bloggang.com mainmenu search
อธิบายบทว่า นิรย โดยพิสดาร

คำว่า นิรย เมื่อตัดบทแล้วเป็นดังนี้คือ นิ+อย ในที่นี้ นิ เป็นปฏิเสธบท แปลว่าไม่มี, อย แปลว่า ความเจริญหรือความสุข, เมื่อรวมกันเข้าเป็น นิรยะ มีวจนัตถะว่า

(หน้าที่ 6)

อยติ วฑฺฒตีติ อโย ความสุขความสบายย่อมเจริญขึ้น เพราะเหตุนั้น ความสุขความสบายนั้น จึงชื่อว่า อย

อีกนัยหนึ่ง อยิตพฺโพ สาทิตพฺโพติ อโย ความสุขสบายเป็นธรรมชาติที่สัตว์ทั้งหลายพึงปรารถนาด้วยอำนาจแห่งโลภะ เพราะเหตุนั้น ความสุขความสบายนั้น จึงชื่อว่า อย

นตฺถิ อโย เอตฺถาติ นิรโย ความสุขความสบายไม่มีในภูมิใด เพราะเหตุนั้นภูมินั้น จึงชื่อว่า นิรย [แปลว่า “นรก”]

มหานรก ๘ ขุม

๑ สัญชีวนรก                               ๒ กาฬสุตตนรก
๓ สังฆาตนรก                              ๔ โรรุวนรก (ธูมโรรุวนรก)
๕ มหาโรรุวนรก (ชาลโรรุวนรก)       ๖ ตาปนนรก
๗ มหาตาปนนรก (ปตาปนนรก)        ๘ อวีจินรก

อุสสทนรก ๕ ขุม

๑ คูถนรก             ๒ กุกกุฬนรก
๓ สิมพลีวนนรก     ๔ อสิปัตตวนนรก
๕ เวตตรณีนรก

ในมหานรกขุมหนึ่งๆ มี อุสสทนรก ๑๖ ขุม เป็นบริวาร ฉะนั้น อุสสทนรกทั้งหมดจึงมี ๑๒๘ ขุม

หมายเหตุ : ที่นับเป็น ๑๒๘ นี้ นับโดยทิศทั้ง ๔ คือ ในทิศหนึ่งๆ มี อุสสทนรก ทิศละ ๔ = ๑๖ ขุมเล็ก x ๘ ขุมใหญ่ = ๑๒๘ ถ้านับโดยทิศทั้ง ๘ แล้ว ในมหานรกขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรกเป็น บริวารขุมละ ๓๒ ขุมเล็ก = ๓๒ ขุมเล็ก x ๘ ขุมใหญ่ = ๒๕๖ ขุม

(หน้าที่ 7)

ในบรรดาอุสสทนรกทั้ง ๕ นั้น ให้นับ อสิปัตตวนนรก และ เวตตรณีนรกรวมกันเป็นขุมเดียว จึงนับได้เป็น ๔ ขุม ในที่นี้ คำว่า อุสสท แปลว่า มีมาก ดังมีวจนัตถะว่า อุสฺสีทนฺติ นานาทุกฺขา เอตฺถาติ สฺสทา ทุกข์คือความลำบากต่างๆมัมากในนิรยภูมินี้ จึงชื่อว่า อุสสท, อุสสทนรก ๑๒๘ ขุม รัยกว่า จูฬนรก ก็ได้


ที่ตั้งแห่งมหานรก ๘ ขุม

มหานรก ๘ ขุม ตั้งอยู่ภายใต้มนุษยโลกตรงกันกับชมพูทวีป ที่ติดต่อกับพื้นแผ่นดินที่มนุษย์อาศัยอยู่นี้ความหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ชั้นบนครึ่งหนึ่งเป็นดินธรรมดาเรียกว่า ปํสุปถวี มีหนาความแสนสองหมื่นโยชน์ ชั้นล่างครึ่งเป็นหิน เรียกว่า สิลาปถวี มีความหนาแสนสองหมื่นโยชน์
มหานรกทั้ง ๘ ขุมนี้น ตั้งอยู่ภายในดินธรรมดาเฉพาะขุมหนึ่งๆ ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์ โดยลำดับ คือ
นับจากพื้นชมพูทวีปลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๑ ชื่อสัญชีวนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากสัญชีวนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๒ ชื่อกาฬสุตตนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากกาฬสุตตนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๓ ชื่อสังฆาตนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากสังฆาตนรกลงมาถึงมกานรกขุมที่ ๔ ชื่อโรรุวนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากโรรุวนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๕ ชื่อว่ามหาโรรุวนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากมหาโรรุวนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๖ ชื่อตาปนนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากตาปนนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๗ ชื่อตาปนนรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์
นับจากมหาตาปนนนรกลงมาถึงมหานรกขุมที่ ๘ ชื่ออวีจินรก ห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์ดังนี้

(หน้าที่ 8)

หมายเหตุ : มหานรกทั้ง ๘ ขุมนี้ เป็นอุโมงค์อยู่ภายใต้พื้นแผ่นดินดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ เมื่อถึง ๑๕,๐๐๐ โยชน์แล้วก็เป็นอุโมงค์ชั้นหนึ่งๆ เป็นลำดับไป

พื้นแผ่นดินที่หนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์นี้ ตั้งอยู่บนก้อนน้ำแข็งที่หนา ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ ก้อนน้ำแข็งนี้ตั้งอยู่บนพื้นลมที่หนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ [โยชน์หนึ่งๆ เมื่อว่าด้วยไมล์ ประมาณ ๑๓ ไมล์ เมื่อว่าโดยกิโลเมตร เท่ากับ ๒๐ กิโลเมตร] ต่อจากพื้นลมนี้ไปเป็นอากาศว่างเปล่ารัยกว่า เหฏฐิมอัชฏากาศ (บรรยากาศชั้นล่าง) บรรยากาศท่อยู่เบื้องบน จากเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิขึ้นไปเรียกว่า อุปริมอัชฏากาศ (บรรยากาศชั้นบน)



ที่ตั้งแห่งอุสสทนรก ๕ ขุม

อุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกขุมเล็กๆ นั้น ตั้งอยู่แห่งเดียวกันกับมหานรกก็มี ตั้งอยู่ตามป่า, ภูเขา, มหาสมุทร, แม่น้ำคงคา, ทวีปเล็กๆ และเกาะที่ไม่มีคนอยู่ก็มี



ยมราชและนิรยบาล

ยมราชนั้น เป็นเจ้าแห่งเวมานิกเปรต บางทีก็ได้เสวยความสุขคือได้อยู่ในวิมาน มีต้นกัลปพฤกษ์ มีสวนทิพย์ มีนางฟ้าฟ้อนรำขับร้องเป็นบริวาร บางทีก็ได้เสวยความทุกข์ที่เป็นผลของกรรมอันมีอยู่ในนรกนั้นเอง

ดังสาธบาลีมัมาในอุปริปัณณาสอัฏฐกถา และติกังคุตตรอัฏฐกถาว่า ยมราชานาม เวมานิกเปตราชา เอกสฺมึ กาเล ทิพฺพวิมานทิพฺพกปฺปรุกฺขทิพฺพอุยฺยานทิพฺพนาฏกทิพฺพสมฺปตฺตึ อนุภวติ เอกสฺมึ กาเล กมฺมวิปํ.

คำว่า ผลของกรรมนั้น คือ ผลของอกุศลกรรมนั้นเอง ความพิสดารมีว่า เจ้าแห่งเวมานิกเปรตนี้ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ได้เป็นผู้กระทำอกุศลกรรมบ้าง กุศลกรรมบ้าง ครั้นตายก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชืกา เป็นสุคติอเหตุกปฏิสนธิก็มีเป็นทุเหตุกปฏิสนธิก็มี และเป็นตเหตุกปฏิสนธิก็มี เช่นดัยวกันกับวินิปาติกะเทวดา

(หน้าที่ 9)

ทั้งหลาย ทั้งนี้ก็เพราะด้วยอำนาจของกุศลกรรม เจ้าแห่งเวมานิกเปรตเหล่านี้จึงมีโอกาสที่จะได้มรรคผล ส่วนในปวัตติกาลนั้น บางคราวก็ได้เสวยผลของกุศล บางคราวก็ได้เสวยผลของอกุศล ตามสมควรแห่งกรรมที่ตนได้กระทำไว้ เจ้าแห่งเวมานิกเปรตองค์ใดได้อริยมรรค เจ้าแห่งเวมานิกเปรตองค์นั้นก็ได้เสวยรวามสุขของกุศลตลอดไปนับแต่เวลาที่ได้อริยมรรคเป็นต้นมา ขอให้นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบดังนี้

ดังสาะกบาลี มีมาในปุปริปัณณาสฎกา และติกังคุตตรฎกา ว่า กมฺมวิปากนฺติ อกุสลกมฺมวิปากํ เวมานิกเปตา หิ กณฺหสุกกวเสน มิสฺสกกมฺมํ กตฺวา วินิปาติกเทวตา วิย สฺเกน กมฺมุนา ปฏิสนธึ คณฺหนฺติ. ตถา หิ เต มคฺคผลภาคิโน โหนฺติ, ปวตฺติยํ ปน กมฺมานุรูปํ กทาจิ ปุญฺญผลํ กทาจิ อปุญฺญผลํ ปจฺจายภวนฺติ. เยสํ ปน อริยมคฺโค อุปฺปชฺชติ, เตสํ มคฺคาธิคมต ปฏฐาย ปุญฺญผลเมว อุปฺปชฺชตีติ ทฏฺฐพฺพํ.

ในมหานรกขุมหนึ่งๆ มิใช่มียมราชองค์เดียว ความจริงมีอยู่ ๔ องค์ คือ ประตูละ ๑ องค์ ๔ ประตูเป็น ๔ องค์ ฉะนั้น เมื่อรวมแล้วมียมราช ๓๒ องค์

ดังสาธกบาลี มีมาในอุปริปัณณาสอัฏฐกถา และติกังคุตตรอัฏฐกถา ว่า น เจส เอโกว โหติ, จตูสุ ปน ทฺวาเรสุ จตฺตาโร ชนา โหนฺติ.

ในบรรดามกานรก ๘ ขุมนั้น ขุมหนึ่งๆ มีประตู รวมเป็น ๓๒ ประตู ในประตูหนึ่งๆ ๔ ขุม รวมเป็นอุสสทนรก ๑๒๘ ขุม ในประตูหนึ่งๆ มียมราชประตูละ ๑ องค์ รวมเป็นยมราช ๓๒ องค์

ดังสาธกบาลี มีมาในสุตตสังคหอัฏฐกถา และเทวทูตสูตรอัฏฐกถา ว่า ตตฺถ เอเกกสฺส จตฺตาริ จตฺตาริ ทฺวารานิ โหนฺติ, เอกสฺมึ ทฺวาเร จตฺตาโร จตฺตาโร จตฺตาโร อุสฺสทนิรยา เอเกโก จ ยมราชา.

(หน้าที่ 10)

นายนิรยบาลนั้นมิใช่เป็นสัตว์นรก เพราะการเกิดของนายนิรยบาล มิได้เกิดจากอกุศลกรรม หากแต่เกิดจากมหากุศลกรรมชั้นต่ำ เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีชาติเป็นรากษส

ดังสาธกบาลี มีมาในอุปริปัณณาสฎีกา และกถาวัตถุอนุฎีกา ว่า อเนรยิกา นิรยปาลา อนิรยคติสํวตฺตนิยกมฺมนิพฺพตฺติโต, นิรยูปปตฺติสํวตฺตนิยกมฺมโต หิ อญฺเญเนว กมฺมุนา เต นิพฺพตฺตนฺติ รกฺขสชาติกตฺตา.

หากมีผู้ถามว่า นายนิรยบาลทั้งหลายไม่ใช่สัตว์นรก แต่เกิดในนิรยภูมินั้น เพราะเหตุใด ? แก้ว่า นายนิรยบาลเหล่านี้ที่ต้องไปเกิดอยู่ในนิรยภูมินั้น ก็เพราะในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก มีแต่ความยินดีพอในในการที่จะเบียดเบียนหรือฆ่าสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น แม้ว่าจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็ตาม สำหรับจิตใจนั้นก็ยังคงมีความยินดีพอใจอยู่แต่ในหน้าที่ที่มีการเบียดเบียน ทรมาน ลงโทษผู้อื่น สัตว์อื่นอยู่มิได้รู้สึกเบื่อหน่ายเลย ฉะนั้น กุศลกรรมชั้นต่ำที่เจือด้วยนิกกันติตัณหาตำแหน่งหน้าที่ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงทำให้เกิดในนิรยภูมิเป็นนายนิรยบาล มีร่างกายใหญ่โตเหมาะสมที่จะทำการลงโทษเบียดเบียนพวกสัตว์นรก ฉะนั้น นายนิรยบาลเหล่านี้จึงร่างกายใหญ่โต กำยำ มีกำลังมากกว่าสัตว์นรกทั้งหลาย และมีการแสดงกิริยาอาการดุร้ายมาก สามารถให้สัตว์นรกสะดุ้งตกใจกลัว พวกกาและสุนัข เป็นต้น ที่เกิดอยู่ในนิรยภูมินี้ ก็มีรูปร่างสัณฐานใหญ่โตน่ากลัวทำนองเดียวกัน นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบตามสาธากบาลี ที่มีมาในอุปริปัณณาสฎีกา และกถาวัตถุอนุฎีกาว่า

ยํ ปน วทนฺติ “อเนรยิกานํ เตสํ กถํ ตตฺถ สมฺภโว” ติ เนรรยิกานํ ฆาตกภาวโต, เนรยิกสตฺตฆาตนาโยคฺคํ ห อตฺตภาวํ นิพฺพตฺเตนฺติ กมฺมํ ตาทิสนิกนฺติวินามิตํ นิรยฏฺฐาเนเยว นิพฺพตฺเตติ, เต จ เนรยิเกหิ อธิกตรพลาโรหปริณาหา อติวิย ภยานกสนฺตาสกุรูรตรปโยคา จ โหนฺติ, เอเตเนว ตตฺถ กากสุนขาทีนํปิ นิพฺพตฺติ สํวณฺณิตาติ ทฏฺฐพฺพํ.

(หน้าที่ 11)

พวกนกแร้ง กา เหยี่ยว สุนัขที่อยู่ในนรกเหล่านั้น พึงทราบว่า ได่แก่ นกแรง ยักษ์ กายักษ์ เหยี่ยวยักษ์ และสุนัขยักษ์นั้นเอง ส่วนนกแร้งเป็นต้นที่เป็นดรัจฉานธรรมดาย่อมไม่สามารถที่จะมีร่างกาย และการแสดงกิริยาอาการที่โหดร้ายน่ากลัวเหล่านี้ไม่สามารถปรากฏขึ้นได้แก่ ดังสาธกบาลี มีมาในจตุตถปาราชิกกัณฑอัฎฐกถาว่า คิชฺฌาปิ กากาปิ กุลลาปีติ เอเตปิ ยกฺขคิชฌา เจว ยกฺขกากา จ ยกฺขกุลลา จ ปจฺเจตพฺพา, ปากติกานํ ปน คิชฺฌาทีนํ อาปาถมฺปิ เอตํ รูปํ นาคจฺฉติ.



เทวทูต ๕ จำพวก
ที่มาในพระบาลีอุปริปัณณาสและอัฏฐกถา

บรรดาบุคคลทั้งหลายที่กำลังเป็นไปในโลกทุกวันนี้ ย่อมมีอัธยาศัยจิตใจยิ่งหย่อนกว่ากัน และกันในความประพฤติดีและไม่ดี มากบ้างน้อยบ้าง มากมายหลายประการแต่เฉพาะ ณ ที่นี้จะ ได้กล่าวโดยย่อๆ พอสมควรแก่ความประพฤติของบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นเพียง ๔ ประเภท คือ
๑ บุคคลบางคน ในโลกนี้ มีอัธยาศัยชอบบำเพ็ญกุศลมาก
๒ บางคนมีอัธยาศัยชอบบำเพ็ญกุศลและก่ออกุศลเท่าๆน
๓ บางคนชอบก่ออกุศลมากกว่ากุศล
๔ บางคนชอบก่ออกุศลฝ่ายเดียว

บรรดาบุคคลทั้ง ๔ ประเภทนี้ บุคคลประเภทที่หนึ่ง ในขณะใกล้จะตายย่อมระลึกนึกถึงกุศลได้มาก ฉะนั้น บุคคลจำพวกนี้ย่อมจะพ้นจากการไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๒ นั้น ถ้าตัวเองพยายามระลึกถึงกุศลให้มาก หรือมิฉะนั้น ญาติคนใดคนหนึ่ง มาช่วยเตือนสติระลึกนึกถึงกุศล ก็สามารถช่วยให้พ้นจาก

(หน้าที่ 12)

การไปอบายได้เหมือนกัน เว้นไว้แต่ตัวเองก็ไม่พยายามระลึกถึงกุศลที่ตนได้ กระทำไว้และก็ญาติคนใดที่จะคอยเตือนสติให้ คงเหลือแต่ความกลุ้มใจเสียใจ และห่วงใยในทรัพย์สมบัติ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ไม่มีหนทางที่จะพ้นจากอบายไปได้

ส่วนบุคคลที่อยู่ประเภทที่ ๓ นั้น อกุศลอาจิณณกรรมมากกว่ากุศล ลำพังตัวเองแล้วย่อมไม่สามารถนึกถึงกุศลนั้นได้ ยกเสียแต่จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นเท่านั้น ถึงกระนั้น การช่วยเหลือโดยการเตือนสติจากผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการช่วยเหลือเป็นพิเศษจึงจะพ้นจากอบายได้ ถ้าเป็นการช่วยเหลืออย่างสามัญพรรมดาแล้ว ผู้นั้นก็ยังไม่สามารถที่จะกลับใจมารับอารมณ์ที่เป็นกุศลนั้นๆ ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลจำพวกนี้ย่อมจะต้องไปสู่อบายโดยแน่นอน

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๔ นั้น ย่อมไม่พ้นจากการไปสู่อบายได้เลย นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อัครสาวก และมกาสาวกเท่านั้น ที่จะช่วยเหลือได้ ลากรที่จะได้รับความช่วยเหลือ จากท่านเหล่านี้ ผู้นั้นก็จะต้องมีกุศลอปราปริยกรรมที่มีกำลังมากคือได้แก่กุศลที่ตนได้ เคยสร้างไว้แล้วในชาติก่อนๆ

ฉะนั้น ถ้าบุคคลจำพวกนี้ไปสู่นรกแล้ว ก็ไปสู่นรกโดยตรง ไม่มีโอกาสที่จะได้พบกับยมราชเพื่อทำการไต่ถาม

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๒ และที่ ๓ ถ้าต้องไปสู่นรกแล้ว ก็มีโอกาสได้พบกับยมราช เพื่อทำการไต่สวนและสอบถามถึงเรื่องเทวทูต ๕ จำนวนมากเสียก่อน แล้วจึงจะได้ไปเสวยทุกข์ในนรกนั้นๆ ภายหลัง เมื่อบุคคลผู้นั้นได้มาสู่นรก นายนิรยบาลทั้งหลายต่างก็นำตัวผู้ที่ต้องมาสู่นรกนั้น มาหาพญายมราช

คำถามของยมราชอันได้แก่เทวทูต ๕ จำพวกนั้น ดังนี้
เทวทูตที่หนึ่ง คือ ความเกิด อันได้แก่ ทารกแรกเกิด
เทวทูตที่สอง คือ ความแก่ อันได้แก่ คนชรา
เทวทูตที่สาม คือ พยาธิ อันได้แก่ ผู้ป่วยไข้
เทวทูตที่สี่ คือ ผู้ที่ถูกลงโทษตามกฎหมาย อันได้แก่ คนต้องราชทัณฑ์
เทวทูตที่ห้า คือ มรณะ อันได้แก่ คนตาย

(หน้าที่ 13)

เมื่อยมราชได้เห็นบุคคลเหล่านั้น จึงกล่าวขึ้นว่า “นี่แน่ะเจ้า ! บัดนี้เราจะถามเจ้าว่า เมื่อเจ้ายังอยู่ในมนุษยโลกนั้น ได้เคยเห็นเด็กแรกเกิดบ้างหรือเปล่า ?

สัตว์นรกกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็น”

ยมราชจึงถามต่อไปว่า ในขณะที่เจ้าได้เห็นเด็กแรกเกิดนั้น เจ้าเคยนึกถึงตัวของเจ้าบ้างไหมว่า ตัวของเจานี้ก็จะต้องเกิดอีกเช่นเดียวกัน และเคยพยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา เพื่อจะได้เป็นหนทางที่จะช่วยตัวเองในพ้นไปจากความเกิดอันเป็นชาติทุกข์บ้างไหม ?

สัตว์นรกได้ฟังคำถามของยมราชเช่นนี้แล้ว ถ้าระลึกถึงกุศลได้ในขณะนั้นก็จะพ้นจากนรกโดยทันที ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา ถ้าขณะนั้นระลึกถึงกุศลไม่ได้ในก็กล่าวตอบว่าข้าพเจ้าเคยเห็นเด็กแรกเกิดก็จริง แต่ก็ไม่มีความนึกคิดอะไร คงมีแต่ความยินดี พอใจเพลิดเพลินสนุกสนาน ไปตามวิสัยธรรมดาของชาวโลกเท่านั้น

ยมราชจึงกล่าวต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้น ความประมาทของเจ้าก็ดี ความเพลิดเพลินสนุกสนานต่างๆของเจ้าที่ได้กระทำไปแล้วก็ดี ล้วนแต่เป็นความประมาทเพลิดเพลินที่เกิดจากตัวของเจ้าทั้งนั้น ไม่ใช่บิดามารดา บุตรภรรยา มิตรสหาย พี่น้อง ครูบาอาจารย์ หรือเทวดาทั้งหลายมากระทำให้เจ้า ฉะนั้น เจ้าก็ต้องได้รับผลที่เจ้าเคยกระทำไว้แล้วนั้นด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดจะมารับโทษแทนเจ้าได้ ตัวเจ้าได้ทำไว้อย่างไรเจ้าก็ต้องเป็นผู้ได้รับผลอย่างนั้น

แล้วยมราชก็ถามต่อไปอีกว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าเคยเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนต้องราชทัณฑ์ และคนตายบ้างไหม ? สัตว์นรกก็กล่าวตอบว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็น”

ยมราชจึงกล่าวถามต่อไปว่า ในขณะที่เจ้าเห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนต้องราชทัณฑ์ หรือ คนตายอยู่นั้น เจ้าเคยนึกถึงตัวของเจ้าบ้างไหมว่า ตัวเจ้านี้ก็ต้องมีความแก่ ความเจ็บ ต้องเป็นคนต้องราชทัณฑ์ และมีความตายเป็นธรรมดา เช่นเดียวกันกุบบุคคลที่เจ้าได้เป็นอยู่นั้น แล้ว พยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา อันเป็นกุศลกรรเพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแก่ตนเอง และสามารถช่วยตนให้พ้นจากทุกข์โทษต่างๆบ้างหรือเปล่า ในเมื่อเจ้ายังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก

(หน้าที่ 14)

เมื่อสัตว์นรกได้ฟัง คำถาม ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ครั้งที่สี่ และครั้งที่ห้า ถาระลึกถึงกุศลได้ก็ย่อมพ้นไปจากนรก ถ้าระลึกถึงกุศลไม่ได้ ก็กล่าวตอบแก่ยมราชอย่างเดียวกันกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในเทวทูตที่หนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนั้น ยมราชก็พยายามช่วยให้ระลึกให้ว่า สัตว์นรกผู้นี้ได้สร้างกุศลอะไรไว้บ้าง เพราะตามธรรมดาคนที่สร้างกุศลนั้นย่อมแผ่ส่วนกุศลนั้นๆ ให้แก่ยมราช ฉะนั้น ถ้าบุคคลใดสร้างทาน ศีล ภาวนา แล้วได้อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ยมราช ยมราชก็ย่อมจะระลึกนึกถึงกุศลนั้นได้ เพราะตนเคยได้รับส่วนบุญจากบุคคลนั้นๆ ถ้าบุคคลใดสร้างทาน ศีล ภาวนาแล้ว แต่ยังไม่ได้อุทิศส่วนบุญให้แก่ยมราช ยมราชก็ไม่สามารถที่จะระลึกถึงกุศลของบุคคลนั้นได้ ถ้ายมราชช่วยระลึกให้ไม่ได้ก็นิ่งเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้นายนิรยบาลทั้งหลายก็จะนำสัตว์นรกนั้นออกไปลงโทษ ตามแต่อกุศลกรรมของสัตว์นรกนั้นได้กระทำมา

ถ้าหากว่ายมราบระลึกถึงกุศลกรรมของสัตว์นรกผู้นั้นได้ ก็ช่วยบอกให้ เมื่อสัตว์นรกนั้นได้ฟังคำบอกเล่าของยมราชแล้วก็ระลึกได้ว่า เรานี้ก็ได้เคยสร้างทาน ศีล ภาวนา ไว้อย่างนี้ๆ เมื่อระลึกถึงกุศลกรรมของตนได้เช่นนี้ ในขณะนั้นก็พ้นไปจากนรก

ฉะนั้น การช่วยเตือนสติให้ระลึกนึกถึงกุศลกรรมของยมราชจึงเป็นเหตุ ส่วนการระลึกได้ในกุศลกรรมของสัตว์นรกเอง เป็นผล และการระลึกถึงกุศลกรรมของตนได้ เป็นเหตุ การพ้นจากนรกเป็นผล

เทวทูต ๕ จำพวก จบ
****************

(หน้าที่ 15)

วจนัตถะและคำอธิบายโดยพิสดาร
มหานรก ๘ ขุม โดยลำดับ

๑ สัญชีวนรก

สํ ปุนปฺปุนํ ชีวนฺติ เอตฺถาติ สญฺชีโว “สัตว์นรกทั้งหลาย ย่อมเป็นอยู่ในนรกนั้นบ่อยๆ เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า สัญชีวะ”

ชลิตาวุธหตฺเถหิ ขณฺฑิตาปิ เนรยิกา
ชีวนฺตา ยมฺหิ ปุนาปิ สญฺชีโวติ ปวุจฺจเต.
ในนรกใด นายนิรยบาลผู้มีมือถืออาวุธอันมีแสง ฟันสัตว์นรกทั้งหลาย สัตว์นรกเหล่านั้นถึงถูกฟันจนตายแล้วก็กลับฟื้นคืนชีพได้อีก นรกนั้น เรียกว่า สัญชีวะ



๒ กาฬสุตตนรก

กาฬสุตฺตํ ฐเปฉนฺติ เอตฺถาติ กาฬตฺโต “นายนิรยบาลทั้งหลายใช้เชือกดำตีเส้นแล้วก็ถากหรือเลื่อยตัดสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า กาฬสุตตะ อีกนัยหนึ่งตั้งวจนัตถะว่า กาฬสุตฺตานิ ปาเตตฺว่า วาสิปรสุกุทารีอาทีหิ ตจฺฉนฺติ เอตฺถ นิพฺพตฺเต สตฺเตติ กาฬสุตฺโต “นายนิรบาลทั้งหลายใช้เชือกดำตีเส้นแล้วก็ถากหรือเลื่อยสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ด้วยเครื่องประหาร มีมีดขวานจอบ เลื่อย เป็นต้น เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า กาฬสุตตะ”

กาฬสุตฺเตน ตจฺฉนฺติ ยมฺหิ นิรยปาลกา
อนุพนฺธา ปปตนฺเต กาฬสุตฺโต ปวุจฺจเต.
ในนรกใด นายนิรยบาลทั้งหลายใช้เชือกดำตีเส้น แล้วตดตามถากหรือเลื่อยซึ่งสัตว์นรกที่กำลังหกล้มอยู่ นรกนั้นเรียกว่า กาฬสุตตะ


(หน้าที่ 16)


๓ สังฆาตนรก

สํฆาเฏนฺติ เอตฺถาติ สํฆาโต “ภูเขาเหล็กย่อมบดซึ่งสัตว์ที่เกิดในนรกนั้นอย่างแรง(อยู่ในนรกใด) เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า สังฆาตะ” อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า มหนฺตา ชลิตา อโยปพฺพตา สํฆาเฏนฺติ จุณฺณวิจุณฺณํ กโรนฺติ เอตฺถ นิพฺพตฺเต สตฺเตติ สํฆาโต “ภูเขาเหล็กที่สูงใหญ่มีแสงไฟอันสุกโพลง ย่อมบดซึ่งสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ให้ละเอียดเป็นจุณไป(อยู่ในนรกใด) เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า สังฆาตะ”

อโยมยปถพฺยํ กฏิมตฺตํ ปเวสิเต
อโยเสลา สํฆาเฏนฺติ สํฆาโตติ ปวุจฺจเต.
ในนรกใด ๓เขาเหล็กที่มีเปลวไฟบดสัตว์นรกทั้งหลายที่กำลังจมสลไปในแผ่นดินเหล็ก ลึกถึงสะเอว นรกนั้น เรียกว่า สังฆาตะ



๔ โรรุวนรก (ธูมโรรุวะหรือจูฬโรรุวะ)

หารวํ รวนฺติ เอตฺถาติ โรรุโว “สัตว์นรกทั้งหลายร้องไห้ด้วยเสียงอันดังในนรกใด เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า โรรุวะ” อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า มหนฺเตหิ สทฺเทหิ นิจฺจกาลํ รวนฺติ เอตฺถ นิพฺพตฺตา สตฺตาติ โรรุโว “สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในนรกนั้น ย่อมพากันร้องไห้ด้วยเสียงอันดังอยู่ตลอดเวลา เหตุนั้น นรกนั้นเรียกว่าโรรุวะ”

ธูเมหิ ปวิสิตฺวาน เสทมานา ทยาวหํ
มหารวํ รวนฺเตตฺถ วุจฺจเต ธูมโรรุโว.
ในนรกใด สัตว์นรกทั้งหลายถูกควันไฟเข้าไปสู่ทางทวารทั้ง ๙ อบให้เร้าร้อน แผดร้องด้วยเสียงอันดังน่าสงสาร นรกนั้นเรียกว่า ธูมโรรุวะ

(หน้าที่ 17)



๕ มหาโรรุวนรก (ชาลโรรุวะ)

มหนฺโต โรรุโว มหารรุโว “นรกที่มีการร้องไห้เสียงดังกว่าจูฬโรรุวนรก เรียกว่า มหาโรรุวนรก”

ชาลาหิ ปวิสิตฺวาน ฑยฺหมานา ทยาวหํ
มหารวํ รวนฺเตตฺถ วุจฺจเต ชาลโรรุโว.
สัตว์นรกทั้งหลายถูกเปลวไฟเข้ามาทางทวาร ๙ ไหม้อยู่ แผดร้องด้วยเสียงอันดังน่าสงสาร อยู่ในนรกใด นรกนี้เรียกว่า ชาลโรรุวะ หรือ มหาโรรุวะ



๖ ตาปนนรก (จูฬตาปนะ)

ตาเปตีติ ตาปโน “นรกที่แผดเผาสัตว์ทั้งหลายให้เร่าร้อนอยู่ เหตุนั้น นรกนั้นเรียกว่า ตาปนะ” อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า นิจฺจเล สตฺเต ตาเปติ เอตฺถาติ ตาปโน “ไฟนรกย่อมไหม้ซึ่งสัตว์ทั้งหลายที่ถูกตรึงอยู่ในนรกนั้น เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า ตาปนะ”

ชลิเต อยสูลมฺหิ นิจฺจลํ นิสิทาปิเต
ตาเปติ ปาปเก ปาเณ ตาปโนติ ปวุจฺจเต.
นรกใดยังสัตว์ทั้งหลายผู้ลามก ให้นั้งตรึงติดอยู่ในหลาวเหล็กอันร้อนแดงแล้วให้ไฟไหม้อยู่ เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า ตาปนะ



๗ มหาตาปนนรก (ปตาปนะ)

อติวิย ตาเปตีต มหาตาปโน “นรกที่แผดเผาสัตว์ทั้งหลายให้เร่าร้อนเหลือประมาณ เหตุนั้น นรกนั้น จึงเรียกว่า มหาตาปนะ อีกนัยหนึ่ง ตั้งวนัตถะว่า มหนฺโต ตาปโนติ มหาตาปโน “นรกที่ยังสัตว์ ทั้งหลายให้เร่าร้อนยิ่งหว่าจูฬตาปนนรก เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า มหาตาปนะ”

(หน้าที่ 18)

อยเสลํ อาโรเปตฺวา เหฏฺฐา สูลํ ปตาปิย
ปาปเก โย ปตาเปติ ปตาปโนติ วุจฺจเต.

นรกใด ยังสัตว์ทั้งหลายผู้ลามกให้ขึ้นสู่ภูเขาเหล็กที่กำลัง
ร้อนแล้วตกลงไปสู่หลาวที่อยู่ข้างล่าง ด้วยอำนาจของลม
และไฟไหม้อยู่ เหตุนั้น นรกนั้นเรียกว่า ปตาปนะ หรือ
มหาตาปนะ



๘. อวีจินรก

นตฺถิ วีจิ เอตฺถาติ อวีจิ “ช่องว่างแห่งเปลวไฟสัตว์นรกและความทุกข์) ไม่มีในนรกนั้น เหตุนั้น นรกนั้น เรียกว่า อวีจิ” อีกนัยหนึ่ง ตั้งวจนัตถะว่า สตฺตานํ วา อคฺคิชาลานํ วา ทุกฺขเวทนานํ วา นตฺถิ วีจิ อนฺตรํ เอตฺถาติ อวีจิ “ระหว่าง แห่งสัตว์ทั้งหลายและเปลวไฟ การเสวยทุกข์ไม่มีว่าง เลยในนรกนั้น เหตุนั้น นรกนั้นจึงเรียกว่า อวีจิ”

ชาลานํ สตฺตานํ ยตฺถ นตฺถิ ทุกฺขสฺส อนฺตรํ
พาลานํ นิวาโส โส หิ อวีจีติ ปวุจฺจเต.

ช่องว่างแห่งเปลวไฟ สัตว์นรกทั้งหลายและความทุกข์
ไม่มีในนรกใด เหตุนั้น นรกอันเป็นที่อยู่แห่งสัตว์พาลทั้งหลาย
เสมอนั้น เรียกว่า อวีจิ

มหานรกทั้ง ๘ ขุม จบ
..................



(หน้าที่ 19)


อุสสทนรก ๕ ขุม

อุสสทนรก ๕ ขุม มีโดยลำดับดังนี้ คือ

๑. คูถนรก

อวีจิมฺหา ปมุตฺตาปิ อมุตฺตา เสสปาปิโน
ปจฺจนฺติ ปูติเก คูเถ ตสฺเสว สมนนฺตเร.

สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้จะพ้น
จากอวีจิมหานรกแล้วงก็ยังไม่หลุดพ้นโดยสิ้นเชิง ยังต้องเสวย
ทุกข์ต่อไป คือยังถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกอุจจาระเน่าที่อยู่ติดต่อ
กับอวีจิมหานรกนั้นเอง



๒. กุกกุลนรก

ปูติคูถา ปมุตฺตาปิ อมุตฺตา เสสปาปิโน
ปจฺจนฺติ กุกฺกุเล อุณฺเห ตสฺเสว สมนนฺตเร.

สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้พ้น
จากนรกอุจจาระเน่า แล้วก็ยังไม่หลุดพ้น ยังต้องเสวยทุกข์
ต่อไป คือถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกขี้เถ้าร้อน ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อ
กับคูถนรกนั้นเอง



๓. สิมพลิวนนรก

กุกฺกุลมฺหา ปมุตฺตาปิ อมุตฺตา เสสปาปิโน
ปจฺจนฺติ สิมฺพลีทาเย ตสฺเสว สมนนฺตเร.

สัตว์นรกทั้งหลายที่มีอกุศลกรรมเหลืออยู่ ถึงแม้พ้น
จากนรกขี้เถ้าร้อนแล้ว ก็ยังไม่ หลุดพ้น ยังต้องเสวยทุกข์
ต่อไป คือถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกป่าไม้งิ้ว ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อกับ
กุกกุลนรกนั้นเอง






(หน้าที่ 20)


๔. อสิปัตตวนนรก

สิมฺพลิมฺหา ปมุตฺตาปิ อมุตฺตา เสสปาปิโน
ปปจฺจนฺติ อสิปตฺเต ตสฺเสว สมนนฺตเร.
สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลกรรมเหลืออยู่นั้น ถึงแม้พ้นจากนรกป่าไม่งิ้วแล้ว ก็ยังไม่หลุดพ้น ยังต้องไปเสวยทุกข์ต่อไป คือถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกป่าไม้ใบดาบ ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อกับสิมพลิวนนรกนั้นเอง



๕. เวตตรณีนรก

อสิปตฺตา ปมุตฺตาปิ อมุตฺตา เสสปาปิโน
ปปจฺจนฺติ ขาโรทเก ตสฺเสว สมนนฺตเร.

สัตว์นรกทั้งหลายที่ยังมีอกุศลเหลืออยู่ ถึงแม้พ้นจากนรกป่าไม้ใบดาบ ก็ยังต้องเสวยทุกข์ คือถูกเบียดเบียนอยู่ในนรกแม่น้ำเค็มที่มีหวายหนาม ซึ่งตั้งอยู่ติดต่อกับ อสิปัตตวนนรกนั้นเอง



อุสสทนรก ๘ ขุม ที่มาในโลกบัญญัติปกรณ์

๑. หลุมนรกอันเต็มด้วยถ่านเพลิง เรียกว่า องฺคารกาสุนิรย
๒. นรกน้ำเหล็ก เรียกว่า โลหรสนิรย
๓. นรกขี้เถ้า เรียกว่า กุกฺกูลนิรย
๔. นรกน้ำร้อน เรียกว่า อคฺคิสโมทกนิรย
๕. นรกกระทะทองแดง เรียกว่า โลหกุมฺภีนิรย
๖. นรกอุจจาระเน่า เรียกว่า คูถนิรย
๗. นรกป่าไม่งิ้ว เรียกว่า สิมฺพลิวนนิรย
๘. นรกแม่น้ำเค็มที่มีหวายหนาม เรียกว่า เวตฺตรณีนิรย

(หน้าที่ 21)

มหานรกขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรก ๓๒ (คือขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรก ๔ X ๘ ทิศ มี ๓๒ มหานรกขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรก ๓๒) ดังนั้น มหานรก ๘ ขุม จึงมีอุสสทนรก ๒๕๖ ขุม



ประเภทแห่งอวีจินรก
ที่มาในสฬายตนนอัฎฐกถา และอังคุตตรอัฎฐกถา

๑. ปหาสนิรย      ๒. อปราชิตนิรย   ๓. อพฺพุทนิรย
๔. นิรพฺพุทนิรย   ๕. อพพนิรย       ๖. อหหนิรย
๗. อฏฏนิรย       ๘. กุมุทนิรย        ๙. โสคนฺธิกนิรย
๑๐. อุปฺปลนิรย  ๑๑. ปุณฺฑรีกนิรย ๑๒. มหาปทุมนิรย



การจำแนกโทษของสัตว์ทั้งหลายที่ต้องไปสู่นรก

๑. พระราชามหาอำมาตย์และผู้มีอำนาจมาก (กายพละ โภคพละ อาณาพละ) เวลาอยู่ในมนุษยโลกเบียดเบียนบุคคลที่ต่ำกว่าตนโดยความไม่เป็นธรรม หรือ พวกมหาโจรที่ปล้นและทำลายบ้านเมืองตลอดถึงฆ่าคน แล้วก็เอาทรัพย์สมบัติหนีไป บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสยทุกข์อยู่ในสัญชีวนรก เป็นส่วนมาก

๒. บุคคลทีเบียดเบียนหรือฆ่า ภิกษู สามเณร ดาบส หรือเพชฌฆาตที่มีหน้าที่ประหารบุคคล พวกภิกษุสามเณรผู้ทุศีลเป็นอลัชชี บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในกาฬสุตตนรก เป็นส่วนมาก อีกนัยหนึ่ง บุคคลที่ฆ่าพ่อแม่ก็ได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในกาฬสุตตนรก นี้เช่นกัน(แสดงไว้ในสังกิจจชาดก)

๓. บุคคลที่มีหน้าที่ทรมานช้าง ม้า โค กระบือ ฯลฯ และบุคคลที่เบียดเบียนสัตว์ที่ตนกำลังใช้ประโยชน์ โดยไม่มีความเมตตาสงสารสัตว์ และจำพวกนายพรานนก นายพรานเนื้อ เหล่านี้ เป็นต้น บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในสังฆาตนรก เป็นส่วนมาก

(หน้าที่ 22)

๔. ชาวประมง และบุคคลทีจุดป่าอันสัตว์ทั้งหลายอาศัยอยู่นั้น หรือบุคคล ที่ขังสัตว์ไว้มี จำพวกนกเป็นต้นแล้วจึงฆ่าให้ตาย บุคคลที่กินเหล้าเมาประทุษร้ายผู้อื่น ที่ไม่สมควร บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วย่อมไปเสวยทุกข์อยู่ในจูฬโรรุวนรก เป็นส่วนมาก

๕. บุคคลที่ขโมยทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ หรือขโมยของภิกษุสามเณรดาบส แม่ชี ให้ได้รับความลำบาก หรือขโมยเครื่องสักการะที่เขาบูชาพระรัตนตรัยหรือโกงเอาของคนอื่นมาเป็นของตน และผู้ทีขโมยด้วยประการหนึ่งประการใดในบรรดาขโมย ๒๕ อย่างนั้น บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในมหาโรวนรก เป็นส่วนมาก

๖. บุคคลที่เผาบ้านเมือง กุฏิ โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ปราสาท ทำลายเจดีย์ บุคคลที่กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน จูฬตาปนนรก

๗. บุคคลที่เข้าใจอยู่ว่า ธรรมไม่ดีไม่มีสารประโยชน์อะไร ส่วนอธรรมนั้นเข้าใจว่าดีมีสาระ หรือบุคคลที่มีอุจเฉททิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่าตายแล้วสูญไม่มีอะไรเกิดอีก

บุคคลที่มีสัสสตทิฏฐิ คือผู้ที่มีความเห็นว่า เมื่อเป็นสุนัข, เป็นมนุษย์, เป็นคนจน, เป็นคนรวย, เป็นเทวดา, เป็นพรหม เหล่านี้เป็นต้น แล้วก็กลับเป็นสุนัขอีก, เป็นมนุษย์อีก, เป็นคนจนอีก, เป็นคนรวยอีก, เป็นเทวดาอีก, เป็นพรหมอีก, ไม่เปลี่ยนแปลง

บุคคลทีมีนัตถิกทิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่าการทำบุญกุศล การรักษาศีล การเจริญสมถวิปัสสนาก็ไม่ได้รับผล การฆ่าสัตว์ ขโมยทรัพย์ก็ไม่ได้รับโทษ

บุคคลทีมีอเหตุกทิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่า เป็นมนุษย์, เป็นสัตว์, เป็นคนรวย, เป็นคนจน, เป็นคนขี้เหร่, เป็นคนมีโรค ไม่มีโรค, เป็นคนมีอายุยืน อายุสั้น, เป็นคนฉลาด เป็นคนโง่, ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ

บุคคลที่มีอกิริยทิฏฐิ คือผู้ที่เข้าใจว่าสัตว์ทั้งหลายที่ทำอะไรๆ ก็ไม่มีเหตุผลที่กำลังเป็นอยู่ก็ไม่มีเหตุและบุคคลที่ชักชวนผู้อื่นให้เชื่อตามมติของตน

(หน้าที่ 23)

บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้เสวยทุกข์อยู่ในมหาตาปนนรกหรือเวตตรณีอุสสทนรก แล้วแต่ว่ากรรมจะมีกำลังมากหรือน้อย

สำหรับนัตถิกทิฏฐิ ๑๐ อย่างในข้อที่ ๗ นี้ พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในเนมิราชชาดก ดังนี้
๑) นตฺถิ ทินฺนํ เห็นว่า ทานที่ถวายแก่สมณพราหมณ์ไม่มีผล
๒) นตฺถิ ยิฏฺฐํ เห็นว่า ทานที่ให้แก่สาธารณชนไม่มีผล
๓) นตฺถิ หุตํ เห็นว่า การสักการะด้วยเครื่องสักการะและการต้อนรับต่างๆไม่มีผล
๔) นตฺถิ สุกฎทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลวิปาโก คือ ผลของกรรมดี และกรรมชั่วไม่มี
๕) นตฺถิ มาตา เห็นว่า มารดาไม่สามารถให้คุณหรือโทษได้
๖) นตฺถิ ปิตา เห็นว่า คุณบิดาไม่สามารถให้คุณหรือโทษได้
๗) นตฺถิ สมณพฺราหฺมณา เห็นว่า ไม่มีสมณะพราหมณ์ผู้ทรงศีลปฏิบัติดีปฏิบัตชอบ สมณะและพราหมณ์ไม่สามารถให้คุณหรือโทษได้
๘) นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา เห็นว่า โอปปาติกสัตว์ คือ เทวดา, พรหม, เปรต, อสุรกาย, และสัตว์นรกไม่มี
๙) นตฺถิ อยํ โลโก เห็นว่า ไม่มีโลกนี้
๑๐) นตฺถิ ปรโลโก เห็นว่า ไม่มีโลกหน้า

บุคคลใด มีนัตถิกทิฎฐิ ๑๐ อย่าง แม้อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดานัตถิกทิฏฐิเมื่อตายไป จะต้องได้เสวยทุกขเวทนาอยู่ในมหาตาปนนรก หรือ เวตตรณีอุสสทนรก

๘. ในบุคคลที่ฆ่าบิดามารดา พระอรหันต์ ทำพระบาทพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ทำสังฆเภท คือยุยงสงฆ์ที่สามัคคีให้เกิดแตกแยกกัน และบุคคลที่ทำลาย


.........................................
(หน้าที่ 24)

พุทธเจดีย์ พระพุทธรูป ต้นโพธิ์ที่ตรัสรู้โดยจิตคิดประทุษร้าย และบุคคลที่ติเตียนพระสงฆ์ พระอริยบุคคล ผู้มีคุณแก่ตน ผู้ที่ยึดถือนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ (นัตถิกะ อเหตุกะ อกิริยะ) บุคคลที่ได้กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน อวีจิมหานรก หรือ โลหกุมภีอุสสทนรก แล้วแต่กรรมจะมีกำลังมากหรือน้อย


๙. ผู้หญิงทำลายลูกในครรภ์ของตนเอง เมื่อตายแล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน เวตตรณีอุสสทนรก

๑๐. ผู้หญิงที่ชอบคบชู้และแย่งสามีของผู้อื่น ผู้ชายที่ชอบคบชู้และแย่งภรรยาของผู้อื่นบุคคลเหล่านี้เมื่อตายไปแล้วจะต้องได้ไปเสวยทุกข์อยู่ใน สิมพลิวนอุสสทนรก ต่อไปยังมีการเสวยทุกข์อยู่ใน โลหกุมภีนรก ที่มีนำร้อนเหมือนไฟ แล้วแต่ว่ากรรมจะมีกำลังมากหรือน้อย

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงในเนมิราชชาดกว่า ผู้หญิงที่ชอบคบชู้และแย่งสามีของผู้อื่น เมื่อตายไปแล้วได้ไปเสวยทุกขเวทนาอยู่ใน สังฆาตนรก โดยเฉพาะ ส่วนหนึ่งในบรรดา สังฆาตนรก เหล่านั้น ส่วนผู้ชายที่ชอบเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น บุคคลเหล่านี้เมื่อตายไปแล้วได้ไป เสวยทุกขเวทนาอยู่ใน อังคารกาสุนรก คือนรกหลุมถ่านเพลิง


คำถามคำตอบที่เกี่ยวเนื่องด้วยนรก
มาในเนมิราชชาดก

เวตตรณีนรก

ถาม พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นเหล่าสัตว์ อันทุกข์เบียดเบียนแล้วในเวตตรณีนทีก็สะดุ้งพระทัยกลัว ตรัสถามมาตุลีเทพบุตรว่า สัตว์เหล่านั้นได้ทำกรรมอันเป็นบาปอย่างไร ?

(หน้าที่ 25)

ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลพยากรณ์ถวายให้ทรงทราบว่า สัตว์เหล่าใดที่อยู่ในโลกนี้มีธรรมเป็นบาป ย่อมเบียดเบียนขัดเคืองผู้อื่นที่หากำลังมิได้ สัตว์เหล่านี้มีกรรมหยาบร้ายกาจเช่นนี้ จึงตกอยู่ในเวตตรณีนที

นรกสุนัขด่าง

ถาม พระราชาตรัสถามว่า สุนัขแดง สุนัขด่าง แร้ง ฝูงกา มีรูปร่างน่ากลัว เที่ยวกัดสัตว์นรกเคี้ยวกิน ความกลัวปรากฏแก่เรา เพราะเห็นสัตว์เหล่านั้นเคี้ยวกินสัตว์ นรก เราขอถามท่านว่าสัตว์เหล่านี้ที่ถูกฝูงกาจิกกินได้ทำบาปอะไรไว้ ท่านผู้รู้วิบากแห่งสัตว์มีกรรมเป็นบาป จงพยากรณ์ บอกเราผู้ไม่รู้ ?
ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์เหล่านั้น มีความตระหนี่ถี่เหนียว ดุด่าสมณพราหมณ์ เบียดเบียนขัดเคืองสมณพราหมณ์ เป็นผู้มีกรรมหยาบร้ายแรง ฉะนั้น ฝูงกาจึงได้จิกกินสัตว์เหล่านั้น

นรกแผ่นดินเหล็ก

ถาม พระราชาตรัสถามว่า สัตว์นรกเหล่านั้น ได้ทำบาปอย่างไร จึงถูกเบียดเบียนด้วยท่อนเหล็กอันลุกโพลงอยู่เห็นปานนี้ ?

ตอบ มาตุลีเทพบุตรตอบว่า เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นอยู่ในมนุษย์โลกทำบาป คือเบียดเบียนประทุษร้ายชายหญิงผู้มีธรรมเป็นกุศล จึงได้มาเสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้



นรกหลุมถ่านเพลิง

ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ได้ทำบาปอย่างไรไว้หรือจึงได้ร้องครวญครางอยู่ในกองถ่านเพลิง?

ตอบ มาตุลีเทพบุตรตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้น พยายามโกงทรัพย์ของประชุมชน คือการเรี่ยไรทรัพย์ของประชาชน โดยอ้างว่าจะเอาไปปฏิสังขรณ์สถาปนาถาวรวัตถุ แล้วทำการติดสินบนประมุข เอาทรัพย์เหล่านั้นใช้เป็นส่วนตัวเสีย กล่าวเท็จว่าได้

(หน้าที่ 26)

มาแต่รายนี้เท่านี้จ่ายไปเท่านี้ ตกอยู่ในทำนองทำการหลอกลวงประชุมชน เพราะกรรมหยาบร้ายอย่างนี้ จึงมาร้องครวญครางอยู่ในกองถ่านเพลิง



โลหกุมภีนรกที่ ๑

ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทำบาปอะไรจึงตกไปในโลหกุมภี ?

ตอบ สัตว์นรกเหล่านั้น ทำบาป เบียดเบียน ประทุษร้ายสมณพราหมณ์ผู้มีศีล จึงตกลงไปในโลหกุมภี


โลหกุมภีนรกที่ ๒

ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทำบาปอะไร จึงนอนศีรษะขาดอยู่

ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้น ยังมีชีวิตอยู่ ได้จับนกมาฆ่า ด้วยกรรมอันหยาบร้ายอย่างนี้ จึงได้มานอนศีรษะขอดอยู่


นรกแม่น้ำขี้เถ้าร้อน


ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทำบาปอะไร เมื่อเวลาดื่มน้ำๆ จึงกลายเป็นขี้เถ้าร้อน ?

ตอบ สัตว์นรกเหล่านั้นมีการงานอันไม่บริสุทธิ์ ขายข้าวเปลือกปนด้วยทรายหรือดินเป็นต้นแก่ผู้ซื้อ ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นจึงมีความร้อนยิ่งกว่าไฟ กระหายน้ำมาก เมื่อดื่มน้ำเน่า ก็กลายเป็นขี้เถ้าร้อนไป


นรกอาวุธต่างๆ


ถาม สัตว์นรกเหล่านั้น ทำบาปอะไรจึงได้ถูกทรมานด้วยหอกนอนอยู่ ?
ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ เป็นผู้หลอกลวงฉ้อโกงทรัพย์สินเงินทองของเขา และตัดว่องย่องเบา ปล้น จี้ เอาข้าวของเงินทองตลอดจนสัตว์เลี้ยงเอามาเลี้ยงชีวิต เมื่อทำการหยาบร้าย ดังนี้ จึงมาถูกทรมานด้วยหอกนอนอยู่

(หน้าที่ 27)


นรกกองเนื้อ

ถาม พระเจ้าเนมิราช ได้ทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกเหล่าหนึ่งถูกนายนิรยบาลผูกคอด้วย เชือกเหล็กอันลุกโพลง แล้วคร่าตัวมาให้นอนลงแผ่นดินที่เป็นแผ่นเหล็กลุกโพลง ทุบตีด้วยอาวุธต่างๆ และอีกพวกหนึ่งถูกนายนิรยบาลตัดตัวเป็นชิ้นๆ วางไว้จึงทรงถามพระมาตุลีว่า สัตว์เหล่านั้นทำกรรมอะไรจึงได้เป็นเช่นนี้ ?

ตอบ พระมาตุลีทูลตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้นเคยเป็นผู้ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าปลา เป็นต้น ครั้นฆ่าแล้วก็เอาไปวางขายที่ร้านขายเนื้อ เป็นผู้มีกรรมหยาบร้ายมากจึงได้มาถูกตัดตัวเป็นชิ้นๆ วางอยู่ดังนี้


นรกอุจารปัสสาวะ

ถาม พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกเหล่าหนึ่ง กำลังกินมูตรและคูถอยู่จึงทรง ถามว่า สัตว์เหล่านั้นทำกรรมอะไรจึงได้มากินมูตรและคูถเป็นอาหารดังนี้ ?

ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้นทำความทุกข์เบียดเบียนมิตรสหาย เป็นต้น ตั้งมั่นในความเบียดเบียนผู้อื่นทุกเมื่อ เป็นผู้มีกรรมหยาบร้าย ประทุษร้ายมิตร เช่นนี้ จึงได้มาเคี้ยวกินคูถอยู่


นรกเลือดหนอง

ถาม สัตว์นรกเหล่าหนึ่งมีความหิวกระหายครอบงำจัด ไม่สามารถกลั้นความหิวไว้ได้ก็เคี้ยวกินโลหิตบุพโพ จึงตรัสถามว่า สัตว์นรกเหล่านั้นทำกรรมอะไรไว้ ?

ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ในมนุษย์โลก ได้ฆ่ามารดา บิดา และพระอรหันต์ ชื่อว่าต้องปาราชิกทางคติหิเพศ มีกรรมหยาบช้าอย่างนี้ จึงต้องมาเสวยทุกข์มีโลหิตและบุพโพเป็นอาหาร


นรกเบ็ดเหล็ก

ถาม สัตว์นรกเหล่าหนึ่ง ถูกนายนิรยบาลเอาเบ็ดลุกโพลงเป็นไฟโตเท่าลำตาลเกี่ยวลิ้น และคร่าตัวให้นอนลงบนแผ่นโลหะที่ลุกโพลงเป็นไฟ แล้วเอาของเหล็กสับหนังดุจ

(หน้าที่ 28)

สับหนังโค ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นมิอาจทนทุกข์ได้ จึงพากันดิ้นรนเหมือนปลาดิ้นอยู่บนบกต่างร้องไห้ครวญครางอยู่ จึงทรงถามว่า สัตว์นรกเหล่านั้นทำกรรมอะไรไว้ ?

ตอบ เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้น เป็นมนุษย์เป็นผู้ตีราคาของ ยังราคาซื้อให้เสื่อมไป คือ รับสินจ้างผู้ซื้อของราคามากตีราคาน้อยให้ผู้ซื้อไปทำกรรมอันโกงเพราะมีความโลภ ปกปิดความโกงไว้ด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวาน ดุจคนทำการตกปลาหุ้มเบ็ดไว้มิดชิดด้วยเหยื่อแล้วตกปลามาฆ่าเสีย ฉะนั้น บุคคลที่จะช่วยป้องกันความโกงของคนเหล่านั้นไม่มีเลย สัตว์นรกเหล่านั้นทำกรรมหยาบร้ายอย่างนี้ จึงต้องถูกเบ็ดเกี่ยวลิ้นทนทุกข์อยู่



นรกภูเขาเหล็ก

ถาม พระราชาบรมโพธิสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นนางสัตว์นรกเหล่านั้นมีร่างกายอันแตก มีชาติทรามเปรอะเปื้อนด้วยโลหิตและบุพโพ มีศีรษะขาดเหมือนฝูงโคที่มีศีรษะขาดบนที่ฆ่า ประคองแขนทั้งทั้ง ๒ ร้องไห้ ร่างกายของนางสัตว์เหล่านั้นจมอยู่ในพื้นแผ่นดินเพียงเอวทุกเมื่อ ภูเขาตั้งขึ้นทั้ง ๔ ทิศลุกโพลงผลัดกันบดนางสัตว์เหล่านั้นให้ละเอียดไปแล้วกลับปรากฏเป็นศีรษะขึ้นมาใหม่อีก เป็นอยู่เช่นนี้มิได้หยุดหย่อน สัตว์นรกเหล่านั้นได้ทำกรรมอะไรไว้ จึงมาถูกฝังอยู่เพียงเอวในภาค พื้นดินทุกเมื่อ?

ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า เมื่อครั้งนางสัตว์นรกทั้งหลายเป็นกุลธิดาอยู่ในมนุษยโลก มีการงานไม่บริสุทธิ์ ได้ประพฤติกรรมอันไม่สมควร คือนางเหล่านั้นเป็นชาตินักเลงละทิ้งสามีไป ยังจิตใจของตนให้ยินดีในบุรุษอื่น ตายแล้วมาเกิดในนรกนี้จึงถูกภูเขาไฟมาแต่ ๔ ทิศ ผลัดกันบด ร่างกายให้ป่นเป็นจุรณวิจุรณไป



สัตว์นรกที่มีศีรษะทิ่มลง

ถาม สัตว์นรกที่มีศีรษะทิ่มลงเบื้องล่าง เพราะนายนิรยบาลได้จับสัตว์เหล่านั้นพุ่งให้ศีรษะทิ่มลงไปในนรก เหตุไรสัตว์นรกเหล่านั้นจึงถูกนายนิรยบาลจับตัวพุ่งให้ศีรษะทิ่มลงไป ?

(หน้าที่ 29)

ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์นรกเหล่านั้นเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในมนุษย์โลก เป็นผู้ประกอบทุราจารกรรม คือล่วงภรรยาแห่งบุรุษอื่น และลักภัณฑะอันอุดม จึงต้องมาสู่นรกนี้ เสวย ทุกขเวทนาสิ้นเวลาช้านาน สัตว์นรกเหล่านั้นมีการงานอันหยาบร้ายบุคคลที่จะช่วยป้องกันสัตว์นรกผู้มีปกติทำบาปเช่นนี้ย่อมไม่มี ฉะนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นจึงต้องมาเสวยทุกข์อยู่


นรกในป่างิ้ว

ถาม เมื่อพระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นสัตว์นรกน้อยใหญ่ บางพวกประกอบเหตุการณ์มีรูปร่างพิลึกอยู่ในนรก สัตว์นรกเหล่านั้นได้ทำบาปอะไรไว้จึงมีทุกข์มากยิ่ง เสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนอย่างนี้ ?

ตอบ มาตุลีเทพบุตรทูลตอบว่า สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในมนุษย์โลกเป็นผู้มีความเห็นผิดหลงทำกรรมจนเคยชินด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ คือ ทานที่ให้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล เช่นสรวงไม่มีผล ผลของความดีชั่วไม่มี มารดาบิดาไม่มี สมณพราหมณ์ไม่มี สัตว์ลอยมาเกิดไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี ชักชวนผู้อื่นให้มีความเข้าใจผิดในทิฏฐิ เช่นนี้ เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงเสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนมากยิ่ง



สัตว์ที่กำลังเสวยทุกข์อยู่ในประเทศส่วนหนึ่งแห่งอวีจินรก
โทษและการเสวยทุกข์ในปหาสนิรยะ

ในมนุษยโลก บุคคลที่มีความยินดีพอใจหลงใหลไปในกามคุณทั้ง ๕ มีการฟ้อนรำ ขับร้อง แสดงละคร ลิเกต่างๆ โดยเป็นพระเอกบ้าง นางเอกบ้าง ร้องไห้ หัวเราะ ร้องเพลง ฟ้อนรำ และเต้นรำ แล้วแต่เรื่องที่ตนแสดง ทำให้ผู้ดูเกิดความยินดีบ้าง เศร้าโศกบ้าง บางทีเกิดความสนุก สนานขึ้นมาจนลืมตัว มัวแต่ชมบทบาทของพระเอกนางเอกที่กำลังแสดงอยู่เฉพาะหน้า บุคคลที่ ฟ้อนรำหรือบุคคลที่แสดงละครลิเกเหล่านี้เมื่อตายแล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในปหาสนรก ในขณะเสวยทุกข์อยู่ในนรกนั้นคล้ายๆ กับว่า

(หน้าที่ 30)

ฟ้อนรำ หรือร้องเพลงอยู่ ดังสาธกบาลีมีมาในสฬายตนสังยุตตอัฏฐกถา ว่า

ปหาโส นาม นิรโยติ วิสํ ปหาสนามโก นิรโย นาม
นตฺถิ, อวีจิสฺเสว ปน เอกสฺมึ โกฏฺฐเส นจฺจนฺตา วิย
คายนฺตา วิย จ นฏเวสํ คเหตฺวาว ปจฺจนฺติ.



โทษและการเสวยทุกข์ในอปราชิตนิรยะ

ในมนุษยโลก บุคคลที่มีความยินดีพอใจในการรบกัน (ทำสงคราม) อยู่เสมอๆ บุคคล เหล่านี้เมื่อตายแล้ว ได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในอปราชิตนรก ในขณะเสวยทุกข์อยู่ในนรกนั้นคล้ายกับว่า นั่งรถที่เทียมด้วยช้างหรือม้าถืออาวุธ ๕ อย่างพร้อมโล่ ฆ่าฟันกันอยู่ตลอดเวลา ดังสาธกบาลีมีมาใน สฬายตนสังยุตตอัฏฐกถาว่า

อปราชิโต นาม นิรโยติ อยํปิ น วิสํ เอโก นิรโย,
อวีจิสฺเสว ปน เอกสฺมึโกฏฺฐาเส ปญฺจาวุธสนฺนทฺธา ผลกหตฺ
ถา หตฺถิอสฺสรเถ อารุยฺห สงฺคาเม ยุชฺฌนฺตา วิย
ปจฺจนฺติ



โทษและการเสวยทุกข์ในนรกทั้ง ๑๐ มีอัพพุทนรกเป็นต้น

บุคคลที่อยู่ในมนุษย์โลก ได้กล่าวคำติเตียนดูถูกพระอริยเจ้าด้วยประการอันมิชอบครั้นตาย แล้วจึงได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในนรกทั้ง ๑๐ มีอัพพุทะเป็นต้น ดังมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น พระโกกาลิกะได้กล่าวครหาว่าพระอัครสาวก ๒ รูป คือพระสารีบุตรเถระ และพระโมคคัลลานเถระ ได้ล่วงเกินปาราชิกสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ เมื่อพระโกกาลิกะตายแล้วได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในมหาปทุมนรกเพราะโทษแห่งการกล่าวคำที่ไม่จริง

(หน้าที่ 31)



อธิบายชื่อแห่งนรกทั้ง ๑๐ มีอัพพุทนรกเป็นต้น

ในที่นี้คำว่า อัพพุทะ นิรัพพุทะ อพพะ เป็นต้นนี้ เป็นชื่อของหลักสังขยาที่ใช้สำหรับการนับ ทั้งนี้โดยเริ่มต้นนับที่หลักหน่วย ร้อย, พัน, หมื่น, แสน, ล้าน, โกฏิ....ฉะนั้น การที่เรียกชื่อนรกเหล่านี้ว่า อัพพุทะ นิรัพพุทะ อพพนรก จึงเป็นการนำเอาคำที่ระบุหลักสังขยามาตั้งเป็นชื่อของนรก ซึ่งหากในนรกใด อายุตรงตามหลักสังขยาใด ท่านก็จะใช้หลักสังขยานั้นมาทำเป็นชื่อของนรกนั้นๆ

ประมาณแห่งอายุในอัพพุทนรก คือนับด้วยจำนวนเมล็ดงาสี่ร้อยเก้าโกฏิหกแสนเมล็ด ในจำนวนเมล็ดงาทั้งหมดนี้ ร้อยปีของมนุษย์เอาออกทิ้งเสียเมล็ดหนึ่งไปจนกว่าจะหมดเมล็ดงาสี่ร้อย เก้าโกฏิหกแสนเมล็ดจึงเท่ากับอายุของอัพพุทนรก, ส่วนอายุของนิรัพพุทนรกนี้มากกว่าอายุของอัพพุทนรกยี่สิบเท่า, ส่วนอายุของอพพนรกก็มากกว่าของนิรัพพทนรกยี่สิบเท่า
แม้ในส่วนอายุของ อหหะ อฏฏะ กุมุทะ โสคันธิกะ อุปปละ ปุณฑริกะ มหาปทุมะ นรกเหล่านี้ ก็มีอายุมากกว่ากันและกันด้วยจำนวนยี่สิบเท่าขึ้นไปตามลำดับ (มาในบาลีอังคุตตรนิกายและอัฏฐกถา)



ความทุกข์และการอยู่ในนรกไม่แน่นอน

๑. พระเทวทัต

พระเทวทัตต์ได้กระทำการเบียดเบียนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม ฉะนั้น พระเทวทัตต์จึงได้ไปบังเกิดในอวีจิมหานรกโดยตรง ในขณะที่เสวยทุกข์อยู่ในอวีจิมหานรกนั้น มีร่างกายสูงประมาณร้อยโยชน์ ตั้งแต่หูขึ้นไปจมอยู่ในแผ่นเหล็กแดงที่วางหนุนศีรษะ เบื้องล่างแต่ตาตุ่มลงไปจมอยู่ในแผ่นเหล็กแดง ตาปูโตประมาณเท่าต้นตาลตอกมือทั้งสองข้างติดไว้กับฝา หลาวเหล็กแทงข้างซ้ายทะลุถึงข้างขวา แทงข้างหน้าทะลุข้างหลัง แทงแต่ศีรษะทะลุลงมาถึงเบื้องล่างไม่มีการกระดุกกระดิก และมีเปลวไฟเผาตลอดเวลา จนกว่าจะพ้นจากอวีจินรก

(หน้าที่ 32)

ในอนาคตแสนมหากัปเลยไป จักได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามีชื่อว่า อัฏฐิสสระ (ส่วนบารมี สองอสงไขยนั้นได้เคยสร้างมาแล้ว) ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในธัมมบทอัฏฐกถาและมิลินทปัญหาว่า

“นิจฺจเล พุทฺเธ อปรทฺธภาเวน นิจฺจโลว หุตฺวา
อวีจิมฺหิ ปจฺจติ, โส หิ อิโต สตสหสฺสกปฺมตฺถเก
อฏฺฐิสฺสโร นาม ปจฺเจกพุทฺโธ ภวิสฺสติ”

“เทวทตฺโต มหาราช ฉโกฏฺฐเส กเต กปฺเป อติ
กฺกนฺเต ปฐมโกฏาเส สํฆํ ภินฺทิ, ปญฺจโกฏฐาเส นิรเย
ปจฺจิตฺวา ตโต มุจฺจิตฺวา อฏฺฐิสฺสโร นาม ปจฺเจกพุทโธ
ภวิสฺสติ”



๒. คาถาที่พระเทวทัตบูชาพระพุทธเจ้า
ในขณะที่ถูกธรณีสูบ

อิเมหิ อฏฺฐีหิ ตมคฺคปุคฺคลํ เทวาติเทวํ นรทมฺมสารถึ
สมนฺตจกฺขํ สตปุญฺญลกฺขณํ ปาเณหิ พุทฺธํ สรณํ คโตสฺมิ.

ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้า ผู้เป็นอัคคบุคคล ผู้เป็น
เทวดายิ่งกว่าเทวดา ผู้เป็นสารถีฝึกนรชน ผู้มีพระจักษุโดย
รอบ ผู้มีบุญลักษณะกำหนดด้วยร้อย ด้วยกระดูกเหล่านี้แล้ว
ขอถึงพระพุทธเจ้าพระองนั้นว่าเป็นที่พึ่ง ด้วยชีวิตของข้าพเจ้า



๓. เรื่องพระเจ้าทัณฑกี

ในเมืองพาราณสี มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าทัณฑกี นครหลวงชื่อว่า กุมภวดี ประชาชนทั้งหลายในพระนครกุมถวตี พร้อมด้วยพระเจ้า

(หน้าที่ 33)

ทัณฑกีล้วนแต่เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิทั้งสิ้น ในสมัยนั้นมีดาบสอยู่องค์หนึ่ง มีนามว่า กิสวัจฉดาบส ดาบสองค์นี้เป็นผู้ได้ญาณอภิญญาสมาบัติแปด อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำโคทาวรี ครั้นต่อมาได้ย้ายมาอยู่ในพระนครกุมภวตีอันเป็นเมืองหลวง ได้พักอาศัยอยู่ในพระราชอุทยานของพระเจ้าทัณฑกีโดยมีท่านเสนาบดีเป็นผู้อุปการะ คอยให้ความสะดวกสบายแก่ท่านดาบสอยู่เสมอตลอดมา
ในพระนครกุมภวตี มีหญิงโสเภณีคนหนึ่ง มีตำแหน่งเป็นนางสนมของพระเจ้าทัณฑกี อยู่มาวันหนึ่ง หญิงโสเภณีคนนี้ถูกพระเจ้าทัณฑกีกริ้วถอดออกจากตำแหน่ง เมื่อนางถูกถอดออกจากตำแหน่งแล้วก็เลยเดินเข้าไปในพระราชอุทยาน ผ่านมาทางสถานที่ที่ท่านกิสวัจฉดาบสพักอยู่

เมื่อได้เห็นท่านกิสวัจฉดาบสเข้า นางก็เกิดความเข้าใจผิดขึ้นทันทีว่า ท่านดาบสผู้นี้คงเป็นคนลามก ถ้าเช่นนั้นอวมงคลทั้งหลายที่มีอยู่ในกายเราทั้งหมดนี้ ถ้าเราได้เอาทิ้งไว้บนร่างกายของผู้ลามกผู้ลามกคนนี้แล้วก็จะทำให้เราได้รับสิ่งที่เป็นมงคลขึ้น เมื่อหญิงโสเภณีคิดเช่นนี้แล้ว ก็หยิบเอาไม้สีฟันมาสีฟันที่สีเสร็จแล้วนั้นลงบนศีรษะของท่านดาบสซึ่งกำลังนั่งอยู่ แล้วตนเองก็กลับไป อาบน้ำสระผมชำระร่างกาย ให้หมดจดยังที่อยู่ของตน เมื่อหญิงโสเภณีได้กระทำการอย่างนี้แล้ว อยู่มาไม่ช้านัก พระเจ้าทัณฑกีก็มีความคิดถึงและรับสั่งให้หาตัวเข้าเฝ้า ทรงแต่งตั้งให้รับตำแหน่งตามเดิมต่อไป อนึ่งการคิดถึงโสเภณีของพระเจ้าทัณฑกีนั้น หาได้เกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำของนางแต่อย่างใดไม่ หากแต่คิดถึงด้วยอำนาจกิเลส ซึ่งเป็นของธรรมดาเท่านั้น

หลังจากนั้นมาไม่นานนัก พระเจ้าทัณฑกี ก็ทรงกริ้วพราหมณ์ปุโลหิตคนหนึ่งขึ้นอีกถึงกับถอดออกจากตำแหน่งหน้าที่ปุโรหิต เช่นเดียวกับถอดตำแหน่งของหญิงโสเภณีนั้น เมื่อพราหมณ์ปุโลหิตถูกถอดออกจากตำแหน่งแล้ว ก็เข้าไปหาหญิงโสเภณีและถามถึงการที่หญิงโสเภณีถูกถอดจากตำแหน่ง และทำอย่างไรจึงได้กลับเข้ามารับตำแหน่งตามเดิมได้อีก หญิงโสเภณี ก็เล่าถึงการกระทำต่อดาบสที่พักอยู่ในพระราชอุทยานให้พราหมณ์ปุโลหิตฟัง พราหมณ์ปุโลหิตได้ทราบ แล้วก็รีบเข้าไปในพระราชอุทยาน และกระทำต่อดาบสเช่นเดียวกับหญิงโสเภณีบอก ต่อมาไม่ช้าพระเจ้าทัณฑกีก็รับสั่งให้พราหมณ์ปุโลหิตผู้นี้เข้าเฝ้า และทรงมอบหมายตำแหน่งหน้าที่ให้ทำตามที่ได้เคยให้ทำมาแล้วทุกประการ

(หน้าที่ 34)

การที่พราหมณ์ปุโลหิตได้เข้ารับตำแหน่งตามเดิมนี้ หาได้เกิดจากการกระทำที่ตนได้กระทำต่อดาบสนั้นแต่อย่างใดไม่ หากแต่เกิดจากความพยายามของตนเองที่คอยหาช่องทางเพื่อตนจะได้เข้ารับตำแหน่งตามเดิมและเป็นไปตามวิสัย ธรรมดาจิตใจของพระเจ้าทัณฑกีที่มีความกริ้วขึ้นพักหนึ่งๆเท่านั้น ครั้นคลายความพิโรธแล้วก็ย่อมจะนึกถึงผู้ที่ได้เคยใช้สอยมาเป็นธรรมดาเท่านั้นเอง
อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าทัณฑกี ได้ทรงรับหนังสือกราบทูลเรื่องราวจากชนบทว่ามีการกบฏเกิดขึ้น เมื่อพระเจ้าทัณฑกีทรงทราบข่าวตามหนังสือที่ได้กราบทูลมานั้นก็ทรงจัดการประชุมเสนาอำมาตย์ราชบริพารทั้งหลาย เพื่อจะได้ทำการปราบกฎ โดยมีพราหมณ์ปุโลหิตผู้นี้ประชุมอยู่ ณ ที่นั้นด้วย พราหมณ์จึงกราบทูลถามพระเจ้าทัณฑกีว่า การที่พระจะทรงปราบกบฏครั้งนี้ มีพระประสงค์จะเอาชัยชนะต่อพวกกบฏหรือหรือว่าจะยอมแพ้ พระเจ้าทัณฑกีก็ทรงตอบว่าพระองค์จะต้องเอาชัยชนะให้จงได้ พราหมณ์จึงกราบทูลขึ้นว่า ถ้าพระองค์มีพระประสงค์จะทรงปราบกบฏให้มีชัยชนะโดยเร็วแล้ว บัดนี้มีผู้ลามกคนหนึ่ง พักอาศัยอยู่ในพระราชอุทยานของพระองค์พร้อมกับทหารทั้งหลาย ที่จะออกไปต่อสู้ทำการปราบปรามพวกกบฏทั้งหมดนี้ทำการชำระสิ่งโสโครกที่มีอยู่ในร่างกายรดลงบนร่างของคนลามก แล้วกลับมาอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดหมดจดโดยทั่วกันหมดทั้งกองทัพแล้ว จึงค่อยยกทัพออกไปต่อสู้กับกบฏเหล่านั้น จะทำให้พระองค์มีชัยชนะแก่ฝ่ายกบฏได้โดยง่าย

จริงอยู่ แม้ว่าการปราบกบฏนั้นฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินจะต้องได้ชัยชนะต่อฝ่ายกบฏไม่เร็วก็ช้า แต่ถึงกระนั้น ก็ขอให้พระองค์ทรงชำระสิ่งโสโครก ที่มีอยู่ในร่างกายของพระองค์และเหล่าทหารทั้งหมดนี้รดลงบนร่างกายของผู้ลามกนี้เสียก่อน แล้วค่อยยกทัพออกไป

ฝ่ายพระเจ้าทัณฑกีเมื่อได้ฟังคำกราบทูลของพราหมณ์ปุโลหิตดังนี้แล้ว ก็ทรงมีความเห็นชอบด้วย จึงสั่งยกทัพทั้งหมดเข้าไปยังสถานที่ดาบสพักอยู่
เมื่อพระองค์และขบวนทัพทุกหมวดเหล่าได้มาประชุมพร้อมกัน ณ สถานที่ๆพักของดาบสแล้ว พระเจ้าทัณฑกีและทหารทั้งหลายต่างก็เอาไม้มาสีฟันด้วยกันทุกๆคน

(หน้าที่ 35)

เมื่อต่างคนต่างสีฟันเสร็จแล้ว ก็นำเอาไว้สีฟันนั้น ทิ้งรดลงบนตัวดาบสทั่วทุกคนทั้งกองทัพ ไม่สีฟันที่ทุกคนสีแล้วทิ้งรดลงบนตัวดาบสนั้นมากมายก่ายกองท่วมทับตัวท่านดาบสเสียจนมิดตั้งแต่ศีรษะลงมา เสร็จแล้วก็ยกทัพกลับ
ส่วนท่านเสนาบดีที่เป็นผู้อุปการะท่านดาบสนั้น ครั้นพระเจ้าทัณฑกีเสด็จยกทัพกลับไปแล้ว ก็ชวนผู้คนบ่าวไพร่ที่มีความเคารพนับถือเลื่อมใสในท่านดาบสมาช่วยกันเก็บไม้สีฟันที่ทิ้งไว้จนท่วมตัวท่านดาบสออกเสียจนหมดสิ้น แล้วก็จัดการตักน้ำมาชำระร่างกายถวายแก่ท่านดาบส

เมื่อท่านดาบสได้อาบน้ำชำระร่างกายสะอาดหมดจดแล้ว จึงกล่าวคำปราศรัยกับท่านเสนาบดีว่า การที่พระเจ้าทัณฑกีและประชาชนทั้งหลายได้กระทำการหยาบร้ายต่อท่านถึงเพียงนี้นั้น สำหรับท่านเองไม่มีความขัดเคืองพระเจ้าทัณฑกีและประชาชนเลยแม้แต่น้อยแต่บัดนี้พวกเทวดาทั้งหลายมีความขัดเคืองต่อพระเจ้าทัณฑกีและประชาชนมากนับจากวันนี้เป็นต้นไปครบ ๗ วัน พระนครกุมภวตีอันมีขอบเขตกว้าง ๖๐ โยชน์นี้จะถูกทำลายพินาศโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น ขอท่านเสนาบดีและพวกพ้องทั้งหลายจงได้รีบอพยพหลบภัยไปเสียก่อน
ฝ่ายท่านเสนาบดีเมื่อได้ทราบข่าวร้ายเช่นนี้จากท่านดาบส ก็มีความหวาดกลัวเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รีบนำข่าวนี้ไปกราบทูลพระเจ้าทัณฑกีให้ทรงทราบ แล้วตนเองพร้อมกับครอบครัวมิตรสหายที่มีความเชื่อคำบอกเล่าของท่านดาบส ต่างก็ชวนกันอพยพหลบหนีไปเสียจากพระนครกุมภวตี

เมื่อท่านเสนาบดีที่เป็นผู้อุปการะท่านได้อพยพออกจากพระนครกุมภวตีไปแล้วโพธิสัตว์ดาบสมีนามว่าสรภังคะผู้เป็นอาจารย์ของท่านอยู่ที่แม่น้ำโคทาวรี ทราบเหตุการณ์ร้ายแรงจะบังเกิดขึ้นในนครกุมภวตี ชะรอยท่านกิสวัจฉดาบสผู้เป็นลูกศิษย์ของท่าน ที่ยังพักอยู่ในพระนครนี้จะไม่พ้นภัย ฉะนั้น ท่านสรภังคดาบสโพธิสัตว์จึงได้ใช้ดาบส ๒ รูป ให้มารับท่านกิสวัจฉดาบสไปเสียจากพระนครกุมภวตี โดยการเข้าฌานแล้วเหาะไป

(หน้าที่ 36)

ฝ่ายพระเจ้าทัณฑกี เมื่อท่านเสนาบดีมาทูลให้ทรงทราบถึงภัยที่จะบังเกิดขึ้นแก่พระองค์และประชาชนทั้งหลายนั้น พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เป็นความจริง ฉะนั้น จึงไม่มีความหวาดระแวงว่าจะมีภัยร้ายแรงเช่นนี้จะบังเกิดขึ้นได้ จึงทรงนอนพระทัยเสีย

บรรดาเทวดาทั้งหลายที่มีความขัดเคืองในการกระทำของพระเจ้าทัณฑกีและประชาชนที่ได้พากันทำความหยาบร้ายต่อต่อท่านดาบสนั้น ครั้นถึงเวลาต่างก็พากันบันดาลให้ฝนตกลงมายังพระนครกุมภวตีอันมีของเขตกว้าง ๖๐ โยชน์ โดยครั้งแรก เป็นนำฝนธรรมดา ต่อมาเป็นเมล็ดทราย แล้วเป็นดอกไม้ แล้วเป็นเงินเป็นทอง และเครื่องอาภรณ์ที่ประดับตกแต่งร่างกายเทวดา เมื่อประชาชนได้เห็นของอันมีค่าเช่นนี้ตกลงมาจากอากาศแล้ว ต่างคนก็ต่างก็มีใจชื่นชมยินดีรีบวิ่งออกจากบ้านของตนๆ เพื่อจะได้เก็บของอันมีค่าเหล่านี้ไว้เป็นสมบัติของตน เมื่อประชาชนกำลังตื่นเต้นออกมาเที่ยวเก็บสิ่งของเหล่านี้อยู่นั้น ในขณะนั้นเอง ก็บังเกิดเป็นอาวุธและถ่านเพลิงตกลงถูกต้องประชาชนทั้งหลายพร้อมทั้งพระเจ้าทัณฑกี ถึงแก่ความตายตลอดทั่วทั้งประเทศ

เมื่อประชาชนทั้งหลายพร้อมทั้งพระทัณฑกีสิ้นชีวิตลงแล้ว ก็ได้ไปเสวยทุกข์อยู่ในอุสสทกุกกุฬนรกคือนรกขี้เถ้าร้อน มีขี้เถ้าร้อนเข้าสู่ทวารทั้งเก้า ส่วนบนศีรษะก็มีถ่านเพลิงตกลงมา

อกุศลกรรมของประชาชนและพระเจ้าทัณฑกีที่ได้ก่อขึ้นนี้เป็นอกุศลกรรมที่หนักมากควรจะไปเสวยทุกข์อยู่ในมหานรก แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ กลับไปเสวยทุกข์อยู่ในอุสสทกุกกฬนรกเท่านั้นดังสาธกบาลีมีมาในสรภังคชาดกว่า

กีสํ หิ วจฺฉํ อวกิริย ทณฺฑกี
อุจฺฉินฺนมูโล สชโน สรฏฺโฐ
กุกฺกุฬนาเม นิรยมฺหิ ปจฺจติ
ตสฺส ผุลิงฺคานิ ปตนฺติ กาเย.


Create Date :16 มิถุนายน 2556 Last Update :16 มิถุนายน 2556 5:59:56 น. Counter : 5375 Pageviews. Comments :2