Bloggang.com : weblog for you and your gang
ถ้าทุกคนยืนอยู่ฝั่งพระเจ้ากันหมด โลกคงน่าเบื่อแย่..!!
Group Blog
เรื่องสั้น จากแรงบันดาลโทสะ
นิยาย จากหยาดเลือด และน้ำตา
วันหนึ่งวัน กับความทรงจำของผม
บทความ กับสิ่งดำมืดที่ทุกคนมองข้าม..
ข่าว เรื่องราวสร้างสรรค์ กับสิ่งเลวทรามในสังคม
บทกวีของปีศาจ...
ห้องปลอดสุภาพชน
ประวัติศาสตร์เปื้อนเลือดหน้าแรก
All blogs
อวสานนักเขียนไทย
ดาบสองคม
แนะนำเว็บไซต์ สำหรับคนรักวรรณกรรม
บทความ : เรื่อง งานวรรณกรรมออนไลท์
งานเลี้ยงคนเขลา...!?
ผมเปรียบความรักก็เหมือนกับนิยายฆาตกรรม
โลก Positive
ความหวาดกลัวในความมืด
เพราะอะไรโลกนี้จึงต้องมีสงคราม?
แนวคิดที่ 2 : สังคมหน้ากาก
คนที่หนาวเหน็บที่สุด
อวสานนักเขียนไทย
อวสานนักเขียนไทย
ตอนนี้เป็นยุคที่น่าเจ็บปวดของนักสร้างสรรค์วรรณกรรมไทย เพราะไหนจะเรื่องของคู่แข่งขันในการสร้างสรรค์ผลงานรุ่นใหม่ๆ ที่ผลุดกันขึ้นมาอย่างกับดอกเห็ด หรือเรื่องของแนวการเขียนที่ถูกลิดรอนแปรเปลี่ยนไปตามความนิยมชมชอบของสังคม จนเหล่าบรรดานักเขียนรุ่นเก่าๆที่ยังไม่สามารถปรับตัวรับกระแสสังคมได้ต้องม้วยมอดดับแสงกันไปเป็นแถวๆ จนไปถึงแม้กระทั่งเรื่องของสำนักพิมพ์ต่างๆที่นับวันจะยิ่ง “เขี้ยว” เรื่องการ พิจารานา ผลงานเพื่อการตีพิมพ์ทางการค้ามากขึ้นทุกขณะ เพียงแค่เหตุผลที่ยกขึ้นมากล่าวเป็นตัวอย่างลอยๆ มันก็มากพอแล้วที่จะทำให้ชนชั้นนักเขียนจำนวนมากถึงกับต้องพากันจำใจยอมแขวนปากกากันเป็นแถว
เรื่องของอุปสรรคภายนอกที่เป็นตัวลิดรอนชีวิตนักเขียนเหล่านั้น อันที่จริงมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานมากแล้ว บางทีปัญหาที่ว่ามันอาจจะเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับการกำเนิดธุรกิจการพิมพ์เพื่อธุรกิจในประเทศไทยเลยก็เป็นได้ แต่ในช่วงแรกๆปัญหาพวกนี้ยังนับว่ายังมีผลกระทบที่อ่อนมาก เนื่องจากในยุคแรกๆมีนักเขียนอยู่น้อยถึงขนาดนับนิ้วได้ จึงทำให้การต่อสู้แย่งชิงแข่งขันในตลาดวรรณกรรมไม่ได้รุนแรงเหมือนในปัจจุบัน
แต่ในปัจจุบันที่ตลาดของการแข่งขันได้ขยายตัวขึ้นกว่าสิบๆเท่านั้น การต่อสู้แย่งชิงกันของบรรดาพลพรรคนักเขียนกลับทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ สภาพของวงการนี้ในปัจจุบันเหมือนจะกลายเป็นระบบของสงครามทุนนิยมที่มาแรงแซงโค้ง เข้ากวาดล้างเอาระบบฝีมือไปแทบจะสิ้นซาก หนังสืออ่านเล่นที่มีโครงเรื่องซ้ำซากเพ้อฝัน หาสาระมีไม่เริ่มรุกคืบยึดครองทุกชั้นวางของร้านขายหนังสือไปจนแทบจะกำชัยได้เด็ดขาด ชนิดสามารถประกาศได้เต็มปากเต็มคำว่า “เหล่านักเขียนอุดมการณ์” นั้น ในปัจจุบันได้พ่ายแพ้ปราชัยไปเรียบร้อยแล้ว
ยิ่งในปัจจุบันวงการวรรณกรรมไทยก้าวหน้าไปมาก เนื่องจากมีสื่อใหม่อย่างอินเทอร์เน็ทถือกำเนิดขึ้นมา ทำให้ในตอนนี้โลกของเรากลายเป็นยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน อินเทอร์เน็ทจึงกลายเป็นสนามทดสอบฝีมือชั้นดีของบรรดา “นักอยากเขียน” ที่จะได้ลองความสามารถในเชิงวรรณกรรมของตนเองว่าอยู่ในขั้นใด
ดังนั้นยุคของใครใคร่จะเขียน... ก็เขียน ใครใคร่จะอ่าน..ก็อ่าน จึงมาเยือนจนได้!
ตอนนี้วงการวรรณกรรมเลยยิ่งปั่นป่วนหนักเข้าไปอีก เพราะไม่รู้ว่าในปัจจุบันมีนักเขียนถือกำเนิดขึ้นมาในโลกไซเบอร์นี้มากเท่าไหร่ และมีคนอ่านมากแค่ไหน!?
การงานวรรณกรรมลงในโลกไซเบอร์นั้นหากคิดในแง่ดีก็นับว่าดี เพราะในส่วนของสนามการฝึกฝนนี้อาจจะช่วยสรรสร้างนักเขียนรุ่นใหม่ๆขึ้นมาประดับวงการได้ แต่หากคิดในอีกแง่มุมแล้ว เรากลับพบว่าปัญหามันมีมากกว่าข้อดีหลายเท่า ทั้งเรื่องของผลงานที่ไม่มีคุณภาพ,ผลงานที่ไร้ซึ่งเหตุผล และความรับผิดชอบ ไปจนถึงกระทั่งผลงานที่หมิ่นเหม่ต่อการถูกฟ้องร้อง
ในเรื่องของปัญหาเหล่านั้น เรื่องที่อันตรายที่สุดสำหรับเหล่านักเขียนรุ่นเยาว์ต้องระวัง และอันตรายมากที่สุด แต่กลับทำเป็นไม่สนใจนั้น คงหนีไม่พ้นเรื่องของ “การละเมิดลิขสิทธิ์”
ยิ่งมีนักเขียนเกิดขึ้นมากซักเท่าไหร่ แนวความคิด และแนวการเขียนใหม่ๆก็ยิ่งจะบีบตัวเลือกให้น้อยลงทุกขณะ การสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆจะค่อยๆถูกกรอบจากเรื่องราวที่คนอื่นเคยได้นำเสนอไปแล้วบีบอัดเข้ามา หากเป็นนักเขียนที่เจนสนามแล้วคงจะสามารถรับความกดดันในส่วนนี้ได้ แต่หากเป็นนักเขียนใหม่ๆในโลก ไซเบอร์แล้ว ความบีบคั้นทางอารมณ์ตรงนี้มันยากเกินกว่าที่พวกเขาจะรับได้ ยิ่งโดยเฉพาะสำหรับนักเขียนใหม่ที่มีผลงานได้รับการยอมรับ และมีแฟนผลงานติดตามอ่านงานอยู่เป็นประจำ มันยิ่งจะเป็นการทวีแรงกดดันหนักเข้าไปอีก สุดท้ายเมื่อไม่สามารถหาทางออกได้ นักเขียนคนนั้นก็จะหาทางออกโดยการ “ลอก”เอาส่วนหนึ่งของผู้อื่นมาตัดแปะงานของตัวเองให้รอดพ้นไปวันๆ
การกระทำเช่นนั้น ถือว่าเป็นเพียงการ “ขายผ้าเอาหน้ารอด” ไปวันๆ สุดท้ายแล้วหากมีคนจับได้ แม้แต่ชื่อเสียงที่เคยสร้างสมมา ก็จะถูกทำลายจนป่นปี้อีกต่างหาก
นั่นเป็นเพียงกรณีหนึ่งของการกระบวนการเริ่มสู่การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานเขียนของผู้อื่นเท่านั้น ยังมีอีกกรณีหนึ่งที่นับได้ว่าน่าประณามที่สุดในทุกๆกรณี มีหลายครั้งที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปอ่านผลงานของนักเขียนในโลกอินเทอร์เน็ทตามเว็บไซต์ต่างๆที่เอื้ออำนวยในการลงผลงานเหล่านี้ และหลายครั้งเช่นกันที่ผมได้พบกับผลงานที่มีประโยค และการดำเนินเรื่องราวเหมือนๆกัน ต่างกันเพียงแค่สลับตำแหน่งการวางประโยค และชื่อเรื่องเท่านั้น ขนาดตัวผมเองที่เป็นเพียงผู้อ่านคนหนึ่งยังรู้สึกฉุนกึกแทนเจ้าของผลงานที่ถูกลอกเลียน เพราะเรื่องราวที่เขาสรรสร้างขึ้นนั้น ต้องใช้ความคิด ประสบการณ์ และความทุ่มเทมากมายจึงได้งานแต่ละบรรทัดขึ้นมา แต่ยังมีกลุ่มคนที่เห็นว่าความเพียรพยายามเหล่านั้นเป็นเรื่องตลก แล้วหยิบฉวยนำไปใช้ได้อย่างหน้าด้านๆเพื่อชื่อเสียงของตน
นักเขียนในโลกอินเทอร์เน็ทคนหนึ่งที่ผมรู้จัก ถึงกับเลิกเขียนงานอีกต่อไปเมื่อพบว่าผลงานของตนเองถูกคัดลอกไป มิหนำซ้ำคนคัดลอกยังไร้ยางอายถึงขนาดนำผลงานชิ้นนั้นไปเปลี่ยนชื่อ แล้วใส่กลับลงไปในเว็บไซต์เดิมในนามของตนเอง การกระทำแบบนั้นสำหรับคนที่คัดลอกไปอาจจะเห็นเป็นเรื่องสนุก ที่ใช้เวลาในการคัดลอกเพียงไม่ถึงหนึ่งนาทีก็สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองได้ แต่... มันกลายเป็นการดูหมิ่นจิตวิญญาณของเจ้าของผลงานอย่างที่สุด
การกระทำดังกล่าวใช่ว่าเป็นเรื่องที่ชอบธรรม มันเป็นเรื่องที่ผิดตั้งแต่กฎจิตสำนึกของการเป็นมนุษย์ และกฎหมาย ซึ่งกำหนดขอบเขตสิทธิไว้อย่างชัดเจนว่า
“ลิขสิทธิ์งานเขียนจะมีตลอดอายุของนักเขียนผู้นั้นนับแต่สร้างสรรค์ผลงาน และต่อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่นักเขียนผู้นั้นเสียชีวิต”
กล่าวโดยง่าย คือ ไม่ว่าใครก็ตามที่สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาแล้ว ต่อให้ไม่ต้องจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็ยังได้รับสิทธิ์ในการคุ้มครองโดยชอบทางกฎหมาย และหากนักเขียนคนนั้นมั่นใจว่าตนเองถูกคัดลอกผลงาน และมีหลักฐานว่าอีกฝ่ายกระทำการคัดลอกจริง ก็สามารถที่จะดำเนินการทางกฎหมายได้ทั้งทางอาญา และทางแพ่ง ต่อให้ผลงานที่ถูกคัดลอกไปนั้นเป็นประโยคเพียงบรรทัดเดียวเท่านั้น โทษที่ได้ก็ไม่ได้ต่างกัน
ดังนั้น... สำหรับคนที่เคยคัดลอก กับ คนที่กำลังคิดจะคัดลอก โปรดไต่ตรองให้ถี่ถ้วน และชั่งใจให้หนักว่าแน่ใจแล้วหรือ ที่จะเอาอนาคต และชื่อเสียงของตนเอง กับวงศ์ตระกูลไปเสี่ยงกับการกระทำที่ผิดกฎหมายเต็มประตูเช่นนี้
ขอวิงวอนให้ความคิดเห็นของผมนี้จงไปถึงเหล่าชนชั้นนักเขียนที่ยังมีจิตสำนึกเหลืออยู่ ศักดิ์ศรีของนักเขียนเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ผลงานของใคร ใครก็รัก หากคิดสร้างสรรค์ผลงานออกมาเองได้ ผลประโยคนั้นก็จักตกสู่ตัวท่านเองหาใช่ผู้อื่นไม่ แต่.. ถ้ามืดบอดประสบซึ่งทางตัน ขอท่านจงอ่านหนังสือให้หนัก และตรึกตรองเปิดใจให้กว้างมองดูสิ่งรอบข้าง แล้วกำแพงที่มืดบอดนั้นจักพังทลายลงไปเอง
โปรดอย่าให้ประวัติศาสตร์แห่งวรรณกรรมไทย ได้จารึกไว้เลยว่า ยุคของเรานี้ล่ะ เป็นยุคแห่งการล่มสลายของนักเขียนไทยเลย..
*************************************
ข้อมูล : สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
Create Date : 08 สิงหาคม 2550
Last Update : 10 สิงหาคม 2550 23:01:56 น.
6 comments
Counter : 815 Pageviews.
Share
Tweet
นักเขียนไม่มีวันตายหรอก ถ้าคนอ่านยังสนุกในการอ่านงานของนักเขียน
สหาย ข้าคิดว่านักเขียนไทยเกิดผิดที่ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองที่คนอ่านหนังสือกันน้อย
โดย: สุภาพบุรุษสุรา (
communist
) วันที่: 10 สิงหาคม 2550 เวลา:22:52:13 น.
อ่านแล้วเกิดอาการเครียดเล็กน้อยถึงปานกลาง ว่าแล้วต่อไปจะทำมาหากินอะไรดีน้อ
โดย:
ผัสสะ
วันที่: 11 สิงหาคม 2550 เวลา:0:21:34 น.
คุณธรรม
ตัวกำหนด....
"พฤติกรรมมนุษย์"
ไม่มีอะไรที่วิเศษไปมากกว่านี้
โดย: คุณครูตัวกลม (
คุณครูตัวกลม
) วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:17:00:52 น.
ตราบใดที่หมึกในปากกายังไม่หมด
ดินสอยังไม่หมดแท่ง
นักเขียนจะยังคงยืนหยัดอยู่ ไม่ว่ากาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไปสักแค่ไหน
โดย:
reaction
วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:17:59:02 น.
^
^^
^^^
Me too REACTION
โดย: jaa (
- จอมจุ้น -
) วันที่: 27 สิงหาคม 2550 เวลา:22:19:41 น.
=ชีวิตต้องเดินต่อ.................
โดย: พเนจร IP: 117.47.80.246 วันที่: 24 ธันวาคม 2550 เวลา:17:11:35 น.
ชื่อ :
Comment :
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
อัจฉริยะมืด
Location :
ขอนแก่น Thailand
[Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [
?
]
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [
?
]
Friends' blogs
อัจฉริยะมืด
Webmaster - BlogGang
[Add อัจฉริยะมืด's blog to your web]
Links
http://my.dek-d.com/raidman/
BlogGang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.
สหาย ข้าคิดว่านักเขียนไทยเกิดผิดที่ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองที่คนอ่านหนังสือกันน้อย