การศึกษา 2

จากภาคที่แล้ว ที่สงสัยว่า ทำไมผู้ปกครองเสียงเงินเสียทองส่งลูกเรียนโรงเรียนดัง ? ก็ได้คำตอบจากผู้ปกครอง เรื่องความมั่นใจในการศึกษา และจากการสังเกตเก็บข้อมูลในโรงเรียนต่าง ๆ ที่เจอกับตัวเอง



ความเชื่อมั้นในคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เป็นสาเหตุหลัก และก็เข้าใจค่ะ อนาคตของลูกต้องเตรียมให้ดี สร้างให้ดี เพื่อชีวิตที่ดีในอนาคต

มีกลุ่มการศึกษาพอแบ่งได้ 3 ระดับ

กลุ่มแรกเรียนฟรี โรงเรียนวัด โรงเรียนประจำหมู่บ้าน ตำบล ก็มีลูกค้าเป็นประชาชนธรรมดา ที่ไม่มีกำลังทุ่มเพื่อการศึกษาของลูก ชีวิตใช้เวลาทำมาหากินจนไม่มีเวลาเลี้ยงดูมากนัก และตอนนี้โรงเรียนขยายโอกาสก็รองรับเด็กต่างชาติเข้ามาจนเกือบจะเกินครึ่ง



กลุ่มที่ 2 โรงเรียนรัฐบาลดัง ๆ หรือเอกชน นักเรียนเยอะมาก เพราะยอดนิยม ค่าเทอมค่อนข้างแพง แต่พอจ่ายได้ ก็เป็นกลุ่มใหญ่ที่บางครอบครัวเพื่อลูกก็ทุ่มแรงกายใจ และเวลากับการได้มาซึ่งเงินค่าเทอมลูก แล้วฝากความหวังไว้กับโรงเรียนเหล่านั้นสานฝันให้เป็นจริง



สุดท้าย ครอบครัวที่มีความพร้อมสูง มีโอกาสเลือกมาก ก็ส่งลูกเข้าโปรแกรมภาษาอังกฤษ โรงเรียนนานาชาติหรือไปเมืองนอกซะเลย คาดว่าน่าจะดีกว่าการศึกษาไทย บางโรงเรียนก็ใช่ค่ะ บางโรงเรียนก็ไม่ อันนี้แพง ไม่มีเงินก็เลิกคิด



เหมือนกับว่าการศึกษามันก็มีหลายระดับ เหมือนสังคมเลย แล้วก็ทำให้เด็กที่จบจากโรงเรียนแต่ละแบบนั้นมีสังคม มีชีวิตที่แตกต่างกันต่อไป แล้วช่องว่างก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย ดังนั้นผู้ปกครองหลายท่านจึงยอมทุ่มเพื่ออนาคตของลูก

พอไปดูโรงเรียนเยอะ ๆ เข้าก็เริ่มเข้าใจผู้ปกครองค่ะ ลูกเราจะเข้าแบบไหน ถ้าจ่ายได้ก็จะยอมจ่าย แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าเงินที่จ่ายไปเพื่ออนาคตที่ยังมาไม่ถึงนั้น มันประกันได้ว่าความหวังของเราจะเกิดขึ้นจริง



บทนี้ขอกล่าวถึงกลุ่มแรก ใกล้บ้าน ใกล้ประชาชน แต่ถูกมองข้าม เพราะอะไร??

คนส่วนมากคิดว่าโรงเรีัยนวัด โรงเรียนรัฐบาลขนาดกลา่ง และเล็ก ไม่น่าเชื่อถือ
โรงเรียนรัฐบาลที่ดี ๆ ก็มีนะคะ และขอยกย่องสรรเสริญ

ข้อดีค่ะ
1 ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก
2. ตอนนี้นักเรียนต่อห้องมีพอดีกับภาระงานครูค่ะ เฉลี่ย 20-30 คน ตรงตามหลัการครู : นักเรียน
3. ถ้าได้ครูดี โรงเรียนดี เป็นชุมชนที่น่ารักค่ะ บางทีครูรู้จักทั้งพ่อแม่เด็ก ก็บ้านมันอยู่กันแถว ๆ นั้นแหละ ครูเข้าใจธรรมชาตินักเรียน สอนได้สอดคล้องกับวิถีชุมชน
4.ประหยัดจ้า ไม่ต้องหามรุ่งหามค่ำทำงานหาเงินส่งค่าเทอมลูก มีเวลาอยู่กับลูก อบรมใกล้ชิดลูกอีก



ส่วนโรงเรียนบางแห่งก็เหลือทนจ้า จนบางทีต้องตัดออกจากระบบ ไม่ให้เด็กไปฝึกสอนแล้ว เพราะกลับเป็นการบ่มเพราะนิสัยไม่ด้(ที่แก้ไม่ได้ซักที) กับทำให้เด็กบางคนท้อและเลิกเป็นครูไปเลย

ปัญหาที่เจอบ่อย ๆ จากการที่ได้เข้าไปในโรงเรียนแบบเนียน ๆ ไปแบบไม่มีการเตรียมการใด ๆ ทั้งนั้น จะว่าไปก็ไม่ค่อยดีนะ เอาเรื่องคนอื่นที่เค้าช่วยดูแลเด็กให้เรามาเม้าท์ แต่ก็อยากจะให้ข้อมูลแก่ผู้ปกครองค่ะ ว่าเงินที่ท่านจ่ายไปเพื่อการศึกษาของลูกท่านนั้นมันคุ้มค่าสมราคารึเปล่า และภาษีที่เราจ่ายไปเพื่อสนับสนุนเงินเดือนครูนั้น มันได้ประโยชน์สมค่ามั้ย



ปัญหาที่มักพบบ่อย
1. การประกันคุณภาพแบบจัดฉาก ศึกษานิเทศ สมศ. ประกันคุณภาพ รอบจริง รอบซ้อม สารพัดรอบมาตรวจ การเรียนการสอนปกติหยุดหมดจ้า(อันนี้เซ็งมากตั้งใจไปดิบดี วันนี้ซ้อมรับ สมศ. ครูไม่สอนค่ะ หนูต้องดูนักเรียนแทน อ้าว.ชั้นขับรถมาเสียเปล่าเหรอเนี่ย) ระดมกำลังทั้งครู ทั้งนักเรียนไปเตรียมตัว เตรียมซ้อมนักเรียนบางส่วนเพื่อการแสดง(ไอ้ที่เหลือนั่งในห้อง ครูไปประชุม) ซื้อต้นไม้ ดอกไม้ จัดบอร์ด จัดห้อง ขอยืมอุปกรณ์ตกแต่งต่าง ๆ (ตอนนี้ล่ะงานเก่านักศึกษาที่ส่งมาไม่เอาคืนก็มีค่าในบัดดล) เพื่อให้ผู้ประเมินมาดู แล้วตอนปกติทำไมไม่ทำ เสร็จแล้วเอาไงล่ะ ตกลงว่าที่ สมศ. มาประเมินไปนั้นfack แต่ของจริงก็ตอนอื่นๆ (อันนี้ไว้มีโอกาสเจอผู้ปฏิบัติงานจะขอความกรุณาชี้แจงให้ทราบเหตุผล ตอนนี้เหมือนกล่าวหา แต่ก็ขออนุญาตพาดพิงก่อนนะคะ)
อาจารย์นิเทศนี่แหละเห็นตลอด คุณจะไปตรวจโรงเรียนทำไมไม่ไปดูตอนเค้าทำงานจริง ๆ เล่นแจ้งไปก่อน แบบให้เตรียมเลี้ยงดูปูเสื่อเนี่ย มันเพื่ออะไรวะ ตกลงมันควรจ้าง ศึกษานิเทศ สมศ.มั้ยเนี่ย อยากรู้ความจริงถามชั้นเนี่ย รู้ลึก รู้จริง



2.ครูใหญ่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ครูใหญ่ คือ key man บริหารไม่เป็น เน้นอำนาจ ขาดความรู้ ก็จบค่ะ บางทีความรู้ ความตั้งใจอย่างเดียวไม่พอ ต้องบริหารคนเป็นด้วย ส่วนที่สังเกตเห็นคือวัฒนธรรมองค์กรณ์ค่ะ ประเพณีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ๆมันก็มีนะคะ แต่ไอ้แบบที่ทำตาม ๆ กัน ทำไปทำไม เพื่ออะไร ที่ไม่ใช่เพื่อการพัฒนาเด็กเนี่ย ครูใหญ่ฉลาด ๆ ก็จะบริหารจัดการให้เิกดประโยชน์ได้ และรู้ว่าบางเรื่องต้องทำ บางเรื่องควรทำ บางเรื่องไม่ต้องสนใจ(ก็ได้) เช่น ไปมอบดอกไม้คนรับตำแหน่ง(เจ้านาย) เสียค่าดอกไม้ ค่ากระเช้า ค่าเวลา ค่ารถ ไปคนเดียวก็ไม่ได้ต้องยกขบวนกันไป ,ไปศึกษาดูงานที่ต่าง ๆ(ก็ไปเที่ยวนั่นนะ แล้วเอามาทำบ้างป่าวไม่รู้) , ครูน้อยบางคน ไปอบรมที่เน้นช็อปปิ้ง แค่ถ่ายรูปหน้างานแล้วก็โดดการอบรม และครูไม่มา ไม่สอน ไม่รู้อยู่ไหน ครูใหญ่มีทั้งรู้และไม่รู้ แล้วยังรับเงินเดือนเต็ม (ถ้าไม่รู้ก็ไม่ควรเป็นครูใหญ่ แต่ถ้ารู้แล้วไม่ทำอะไรก็เป็นครูใหญ๋ทำไมวะ) และครูที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ผิดศีลธรรม จรรยา ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีตามวิชาชีพ แล้วสร้างปัญหาและเสียภาพพจน์ มีหลายเรื่องค่ะ ถ้าครูใหญ่เก่ง ดี ก็จัดการได้ค่ะ คนไม่ดีก็อย่าให้สร้างความเดือดร้อนวุ่นวาย คนดีก็ส่งเสริม...............เหตุที่คุณภาพการศึกษาได้ไม่เต็มที่เพราะผู็นำไม่ดี และจากประสบการณ์ทั้งของตัวเอง และจากบิดา(ซึ่งก็เคยเป็นทั้งครูน้อย ครูใหญ่ อาจารย์และคณบดี) บอกว่า โรงเรียนจะดีได้ แค่ครูใหญ่ดี ๆ คนเดียวก็แจ่ม ใช่เลยค่ะ ไว้วันหลังจะสัมภาษณ์ครูใหญ่เจ๋ง ๆ มาฝาก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ว่าโรงเรียนจะเป็นอย่างไร คุยกะครูใหญ่ แม้จะไม่ได้ทั้งหมดก็พอเดาทิศทางได้ว่าจะร่วงหรือรอด



3. ครูน้อยทำผลงาน อันนี้ไม่เข้าใจในระบบการศึกษาไทยจริงๆ ที่มาเน้นการทำผลงานเพื่อเพิ่มเงินเดือนครู งานการสอนในห้องเละเลย ครูก็เน้นผลงานที่ไม่ได้เป็นความจริงเพื่อการพัฒนาเด็ก นักศึกษาฝึกสอนรับเละจ้าถ้าครูพี่เลี้ยงกำัลังทำผลงาน โดยหลักการน่าจะดีนะคะ มันคือการทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน คุณไปคาดหวังให้ครูทำวิจัย แล้วเค้าไม่ได้เรียนมา เน้นมา ใครจะทำได้วะ แถมครูเองก็ขี้เกียจเรียนรู้อะไรใหม่ด้วย และคุณให้ใครที่ไหนไม่รู้ตรวจ(อ.ทางเหนือ ได้อ่านผลงานจากครูอีสานและภาคกลางจ้า หน้าตาไม่เคยเห็น งานจริงไม่เคยดู ดูจากเอกสารอย่างเดียว) จะรู้ได้ไงว่าครูเค้าทำจริง ๆ จนเกิดธุรกิจรับจ้างทำผลงาน ได้เงินกันเป็นกอบเป็นกำ ไม่ต้องอะไรมาก ตัวเองนี่แหละสมัยจบป.โทใหม่ ๆ มีคนมาจ้างทำผลงาน เราก็คิดว่าครูไม่มีเวลาค้นคว้า เขียนเล่มไม่เป็น ดูสถิติไม่ได้ ก็คล้าย ๆ กับเราเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ ปรากฎว่า ให้เราmake ทุกอย่างเองหมด ทำแต่เครื่องมือ แล้วก็ไม่ได้เอาไปใช้จริง ขอเสนอผลงานเป็นอาจารย์ 3 อะไรซักอย่าง รับไม่ได้ค่ะ รับแค่ 2 งานแล้วเลิก ผิดศีลอย่างแรง กลัวเกิดใหม่แล้วโง่ เพราะไปหลอกคนอื่นไว้และส่งเสริมคนทำผิด ทำลายการศึกษา



4.ครูหมดไฟ อันนี้ผลงานไม่ทำแล้ว อะไรก็ไม่เอาแล้ว รอเกษียณอย่างเดียว ไม่สนใจ ไม่พัฒนาอะไร ไม่ง้ออะไร รอเวลาอย่างเดียว อันนี้ก็สงสัยว่างั้นก็ลาออกไป มากินเดือนเดือนภาษีประชาชนอยู่ทำไมเต็มที่ แต่ทำงานไม่ถึงครึ่ง ไปอยู่บ้านเลี้ยงหลานไป่ แถมมาโหลดงานกับเด็กใหม่ แล้วไอ้เด็กใหม่พอมันมีโอกาสมันก็เอาบ้าง เลื่อนงานไปให้เด็กฝึกสอน ฝึกสอนคือฝึกสอนจ้า ไม่ได้สามารถเท่าครูจริง ดูแทนได้บางอย่าง แต่ไม่ทุกอย่าง กรรมตกอยู่ที่นักเรียน



ข้างบนนั้นเป็นปัญหาหลัก ๆ ที่เจอนะคะ อ่านแล้วหดหู่หัวใจดีแท้ จริง ๆ ค่ะ ไปนิเทศนักศึกษาฝึกสอนแต่ละที มีหลายหนที่กลับมาแบบหมดสภาพจิตใจหดหู่ แต่โรงเรียนดี ๆ ที่ๆปแล้ว Happy ก็มีนะคะ เมื่อมีปัญหาเรื่องโรงเรียน จึงต้องเกิดการพยายามแก้ปัญหา โดยเดินทางหาโรงเรีัยนต้นแบบในฝันเพื่อส่งนักศึกษาไปฝึกสอนค่ะ เทอมหน้าส่งไปแม่อาย (ครูยอมจ่ายค่าน้ำมันเองไปสำรวจและสัมภา่ษณ์ครูใหญ่ให้ก่อน) ไว้มีอะไรคืบหน้าจะมาเล่าให้ฟังนะคะ



แล้วในฐานะผู้ปกครองคนเสียภาษีทำอะไรได้บ้าง อยากจะให้ท่าน ๆ ช่วยกันมีส่วนร่วมในการศึกษามาก ๆ ค่ะ จะว่าแทรกแซงก็ไม่ขนาดนั้นนะคะ คุยกันกับครูและผู้รู้ค่ะ ตรวจสอบดูแลถามไถ่เอากะลูกคุณนั่นแหละค่ะ เค้าเป็นผู้เรียนที่พึงประสงค์รึยัง ดูจากอะไรได้ ดูจากหลักสูตรค่ะว่าโรงเรียนสอนตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานมั้ย(กรณีโรงเรียนไทยนะคะ) ถ้าดูไม่เป็นก็คงต้องเรียนรู้ล่ะค่ะ คุณอย่าไปฝากความหวังไว้ตอนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะตอนนั้นมันแก้อะไรไม่ทันแล้ว คงต้องโหลดหลักสูตรมาอ่านค่ะ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้ฐานพ.ศ. 2551 ตามlink นี้เลยนะคะ ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ ดู คุณพึ่งใครไม่ได้แล้วค่ะ เพื่อประโยชน์ของตัวเองและลูก เราจะได้ช่วยกันตรวจสอบคุณภาพด้วย อย่ายกภาระให้แต่คนในหน่วยงาน บางทีมันก็เยอะจนดูไม่ทั่วถึง และจะได้เข้าใจครูด้วยว่า เราควรทำงานด้วยกันไปในทิศทางใด หลักสูตรเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรรู้นะคะ อย่างน้อยในแง่หลักการ ไว้โอกาสหน้าจะเอามาอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ


แต่อยากจะให้ทุกท่านเข้าใจไอย่างหนึ่งว่า แม้ว่าโรงเรียนดี สิ่งแวดล้อมดี แต่ถ้าคุณไม่มีเวลาดี ๆ อบรมสั่งสอนลูกคุณก็เท่านั้นแหละ และแม้ว่าโรงเรียนปานกลาง อยู่ในสิ่งแวดล้อมปานกลาง แต่ครอบครัวมาความอบอุ่น เข้าใจ ใส่ใจ เด็กมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงค่ะ(ขอเน้นว่าแบบไม่เบียดเบียนผู้อื่นและสังคมด้วยนะคะ) และโรงเรียนไม่ค่อยดี สิ่งแวดล้อมไม่ค่อยดี แต่ก็มีเด็กดี ๆ เกิดขึ้นได้ ถ้าครอบครัวดีนะคะ จะเห็นได้ว่าสิ่งสำคัญคุณอย่าเอาโรงเรียนเป็นที่ตั้ง คิดว่าจ่ายเงินแล้วก็จบ มัวทำงานหาเงิน ระวังจะได้แต่เงินจริง ๆ ไม่มีความสุข โรงเรียนเป็นเพียงแนวทาง วางรากฐานการเรียนรู้ค่ะ บ้านคือการต่อยอดการเรียนรู้จากโรงเรียน มันเป็นหน้าที่ที่บ้านนะคะที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน ตามแบบที่เด็กแต่ละคนจะเหมาะ บางทีก็เคยเจอพ่อแม่ที่ไม่ฝึกระเบียบวินัยลูกที่บ้านเลย แต่พอมาโรงเรีัยนจะให้ครูสอนลูกตัวเองให้ได้เนี่ยคงยากล่ะค่ะ ดังนั้น 2 ประสานดีกว่านะคะ

การศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของโรงเรียนเท่านั้นค่ะ
จบแบบงง ๆ ไว้โอกาสหน้ามาใหม่ค่ะ

ปล.ภาพประกอบส่วนมากเป็นภาพจากการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพค่ะ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานะคะ



Create Date : 18 มีนาคม 2555
Last Update : 26 มีนาคม 2555 23:38:48 น. 4 comments
Counter : 857 Pageviews.  
 
 
 
 
อ่านแล้วได้มุมมองสำหรับครอบครัวที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงการศึกษาครับ

บางทีผู้ปกครองก็ไม่แน่ใจว่าเงินที่เสียแพงๆเพื่อการศึกษานั้น สมความตั้งใจหรือไม่ ส่วนใหญ่ การตัดสินใจให้ลูกนั้น เกิดจากเสียงร่ำลือทั้งนั้นครับ
 
 

โดย: Insignia_Museum วันที่: 1 เมษายน 2555 เวลา:21:25:46 น.  

 
 
 
สุขสันต์วันสงกรานต์ครับคุณอัลต้า

เดินทางไปไหน มาไหน ขอให้ปลอดภัยนะครับ
 
 

โดย: Insignia_Museum วันที่: 13 เมษายน 2555 เวลา:9:25:18 น.  

 
 
 
สวัสดีปีใหม่ไทยเช่นกันค่ะพี่แนน
หวังว่าจะได้เจอกันอีกเนอะพี่...
 
 

โดย: กาแฟดำไม่เผ็ด วันที่: 15 เมษายน 2555 เวลา:22:45:49 น.  

 
 
 
สวัสดีครับคุณอันต้า

โรงเรียนเริ่มเปิดเทอมแล้ว ภาระกิจเกี่ยวกับเด็กๆคงได้เวียนมาอีกครั้ง ขอให้เริ่มปีการศึกษาใหม่ด้วยความสดใสนะครับ

 
 

โดย: Insignia_Museum วันที่: 19 พฤษภาคม 2555 เวลา:11:32:05 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

อันต้า
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Logo           พยายามทำหน้าที่ของตัวเอง  Smileyไม่เบียดเบียนตนอื่น(ระวังคนอื่นเบียดเบียนเราด้วย) Smiley มีน้ำใจมาก ๆ (เตือนตัวเองบ่อย ๆ ) หวังไว้ว่าแก่ตัวมาจะได้มีสังคมที่ดี ไม่ต้องย้ายหนีไปอยู่ที่อื่น(เพราะทนอยู่ไม่ได้) ......แต่ไปอยู่ไหนดีล่ะ Smiley  เอาวะช่วยกันสร้างดีกว่า อย่างน้อยก็อย่าทำลายเนอะ Smiley

Free TextEditor        comment box
New Comments
[Add อันต้า's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com