bloggang.com mainmenu search


การวิจารณ์ คนอ่านชอบ คนเขียนหน้าใหม่อยากได้ เพระาเหมือนโปรโมทงาน แต่พออยู่ๆไปจะรู้ว่า...ถ้าไม่เปิดใจกว้างจริงๆ คุณจะอยู่กับมันอย่างหน้าชื่นอกตรม คนเขียนงานที่อยู่ได้ทุกวันนี้ ล้มลุกคลุกคลานกับบทวิจารณ์มานักต่อนัก ทำไมกันหนอ

การวิจารณ์งานเขียนก็เป็นสิ่งที่ ทั้งคนเขียนและคนอ่าน ก็คงอยากฟังจากนักวิจารณ์หนังสือ มากกว่า แต่หลายครั้งเราจะได้ยินแค่คำบอกเล่าว่า หนังสือเรื่องนั้น เป็นเรื่องอะไร จบแฮปปี้ไหม หรือ...หนุกไหม....เพราะแค่บอกกล่าวพวกนั้น มันเหมือนกับ คำโฆษณาชวนเชื่อเวลาที่เราเดินไปถามพนักงานขายในบู้ทงานสัปดาห์

บางครั้งเราเจอการวิจารณ์งานชนิดสับเละ จนเรายังสงสัยว่าตัวเองเขียนมาไม่ได้อยากให้เขาคิดแบบนั้นเลย...แต่เขาเข้าใจมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ จนอาจกลายเป็นเรื่องไม่มองหน้า

เราเจอเหตุการณ์แบบนี้บ่อยเหลือเกินในเนต...จนเราเริ่มสับสนแล้วว่า เราควรจะหังใครพูดถึงหนังสืออย่างไรดี ....แต่กระนั้น เราก็ยังไม่หยุดที่จะเปิดหาอ่านการวิจารณ์ในเนตต่อไป เพราะว่าในเนตมีการพูดถึงหนังสือ มากกว่า สื่อตามหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร

เพราะบทวิจารณ์ตามหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ วิจารณ์หนังสือ...มันหมดไปกับ หนังสือในสัดส่วนของ สนพ.ยักษ์ใหญ่ การวิจารณืพวกนั้นมันมุ่ง เพื่อการโปรโมท ทำกำไรของสำนักพิมพ์ มากกว่าจะมุ่งหวังทำไปเพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสืออย่างแท้จริง


แต่วิธีการที่จะวิจารณ์ เราจะทำได้อย่างไร คนในเนต ก็ล้วนแต่เป็นนักอ่าน ที่อยากวิจารณ์ ส่วนตัว ก็เคยคิดอยากเป็นนักวิจารณ์กับเขา ได้อ่านหนังสือเรื่อง "ทางไปสู่วัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์" ของ อ.เจตนา นาควัชระ ซึงก็แทบไม่เคยเห็นหนังสือของคนไทยกล่าวถึงเรื่องของการวิจารณ์งานศิลปะ หรืองานวรรณกรรม อีก นอกจากไปเก็บตำราเมืองนอกมาอ่าน อ่านแล้วก็ทำให้ความคิดอยากทำงานวิจารณ์มันหายไปหมด เพราะรู้สึกว่าตัวเองความสามารถไม่ถึง อีกทั้งยังมีความเกรงใจเพื่อนร่วมอาชีพอยู่มาก.....พูดไป โดนยิงถล่มM 79 55555

แล้วอย่างนี้จะมีคนสนใจเขียนงานกันเยอะแยะได้อย่างไร จริงไหมคะ อันที่จริงหากเราวิจารณ์อย่างเป็นระบบที่ดี มันก็สามารถส่งเสริมการเขียนงานทีีดีให้เกิดขึ้นได้เหมือนกัน ......อยากไปยึดติดกับระบบพวกมากลากกัน หรือ ระบบเชียร์กันตาม สนพ. หรือพอมีใครเสี่ยงตายหาญกล้าวิจารณ์แหกคอกมาสักคน ก็....เผชิญกับมรสุมชีวิตดินฟ้าอากาศ ปรวนแปร กันไป หากเขาวิจารณ์อย่างมีเหตุผล ก็รับฟังกันบ้าง หูไว้หู แล้วจะได้ช่วยกันพัฒนา การวิจารณ์ หรือพัฒนาการเขียนงานบ้านเราให้เติบโตตามตลาดกันไป


แล้วอย่างไร ถึงจะเรียกว่า การวิจารณ์ที่ดีีละคะ....

บอกไม่ถูกเหมือนกันค่ะ เพราะตัวเองก็ไม่ได้เรียนมาทางนี้...จะมาทำเป็นวางตัวเท่ากูรูทางวิจารณ์ก็ไม่ใช่ แต่เขียนบ่นๆตามบล๊อคบ้าของตัวเองไปอย่างนั้น พูดไม่ดีก็เจอ อี๊ แปะบล๊อค เหมือนอย่างที่เคยตามลบๆๆไป แต่ก็คิดว่าเดี๋ยวก็มีมาอีก ก็ตามลบอีก .....ถือคติ อันอวบโตเป็นเสาไฟฟ้าสูงใหญ่ได้ฉันใด ก็ย่อมมี หมามาฉี่รดเสาไฟฟ้าได้ในฉันนั้น 555 เครียดไปก็ฉี่เหลืองเปล่าๆ


แต่ที่แน่ๆ การวิจารณ์งานนิยายมันมีบรรทัดฐาน ของมันอยู่หมือนกันค่ะ
ลองดูแนวทางที่อยากนำเสนอไว้ นะคะ

การประเมินโดยพิจารณาจากรูปเล่ม นวนิยาย
1.ชื่อเสียงของสำนักพิมพ์
2.ราคา
3.การแนะนำและวิจารณ์
4.รายชื่อนวนิยายที่เป็นมาตรฐาน (ในแนวเรื่องใกล้เคียงกัน)

ประเมินค่าด้านอื่นๆอย่างละเอียด--
1.โครงเรื่อง
2.ตัวละคร
3.บทสนทนา
4.ทัศนคติของผู้ประพันธ์
5. ท่วงทำนองการแต่ง(สำนวน การไหลลื่นของภาษา)
6. คุณค่าที่ได้จากการอ่าน

โดย ยึดหลักการวิจารณ์หนังสือ ที่ว่า...เป็นการพิจารณาหนังสือแต่ละเล่มอย่างละเอียดถึงลักษณะ รูปเล่ม เนื้อเรื่อง และการเขียน เพื่อหาข้อดีและข้อบกพร่อง แล้วชี้ให้ผู้อ่านได้เห็นคุณค่าของหนังสือเล่มนั้นๆว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร

ในการวิจารณ์ที่ดีนั้น ควรมีการรวบรวมสรุปอย่างกว้างๆ ครอบคลุมทุกๆประเด็น โดยอาศัยหลักการประเมินคุณค่าของหนังสือแต่ละประเภท

ควรมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหนังสือเล่มอื่นในสาขาวิชาหรือหนังสือที่มีลักษณะเดียวกันด้วย


...ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับจากการวิจารณ์งานที่ดี จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจวรรณกรรมนั้นๆ ได้สะดวก ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาไปอ่านงานนั้นเองเพื่อนำมาวิจารณ์ แต่อาจจะนำมาอ่านเพื่อวัตถุประสง๕์ตามชิ้นงานนั้นเลย เช่น อ่านเพื่อความบันเทิง อ่านเพื่อความรู้ เป็นต้น ทั้งการวิจารณ์งานที่ดีช่วยให้เกิดความรู้ ความคิดกว้างขวางในแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับวรรณกรรมนั้น ช่วยให้ผู้วิจารณ์เอง หรือนักอ่านรู้จักใช้วิจารณญาณของตนให้เป็นประโยชน์ ซึ่งจะช่วยให้เป็นผู้รอบคอบมีเหตุผล

ที่สำคัญ การวิจารณ์งานที่ดี ผู้วิจารณ์ควรคำนึงว่าเป็นการ ช่วยย่นย่อเวลาให้กับผู้อ่านที่ไม่มีเวลาศึกษาวรรณกรรมด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมนั้นเพิ่มเติม....เยี่ยมไปเลย ใช่ไหมคะ

ส่วนบางคนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องของ การวิจารณ์ กับ การ บรรณนิทัศน์ อยากบอกว่า การวิจารณ์นั้น ลงลึกในเนื้อหา และวิเคราะห์และให้เกณฑ์มาตรฐานของชิ้นงาน แต่ บรรณนิทัศน์ (Annotation) คือ การบอกกล่าวให้ทราบถึงสาระหรือเนื้อเรื่องของเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือวัสดุแต่ละชิ้น เป็นเครื่องช่วยการตัดสินใจเลือกเอกสาร และยังเป็นเครื่องมือแจ้งให้แก่ผู้ใช้ทราบถึงคุณค่า สาระของหนังสือเล่มนั้นๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้อ่านและเป็นการช่วยแนะนำหนังสือเล่มนั้นๆๆ เพื่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อได้รวดเร็ว
ให้ผู้ที่ตัดสินใจจะซื้อสามารถเข้าใจวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนั้นได้อย่างรวดเร็ว

บล๊อคนี้อาจจะเป็นการสอนจระเข้ว่ายน้ำ แต่ที่เขียนมาทั้งหมด ก็เพราะเรา็เชื่อว่า ตะเภาแก้ว บางคนก็เบื่อท่าฟรีสไตล์ มาหัดว่ายท่ากรรเชียงบ้างก็ได้

....หวังว่า ใครที่หลงเข้ามาอ่าน ก็น่าจะได้เอาไปใช้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ

เรามาช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมในการวิจารณ์ ให้เป็นการวิจารณ์เพื่อคนอ่านและคนเขียนอย่างเป็นจริงกันด้วยเถิดค่ะ
Create Date :21 เมษายน 2552 Last Update :21 เมษายน 2552 13:58:52 น. Counter : Pageviews. Comments :14