|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ฟันของแม่ท้อง
หนึ่งในห้าคำถามที่คุณแม่มักจะถามเข้ามาในคอลัมน์ถามตอบเรื่องแม่ท้องที่พบบ่อยๆ คือ เรื่องทำฟันระหว่างท้อง ทำได้ไหม จะอันตรายหรือเปล่า ตลอดจนเรื่องความเชื่อเรื่องทำฟันต่างๆ นานา มาดู
ข้อสงสัยเรื่องฟันคุณแม่จะได้โล่งใจเสียทีค่ะ
ทำไมฟันผุช่วงตั้งครรภ์
1. ระหว่างตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่ชื่อว่า เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งจะทำให้เหงือกบวมอักเสบง่าย ทำให้เกิดการสะสมของคราบหินปูนและติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของฟันผุได้ง่ายขึ้น ยิ่งช่วงครรภ์เดือนที่ 2 คุณแม่จะเริ่มสังเกตได้จากคราบอาหาร คราบหินปูนที่จะสะสมบนซี่ฟันได้ชัดเจน ปฏิกิริยาของการอักเสบจะทำให้เหงือกที่อยู่รอบๆ ซี่ฟันบวมแดง ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดแต่เหงือกจะบอบบางและเลือดออกง่าย โดยเฉพาะเวลาแปรงฟันเมื่อคุณแม่เห็นว่าเหงือกบวมแดงจึงไม่กล้าแปรงฟันและไม่กล้าใช้ไหมขัดฟันเพราะกลัวว่าเลือดจะออกเพราะอย่างนี้จึงทำให้คราบอาหารและคราบหินปูนสะสมบริเวณซี่ฟันมากขึ้น
2. การที่ลูกตัวโตขึ้น มดลูกจะขยายขึ้นจะทำให้ความจุของกระเพาะอาหารน้อยลง คุณแม่จะอิ่มเร็วและหิวบ่อยเป็นเหตุให้ต้องรับประทานอาหารขนมขบเคี้ยวที่มีรสหวานบ่อยขึ้น สองอย่างนี้ค่ะที่เป็นสาเหตุของฟันผุที่เพิ่มขึ้น
แม่ท้องไหนเสี่ยง "ฟันผุ"
จำนวนคุณแม่ท้องที่ฟันผุพบประมาณ 65-70% บางครั้งคุณแม่อาจจะรู้สึกว่าฟันโยก โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 3 (28-40 สัปดาห์) แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ ฟันโยกจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อคุณแม่คลอดน้องแล้วนั้นเป็นเพราะว่าปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลงเหงือกจะยุบบวม และยึดเหนี่ยวซี่ฟันได้แข็งแรงขึ้นค่ะ
สำหรับกรณีที่มีอาการเหงือกอักเสบ มีการวิจัยต่างๆ พบว่าถ้าแม่เหงือกอักเสบมากอาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดค่ะ และเป็นสาเหตุให้ลูกมีน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากแบคทีเรียที่มีปริมาณมากอาจเข้าสู่กระแสเลือดไปที่มดลูก และกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเคมี Prostaglandin ซึ่งกระตุ้นให้มีการแข็งตัวของมดลูกก่อนกำหนดค่ะ ถ้าคุณแม่มีอาการปวดเหงือกปวดฟัน ซึ่งเป็นอาการของการอักเสบติดเชื้อควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อรักษาทันที ถ้าคุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดควรรีบพบสูติแพทย์ทันที
ท้องก็ทำ "ฟัน" ได้
ถ้าพบว่ามีฟันผุ ทันตแพทย์จะนัดคุณแม่เพื่ออุดฟัน เมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 (14-28 สัปดาห์) สำหรับในไตรมาสที่ 3 (28 สัปดาห์-คลอด) ควรจะพบทันตแพทย์อีกครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพอนามัยของช่องปาก
เหตุที่คุณแม่อายุครรภ์มากไม่ควรทำฟัน เพราะขณะทำฟันการนอนบนเก้าอี้ตรวจฟันเป็นเวลานานอาจทำให้อึดอัด หน้ามืดเวียนศรีษะ เป็นลมได้ค่ะ แต่หากจำเป็นต้องรักษาโรคเหงือก ฟันผุ หรือรากฟัน ทันตแพทย์จะให้ยาแก้ปวดพาราเซตามอลหรือถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะควรใช้ยาในกลุ่ม Amoxycillin หรือ Pennicillin ควรหลีกเลี่ยงยา Tetra3cyclin เพราะจะทำให้ฟันของลูกมีสีผิดปกติได้ค่ะ แต่ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะเลื่อนให้ไปทำหลังคลอดแทน
เพียงเท่านี้คุณแม่มือใหม่ทุกท่านก็จะมีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีพร้อมสำหรับการเป็นคุณแม่ยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพแล้วละค่ะ
ลูกดึงแคลเซียมจากฟันของแม่
แคลเซียมที่ลูกในครรภ์ต้องการเพื่อสร้างกระดูกนั้น จะนำมาจากอาหารที่คุณแม่รับประทานในแต่ละวันค่ะ ซึ่งถ้าคุณแม่ดื่มนมครบ 5 หมู่ แค่นี้ก็เพียงพอสำหรับลูกแล้ว แต่หากคุณแม่ที่ดื่มนมไม่ได้หรือดื่มนมได้น้อยคุณหมอให้แคลเซียมเสริม แต่ถ้าแคลเซียมไม่เพียงพอจริงๆ ร่างกายจะมีการเพิ่มสลายแคลเซียมจากกระดูกเพื่อเพิ่มปริมาณแคลเซียมในเลือดให้ลูกดึงไปใช้อย่างเพียงพอ ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุและไม่มีการสลายของฟันแต่อย่างใด
ดูแลฟันเรื่องง่ายๆ
1. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือถ้าเป็นไปได้ควรแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อของเหงือกและฟัน ควรดูแลเป็นพิเศษ 2. ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน 3. ถ้าคุณแม่อยู่ในช่วงแพ้ท้อง ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าทุกครั้งหลังอาเจียน เพื่อลดสภาพความเป็นกรดในช่องปาก 4. การแปรงฟันอาจทำให้คุณแม่คลื่นไส้ควรแปรงฟันด้วยน้ำเปล่าและใช้น้ำยาบ้วนปากสูตรป้องกันการเกิดหินปูน 5. รับประทานอาหารที่มีวิตามินซี และ บี 12 ลดอาหารขนมที่มีรสหวานจัด
"ว่ากันว่า" ทุกครั้งที่ตั้งครรภ์จะเสียฟัน 1 ซี่
เป็นความเชื่อที่เล่าขานกันมานานแล้วคิดว่าคุณแม่มือใหม่หลายท่านคงเคยได้ยินมานาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงค่ะ เพราะระหว่างการตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ชื่อว่า เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) นั้นจะทำให้เหงือกบวมง่ายแต่ถึงจะทำให้เหงือกบวม แต่ก็ไม่ได้เป็นสาเหตุที่เหงือกบวมจะเกิดจากการดูแลสุขภาพไม่ดีเท่าที่ควร เช่น แปรงฟันไม่ทั่ว ไม่ใช้ไหมขัดฟัน รับประทานอาหารหวานจัดค่ะ.
Create Date : 09 กรกฎาคม 2552 |
Last Update : 9 กรกฎาคม 2552 18:08:25 น. |
|
8 comments
|
Counter : 3512 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Mein Schatz วันที่: 9 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:22:14 น. |
|
|
|
โดย: Thee-T'sMom วันที่: 9 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:47:39 น. |
|
|
|
โดย: kizz_j วันที่: 10 กรกฎาคม 2552 เวลา:0:23:09 น. |
|
|
|
โดย: little nuch วันที่: 10 กรกฎาคม 2552 เวลา:6:59:33 น. |
|
|
|
โดย: บุ๋ม IP: 114.128.50.56 วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:6:39:53 น. |
|
|
|
โดย: เมล์ IP: 223.207.119.57 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2556 เวลา:13:30:49 น. |
|
|
|
โดย: ฟันล่างด้านหน้าโยก ท้องสี่เดือนหนึ่งอาทิตย์ มีวิธีบรรเทาหรื่อรักษาไหมค่ะ IP: 192.95.30.51 วันที่: 7 ตุลาคม 2559 เวลา:10:02:02 น. |
|
|
|
โดย: namphon549 วันที่: 13 พฤษภาคม 2568 เวลา:17:29:23 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]

|

|

-- ยินดีต้อนรับทุกท่านจ้า --
ณ ที่แห่งนี้.. คุณแม่ลูก2เขียนบันทึกเรื่องราว ของลูกชายตัวดี..เดนเด้ - - และ - - ลูกชายตัวน้อยๆ..ไดโอ
รวมถึงสาระต่างๆ ที่แม่เก็บรวบรวมมาแบ่งปัน เพื่อนๆทุกคน.. หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างนะคะ
ღ ..ขอบคุณ.. ღ ทุก Comment ที่ฝากคำทักทาย & พูดคุย ตลอดจนมิตรภาพดีๆที่มีให้แก่กันค่ะ

|
|
|
|
|
|
|
|
MY VIP Friend
  |
|
|
|