เจ็บใจ
โสรัจจะ คือความเสงี่ยมเรียบร้อย ไม่แสดงความในใจออกมาให้ผู้อื่นรู้เห็น ในเมื่อเขาพูดดูถูกเหยียดหยาม หรือไม่แสดงอาการการดีอกดีใจจนเกินไป ในเมื่อได้รับคำยกยอสรรเสริญ

บุคคลหาได้ยาก ๒ อย่าง
๑. บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
๒. กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน

            บุพพการี ได้แก่ ผู้ที่มีพระคุณมาก่อน ได้ทำประโยชน์แก่เรามาก่อน จำแนกออกเป็น ๔ ประเภท คือ พระพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์ พระอุปัชฌาย์อาจารย์ และบิดามารดา
            กตัญญูกตเวที ได้แก่ ผู้ที่ได้รับอุปการะจากท่านเหล่านั้นแล้ว และพยายามทำอุปการะคุณตอบแทนท่านจำแนกออกเป็น ๔ ประเภท เช่นเดียวกัน คือ พุทธบริษัท ราษฎร สัทธิวิหาริก และบุตรธิดา
             คนทั้ง ๒ ประเภทนี้ได้ชื่อว่า บุคคลที่หาได้ยาก เพราะโดยปกติแล้ว มนุษย์ทุกคนจะมีความเห็นแก่ตัว ผู้ที่จะเสียสละ หรือทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน และผู้ที่จะทำตอบแทนท่านผู้ที่มีอุปการะมาก่อน ก็หาได้แสนยาก เพราะฉะนั้นบุคคลทั้งสองประเภทนี้จึงได้ชื่อว่า “บุคคลหาได้ยาก”





Create Date : 30 พฤษภาคม 2563
Last Update : 10 มิถุนายน 2563 6:43:40 น. 0 comments
Counter : 493 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

thampitak 33
Location :
สุรินทร์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




New Comments
[Add thampitak 33's blog to your web]