Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
21 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 

การตรวจTriple Marker และ การเจาะน้ำคร่ำ



การตรวจกรองทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติโดยวิธีการตรวจ Triple Marker


โรค Down syndrome เป็นความผิดปกติของทารกแรกคลอดซึ่งมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 ข้าง พบได้ประมาณร้อยละ 0.75 ของทารกแรกคลอดมีชีวิตทั้งหมด ซึ่งหญิงตั้งครรภ์แต่ละคนจะมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน โดยหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีจะมีอัตราเสี่ยงมากว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยดังนี้


ตารางที่ 4.1 แสดงความสัมพันธ์ของอายุมารดาที่เพิ่มขึ้นต่ออัตราเสี่ยงที่พบทารกมีความผิดปกติ



การตรวจวินิจฉัยและการประเมินความเสี่ยง


โดยทั่วไปแล้วการตรวจน้ำคร่ำยังถือเป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ แต่เนื่องจากวิธีการเจาะน้ำคร่ำนี้อาจมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้จึงไม่เหมาะที่จะทำในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย โดยแพทย์จะทำการตรวจน้ำคร่ำในหญิงที่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี หรือมีความเสี่ยงที่จะมีบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมสูงเท่านั้น

ดังนั้นปัจจุบันวิธีการตรวจคัดกรองที่จัดว่าเป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัยสูง และมีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ทุกราย คือ การตรวจเลือดแม่ โดยการตรวจทางชีวเคมี ได้แก่ การตรวจ MSAFP, beta hCG และ UE3 ซึ่งจะสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ถูกต้องถึง 70% (Detection rate) วิธีนี้มีความแม่นยำสูง ที่สำคัญที่สุด คือ มีความปลอดภัยสะดวกรวดเร็ว


Triple marker ประกอบด้วยการตรวจ


1. Alpha-Fetoprotein (AFP) สามารถตรวจทารกในครรภ์ตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป และระดับ AFP ในทารกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะสูงสุดที่อายุครรภ์ประมาณ 13 สัปดาห์ และจะเริ่มลดลงหลังจากคลอด ในขณะที่ระดับ AFP ในเลือดมารดา (MSAFP) จะตรวจพบได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 28-32 สัปดาห์ ซึ่งจะตรงข้ามกับระดับ AFP ในทารกที่จะเริ่มลดลง

ปัจจัยที่มีผลต่อระดับ MSAFP ได้แก่

1. การปนเปื้อนเลือดทารกเพียงเล็กน้อย จะทำให้ค่าตรวจ MSAFP สูงเกินจริงอย่างมาก
2. น้ำหนักตัวมารดา
3. โรคเบาหวานบางชนิด
4. การตั้งครรภ์แฝด จะทำให้ระดับ MSAFP สูงขึ้นกว่า 2 เท่าของการตั้งครรภ์เดี่ยว
5. เพศทารก โดยปกติทารกเพศชายจะให้ค่า MSAFP ในเลือดมารดาสูงกว่ามีทารกเพศหญิง
6. อายุครรภ์ ควรตรวจควบคู่กับการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) เพื่อลดผลบวกลวงและลบลวง
7. เชื้อชาติ พบว่าคนผิวดำจะมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าคนผิวขาว 10-15 % หญิงชาวตะวันออกจะมีระดับต่ำกว่าหญิงผิวขาวประมาณ 6%

2. hCG ระดับของ hCG ในเลือดมารดาจะสูงสุดที่อายุครรภ์ประมาณ 16 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่ 2 และจะเริ่มคงที่หลัง 22 สัปดาห์ในขณะที่ระดับของ free beta hCG จะมีการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์และจะสูงสุดที่อายุครรภ์ประมาณ 36 สัปดาห์ ในมารดาของทารกกลุ่มอาการดาวน์ ระดับ hCG จะสูงกว่าครรภ์ปกติที่ 2 เท่า หากพิจารณาคู่กับระดับ MSAFP ในการตรวจกรองจะให้ผลถูกต้องเท่ากับร้อยละ 49 และหากพิจารณาร่วมกับอายุด้วยจะให้ผลถูกต้องเพิ่มขึ้นเป็น 50%

ปัจจัยที่มีผลต่อระดับ hCG ได้แก่

o น้ำหนักตัวมารดา หากน้ำหนักมากจะมีระดับ hCG ต่ำกว่าปกติประมาณร้อยละ 13
o เบาหวานชนิด IDDM ซึ่งจะมีผลให้ระดับ hCG ต่ำกว่าปกติประมาณร้อยละ 13
o เชื้อชาติ (race) เชื้อชาติ African-Americans and Asian-Americans จะมีระดับสูงกว่าสตรีผิวขาวประมาณร้อยละ 8-9 และร้อยละ 16
o การตั้งครรภ์แฝด ค่าจะสูงกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยวประมาณ 1.8-2.4 เท่าในช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 15-19 สัปดาห์
o uE3 (Unconjugate Estriol) ค่าของ uE3 ในเลือดมารดาจะเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ ในขณะที่มารดาตั้งครรภ์ทารกกลุ่มดาวน์จะพบค่าเฉลี่ยของ uE3 ในเลือดต่ำกว่าปกติประมาณร้อยละ 21

คำแนะนำในการตรวจคัดกรอง

สตรีมีครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี ควรได้รับการตรวจ Triple Screening เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 15-18 สัปดาห์ สำหรับสตรีที่มีอายุครรภ์ >35 ปี ควรใช้วิธีตรวจยืนยันโดยใช้วิธีตรวจน้ำคร่ำ และไม่ควรตรวจกรองเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะมีบุตรที่มีความผิดปกติสูง ทั้งนี้ วิธีการตรวจ triple screening หากตรวจร่วมกับการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจให้แม่นยำยิ่งขึ้น ข้อมูลพื้นฐานของหญิงตั้งครรภ์มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการตรวจ Triple marker จึงจำเป็นต้องประเมินข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์อย่างครบถ้วนทุกครั้งที่ทำการส่งตรวจ







การเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis)


น้ำคร่ำก็คือของเหลว ใส สีเหลืองอ่อนที่อยู่ล้อมรอบทารกในครรภ์ บรรจุอยู่ในถุงน้ำคร่ำอีกทีหนึ่ง น้ำคร่ำประกอบไปด้วยน้ำ 98% และสารต่างๆอีก 2% ซึ่งจะมีเซลล์ของทารกที่หลุดออกมาปนอยู่ด้วย ทารกในครรภ์จะลอยอยู่ในน้ำคร่ำ ระหว่างที่มีการตั้งครรภ์ปริมาณน้ำคร่ำจะเพิ่มมากขึ้นตามการเจริญเติบโตของทารก เมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนด (40 สัปดาห์) จะมีปริมาณของน้ำคร่ำประมาณ 1,000 ml. ที่ล้อมรอบทารกอยู่ น้ำคร่ำจะไหลเวียนโดยการเคลื่อนไหวตัวของทารกทุกๆ 3 ชั่วโมง

น้ำคร่ำมีหน้าที่มากมายสำหรับทารก เช่น

1. ป้องกันทารกจากการกระทบกระเทือนจากภายนอก
2. ให้อิสระในการเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อและกระดูกให้เจริญเติบโต
3. ควบคุมอุณหภูมิที่แวดล้อมทารกให้คงที่
4. ป้องกันการสูญเสียความร้อนของทารก
5. เป็นแหล่งของน้ำที่ทารกกลืนเข้าไป
6. ทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนารูปร่างสมสัดส่วนตามปกติ

การมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่าปกติจะเรียกว่า Polyhydraminos เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สำหรับการตั้งครรภ์แฝด หรือ อาจเกิดจากความพิการแต่กำเนิดของทารกบางอย่าง เช่น Hydrocephalus และการมีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติจะเรียกว่า Oligohydraminos สภาวะดังกล่าวจะเป็นสาเหตุทำให้ทารกไม่เจริญเติบโตตามปกติ


การตรวจน้ำคร่ำจะเป็นการวินิจฉัย สุขภาพของทารก ความสมบูรณ์ และเพศของทารก การเจาะเอาน้ำคร่ำออกมาตรวจเรียกว่า Amniocentesis
การตรวจน้ำคร่ำสามารถบอกความผิดปกติของโครโมโซมได้ เช่น Down’s syndrome ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง)


การตรวจน้ำคร่ำในการตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอดสามารถใช้วินิจฉัยปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาของกลุ่มเลือด หรือ การติดเชื้อ และยังช่วยบอกถึงความพร้อมของทารกว่าเติบโตเต็มที่ ปอดสมบูรณ์พอที่จะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่หากเกิดการคลอดก่อนกำหนด


โดยปกติการเจาะน้ำคร่ำจะเจาะในไตรมาสที่ 2 – 3 การเจาะน้ำคร่ำจะทำเวลาใดขึ้นอยู่กับเหตุผลที่ต้องการเจาะ เช่น ถ้าต้องการเจาะเพื่อตรวจความผิดปกติของโครโมโซมก็จะเจาะเมื่ออายุครรภ์ได้ 15 –18 สัปดาห์เป็นต้น
การเจาะน้ำคร่ำไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนทำ ก่อนเจาะ 3 – 4 ชั่วโมงควรดื่มน้ำมากๆเพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณของน้ำคร่ำเพียงพอและไม่จำเป็นต้องให้กระเพาะปัสสาวะเต็มก่อนทำ


การเจาะน้ำคร่ำ แพทย์จะทำการตรวจครรภ์โดยจะใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อคาดคะเนอายุครรภ์ที่แน่นอน จำนวนของทารก การเต้นของหัวใจ ท่าและตำแหน่งของทารก ตำแหน่งของรก ว่าอยู่ที่ตรงไหนเพื่อป้องกันไม่ให้เข็มแทงไปถูกทารก สายสะดือ หรือรก ก่อนเจาะแพทย์จะเตรียมผิวหนังหน้าท้องบริเวณที่จะเจาะโดยทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อ บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดใต้ผิวหนัง แพทย์จะใช้เข็มเล็กๆ ยาวๆเจาะผ่านผนังหน้าท้อง ผ่านลงไปที่มดลูก เข้าไปในถุงน้ำคร่ำแล้วดูดเอาน้ำคร่ำปริมาณ 15 -30 ml. (1ml. / อายุครรภ์ 1 สัปดาห์) ออกมานำไปปั่นหาเซลล์ของทารกเพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมต่อไป


การเจาะน้ำคร่ำใช้เวลาเพียง 2 –3 นาที คุณแม่สามารถกลับบ้านได้เลย ไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล ภายใน 12 ชั่วโมงร่างกายจะสร้างน้ำคร่ำมาทดแทนได้เหมือนเดิม
การเจาะน้ำคร่ำอาจมีความรู้สึกเจ็บเหมือนถูกเข็มแทงสัก 2 -3 วินาที แต่เมื่อเข็มแทงผ่านลงไปแล้วความรู้สึกนั้นก็จะหายไป ความกลัวเข็มและเกร็งหน้าท้องขณะทำจะทำให้เจ็บมากขึ้น คุณแม่บางท่านจะมีควมรู้สึกเหมือนถูกกดบริเวณท้องน้อยขณะที่มีการดูดน้ำคร่ำออกไป หลังจากเจาะน้ำคร่ำเสร็จแล้วบางรายอาจรู้สึกเกร็งเล็กน้อย การนอนพักสักระยะจะทำให้ดีขึ้น ผลการตรวจจะทราบภายใน 2 – 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาของเซลล์ และขั้นตอนในห้องปฏิบัติการ




 

Create Date : 21 มิถุนายน 2552
24 comments
Last Update : 21 มิถุนายน 2552 16:59:12 น.
Counter : 9752 Pageviews.

 

ขอบคุณนะคะที่ให้ความรู้ว่าเขาตรวจกันอย่างไร
รู้แล้วก็ยังกลัวอยู่เลยนะนี้เพราะจะไปเจาะวันที่ 9 เดือนหน้านี้แล้วคะ

 

โดย: นวิยา IP: 222.123.18.120 23 มิถุนายน 2552 13:22:55 น.  

 

อ่านแล้วก็กลัวอยู่ดี กะว่าตั้งท้องปีหน้า(อายุ 36) เสี่ยงเหมือนกันนะ อยากทราบว่าค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่คะ(รพ.รัฐบาล/เอกชน)

 

โดย: สุพิชรัตน์ IP: 118.175.176.24 24 มิถุนายน 2552 13:35:20 น.  

 

รพ.เอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีตรวจเปล่าคะ ที่ไหนบ้าง?.... ขอบคุณค่ะ

 

โดย: แม่น้องจาเน่ IP: 118.175.176.24 24 มิถุนายน 2552 13:40:25 น.  

 

แหะๆ.. ต้องขอโทษด้วยนะคะ ไม่ทราบรายละเอียดลงลึกขนาดนั้น

เจาะน้ำคร่ำไม่น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ เร็วๆนี้จะอัพบล็อกประสบการณ์ที่ไปเจาะที่หน้า "บันทึก..แม่ท้อง2" นะคะ ลองตามอ่านดูน้า

ค่าใช้จ่ายที่รพ.อื่นๆไม่ทราบเลยค่ะ ส่วนตัวเจาะที่รพ.พระราม9 ร่วมๆ1หมื่นบาทค่ะ

ส่วนรพ.เอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีตรวจที่ไหนบ้าง คงต้องรบกวนถามที่รพ.ในภาคฯเองนะคะ ไม่ทราบจริงๆค่ะ

 

โดย: annim 24 มิถุนายน 2552 14:41:53 น.  

 

การตรวจน้ำคร่ำสามารถตรวจดีเอ็นเอของเด็กในครรภ์ได้ด้วยรึป่าวค่ะ

 

โดย: moment IP: 58.8.252.51 29 มิถุนายน 2552 10:50:40 น.  

 

ไม่น่าจะได้นะคะ ตรวจดีเอ็นเอ น่าจะมีการตรวจแบบอื่นนะคะ
เจาะน้ำคร่ำเป็นการตรวจโครโมโซนของลูกว่ามีความผิดปกติ และ มีโอกาสเป็นเด็กดาวน์หรือเปล่าน่ะค่ะ
ยังไงตอนไปฟังผลตรวจเจาะน้ำคร่ำ จะลองถามคุณหมอให้อีกทีนะคะ..

 

โดย: annim 2 กรกฎาคม 2552 12:29:45 น.  

 

มีวิธีอื่นไหมคะ

 

โดย: จิ๊บ IP: 203.144.144.164 19 กุมภาพันธ์ 2553 13:58:32 น.  

 

เจาะน้ำคร่ำ ร.พ.รัฐ 3,500 บาท

 

โดย: นัด IP: 118.173.34.157 15 มีนาคม 2553 13:07:58 น.  

 

การเจาะน้ำคร่ำสรุปแล้วดีหรือไม่ดีค่ะ และมีความเสี่ยงสูงหรือเปล่า กลัวจังเลยค่ะ

 

โดย: น.ส.วราภรณ์ ไทรทองมี IP: 203.144.144.164 18 มีนาคม 2553 11:50:33 น.  

 

ไปเจาะมาแล้วค่ะ ไม่น่ากลัวเลย เวลาเจาะเลือดไปตรวจยังเจ็บกว่านี้อีก ความเสี่ยงจากการเจาะน้ำคร่ำก็ไม่สูงมีเพียงครึ่งเปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง คุณแม่ที่ต้องเจาะไม่ต้องกลัวนะคะ ทำใจให้สบาย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ

 

โดย: เหมียว IP: 178.40.85.15 17 มิถุนายน 2553 21:48:02 น.  

 

จะไปเจาะวันศุกร์25 นี้ค่ะกลัวอยู่เหมิอนกันค่ะ

 

โดย: แมวเหมียว IP: 125.27.186.47 22 กุมภาพันธ์ 2554 21:45:22 น.  

 

เจาะน้ำคร่ำไม่ได้กลัวเจ็บค่ะ เพราะผ่าคลอดเน่าจะเจ็บกว่า
แต่ที่กังวลและกลัวก็คือผลการวิเคราะห์ที่ออกมา เพราะว่าได้ตรวจเลือดแม่แบบคัดกรองแล้วมีความเสี่ยง 1 ใน 40 :'(
กลุ้มใจมากค่ะ อายุ 36 และท้องที่แล้วแท้งเพราะไข่ฝ่อ

 

โดย: worry mom IP: 203.144.243.180 9 พฤษภาคม 2554 14:22:06 น.  

 

คุณหมอก็นัดให้เจาะเดือนหน้าเหมือนกัน กำลังคิดอยู่จะเจาะดีหรือไม่ กลัวเข็มไปโดนลูกน้อยนะ

 

โดย: triple mom IP: 223.206.240.197 9 มิถุนายน 2554 10:14:35 น.  

 

จะต้องไปเจาะเหมือนกันแต่คงต้องเจาะสายสะดือเลยเพราะอยากรู้หลายโรคแต่ที่กลัวเพราะว่าท้องแฝดด้วยกลัวมากๆกลัวทั้งผลตรวจกลัวทั้งจะกระทบกระเทือนลูกด้วยตอนนี้เครียดมาก

 

โดย: แม่ลูกแฝด IP: 110.49.168.204 2 กรกฎาคม 2554 20:22:53 น.  

 

การตรวจอัลตราซาวด์พบ NT 1.4 mm เป็นกังวลมากค่ะ ถ้าไม่ตรวจก็คงจะกังวลไปจนคลอด แต่ถ้าตรวจก็กลัวเจ็บ กลัวผลแทรกซ้อน กลัวแท้ง กังวลไปซะทุกอย่างเลยค่ะ

 

โดย: แม่เจแปน IP: 180.22.75.48 10 กรกฎาคม 2554 4:51:43 น.  

 

อยากถามท่านที่รู้นะครับว่า ถ้าตั้งครรภ์แฝดแล้วต้องเจาะน้ำคร่ำสองถุงหรือไม่ครับ ช่วยตอบทีนะครับ

ขอบคุณครับ

 

โดย: พ่อลูกแฝด IP: 124.121.155.248 8 กันยายน 2554 20:23:38 น.  

 

อายุ 34 ปีคะ ตอนนี้ตั้งครรภ์ได้ 14 สัปดาห์ ไม่ได่ตรวจน้ำคร่ำเพราะคุณหมอบอกอายุครรภ์เกินและรกปิดด้านหน้าไม่สามารถเจาะได้ แถมด้วยคำกล่าวที่ว่าให้คุณแม่เสี่ยงดวงเอาเอง อยากถามท่านผู้รู้คะว่ามีความเสี่ยงผิดปกติของทารกในครรภ์มากหรือไม่ คุณแม่ไม่เคยมีภาวะเสี่ยงหรือแท้งมาก่อนคะ บุตรคนแรกก็แข็งแรงสมบูรณ์ดีคะ ช่วยตอบด้วยนะคะเครียดมาก กับคำว่าให้เอาชีวิตลูกตนเองมาเป็นเครื่องเสี่ยงดวงคะ

 

โดย: คุณแม่ท้องสอง IP: 202.91.19.206 15 กันยายน 2554 13:58:32 น.  

 

ตอนนี้นู๋อายุ26 ปีตั้งท้องคนแรกค่ะตอนนี้ก็ประมาณ 3 เดือนกว่าแล้ว ผลตรวจเลือดออกมาเด็กมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นดาวน์ หมอก็เลยนัดให้ไปเจาะน้ำคร่ำนู๋กลัวมาก เพราะปกติก็กลัวเข็มอยู่แล้วนอนไม่หลับมาหลายคืนแล้วค่ะ หมอนัดวันที่3 พฤศจิกากลัวมากๆเลยจะเจ็บมั๊ยค่ะ

 

โดย: นู๋นาค่ะ IP: 118.174.120.148 18 ตุลาคม 2554 11:55:37 น.  

 

อ่านแล้วคลายความวิตกไปบ้างคะ ขอบคุณ....

 

โดย: แม่น้องจ๊ะจ๋า IP: 118.172.120.20 15 พฤษภาคม 2555 14:50:29 น.  

 

เพิ่งไปฝากครรภ์มา ตอนนี้ก็ 4 เดือนแล้ว คุณหมอก็ให้เจาะน้ำคร่ำตรวจเหมือนกัน เพราะอายุ ย่าง 35 มีภาวะเสีี่ยงเหมือนกัน
ทั้งกลัวและกังวลมากเลยคะ

 

โดย: กาน IP: 192.168.9.138, 182.52.61.166 29 พฤษภาคม 2555 7:38:01 น.  

 

เพิ่งไปฟังเสียงหัวใจน้องเมื่อวานค่ะก็เป็นปกติดี แต่อายุย่าง 35 คุณหมอแนะนำให้เจาะตรวจน้ำคร่ำ ภายในอาทิตย์นี้ เพราะอายุครรภ์จะครบ 20 สัปดาห์ ก็กังวลมากเลยค่ะ ว่าจะเจาะดีหรือไม่เจาะดี แต่ถามพยาบาลแล้วพยาบาลก็บอกว่าแล้วแต่คุณแม่ แต่ส่วนใหญ่ 20 คนจะมีเจาะแค่ 1 คน แล้วเราจะทำยังไงดี

 

โดย: นก 8 มิ.ย.55 IP: 125.24.4.48 8 มิถุนายน 2555 14:29:32 น.  

 

ครรภ์แรกค่ะ อายุมากกว่า 35 เจาะน้ำคร่ำตอนอายุครรภ์ 18 สัปดาห์ กว่า ๆ หลังเจาะสบายดี ไม่เจ็บ แต่ก็ระวังตัวพอสมควร ไม่ทำงานหนัก อยู่มาสักพัก จนอายุครรภ์ได้ 21 สัปดาห์ อยู่ ๆ ก็มีเลือดออกเป็นก้อน ประมาณ สามเซนติเมตร ไม่เจ็บท้อง จึงไปโรงพยาบาล แพทย์ให้นอนพักที่ ร.พ. เจาะเลือดตรวจ พบติดเชื้อ แพทย์ให้กินยาฆ่าเชื้อ หนึ่งคืนผ่านไป ไม่เป็นไร เลือดออกนิดเดียว เจ็บท้องบางครั้ง แต่ไม่มาก รุ่งเช้าก็ยังดีอยู่ พอบ่าย ๆ มีเลือดออกมาก ไม่เจ็บครรภ์ นอนพักบนเตียง ตกเย็นประมาณ สี่โมงเริ่มปวดท้องมาก มาก มาก เลือดออกมากขึ้น เจ็บอยู่ประมาณ สองชั่วโมง ลูกก็คลอดออกมา ไม่ถึง 500 กรัม เห็นอวัยวะทุกส่วนชัดเจน ยังมีชีวิต แต่สุดท้ายก็ไม่รอดชีวิต แม่ยังเศร้าไม่หายเลย เป็นเพราะอะไร ติดเชื้อจากอะไร เจาะน้ำคร่ำหรือปล่าว เศร้ามากเลย

 

โดย: mamy IP: 118.173.7.10 6 กรกฎาคม 2555 18:39:33 น.  

 

ตอนนี้อายุ 27 หมอเพิ่งโทรมาบอกว่าผลเลือดผิดปกติมีความเสี่ยง ต้องมาเจาะถุงน้ำคล่ำ เป็นกังวลมากเครียดสุดๆ

 

โดย: PF IP: 110.49.250.160 3 มีนาคม 2556 19:17:52 น.  

 

ตอนนี้อายุ 27 หมอเพิ่งโทรมาบอกว่าผลเลือดผิดปกติมีความเสี่ยง ต้องมาเจาะถุงน้ำคล่ำ เป็นกังวลมากเครียดสุดๆ

 

โดย: PF IP: 110.49.250.160 3 มีนาคม 2556 19:17:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


MamyDD
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]









-‘•’- ยินดีต้อนรับทุกท่านจ้า -‘•’-

ณ ที่แห่งนี้..
คุณแม่ลูก2เขียนบันทึกเรื่องราว
ของลูกชายตัวดี..เดนเด้
- - และ - -
ลูกชายตัวน้อยๆ..ไดโอ

รวมถึงสาระต่างๆ
ที่แม่เก็บรวบรวมมาแบ่งปัน
เพื่อนๆทุกคน..
หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างนะคะ

ღ ..ขอบคุณ.. ღ
ทุก Comment
ที่ฝากคำทักทาย & พูดคุย
ตลอดจนมิตรภาพดีๆที่มีให้แก่กันค่ะ





Friends' blogs
[Add MamyDD's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.