การพัฒนาบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ (PERSONALITY) หมายถึงสภาวะทุกอย่างที่ประกอบเป็นตัวของคนนั้นร่วมด้วยสภาวะทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ความรู้สึกนึกคิดและความสามารถทางสติปัญญา ซึ่งสภาวะเหล่านี้จะมีผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคล บุคคลจะมีบุคลิกภาพอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ 1.กรรมพันธุ์ ได้แก่ ขนาดรูปร่างของร่างกายและระดับสติปัญญา 2.การอบรมเลี้ยงดู จะสร้างและเสริมลักษณะทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การอบรมเลี้ยงดูมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับความรักความสนใจจากพ่อแม่อย่างเหมาะสมไม่มากหรือน้อยจนเกินไป จะมีการ สร้างเสริมบุคลิกภาพที่ดีกว่าเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น ไม่ได้รับความรักความสนใจจากพ่อแม่หรือได้รับแต่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป 3.สิ่งแวดล้อม เช่นเพื่อนในโรงเรียน สภาพบ้าน ที่อยู่อาศัย ความหนาแน่นของประชากร สภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม คนที่เคยมีบุคลิกภาพอย่างไรมาก่อน ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปอย่างนั้นตลอดไป คนที่มีบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสม ก็พัฒนาคุณลักษณะของบุคลิกภาพอื่นให้ดีขึ้นเพื่อมาเสริมบุคลิกภาพ โดยรวมให้ดียิ่งขึ้นอีก หรืออาจไม่มีการพัฒนาแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงในทางไม่ดีก็ทำให้บุคลิกภาพ โดยส่วนรวมเสียไป ส่วนคนที่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดีก็พัฒนาคุณลักษณะของบุคลิกภาพให้ดีขึ้นได้ หรือในทางกลับกัน อาจไม่มีการพัฒนา แต่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่กว่าเดิม จะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพสามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าเดิมก็กล่าวได้ว่า บุคคลนั้นมีการพัฒนาบุคลิกภาพ
ทฤษฎีบุคลิกภาพ
ฟรอยด์ ได้กล่าวถึงทฤษฎีบุคลิกภาพเกี่ยวกับ ลิบิโด ว่ามีความสำคัญต่อพัฒนาการของคนเรา โดยกล่าวว่า ลิบิโด คือพลังจิตอย่างหนึ่งซึ่งจะรวมอยู่บริเวณต่างๆของร่างกายแหล่งที่ ลิบิโด ไปรวมกันอยู่จะเป็นตามลำดับขั้นคือ จากบริเวณปากไปสู่อวัยวะขับถ่ายและอวัยวะเพศตามลำดับ การเคลื่อนย้าย ลิบิโด จากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาหาก ลิบิโดไม่มีการเคลื่อนย้ายคนก็จะไม่มีการพัฒนา และยังได้เน้นว่าประสบการณ์ในวัยระหว่าง 6 ปีแรกของชีวิตมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมระยะหลังของบุคคลเป็นอย่างมากวิธีการสำรวจบุคลิกภาพ
การสำรวจบุคลิกภาพได้จะต้องสำรวจดูก่อนว่าบุคลิกภาพของเราเป็นอย่างไรลักษณะใดควรปรับปรุง ลักษณะใดควรเสริมให้ดียิ่งขึ้นโดยใช้การสำรวจดังนี้
1.บุคคล ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง มีบุคลิกภาพดี เป็นที่ยอมรับของสังคมเป็นตัวแบบหรือเกณฑ์ พิจารณาลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลนั้นว่าลักษณะใดที่สังคมชื่นชมให้การยกย่อง แล้วปรับปรุง ลักษณะบุคลิกภาพของเรา 2.สังคม ในสังคมจะมีค่านิยม วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นตัวกำหนดการดำเนินชีวิต ของบุคคลในสังคม เราอยู่ในสังคมนั้นก็ต้องประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม แต่ทั้งนี้ลักษณะของที่สังคมต้องการต้องไม่ขัดกับลักษณะของสุขนิสัยที่ดี 3.คุณลักษณะของบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในวิชาชีพ วิชาชีพต่างๆต้องการบุคคลที่มีบุคลิกภาพเฉพาะของวิชาชีพนั้นๆวิชาชีพสาธารณสุขก็เช่นกัน ต้องการบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่เอื้อ อำนวย และส่งเสริมต่อการปฏิบัติงานเช่น เป็นคนที่มีความเมตตาต่อผู้อื่น มีความอดทนเป็นต้น 4.แบบสอบวัด โดยใช้สำรวจบุคลิกภาพ ซึ่งนักจิตวิทยาไดสร้างและพัฒนาขึ้นมาหลายแบบที่เป็นมาตรฐาน เช่น แบบสอบวัดพฤติกรรมที่มีชื่อว่า Minnesoto Multiphastic Personality Inventory ( MMPI ) ซึ่งจะมีคำถามทั้งหมด 550 ข้อที่ให้บุคคลแต่ละคนได้ตอบเพื่อประเมินตนเองว่าลักษณะพฤติกรรมเป็นอย่างไร
ลักษณะบุคลิกภาพที่ดีของบุคลากรสาธารณสุข มีลักษณะ 3 ประการคือ 1.ลักษณะบุคลิกภาพทางกาย ที่ดีของบุคลากรสาธารณสุขประกอบด้วย รูปร่าง หน้าตาดี การแต่งกายโดยใช้แบบฟอร์มสะอาด ร่างกายสะอาดกิริยาอาการเคลื่อนที่คล่องแคล่ว ว่องไว และสภาวะสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ 2.ลักษณะบุคลิกภาพทางอารมณ์และจิตใจ ที่ดีของบุคลากรสาธรณสุขประกอบด้วย 2.1สามารถควบคุมอารมณ์โลภ โกรธ หลง ได้ 2.2ความรู้สึกมีเมตตา เอื้ออารีย์ต่อบุคคลอื่น 2.3ให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อสภาพความเป็นอยู่ของบุคคลอื่น 2.4ค่านิยมทางบวกต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุข 2.5พลังจิตแน่วแน่ต่อการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข 2.6การตัดสินใจที่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ กาลเวลาและสถานที่ 3.ลักษณะบุคลิกภาพทางวาจา ประกอบด้วย 3.1ใช้วาจาอ่อนโยนในการทักทาย ปราศรัย 3.2ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย จำง่าย ปฏิบัติได้ในการให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน 3.3ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มเพศ วัย ระดับการศึกษาของผู้ฟังในการให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน
การพัฒนาบุคลิกภาพ 1. การพัฒนาบุคลิกภาพเกิดขึ้นจาก 1.1ความต้องการความมั่นคงในการทำงาน 1.2ความต้องการการยอมรับนับถือ 1.3ความต้องการความก้าวหน้า 1.4ความต้องการความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ 1.5ความต้องการมีอิสระ 1.6ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
2. ทฤษฎีความเข้าใจตนเองและคนอื่น มีผู้ค้นคิดทฤษฎี เพื่อใช้ตรวจสอบทำความเข้าใจพฤติกรรมและอารมณ์ของตนเองและในขณะเดียวกันก็สามารถใช้ตรวจสอบพฤติกรรมและอารมณ์ของบุคคลอื่นได้ ทฤษฎีนี้ได้แก่ ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี( The Joharis Window) ตามทฤษฎีนี้ได้กล่าวถึงความรู้สำนึกตัว โดยนำเอาบุคคลอื่นเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องโดยกำหนดแบบสำรวจในบุคคลคนหนึ่งไว้ว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ 4 ส่วนซึ่งจะ อธิบายได้โดยใช้แบบจำลอง ดังนี้
เรื่องเกี่ยวกับตนเอง
ตนเองรู้ ตนเองไม่รู้ ( Known to self ) ( Unknown to self )
1. ส่วนเปิดเผย ( Open area ) 2. ส่วนจุดบอด ( Blind area ) 3. ส่วนซ้อนเร้น ( Hidden area ) 4. ส่วนลึกลับ ( Unknown area ) คนอื่นรู้ (Known to others )
คนอื่นไม่รู้(Unknownto others)
บริเวณที่1 ส่วนเปิดเผย( Open area ) หมายถึงการรู้ตัวและเข้าใจพฤติกรรมและบุคลิกของตนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อแสดงออกมาคนอื่นก็รู้และเข้าใจพฤติกรรมตรงกันกับเรา บริเวณที่2 ส่วนจุดบอด ( Blind area ) หมายถึงพฤติกรรมและบุคลิกในตัวที่ตัวเองไม่ทราบ แต่คนอื่นทราบ บริเวณที่3 ส่วนซ้อนเร้น ( Hidden area ) คือเราจะรู้ว่าเรามีพฤติกรรมบุคลิกอะไร แต่พยายามปิดบังไม่ให้คนอื่นรู้ บริเวณที่4 ส่วนลึกลับ( Unknown area ) เป็นส่วนที่เจ้าของพฤติกรรมและคนอื่นไม่รู้ตัวไม่เคยเห็น ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะมีพฤติกรรมและบุคลิกเป็นเช่นนั้นจะต้องพึ่งสถานการณ์บางอย่างเร้าให้แสดงบุคลิกภาพส่วนที่แอบแฝงนี้ออกมา จากทฤษฎี Joharis Window นี้มีข้อคิดบางประการที่หน้าสนใจคือ 1.ไม่มีใครที่จะรู้จักหรือเข้าใจงานของตนเองได้อย่างถ่องแท้แต่ให้ความสนใจหมั่นพิจารณาและทำความเข้าใจอยู่เสมอ ก็จะทำให้เข้าใจตนเองได้มากยิ่งขึ้นรู้จุดอ่อนและจุดเด่นของตน 2.คนเราสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพได้ โดยการยอมรับฟังคำติชมของผู้อื่น และนำมาพิจารณาแก้ไขทำให้จุดบอดของตนเองลดลง 3.บริเวณเปิดเผยและบริเวณซ้อนเร้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันล้วนแต่มีอิทธิพลโดยตรงต่อบุคลิกภาพเพราะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน และผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย 4.บริเวณจุดบอดและบริเวณลึกลับ จะต้องใช้การพิจารณา การยอมรับและใช้เวลาที่จะทำให้บริเวณนี้ลดน้อยลง
การสำรวจตนเอง การสำรวจตนเองทำได้โดยการวิเคราะห์ตนเองด้วยใจเป็นกลางไม่เข้าข้างตนเองและทำได้ 2 วิธีคือ 1. การประเมินตามความคิดของตนว่าพอใจในลักษณะนั้นๆมากน้อยเพียงไร 2. การประเมินจากการเปรียบเทียบกับคนอื่น ซึ่งควรเป็นการเปรียบเทียบกับคนที่มีลักษณะดีเด่นในเรื่องเหล่านั้น การเปรียบเทียบกับคนอื่นจะทำให้เราเข้าใจคุณสมบัติประจำตัวได้มาก การรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น การรับฟังจากความคิดของผู้อื่นนั้น หมายถึง การให้บุคคลที่รู้จักเราแสดงความคิดเห็น แสดงความรู้สึกที่เขามีต่อเรา เพื่อจะได้นำความคิดเห็น ความรู้สึกเหล่านั้นมาประเมินเพื่อหาข้อบกพร่องของตน การแสดงความคิดเห็นจะต้องยึดถือหลักเกณฑ์และคำนึงถึงสถานการณ์ที่เหมาะสมด้วย หลักเกณฑ์ในการแสดงความคิดเห็น คือ 1. ควรเป็นการอธิบายการกระทำมากกว่าเป็นการประเมิน 2. ทำให้ผู้รับรู้สึกว่าข้อมูลที่จะให้นั้นเป็นประโยชน์สำหรับเขา 3. จะต้องให้เหมาะสมกับกาลเทศะ 4. เปิดโอกาสให้ผู้รับซักถามความไม่เข้าใจ ทักษะที่มีของบุคลากรสาธารณสุข ทักษะที่มีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีอยู่ในตัวของบุคลากรสาธารณสุขนั้นควรมีดังนี้ 1.ทักษะทางด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มีดังนี้ 1.1 การพูดโดยรู้จักใช้คำถามเพื่อให้ได้รับความร่วมมือ 1.2 การฟังให้มาก พูดน้อย 1.3 มีกิริยาท่าที่น่านับถือ 1.4 ยิ้มแย้มดุจฉันมิตร 1.5 มองคนอื่นในด้านที่ดีอย่าคอยแต่จับผิด 1.6 ระมัดระวังการใช้น้ำเสียง 1.7 รู้จักการวิพากษ์วิจารณ์ให้เป็นประโยชน์ 1.8 ส่งเสริมศักดิ์ศรีของตน 1.9 ใช้การยกย่องชมเชยเพื่อให้ได้มาซึ่งความร่วมมือ 1.10 การทำความคุ้นเคยเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือ 2.ทักษะทางด้านวิชาชีพ ทักษะทางด้านวิชาชีพ หมายถึง ความสามารถในการใช้ความรู้ ในการใช้เครื่องมือเทคนิคและวิธีดำเนินงานเกี่ยวกับวิชาเฉพาะของตนเอง และความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานและสังคมที่ตนปฏิบัติงานอยู่ ดังต่อไปนี้ 2.1 มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิธีดำเนินงานและเทคนิคต่างๆในวิชาชีพ เฉพาะ เช่น 2.1.1 การแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยในชุมชน 2.1.2 วางแผนในการแก้ปัญหาสุขภาพอนามัย 2.1.3 การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ 2.1.4 ประเมินผลงานที่ทำไปแล้ว 2.1.5 จัดการฝึกธรรมะแก่ผู้ร่วมงาน และประชาชนทั่วไป 2.1.6 การประชาสัมพันธ์และการจัดเตรียม ผลิตและใช้อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ 2.1.7 ประสานงานและแนะแนววิชาการด้านสุขภาพอนามัย 2.2 การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยงานที่ตนปฏิบัติงานอยู่ 3.ทักษะทางด้านความคิด ทักษะด้านนี้มีความสำคัญมากต่อบุคลากรสาธารณสุขระดับสูง เพราะเป็นทักษะที่ผสมผสาน สิ่งที่เคยได้เห็น ความคิดรวบยอด และสติปัญญาเข้าด้วยกันซึ่งจะทำให้สามารถมองถึงแง่มุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงาน และหน่วยงานในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล โดยแยกออกเป็นทักษะที่สำคัญ ดังนี้ 3.1 ความสามารถในการจำแนก ข้อดีและข้อเสีย ข้อผิดพลาดของการทำงานตลอดจนความสามารถในการแก้ปัญหา ความผิดพลาดต่างๆเหล่านั้น 3.2 ความสามารถที่จะดำเนินการ จัดหา รวบรวมความคิดต่างเข้าด้วยกัน 3.3 ความสามารถในการวางแผน ติดตามผลงาน และประเมินผลงาน 3.4 ความสามารถในการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต เกี่ยวกับงานหรือผลของการดำเนินงาน รวมทั้งผลของตัดสินใจต่างๆที่ทำไปแล้ว 3.5 ความสามารถในความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ แนวคิด นโยบายใหม่ ให้กับการทำงานและหน่วยงาน ดังนั้นการพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นสภาวะรวมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจความรู้สึกนึกคิด และความสามารถทางสติปัญญา ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวบุคคลซึ่งเป็นผลจากกรรมพันธุ์และการอบรมเลี้ยงดู บุคลิกภาพสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีเหมาะสมได้
เอกสารอ้างอิง เอกสารการสอนชุดวิชา ประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Create Date : 05 พฤศจิกายน 2550 |
|
7 comments |
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 14:18:16 น. |
Counter : 11151 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: ญิ๋ง IP: 125.25.176.115 22 กุมภาพันธ์ 2551 9:46:25 น. |
|
|
|
| |
โดย: บ๊องซ่า IP: 61.19.95.118 8 กรกฎาคม 2551 14:54:29 น. |
|
|
|
| |
โดย: ทัศ IP: 202.149.25.197 6 พฤศจิกายน 2551 21:30:03 น. |
|
|
|
| |
โดย: Sportron สปอร์ตทรอน (mlmboy ) 13 ธันวาคม 2551 22:05:55 น. |
|
|
|
| |
โดย: .yai IP: 124.121.118.61 9 เมษายน 2552 15:04:24 น. |
|
|
|
| |
โดย: เดกลาดกระบัง IP: 124.121.214.50 14 เมษายน 2552 13:19:48 น. |
|
|
|
| |
โดย: ทื IP: 125.26.96.83 11 พฤศจิกายน 2554 9:38:12 น. |
|
|
|
|
|
|
หนูเดินบนเส้นทางอันโดดเดี่ยว
|
|
|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
|
|