|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
ชายผ้าสีดา (Platycerium) ที่บ้านของฉัน
ฤดูกาลนี้ที่บ้านผมเริ่มมีชายผ้าสีดาเพิ่มขึ้น นั่ง ๆ มอง ๆ ออกไปก็สังเกตเห็นปฏิกิริยาของแต่ละตัวที่มีต่อสภาพอากาศไม่เหมือนกัน วันนี้เลยขอเอาภาพปฏิกิริยาของแต่ละสายพันธุ์ที่มีต่อสภาพอากาศบ้านผมที่เริ่มเปลี่ยนจากหน้าฝนเป็นหน้าหนาว/แล้งมาให้ดูกัน ต้นที่หนึ่ง Platycerium wallichii หรือปีกผีเสื้อซึ่งจะพักตัวในหน้าแล้ง แม้ในรูปตอนนี้จะกระดี๊กระด๊าเนื่องจากได้ฝนเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แต่อีกหน่อยก็็จะพักตัวไป หากสังเกตจะเห็นว่าใบกาบของเจ้าผีเสื้อฝาแฝดที่อยู่ด้านบนนั้นแห้งไปเรียบร้อยแล้ว อีกหน่อยใบชายก็จะแห้งและม้วนตามไปด้วย

รูปถ่ายเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมาตอนก่อนที่จะโดนฝน จะเห็นว่าใบชายเริ่มจะเหี่ยวแห้งบ้างแล้ว

ส่วนภาพนี้เป็นของปีที่แล้ว ตอนพักตัวจะเห็นว่าใบชายจะแห้งม้วนเหมือนตายแล้ว

ต้นที่สอง Platycerium bifurcatumi เจ้าต้นนี้เลี้ยงง่ายครับผมให้เกาะต้นแคนาไว้ ช่วงนี้รดน้ำ 3-4 วันครั้ง หน้าฝนไม่ค่อยได้รด เท่าที่สังเกตคือเจ้าต้นนี้ใบกาบจะหนาและมีลักษณะเหมือนฟองน้ำซึ่งดูดน้ำไว้ได้เยอะกว่าพวกปีกผีเสื้อ ดังนั้น ในหน้าฝนเจ้าต้นนี้จึงไม่ยอมแตกใบกาบเพราะมีน้ำเพียงพอแล้ว แต่มาเริ่มแตกเอาเมื่อเริ่มเข้าหน้าแล้งแล้ว สาเหตุคงเป็นเพราะในหน้าแล้งความชื้นในธรรมชาติจะน้อยแล้วจึงเริ่มแตกใบกาบเพื่อสะสมความชื้นไว้

ใบก็สวยดีนะครับ

ต้นที่สาม Platycerim holtumiii หรือหูช้างไทย ต้นนี้อาจจะเก่าสำหรับคนอื่นแต่ใหม่ที่บ้านผม เพิ่งได้มาอยู่ด้วยกันไม่นาน ขอศึกษานิสัยใจคอกันสักพักก่อนนะครับ แต่เท่าที่ดูตอนนี้ก็เป็นปกติดี เจ้าต้นนี้จะไม่มีการพักตัวครับ

ต้นที่สี่ Platycerium veitchiii ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากออสเตรเลียในพื้นที่กึ่งทะเลทราย สามารถพบเกาะบนโขดหินหรือไม่ก็บนคบไม้ สายพันธุ์นี้ทนท้าแดดท้าลมดีครับ ผมจึงให้เจ้าต้นนี้อยู่ในตำแหน่งที่โดนแดดมากที่สุดในบรรดาชายผ้าสีดาที่มีในบ้าน ลักษณะพิเศษอีกอย่างของเฟินที่มาจากถิ่นแล้งคือจะมีขนสีขาว ๆ ที่ใบซึ่งผมคิดว่าเป็นลักษณะของพืชทนแล้ง เช่นพวกกระบองเพชรด้วย
จากการนั่งจิบกาแฟดูของผม สังเกตได้ว่าเจ้าต้นนี้ใบกาบเล็กถึงแม้จะออกใบใหม่มาเรื่อย ๆ แต่ก็มีขนาดเล็กและไม่ยอมหุ้มสแฟกนัมมอสที่ใช้เป็นเครื่องปลูก

ลองดูใบขน ๆ ของ veitchii แบบชัด ๆ บ้าง

ต้นที่ห้า Platycerium grandei ซึ่งเลี้ยงมาได้สักพักแล้ว เท่าที่เห็นตอนนี้ก็โตเร็วดีเช่นกัน ใบกาบตอนนี้คลุมเครื่องปลูกเกือบมิดแล้วซึ่งแตกต่างกับ veitchii ที่มาพร้อมกันอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ส่วนบนของใบกาบก็เริ่มแปรสภาพเป็นตะกร้าที่ในธรรมชาติมีไว้เพื่อรองรับเศษใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมา

ต้นที่หก Platycerium willinckiii ซึ่งโตวันโตคืน กอนี้ผมแขวนเอาไว้ใกล้กับ bifurcatum จะได้เป็นเพื่อนกัน สัปดาห์ก่อนเห็นกระถางเริ่มเล็กไปและเริ่มเข้าหน้าแล้งแล้วด้วย กลัวจะได้ความชื้นไม่พอ ผมก็เลยจัดการเปลี่ยนกระถางให้ น้องวิลลิงจะมีหน้่าคล้ายกับพี่ิไบเฟอร์มากครับ แต่มีข้อสังเกตคือใบกาบของ willinckii จะตั้งขึ้นเป็นตระกร้าในขณะที่ ิbifurcatum จะเป็นแผ่นกลม ๆ ไม่มีส่วนที่เป็นตะกร้าสำหรับดักใบไม้

ก่อนจากกันขอแถมท้ายด้วยภาพกล้วยไม้สักนิดครับ หวายแคระสีหวาน ๆ

อีกสักหวายก่อนจากก็แล้วกันครับ

สวัสดี มะโรง
Create Date : 21 พฤศจิกายน 2553 |
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2553 12:06:35 น. |
|
11 comments
|
Counter : 3683 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Patteera วันที่: 21 พฤศจิกายน 2553 เวลา:19:31:02 น. |
|
|
|
โดย: Calla Lily วันที่: 22 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:17:10 น. |
|
|
|
โดย: endless man วันที่: 22 พฤศจิกายน 2553 เวลา:9:29:37 น. |
|
|
|
โดย: tiensongsang วันที่: 22 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:44:18 น. |
|
|
|
โดย: ณ ขณะหนึ่ง วันที่: 24 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:23:30 น. |
|
|
|
โดย: mutcha_nu วันที่: 6 ธันวาคม 2553 เวลา:20:33:38 น. |
|
|
|
โดย: endless man วันที่: 14 ธันวาคม 2553 เวลา:13:32:40 น. |
|
|
|
โดย: nulaw.m วันที่: 24 ธันวาคม 2553 เวลา:10:35:33 น. |
|
|
|
โดย: endless man วันที่: 25 ธันวาคม 2553 เวลา:22:39:57 น. |
|
|
|
| |
|
|