ทักษภณ
<<
กันยายน 2563
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
4 กันยายน 2563

ชั้นตรี ธรรมวิภาค ฉักกะ หมวดที่ ๖




ธรรมชั้นตรี วิชาธรรมวิภาค
ฉักกะ หมวดที่ ๖

คารวะ๖ อย่าง

๑. พุทธคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในพระพุทธเจ้า
๒. ธัมมคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในพระธรรม
๓. สังฆคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในพระสงฆ์
๔. สิกขาคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในความศึกษา
๕. อัปปมาทคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในความไม่ประมาท
๖. ปฏิสันถารคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในปฏิสันถารคือต้อนรับปราศรัย

          การปลูกศรัทธาความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว แสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือนับถือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ ด้วยกาย วาจา ใจ ตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอน หรือระลึกนึกถึงพระคุณของพระองค์อยู่เสมอๆ ให้เกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้น หรือไม่เอาเรื่องของพระพุทธเจ้ามาล้อเล่น เพื่อความสนุกสนานเฮฮา เหล่านี้เป็นต้น ชื่อว่าเคารพในพระพุทธเจ้า

 การปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยเคารพหรือหมั่นศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติตามกำลังปัญญาของตนชื่อว่าเคารพในพระธรรม

 การระลึกถึงความดีของพระสงฆ์แล้วกระทำการกราบไหว้ทำสามีจิกรรมเป็นต้น ชื่อว่าเคารพในพระสงฆ์ 
การมีความเพียรพยายามศึกษาเล่าเรียนวิทยาการต่าง ๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมอันไม่มีโทษ ด้วยการเอาใจใส่ไม่เกียจคร้านมีความอุตสาหะวิริยะประกอบด้วยอิทธิบาท ๔ ชื่อว่าเคารพในการศึกษา

ความเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ ไม่ประมาทในธรรมทั้ง ปวงคอยระวังใจไม่ให้กำหนัดขัดเคืองลุ่มหลงมัวเมาในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดเป็นต้น ชื่อว่าเคารพในความไม่ประมาท

การต้อนรับแขกผู้มาเยือนตามฐานานุรูปของเขา ชื่อว่าเคารพในการปฏิสันถารแบ่งออกเป็น ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร และธรรมปฏิสันถาร 

การต้อนรับด้วยการให้อาหารเสื้อผ้าที่พักอาศัยเป็นต้น ชื่อว่าอามิสปฏิสันถาร 

การต้อนรับด้วยการพูดเชื้อเชิญหรือแสดงตนตามที่ควรชื่อว่า ธรรมปฏิสันถาร.
ภิกษุควรทำคารวะ ๖ ประการนี้.


สาราณิยธรรม ๖ อย่าง
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เรียกสาราณิยธรรม มี ๖ อย่าง คือ

๑. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือช่วยขวนขวายกิจธุระของเพื่อนกันด้วยกาย มีพยาบาลภิกษุไข้เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา.

๒. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยวาจา เช่นกล่าวสั่งสอนเป็นต้น ด้วยจิตเมตตา.

๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ คิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน.

๔. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรมให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคจำเพาะผู้เดียว

๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น.

๖. มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่วิวาทกับใคร ๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน.

ธรรม๖ อย่างนี้ ทำผู้ประพฤติให้เป็นที่รักที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกันเป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.


อายตนะภายใน ๖
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. อินทรีย์ ๖ ก็เรียก.


อายตะภายนอก ๖
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือ อารมณ์ที่มาถูกต้องกาย, ธรรม คืออารมณ์เกิดกับใจ. อารมณ์๖ ก็เรียก.


วิญญาณ๖

๑. อาศัยรูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้นเรียกจักขุวิญญาณ
๒. อาศัยเสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้นเรียกโสตวิญญาณ
๓. อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้นเรียกฆานวิญญาณ
๔. อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้นเรียกชิวหาวิญญาณ
๕. อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้นเรียกกายวิญญาณ
๖. อาศัยธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้นเรียกมโนวิญญาณ .


สัมผัส ๖
อายตนะภายในมีตาเป็นต้น อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น วิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้นกระทบกัน เรียกสัมผัส มีชื่อตามอายตนะภายในเป็น ๖ คือ

๑. จักขุสัมผัส        ๒. โสตสัมผัส        ๓. ฆานสัมผัส
๔. ชิวหาสัมผัส       ๕. กายสัมผัส        ๖. มโนสัมผัส



 
เวทนา ๖
สัมผัสนั้นเป็น ปัจจัยให้เกิดเวทนา เป็นสุขบ้างทุกข์ บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง มีชื่อตาม
อายตนะภายในเป็น๖ คือ

๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา   ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา   ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา    ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา
       ธรรม ๕ กลุ่ม เกี่ยวเนื่องกันและกัน กลุ่มละ ๖ อย่าง
อายตนภายใน อายตนภายนอก วิญญาณ สัมผัส เวทนา

ตา รูป จักขุวิญาณ จักขุสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา

หู เสียง โสตวิญญาณ โสตสัมผัส โสตสัมผัสสชาเวทนา

จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ ฆานสัมผัส ฆานสัมผัสสชา
เวทนา

ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ชิวหาสัมผัส ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ กายสัมผัส กายสัมผัสสชาเวทนา
ใจ ธัมมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มโนสัมผัสสชาเวทนา


ธาตุ ๖
๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน ลักษณะแข้นแข็ง รวมตัวเป็นรูปร่าง มองเห็นและสัมผัสได้

๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ ลักษณะเหลว ซึมซาบหล่อเลี้ยง ทำให้อ่อนนุ่มและเอิบอิ่ม

๓. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ ลักษณะร้อน ทำให้อบอุ่น ย่อยและเผาไหม้ ป้องกันมิให้บูดเน่า

๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม ลักษณะเบา พัดเวียนไปมา เกิดความอ่อนไหว

๕. อากาศธาตุ คือ ช่องว่างมีในกาย ลักษณะช่องว่าง ถ่ายเทเคลื่อนไหวไปตลอดร่างกาย ทำให้ยืดหยุ่น

๖. วิญญาณธาตุ คือ ความรู้อะไรได้ ลักษณะรับรู้อารมณ์ ควบคู่ระบบทำงานทั่วร่างกาย

จบหมวดที่ ๖ โปรดติดตามหมวด ๗ ต่อ





 

Create Date : 04 กันยายน 2563
0 comments
Last Update : 4 กันยายน 2563 12:01:15 น.
Counter : 1451 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


thampitak 33
Location :
สุรินทร์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




New Comments
[Add thampitak 33's blog to your web]